สาน"ประเพณีแซนโดนตา"สร้าง"สังคม-วัดปลอดเหล้า"

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 11 ธันวาคม 2008.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    สาน"ประเพณีแซนโดนตา" สร้าง"สังคม-วัดปลอดเหล้า"

    สดจากหน้าพระ



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>การประชุมวิชาการสุราระดับชาติ ครั้งที่ 4 จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ในหัวข้อ "ยุติวิกฤตปัญหาสุรา...ด้วยกฎหมาย" โดยความร่วมมือของศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ร่วมกับ เครือข่ายกว่า 20 องค์กร ก็ได้มีการอภิปรายในหัวข้อ "มาตรการบำบัดรักษา และมาตรการทางสังคมในชุมชน" โดยมี "พระพิเชษฐ วิเชฏโฐ" จากศูนย์ทับทิมนิมิต จ.สุรินทร์ ร่วมให้ข้อมูลโดยหยิบยกกรณีตัวอย่างจากประเพณีที่มีเหล้าเป็นส่วนประกอบสูงสุดอย่าง "ประเพณีแซนโดนตา" ของชุมชนชาวสุรินทร์ ที่คนในชุมชนได้ให้ความร่วมมือและร่วมกันเปลี่ยนทัศนคติดังกล่าว

    จนกลายเป็นอีกหนึ่งประเพณีปลอดเหล้าและวัดปลอดเหล้าได้สำเร็จในที่สุด

    "แซนโดนตา" ถือเป็นประเพณีที่ว่าด้วยการบูชาบรรพบุรุษที่สำคัญของชาวไทยอีสานในจังหวัดสุรินทร์ โดยตามความเชื่อแล้ว "เหล้า" ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนของการบูชาบรรพบุรุษ ซึ่งจะใช้เหล้าเป็นเครื่องเซ่นหลักในการบูชาบรรพบุรุษทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะตามความเชื่อแล้วเหล้าถือเป็นน้ำบริสุทธิ์ที่ผ่านการกลั่นมาอย่างดี จึงเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ประเพณีดังกล่าวจะถูกจัดขึ้นในช่วงเดือน 10 ของทุกๆ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวบ้านว่างเว้นจากการทำนา และเตรียมพร้อมสังสรรค์กับพิธีอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะประเพณีแซนโดนตา จะมีเหล้ามากกว่าประเพณีอื่นๆ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วพบว่า 1 คนสามารถดื่มเหล้าได้มากถึง 20 ลิตรเลยทีเดียว และปัญหาที่ตามมาทุกครั้งก็หนีไม่พ้นเรื่องของการทะเลาะวิวาท และปัญหาครอบครัว

    พระพิเชษฐ กล่าวว่า ด้วยปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากเหล้า จึงนำไปสู่การแก้ปัญหาของชุมชนโดยเริ่มต้นจากการร่วมปรึกษาหารือกับคนเฒ่าคนแก่ ซึ่งเป็นที่นับถือของคนในหมู่บ้านเพื่อหาวิธีในการแก้ไข และเปลี่ยนทัศนคติความเชื่อเหล่านั้น โดยในที่สุดแล้วก็สามารถค้นพบแนวทางในการแก้ไข โดยหาสิ่งมาทดแทนเหล้า ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอบายมุขที่ร้ายแรง ผิดศีลข้อ 5 อันขัดต่อหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โดยพบว่าน้ำมะพร้าวก็เป็นน้ำที่มีความบริสุทธิ์เช่นกัน เพราะอยู่บนที่สูง และสามารถนำมาทดแทนเหล้าในประเพณีแซนโดนตาได้ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2549 ชาวบ้านจึงได้ตกลงกันว่าจะไม่มีการนำเหล้าเข้ามาใช้ในประเพณีดังกล่าว

    "แน่นอนที่สุดว่าเมื่อไม่มีเหล้าเข้ามาเกี่ยวข้องแล้วปัญหาต่างๆ ก็ค่อยๆ หายไป และแนวคิดในการไม่ดื่มเหล้าในประเพณีแซนโดนตาก็เริ่มขยายไปสู่ประเพณีและงานบุญต่างๆ จนถึงบัดนี้แนวคิดวัดปลอดเหล้า และประเพณีปลอดเหล้าก็ได้เริ่มขยายต่อไปยังหมู่บ้านอื่นๆ ด้วยในที่สุด ก่อนที่จะมี พ.ร.บ.ห้ามดื่มเหล้าในวัด ก็จะห้ามดื่มกันยากมาก เขาก็ทำกันตามความเชื่อของเขา พระก็จะพูดลำบาก แต่พอ พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ออกมา การดื่มหรือขายเหล้าในวัดก็ค่อยๆ หายไป ในส่วนของภาครัฐก็ช่วยให้ความรับรู้กับชาวบ้านด้วยการให้ความรู้ ประกาศซ้ำ คนก็ไม่กล้าทำเพราะกลัว และเกรงใจ พระก็สบายใจขึ้น เพราะการดื่มเหล้านั้นถือว่าผิดศีล 5"

    นับเป็นจุดแข็งและข้อดีของประเทศไทยที่ศาสนาพุทธยังคงเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจให้คนไทยได้คิดและปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม และไม่ว่าเมื่อไหร่ วัดก็ยังคงเป็นสถานที่บริสุทธิ์ที่ปราศจากพิษภัยของแอลกอฮอล์ และพร้อมที่จะเผยแพร่คำสอนให้คนไทยได้ห่างไกลจากอบายมุข

    ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมไทยตลอดไป

    ------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09DMHhNaTB4TVE9PQ==
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    อ้างอิง..แหล่งข้อมูลในรายละเอียด

    ประวัติประเพณีแซนโดนตาอำเภอขุขันธ์

    [​IMG]

    อำเภอขุขันธ์เดิมเป็นที่ตั้งของบริเวณเมืองขุขันธ์ ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของคนไทยหลายเชื้อสาย หลายภาษา เช่น เขมร ลาว ส่วย เยอ จีน เป็นต้น มีจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่งดงามของท้องถิ่นอยู่เป็นจำนวนมาก และหนึ่งในจำนวนนั้น ก็คือประเพณีแซนโดนตา ซึ่งเป็นประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษของคนไทยเชื้อสายเขมร โดยคนไทยกลุ่มดังกล่าวได้ยึดถือปฏิบัติกันมาแต่ดั้งเดิม เนื่องจากอำเภอขุขันธ์มีคนไทยเชื้อสายเขมร อยู่เป็นจำนวนมาก บรรดาลูกหลานที่ไปทำงานต่างถิ่นจะกลับมาร่วมพิธีเซ่นไหว้ที่บ้านเป็นประจำทุกปี แต่การแซนโดนตาได้กระทำกันในครอบครัวบางครอบครัวที่เป็นคนรุ่นใหม่เริ่มขาดความรู้ความเข้าใจในพิธีกรรมดังกล่าวชาวอำเภอขุขันธ์จึงได้จัดงานประเพณีแซนโดนตาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา เพื่อเป็นการสืบสาน พัฒนาและส่งเสริมวัฒนธรรม ประเพณีในท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย​

    [​IMG]


    ในการแซนโดนตา จะมีเครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งประกอบไปด้วยอาหารคาว หวาน ผลไม้ ชนิดต่างๆ เป็นจำนวนมาก​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2008
  3. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    อ้างอิง..แหล่งข้อมูลในรายละเอียด

    [​IMG]
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="85%" height="100%">ก่อนที่ขแมร์จะนับถือศาสนาพราห์มหรือพุทธนั้น
    ขแมร์เรานับถือผีบรรพบุรุษมาก่อน (โฎนตา)
    และเราก็ยังมีพิธีกรรมทางศาสนาโฎนตาตลอดมา
    แม้ว่าจะนับถือศาสนาอื่นๆแล้วเราก็ยังนับถือบรรพบุรุษ
    เป็นเสมือนเทพมาโดยตลอดและศรัทธาอย่างแรงกล้า
    การทำงานสิ่งใดต้องอัญเชิญ โฎนตา หรือ แย็ยตา มาร่วมพิธีด้วยเสมอ
    แม้การกินเหล้าสนุกสนานเฮฮาเราก็ยังเรียก ขมอจแย็ยขมอจตา มากินเหล้าด้วยเสมอ (ผมก็ทำ)
    พิธีอะไรที่เกี่ยวกับศาสนาโฎนตา จะใช้ภาษาขแมร์ทั้งหมด อาจจะมีบ้างที่เป็นภาษาบาลีสันฯ

    ผมเชื่อว่าศาสนาโบราณของขแมร์ก่อนที่จะได้รับวัฒนธรรมศาสนาพราหมและพุทธ ก็คือ ศาสนาโฎนตา ของขแมร์เรานี่เอง ที่ยังมีประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ความศรัทธาศาสนาโฎนตาของขแมร์เราไม่ได้มีความเสื่อมซาลงแต่อย่างใด ปัจจุบันกลับมีความศรัทธามากขึ้น แม้แต่การทำบุญในวัน แซนโฎนตา ชาวขแมร์ทั่วสารทิศนิยมกลับมาทำบุญที่บ้านเกิด พบปะญาติพี่น้อง บองปโอน กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้

    อยากให้คนขแมร์ได้ตระหนักและภูมิใจว่า ขแมร์เราก็มีศาสนาเป็นของตนเองมาแต่โบราณ และมีคำสอนหลายอย่างสืบทอดต่อๆกันมา และมีเหตมีผล เพียงแต่ว่าไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็นตำรา เชื่อว่า น่าจะมีคนสนใจเรื่องนี้พอสมควร และอยากให้รวบรวมข้อมูลหลักฐาน และคำสอนของศาสนา โฎนตา บันทึกเป็นตำราเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ในการศึกษาของชาวขแมร์รุ่นต่อๆไป เพื่อความภูมิใจในเผ่าพันธุ์ ฯลฯ

    สุดท้ายนี้ขอให้ชาวขแมร์ทุกคนยึดมั่นในระเบียบ แบบแผน ประเพณี ที่มีมาแต่โบราณ โดยเฉพาะ ศาสนาโฎนตา ของเราให้คงอยู่สืบไปคู่กับชนชาติเผ่าพันธุ์ของเราเทอญ อย่าลืมกลับบ้านทำบุญ แซนโฎนตา นะครับ !!!

    อย่าลืมนะครับว่าวันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน 2551 มีคนที่เมืองช้างเรากำลังรอการกลับมาของลูกๆ หลานๆ อย่างใจจดใจจอ โปรดอย่าให้เขาแล้ว รอเล่า บขส.เที่ยวแล้วเที่ยว

    เมือง สุรินทร์ ยินดีต้อนรับ
    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"><TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=smalltext width="100%" colSpan=2><HR class=hrcolor width="100%" SIZE=1>[​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]



    พิธีแซนโดนตา - เทศกาลประจุมเบ็ญ..!


    แซน หมายถึง การเซ่น การเซ่นไหว้ การบวงสรวง

    โฎนตา-โดนตา หมายถึง การทำบุญให้ยาย และตา หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

    ซึ่ง โดยทั่วไปแล้วมักเขียนว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...