หนังสือ พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย (ฉบับครบสมบูรณ์) โดย สมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

ในห้อง 'อนุโมนาบุญ - อุทิศบุญส่วนกุศล' ตั้งกระทู้โดย oat0813472244, 25 กุมภาพันธ์ 2020.

  1. oat0813472244

    oat0813472244 ศูนย์เผยแพร่พระพุทธศาสนาไตรลักษณ์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2019
    โพสต์:
    374
    ค่าพลัง:
    +61
    e_1547442.jpg

    พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย
    โดย สมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดพิมพ์เผยแพร่
    หนังสือ ปกแข็ง หุ้มหนังอย่างดี เย็บกี่
    กระดาษ ถนอมสายตาสีครีม
    จำนวน 1360 หน้า
    จัดพิมพ์ครั้งที่ 39 พ.ศ. 2557
    พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จำนวน 15,000 เล่ม

    ราคามูลนิธิ 700 บาท
    +จัดส่งเคอรี่ทั่วไทย 140 บาท
    = 840 บาท


    โทร.สอบถามการจัดส่งทั่วประเทศ
    086-461-8505, 02-482-7358, 087-696-7771

    ‍ LINE : @trilakbooks หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลย
    https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks


    ‍ LINE : @trilakbooks

    --- --- --- --- --- --- ---
    แผนที่สำหรับเดินทาง มาด้วยตนเอง ที่
    https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2


    หนังสือ พุทธธรรม ฉบับปรับขยายนี้
    ก็คือพุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ

    นั่นเอง แต่ในการพิมพ์ครั้งใหม่นี้ ได้ตัดปรับชื่อให้สั้สเข้า เพื่อจำง่ายเรียกได้สะดวก
    นับแต่คณะระดมธรรม และธรรมสถานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พิมพ์หนังสือนี้ขึ้นมาเป็นครั้ง
    แรก เสร็จเมื่อวันวิสาขบูชา พ.ศ. ๒๕๒๕ ถึงบัดนี้ เกือบเต็ม ๓๐ ปีแล้ว ระหว่างการที่ผ่านมา ได้มีการ
    พิมพ์ซ้ำหลายครั้ง แต่พิมพ์ได่เพียงซ้ำตามเดิม และการพิมพ์มีคุณภาพด้อย เนื่่องจากเมื่อพิมพ์ครั้งแรก
    นั้น การพิมพ์อย่างก้าวก้าวหน้าที่สุด มีเพียงระบบคอมพิวเตอร็กราฟฟิก ที่จัดทำเป็นแผ่นอาร์ตเวิร์ค ซึ่งคงอยู่
    ไม่นานก็ผุพังไป แล้วต่อจากนั้น ต้องใช้วิธีถ่ายภาพจากหนังสือเล่มเก่า โดยเลือกหนังสือที่เห็นว่าอ่าน
    ชัดที่สุดเท่าที่จะหาได้มาถ่ายแบบพิมพ์ใช้กันอย่างพอให้เป็นไป
    ระหว่างนั้น ผู้ศรัทธามีน้ำใจหลายท่าน หลายคณะ ได้พยายามนำข้อมูลหนังสือ พุทธธรรม
    ฉบับปรับปรุงและขยายความ
    นั้น จัดพิมพ์เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ และก้าวไปได้มาก แต่มีข้อติดขัดที่
    ซับซ้อนบางอย่าง ที่ทำให้ไม่ลุล่วง จนกระทั่งวันหนึ่ง ได้ทราบว่า นายแพทย์ณรงค์ เลาหวิรภาพ กำลัง
    ดำเนินการนำข้อมูลหนังสือนี้ลงในคอมพิวเตอร์ ที่จังหวัดเชียงใหม่ แม้ว่าต่อมา สำนักคอมพิวเตอร์
    มหาลัยมหิดลจะได้นำข้อมูล พุทธธรรมฯ ลงในโปรแกรมพระไตรปิฎกคอมพิวเตอร์ BUDSIR VI
    เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็วใน พ.ศ. ๒๕๕๐ แต่คุณหมอณรงค์ก็ยังทำงานของตนเป็นอิสระต่อไป

    ในที่สุด ณ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ขณะที่ผู้เขียนพำนักอยู่ที่่สถานพำนักสงฆ์สหธรรมวาสี อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี นายแพทย์ณรงค์ เลาหวิรภาพ ได้เดินทางไปกับคุณสุรเดช พรทวีทัศน์
    (ผู้ต้นคิดสายนี้) และคุณนริศ จรัสจรรยาวงศ์ นำข้อมูลคอมพิวเตอร็ของหนังสือ พุธธรรม ฉบับ
    ปรับปรุงขยายความ ที่จัดเรียงครบจบเล่มแล้ว พร้อมทั้งดัชนี ไปถวาย
    เวลาผ่านมา เมื่อผู้เขียนพำนักอยู่ศาลากลางสระ สถานพำนักสงฆ์สายใจธรรม เขาสำโรงดง
    ยาง อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ติดต่อกันอีก ๒ พรรษา หลังสิ้นพรรษาแรกแล้ว ถึงวันที่ ๒๙
    ธันวาคา ๒๕๕๓ จึงได้มีโอการเริ่มงานตรวจชำระข้อมูลคอมพิวเตอร์ของหนัง พุทธธรรมฯ ที่ได้รับ
    ถวายไว้ครึ่งปีเศษแล้วนั้น และเพื่อมเติมจัดปรับให้พร้อมที่จะพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ
    ประจวบว่าตลอดช่วงเวลาทำงานนี้ อาการอาพาธโรคต่างๆ ทั้งเก่าและใหม่ ได้รุงแรงขึ้น กับทั้ง
    โรคติดเชื้อในกระแสโลหิตที่ค่อนข้างเสี่ยงชีวิต ก็แทรกซ้อนเข้ามา เป็นเหตุให้งานไม่ราบรื่นบ้างในบาง
    ช่วง แต่ในที่สุด งานตรวจชำระเนื้อหนังสือก็เสร็จจบเล่มเมื่อขึ้นเดือนกันยายน ๒๕๕๔ และได้ส่ง
    ข้อมูลเนื้อหนังสือไปให้คุณหมอณรงค์จัดปรับ (update) ดัชนีให้ลงบตัว
    โดยทั่วไป เนื้อหนังสือ พุทธธรมมฯนี้ ก็คงตามเดิม แต่เมื่อทำงานตรวจชำระและใช้ข้อมูล
    คอมพิวเตอร์ เป็นโอกาศที่จะจัดปรับได้สดวก จึงได้จัดรูปให้อ่านง่ายขึ้น โดยเฉพาะซอยย่อหน้าถี่ขึ้น
    อย่างมาก และได้แทรกเพิ่มคำอธิบายในที่ต่างๆ ตามสมควร
    ที่ควรสังเกตุคือ ได้นำ "บทความประกอบ" ทั้งหมดของภาค ๑ แยกออกไปจัดรวมไว้ต่างหาก
    เป็นภาค ๓ คืออยู่ท้ายเล่ม และได้เพิ่มบทความประกอบอีก ๑ บท (บทความประกอบที่ ๖: ความสุข
    ๒: ฉนั้นประมวณความ) เป็นบทสุดท้าย ทำให้หนังสือนี้มีจำนวนบททั้งเล่มเพิ่มจาก ๒๒ เป็น ๒๓ บท
    อนึ่ง ใน พุทธธรรมฯนี้ มีตารางและภาพหลายแห่ง เมื่อถ่ายภาพจากหนังสือเก่า ก็ไม่ชัด พระ
    ชัยยศ พุทฺธิวโร จึงได้เขียนตารางและภาพเหล่านั้นแทนให้ ๒๔ หน่วย อีกทั้งต่อมาได้มาพักไม่ไกลกัน
    บนภูเขา เมื่อเห็นภาพใดไม่ชัด ก็ทำใหม่ให้ และเมื่อเนื้อหนังสือเสร็จ ก็ได้ช่วยอ่านพิสูจน์อักษรด้วย

    e_1554833.jpg

    ในที่สุด เมื่อมองรวมทั้งเล่มชื่อเดิมของหนังสือที่ว่า พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ
    นั้นยืดยาวเกินไป จึงเรียกใหม่ให้ง่ายและสดวกขึ้นเป็น พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย
    มีความประจอบพอดีเป็นศรีศุภกาล ที่ทุกอย่างจำเพาะมาลงตัวกันเองให้หนังสือ พุทธธรรม
    ฉบับปรับขยาย
    นี้เสร็จ ในช่วงแห่งมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ใน
    วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔
    โดยเฉพาะงานนี้ ดังที่กล่าวแล้ว เป็นการจัดการเนื้อหนังสือที่เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้อง
    อาศัยอุปกรณ์การทำงานที่มีราคาสูงเป็นหมื่นๆ บาท คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งส่วนชุดคำสั่ง
    หรือซอฟต์แวร์ จำเพาะว่า ในปี ๒๕๕๓ ทั้งตัวที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้ใช้มาก็เสีย คงหมดอายุ และ
    ซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ก็ล้าสมัยมาก ใช้ทำงานข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่คุณหมอณรงค์จัดทำและนำมาถวาย
    ไม่ได้ จึงได้อาศัยไวยาวัจกรคือลูกศิษย์ ผู้ถือบัญชีนิตยหลวง จัดจ่ายได้อุปกรณ์ ๒ อย่างนั้นมา
    เป็นอันให้ทำงานเสร็จได้ด้วยพระบรมราชูปถัมภ์ที่สืบมาตามราชประเพณี จึงถือความสำเร็จแห่ง
    หนังสือธรรมทานนี้ เป็นการถวายพระพรอนุโมทนาพระราชกุศล ในมหามงคลสมัยอันพิเศษที่มาถึง
    การทำหนังสืออันเป็นสาระของงาน สำเร็จช่วงมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๗
    รอบ ดังได้กล่าว ส่วนการพิมพ์หนังสืออันเป็นขั้นที่จะทำสาระนั้นให้ปรากฏและบังเกิดประโยชน์แก่
    มหาชน เป็นภารกิจต่างหาก ซึ่งสืบต่อออกไปจากความเสร็จของสาระนั้น และการพิมพ์นั้นมา
    ลุล่วงใน พ.ศ. ๒๕๕๕ อันเป็นกาละที่บรรจบ ๒๖ ศตวรรษแห่งการประดิษฐานพระพุทธธรรม ที่นับ
    แต่การบรรลุโพธิญาณ และการทรงแสดงปฐมเทศนา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    การพิมพ์หนังสือ พุทธธรรมฯอันใช้ข้อมูลที่ตรวจจัดในคอมพิวเตอร์นี้ เป็นธรรมทานครั้งพิเศษ
    ซึ่งสำเร็จด้วยทุนบริจากตามพินัยกรรมของ น.ส. ชมพูนุท กมลโชติ ในกองทุน ป. อ. ปยุตฺโต เพื่อ
    เชิดชูธรรม ที่คุณหญิงกระจ่างศรี รักตะกนิษฐ ได้ตั่งไว้ และทุนบริจากตามมฤดกปณธานของ
    น.ส. ชุณหรัชน์ สวัสดิฤกษ์ ทั้งนี้ เป็นกุศลกิริยาของผู้ศรัทธา ที่ได้ขวนขวายสนองบุญเจตนาของท่าน
    ผู้ที่ได้ตั้งมโนปณิธิไว้ นับว่าเป็นความร่วมใจในการทำกุศลใหญ่ครั้งสำคัญ
    บัดนี้ ในวาระลุปริโยสานแห่งงานธรรมทานที่ตั้งไว้ ขอทุกท่านผู้เกื้อหนุนในบุญการ จงเจริญ
    ด้วยความเกษมสันต์และสรรพกุศล ขอศัทธรรมจงรุ่งเรืองแผ่ไพศาล เพื่อความเจริญไพบูลย์แห่ง
    ประโยชน์สุขของปวงประชาตลอดการยืนนาน
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
    ปัจจุบันท่านดำรงค์สมณสักดิ์ เป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)



    e_1473268.jpg


    e_1220371.jpg





    e_1220366.jpg

    ---อนุโมทนา---

    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถาบันหลักที่ได้ตีพิมพ์หนังสือ
    พุทธธรรมเผยแพร่มาตั้งแต่ระยะแรก เริ่มด้วยพิมพ์ พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ
    ในพ.ศ.2529 อันเป็นครั้งที่ ๓ จนถึงวาระล่าสุดใน พ.ศ.2511 อันเป็นครั้งที่ 11
    บัดนี้ หนังสือพุทธธรรมนั้นได้พัฒนาขึ้นมาเป็นฉบับที่ใช้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และตีพิมพ์
    ในชื่อที่ตัดสั้นลงให้เรียกง่ายขึ้นว่า พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย
    ณ โอกาสนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แจ้งว่า หนังสือพุทธธรรม
    ที่พิมพ์เผยแพร่ครั้งก่อนนั้น หมดไปแล้ว จึงประจงค์จะตีพิมพ์ขึ้นใหม่ เพื่อมอบ
    เป็นธรรมบรรณาการแก่ผู้มีอุปการคุณของมหาวิทยาลัย และเพื่อจัดจำหน่ายต่อไป
    ขออนุโมทนากัลยาณฉันทะของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    ในการส่งเสริมการศึกษา ช่วยกันแผ่ขยายความรู้เข้าใจธรรม อันจะมีผลเป็นการดำรงรักษาสืบ
    อายุพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเป็นปัจจัยเสริมสร้างประโญชน์สุข
    แห่งมหาชน ให้แพร่หลายเพิ่มพูน เพื่อสัมฤทธิ์ความไพบูลย์ ทั้งอามิสไพบูลย์ และธรรมไพบูลย์
    ยั่งยืนนานสืบไป
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
    1 พฤษภาคม 2557

    .........................................................
    e_1482192.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-9.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-10.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-11.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-12.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-13.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-14.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-15.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-16.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-17.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-18.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-19.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-20.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-21.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-22.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-23.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-24.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-25.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-26.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-27.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-28.jpg
    buddhadhamma_extended_edition-29.jpg

    ............................................................

    e_1303177.jpg

    บทสัมภาษณ์ : พุทธธรรม’ นำชีวิต : โดย : พระไพศาล วิสาโล
    ............................................................
    ต้อนรับคอลัมน์ใหม่ ด้วยหนังสือดีในชีวิตของพระไพศาล วิสาโล พระนักคิด นักเขียน
    และนักอ่านผลงานเขียนของท่านมีมากมายกว่า 90 เล่ม
    ทั้งในนามพระไพศาล วิสาโล และในนามปากกาอื่น ๆ ซึ่งล้วนแต่มีธรรมะเป็นหลักในการถ่ายทอด
    ‘พุทธธรรม’ ของพระพรหม-คุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) คือหนังสือที่พระไพศาลยกย่อง ถึงขั้นที่ว่าถ้ามี
    หนังสือเพียงเล่มเดียวที่สามารถติดตัวไปได้ในชีวิต ‘พุทธธรรม’ คือเล่มที่ท่านเลือก
    “หนังสือเล่มนี้อาตมาอ่านจบช่วงเข้าพรรษาสมัยที่เป็นฆราวาส เมื่อ พ.ศ. 2525
    ตั้งใจว่าอ่านให้ได้วันละ 10 หน้า
    ก็อ่านได้ทุกวัน พรรษาหนึ่งประมาณ 90 กว่าวัน หนังสือมีความหนาประมาณพันกว่าหน้า
    อ่านตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายก็พอดี เป็นการฝึกความเพียรและวินัยด้วย บางทีเรา
    เดินทางไปต่างจังหวัดก่อนหน้านั้นวันหนึ่งจะต้องอ่านเพิ่มอีก 10 หน้าเพื่อชดเชยกับวันที่ต้องเดินทาง”
    นอกจากความเพียรในการอ่านแล้ว ช่วงนั้นพระไพศาลซึ่งเป็นเพียงเด็กหนุ่มที่เพิ่งจบมหาวิทยาลัย
    ยังได้รับความเมตตาจากพระราชวรมุนี (พระพรหมคุณาภรณ์) อนุญาตให้เข้าพบเป็นประจำทุกเดือน
    เพื่อสนทนาธรรมสอบถามข้อสงสัยจากหนังสืออีกด้วย

    “อ่านหนังสือแล้วไปถามท่านเราก็ได้ความกระจ่างเยอะ ถือเป็นความโชคดีในฐานะนักอ่าน
    ยิ่งได้คุยกับท่านยิ่งรู้ว่า ท่านเป็นผู้มีสติปัญญาล้ำเลิศ ถ้าจัดเรตให้ต้องถือว่าเฟิร์สตเรต อัศจรรย์มาก”
    พุทธธรรมเป็นวรรณกรรมพุทธศาสนา ที่ได้รับการยอมรับว่าแสดงหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
    เถรวาทอย่างซื่อตรงต่อพระไตรปิฎกเป็นอย่างยิ่ง นำเสนอหลักการและสาระสำคัญของพระพุทธศาสนา
    อย่างครบถ้วน และเป็นระบบอย่างชัดเจน พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2514 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525
    ผู้เขียนได้ปรับปรุงและขยายความเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นหนังสือเล่มใหญ่หนาเป็นพันหน้า
    “อ่านไปก็อดทึ่งคนเขียนไม่ได้ว่าทั้งฉลาดทั้งมีความเพียรสูง ค้นข้อมูลมามากทีเดียวกว่าจะเขียนได้อย่างนี้
    คือไม่ใช่แค่สรุปความย่อความเหมือนหนังสือบางเล่ม แต่เป็นการเขียนขึ้นมาใหม่ โดยมีพระไตรปิฎก
    เป็นพื้นฐาน นำเสนอด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ด้วยวิธีคิดของคนสมัยใหม่ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เราจะไม่
    เจอแบบนี้ในงานเขียนพระพุทธศาสนา บางทีเคยไปเจอหนังสือเกี่ยวกับสาระพระไตรปิฎก
    เขียนโดยฆราวาสที่เคยบวชพระมาจะเห็นว่าลีลาสไตล์การเขียนแตกต่างกัน บางทีก็แค่ย่อความมาให้เราดู
    การย่อความก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ท่านเจ้าคุณทำได้มากกว่านั้น จึงนำมาเสนอใหม่ ด้วยชนิดที่เรียกว่า
    สามารถจะสื่อสารกับเราด้วยภาษาของเราได้ และพยายามโยงให้เข้าถึงปัญหาสังคมสมัยใหม่โดยใช้มุมมองแบบพุทธซึ่งสมควรแล้วที่คนจะพูดว่าเป็นเล่มที่ดีที่สุดในยุครัชกาลที่ 9 และถือว่าเป็นเล่มที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งของรัตนโกสินทร์”
    อาตมายกให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือดีของชีวิต ประการที่หนึ่งเพราะนำเสนอพุทธธรรมอย่าง
    เป็นระบบและรอบด้านที่สุดภายในเล่มเดียว คือมีหลายท่านพูดถึงพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง
    แต่พูดเป็นบางแง่ อย่างท่านพุทธทาสก็พูดเป็นบางแง่ เช่น ปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา
    แต่เล่มนี้พูดครบทุกแง่อย่างเป็นระบบ ทุกแง่ทุกมุมอยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้ว ขอให้ค้นให้เป็น
    อาตมาเคยพูดนะว่าหนังสือเล่มนี้มี 3 มิติ ทั้งลึก กว้าง ไกล
    ลึกคือทำให้เราเข้าใจความจริงที่ลึกซึ้งของตัวเอง
    และทำให้เราเห็นกว้าง เห็นโลกและสังคมได้อย่างกว้าง เล่มนี้จะพูดถึงสังคมสมัยใหม่ไว้พอสมควร
    ทำให้เราได้เห็นมิติด้านไกล นั่นคือได้เห็นว่าการสอนพุทธศาสนานี้ผ่านการตีความมายังไงบ้าง

    ประการต่อมาคือใช้ภาษาที่งดงามสละสลวย ภาษาท่านงดงามมาก และสามารถสื่อได้ตรงใจผู้เขียน
    แม้ว่าเนื้อหาจะลึกซึ้ง คือทุกวันนี้แม้ตัวเองจะอ่านงานท่านเจ้าคุณมาเยอะ เวลาจะสื่ออะไรบางอย่าง
    เรารู้สึกว่าเราจนต่อถ้อยคำ ไม่สามารถจะเขียนให้สุดความคิดได้ แต่หนังสือเล่มนี้ท่านเจ้าคุณสามารถ
    บรรยายให้สุดความคิดได้ อาตมาคิดว่าเป็นแบบอย่างของงานเขียนในทางศาสนาและงานวิชาการได้
    คือมีทั้งอรรถและรส อรรถคือเนื้อหา รสคือรสของภาษา”
    ซึ่งพระไพศาลยอมรับว่าได้รับอิทธิพลจากพระพรหม-คุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) และท่านพุทธทาส
    ในการใช้ชีวิตและเขียนหนังสือพอสมควร โดยเฉพาะจากหนังสือพุทธธรรมนั้นมีอิทธิพลต่องาน

    เขียนและการค้นคว้าทางพุทธศาสนาอย่างมาก
    “ถ้ามีเล่มเดียวที่สามารถติดไปได้ในชีวิตก็เล่มนี้แหละ ถึงแม้จะหนักหน่อยก็ตาม อาตมายังรู้สึกเลย
    นะว่าหนังสือเล่มนี้ทำให้เราภูมิใจที่เป็นคนไทย การที่คุณเป็นคนไทยแล้วได้อ่านหนังสือเล่มนี้ถือว่า
    โชคดีและคุ้มค่าในการที่ได้เป็นคนไทยแล้ว บางทีเราก็รู้สึกว่าเป็นฝรั่งโชคดีนะ ได้อ่านหนังสือที่ลึกซึ้ง
    หนังสือเยอะแยะหลากหลาย แต่พุทธธรรมนี่แหละที่ทำให้เราสามารถเป็นที่อิจฉาของฝรั่งได้ เพราะฝรั่งอ่านเล่มนี้ไม่ได้
    แต่คนไทยอ่านได้ ฉะนั้นถ้าในแง่ชาวพุทธและในแง่ความเป็นคนไทย หนังสือเล่มนี้จะทำให้เราภูมิใจ
    และรู้สึกโชคดีที่ได้เป็นคนไทย ที่อ่านภาษาไทยออก”
    และถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีหนังสือพุทธธรรมในครอบครอง แต่ยังไม่เคยเปิดอ่าน
    พระไพศาลบอกว่าเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะรสชาติของหนังสือเล่มนี้แตกต่างจากหนังสือทั่ว ๆ ไป
    “อ่านแล้วจะทำให้เกิดความพิศวงและความปีติเมื่อได้พบความจริง” ... นั่นคือพุทธธรรม

    เครดิต คัดลอกบทความ จาก : นิตยสารขวัญเรือน

    ........................................................
     

แชร์หน้านี้

Loading...