สุริยวรมัน กษัตริย์กัมพูชา แห่ง "นครวัด" มีเครือญาติใกล้ชิด คือ สยาม, ละโว้, พิมาย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 19 พฤศจิกายน 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    สุริยวรมัน กษัตริย์กัมพูชา แห่ง "นครวัด" มีเครือญาติใกล้ชิด คือ สยาม, ละโว้, พิมาย

    คอลัมน์ สุวรรณภูมิสังคมวัฒนธรรม Sujit WongThes



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    (บน) เนะ สยำกุกฺ-นี่ เสียม กุก (ล่าง) คัดลอกเป็นลายเส้น โดย คงศักดิ์ กุลกลางดอน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>สรุปจากหนังสือเสียมกุก ขบวนแห่ของชาวสยาม "เครือญาติ" เขมร ที่นครวัด เป็นใคร? มาจากไหน?ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ

    พิมพ์ครั้งแรก 2552 โดยกองทุนแบ่งปันเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ (Knowledge Dissemination Fund)

    150 บาท

    เสียมกุก รูปสลักนูนต่ำ บนระเบียงประวัติศาสตร์ของปราสาทนครวัด มีอายุราว พ.ศ.1650

    คือ ขบวนแห่ของชาวสยาม จากรัฐและบ้านเมืองบริเวณสองฝั่งโขงที่เป็นเครือญาติใกล้ชิดสนิทสนมของกษัตริย์กัมพูชายุคนั้น

    ชาวสยาม ยุคนั้นมีศูนย์กลางอยู่สองฝั่งโขงบริเวณที่เป็นเวียงจันในสมัยหลังสืบจนปัจจุบัน

    เสียมกุก ไม่ใช่กองทัพสยามจากกรุงสุโขทัย ตามที่เคยเข้าใจว่าเป็นเมืองขึ้นของกัมพูชา

    ภาพสลักขบวนแห่บนระเบียงประวัติศาสตร์ที่ปราสาทนครวัด ล้วนเป็นขบวนแห่ของฝูง "เครือญาติ" ที่ยกย่องยอมรับอำนาจยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ราชอาณาจักรกัมพูชาสมัยนั้น คือพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2

    ขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเมืองพระนครครั้งนั้นมีบ้านเมืองเป็น "เครือข่าย" อยู่บนเส้นทางคมนาคม-การค้ากว้างขวาง คือ

    ทางตะวันตก และตะวันตกเฉียงเหนือ มีเมืองละโว้ เป็นศูนย์กลาง แล้วขยาย "เครือข่าย" เข้าไปถึงดินแดนลุ่มแม่น้ำยม-น่าน ถึงลุ่มน้ำแม่ปิง-แม่วัง กับลุ่มน้ำสาละวินที่อยู่ตอนเหนือของพม่า

    ทางเหนือ มีเมืองเวียงจัน (หรือ ศรีโคตรบูร) เป็นศูนย์กลางของพวกสยาม มี "เครือข่าย" ขึ้นไปถึงลำน้ำอูอยู่ตอนเหนือของลาว ถึงลำน้ำกกอยู่ทางเหนือของไทย แล้วมีเส้นทางคมนาคมต่อเนื่องเข้าไปเกี่ยวข้องกับกลุ่มชนลุ่มแม่น้ำแดง-แม่น้ำดำ ที่ภาคเหนือทางเวียดนาม รวมทั้งดินแดนทางใต้ของจีน (เขตยูนนาน) ที่มีอาณาจักรใหญ่ตั้งอยู่คือน่านเจ้าและคุนหมิง

    บริเวณอีสานใต้ หรือดินแดนลุ่มแม่น้ำมูลก็นับเป็นทางเหนือของเมืองพระนคร มีเมืองพิมายเป็นศูนย์กลาง แวดล้อมด้วยบ้านเล็กเมืองน้อยอยู่กระจัดกระจายเต็มไปหมด เช่น เขตที่เคยเป็นรัฐศรีจนาศะมาก่อน รวมทั้งกลุ่มเมืองพนมรุ้ง ฯลฯ

    เขตนี้มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เช่น เกลือ (สินเธาว์) กับเหล็ก ส่งลงไปบำรุงเลี้ยง เมืองพระนครผ่านลงไปทางช่องเขาจำนวนมากบริเวณทิวเขาพนมดงเร็ก (เขาไม้คาน)

    ก่อนการสร้างปราสาทนครวัด มีความเปลี่ยนแปลงทางการค้าเกิดขึ้น คือจีนเปิดประเทศออกสู่โลกกว้างทางทะเล แล้วแต่งสำเภาด้วยเทคนิควิทยาก้าวหน้าออกมาค้าขายโดยตรงกับบ้านเมืองแว่นแคว้นที่อยู่ใกล้ทะเล คือไม่ผ่าน "คนกลาง" อย่างแต่ก่อน ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวทางการค้าคึกคัก ความมั่งคั่งก็ตามมา <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    กวนเกษียรสมุทร รูปสลักบนระเบียงทิศตะวันตก ปีกด้านใต้, ปราสาทนครวัด (ภาพจากหนังสือ Of Gods, Kings, and Men. Text by Albert le Bonheur Photographs by Jaroslav Poncar.)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เมืองพระนครที่ครอบครองทะเลสาบ ควบคุมเส้นทางคมนาคม-การค้า ทั้งภายนอก (ทางทะเลผ่านปากแม่น้ำโขง และภายใน (ทางบกและแม่น้ำลำคลอง) ที่มีฝูง "เครือญาติ" เป็น "เครือข่าย" ย่อมมีโอกาสค้ากำไรได้ความมั่งคั่งจากความเปลี่ยนแปลงทางการค้านั้น มาบำรุงราชอาณาจักรกัมพูชา เห็นได้จากการสร้าง ปราสาทนครวัดเป็นมหาเทวสถานอันยิ่งใหญ่นั่นแหละ

    พิธีรวมญาติ

    ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา


    รูปสลักที่ระเบียงปราสาทนครวัด คือเรื่องพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ยอยกกษัตริย์สุริยวรมันแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาให้เป็นพระวิษณุ

    พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ที่ว่านั้น คือ กวนเกษียรสมุทร ที่มีรูปสลักอยู่ถัดไปข้างหน้า (ระเบียงทิศตะวันออก) เพื่อทำน้ำอมฤต เข้าพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

    ขบวนแห่ ยอยกพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ คือพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ฉะนั้นบรรดาผู้มีสิทธิเข้าร่วมขบวนแห่ ควรเป็นฝูง "เครือญาติ" เป็นเชื้อสายผู้มีศักดิ์ เช่น พระราชวงศ์, พราหมณ์ปุโรหิต, นักบวช, ขุนนางผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายทหาร และพลเรือน, ฝ่ายในกับฝ่ายหน้า, รวมถึงราชตระกูลที่ยังทรงพระเยาว์

    รูปสลักเสียมกุก ที่เรียกและรู้จักกันทั่วไปเมื่อภายหลังในชื่อ "กองทัพสยาม" คงเป็นขบวนแห่ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์นี้ขบวนหนึ่ง นับเป็นขบวนของ "เครือญาติ" ฝูงหนึ่งที่เกี่ยวดองกันทางการแต่งงาน



    พิธีกวนเกษียรสมุทรนี้ ทางกรุงศรีอยุธยารับแบบแผนไปจากเขมรเมืองพระนคร แล้วเรียกชักนาคดึกดำบรรพ์ มีผู้รู้ภาษาเขมรอธิบาย ว่า "ดึกดำบรรพ์" เพี้ยนมาจากคำเขมรว่า "ตึ๊กตะบัล" (ตึ๊ก = น้ำ ตะบัล = ตำ) แปลว่าตำน้ำ หรือกวนน้ำ

    ต่อมาราชสำนักกรุงศรีอยุธยาพัฒนาการละเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ให้ประณีตขึ้น แล้วก้าวหน้าเป็นการเล่นรามเกียรติ์กลางสนามเฉพาะฉากยกรบ มีแต่พากย์กับเจรจา ไม่มีร้องลำ เรียกว่า โขน ถือเป็นเครื่องราชูปโภค เล่นในพิธีกรรมสรรเสริญพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น

    อนึ่ง ยังเป็นเค้ามูลให้รู้พิธีถือน้ำพระพัทธ์ หรือถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ที่มีโองการแช่งน้ำ เป็นวรรณคดีสำคัญ

    รูปสลักเล่าเรื่องต่างๆ บนระเบียงรอบปราสาทนครวัด ยังเป็นต้นแบบให้เขียนรูปเรื่องรามเกียรติ์บนผนังระเบียงคดรอบโบสถ์ วัดพระแก้ว ยุครัตนโกสินทร์ด้วย

    ขบวนแห่ของ"เครือญาติ"

    คือ"เครือข่าย"บนเส้นทางการค้า
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    งานพระราชพิธีของพระเจ้าศรีสวัสดิ์และข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสในการเฉลิมฉลองรับ "ปราสาทนครวัด" รวมทั้งดินแดนเสียมเรียบ พระตะบอง และศรีโสภณ ที่ได้คืนมาจากสยามในปี ค.ศ.1907 (คำอธิบายจากหนังสือ สยามประเทศไทย กับ "ดินแดน" ในกัมพูชาและลาว โดย ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ มูลนิธิโครงการตำราฯ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2552) (ภาพจากหนังสือ Ruins of Angkor Cambodia in 1909 By P. DIEULEFILS, Photo-Editor in HANOI Preface by M. Etienne AYMONIER, Former Director of the colonial School, Paris, Text by Louis FINOT, Former Director of L?Ecole Francaise d? Extream Orient in Hanoi Director-general of the L?Ecole Pratique des Hautes-Etudes, Facsimile edition published by River Books, Bangkok 2001)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    รูปสลักขบวนแห่ในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่ปราสาทนครวัด นอกจากแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ฉัน "เครือญาติ" ระหว่างกษัตริย์เขมรเมืองพระนคร กับบ้านเมืองแว่นแคว้นหรือรัฐต่างๆ ที่อยู่โดยรอบและที่อยู่ห่างไกลออกไปแล้ว

    ยังบอกให้รู้ถึง "เครือข่าย" ทางการค้าภายในบนเส้นทางคมนาคม-การค้าครั้งนั้น โดยผ่านช่องเขาจำนวนมาก บริเวณทิวเขาพนมดงเร็ก (เขาไม้คาน)

    จารึกที่มีกำกับขบวนแห่ ทำให้รู้พระนามกษัตริย์องค์สำคัญและนามเจ้านายกับขุนนางที่เข้าร่วมขบวน แล้วยังให้ชื่อเมืองกับชื่อกลุ่มชนไว้ด้วย ทำให้รู้ว่ากษัตริย์เขมรเมืองพระนครสมัยนั้นมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติใกล้ชิดกับเมืองพิมาย, เมืองละโว้, เมืองเชงฺฌาล แล้วยังเกี่ยวข้องกับชาวสยามด้วย

    ที่จริงยังมีชื่ออื่นๆ อีก แต่สอบค้นไม่ได้ขณะนี้ว่าหมายถึงใคร? ที่ไหน?

    เมืองละโว้

    มีศูนย์กลางอยู่ที่ละโว้ ปัจจุบันคือจังหวัดลพบุรี อยู่ฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีพัฒนาการไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว หลังการติดต่อรับศาสนาจากอินเดีย ก็เติบโตก้าวหน้าขึ้นเป็นรัฐชื่อทวารวดี เมื่อราวหลัง พ.ศ.1100 (ราวพุทธศตวรรษที่ 12)

    ราวหลัง พ.ศ.1600 (ราวพุทธศตวรรษ ที่ 17) ร่วมสมัยกับปราสาทนครวัด บริเวณเมืองละโว้ ขณะนั้นมีชื่อในเอกสารว่ากัมโพช และเป็นพวกขอม ได้ขยายเครือข่ายความสัมพันธ์ขึ้นไปถึงหริภุญชัย (จังหวัดลำพูน) และอาจเกี่ยวข้องไปถึงบ้านเมืองแถบพุกามกับลุ่มแม่น้ำสาละวิน (ในพม่า) ด้วย นอกจากนั้นยังเกี่ยวดองกับบ้านเมืองบริเวณลุ่มแม่น้ำยม-น่าน เช่น เมืองทุ่งยั้ง (จังหวัดอุตรดิตถ์) ฯลฯ แล้วข้ามเทือกเขาไปถึงบ้านเมืองสองฝั่งโขง จนถึงเขตหลวงพระบาง (หรือเชียงดงเชียงทอง) เลยเข้าไปเขตยูนยานได้

    มีหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีจำนวนมาก ระบุว่า ละโว้เป็นรัฐเอกเทศในกลุ่ม "เครือญาติ" ของราชอาณาจักรกัมพูชา กษัตริย์เมืองละโว้เป็นเชื้อวงศ์เขมรเมืองพระนคร แต่เอกสารร่วมสมัยเรียกพวกละโว้ว่าขอม เช่น ขอมดำดิน ฯลฯ

    อีก 100 ปีต่อมาถึงราวหลัง พ.ศ.1700 (พุทธศตวรรษที่ 18) รัฐละโว้ย้ายราชธานีไปอยู่บริเวณที่เรียกอโยธยา (ภายหลังคือกรุงศรีอยุธยา) เพื่อควบคุมเส้นทางคมนาคม-การค้าทางทะเล ละโว้ก็ลดฐานะเป็นเมืองบริวารของกรุงอโยธยา (แล้วเป็นอย่างเมืองลูกหลวงของกรุงศรีอยุธยาในเวลาต่อมา) ขณะเดียวกันได้อุดหนุนให้เกิดรัฐสุโขทัยขึ้นภายใน โดยมี "เครือญาติ" เป็นเจ้าครองรัฐสุพรรณภูมิ (ภายหลังคือเมืองสุพรรณบุรี) ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา

    เมืองพิมาย

    มีศูนย์กลางอยู่ที่พิมาย ปัจจุบันคืออำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในกลุ่มต้นลำน้ำมูลเขตอีสานใต้ มีพัฒนาการไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว (เช่นเดียวกับละโว้) นักปราชญ์ส่วนมากเชื่อว่า บริเวณนี้เป็นถิ่นเดิมของราชวงศ์มหิธร ที่ภายหลังไปสถาปนาราชอาณาจักรกัมพูชาบริเวณทะเลสาบเขมร

    กษัตริย์เมืองพิมายเลื่อมใสพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน ได้สร้างปราสาทพิมายขึ้นเป็นพุทธสถาน (วัด) ในคติมหายาน เมื่อราวหลัง พ.ศ.1600 (ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 17) มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเฉพาะตัว คือส่วนบนของปรางค์ประธานมีลักษณะเป็นพุ่ม

    หลังจากนั้นกษัตริย์เขมรแห่งเมืองพระนคร (เชื้อวงศ์มหิธร แห่งลุ่มน้ำมูล) ให้ช่างเอาแบบไปสร้างปราสาทนครวัด เป็นปรางค์ 5 ยอดอย่างที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังเป็นต้นแบบให้ปราสาทพนมรุ้ง (ที่จังหวัดบุรีรัมย์) ด้วย

    จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง ระบุชัดเจนว่า กลุ่มพิมาย (พุทธ) กลุ่มนครวัด (ฮินดู) กับกลุ่มพนมรุ้ง (ฮินดู) เป็น "เครือญาติ" ใกล้ชิดสนิทกันทั้งนั้น แต่บางยุคก็ขัดแย้งกันบ้างเป็นเรื่องปกติธรรมดา

    สยาม

    ชื่อนี้มีพัฒนาการกว้างขวางยาวไกล และซับซ้อนมาก จิตร ภูมิศักดิ์ สอบค้นไว้อย่างลุ่มลึกรอบด้านที่สุดอยู่ในหนังสือความเป็นมาของคำสยามฯ (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2519) ว่าสยามเป็นทั้งชื่อดินแดนและเป็นทั้งชื่อกลุ่มชน ไม่จำกัดเผ่าพันธุ์

    ยุคแรกมีร่องรอยพวกสยามกระจัดกระจายอยู่ทาง "ข้างบน" ของภูมิภาค จากนั้นตั้งชมรมอยู่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขง ทางเหนือของลาวกับไทย แล้วค่อยๆ เลื่อนลง "ข้างล่าง" จนถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันตกก่อน (ตั้งแต่สุโขทัย, สุพรรณบุรี, เพชรบุรี, ลงทางใต้ถึงนครศรีธรรมราช)

    มีร่องรอยและหลักฐานประวัติศาสตร์ โบราณคดี บ่งชี้ให้เห็นความเคลื่อนไหวของสยามพวกหนึ่ง จากบริเวณสองฝั่งโขง ตั้งแต่เวียงจันถึงหลวงพระบาง เข้าไปมีส่วนทำให้เกิดรัฐสุโขทัยขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำยม-น่าน ในเวลาเดียวกันสยามอีกพวกหนึ่ง ได้รวมกับพวกละโว้ซึ่งเป็นขอม แล้วสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เอกสารชาวยุโรปสมัยต่อมาเรียกราชอาณาจักรสยาม

    แต่ชื่อสยามในจารึกขบวนแห่ที่ปราสาทนครวัด อยู่ในยุคเรือน พ.ศ.1650 ยังไม่มีกรุงสุโขทัย ยุคนั้นพวกสยามรวมกันเป็นกลุ่มก้อนชมรมอยู่บริเวณสองฝั่งโขง

    ˹ѧ
     
  2. jaya

    jaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +2,183
    อนุโมทนา...เราเป็นญาติทั้งทางโลก ตั้งแต่บรรพกาลอย่างนี้....ทั้งเป็นญาติทางธรรมเช่นกัน....ควรรักใคร่ปองดองกัน...มีเมตตากรุณาต่อกัน...ไม่เบียดเบียนกันหรือข่มเหงกัน....ช่วยกันสร้างความสงบสุขสันติด้วยกันเถอะ....
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
  4. i2shadow

    i2shadow เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2009
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +478
    นักวิชาการบางท่านบอกว่าเขมรกะขอมอันเดียวกัน บางท่านบอกว่าคนละอัน แต่ตอนเด็กพ่อหัดให้เขียนขอม ท่านบอกว่า ภาษาขอมเขมรก็อีกอย่าง ขอมไทยก็อีกอย่าง ขอมลาวก็อีกอย่าง ผมก็เลยเชื่อว่า ขอมกะเขมรไม่ใช่อันเดียวกัน

    เล่านิทานกีว่า ตำนานท้าวปาจิตคับเป็นตำนานคู่พิมายมาพันกว่าปี (เค๊าว่างี๊)และเป็นตำนานคู่เมืองเล็กเมืองน้อย กับพื้นที่ใกล้เคียงด้วยคับ ไปก๊อบมาจากเน็ตคับมาเล่าสู่กันฟัง สนุกๆคับ อาจจะยาวไปนิดนึงอย่าเบื่อก่อนล่ะคับ
    ท้าวปาจิตเป็นโอรสเจ้าเมืองอินทปัตถา เมื่อถึงวัยที่จะต้องแต่งงาน บิดาก็หาสตรีโฉมงามมาให้เลือก แต่ท้าวปาจิตก็ไม่ถูกใจ จึงขอออกเดินทางเพื่อแสวงหาคู่ครองด้วยพระองค์เอง แล้วท้าวปาจิตก็ออกเดินทางไปพร้อมกับทหารคู่ใจ ครั้นมาถึงหมู่บ้านในชนบทแห่งหนึ่ง ก็พบกับหญิงท้องแก่เดินสวนทางมากลางแดดแต่มีกลดทิพย์บังแสงแดดให้จึงรู้ว่าในท้องของนางเป็นผู้มีบุญตามที่พราหมณ์ได้บอกเอาไว้ ท้าวปาจิตจึงขออาศัยอยู่ด้วย นางและสามีก็ยินดี ตลอดระยะเวลาที่อยู่กับชาวนาสองผัวเมีย ท้าวปาจิตก็ช่วยเหลือการงานทำไร่ไถ่นาและก็เอ่ยขอว่า ถ้าคลอดออกมาเป็นผู้หญิง จะขอไปเป็นชายา ในที่สุดก็คลอดออกมาเป็นผู้หญิงจริง ๆ ท้าวปาจิตตั้งชื่อให้ว่า " อรพิม "
    เวลาผ่านไปนางอรพิมโตเป็นสาว ท้าวปาจิตจึงขอลากลับบ้านเมืองไปแต่งขันหมากมาสู่ขอ
    วันหนึ่งนางอรพิมไปเล่นน้ำกับเพื่อนนึกสนุกเอาเส้นผมใส่ผอบลอยน้ำไป จนถึงมือของพระเจ้าพรหมทัต กลิ่นหอมของเส้นผมนั้นทำให้ท้าวพรหมทัตหลงใหลสั่งให้ทหารออกตามหาเจ้าของเส้นผม เมื่อพบนางอรพิมทหารจึงจับตัวไปเพื่อถวาย ระหว่างทางนางอรพิมคิดถึงท้าวปาจิตจึงร้องไห้ไม่ยอมเดินทางต่อ จึงเรียกที่นั้นว่า "บ้านนางรอง" (อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์) ทหารก็พยายามฉุดกระชากให้นางเดินทางต่อ จนถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง นางกระโดดหนีเข้าไปหลบในป่า จึงเรียกหมู่บ้านนั้นว่า "ปะเต็ล" (เป็นภาษาเขมรแปลว่า กระโดดโลดเต้น) ทหารก็รีบไล่ตามโดยพยายามปิดล้อมหมู่บ้านแห่งหนึ่ง จึงเรียกหมู่บ้านนั้นว่า "บ้านไผ่ล้อม" แต่ก็ยังไม่ได้ตัวนาง นางอรพิมหนีกระเจิดกระเจิงไปซ่อนอยู่ในถ้ำจนทหารหาไม่พบ จึงเรียกว่า "เขาปลายบัด" (บัดเป็นภาษาเขมรแปลว่า หาย) แต่แล้วในที่สุดทหารของท้าวพรหมทัตก็ตามหาตัวนางจนเจอ
    เมื่อนางเข้ามาอยู่กับท้าวพรหมทัตแล้วแต่ท้าวพรหมทัตก็ไม่สามารแตะต้องตัวนางได้ เพราะถ้าเข้าใกล้นางจะรู้สึกร้อนเป็นไฟด้วยแรงอธิฐานของนาง
    ฝ่ายท้าวปาจิตก็ได้ยกขบวนขันหมากมาตามคำพูดแต่เมื่อทราบว่านางอรพิมถูกท้าวพรหมทัตเอาตัวไปแล้วก็เสียใจมากสั่งให้เทข้าวของเงินทองของหมั้นให้หมด เรียกบริเวณนั้นว่า "เสราะแบจาน" (บ้านทุบจาน) ส่วนสินสอดทองหมั้นก็ไหลไปตามน้ำ จึงเรียกว่า "ลำมาศ" หรือ "ลำปลายมาศ" แล้วท้าวปาจิตก็สั่งให้ขบวนเดินทางกลับ แล้วพระองค์และทหารคนสนิทก็ออกเดินทางไปยังเมืองของท้าวพรหมทัต
    ท้าวปาจิตเดินทางมาถึงในวันอภิเษกสมรสพอดี จึงบอกกับทหารเฝ้าประตูวังว่าเป็นพี่ชาย เมื่อนางอรพิมเห็นท้าวปาจิตจึงร้องว่า "พี่มาแล้ว" ภายหลังเพี้ยนเป็น "พิมาย" (อ.พิมาย จ.นครราชสีมา) ท้าวปาจิตและนางอรพิมจึงวางแผนมอมเหล้าเหล่าทหารและท้าวพรหมทัต พอตกค่ำนางอรพิมก็ลอบปลงพระชนม์ แล้วพากันหนีไป เมื่อทหารพากันฟื้นจึงพากันออกติดตาม เมื่อพบนางอรพิมทหารจึงยิงธนูสกัดเอาไว้แต่ไปถูกกลางหลังของท้าวปาจิตจนท้าวปาจิตสิ้นใจ
    ร้อนถึงประอินทร์ได้ชวนพระวิษณุแปลงกายเป็นงูกับพังพอนกัดกันอยู่ใกล้ ๆ นาง เมื่องูถูกพังพอนกัดตาย พังพอนก็ไปกัดรากไม้มาพ่นให้งู แล้วงูก็ฟื้น แล้วก็สลับกันตาย สลับกันกัดรากไม้พ่นแล้วก็ฟื้น ทำให้นางอรพิมทราบสรรพคุณวิเศษของรากไม้นั้น นางจึงทำให้ท้าวปาจิตบ้าง แล้วท้าวปาจิตก็ฟื้น ทั้งสองจึงพากันเดินทางกลับเมืองของท้าวปาจิตและนำรากไม้วิเศษไปด้วย
    เมื่อเดินทางมาถึงแม่น้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ไม่สามารถจะข้ามไปได้ พอดีเห็นเณรพายเรือผ่านมา จึงขอให้เณรพาข้ามแม่น้ำ แต่เณรกลับหลงใหลนางอรพิมจึงออกอุบายว่าเรือลำนี้เล็กให้ไปทีละคน โดยไปส่งท้าวปาจิตก่อน แล้วค่อยกลับมารับนางอรพิม แต่เณรกลับไม่ไปส่งนางที่ที่ท้าวปาจิตคอยอยู่ เมื่อนางอรพิมเห็นความไม่ซื่อของเณรจึงบอกว่านางอยากกินผลมะเดื่อ เณรจึงปีนขึ้นไปเก็บให้ นางจึงเอาหนามมาสุมไว้ที่โคนต้นมะเดื่อ แล้วพายเรือไปหาท้าวปาจิต เณรลงมาไม่ได้จึงกลายเป็นแมลงหวี่อยู่ที่ต้นมะเดือตลอดมา
    นางอรพิมตามหาท้าวปาจิตไม่พบ จึงพายเรือตามหาจนถึงเมืองแห่งหนึ่ง ชื่อเมืองครุฑราช นางจึงเข้าไปอาศัยที่ศาลาโรงทานของเศรษฐี ในโรงทานนี้มีโรงศพอยู่และภายในมีศพที่ยังคงสภาพ นางอรพิมจึงเอารากไมวิเศษนั้นชุบชีวิต จึงทราบว่าผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือนั้นคือนางปทุมเกษรเป็นธิดาเศรษฐี แล้วนางปทุมเกษรก็ขอติดตามนางอรพิมไม่ยอมกลับบ้าน ทั้งสองเป็นหญิงและเกรงกลังอันตรายจึงอธิษฐานขอให้กลายร่างเป็นชาย โดยนำผมที่ตัดไว้ไปฝากไว้ที่ต้น "ช้องนาง" นำขาไปฝากไว้กับต้น "ขานาง" แล้วนำนมไปฝากไว้ที่ต้นงิ้ว
    เมื่อเดินทางมาถึงเมืองพาราณสี พบว่าประชาชนร้องไห้กันถ้วนทั่ว สอบถามได้ความว่าเจ้าหญิงของเมืองนั้นถูกงูกัดสิ้นพระชนม์ นางอรพิมในร่างชายจึงไปช่วยชุปชีวิต เจ้าเมืองจะยกเจ้าหญิงให้และแบ่งเมืองให้ครองครึ่งหนึ่งแต่นางอรพิมไม่รับขอลาบวช และขอให้เจ้าเมืองสร้างโรงทานและเขียนภาพเล่าเรื่องราวของตนกับท้าวปาจิตไว้ที่โรงทาน นางอรพิมบวชอยู่นานจนเป็นพระสังฆราชแห่งเมืองพาราณสี
    วันหนึ่งมีทหารไปบอกนางอรพิมว่ามีชายแปลกหน้าพอเห็นภาพแล้วก็ยืนร้องไห้จนสลบ นางจึงสั่งให้นำตัวเข้าพบ ก็พบว่าเป็นท้าวปาจิต แล้วนางก็อธิฐานขอให้ร่างกลับเป็นหญิงด้วยความรัก
    แล้วนางก็พาท้าวปาจิตเข้าไปกราบทูลเจ้าเมืองพาราณสีถึงความจริง จึงมอบพระธิดาให้ท้าวปาจิตแทน ท้าวปาจิต นางอรพิม นางปทุมเกษรและพระธิดาของเจ้าเมืองออกเดินทางกับเมืองของท้าวปาจิตและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2009
  5. Soul Mate

    Soul Mate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +356
    อยากทราบประวัติเจ้าสุริยะวรมันที่ 3 และ น้องสาวของเจ้าสุริยะวรมันที่3 ไม่ทราบว่าใครพอทราบบ้างมั้ยคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...