หนังสือคู่มือนำท่านสู่ สังเวชนียสถาน..อินเดีย -เนปาล ด้วยตนเอง

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย เส้นทางบุญ, 22 พฤษภาคม 2006.

  1. เส้นทางบุญ

    เส้นทางบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +156
    ปกหนังสือ.jpg หนังสือเล่มนี้ เขียนโดย พระมหา ดร.คมสรณ์ คุตตธัมโม พระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย ที่มีประสบการณ์กว่าสิบปี ได้ให้รายละเอียดนำท่านไหว้พระสู่สังเวชนียสถาน..ณ ประเทศอินเดีย และเนปาล ไม่ว่าท่านจะไปด้วยตนเอง หรือไปเป็นคณะ สามารถทราบข้อมูลเบื้องต้น งบประมาณ ค่าใช้จ่าย เส้นทางเดินทาง สถานที่ติดต่อ ที่ปรึกษา เพื่อเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมการก่อนจะไปไหว้พระ ถึงแดนพระพุทธองค์...ที่น่าสนใจ คือ แม้ท่านยังไม่ได้ไป แต่เมื่อได้อ่านแล้วก็เหมือนกับว่าท่านนั้นได้ไปถึงที่เช่นกันฯ
    http://www.se-ed.com/E_shop/detail.aspx?iCode=9789749409787
    http://www.tohome.com/product_detail.aspx?product_id=20060400112
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2006
  2. เส้นทางบุญ

    เส้นทางบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +156
    ข้อแนะนำเบื้องต้น..การเตรียมตัวเดินทางไปไหว้พระที่อินเดีย

    บริษัทที่จัดตั๋วและบริการพาคณะผู้แสวงบุญเดินทางไปอินเดียที่มีประสบการณ์และความชำนาญเส้นทางไหว้พระที่จะแนะนำดังนี้.- :eek:<O:p</O:p
    1. บริษัท เอ็น ซี ทัวร์ <O:p</O:p
    ที่อยู่ 1 / 4-5 เพชรบุรี 15 ถ.เพชรบุรี แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400.โทรศัพท์ . 02-252-1040 โทรสาร.02-254-7449<O:p</O:p
    2. บริษัทมายค์ วาเคชั่น จำกัด <O:p</O:p
    ที่อยู่ 128/86 อาคารพญาไท พลาซ่า ชั้น 8 ห้อง C ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทรศัพท์.02-216-4411 โทรสาร.02-221-65752 สายตรง คุณสงวนศรี 01-8605361
    3. บริษัทธรรมจารี แอนด์ ซี ซี ทัวร์<O:p</O:p
    ที่อยู่ 45/33 ซ.งามวงศ์วาน 4 ถ.งามวงศ์วาน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000<O:p</O:p
    โทรศัพท์. 02-591-1060 โทรสาร.02-951-0300. สายตรง คุณปุ๊ 01-8622666<O:p</O:p
    4. บริษัทปทุมการท่องเที่ยว<O:p</O:p
    ที่อยู่ 301/5 ซ.พหลโยธิน 50 ถ.พหลโยธิน ศศิธรคอนโดมิเนี่ยม อาคาร 5 แขวงคลองเตย<O:p></O:p>
    เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร 10220<O:p</O:p
    โทรศัพท์.02-970-4368-9 โทรสาร.02-970-4370<O:p</O:p
    5. บริษัทศรัทธาทัวร์ <O:p</O:p
    808/5 ถ.พระราม 5, เขตดุสิต, กรุงเทพ ฯ 10300 โทร. 02-6684259-62,โทรสาร: 02-6684999, 02-6680709.<O:p</O:p
    6. บริษัทธัมมาพาเที่ยว<O:p</O:p
    ที่อยู่ 320 ถ.กรุงเกษม แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200<O:p></O:p>
    โทรศัพท์.02-281-3214 โทรสาร. 02-281-4417<O:p</O:p
    โทรศัพท์. 02-587-9623 โทรสาร.02-587-9623<O:p</O:p
    7. บริษัทสมควรทัวร์<O:p</O:p
    ที่อยู่ 1402-4 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมะกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400<O:p</O:p
    โทรศัพท์. 02-250-1551-2 โทรสาร.02-256-6534<O:p</O:p
    8. บริษัทเพชราภรณ์ทัวร์<O:p</O:p
    ที่อยู่ 104/13 ยูนิต เอ 3 ศูนย์การค้าแฟมิลี่เซ็นเตอร์ ถ.แจ้งวัฒนะ ทุ่งสองห้อง<O:p></O:p>
    เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210<O:p</O:p
    โทรศัพท์. 02-575-0220-4 โทรสาร.02-990-7633<O:p></O:p>
    9. บริษัท M.D Tours & Travel Co.LTD<O:p</O:p
    212/11-12 ffice:smarttags" /><ST1:place><?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:place>, Sukhumvit 12 RD., <st1:City><ST1:place>Bangkok</ST1:place></st1:City> 10110, <O:p</O:p
    โทรศัพท์ 02-250-8999, โทรสาร 02-2509980<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การเดินทางด้วยตนเอง
    ข้อดี
    · ประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่วุ่นวายเพราะต่างคนต่างคิด ต่างจิต ต่างใจ<O:p</O:p
    · กำหนดระยะเวลาพักและวางแผนการเดินทางได้ตามประสงค์<O:p</O:p
    · มีเวลาเป็นส่วนตัวมาก ได้ประสบการณ์ต่างๆด้วยตนเองและเข้าถึงรายละเอียดมากกว่า<O:p</O:p
    · ท่านจะรู้จักตัวตนของท่านเอง..กว่าที่เป็นอยู่ และได้ศึกษาเรียนรู้ชีวิตของมนุษย์จริง ๆ ที่หลากหลาย<O:p</O:p
    · เมื่อกลับมาประเทศไทย ท่านจะรู้สึกว่าปล่อยวางได้เยอะและจะนึกขอบคุณอินเดียภายหลัง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ข้อเสีย<O:p</O:p
    · ยุ่งยากลำบากเรื่องต่าง ๆ เช่น การสื่อภาษา,ที่พัก,อาหาร, ตั๋วเดินทาง ฯลฯ<O:p</O:p
    · ไม่มีพระวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิบรรยายเสริมความรู้พิเศษให้ต้องไปหาข้อมูลเอง<O:p</O:p
    · อาจถูกล่อลวง ถูกวางยาหรือหลงทางกลับบ้านไม่ถูก<O:p</O:p
    ขณะเดินทางอยู่ในอินเดีย (โปรดทราบ-โปรดเตรียม-โปรดระวัง)<O:p</O:p

    · ควรถ่ายสำเนาหนังสือเดินทาง รวมทั้งหน้าที่มีวีซ่า เก็บแยกต่างหากจากต้นฉบับ หรือสแกนเก็บไว้ควรใน Mail Box ของท่าน กรณีสูญหายสถานทูตสามารถออกเอกสารแทนได้<O:p</O:p
    · จำหมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่ของสถานทูต,สถานกงสุญใหญ่ในอินเดียไว้ตลอดเวลาเพื่อใช้ติดต่อขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน<O:p</O:p
    · ทันที ที่ถึงอินเดียควรแลกเปลี่ยนเงินตรากับธนาคารหรือตัวแทนที่สามารถออกใบเสร็จการแลกเงินได้เท่านั้น และต้องแยกเงินต่างสกุลไว้ต่างหากด้วย (ป้องกันหยิบผิด) พร้อมแยกเก็บไว้หลายแห่งด้วย(กันเหนียว) บัตรเครดิตไม่แนะนำให้ใช้ <O:p</O:p
    · ควรวางแผนการการเดินทางให้เรียบร้อยและซื้อตั๋วรถไฟไว้ครั้งเดียวเพราะอินเดียสามารถซื้อตั๋วเดินทางไปที่ต่างๆ จากสถานีเดียวได้<O:p</O:p
    · ควรเจรจาตกลงราคาค่ารถให้เรียบร้อยก่อนขนสัมภาระขึ้นรถ ไม่ว่ารถประเภทใดก็ตาม โดยปกติเวลาติดต่อแท็กซี่ตอนแรกคนขับจะบอกว่ารู้จักที่ท่านจะไป แต่พอถึงกลางทางก็จะบอกไม่รู้...???<O:p</O:p
    · ไม่ควรนำเงินจำนวนมากออกนับต่อหน้าสาธารณชน ป้องกันความโลภของคนอาจเป็นเหตุฉกชิงวิ่งราวปล้นฆ่าเกิดขึ้นเพราะเห็นเงินจำนวนมากได้<O:p</O:p
    · เมื่อซื้อของ,จ่ายค่ารถ ฯลฯ อย่าลืมทวงเงินทอน และนับให้ครบก่อนที่จะออกจากร้านไป และอย่ารับเงินที่ชำรุดเพราะจะลำบากในการใช้จับจ่ายภายหลัง ที่เนปาลจะไม่รับแบงค์ห้าร้อยรูปีอินเดีย <O:p</O:p
    · ไม่ควรสวมรองเท้าเข้าศาสนสถานไม่ว่าของศาสนาใด ๆ ก็ตาม<O:p</O:p
    · ไม่ควรสนทนาในแง่ลบของชาติหรือศาสนา ควรสนทนาเรื่องส่วนที่ดี เพื่อสร้างพันธภาพที่ดี ถ้าเห็นท่าไม่ดีแนะนำให้พกหลวงพ่อเฉยไว้เป็นดี..<O:p</O:p
    · ไม่ควรปล่อยทิ้งสัมภาระในที่สาธารณะ หากอยู่บนรถไฟควรเตรียมกุญแจและโซ่ล๊อคไว้ตลอดจะปลอดภัย ที่ล๊อกจะมีใต้เตียงที่นอนของรถไฟ<O:p</O:p
    · ไม่ควรจ่ายเงินก่อนไม่ว่ากรณีใด ๆ จนกว่าจะมีหลักประกันว่าเงินท่านจะไม่โดนหลอกไปฟรี ๆ<O:p</O:p
    · คนอินเดียเถียงกันเสียงดังได้ แต่ถ้าใครลงไม้ลงมือก่อนผู้นั้นจงระวังจะโดนลงแขก<O:p</O:p
    · ไม่ควรรับประทานสิ่งของ จากคนแปลกหน้าเด็ดขาด…ข้อนี้รู้แล้วว่าแม่สอนไว้ แต่ต้องการย้ำเตือนเพื่อกันลืม<O:p</O:p
    · ไม่ควรรับซื้อสิ่งของที่เป็นวัตถุโบราณทุกชนิด,หางนกยูง,งาช้าง..เพราะเป็นสิ่งผิดกฏหมาย<O:p</O:p
    · อย่าลืมเมื่อคนอินเดียพูดว่า No problems นั่นหมายถึงสำหรับเขาเท่านั้นไม่ใช่สำหรับคุณ<O:p</O:p
    · ติดต่องานต้องยืนยันอย่างน้อยสามครั้งในทุกเรื่อง…นี่คือเหตุผลของที่มาว่าทำไมต้องตั้งนะโม สามจบ…<O:p</O:p
    · เมื่อคนอินเดียพูดว่า Tomorrow นั่นหมายถึงวันไหนก็ได้…และก็ไม่ใช่วันนี้แน่นอน…อย่าใจร้อน เขากำลังทดสอบความอดทนและความพยายามของคุณ<O:p</O:p
    · หากถูกล่อลวง ทำร้ายร่างกาย วีซ่าหรือหนังสือเดินทางหมดอายุ ให้รีบติดต่อสถานกงสุลหรือสถานเอกอัครราชทูตไทยในอินเดียตามที่อยู่โดยด่วน<O:p</O:p
    สายการบินและเที่ยวบินสู่อินเดีย<O:p</O:p
    เที่ยวไป
    กรุงเทพ ฯ กัลกัตตา (Bangkok – Kolkatta ) เวลาบิน 2 ชั่วโมง 15 นาที<O:p</O:p
    การบินไทย T.G.313 จันทร์, พุทธ,และเสาร์ อาทิตย์ เวลา 22..00 น.
    อินเดี่ยน แอร์ไลน์ IC 820 มีทุกวัน ออกจากเมืองไทยเวลา 20. 00 <O:p</O:p
    กรุงเทพ ฯ – คยา ( Bangkok- Gaya )เวลาบิน 3 ชั่วโมง<O:p</O:p
    -Indian Airlines เที่ยวบินที่ IC 729 จากกรุงเทพ ฯ ทุกวันเสาร์ เวลา 14.10 น.<O:p</O:p
    กรุงเทพ– เดลี (<st1:City><ST1:place>Bangkok</ST1:place></st1:City><st1:City><ST1:place>Delhi</ST1:place></st1:City>) เวลาบิน 4 ชั่วโมง 5 นาที<O:p</O:p
    -Thai Airways International T.G.315 ทุกวันจากกรุงเทพ ฯ เวลา 19.15 น. ถึงเดลี 22.00 น.<O:p</O:p
    -Indian Airlines IC 858 เว้นวันจันทร์ จากกรุงเทพ ฯ เวลา 14.10 น. ถึงเดลี เวลา 16.20 น.<O:p</O:p
    กรุงเทพฯ –มุมไบย์ (Bangkok-Mumbai)<O:p</O:p
    -Thai Airways International T.G.318 เวลา 18.15 น. ถึงมุมไบเวลา 21.00 น. (วันอังคาร,พฤหัสและวันเสาร์)<O:p</O:p
    เที่ยวกลับ<O:p></O:p

    กัลกัตตา – กรุงเทพ ฯ (CCU-BKK)

    การบินไทย T.G. 314 ออกจากกัลกัตตา เวลา 01.15 น. วันอังคาร,พฤหัสและอาทิตย์<O:p</O:p
    Indian Airlines IC.731 เวลา09.15 น.วันอังคาร,ศุกร์,เสาร์และอาทิตย์<O:p</O:p
    Air India AI.350 เวลา 10.20 น. วันอาทิตย์ และ AI 352 เวลา 11.25 เฉพาะวันพุธ <O:p</O:p
    คยา – กรุงเทพ ฯ (GAY-BKK) <O:p</O:p
    อินเดี่ยนแอร์ไลน์ IC 730 เฉพาะวันพุธ ออกจากคยา เวลา 11.00 น.
    เดลี – กรุงเทพ(DEL-BKK) <O:p</O:p
    การบินไทย T.G.316 มีทุกวัน เวลา 23.00 น.<O:p</O:p
    Indian Airlines. IC 855 มีทุกวันเว้นวันจันทร์<O:p</O:p
    มุมไบ- กรุงเทพ ฯ (BOM-BKK) <O:p</O:p
    การบินไทย TG.318 เวลา 22.40 ถึงกรุงเทพฯ เวลา 04.30 น. (วันอังคาร,พฤหัสและวันเสาร์)<O:p</O:p
    คาดว่าจะมีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพ ฯ – พาราณสี โดยสายการบินไทยในเร็ว ๆ นี้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ตรวจสอบข้อมูลตารางบินล่าสุดทางเว็บไซด์<O:p</O:p
    การบินไทย www.thaiairways.com, อินเดียนแอร์ไลน์ www.indian-airlines.nic.in <O:p></O:p>
    แอร์อินเดีย www.airindia.com <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    แนะนำเส้นทางไหว้พระ<O:p</O:p

    เส้นทางที่หนึ่ง<O:p</O:p
    กรุงเทพ ฯ –พุทธคยา- พาราณสี – กุสินารา- ลุมพินี-สาวัตถี-ลักเนาว์ - อัคระ –เดลี- กรุงเทพ ฯ<O:p</O:p<O:p</O:p
    เส้นทางที่สอง (ประหยัดที่สุด)
    กรุงเทพฯ – พุทธคยา- พาราณสี- กุสินารา- ลุมพินี- โครักขปุร์- กัลกัตตา- กรุงเทพ ฯ / <O:p></O:p>
    <O:p</O:p
    เส้นทางที่สาม
    กรุงเทพฯ –พุทธคยา- นาลันทา-ราชคฤห์-พาราณสี- กุสินารา- ลุมพินี-กาฐมัณทุ- กรุงเทพ ฯ <O:p</O:p<O:p</O:p
    เส้นทางที่สี่
    กรุงเทพฯ – พุทธคยา-กุสินารา-ลุมพินี- สาวัตถี-พาราณสี – กัลกัตตา/เดลี – กรุงเทพ ฯ<O:p</O:p<O:p</O:p
    เส้นทางที่ห้า
    กรุงเทพฯ- เดลี-สาวัตถี- กุสินารา-ลุมพินี-พาราณสี- พุทธคยา- กรุงเทพ ฯ<O:p</O:p<O:p</O:p
    เส้นทางที่หก
    กรุงเทพฯ – กาฐมัณฑุ - ลุมพินี- กุสินารา- พาราณสี-พุทธคยา- กรุงเทพ ฯ <O:p</O:p
    เส้นทางทีเจ็ด
    กรุงเทพฯ-พุทธคยา-พาราณสี-กุสินารา-ลุมพินี- โครักขปุร์-อชันตา-ออรังกบาด-แอลโล่ล่า- มุมไบ- กรุงเทพฯ<O:p</O:p
    เส้นทางที่แปด
    กรุงเทพฯ- เดลี-ทัชมาฮาล- สังกัสสะ-สาวัตถี-โครักขปุร์- ลุมพินี -กุสินารา-พาราณสี-พุทธคยา-นาลันทา-ราชคหฤ์-ปาฏลีบุตร- กัลกัตตาฯ<O:p</O:p
    เส้นทางที่เก้า(แบบมโหฬาร)
    กรุงเทพฯ– พุทธคยา-นาลันทา-ราชคฤห์-ปาฏลีบุตร-ไวศาลี-พาราณสี- โกสัมพี-กุสินารา-ลุมพินี-กบิลพัสดุ์-เทวทหะ- โครักขปุร์-สาวัตถี- สังกัสสะ-อัครา-เดลี –โภปาน-ศานจิ-อชันตา-แอลโลล่า- ออรังกะบาด-มุมไบ- กรุงเทพ ฯ <O:p</O:p<O:p</O:p

    การใช้บริารรถเช่าที่อินเดีย<O:p</O:p<O:p</O:p
    · เดินทาง 2-3 คนแนะนำให้ใช้รถ Ambassador ไม่มีแอร์ / TATA Indica ราคา ก.ม.ละ 5 รูปี <O:p</O:p
    · เดินทาง 3-5 คนแนะนำใช้รถ TATA รุ่น Sumo ไม่มีแอร์ ราคาประมาณ 6 รูปี/แอร์ 7-8 รูปีต่อ ก.ม. <O:p</O:p
    · เดินทาง 5-7คนแนะนำให้ใช้รถ <st1:City><ST1:place>Toyota</ST1:place></st1:City> รุ่น Qualis แอร์ ราคาประมาณ 8-9 รูปี ต่อ ก.ม.<O:p</O:p
    · เดินทาง 7-10 คนแนะนำให้เหมารถ Mini Tempo แอร์ ราคาประมาณ 12 รูปี ต่อก.ม.<O:p</O:p
    · ถ้าเดินทางเกิน 15 คนแนะนำให้ใช้บริการของบริษัทที่รับจัดบริการนำไหว้พระจะดีกว่าเพราะต้องประสานงานและเตรียมการมาก หากจัดมากันเองจำนวนคนมากเป็นเรื่องลำบาก จะมากราบพระพุทธองค์สักครั้งก็ขอให้มาแบบสะดวกหน่อย อย่ามาแบบทุกข์ทรมานเลย เพราะที่ผ่าน ๆ มาหลายท่านจัดมากันเองโดยไม่มีประสบการณ์หรือขาดการประสานงานไว้ก่อน ทำให้ประสบปัญหาและความยุ่งยากมาก มาไหว้พระทำบุญกลับไปทะเลาะกันมันไม่คุ้ม.<O:p</O:p
    · ระยะทางเมื่อเดินทางสังเวชนียสถาน ครบ 4 ตำบล รวมประมาณ 1,300 กิโลเมตร ราคานี้รวมค่าน้ำมันแต่ไม่รวมค่าคนขับวันละ 200 รูปี ค่าภาษีเข้าประเทศเนปาลวันละ 350 รูปี/คัน สำหรับรถเล็ก (ปัจจุบัน พ.ศ. 2549 ที่อินเดียน้ำมันดีเซลลิตรละ 33 รูปี เบนซินลิตรละ 43 รูปี)<O:p</O:p
    หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยน หนึ่งบาท เท่า กับ หนึ่งรูปีอินเดีย<O:p</O:p
    เหตุที่บริษัทเก็บค่าบริการนำคณะเดินทางต่างกัน<O:p</O:p

    ปัจจุบันนี้บริษัทที่นำพาผู้คนไปไหว้พระแสวงบุญมีจำนวนมาก และแต่ละแห่งมักเรียกเก็บค่าบริการไม่เท่ากัน เพื่อประกอบข้อมูลก่อนการติดสินใจเดินทางสู่แดนพุทธองค์ว่าจะมาด้วยตนเองหรือมากับคณะทัวร์ (8-12 วัน) พอจะสรุปสาเหตุไดัดังนี้.-<O:p</O:p
    · ราคาแพงถึงแพงมาก (45,000-55,000.- บาท) เพราะผู้จัดพักโรงแรมระดับดีที่สุดของเมืองนั้น ๆ รถบริการก็มีสภาพดี,ใช้เครื่องบินภายในประเทศในบางเส้นทาง, ตัวแทนบริษัทที่อินเดียและเนปาลมีประสบการณ์ทำงานรู้นิสัยคนไทยเป็นอย่างดี และบริษัทจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย, มีประกันชีวิตให้ระหว่างการเดินทาง , มีรายการเมนูอาหารไทยเสริมให้พิเศษทุกมื้อ นิมนต์พระธรรมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒินำบรรยายให้ความรู้และจัดพนักงานผู้ชำนาญดูแลตลอดเส้นทางบุญ<O:p</O:p
    · ราคาปานกลาง (35,000-40,000.- บาท) เพราะผู้จัด จัดให้พักวัดบ้างพักโรงแรมบ้าง โรงแรมจะเป็นระดับปานกลาง อาจจะให้เฉพาะตัวแทนนำเที่ยวที่อินเดียเท่านั้นดำเนินการ ผู้จัดไม่หวังผลกำไร เพียงแค่ต้องการพาลูกศิษย์หรือญาติมิตรเพื่อนสนิทไปไหว้พระเอาบุญ สร้างบารมี…และจะจัดงบประมาณชำระหนี้สงฆ์เป็นการต่างหาก นอกจากการทอดผ้าป่าของคณะในกรณีที่พักวัด<O:p</O:p
    · ราคาถูกถึงถูกมาก ๆ (25,000-30,000.-บาท) เพราะผู้จัด จัดให้พักวัดทุกแห่งและไม่มีค่าบำรุงที่พัก-อาหารให้วัด อาศัยว่าคณะที่มาร่วมกันทำบุญช่วยกัน ผู้เดินทางจ่ายค่าเข้าชมสถานที่ต่างๆเอง รถที่บริการก็มีสภาพไม่ดี อาหารไปหาเอาข้างหน้า บริษัทไม่ได้จดทะเบียนอย่างถูกต้อง มักโฆษณาว่าใช้เวลาน้อยไปได้หลายแห่ง ซึ่งจริง ๆ แล้ว แต่ละแห่งแม้จะห่างกันไม่กี่ร้อยกิโลเมตร แต่ต้องใช้เวลาเดินทางยาวนานตามสภาพถนนของอินเดีย ไม่จองที่พักไว้ถึงเมื่อไหร่ก็ขอพักเมื่อนั้น บางครั้งมาตรงกับคณะอื่น ๆ ห้องพักเต็ม วุ่นวายถึงพระเจ้าพระสงฆ์ที่อินเดีย เผลอ ๆ มาแบบนี้เก็บแพงอีกต่างหาก โดยมักอ้างว่าอินเดียทำได้ดีที่สุดก็เท่านี้แหละ(แทนที่จะถูกแขกหลอกกลับเป็นพี่ไทยหลอกกันเองนี่.. ทัวร์ประเภทนี้บางทีพวกเราก็ขนานนามกันว่า ทุลักทุเลทัวร์,สะบักสบอมทัวร์,ชะโงกทัวร์, วิ่งไหว้ทัวร์, ตีสองทัวร์หรือไม่ก็ไอซียูทัวร์ก็มี ผู้หลงเชื่อร่วมเดินทางมาด้วยเจอเข้าแบบนี้ไปด้วยครั้งเดียวเข็ดจนตาย..บ๊ายบ่ายอินเดีย….ดังนั้นควรไตร่ตรองให้ดีก่อนจะตัดสินใจเดินทางว่าจะมาแบบวีไอพี หรือ ไอซียูทัวร์ก็เลือกเองนะครับ
    (verygood)
    http://www.tohome.com/product_detail.aspx?product_id=20060400112
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2006
  3. เส้นทางบุญ

    เส้นทางบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +156
    ข้อมูลการเตรียมความพร้อม..ก่อนออกเดินทางสู่แดนพุทธองค์

    เตรียมตัวให้พร้อม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2006
  4. เส้นทางบุญ

    เส้นทางบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +156
    พุทธคยา แดนตรัสรู้

    เส้นทางบุญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Buddha Gaya1.jpg
      Buddha Gaya1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.3 KB
      เปิดดู:
      401
    • .jpg
      .jpg
      ขนาดไฟล์:
      171.8 KB
      เปิดดู:
      371
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2006
  5. เส้นทางบุญ

    เส้นทางบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +156
    เส้นทางบุญ..นำท่านสู่นครกาฐมัณฑุ แห่งเนปาล แดนขุนเขาหิมาลัย

    นครกาฐมัณฑุ : เมืองหลวงเนปาล<O:p</O:p
    <ST1:pKathmandu </ST1:pThe <ST1:p<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:pof The <ST1:p<st1:placeName>Himalaya</st1:placeName><st1:placeType>Kingdom -</st1:placeType></ST1:p<st1:country-region><ST1:pNepal</ST1:p</st1:country-region><O:p</O:p
    .....................<O:p</O:p

    หากท่านเลือกเส้นทางบุญ สู่ลุมพินีเป็นแห่งแรก เลือกเส้นทาง กรุงเทพ ฯ - กาฐมัณฑุ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเนปาล นับว่าเป็นเส้นทางที่สะดวก เพราะระหว่างกาฐมัณฑุ ไปลุมพินี สามารถเดินทางได้ทั้งทางเครื่องบินและรถยนต์ <O:p></O:p>
    เนปาล ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีพิพิธภัณฑ์ทางธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความหลากหลายทั้งทางด้านวัฒนธรรมและทรัพยากรทางธรรมชาติ ภูมิประเทศเป็นหุบเขา มีเทือกเขาหิมาลัยเป็นฉากกั้น มียอดเขา Everest ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก สูงถึง 8,848 เมตร,มีกองทหารกล้ากุรข่า (Gurkha)ที่ยอดเยี่ยมรับจ้างพร้อมรบทุกสมรภูมิ, มีลุมพินีวันสถานที่ประสูติศาสดาเอกของโลก, มีประชากรหลากหลายเผ่าพันธุ์ มีภาษาที่ใช้สื่อสารมากกว่า 70 ภาษา และปัจจุบันเนปาลมีประชากร ประมาณ 23 ล้านคน ภาษาประจำชาติคือ เนปาลี มีศาสนาฮินดูเป็นศาสนาหลัก ผสมผสานความเชื่อกับพุทธศาสนา ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นหุบเขาชัน หน้าผาสูง บริเวณที่ราบมีเพียง17 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด หุบเขากาฐมันฑุ แห่งนี้ เป็นที่ตั้ง 3 เมืองสำคัญได้แก่ กาฐมันฑุ ปาตัน และพักตาปุร์ มีมณฑปที่สร้างจากไม้ทำลวดลายต่าง ๆ ที่สวยงามมาก ช่วงปลายเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และกุมภาพันธ์-มีนาคม เหมาะแก่การมาทัศนา เพราะอากาศทัศนะวิสัยดีและไม่หนาวเกินไป พร้อมจะชมความงามทิวทัศน์แห่งเทือกเขาหิมาลัยตลอดแนวได้อย่างเต็มตา.<O:p</O:p

    สถานที่ควรทัศนา<O:p</O:p

    - เจดีย์สยัมโพธนาถ (Swayambhunath) สัญญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในเนปาล มีอายุราว 2000 ปี เป็นเจดีย์ที่วาดรูปพุทธเนตรทั้ง 4 ทิศ ประดุจดั่งว่าพุทธองค์กำลังทอดพระเนตรแลดูเพื่อโปรดสัตว์โลก<O:p</O:p
    - เขตหนุมานโดกา (Hanumandhoka) or( <st1:Street><st1:address>Kathmandu Durbar Square</st1:address></st1:Street>)เป็นใจกลางโบราณสถาน ประกอบด้วยพระราชวังเก่า,วังกุมารี,หอองค์ศิวะเทพ,มณฑปที่สร้างด้วยไม้ต้นเดียว ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจาก UNESCO เมื่อปี ค.ศ. 1979<O:p</O:p
    - วังกุมารี ที่ประทับของเทพเจ้าในร่างมนุษย์ อยู่ในบริเวณหนุมานโดกา กุมารีเป็นเทพเจ้าที่ผ่านขบวนการพิสูจน์จากความเชื่อทางศาสนาฮินดู เลือกเด็กหญิงที่เชื่อว่าเทพเจ้าตาเลจูมาสิงสถิต และเทพกุมารีนี้ต้องมาจากตระกูลศากยะเท่านั้น เมื่อถึงเทศกาล Indra Jatra องค์กษัตริย์ ก็ต้องมากราบคารวะขอพรทุกปี วันทั่วไปจะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวทั่วไปได้ชมทางระเบียงหน้าต่างวัง (ถ้าบอกว่าเป็นชาวไทยก็จะออกมาให้ยลโฉมโดยง่าย) ห้ามนักท่องเที่ยวถ่ายภาพเป็นอันขาด<O:p</O:p
    - เจดีย์โพธนาถ (Bouddhanath) อยู่ห่างจากตัวเมืองกาฐมัณฑุ 8 ก.ม. เป็นเจดีย์เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในเนปาล เป็นศูนย์กลางของชาวพุทธธิเบตที่สำคัญของโลกอีกแห่งหนึ่ง ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจาก UNESCO เมื่อปี ค.ศ. 1979<O:p</O:p
    - เมืองปาตัน (Patan) ถือว่าเป็นเมืองโบราณแห่งหุบเขากาฐมัณฑุ และรู้จักกันในนามเมืองแห่งช่างศิลป์ ช่างแกะสลัก โดยเฉพาะการหล่อพระพุทธรูปที่สวยงาม...มีเจดีย์จำลองแบบมาจากพุทธคยา แดนตรัสรู้และเป็นที่ประดิษฐานพุทธรูปนับพันองค์ <O:p</O:p
    - เมืองภักตาปุร์ ( Bhaktapur) อยู่ห่างจากกาฐมันฑุ 14 ก.ม.เมืองนี้ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งช่างแกะสลักไม้ที่สวยงามยิ่ง พระราชวังโบราณราชวงศ์มัลละ ล้วนแล้วแต่แกะสลักสร้างอาคารด้วยไม้มีวังที่สร้างทำบานหน้าต่าง 55 บานที่แกะสลักไม้ล้วน ๆ <O:p</O:p
    - นาคารก๊อต (Nagarakot) เป็นจุดชมหิมาลัย ที่สามารถมองเห็นเทือกเขาหิมาลัยตลอดเทือกเขา และสามารถชมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ได้และเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาพักเพื่อชมความงามยามพระอาทิตย์ขึ้นและอัสดงคต...<O:p></O:p>
    - โปกขรา(Pokhara)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2006
  6. เส้นทางบุญ

    เส้นทางบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +156
    สู่..พาราณสี แดนแสดงปฐมเทศนา ที่อุบัติแห่งอริยสงฆ์รูปแรก

    เส้นทางบุญ... สู่พาราณสี -สารนาถ แดนแสดงปฐมเทศนา
    <FONT face="Cordia New"><FONT size=5><FONT color=magenta>พาราณสี (<FONT][SIZE= /><?xml:namespace prefix = st1 /><st1:City><ST1:p[B]Varanasi </ST1:por Banares)</st1:City>[/B]<st1:City>
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = FONT]<st1 /><FONT]<st1:Street>สภาพเมืองปัจจุบันตัวเมืองพาราณสีตั้งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกแห่งแม่น้ำคงคา เป็นศูนย์กลางการค้าและแหล่งผ้าไหมอันลือชื่อของแคว้นกาสีในอดีต ถนนในเมืองพลุกพล่านไปด้วยรถนานาชนิดผู้คนเดินกันหนาแน่น และนอกจากนี้ยังมีบรรดาสัตว์ชนิดต่าง ๆ เช่น โค กระบือ แพะ แกะ ลา สุนัข อยู่ในที่ทั่วไปของเมืองโดยเฉพาะวัวจะมีมากเป็นพิเศษ เป็นศูนย์กลางแห่งการมาบูชาสักการะ สำหรับชาวฮินดูผู้ศรัทธามาอาบน้ำเพื่อชำระบาป มีรถไฟจำนวนถึง 60 ขบวนต่อวันเข้ามารับส่งผู้โดยสารในเมืองพาราณสี ดังนั้นจึงค่อนข้างสะดวกในการเดินทางจากที่ต่าง ๆ ของอินเดียไปยังเมืองพาราณสี หลวงวิจิตรวาทการ ได้เขียนไว้ในหนังสือ ของดีเมืองอินเดีย ว่า ถ้ามาอินเดียแล้วไม่ถึงเมืองพาราณสีถือว่ายังมาไม่ถึงอินเดีย..เพราะพาราณสียังคงเอกลักษณ์ความเป็นอินเดียโดยแท้ จะเห็นว่าประเพณีโบราณเก่าแก่เช่น การอาบน้ำล้างบาป, การเผาศพ, การบูชาสุริยเทพ ฯลฯ ริมฝั่งแม่น้ำคงคายังมีให้เห็นอยู่ตลอดเวลา แม้กาลเวลาจะผ่านพ้นกว่า 3,000 ปีแล้วก็ตาม
    พาราณสีเป็นชื่อที่เก่าแก่และเป็นที่เรารู้จักกันมานานตั้งแต่โบราณกาล ชาวฮินดูเชื่อกันว่า แม้โลกจะถูกทำลายด้วยน้ำ ด้วยไฟ แต่เมืองพาราณสี ก็ยังคงเป็นอมตะนคร ในพระไตรปิฎกเมื่อกล่าวถึงการบำเพ็ญบารมีเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ของพระพุทธองค์ มักจะกล่าวถึงเมืองพาราณสีอยู่เสมอๆ เมืองพาราณสีเท่ากับว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2006
  7. เส้นทางบุญ

    เส้นทางบุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +156
    <O:p</O:p


    เส้นทางบุญ....สู่ กุสินารานคร แดนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน<O:p</O:p
    Kushinagar the Sacred City of <?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:pLord Buddha</ST1:p</st1:City>’s Mahapirinirvana<O:p</O:p
    ……………….<O:p</O:p

    กุสินารานคร (Kushinagar)<O:p</O:p

    ก่อนพุทธกาล พระพุทธองค์ได้เล่าเรื่องเมืองกุสินารา ในมหาสุทัสสนสูตรว่า ในอดีตเมืองกุสินารานี้ มีพระเจ้ามหาสุทัสสนะจักพรรดิราช ผู้เป็นครองเมือง มีมหาสมุทรทั้ง 4 เป็นขอบขัณฑสีมา ทรงเป็นผู้ชนะปัจจามิตรโดยธรรม ไม่ได้ใช้อำนาจ อาญา และศัตราวุธแต่อย่างใด พระองค์เป็นที่รักใคร่ของพลเมืองทั้งหลาย เมืองกุสินารานี้แต่เดิม ชื่อกุสาวดีนคร ด้านบูรพาและปัจฉิมยาว 12 โยชน์ ทิศอุดรและทักษิณกว้าง 7 โยชน์ มีความสมบูรณ์มั่งคั่ง มีพลเมืองแน่นหนา มีอาหารอันบุคคลจะพึงแสวงได้โดยสะดวก มีเสียงกึกก้องทั้งกลางวันและกลางคืนด้วยเสียง 10 เสียง คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้องกังสดาล เสียงสังข์ และเสียงที่ต่างเรียกกันมาดื่ม มาบริโภคอาหาร ทุกมุมเมือง<O:p</O:p
    สมัยพุทธกาล อยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นมัลละ เมืองหลวงคือปาวานคร มีกษัตริย์มัลละปกครอง เป็นนครที่พุทธองค์ ทรงเลือกเป็นที่เสด็จปรินิพพานแม้พระอานนท์ จะทูลคัดค้านไม่ให้เสด็จดับขันธ์เมืองนี้เพราะถือว่าเป็นเมืองเล็กเมืองดอน เป็นแค่กิ่งเมืองเท่านั้นก็ตาม แต่ทรงยืนยันถึงความสำคัญว่า ในอดีตพระองค์เคยเสด็จสวรรคตที่เมืองนี้มาแล้วถึง 6 ครั้งและครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายแห่งการทิ้งร่างของตถาคตเจ้า<O:p</O:p
    หลังพุทธกาล กุสินารายังคงเป็นพุทธสถานที่คงความสำคัญอยู่ มีปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ มีวิหาร วัด เจดีย์ เป็นจำนวนมาก เมื่อปี พ.ศ. 310 พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จมาจาริกแสวงบุญ พร้อมกับท่านพระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ ทรงบริจาคทรัพย์ สร้างสถูปไว้ พร้อมให้สลักเสาศิลาเป็นหลักฐานว่า ณ ที่นี้เป็นที่เสด็จปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
    ปัจจุบัน เมืองกุสินารา เป็นศูนย์กลางแห่งการจาริกแสวงบุญของชาวพุทธและนักท่องเที่ยวทั่วโลก มีอนุสรณ์ที่สำคัญคือสถูปแห่งพระเจ้าอโศกทรงสร้างสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีพระวิหารปรินิพพาน ที่ประดิษฐานองค์พุทธปฏิมากรปางมหาปรินิพพาน อายุเก่าแก่เกินกว่า 1,400 ปี และมีมกุฎพันธนเจดีย์ สถูปที่ถวายพระเพลิงพุทธสรีระหลังวันปรินิพพานได้ 7 วัน คือวันอัฎฐมีบูชา การบูชาในวันแรมแปดค่ำ เป็นสำคัญ<O:p</O:p
    สถานที่ไหว้ <O:p</O:p
    1. วิหารปรินิพพาน <O:p</O:p
    วิหารแห่งนี้นักโบราณคดี ชาวอังกฤษ Sir .A.C.L.Carlley ผู้ช่วย Sir. Alexander Cunningham ได้มาขุดพบเมื่อ พ.ศ. 2419 เมื่อปี พ.ศ. 2499 รัฐบาลอินเดียได้สร้างเสริมขึ้นเพื่อฉลองพุทธชยันตีครบ 25 ศตวรรษ
    ภายในสถูปมีพระปางมหาปรินิพพาน อยู่บนพระแท่น ที่ทำด้วยหินทรายแดง หรือเรียกว่า จุณศิลา องค์พระยาว 21 ฟุต สูง 2 ฟุต 1 นิ้ว เป็นพุทธรูปางอนุฏฐิตสีหไสยาสน์ คือปางเสด็จบรรทมครั้งสุดท้าย พบที่นี่แห่งเดียวเท่านั้นในอินเดีย สร้างสมัยคุปตะ โดยนายช่างชื่อทินนะ ชาวเมือง มถุรา มีท่านสวามีหริบาละ เป็นผู้บริจาคทรัพย์ในการสร้างองค์พระ<O:p</O:p
    องค์พระปฏิมากรนี้งามดั่งองค์เทพวิษณุสร้างสามารถมองได้ 3 มิติแห่งอารมณ์ดังนี้<O:p</O:p
    1. หากยืน ณ ตรงด้านพระพักตร์แล้วเพ่งมองที่พระพักตร์ขององค์พระ จะเห็นพระพักตร์อยู่ในลักษณะอาการที่ทรงพระแย้ม
    2. หากยืน ณ บริเวณตรงกลางด้านหน้าองค์พระ เพ่งที่พระพักตร์ ก็จะเห็นว่าพุทธองค์กำลังได้รับทุกขเวทนาจากพระปักขันธิกาพาธ
    3. หากยืนด้านพระพุทธบาท มองไปยังพระพักตร์จะสัมผัสความรู้สึกได้ว่า พระพุทธองค์ทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานปราศจากความทุกทรมานใด ๆ ทั้งสิ้น ทรงเข้าสู่ภาวะแห่งความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง
    ท่านผู้ประสงค์จะนำผ้ามาห่มองค์พระพุทธปฏิมากรนี้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตเพื่อความอบอุ่นแห่งครอบครัวและญาติมิตรก็ให้เตรียมผ้าขนาดกว้างสองเมตร ยาวห้าเมตรจะห่มได้พอดี<O:p</O:p

    คำบูชาองค์พระพุทธปรินิพพาน


    วันทามิ อิมัง พุทธะปะฏิมัง, อิมัสมิง กุสินารายัง สาละวะโนทเย พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปรินิพพานัฏฐาเน. อะยัง วันทะนา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ
    คำแปล

    ข้าพเจ้า ขอกราบไหว้พระพุทธปฏิมานี้ ณ สาลวโนทยาน ที่เมืองกุสินารานี้ อันเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอการกราบไหว้นี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ความเจริญ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เทอญ ฯ.<O:p></O:p><O:p</O:p
    2. มหาปรินิพพานสถูป<O:p</O:p
    ถัดไปคือ สถูปมหาปรินิพพาน ตั้งอยู่ด้านหลังของมหาวิหาร ซึ่งเป็นสถานที่พระพุทธองค์ปรินิพพาน ใต้ต้นไม้สาละทั้งคู่<O:p</O:p
    หลวงจีนถังซัมจั๋ง ผู้เดินทางมาถึงสถานที่พุทธปรินิพพาน(พ.ศ.1163-1187) ได้พรรณนาไว้ตอนหนึ่งว่า“กุสินาราเมืองหลวงของมัลละกษัตริย์ อยู่ในสภาพซากปรักหักพัง มองเห็นเมืองและหมู่บ้านเป็นสถานที่ร้าง จะมีคนอยู่อาศัยภายในกำแพงเมืองเก่าเพียงเล็กน้อย ”<O:p</O:p
    “บริเวณด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำหิรัญวดี เป็นอุทยานสาลวัน มีไม้สาละขึ้นเป็นหมู่ใหญ่ ลักษณะของไม้อุทยานสาลวัน มีไม้สาละขึ้นเป็นหมู่ใหญ่ ลักษณะของไม้สาละเปลือกเป็นสีขาวบ้าง เขียวบ้าง ใบสาละสะอาดเป็นเงา ไม่ขรุขระ ในป่ามีไม้สาละใหญ่ 4 ต้น บริเวณนี้มีวิหารใหญ่ก่ออิฐปูนหลังหนึ่ง ภายในวิหารมีพระพุทธรูป แบบสีหไสยาสน์ คือในลักษณะประทับนิพพาน หันพระเศียรไปทางทิศเหนือ มีลักษณะเหมือนกำลังบรรทมหลับ ข้างๆ วิหารใหญ่มีสถูปใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ที่จารึกว่าพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้สร้าง แม้ลักษณะจะทรุดโทรมหักพังไปเป็นอย่างมากแล้ว แต่ก็ยังมีความสูงเหลืออยู่ถึง 200 ฟุต ข้างหน้าพระสถูป มีหลักศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกว่า “ที่นี่เป็นที่เสด็จดับขันธปรินิพพานของพระตถาคต”
    สถูปแห่งนี้ได้ถูกค้นพบและเปิดเผยแบบสมบูรณ์แบบเมื่อ พ.ศ. 2419 โดยท่าน .A.C.L.Carlley มีความสูง 19.81 เมตร ได้พบวัตถุโบราณมากมาย ระบุว่าอิฐที่บรรจุด้านในประทับตราของพระเจ้าไชยคุปต์ มีอักษรภาษาสันสกฤต จารึกบนแผ่นทองแดงประกอบด้วยข้อความในนิทานสูตร จากแนวลึกดิ่งลงตรงศูนย์กลางของสถูป10.36 เมตร พบสถูปองค์เล็กอยู่ในสภาพสมบูรณ์สูง 2.82 เมตร ภายในบรรจุพระพุทธรูปปางสมาธิ <O:p</O:p
    ในปี พ.ศ. 2470 มีการซ่อมแซมโดยการบริจาคของท่าน อู โป กยู ( U Po Kyu) และท่าน อู โป เหล่ง ( U Po Hlaing) เป็นชาวพม่า เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2470 ได้ประกอบพิธีปิดพระสถูป โดยมีตัวแทนพระสงฆ์ 16 รูป นำโดย พระอาจารย์ อู จันทรมนี เจ้าอาวาสวัดพม่าเมืองกุสินาราในสมัยนั้น มีการนำเอาวัตถุที่เป็นทอง เงิน ทองแดง แผ่นจารึก ฝังไว้ด้านในพร้อมคำอธิบายข้อเท็จจริงรายละเอียดของการขุดค้นโดยละเอียดด้วย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คำบูชาสถูปปรินิพพาน

    วันทามิ อิมัง ปะรินิพพานะถูปัง, อิมัสมิง กุสินารายัง สาละวะโนทะเย พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะรินิพพานัฏฐาเน , อะยัง วันทะนา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ<O:p</O:p
    คำแปล

    ข้าพเจ้า ขอกราบไหว้สถูปเป็นที่ปรินิพพานนี้ ณ สาลวโนทยานที่เมืองกุสินารานี้ อันเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอการกราบไหว้นี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ความเจริญ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เทอญฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    มกุฏพันธนเจดีย์(Makutabandana Stupa) <O:p</O:p
    เมื่อ พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน และทำการบูชา ณ สาลวโนทยาน สิ้น 7 วันแล้ววันที่ 8 ได้ทำการเคลื่อนย้ายพระบรมศพไป ณ มกุฏพันธนเจดีย์เพื่อทำการถวายพระเพลิง มกุฏพันธนเจดีย์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมือง ห่างจากวิหารปรินิพพาน 1.61 กิโลเมตร เมื่อเจ้ามัลละกษัตริย์อัฐเชิญพระบรมศพจากอุทยานสาลวันเข้าไปทางทิศเหนือของตัวเมืองแล้ว ขบวนก็ผ่านไปทางประตูเมืองด้านทิศตะวันออกเลยไปถึงมกุฏพันธนเจดีย์ที่ปรากฏอยู่วันนี้ เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นมาภายหลังการถวายพระเพลิงชาวบ้านเรียกว่า รามภาร์ (Ramabhar)<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คำบูชาสถานที่ถวายพระเพลิง

    วันทามิ อิมัง เจติยัง, มะกุฏพันธะนะสัญญิตัง ทัสสะนียัง, สังเวชะนียัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต สะรีรัสสะ ฌาปะนัฏฐานัง, อะยัง วันทะนา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ<O:p</O:p
    คำแปล

    ข้าพเจ้า ขอกราบไหว้พระเจดีย์อันมีชื่อว่า มกุฏพันธนเจดีย์เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันเป็นสถานที่ ควรเห็นควรให้เกิดความสังเวช<O:p</O:p
    ขอการกราบไหว้นี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ความเจริญ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เทอญฯ<O:p</O:p<O:p</O:p

    คำอฐิษฐาน ณ มกุฎพันธนเจดีย์<O:p</O:p

    ด้วยอำนาจบุญกุศล ความตั้งใจ ที่ข้าพเจ้า ได้เดินทางจาริกมาน้อมสักการะ ณ สถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ ของพระศาสดา ณ ที่นี้ ขอจงเป็นบารมี เป็นพลวะ ปัจจัย เกื้อหนุนให้ ทุกข์ โศก โรคภัยของข้าพเจ้าจงหมดสิ้นไป ศรัตรู หมู่มาร ปัจจามิตร ( ระบุชื่อ.....)ผู้จ้องทำลายล้างทั้งหลายจงได้พินาศไป ด้วยอำนาจแห่งเพลิงทิพย์ ที่เผาไหม้พระวรกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และด้วยอำนาจแห่งพุทธบารมีด้วยเทอญ...ฯ
    หลังการถวายพระเพลิงพุทธสรีระแล้ว โทณพราหมณ์ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนกษัตริย์ที่จัดกองทัพมาเพื่อขอส่วนแบ่งแห่งพระบรมสารีริกธาตุ 8 เมือง ดังนี้<O:p></O:p>
    1. พระเจ้าอชาตศรัตู ได้สร้างสถูปประดิษฐานไว้ ณ เมืองราชคฤห์<O:p</O:p
    2. เหล่ากษัตริย์ลิฉวี สร้างสถูปไว้ ณ เมืองไพศาลี<O:p</O:p
    3. กษัตริย์ศากยวงศ์ สร้างสถูปไว้ ณ กรุงกบิลพัสดุ์<O:p</O:p
    4. กษัตริย์อัลละกัปปะแห่งพูลี ได้สร้างสถูปไว้ที่เมืองอัลละกัปปนคร<O:p</O:p
    5. กษัตริย์โกลิยะ ได้สร้างสถูป ณ รามคาม<O:p</O:p
    6. พราหมณ์เวฎฐทีปกนคร ได้สร้างสถูปไว้ที่เวฎฐทีปกะ<O:p</O:p
    7. กษัตริย์มัลละ ได้สร้างสถูปไว้ที่เมืองกุสินารา<O:p</O:p
    8. กษัตริย์มัลละ แห่งปาวา ได้สร้างสถูปไว้ที่เมืองปาวานคร<O:p</O:p
    ตุมพเจดีย์ เจดีย์ที่บรรจุทะนานที่ตวงพระบรมสารีริกธาตุ สร้างโดยโทณพราหมณ์ สร้าง ณ กุสินารานคร และพระอังคารเจดีย์ที่เจ้าเมืองโมริยนคร เนื่องด้วยว่ามาทีหลัง ได้ขอพระอังคารไปสร้างบรรจุไว้ภายในเจดีย์ไว้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สถานที่ควรศึกษา<O:p</O:p

    วิหารมัตถากัวร์ ( The Matha-Kuar Shrine) = วิหารที่เจ้าชายเสด็จมาสิ้นชีพ <O:p</O:p
    หางจากสถูปไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 150 เมตร ตั้งอยู่ด้านข้างถนนเป็นที่ตั้งของวิหารมาถากัวร์ ภายในเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูปขนาดความสูง 3.05 เมตร แกะสลักจากหินก้อนเดียว สีน้ำเงินนำมาจากพุทธคยา ปางภูมิสัมผัส( Bhumisparsa Mudra) หรือปางสัมผัสโลก ( Earth-Touching Attitude) สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 15 ที่สร้างวิหารนี้อยู่ในบริเวณวิหารต่าง ๆ ที่สร้างโดยรอบวิหารปรินิพพาน ในสมัยราชวงศ์ กาลาจุรี( Kalachuli) <O:p</O:pโทณะพราหม์เจดีย์ <O:p</O:p
    อยู่บริเวณด้านหลังวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เป็นที่รัฐบาลอินเดียประกาศขึ้นเป็นโบราณสถาน ยังไม่มีการขุดค้นยังเป็นเนินดินที่ถูกถมไว้ใต้ดิน บริเวณใกล้ ๆ มีต้นโพธิ์ขนาด หกคนโอบ อายุหลายร้อยปี<O:p</O:p
    แม่น้ำหิรัญญะวดี<O:p</O:p

    เป็นแม้น้ำสายสุดท้ายที่พุทธองค์เสด็จข้ามก่อนจะเสด็จสู่สาละวโนทยาน อยู่บริเวณด้านข้างมกุฏพันธนเจดีย์ ด้านทิศตะวันออกสาลวโนทยาน ตามหลักฐานระบุว่า กุสินารานครตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสายนี้ ชาวบ้านเรียกว่า หิรัญยะวะตี นะดี<O:p</O:p
    แม่น้ำกะกุธานที<O:p</O:p
    อยู่ห่างกุสินารา 15 ก.ม. ออกไปทางทิศตะวันออกบนเส้นทางไปเมืองไพศาลี เป็นสายน้ำที่พุทธองค์ทรงสรงสนานครั้งสุดท้าย ทรงแสดงอานิสงค์ แห่งทานที่ถวายมีผลเท่ากันในสองกาลคือ ข้าวมธุปายาส ที่นางสุชาดาถวายก่อนกาลตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และสุกรมัทวะ ที่นายจุนทะ บุตรนายช่างทอง แห่งปาวานคร ถวายก่อนวันเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน <O:p</O:p
    สถูปเมืองปาวานคร<O:p</O:p

    ห่างออกไปด้านทิศตะวันออกของเมืองกุสินารา 18 ก.ม เส้นทางไปไฟศาลี เป็นที่สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นการสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกแก่นายจุนทะผู้ถวายสุกรมัทวะ หลวงพ่อญาเนศวรมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดพม่าองค์ปัจจุบันท่านยืนยันว่าเมื่อสามสิบปีก่อนมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่บริเวณองค์สถูปนี้ <O:p</O:p
    วัดนานาชาติ<O:p</O:p

    บริเวณกุสินารา มีวัดจากชาวพุทธนานาชาติมาสร้างไว้ตามเอกลักษณ์ของสถาปัตย์แห่งชาติของตน ๆ เช่น วัดพม่า วัดจีน วัดญี่ป่น วัดศรีลังกา วัดเกาหลี <O:p</O:p
    วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์<O:p</O:p

    พุทธบริษัทชาวไทยร่วมใจกันสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2537 เพื่อน้อมเป็นพุทธบูชาและเฉลิมพระเกียรติการครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในดินแดนพุทธภูมิในความอำนวยการของ พระสุเมธาธิบดี อธิบดีสงฆ์ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ มีนายจุมพล โพธิ์ศรีวิสุทธิกุล กับพุทธบริษัทชาวไทยได้ถวายศาสนูถัมภ์ และการดำเนินงานของพระราชรัตนรังษี(วีรยุทโธ)ทั้งนี้มีสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี ร่วมดูแล<O:p</O:p
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธียกช่อฟ้า ตัดลูกนิมิตเมื่อวันที่ 21–22 กุมภาพันธ์ 2542 และได้มีพิธีผูกสีมาตามพระบรมพุทธานุญาต <O:p</O:p
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวัดว่า “ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์” พระราชทานนามพระพุทธรูป องค์พระประธานในพระอุโบสถว่า “พระพุทธสยัมภูญาณ” พร้อมด้วยพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ภาพทรงผนวช ฉัตร 3 ชั้น ภาพพระมหาชนก ภาพพระราชกรณียกิจ ตราสัญลักษณ์ครองราชย์ 50 ปี ตราสัญลักษณ์สมโภชพระชนมายุ 6 รอบ 72 พรรษา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. เพื่อประดิษฐานไว้ที่หน้าบันพระอุโบสถ <O:p</O:p
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระมหาเจดีย์ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2544 และเสด็จแทนพระองค์ประกอบพิธีสมโภชน์พระมหาเจดีย์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2548 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า “พระมหาธาตุเฉลิมราชศรัทธา”<O:p</O:p
    ที่วัดมีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เช่น การปฏิบัติกรรมฐาน รักษาศีล และให้การสงเคราะห์ด้วยการเปิดสถานรักษาพยาบาล กุสินาราคลินิก ตรวจรักษาคนยากจน ผู้ด้อยโอกาสประมาณวันละ 250 - 350 คน มีนายแพทย์ และเภสัชกร ทำงานทุกวัน ไม่เลือกชั้นวรรณะ เปิดพิเศษรักษาฟรีในวันพระสิบห้าค่ำ สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นเด็กที่อายุไม่เกิน 6 ขวบ ฯพณฯ นายธวัธชัย ทวีศรี เอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี ได้ประกอบพิธีเปิดเมื่อ 12 สิงหาคม พ.ศ.2543 และขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาล ขนาด 30 เตียง <O:p</O:p
    ปัจจุบันมี พระราชรัตนรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ) เป็นประธานสงฆ์ พร้อมด้วยภิกษุจำพรรษาจำนวนมากกว่าปีละ20 รูป เชิญเข้าเยี่ยมชม- สนับสนุนกิจกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    บุญวิธีที่กุสินารา<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    1. ห่มผ้าพระพุทธปรินิพพาน (เตรียมผ้าขนาด กว้างสองเมตร ยาวห้าเมตรครึ่ง จะห่มพอดี)
    2. ปิดทองที่พระพุทธบาท พระพุทธปรินิพพาน
    3. นิมนต์พระสวดมาติกา และถวายผ้ามหาบังสุกุล อุทิศให้ญาติ ณ มกุฎพันธเจดีย์
    4. ร่วมสนับสนุนกิจกรรมของวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เช่น สร้างโรงพยาบาล, กองทุนยา 8 รูปีรักษาทุกโรค, โรงเรียนต้นกล้า, กองทุนการศึกษาพุทธสยัมภูญาณ ฯลฯ
    หมายเหตุ:
    1. ที่มหาปรินิพพานสถูป เวลาที่มีผู้แสวงบุญมาจะมีพระอินเดียมานั่งรอรับทานบริจาค ไม่แนะนำให้ถวายปัจจัยเพราะจะเป็นการส่งเสริมอัญญเดียรถีย์ ที่ปลอมบวช <O:p></O:p>
    2. เจ้าหน้าที่ข้างในจะแนะนำให้วางปัจจัยที่พระพุทธบาท ไม่ควรวางไว้ ควรใส่ตู้บริจาคที่ตั้งอยู่ภายในสถูป<O:p</O:p
    3. จะมีเด็ก ๆ นำเมล็ดไม้สักมาให้ แต่บอกว่าเป็นเมล็ดสาละ จงอย่ารับ<O:p></O:p>
    <O:p</O:p
    สถานที่พัก<O:p</O:p

    วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ (หากประสงค์จะพักนานเกิน 3 วันต้องติดต่อขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษ) ขอรายละเอียดก่อนเข้าพักที่ Wat Thai Kusinarachalermraj, P.O. & Distt. Kushinagar, 274403 –U.P., - <st1:country-region><ST1:place>India</ST1:place></st1:country-region>. Tel: 00191-5564-271189,Fax: -5564-272089. Mobile:-9415-270696,9415-320264 E-mail: office@watthaikusinara.org, เว๊บไซร้ www.watthaikusinara.org และยังมีวัดศรีลังกา – ญี่ปุ่น, วัดจีน, วัดพม่า, วัดเกาหลี ซึ่งจัดห้องพักไว้รองรับนักแสวงบุญจากประเทศของตน ๆ ก็สามารถไปพักได้ตามอัธยาศัย<O:p></O:p>
    โรงแรมระดับดี<O:p</O:p
    The Royal Residency, Buddha Marg, Kushinagar-U.P. Tel: 05564-271364.<O:p</O:p
    Lotus Nikko Hotel, Buddha Marg, Kushinagar Distt. U.P. Tel: 05564-272250<O:p</O:p
    โรงแรมรัฐบาลรัฐ ยู.พี.
    Pathik Niwas, Buddha Marg, Kushinagar-U.P. Tel: 05564 271038,272038<O:p</O:p
    ร้านอาหาร
    Yama Cefe, บริการอาหารจีน, อินเดีย Mr.T.K.Roy ชาวเนปาลเป็นเจ้าของ ร้านอยู่บริเวณหน้าวัดพม่า Tel: 272 - 584<O:p></O:p>
    <O:p</O:pการเดินทางสู่กุสินารา<O:p</O:p
    กรุงเทพ ฯ –กัลกัตตา - กุสินารา <O:p</O:p
    เครื่องบิน กรุงเทพฯ –กัลกัตตา โดยเที่ยวบิน T.G.313 ต่อด้วยสายการบินภายในประเทศ Kolkatta – <st1:City><ST1:place>Gorakhpur</ST1:place></st1:City> โดย Air Sahara เที่ยวบินที่ S2 1126 เวลา 16.15 น. หรือตรวจสอบวันเวลาที่แน่นอนได้ที่ www.airsahara.net <O:p</O:p
    กรุงเทพ ฯ-เดลี-กุสินารา <O:p</O:p
    เครื่องบินกรุงเทพ –เดลี เที่ยวบิน T.G 315 ต่อด้วย การบินภายในประเทศ Air Sahara เที่ยวบินที่ S2 1125 Delhi-Gorakhpur เวลา 10.00 น.<O:p></O:p>
    นิวเดลี- โครักขปุร์-กุสินารา โดยรถไฟ
    - Vaishali Exp: 2554 เวลา 19.45 ถึงสถานี <st1:City><ST1:place>Gorakhpur</ST1:p</st1:City> เวลา 08.50 น.<O:p></O:p>
    - Sabt Kranti Exp: 2557 เวลา17.45 น. ถึงสถานี <st1:City><ST1:place>Gorakhpur</ST1:place></st1:City> เวลา 07.35 น.<O:p</O:p
    - Gorkakdham Exp: 2555 เวลา 22.40 น.ถึงสถานี <st1:City><ST1:place>Gorakhpur</ST1:place></st1:City> เวลา 12.25 น.<O:p</O:p
    พาราณสี- กุสินารา (Kushinagar)<O:p</O:p
    - มีรถยนต์ประจำทาง เที่ยวเช้า 08.00 น. 09.00 น. ไปลงที่เมือง โครักขปุร์ แล้วต่อไปยังกุสินาราอีก 56 ก.ม.<O:p></O:p>
    - โดยรถไฟประมาณ 5 ชั่วโมง มีขบวน Intercity Express. เวลา 04.45 น., Dardar Express 13.15 น. , Chauri-Chaura Exp: 5003 เวลา 00.40 น. ไปลงสถานี Deoria Sardar แล้วจึงต่อด้วยรถจี๊ป หรือรถยตน์โดยสาร อีก 32 ก.ม ไปลง กาเซีย( Kasia) นั่งสามล้อปั่นเข้ากุสินารา อีก 3 ก.ม. หรือจะนั่งรถไฟเลยไปลงที่เมือง <st1:City><ST1:place>Gorakhpur</ST1:place></st1:City> แล้วต่อด้วยรถยนต์โดยสารไปกุสินาราอีก 56 ก.ม. ก็ได้ <O:p</O:p
    กัลกัตตา-กุสินารา โดยรถไฟ(Howrah-Gorakhpur)<O:p</O:p
    - Poorvanchal Exp: 5047 เวลา 13.00 น. มาถึงโครักปุร์เวลา 06.00 น.<O:p</O:p
    - Bag Exp: 5049 เวลา 21.45 น. มาถึงโครักขปุร์เวลา 20.00 น.<O:p</O:p
    <O:p</O:pจากกุสินารา ไปยังเมืองต่าง ๆ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ไปลุมพินี-เนปาล(Lumbini-Nepal) มีรถประจำทางจากกุสินารา –ต่อรถที่โครักขปุร์หน้าสถานีรถไฟ ไปลงโสเนาลี (Sonauli) ผ่านกองตรวจคนเข้าเมือง (Immigration) อินเดีย-เนปาล แล้วต่อรถประจำทางจากด่าน Belahiya ไปอีก 4 ก.ม.ถึงเมือง Bhairawa- ไปต่ออีก 22 ก.ม.ก็ถึง <O:p></O:p>
    ไปพาราณสี มีรถโดยสารประจำทางจากเมืองโครักขปุร์ ที่กัจจารี บัส สะแตนท์ หรือจะนั่งรถไฟจากโครักปุร์ก็ได้มีขบวน Dadar Exp: 1027 เวลา 05.00 น., Intercity 5106 เวลา 16. 45 น. ChuriChaura Exp:5004 เวลา 22.50 น. <O:p</O:p
    ไปนครเดลี มีขบวนรถไฟ Vaishali Exp: 2553, จาก โครักขปุร์ เวลา 17.00 น. Satyagraha Exp: 4047 เวลา 16.15 Gorakdham Exp: 2555 เวลา 22.40, Delhi-MuZafapur Exp: 2257 เวลา17.30 น. ทุกวัน, โดยเครื่องบิน Airsahara S.2 1126 เวลา 16.20 (GOP-DEL) ค่าเครื่องเที่ยวละ 135 เหรียญสรอ(แวะที่ Luknow 15 นาที )<O:p</O:p
    ไปกัลกัตตา : โดยรถไฟ ขบวน Poorvanchal Exp:5048 เวลา 10.00, Bag Exp: เวลา13.20 <st1:City><ST1:place>Gorakhpur</ST1:place></st1:City> –Howrah Exp: 5050 เวลา 08.00 : โดยเครื่องบิน Airsahara S2 .6125 เวลา 12.45(GOP-CCU). ราคา 135 U$ ต่อเที่ยวบิน ใช้เวลาบินประมาณ 1 ชั่วโมง<O:p</O:p
    ไปไวศาลี – ปัตนะ-พุทธคยา โดยรถไฟขบวน Vaishali Exp: 2554 จาก โครักปุร์เวลา 08.45 น. ขบวน Bag Exp: เวลา 13.15 น. ไปลงที่ สถานี Hajipur ต่อด้วยรถประจำทางไปปัตนะ จากปัตนะ – คยา ด้วยรถไฟขบวน Paramau Express: เวลา 20.00 น. หรือ Passenger Train เวลา 16.00 น. มีรถบัสประจำทางของ Bihar Tourist ออกจากใกล้โรงแรม Chanakya Hotel มีทุกวัน เวลา 07.00 น.ไปพุทธคยา หรือจะนั่งรถบัสประจำทางช่วงเช้า ที่สถานีรถบัสใกล้ ๆ กับสถานีรถไฟค่ารถก็ประมาณ 50 รูปี <O:p</O:p
    ไปสาวัตถี มีรถไฟขนาดเล็กเชื่อมระหว่างเมือง ออกจากสถานีโครักขปุร์ชานชะลาที่ 9,10 ช่วงเช้า เวลา 02.00 น. 05.00 น. 08.00 น. บ่ายเวลา 13.00 น. 14.15 น. ให้ไปลงที่สถานี บะรามปุร์ (Balrampur) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง ไม่แนะนำให้เดินทางโดยรถยนต์เพราะจะต่อรถหลายต่อ เมื่อถึงบะรามปูร์แล้วด้วยรถจี๊ปประจำทางไป สาวัตถี (Sravasti) อีก 16 ก.ม.
    ไปอชันตา-แอลโรร่า รถไฟที่โครักขปุร์ ขบวน Dadar Exp:1027 เวลา 05.00 น. ไปลงสถานีJalgaon แล้วต่อด้วยรถประจำทางไปอีก 60 ก.ม. ถึงถ้ำอชันตา เลยไปพักที่เมืองออลังกะบาด เพราะมีที่พักและรถบริการสะดวกและวันต่อมาจึงต่อด้วยการชมถ้ำแอลโลร่า..ดูรายละเอียดในบทที่ 10<O:p></O:p><O:p</O:p
    เมืองโครักขปุร์ - ชุมทางแสวงบุญ<O:p</O:p
    เมื่อมาถึงเมืองนี้จะเป็นจุดผ่านไปหลายสถานที่ไม่ว่าจะเป็นลุมพินี,เนปาล, เมืองเดลี, สาวัตถี กัลกัตตา , พาราณสี, อัคระ, อชันตา, แอลโลร่า มุมไบ ก็สามารถนั่งรถไฟจากเมืองนี้ได้ จึงขอแนะนำที่พักสำหรับนักเดินทาง นอกจากโรงแรมราคาถูกบริเวณด้านหน้าสถานีรถไฟเป็นจำนวนมากแล้ว ถ้าจะเลือกที่ดีกว่านั้นก็พอจะแนะนำได้ดังนี้<O:p</O:p
    โรงแรม
    The Park Rigency, <st1:Street><st1:address>Park Road</st1:address></st1:Street>, Gorkahpur : Tel: 0551-2334271<O:p</O:p
    Shivoy Hotel, Town Hall, Tel: 0551-2333696, 2338448<O:p</O:p
    Hotel President, <st1:address><st1:Street>Golghar Road</st1:Street>, <st1:City>Gorakhpur</st1:City></st1:address> Tel: 0551-233-7654,2338654<O:p</O:p
    Hotel Avantika,Mohaddipur, Tel: 0551-2200765,220-0811<O:p</O:p
    ร้านอาหาร
    Mr.Cook – Eating Express, <st1:address><st1:Street>Park Road</st1:Street>, <st1:City>Gorakhpur</st1:City></st1:address> Tel: 0551-2336720<O:p</O:p
    Mahek Restaurant, Shivoy Hotel . Queen’s Restaurant in Hotel President.<O:p</O:p
    ประโยคสนทนาที่เมืองโครักขปุร์<O:p</O:p
    - ฉันจะไปกุสินาราโดยรถประจำทาง I am going to Kushinagar by Bus, แม กุสินาการ์ บัส เส ยานา จาตา หู !<O:p</O:p
    - ไปด่านโสเนาลี เนปาล, Going to <ST1:place><st1:City>Sonauli-Border</st1:City>, <st1:country-region>Nepal</st1:country-region></ST1:place> = โสเนาลี บอเดอร์ เนปาล ชา ระหา ฮู้!<O:p</O:p
    - ไปวัดไทยกุสินารา, Going to Thai <ST1:place><st1:placeType>temple</st1:placeType> <st1:placeName>Kushinagar</st1:placeName></ST1:place> = ไทย มันดีร์ กุสินาการ์ ยานา จาหะตา ฮู้!<O:p</O:p
    - ฉันต้องการซื้อตั๋วรถไฟจากโครักขปุร์ ไป นิวเดลี I want to buy train ticket from <st1:City><ST1:pGorakhpur</ST1:place></st1:City> to <st1:City><ST1:pNew Delhi</ST1:p</st1:City>= แม เทรน ทิกเก๊ต โกรักขปุร์ เส เดลี ตั๊ก จาหิเย !<O:p</O:p
    - ฉันต้องการทราบที่ติดต่อสอบถาม Where is the inquiry office? = ปุจฉะ ตัจช์ เกนเดอร์ กะห้า แฮ่!<O:p</O:p
    - ซื้อตั๋วได้ที่ไหน Where can I buy the ticket? ทิกเก้ท กะห่า มิเลก่า ?<O:p</O:p
    - ทางไปเพลตฟอร์มอยู่ไหนหรือ Where is the way to platform = เพลสฟอร์ม กา ราชตะ กิทะ เส แฮ่!<O:p</O:p<O:p</O:p

    “”””””””””””””””””””””””””””””””””””””<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2006
  8. คมศักดิ์

    คมศักดิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    790
    ค่าพลัง:
    +886
    อนุโมทนา สาธุครับ อยากรู้จังว่าปกติเค้าไปกันใช้เงินเท่าไหร่ครับ
     
  9. ANUWART

    ANUWART เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,669
    ค่าพลัง:
    +14,320
    โมทนาสาธุครับ
    เรียนเชิญสร้างสมเด็จองค์ปฐมพร้อมพระเจดีย์จุฬามณี(พร้อมรับวัตถุมงคลเสาร์ ๕)
    http://palungjit.org/threads/เ�...��.153668/
     
  10. Rannie

    Rannie สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +8
    อยากไปสิ้นปีนี้ค่ะ กำลังศึกษาข้อมูลอยู่ ขอบคุณมากๆ ค่ะ โมทนา สาธุ _/\_
     

แชร์หน้านี้

Loading...