เรื่องเด่น สำรวจ “หลุมปริศนา” ใต้วังขุนหลวงนารายณ์

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 1 เมษายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    วันนี้ (1 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กบัญชีรายชื่อ “Dulyapak Preecharush – ดุลยภาค ปรีชารัชช” ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความ ระบุว่า

    ปริศนา “หลุมลับ” ใต้วังขุนหลวงนารายณ์


    พระที่นั่งดุสิตสวรรย์ธัญญมหาปราสาท ซึ่งสร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์เมื่อปี พ.ศ. 2209 ถูกใช้เป็นท้องพระโรงรับราชทูตหรือรับคณะบุคคลสำคัญที่เดินทางมายังละโว้ แต่ด้านหลังท้องพระโรง (ถัดจากสีหบัญชร) คือ พื้นที่ส่วนพระองค์ของขุนหลวงนารายณ์ โดยพบฐานอิฐสี่เหลี่ยมซึ่งข้างในมีหลุมลับหลุมหนึ่งที่เจาะลึกลงไปใต้ดิน

    b888-e0b8abe0b8a5e0b8b8e0b8a1e0b89be0b8a3e0b8b4e0b8a8e0b899e0b8b2-e0b983e0b895e0b989e0b8a7e0b8b1.jpg


    ผมมาเที่ยวพระนารายณ์ราชนิเวศน์ตั้งแต่เด็กๆ และก็เคยได้ฟังคำบอกเล่าจากคนลพบุรีหลายครั้งว่าหลุมดังกล่าวคือเส้นทางลับที่พระนารายณ์ทรงใช้หลบหนีออกจากพระราชวัง โดยทางเดินนี้จะโผล่ทะลุไปยังแม่น้ำลพบุรี ซึ่งอยู่เลยกำแพงวังด้านหลังออกมา แต่เมื่อผมสอบถามเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ กลับได้ความว่า หลุมลับนี้น่าจะเป็นท่อส่งน้ำมากกว่าเส้นทางลับ

    ผมคิดว่าเรื่องนี้มีทั้งประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า และเรื่องแผนผังเทคนิควิทยาโบราณคดี ซึ่งก็ยากที่จะฟันธงวินิจฉัยชี้ขาด แต่ถ้าลองเทียบพระราชจริยวัตรของสมเด็จพระนารายณ์ที่ต้องเสด็จพระราชดำเนินออกจากเขตพระราชฐานชั้นใน (พระที่นั่งสุทธาสวรรค์) มายังเขตพระราชฐานชั้นกลาง (พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ฯ) ก็มีความเป็นไปได้สูงที่พระองค์จะเข้ามาที่ตัวอาคารพระที่นั่งดุสิตฯจากด้านหลัง ซึ่งมีบันไดเชื่อมโยงไปยังชั้นบนที่ถูกประดับตกแต่งด้วยเครื่องสูง อาทิ พระแท่นบุษบกหรือชั้นวางพระพุทธรูป โดยพระนารายณ์อาจทรงใช้เวลาเตรียมการส่วนพระองค์ ก่อนเคลื่อนพระองค์เข้าใกล้สีหบัญชรเพื่อรับแขกเมืองตรงท้องพระโรง

    88-e0b8abe0b8a5e0b8b8e0b8a1e0b89be0b8a3e0b8b4e0b8a8e0b899e0b8b2-e0b983e0b895e0b989e0b8a7e0b8b1-1.jpg

    ในการนี้ หากฐานสี่เหลี่ยมชั้นล่าง (ที่มีหลุมลับซ่อนอยู่) ถูกเชื่อมต่อกับสิ่งปลูกสร้างชั้นบน เช่น พระแท่นบุษบก ก็น่าคิดต่อว่าหลุมลับดั้งกล่าวถูกขุดขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์อะไร เช่น ใช้แจกจ่ายน้ำผสมกับปรับสภาพไหลเวียนอากาศเพื่อลดความร้อนของตัวอาคาร หรือ อาจทำเป็นน้ำพุขนาดเล็กที่มีประโยชน์ต่อการให้ไอเย็นหรือหนุนนำความรุ่งเรืองแก่ผู้ที่ประทับเหนือองค์บุษบกด้านบน หรืออีกกรณีหนึ่ง คืออาจใช้เป็นเส้นทางลับหนีภัยของสมเด็จพระนารายณ์จริง

    แน่นอน การหาข้อสรุปคงต้องมีการสอบสวนประมวลหลักฐานกันอีกมาก อาทิ ถ้ามีทางลับใต้พระที่นั่งดุสิตฯจริง แล้วจะมีทางลับใต้พระที่นั่งสุทธาสวรรค์หรือไม่ (ซึ่งถือเป็นพระตำหนักที่ประทับแท้จริงของพระนารายณ์) และพอจะมีหลักฐานที่บ่งชี้ถึงเรื่องการใช้เส้นทางลับของพระนารายณ์ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ (เช่น ช่วงรัฐประหารของพระเพทราชา) บ้างหรือไม่ เพราะถึงอย่างไรเสีย ขุนหลวงนารายณ์ก็ทรงสวรรคตอยู่ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรค์โดยปราศจากการหลบหนีมายังพระที่นั่งดุสิต แต่ทว่า ทั้งๆที่อาจมีความไม่คลุมเครือบางอย่าง แต่ทำไมถึงเกิดการส่งผ่านเรื่องราวเส้นทางลับนี้เข้ามายังความทรงจำรับรู้ของคนลพบุรีบางกลุ่ม หรือว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรในช่วงเวลาที่กั้นกลางระหว่างแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์กับสังคมลพบุรีร่วมสมัยซึ่งอาจมีผลต่อมโนทัศน์ของคนลพบุรีเกี่ยวกับหลุมลับดังกล่าว เช่น การเข้ามาสร้างบทบาทยุทธศาสตร์ของลพบุรีอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่สี่หรือรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม

    88-e0b8abe0b8a5e0b8b8e0b8a1e0b89be0b8a3e0b8b4e0b8a8e0b899e0b8b2-e0b983e0b895e0b989e0b8a7e0b8b1-2.jpg

    แต่ไม่ว่าจะด้วยอะไรก็ตามแต่ หลุมลับปริศนานี้ คือ ภาพสะท้อนพลังของกรุงละโว้ในฐานะเมืองยุทธศาสตร์แบบ “ลับ ลวง พราง” และในฐานะเมืองล้ำสมัยที่เฟื่องฟูไปด้วยเทคนิควิทยาการอันพิสดาร เช่น การวางท่อประปาจากอ่างซับเหล็กและทะเลชุบศรเข้ามายังตัววังนารายณ์ ฉะนั้น เรื่องหลุมลับใต้พระที่นั่งดุสิตฯ ก็ถือเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการทับถมของธรรมชาติการเมืองกับการพัฒนาในลพบุรี โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระนารายณ์นั่นเอง

    ดุลยภาค”

    88-e0b8abe0b8a5e0b8b8e0b8a1e0b89be0b8a3e0b8b4e0b8a8e0b899e0b8b2-e0b983e0b895e0b989e0b8a7e0b8b1-3.jpg

    ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : “Dulyapak Preecharush – ดุลยภาค ปรีชารัชช”

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.springnews.co.th/view/225395
     

แชร์หน้านี้

Loading...