สาเหตุที่ผู้ฝึกสมาธิวิปัสสนา เป็นโรคประสาทหรือเสียสติ และวิธีแก้ไข

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย แดนโลกธาตุ, 8 มกราคม 2007.

  1. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>สาเหตุที่ผู้ฝึกสมาธิวิปัสสนา เป็นโรคประสาทหรือเสียสติ และวิธีแก้ไข

    คัดมาจากหนังสือของพันเอกชม สุคันธรัต ที่ท่านได้รวบรวมมาจากพระไตรปิฎก,ท่านผู้รู้,พระในดง ( พระป่า และจากประสบการณ์ของท่านเองที่ได้สอนลูกศิษย์มานานกว่า๒๕ปี )



    สาเหตุที่ผู้ฝึกสมาธิวิปัสสนา เป็นโรคประสาทหรือเสียสติ และวิธีแก้ไข

    ๑.ฝึกไม่ถูกวิธี และพยายามจะให้ได้ผลดี

    ๒.ฝึกบ่อยครั้งเกินไป หรือฝึกนานเกินควร

    ๓.เกิดความกลัวหรือตกใจมากขณะจิตเริ่มสงบ

    ๔.ผู้ฝึกสมาธิเป็นโรคประสาทหรือโรคจิตอยู่ก่อนแล้ว



    วิธีแก้ไข

    ๑. ฝึกผิดวิธีและพยายามจะให้ได้ผลดี ควรเลือกวิธีที่เหมาะกับจิตและนิสัยของตน วิธีที่เหมาะกับคนทั่วไปคือ วิธีกำหนดลมหายใจ ควรมีครูที่ดีควบคุมใกล้ชิดจนเข้าใจและทำถูกต้องแล้ว จึงไปฝึกตามลำพังตนเอง การฝึกไม่ถูกวิธี เช่นที่ตั้งจิตไม่เหมาะกับตน การดำเนินการฝึกไม่ทำตามขั้นตอน ฝึกข้ามขั้นทำให้ผิดบ้างถูกบ้าง แต่พยายามจะเร่งให้ได้ผลเร็ว เป็นความโลภอยากมีอยากได้โดยไร้เหตุผล และทำให้เกิดความเครียดทางจิต จึงเป็นโรคประสาทเสียหรือเสียสติได้



    ๒. การฝึกบ่อยครั้งเกินไป โดยธรรมดาการฝึกอย่างเคร่งครัดวันหนึ่ง ท่านให้ฝึกไม่เกิน ๓ครั้ง และครั้งหนึ่งให้ห่างกันมากกว่า๓ ชั่วโมง ถ้าฝึกมากเกินไปจะเกิดความเครียด ส่วนการฝึกแบบสบายๆ คือจัดลมหายใจแบบสบาย มีสติรู้ลมหายใจโดยไม่ต้องภาวนาดังนี้ทำได้ตลอดไปทั้งในยามว่างหรือระหว่างทำงาน ระหว่างฟังวิทยุก็ทำได้ไม่เคร่งเครียด เผลอไปก็ทำใหม่ได้เรื่อยๆ ได้ตลอดเวลา หรือนึกถึงความตายอันจะมีแก่ตน บ้างนึกถึงความไม่สะอาด ความไม่น่ารักของร่างกาย วิธีใดที่ทำให้จิตสงบไม่ฟุ้งซ่านก็ใช้วิธีนั้น หรือวิธีใดมากระทบใจก็ใช้วิธีนั้น



    การฝึกครั้งหนึ่งอย่างเคร่งครัดนานก็ให้โทษ การฝึกตอนต้นๆจิตสงบลงบ้าง แล้วอย่าไปคิดอย่างอื่นอีก ต้องคอยแก้ให้จิตสงบๆใหม่สลับกันไป ดังนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ไม่ควรฝึกนานกว่าชั่วโมง ถ้าฝึกนานไป จะให้โทษมากกว่าให้คุณ นอกจากจิตเป็นสมาธิติดต่อกันไปสงบและเพลิดเพลินไปเรื่อย ก็ฝึกนานกว่าหนึ่งชั่วโมงได้



    อย่าฝืนฝึกสมาธิวิปัสสนาจนเกินขอบเขตที่จะทนได้ ถ้าง่วงมากหรือเพลียมากฝืนไม่ไหวก็พักเสีย หรือนอนให้สบายเสียก่อนจะดีกว่า พยายามรวมสติอยู่กับลมสบาย ไม่คิดว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร คิดให้มั่นว่าการฝึกสมาธิวิปัสสนา เป็นการทำความดีเป็นบุญ ผลที่ได้รับต้องดีแน่ คิดว่าฝึกเพื่อให้เกิดความสบาย ไม่เร่งรีบจะเอาผลให้ทันใจ และหมั่นทำไม่ลดละ การฝึกจิตจะต้องปล่อยวางในเรื่องความรู้และเรื่องอื่นๆไม่สนใจทุกอย่าง สนใจอยู่เฉพาะลมหายใจ

    หรือบทพุทโธ และมีสติรู้ลมดูลมด้วยจิตอยู่เสมอ



    ๓. ความกลัวความตกใจ ให้หมั่นพิจารณาว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีการเกิดดับอยู่เสมอ ไม่มีการหยุดยั้งแม้แต่เพียงขณะเดียว ความกลัวความตกใจ อาจมีเพราะคนหรือเสียง หรือเกิดภาพทางใจ ( คือนิมิต ) ขณะที่จิตสงบสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงมาร หรือสิ่งหลอกลวงขัดขวางความดีของเราทำร้ายอะไรเราไม่ได้ เกิดแล้วดับไปไม่ยั่งยืนควบคุมจิตใจให้ปกติไว้ ถ้ารู้วิธีใช้อำนาจจิต อำนาจคุณพระป้องกันอันตราย ก่อนนั่งสมาธิทุกครั้ง ดังนี้จะเป็นการป้องกันที่ดี



    ๔. ผู้ฝึกสมาธิวิปัสสนาเป็นโรคประสาทเป็นโรคจิตมาก่อนแล้ว หรือเป็นหลังจากฝึกไม่ถูกวิธี แก้โดยให้หยุดฝึกไปก่อนระยะหนึ่ง หาสิ่งที่เพลิดเพลินอย่างอื่นแทนให้หายจากโรคประสาทดีแล้ว จึงฝึกใหม่และถ้ามีการรักษาด้วยยา ด้วยพลังจิตช่วยด้วยก็จะทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น


    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>​
     

แชร์หน้านี้

Loading...