สุปปพุทธกุฏฐิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐาณัฏฐ์, 22 มิถุนายน 2012.

  1. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [๑๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาป-
    *สถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ในพระนครราชคฤห์ มีบุรุษเป็น
    โรคเรื้อนชื่อว่าสุปปพุทธะ เป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ ก็สมัย
    นั้นแล พระผู้มีพระภาคแวดล้อมไปด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่
    สุปปพุทธกุฏฐิได้เห็นหมู่มหาชนประชุมกันแต่ที่ไกลเทียว ครั้นแล้วได้มีความดำริ

    ว่าหมู่มหาชนจะแบ่งของควรเคี้ยว หรือของควรบริโภคอะไรๆ ให้ในที่นี้แน่แท้
    ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปหาหมู่มหาชน เราพึงได้ของควรเคี้ยวหรือควรบริโภคใน
    หมู่มหาชนนี้เป็นแน่ ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิได้เข้าไปหาหมู่มหาชนนั้นแล้ว
    ได้เห็นพระผู้มีพระภาคแวดล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่
    ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า หมู่มหาชนคงไม่แบ่งของควรเคี้ยวหรือของควรบริโภค
    อะไรๆ ให้ในที่นี้ พระสมณะโคดมนี้ทรงแสดงธรรมอยู่ในบริษัท ถ้ากระไร แม้
    เราก็พึงฟังธรรม เขานั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งในบริษัทนั้นเอง ด้วยคิดว่า
    แม้เราก็จักฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดใจของบริษัททุก
    หมู่เหล่าด้วยพระทัยแล้ว ได้ทรงกระทำไว้ในพระทัยว่า ในบริษัทนี้ ใครหนอ
    แลควรจะรู้แจ้งธรรม พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นสุปปพุทธกุฏฐินั่งอยู่ในบริษัทนั้น

    ครั้นแล้วได้ทรงพระดำริว่า ในบริษัทนี้ บุรุษนี้แลควรจะรู้แจ้งธรรม พระองค์
    ทรงปรารภสุปปพุทธกุฏฐิตรัสอนุปุพพิกถาคือ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา
    โทษแห่งกามอันต่ำทรามเศร้าหมอง และทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ เมื่อใด
    พระผู้มีพระภาคได้ทรงทราบว่าสุปปพุทธกุฏฐิมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์
    เฟื่องฟู ผ่องใส เมื่อนั้น พระองค์ทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้า
    ทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรม-
    *จักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่สุปปพุทธกุฏฐิในที่นั่งนั้นแลว่า
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา
    เหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมด้วยดีฉะนั้น ฯ

    [๑๑๓] ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันบรรลุ
    แล้ว มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งถึงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว
    ปราศจากความเคลือบแคลง บรรลุถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นใน
    ศาสนาของพระศาสดา ลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย
    บังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศโดยอเนกปริยาย
    เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตาม
    ประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
    ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่
    วันนี้เป็นต้นไป ฯ

    ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิอันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง
    ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี-
    *พระภาค ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป
    ครั้งนั้นแล แม่โคลูกอ่อนชนสุปปพุทธกุฏฐิผู้หลีกไปไม่นานให้ล้มลง ปลงเสีย
    จากชีวิต ลำดับนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุปปพุทธกุฏฐิอันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้
    สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว กระทำกาละ คติของเขาเป็น
    อย่างไร ภพหน้าของเขาเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิเป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และ
    ไม่เบียดเบียนเราให้ลำบากเพราะธรรมเป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิ
    เป็นพระโสดาบัน เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งสาม มีความไม่ตกต่ำเป็น
    ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ

    [๑๑๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระ-
    *ผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้
    สุปปพุทธกุฏฐิเป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีแล้ว สุปปพุทธกุฏฐิเป็นเศรษฐีบุตรอยู่ในกรุง-
    *ราชคฤห์นี้แล เขาออกไปยังภูมิเป็นที่เล่นในสวน ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
    นามว่าตครสิขีกำลังเที่ยวบิณฑบาตไปในพระนคร ครั้นแล้วเขาดำริว่า ใครนี่
    เป็นโรคเรื้อนเที่ยวไปอยู่ เขาถ่มน้ำลายแล้วหลีกไปข้างเบื้องซ้าย เขาหมกไหม้
    อยู่ในนรกสิ้นปีเป็นอันมาก สิ้นร้อยปี สิ้นพันปี สิ้นแสนปีเป็นอันมาก เพราะ
    ผลแห่งกรรมนั้นยังเหลืออยู่ เขาจึงได้เป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ อยู่ใน
    กรุงราชคฤห์นี้แล เขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว สมาทานศรัทธา
    ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ครั้นอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วสมาทาน
    ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็น
    ผู้เข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เขาย่อมไพโรจน์ล่วงเทวดา
    เหล่าอื่นในชั้นดาวดึงส์นั้นด้วยวรรณะและด้วยยศ ฯ

    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ได้ทรงเปล่ง
    อุทานนี้ในเวลานั้นว่า
    บุรุษผู้เป็นบัณฑิต พึงละเว้นบาปทั้งหลายในสัตว์โลก เหมือน
    บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อทางอื่นที่จะก้าวไปมีอยู่ ย่อมหลีกที่อันไม่
    ราบเรียบเสียฉะนั้น ฯ
    จบสูตรที่ ๓
     
  2. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    บางส่วน ของ อรรถกถา เรื่อง สุปปพุทธะ

    ก็สุปปพุทธะนั่งที่ท้ายบริษัท สดับพระธรรมเทศนา บรรลุโสดาปัตติผลอย่างนี้แล้ว มีความประสงค์จะกราบทูลถึงคุณที่ตนได้รับแด่พระศาสดาเมื่อไม่อาจหยั่งลงสู่ท่ามกลางบริษัทได้ ในเวลาที่มหาชนถวายบังคมพระศาสดา แล้วตามส่งเสด็จแล้วกลับ
    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังพระวิหาร แม้ตนเองก็ได้ไปยังพระวิหารด้วย.

    ขณะนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงทราบว่า สุปปพุทธกุฏฐินี้มีความประสงค์จะประกาศคุณที่ตนได้รับในพระศาสนาของพระศาสดาให้ปรากฏคิดจักทดลองเธอ จึงเสด็จไปประทับอยู่ในอากาศ ได้ตรัสคำนี้ว่า สุปปพุทธะ เธอเป็นคนขัดสน เป็นคนกำพร้า เป็นคนยากไร้เราจะให้ทรัพย์อันหาประมาณมิได้ แก่เธอ แต่เธอจงพูดว่าพระพุทธไม่ใช่พระพุทธ พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์เราพอกันทีด้วยพระพุทธ เราพอกันทีด้วยพระธรรม เราพอกันทีด้วยพระสงฆ์.
    ลำดับนั้น
    สุปปพุทธะจึงกล่าวกะท้าวสักกะนั้นว่า ท่านเป็นใคร
    ตอบว่า เราเป็นสักกเทวราช.
    สุปปพุทธกุฏฐิกล่าวว่า ดูก่อนอันธพาล ผู้ไม่มียางอายท่านกล่าวคำที่ไม่ควรจะกล่าวอย่างนี้ ไม่สมควรพูดกับเราเลยอนึ่ง เพราะเหตุไร ท่านจึงพูดกับเราว่า เป็นคนเข็ญใจ ขัดสน กำพร้าเราเป็นโอรสบุตรของพระโลกนาถเจ้ามิใช่หรือ เราไม่ใช่คนเข็ญใจขัดสนกำพร้าที่จริงแล เราได้รับความสุขด้วยความสุขอย่างยิ่ง มีทรัพย์มาก ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า

    บุคคลใด ไม่เลือกว่าจะเป็นหญิงหรือชาย มี
    ทรัพย์ ๗ อย่างคือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล
    ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ
    ทรัพย์คือจาคะ และทรัพย์คือปัญญา บัณฑิตเรียก
    บุคคลนั้นว่าไม่เข็ญใจ และชีวิตของเขาไม่เปล่า.

    ดังนั้น เรานั้น จึงชื่อว่ามีอริยทรัพย์ ๗ ประการนี้ เพราะบุคคลผู้มีอริยทรัพย์เหล่านี้พระพุทธเจ้าหรือพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่ตรัสเรียกว่า เป็นคนเข็ญใจ.
    ____________________________
    องฺ. สตฺตก. เล่ม ๒๓/ข้อ ๕

    ท้าวสักกะทรงสดับถ้อยคำของเขาแล้ว จึงละเขาไว้ในระหว่างทางแล้ว เสด็จไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลคำและคำตอบทั้งหมดนั้นแด่พระศาสดา.ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท้าวสักกะว่าดูก่อนสักกะ เทพเช่นท่าน แม้ตั้งร้อย ตั้งพัน ก็ไม่อาจจะให้สุปปพุทธกุฏฐิ กล่าวว่าพระพุทธไม่ใช่พระพุทธ พระธรรมไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์.]แม้สุปปพุทธกุฏฐิแล ก็ไปเฝ้าพระศาสดาพระศาสดาทรงกระทำปฏิสันถารแล้ว จึงกราบทูลถึงคุณที่ตนได้รับ.
    ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าอถ โข สุปฺปพุทฺโธ กุฏฺฐี ทิฎฺฐธมฺโม ปตฺตธมฺโมดังนี้เป็นต้น.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่าทิฎฺฐธมฺโมความว่า ชื่อว่าผู้เห็นธรรม เพราะเห็นอริยสัจจธรรม.แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.บรรดาบทเหล่านั้นธรรมศัพท์ ในบทว่าทิฎฺฐธมฺโมนี้ บ่งถึงคำสามัญชื่อว่าทัสสนะ แม้อื่นไปจากญาณทัสสนะก็ยังมี เพราะเหตุนั้นทัสสนะนั้น ท่านเรียกว่าปตฺตธมฺโมเพื่อแสดงนิวัตตนะ (นิโรธสัจ).
    ก็การบรรลุแม้อื่นจากญาณสมบัติก็ยังมีเพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่าวิทิตธมฺโมผู้รู้แจ้งธรรม เพื่อให้แปลกไปจากญาณทัสสนะนั้น.
    ก็ความเป็นผู้รู้แจ้งธรรมนี้นั้นจัดเป็นส่วนหนึ่งในธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เพื่อจะแสดงความเป็นผู้รู้แจ้งธรรมนั้นโดยทุกส่วน]ท่านจึงกล่าวว่าปริโยคาฬฺหธมฺโมผู้หยั่งถึงธรรม.เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงแสดงเฉพาะการตรัสรู้สัจจะตามที่กล่าวแล้วแก่เขา.
    จริงอยู่ มรรคญาณให้สำเร็จปริญญากิจเป็นต้น ด้วยอำนาจการตรัสรู้ครั้งเดียวชื่อว่าหยั่งลงสู่ไญยธรรมโดยทุกส่วน รอบด้าน ไม่ใช่ญาณอื่นนอกจากมรรคญาณนั้น.ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าทิฎฺโฐ อริยสจฺจธมฺโม เอเตนาติ ทิฏฐธมฺโมดังนี้เป็นต้น.เพราะเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่าติณฺณวิจิกิจฺโฉผู้ข้ามความสงสัยได้แล้ว ดังนี้.

    ____________________________________________________________________________________________________

    ท้าวสักกะ ยอมโดนด่า เพื่อ พิสูจน์ การถึงสรณคมน์ ของ สุปปพุทธะ
    แต่ หลังจาก เหตุการณ์นี้ ไม่นาน สุปปพุทธะ ก็ตาย (พระสูตร ข้อ[๑๑๓] ) แล้วไปจุติในภพดาวดึงส์ ตามความในพระสูตร ข้อ [๑๑๔]

    พอ ท่านสุปปพุทธะ ถึงภพดาวดึงส์ แล้ว ไปพบท้าวสักกะเข้า คงจะคุ้นๆ หน้าของท้าวสักกะ ว่าใคร หนอ?
    พอนึกได้ อ้อ! เทวดานี้ เป็น ท้าวสักกะจริงๆด้วย เราเพิ่งจะด่าท่าน ก่อนมาจุติในภพนี้ นี่นา

    ที่เหลือ ท่านสุปปพุทธะ คงจะเคลียร์ กับ ท้าวสักกะ ท่านได้นะ เพราะต่างเป็นอริยะเทพทั้งคู่ คงคุยกันรู้เรื่อง ??? ฮิ..ฮิ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2018
  3. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ต้อง ครบ แสนกัลป์ เชียว รึ ?

    อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘
    หน้าต่างที่ ๙ / ๑๒.
    ๙. เรื่องอุบาสก ๕ คน [๑๙๐]
    ข้อความเบื้องต้น พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอุบาสก ๕ คน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ" เป็นต้น.
    ได้ยินว่า อุบาสกเหล่านั้นใคร่จะฟังธรรม ไปสู่วิหาร ถวายบังคมพระศาสดา แล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง.
    ก็ความดำริว่า "ผู้นี้เป็นกษัตริย์ ผู้นี้เป็นพราหมณ์, ผู้นี้เป็นคนมั่งมี, ผู้นี้เป็นคนยากจน เราจักแสดงธรรมให้ยวดยิ่งแก่ผู้นี้ จักไม่แสดง (ธรรมให้ยวดยิ่ง) แก่ผู้นี้" ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
    พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงธรรมปรารภบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ย่อมทรงทำความ<wbr>เคารพ<wbr>ธรรม<wbr>ไว้เป็นเบื้องหน้าแล้วจึงแสดง ประหนึ่งเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์บันดาลให้น้ำในอากาศหลั่งไหลลงอยู่ฉะนั้น.
    ก็บรรดาอุบาสกเหล่านั้น ผู้นั่งแล้วในสำนักของพระตถาคตผู้ทรงแสดง (ธรรม) อยู่อย่างนั้น อุบาสกคนหนึ่งนั่งหลับแล้วเทียว, คนหนึ่งนั่งเขียนแผ่นดินด้วยนิ้วมือ, คนหนึ่งนั่งเขย่าต้นไม้, คนหนึ่งนั่งแหงน (หน้า) มองดูอากาศ, แต่คนหนึ่งได้ฟังธรรมโดยเคารพ.
    พระอานนทเถระถวายงานพัดพระศาสดาอยู่ แลดูอาการของอุบาสกเหล่านั้น กราบทูลพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงบันลือลั่นดุจมหาเมฆคำรน ทรงแสดงธรรมแก่อุบาสกเหล่านี้, แต่อุบาสกเหล่านั้น เมื่อพระองค์ตรัสธรรมอยู่ นั่งทำกรรมนี้และนี้."
    พระศาสดา. อานนท์ เธอไม่รู้จักอุบาสกเหล่านั้นหรือ?
    อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้จัก พระเจ้าข้า.
    ประวัติเดิมของอุบาสก ๕ คน พระศาสดา. ก็บรรดาอุบาสกเหล่านั้น อุบาสกผู้นั่งหลับแล้วนั่นเกิดในกำเนิดแห่งงูสิ้น ๕๐๐ ชาติ พาดศีรษะไว้บนขนดทั้งหลายหลับแล้ว. แม้ในบัดนี้ ความอิ่มในการหลับของเขาย่อมไม่มี เสียงของเราย่อมไม่เข้าไปสู่หูของเขา.
    อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสโดยลำดับหรือตรัสเป็นตอนๆ?
    พระศาสดา. อานนท์ แท้จริง แม้พระสัพพัญญุตญาณ ก็ไม่อาจทรงกำหนด ซึ่งความอุบัติของอุบาสกนั่น ผู้อุบัติอยู่ในระหว่างๆ อย่างนี้คือ "ความเป็นมนุษย์ตามกาล, ความเป็นเทพตามกาล, ความเป็นนาคตามกาล" แต่อุบาสกนั่นเกิดแล้วในกำเนิดแห่งนาคสิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ แม้หลับอยู่ (ก็) ไม่อิ่มในการหลับเสียเลย.
    ____________________________
    อนฺตรนฺตรา = ในระหว่างๆ.

    ฝ่ายบุรุษผู้นั่งเขียนแผ่นดินด้วยนิ้วมือ เกิดในกำเนิดไส้เดือนสิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ ขุดแผ่นดินแล้ว, ถึงบัดนี้ก็เขียนแผ่นดินอยู่ ด้วยอำนาจความประพฤติที่ตนได้เคยประพฤติแล้วในกาลก่อน ย่อมไม่ฟังเสียงของเรา.
    ฝ่ายบุรุษผู้นั่งเขย่าต้นไม้อยู่นั่น เกิดแล้วในกำเนิดลิงสิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ, ถึงบัดนี้ก็เขย่าต้นไม้อยู่ ด้วยสามารถแห่งความประพฤติที่ตนได้เคยประพฤติมาแล้วในกาลก่อนนั่นเทียว. เสียงของเราย่อมไม่เข้าหูของเขา.
    แม้พราหมณ์ผู้นั่งแหงน (หน้า) มองอากาศอยู่นั่น ก็เกิดเป็น (หมอ) ผู้บอกฤกษ์สิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ, ถึงบัดนี้ แม้ในวันนี้ก็ยังแหงน (หน้า) ดูอากาศอยู่ ด้วยสามารถแห่งความประพฤติที่ตนได้เคยประพฤติมาแล้ว ในกาลก่อนนั่นเทียว. เสียงของเราย่อมไม่เข้าหูของเขา.
    ส่วนพราหมณ์ผู้ฟังธรรมโดยความเคารพนั่น เกิดเป็นพราหมณ์ผู้ท่องมนต์๑ ถึงฝั่งแห่งเวท ๓ สิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ, ถึงบัดนี้ ก็ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ เป็นดังเทียบเคียงมนต์อยู่.
    ____________________________
    ๑มนฺตชฺฌายกพฺราหฺมโณ.

    อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์ย่อมแทรกอวัยวะทั้งหลาย มีผิวเป็นต้น (เข้า) ไปจดเยื่อกระดูกตั้งอยู่ เพราะเหตุไร อุบาสกเหล่านี้แม้เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ จึงไม่ฟังโดยเคารพ?
    พระศาสดา. อานนท์ เธอเห็นจะทำความสำคัญว่า "ธรรมของเราอันบุคคลพึงฟังได้โดยง่ายกระมัง?"
    อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรม (ของพระองค์) อันบุคคลพึงฟังได้โดยยากหรือ?
    พระศาสดา. ถูกแล้ว อานนท์.
    อานนท์. เพราะเหตุไร? พระเจ้าข้า.
    พระศาสดา. อานนท์ บทว่า "พุทฺโธ" ก็ดี "ธมฺโม" ก็ดี "สงฺโฆ" ก็ดี อันสัตว์เหล่านี้ไม่เคยสดับแล้ว ในแสนกัลป์ แม้เป็นอเนก เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านี้จึงไม่สามารถฟังธรรมนี้ได้.
    แต่ในสงสารมีที่สุดอันใครๆ ตามรู้ไม่ได้ สัตว์เหล่านี้ฟังดิรัจฉานกถามีอย่างต่างๆ นั่นแล มาแล้ว เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านี้จึงเที่ยวขับร้องฟ้อนรำอยู่ในที่ทั้งหลาย มีโรงดื่มสุราและสนามเป็นที่เล่นเป็นต้น จึงไม่สามารถจะฟังธรรมได้.
    อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกทั้งหลายนั่นอาศัยอะไรจึงไม่สามารถ?
    ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสแก่พระอานนท์ว่า
    "อานนท์ อุบาสกเหล่านั้นอาศัยราคะ อาศัยโทสะ อาศัยโมหะ อาศัยตัณหา จึงไม่สามารถ. ชื่อว่าไฟ เช่นกับด้วยไฟคือราคะไม่มี, ไฟใดไม่แสดงแม้ซึ่งเถ้า ย่อมไหม้สัตว์ทั้งหลาย.
    แท้จริง แม้ไฟซึ่งยังกัลป์ให้พินาศ ที่อาศัยความปรากฏแห่งอาทิตย์ ๗ ดวงบังเกิดขึ้น ย่อมไหม้โลก ไม่ให้วัตถุไรๆ เหลืออยู่เลย ก็จริง. ถึงกระนั้น ไฟนั้นย่อมไหม้ในบางคราวเท่านั้น ชื่อว่ากาลที่ไฟคือราคะ จะไม่ไหม้ ย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น ชื่อว่าไฟเสมอด้วยราคะก็ดี ชื่อว่าผู้จับเสมอด้วยโทสะก็ดี ชื่อว่าข่ายเสมอด้วยโมหะก็ดี ชื่อว่าแม่น้ำเสมอด้วยตัณหาก็ดี ไม่มี"
    ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
    ๘.นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ นตฺถิ โทสสโม คโห
    นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี, ผู้จับเสมอด้วยโทสะไม่มี, ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี, แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี.
    แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราคสโม ความว่า ชื่อว่าไฟเสมอด้วยราคะ ย่อมไม่มี ด้วยสามารถแห่งอันไม่แสดงอะไรๆ เช่นควันเป็นต้น ตั้งขึ้นเผาภายในนั่นเอง.
    บทว่า โทสสโม ความว่า ผู้จับทั้งหลาย มีผู้จับคือยักษ์ ผู้จับคืองูเหลือม และผู้จับคือจระเข้เป็นต้น ย่อมสามารถจับได้ในอัตภาพเดียวเท่านั้น แต่ผู้จับคือโทสะ ย่อมจับโดยส่วนเดียวทีเดียว เพราะฉะนั้น ชื่อว่าผู้จับเสมอด้วยโทสะย่อมไม่มี.
    สองบทว่า โมหสมํ ชาลํ ความว่า ก็ชื่อว่าข่ายเสมอด้วยโมหะ ย่อมไม่มี เพราะอรรถว่ารึงรัดและรวบรัดไว้.
    บทว่า ตณฺหาสมา ความว่า เวลาเต็มก็ดี เวลาพร่องก็ดี เวลาแห้งก็ดี ของแม่น้ำทั้งหลายมีแม่น้ำคงคาเป็นต้น ย่อมปรากฏ แต่เวลาเต็มหรือเวลาแห้งแห่งตัณหา ย่อมไม่มี. ความพร่องอย่างเดียวย่อมปรากฏเป็นนิตย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าแม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ย่อมไม่มี เพราะอรรถว่า ให้เต็มได้โดยยาก.
    ในกาลจบเทศนา อุบาสกผู้ฟังธรรมอยู่โดยเคารพนั้น ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว.
    พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล. <center>
    เรื่องอุบาสก ๕ คน จบ.
    ___________________________________________________


    เจอ! อรรถกถานี้ เลยนำมาฝาก คุณหลง
    เท่าที่ดู เนื้อความแล้ว
    สรุปว่า เรียนธรรมแล้วรู้เรื่องนี่นะ จะต้องเคยเรียนมาก่อนเป็นเอนกอนันต์ เลยล่ะ (แสนกัลป์)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2018
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อนุโมทนานะครับ ^^


    เท่าที่ศึกษาประวัติพระสาวกที่บรรลุธรรมต่างๆ ล้วนมีการสร้างเหตุปัจจัย สั่งสมอุปนิสัยกันมาทั้งนั้นครับ เยอะด้วย ^^

    ที่สนใจ เพียร ภาวนา ศึกษา ปฏิบัติ น้อมไปทางพระวจนะบ้าง น้อมไปทางสำนักลักธิบ้าง ก็ตามอุปนิสัยที่สังสมมา

    เป็นไปตามจริต จนกว่าจะเป็นสัมมาทิฏฐิ หรือได้พบธรรมที่ตรง ธรรมที่พระพุทธองค์อุบัตินั้นแล

    ตอนนี้ ยุคนี้ถือว่ารุ่งเรืองทางพุทธศาสนาอยู่

    ยังมีพระไตรปิฏกให้ศึกษาเพียงแค่มีกุศลเจตนาบังเกิด ก็คลิก ค้น หา ฟัง พิจารณา

    กระทำสุตมยปัญญา จินตมยปัญญาให้เกิดได้


    คุณมังคละมุนีก็สร้างเหตุมาหลายชาติ หลายสมัยอยู่ ฟังจากทัศนะ

    และการหยิบยกธรรมที่ควร เน้นธรรมที่เห็น มาแบ่งปันมิตรสหายนะครับ ^^





    ผิดกัน สมัยพุทธกาล ก็มีผู้ไม่นิยมในพระธรรมก็มี

    เช่น นิรครณ์ เดียรถีร์ นักบวชนอกศาสนา

    ซึ่งท่านเหล่านั้นก็มีจริตในธรรมอยู่ แต่สั่งสมมาผิด เหตุให้เข้าใจผิด เพียรผิด มีทิฏฐิผิด

    ฟังพระธรรมเป็นแสบหู เห็นเป็นแสบตา ยึดมั่นในทางตน ของตน

    แม้ศึกษาธรรมก็อดไม่ได้ ที่จะมีทิฏฐิเข้าตน ของตน

    ซึ่งกรรมอนัตริยกรรมยังหายใจได้บ้าง แต่ กรรมมิจฉาทิฎฐิมีแต่ดิ่งสุดขอบจักรวาฬ

    เป็นความเห็นนะครับ ^^
     
  5. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    พระพุทธะ พระปัจเจกพุทธะ พระอริยะ อย่าไปปรามาสเข้าเชียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2012
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    บทนี้น่าพิจารณาดี

    ก่อนพระพุทธองค์จะตรัสธรรมใดๆ ทรงกำหนดใจดูว่าใครมีเหตุให้รู้แจ้งธรรมในขณะนั้นบ้าง

    แม้จะมีผู้ฟังเป็นร้อย เป็นพันคน หากมีคนเดียวที่มีเหตุให้แจ้งธรรม พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสธรรมให้เหมาะแก่ผู้นั้น

    เมื่อผู้นั้นมีสติ มีกุศลจิตพร้อม จึงทรงตรัสอริยสัจสี่

    บางคนฟัง แต่ศรัทธาไม่เกิด หรือปิติมากเหลือเกิน ก็ยังไม่ทรงตรัสธรรมลึกซึ้ง

    เพราะจิตยังไม่พอเหมาะ อินทรีย์ไม่พอดีแก่การแจ้งธรรม
     
  7. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    อัทธานะ (อัด-ทา-นะ) ทางไกล

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
    สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
    ปริญญาสูตรเจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ

    [๑๐๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้
    อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ (ทางไกล) อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน?
    คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล
    อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ.​

    จบ สูตรที่ ๓​
    _____________________________________________________


    ปริญญาสูตรนี้ มุ่งชี้แจงว่า

    การเรียนรู้อินทรีย์ ๕ ย่อมกำหนดรู้ได้ ว่ากำลังอยู่ห่าง จากเป้าหมาย เท่าไร
    และ
    ขณะนี้ ตนเองกำลังเดินทาง มาอยู่ส่วนไหน ของ เส้นทางแล้ว

    อัทธานะ...อัทธานะ...อัทธานะ...
    เมื่อรู้จักเส้นทางแล้ว รู้จักเป้าหมายแล้ว ถึงจะไกลสักเท่าไร ก็จะไป ให้ถึง!

    ขอให้ แรงอธิฐานจิต อันมุ่งมั่น ของ ท่าน จงสำเร็จ!

    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2021
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    มองอีกมุม

    ท่านสุปปพุทธกุฏฐิ แม้ก่อนและหลังบรรลุพระโสดาบันนั้น

    ท่านก็มีลักษณะ เป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้

    เรื่องการ ดูถูก เหยียดหยาม ถูกด่า ถูกเอาเปรียบน่าจะเกิดอยู่ตลอดชีวิต

    ทีนี้ ท่านมีปัญญาเป็นทรัพย์ เป็นผู้อาจหาญในธรรมแล้ว แต่คนทั่วไปไม่ไปรู้อะไรกับท่านด้วย

    ก็ยังเห็นเป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ เป็นปกติ

    เราไม่รู้หรอก ใครมีคุณธรรมใดบ้าง การไปปรามาส ไปตัดสินเพียงรูปภายนอก ความเคยชิน นี้ก็อันตรายเหมือนกัน
     
  9. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    พ่อค้า

    มีเรื่องมาเล่า คุณหลงน่ะ

    ผมเคยได้ยิน พระอาจารย์ ชื่อดัง ที่แถวบ้านผม เทศน์ว่า

    พระพุทธเจ้า ท่านดูเหมือนกับ พ่อค้า ขายของ พวกเราก็เป็นลูกค้า เดินเข้าไปในร้าน
    พอหยิบสินค้าดู พ่อค้าก็มาเชียร์ สินค้าชนิดต่างๆ ของท่าน

    หยิบอันโน้น ก็ดี, หยิบอันนี้ ก็ดี, หยิบอันไหน ก็ดี, ดีๆ ดีไปหมดทั้งร้าน
    เราก็เห็นดี ตามที่ท่านเชียร์นั้น ว่าดีจริง Oh! every good every good

    เราก็เลยหอบ สินค้ามา พะรุง พะรัง เต็มไม้ เต็มมือ จะมา จ่ายเงิน

    พ่อค้า กลับบอก ว่า นี่คุณๆ เลือกเอาไป สักอย่าง สองอย่างก็พอ
    รับรองว่าคุณภาพเหมือนกับ ได้สินค้าหมดทั้งร้านนี้เลย
    คนซื้อ เลย งง ยืนเกาหัว แกรกๆ??

    คุณหลงลองไป คิดดูนะ ว่าหมายถึงอะไร? ฮิ..ฮิ..
     
  10. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    ใบไม้กำมือเดียว อะป่าวท่าน
    (ไม่ได้อ่านอ่านบน ไม่รู้จะเกี่ยวกันมั้ย อิอิ)
     
  11. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ตอบนี้ ถูกต้อง ครับผม

    นี่ๆ คุณหลง
    จะใช้ตอบ คำตอบ ของ คุณ somchai_eee ไม่ได้แล้วนะ

    ต้องหา คำตอบอื่น มาตอบใหม่ นะครับ
     
  12. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    พระกถาทุกบทนำเป็นหนทางไปสู่มรรคแปดได้

    ล้วนเป็นเครื่องออกจากทุกข์ได้เหมือนกันหมด

    แต่การเหมาร้าน เกิดจากความโลภอยากดี ใช้ของไม่คุ้มประโยชน์

    ได้แค่กระพี้ เข้าไม่ถึงแก่น ^^
     
  13. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ถูกต้อง แล้ว ครับ คุณหลง

    เยี่ยม ยุทธ เหมือนเดิม

    _____________________________________________

    ส่วนคำตอบ พระอาจารย์ เจ้าของเรื่อง "พ่อค้า" ท่านตอบว่า

    การปฏิบัติอานาปานสติ อย่างเดียว ได้ธรรมที่ควรต้องการ ครบทุกอย่าง

    _____________________________________________

    ส่วนของผม ขอตอบว่า ธรรมสโมธาน ครับ คือหมายความว่า

    ถ้าเราปฏิบัติธรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างถูกต้อง ในการปฏิบัติธรรมนั้นๆ ย่อมรวบรวมเอาธรรมอย่างอื่นๆ เข้ามาร่วมด้วย โดยอัตโนมัติ
     
  14. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    กว่าจะเข้าถึงแก่นได้นี่สิ ต้องอาศัยอิทธิบาท4 ฝ่ายกุศล
    อาจจะมีโลภะในระยะแรก เพื่อให้จิตโสมนัส
    เมื่อจิตโสมนัส ก็เปลี่ยนไปในฝ่ายกุศลได้ง่ายค่ะ
     
  15. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ทิฏฐิ ที่ 35-42 ใน ทิฏฐิ62

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
    อสัญญีทิฏฐิ ๘
    [๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการ ตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจาก การตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ด้วยเหตุ ๘ ประการ? สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมบัญญัติว่า เบื้องหน้าแต่ตาย

    ๓๕. (๑) อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๓๖. (๒) อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๓๗. (๓) อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๓๘. (๔) อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๓๙. (๕) อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๔๐. (๖) อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๔๑. (๗) อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา.
    ๔๒. (๘) อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน ไม่มีสัญญา. ดูกร

    ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย ไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญาด้วยเหตุ ๘ ประการนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย ไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา สมณพราหมณ์เหล่านั้น ทั้งหมดย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๘ ประการนี้เท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้น แล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่ง กว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป คุณและ โทษของเวทนาทั้งหลายกับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริงจึงทราบ ความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ยึดมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
    ___________________________________________________

    กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่ จึงเอามาฝาก คุณหลง ให้ช่วยดู เผื่อ คุณหลง จะมีความคิดดีๆ ทำให้เรื่องนี้ กระจ่างมากยิ่งขึ้น

    Thank you
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2021
  16. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ๘ ข้อนี้ มีทั้งสสัตทิฏฐิ และ อุเฉกทิฏฐิ

    เป็นทิฏฐิ ใครมีทิฏฐิอย่างไรก็มักเห็นแต่สิ่งนั้น เพราะเขาเชื่ออย่างนั้น จึงน้อมไปแต่สิ่งนั้น

    พอใจจะพบ จะเห็น จะฟัง จะได้ยิน จะข้องแต่งสิ่งนั้น ^^

    พระพุทธองค์ทรงชี้เหตุแห่งทิฏฐิ

    " เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ บุคคลถืออย่างนั้น แล้ว ยึดอย่างนั้นแล้ว ย่อมมีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น "



    เป็นความเห็นนะครับ


    เป็นทิฏฐิ ของพวกทำฌาณ รูป อรูป จนถึงเนวสัญญา

    ซึ่งผู้เจริญได้ระดับหนึ่ง ก็ปักใจเชื่อ ว่านี้ที่สุดหนึ่ง

    ที่จริงก็จริงของสภาวะ แต่ไม่เป็นที่สุดของสภาวะ ที่สุดของสภาวะไม่ใช่อัตตา แต่เป็นปัญญาสลัดอัตตา

    เช่น บางคนมีความคิดว่า ความคิดเป็นเหตุทุกข์ทำให้ทุกข์ จึงหาวิธีดับความคิด

    เมื่อภาวนาไป ไม่นานความรู้สึกทางกายหายเหลือแต่จิต ก็สำคัญว่าหลุดพ้น

    ซึ่งขณะนั้น ก็เป็นอัตตา ความเห็นจิตเที่ยงตามมา เยอะครับ

    บางคนลึกไปกว่านั้น บางคนรู้สึกยังติดข้องในนาม ยึดจิตแล้วผลักที่ติดข้องออกไปเป็นชั้นๆ

    แต่ยังไงก็ยัง คว้าจิตเป็นตน มีความรู้สึกว่าจิตนั้น รู้นั้นเป็นตนอยู่

    จนสำคัญว่าจิตนี้ไม่มีขันธ์ปรุงแต่งแล้ว ทัศนะอย้างนี้เป็นบรมอัตตา ในอาตมัน

    สมัยพุทธกาลถกกันมาแล้ว พวกพราหม์บอกนิพพานของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ของใหม่อะไร

    ทีนี้ พระพุทธองค์ผ่านมาหมดแล้ว ตัดความติดข้องด้วยอนัตตาตลอดสาย

    ท่านแทงตลอดไง รู้ว่าหากขึ้นชื่อว่าอัตตาแล้วไซ้ร สิ่งนั้นต้องเที่ยงแท้ถาวร บังคับได้

    แต่ทิฏฐิเรื่องมีรูป ไม่มีรูป มีรูปก็ไม่ใช่ มีรูปก็ไม่ใช่ พวกนี้เกิดจากเหตุปัจจัย

    สิ่งใดเป็นผล สิ่งนั้นก็ต้องเป็นเหตุอีกทีนึง มีปัจจัยให้เกิด

    คือเดี๋ยวมีเดี๋ยวไม่มี จะให้มันมีหรือไม่มีตลอดเป็นไปไม่ได้

    สภาพเช่นนี้ไม่เรียกอัตตา

    ๔ ข้อนี้สูงขึ้นมาอีกหน่อย ทิฏฐิพวกจิตรู้ ( ไม่พูดต่อนะครับ )

    สรุป กลับมาที่ อัตตา และ อนัตตา ความเป็นกู ของกู กับ ไม่มีอะไรเป็นกู ของกู

    จริงๆสภาวะเป็นสัจจะล้วนถูกหมด แต่ทัศนะผิด เมื่อเห็นผิด ก็เข้าใจผิด วิมุตติแบบผิดๆ

    เฉือนกันแค่นั้น แม้เล็กน้อยแต่มหาศาล เพราะไม่พ้นอุปทาน

    เมื่อไม่เห็นก็หลงติด เมื่อติดก็ไม่หลุดพ้น ^^

    พระพุทธองค์แก้ด้วยบทนี้ครับ " ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น ความดับไป "

    ข้อนี้ แทงตลอดในเหตุปัจจัย ถ้าเข้าใจความเกิดดับ เกิดแต่ปัจจัยก็ไม่มีใครไปยึด

    แม้วิญญาณขันธ์ที่ทำกิจรู้อยู่ก็เกิดแต่ปัจจัย


    ที่จริงมีพระสูตรคล้ายๆกันครับ ทรงตรัสแก้ประมาณว่า รู้มันเฉพาะหน้านั้นแล

    ไม่มีทิฏฐิไปตัดสินสภาวะธรรมใดๆทั้งสิ้น เป็นเครื่องนำออก

    มันเกิดขณะนี้รู้เกิด มันดับขณะนี้รู้ดับ มันมีแล้วไม่มีแค่นั้น

    เพราะแตกนิจจังออกไป แตกฆนะออกไป ตามสัจจะที่ปรากฏ

    เป็นปัญญาประจักษณ์ความเป็นอนัตตา ก็วางในรูปนามนั้นได้


    ทั้งหมด เป็นความเห็นนะครับ อาจจะไม่ถูกก็ได้

    แท้งค์ ยู^^
     
  17. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    มีข้อ สังเกต อย่างหนึ่ง ว่า
    ทุกๆข้อ ใน ทิฏฐิเหล่านี้ ลงท้าย ว่า ไม่มีสัญญา

    คุณหลง มี ความเห็น ว่า อย่างไร?

    ไม่มีสัญญา หมายถึง ความพยายามที่จะหยุดปรุงแต่งหรือเปล่า? หรือคุณหลงมีความเห็นอื่นๆใดจะมาเสริม?

    Thank you
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แสดงความเห็นนะครับ น่าจะเข้าใจเหมือนคุณมังคละมุนี

    เข้าใจว่าไปให้น้ำหนักความคิด หรือการไม่มีความคิดเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ความเชื่อนี้ยังมีให้เห็นเยอะเข้าไว้

    เช่น ตากระทบ สัญญาเกิดรู้ทันทีนี้อะไร นี้สีอะไร รูปอะไร คือเห็นตัดสินเป็นคนสัตว์ บุคคลขึ้นมา

    ตรงนี้เข้าใจว่า ไปพยายามดับสัญญานั้น ทำให้มันว่างๆ กลวงๆเข้าไว้ แล้วบอกว่ารู้ซื่อๆ ด้วยอำนาจสมาธิอะไรก็ตาม

    ไม่รับรู้สภาพธรรมอะไรเลย แล้วพูดเอา จิตแยกออกมาจากขันธ์

    ข้อนี้ไม่ได้เป็นปัญญา ประจักษ์ความจริงที่ปรากฏเลย

    แทนที่จะรู้ว่าขณะนี้รู้ที่ลักษณะของสัญญา ไม่ใช่เรื่องราวของสัญญา

    ปัญญารู้สัญญาทำกิจให้ถูกรู้อยู่ขณะนี้

    รู้แบบนี้เป็นสักว่ารู้ รู้แล้วสลัดทันที ไม่ข้องในสัญญา ทิฏฐิไม่เป๋ด้วย

    อีกนัยยะ คุณลองค้น สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ดูครับ

    ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มิถุนายน 2012
  19. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ลักษณะ ของ มรรคสมังคี

    [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น
    สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ

    เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ จึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา จึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ จึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ จึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ จึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติ จึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิ จึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ จึงพอเหมาะได้
    เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ จึงพอเหมาะได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้ ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐

    ________________________________________________________________

    ดูจากพระสูตรนี้ องค์พุทธะ ท่านทรง เน้นว่า ให้คิดให้ถูกต้องก่อน แล้วจึงจะมี สัมมาอื่นๆ รวมทั้งสัมมาสมาธิ ซึ่งตามมา อยู่ข้อท้ายๆ

    ผมว่านะ บางคนเขา ไม่ได้ไปบำเพ็ญแบบนั่งหลับตาหรอก แต่ภายในจิตใจของเขา เข้าใจสัมมาต่างๆ ในขณะที่ ดำรงชีวิตประจำวันอยู่
    แล้วในใจ มีความเป็นสัมมาอยู่ตลอด และ เพาะบ่มอยู่นาน

    พอจังหวะที่ จิต มีสภาวะ เหมาะเจาะ สมควรแก่การงาน(ทำลายอาสวะ) ก็เกิด สัมมาสมาธิ แค่ชั่วขณะ จิต (2-3 วินาที) แล้วบรรลุ เป็น อริยะขั้น ต่างๆ


    สังเกตเห็นได้ จากประวัติ จังหวะ แห่งการบรรลุธรรม ของ พระอรหันต์ หลายๆองค์ ในพระไตรปิฎก ขณะที่ท่านบรรลุ ก็มิได้ นั่งหลับตาอยู่ ก็มีอยู่หลายท่านนะ

    จริงไม๊ คุณหลง?

    Thank you
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2021
  20. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    จริงครับ ก็วิปัสสนาไงครับ

    ไม่เข้าใจกัน ก็ไม่นั่งหลับตารีบทำให้สงบ ให้ตั้งมั่น รอดิ่งเป็นสภาวะ แล้วก็เกิดทิฏฐินั้นๆไปตามสภาวะ

    และก็ไม่ใช่ไปนั่งตรึก นั่งคิด ขบชีวิตคิดเอา แล้วเหมานี้ปัญญา

    จะรู้สัจจะ จะคลายวิปริต ก็ต้องรู้จักลักษณะธรรมที่เกิด


    ในพุทธกาล พระอริยะสาวกท่านลงวิปัสนาหมด สัมมาสังกัปปะจึงเกิด

    สัจจะอยู่ตรงอริยะสัจ ไตรลักษณ์ พระพุทธองค์ชี้เหตุให้พิจารณา ตรงขันธ์ ธาตุ อายตนะที่ปรากฏอยู่

    ทีนี้ มีเยอะครับ นั่งฟังธรรมพิจารณาตาม ญาณขึ้น บรรลุ

    หรือนั่งลูบผ้า เพ่งประทีป ดูฝน ขณะนั้นอินทรีย์ท่านบริบูรณ์แล้ว พิจารณาความเห็นความไม่เที่ยง จนบรรลุ

    คงไม่ใช่เพ่งประทีป นั่งหลับตา ลูบผ้าไปเรื่อย แล้วรอ รอ รอ ว่ามันจะถึงธรรม

    เห็นธรรมจริง ใช้เวลาไม่นาน มันมีสภาวะมารองรับครับ จะรู้ด้วยตนเอง เข้าใจเอง

    ว่าถึงญาณใด ภูมิใด ไม่จำเป็นต้องถามใคร

    ข้อนี้ หมายถึง ผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน วิปัสสนา
    เผลอไม่นานก็กลับมามีสติรู้ใหม่ ยังไงก็ไม่ข้ามวัน วันนึงอาจเกิดไม่เยอะ
    แต่มันกลายเป็นวิถีชีวิตไปแล้ว เมื่อมีปกติเจริญสติปัฏฐาน ศีลก็ปกติไปด้วย เพราะเกิดอินทรีย์สังวรณ์

    ศีลนี้ ไม่ใช่ศีลมรรค แต่ศีลมรรคท่านจัดลงเป็นศีล
    จะเจริญศีลมรรค ต้องกุศลกรรม๑๐ ได้ชื่อว่า เจริญสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ สัมมากันมันตะ


    อย่างเรานี่ บัวเหล่าที่ ๔ ครับ ปรมะ
    ทั้งฟัง ทั้งศึกษา ทั้งเพียร ทั้งภาวนา ครั้ง๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ สั่งสมภูมิ สร้างเหตุดี ละเหตุชั่วไป กว่าจะล้างมิจฉาทิฏฐิได้หมด เยอะครับ

    ถ้าสัมมาทิฏฐิเกิดก็ไปเร็วเลย เพราะเข้าทางมรรค
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 มิถุนายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...