กรดกัดแก้ว หน้าล่าสุด

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 1 พฤศจิกายน 2018.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    09.jpg
    ในภาพนี้ผมกำลังถือก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อจากจีนยี่ห้อเดียวกันกับที่ลูกน้องผมหลอมหลวงปู่ทิม ซึ่งที่หลอมหลวงปู่ทิมเป็นก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อสีใส เป็นแก้วคริสตัลเกรด 30% PbO คุณภาพของเกรดคริสตัล ถือว่าดี ใช้ได้ แต่ยังพอมีปัญหาด้านฟองอากาศอยู่บ้าง และถือว่าเป็นปัญหาใหญ่เมื่อหลอมองค์พระยืนที่สูงถึง 70 c.m.

    ราคาโลละ 25.- บาท ขายปลีก ถ้าซื้อจำนวนมากอาจเหลือโลละ 10.- บาท น่าสนใจหรือไม่ ถูกกว่าทองเหลืองเสียอีก
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    11229404_877028412378950_756694683478708557_n.jpg 44cb3231723be435b2320c46f0dd37d1.jpg
    ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อยี่ห้อดังในรูปนี้คือ Gaffer Glass ซึ่งเป็นผู้ผลิตก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อที่ได้รับมาตราฐานที่สุดของโลกบริษัทหนึ่ง เขามักใช้รูปก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อเหมือนผลอะโวคาโดผ่าครึ่ง ( แต่ก็ไม่ใช่ว่าบริษัทอื่นจะไม่ทำรูปแบบนี้ ) บริษัท Gaffer Glass มีก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อหลายชนิดของแก้ว หลายเกรด หลายระดับ และหลายสี และหลายคุณสมบัติของแก้ว เช่น แก้วที่เปล่งแสงได้ในที่มืดเขาก็ผลิต ราคาของ Gaffer อาจสูงกว่าของบริษัทอื่นๆบ้าง แต่ผมคิดว่า ก็พอรับได้ เช่น หากเป็นก้อนแก้วที่ให้ความใสเทียบเท่าคริสตัล แต่ไม่มีตะกั่วเป็นส่วนผสม ราคาอาจเริ่มต้นที่กิโลกรัมละ 200.- บาทขึ้นไป และหากเป็นแก้วพิเศษอาจแพงได้ถึงกิโลกรัมละนับพันหรือหลายพันบาทได้ ซึ่งนั่นเป็นแก้วพิเศษ เอาเกณฑ์เฉลี่ยน่าจะตกกิโลกรัมละ 300.- บาทเท่านั้น

    สตูดิโองานแก้ว งานปฏิมากรรมแก้ว และศิลปินอิสระแทบทุกค่ายในโลก ที่เขาได้ราคาชิ้นงานที่ค่อนข้างสูง มักเลือกใช้ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อจากก๊าฟเฟอร์แทบทั้งสิ้น เพราะมั่นใจได้ในคุณภาพ ไม่ต้องมาทดสอบทดลอง และไม่ต้องมาปรับปรุงคุณภาพซึ่งผมจะเล่าในอนาคตว่า เราจะปรับปรุงก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อจากจีนให้แทบจะไร้ฟองได้อย่างไร ?
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    020.jpg 006.jpg 007.jpg 008.jpg 004a.jpg
    ลูกน้องช่างแก้วในวิชาขึ้นรูปชิ้นงานแก้วด้วยเทคนิค Lost Wax Glass ของผมคนนี้ ได้ทำการหลอมหลวงปู่ทิมนั่งหน้าตัก 5 นิ้วด้วยก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อจากจีนโดยซื้อราคาปลีกกิโลกรัมละ 25.- บาทหรือ 5 หยวนจากจีน และซื้อปูนปลาสเตอร์ทนความร้อนมาทำแม่พิมพ์จากจีนด้วยเช่นกัน ถุงละไม่กี่บาท ซึ่งหลวงปู่ทิมเป็นชิ้นงานขนาดที่ใหญ่กว่าเกณฑ์มาตราฐานชิ้นงานสากล เพราะสากลแทบจะทั้งโลก เขายอมรับประมาณว่าถ้าเป็นพระนั่งก็หน้าตัก 4 นิ้ว และไม่สูง คือฐานต้องไม่สูง แต่องค์หลวงปู่ทิมถือว่าสูงกว่ามาตราฐาน เพราะเรามีฐานใหญ่ด้วย

    ฟองอากาศที่เกิดขึ้นแสดงอะไรบางอย่าง ที่เป็นการเปิดเผยธรรมชาติของแก้วคริสตัล อาจเป็นเพราะขนาดที่ใหญ่กว่ามาตราฐานสากล จึงทำให้ฟองอากาศยังไม่ทันหลุดพ้นออกทางด้านล่าง เพราะเวลาหลอม เราจะทำการ up side down ฟองอากาศจึงจะหลุดลอยออกทางด้านล่าง แต่นี่หลุดแต่ไม่พ้น

    ยิ่งองค์พระยืนแล้ว ฟองอากาศทั้งใหญ่และติดอยู่แค่ใกล้เข่า ซึ่งนั่นก็เป็นการเปิดเผยธรรมชาติของการหลอมเหลวแก้วนั่นเอง ฟองอากาศหลุดลอย แต่ยังไม่ทันพ้น เราก็ลดอุณหภูมิลงเสียก่อน เพราะทำตามกำหนดที่ผู้ผลิตบอกมานั่นเอง
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ติ๊ก ตอก ! ติ๊ก ตอก ! ท่านใดจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการหลอมหลวงปู่ทิมครั้งนี้ เช่น จากการที่ท่านอ่านมาตั้งแต่ต้น ท่านคิดว่า ท่านมีวิธีแก้ไขอย่างไร ? หรือมีข้อเสนอแนะอย่างไร ?

    องค์หลวงปู่ทิมหน้าตัก 5 นิ้วที่หลอมในครั้งนี้ คิดเป็นต้นทุนแล้วตกองค์ละเพียง 137.- บาท หากเราสร้างให้แทบไร้ฟองอากาศ แล้วขายในท้องตลาด อาจทำราคาได้ เพราะที่ต่างประเทศ พระพุทธรูปแก้วหน้าตัก 4 นิ้ว ราคามักถึง 40,000.- บาท และที่ 4 นิ้วเศษเคยถึง 57,000.- บาทมาแล้ว เราทำตลาดในราคาสักองค์ละ 6,000.- บาทหรือ 13,000.- บาท ทำกำไรแล้วนำกำไรไปช่วยเหลือองค์กรการกุศลอีกทีก็ได้
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เฉลยเลยแล้วกัน

    เท่าที่ผมเขียนไว้ด้านบน การหลอมเหลวแก้ว ไม่ว่าจะเป็นจากทรายไปเป็นแก้ว หรือจากก้อนแก้วเพื่อไปเป็นแก้ว อาจมีฟองอากาศได้เสมอ อยู่ที่สูตรที่ใช้ว่า สูตรเคมีนั้นทำให้เกิดฟองอากาศหรือไม่ ? มากหรือน้อย ? การหลอมเหลวน้ำแก้วในระยะต้นๆ ฟองอากาศจะลอยขึ้นสู่บนผิวน้ำแก้วเสมอ และยิ่งหลอมเหลวนาน ฟองอากาศก็จะลอยออก หลุดออก หลุดไปอยู่ด้านบน หากเวลานานพอ ฟองอากาศก็อาจจะหายไปได้เลย เหมือนอย่างที่โรงหลอมแก้วในฝรั่งเศสเขาหลอมนานถึง 48 ชั่วโมง เพื่อคอยเวลาให้ฟองอากาศในน้ำแก้วลอยหลุดไปจนหมดสิ้นหรือเกือบหมดสิ้น

    ดังนั้นคำตอบคือ หากผู้ผลิตก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อเขากำหนดเวลาการหลอมที่อุณหภูมิสูงสุดมาเพียงไร เราก็เพิ่มเวลาการหลอมเข้าไป นี่ก็เป็นทางแก้ไขทางหนึ่ง ซึ่งอาจแก้ไขปัญหาได้ไม่มากก็น้อย แต่ก็ยังมีเหตุปัจจัยอื่นที่ต้องคำนึงถึงอยู่เช่นกัน โปรดติดตามต่อไปครับว่า ยังมีเหตุปัจจัยอะไร ?
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ก่อนที่ทุกท่านจะข้ามไปสู่ความพยายามจะทำให้ฟองอากาศหายไปจากแก้ว ในฐานะที่ผมเป็นช่างหลอมแก้วในอดีต ซึ่งเคยได้รับโจทย์ให้ทำแก้วให้มีฟองอากาศอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อนำไปขึ้นรูปชิ้นงานแก้วโคมไฟที่ทำเลียนแบบของต่างประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 และทำสำเร็จตั้งแต่เดือนแรกของการเรียนวิชาหลอมแก้ว ผมอยากให้ทุกท่านอย่าเพิ่งรังเกียจฟองอากาศในแก้ว เพราะไม่แน่ว่า สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกขณะนี้กำลังคิดอยู่ กลับตรงข้ามกับเราก็ได้ คือคิดว่า ทำอย่างไรให้เกิดฟองอากาศในเนื้อโลหะหลายๆชนิดให้น้ำหนักของโลหะเบา เพื่อลดน้ำหนักจะได้บรรทุกไปได้ทุกๆที่บนโลกอย่างมีราคาค่าขนส่งถูกนั่นเอง แก้วก็เหมือนกัน อยู่ในโปรแกรมที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งคิดว่า หากแก้วมีน้ำหนักเบาต้องเติมฟองอากาศเข้าไปให้มากโดยไม่ให้เสียความแข็งแรงหรือคงทนต่ออุณหภูมิ

    เมื่อปี พ.ศ. 2516 คุณพ่อผมท่านไปซื้อโคมไฟจากห้างดังที่นำโคมไฟเข้ามาในประเทศ แก้วโคมไฟนั้นมีฟองอากาศทุกตารางเซ็นติเมตร และเม็ดใหญ่ โจทย์ก็คือ ผมต้องหลอมแก้วให้ได้ลักษณะนี้ และผมก็ทำได้ในเดือนแรกเลย และเหตุการณ์นี้ มาเกิดซ้ำอีกทีเมื่อปี พ.ศ. 2561 คือนักวิทยาศาสตร์กำลังคิดว่า ทำอย่างไรให้โลหะก็ตามแก้วก็ตามมีฟองอากาศมาก เพื่อลดน้ำหนักการบรรทุกทั่วโลก เป็นเหตุให้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังคิดหาเคมีภัณฑ์เพื่อมาทำให้เกิดฟองอากาศ และจีนก็เป็นอีกประเทศที่ส่งผลงานนี้ออกสู่สายตาโลก ดังที่ท่านเห็นอยู่ด้านล่างนี้ คือเคมีภัณฑ์เพื่อให้เกิดฟองอากาศในแก้วครับ และต้องมากต้องฟองใหญ่ด้วย kulovy.jpg
    20180717062218_91194.jpg
    kulovy.jpg 20180717062218_91194.jpg kongzongboliqiu001.png
    ภาษาจีนที่เขียนไว้บนภาพล่างสุดเขียนว่า ….. ชื่อสารเคมี ตัวทำฟองอากาศในแก้ว
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    หลังจากที่ผมได้บอกทุกท่านไปแล้วว่า บางท่านต้องการแก้วใสปิ๊งไม่มีฟองอากาศ แต่ก็ยังมีนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต้องการแก้วที่มีฟองอากาศมากๆ มากเท่าที่จะไม่เสียคุณสมบัติของเขาไป คราวนี้ก็มาถึงคำถามที่ต้องการถามท่านที่ได้อ่านว่า ในเมื่อเราไม่ต้องการฟองอากาศในการหลอมแก้วครั้งนั้น นอกจากการเพิ่มระยะเวลาการหลอมเหลวให้ยาวนานออกไป ยังมีวิธีอื่นๆที่จะใช้แทนกัน หรือ เพิ่ม หรือเสริมอีกหรือไม่ ? ลองทายดูนะครับ เพราะว่า กระทู้นี้จะได้ครบถ้วนไปด้วยคนที่อ่าน และเข้าใจ เพื่อวันหนึ่ง เมื่อเวลานั้นมาถึงครับ

    โทรถึงผม 087-7459995
    Line ด้วยการเพิ่มเบอร์มือถือผมไว้ในโทรศัพท์ของท่านก็ได้ครับ
    หรือลองหาคำว่า glassbuddha2561


    มาร่วมกันศึกษาวิธีสร้างพระแก้วใสกันนะครับ
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ก่อนที่จะข้ามไป ผมไปหาภาพโคมไฟที่มีฟองอากาศคล้ายๆกับที่ผมเคยผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา และตั้งแต่นั้นมาถึงปัจจุบัน โคมไฟที่มีฟองอากาศในโป๊ะแก้ว ก็ผลิตต่อมาไม่เคยหยุด แม้แต่ในปัจจุบันก็ยังผลิตขายกันอยู่ เพียงแต่จะนิยมมากน้อย ข้อนี้ผมไม่ทราบได้

    ผมเลือกเฉพาะภาพที่ใกล้เคียงกับที่ผมเคยสร้างได้ในอดีต ที่สวยกว่าที่ผมเคยผลิตได้ ผมไม่ได้นำภาพมาโพสต์นะครับ เพราะเดี๋ยวจะกลายเป็นผมเขียนและโพสต์ภาพที่สวยเกินจริงที่เคยสร้างได้ครับ

    d07139d9a3115dc4fb9062089e786a4f.jpg

    Vtg-Amber-Bubble-Glass-Fluted-Hurricane-Lamp-Shade-_57.jpg

    toltec-lighting-blacksmith-1-light-wall-sconce-with-7-clear-bubble-glass.jpg

    il_570xN.1415298176_bixa.jpg
    s-l400d.jpg
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    และจากการหาภาพในกูเกิ้ล ได้พบแก้วที่ผมไม่นึกว่า เขาจะทำฟองอากาศในแก้วด้วย ดังภาพด้านล่างนี้ครับ นั่นก็คือแก้วยูเรเนี่ยม ซึ่งเขาได้ทำฟองอากาศเข้าไปในเนื้อแก้วยูเรเนี่ยม นั่นแสดงว่า แก้วที่มีฟองอากาศลักษณะแบบนี้ น่าจะเป็นที่นิยมในต่างประเทศมากครับ แต่เท่าที่ผมจำได้ ในประเทศไทยเขาหาว่า เราหลอมแก้วไม่เก่ง ฟองอากาศยังเยอะอยู่ ซึ่งนั่นไม่ถูกต้องกับความจริงครับ เราทำได้ทั้งใสและฟอง แต่เราก็สู้แรงความต้องการของตลาดไทยไม่ได้ ลูกค้าซื้อไม่มากเท่าเมืองนอก เราจึงแทบจะหยุดการผลิตแก้วฟองอากาศไป แต่เท่าที่ผมทราบจากโรงหลอมแก้วทุกวันนี้ เขายังผลิตอยู่ในบางรุ่นครับ โดยเฉพาะที่เป็นแก้วโถ แจกัน และเครื่องใช้บางอย่าง


    ล่างนี้แก้วยูเรเนี่ยมที่เขาตั้งใจทำให้เป็นฟองอากาศครับ ไม่ใช่แก้วสีเขียวอ่อนนะครับ เป็นแก้วยูเรเนี่ยมที่เปล่งแสงในที่มืด
    001.png mid-century-modern-esque-studios-electric-yellow-glass-uranium-bubble-vase-8869.jpg 370bcf93131664647538c44ee3b5a999--uranium-vaseline.jpg 3137452_l.jpg
    ล่างสุดนี้เป็นที่เขี่ยบุหรี่ที่ทำจากแก้วยูเรเนี่ยม แต่นอกจากทำฟองอากาศแล้ว เขายังแต่งอะไรพิเศษสะใจศิลปินเขาละครับ
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เอาละครับ เราเสียเวลากับการหาภาพแก้วฟองอากาศที่ผมเคยผลิตเมื่อนานมากแล้วไปพอสมควรแล้ว เรามาต่อกันครับ

    ในเมื่อมีเคมีภัณฑ์หรือ " ธาตุ " หรือจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ มันก็คืออะไรที่เมื่อใส่เข้าไปในระหว่างการหลอมแก้ว แล้วไปทำปฏิกิริยาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามที่เราต้องการ ด้านบนก็คือ ในเมื่อมีเคมีทำให้เกิดฟองอากาศ ก็ย่อมที่จะมีเคมีภัณฑ์ หรือ " ธาตุ " ที่จะทำให้ฟองอากาศเกือบหมดไป

    ทำไมผมจึงใช้คำว่า " เกือบ " เพราะถ้าบอกว่าหมดไปโดยสิ้นเชิงนั้น ผมคิดว่า น่าจะยังทำไม่ได้ เพียงแต่เขาคัดแต่ของดีๆมาขาย ของไม่ดีเขาทำลายทิ้งบ้าง ไปขายต่อในตลาดมืดบ้าง ราคาปล่อยต่อถึงแม้จะถูกแค่ไหนก็ยังดีกว่าขายเป็นเศษแก้วครับ
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    คราวนี้มาถึงจุดแตกต่างของกระทู้นี้กับของโรงหลอมแก้วแล้วนะครับ เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องรู้ว่า โรงหลอมแก้วที่หลอมในเตาหลอมที่มีเบ้าหลอมขนาดเบ้าละ 350 - 500 kg ( ส่วนมากเบ้าหลอมแก้วคริสตัลจะมีขนาดใหญ่กว่าเบ้าหลอมแก้วโซดาไลม์ซิลิก้าซึ่งขนาดแก้วโซดาไลม์ฯจะเริ่มต้นที่ 150 - 350 kg ) การหลอมแก้วชนิดใช้เตาหลอมที่มีเบ้าหลายๆเบ้าหรือที่ผมเรียกว่า หมูหรือก็คือเบ้า หมูหลายตัวหันหลังชนกันนั้น เป็นโรงหลอมแก้วขนาดเล็ก ( ไม่ใช่ผมพูดนะครับ มันเป็นความจริงที่เขาเรียกโรงหลอมแก้วขนาดต่ำกว่า 20 ตันกว่าโรงหลอมเล็ก ถ้าใหญ่กว่า 20 - 30 ตันต่อวันถึงจะเรียกว่าโรงหลอมใหญ่ ) แต่โรงหลอมเล็กได้เปรียบตรงมีหลายสีได้ มีหลายชนิดแก้วได้ โรงหลอมใหญ่มีชนิดเดียว สีเดียว เพราะเตาไม่มีเบ้า ใช้เตาเป็นเบ้าไปเลย ซึ่งผมเคยผ่านงานโรงหลอมของปรมาจารย์ผมมาแล้ว โรงหลอมใหญ่ไม่ใช่สิ่งที่ผมชอบเลย เพราะงานไม่ท้าทาย และทำอะไรที่ซ้ำซากจำเจเพียงอย่างเดียว เช่น ผลิตขวดเบียร์เป็นต้น แต่โรงหลอมเล็กเสียอีกที่ทำแจกันวันละ 6 - 8 สีได้ ทำโคมถนนแก้วหนาๆ ในขณะที่เป่าโคมไฟสวยงามได้หลายขนาด หลายสีในเวลาเดียวกัน อีก 2 แท่นเครื่องก็ไปปั๊มพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษ อย่างนี้เป็นต้น ข้อดีจึงอยู่ที่ความหลากหลาย
     
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เอาเป็นว่า ผมตัดเรื่องการทำให้แก้วเกือบไม่มีฟองอากาศในรูปแบบของโรงหลอมเล็กออกไป เพราะจะทำให้ยาวเกินไป หันกลับมาพูดแต่เฉพาะวิธีทำให้แก้วเกือบไม่มีฟองอากาศในการหลอมด้วยวิธี Lost Wax Glass ซึ่งบุคคลธรรมดาสามารถเป็นเจ้าของได้ ไม่ต้องมีเตาหลอมขนาดใหญ่ ไม่ต้องมีเบ้า ไม่มีอะไรเลย บ้านทาวน์เฮ้าส์ขนาดพอสมควรก็ทำได้แล้ว
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    lost.wax.washington.glass.studio.art.glass.JPG
    เราต้องการแค่เตาอบเล็กๆก็พอครับ รูปร่างเตาอบจะเป็นแบบไหนก็ได้ ในรูปนี้เป็นเตาอบใหญ่กว่าเตาอบไมโครเวปไม่มาก พื้นที่แค่ตั้งเตาอบไมโครเวฟได้เท่านั้น แต่ต้องอย่าลืมว่า เตานี้เราไม่ใช้เปิดเพียง 2 - 3 นาทีอย่างเตาไมโครเวฟ เราต้องเปิดไฟให้ร้อนนานนับชั่วโมงๆในกรณีทำแก้วให้เกือบไร้ฟองอากาศ และในกรณีสร้างชิ้นงานนั้น อาจนานหลายวันหลายคืน จึงจำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องฟืนไฟ อันตรายจากความร้อน และต้องมีคนเฝ้าตลอดเวลาจนกว่างานเสร็จเรียบร้อย และหลังงานเสร็จก็ต้องเฝ้าจนกว่าเตาจะลดอุณหภูมิลงเท่าอุณหภูมิห้อง
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    234532.png นี่คือภาพเตาอบเปิดฝาด้านบน และมีขนาดยาวมากกว่ากว้าง ในภาพนี้สมมุติว่า กำลังหลอมก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อที่เราคลุกเคล้าเคมีภัณฑ์เพิ่มเติม เพื่อให้แก้วนั้นเกือบไร้ฟองอากาศ เมื่อเสร็จแล้วก็จะได้ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อที่มีคุณสมบัติดีกว่าของจีนที่เขาผลิตมาแต่ต้น
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    2542.png
    หรือถ้าเตาฝาเปิดหน้า กับ ฝาเปิดบนจากเมืองนอกอาจมีราคาแพงเกินกว่าที่จะรับได้ ก็อาจสร้างเองก็ได้ อย่างเตานี้สร้างจากอิฐทนไฟธรรมดาๆ สร้างง่ายๆ
     
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    0060a95e851dc40c1fb1ee16030b8ed9.jpg
    สมมุติว่าเราหลอมในแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ทนความร้อนเสร็จแล้ว แก้วที่หลอมได้ก็จะมีรูปร่างเดียวกับแม่พิมพ์ครับ ควรต้องให้รูปร่างเหมือนเดิม ขนาดก็ควรต้องเหมือนเดิม เนื่องจากผู้ผลิตก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อเขาได้กำหนดทุกอย่างมาให้เรา เขาย่อมกำหนดตามขนาดที่กำหนด และชิ้นงานก็ควรใกล้เคียงกับที่เขากำหนดว่า เขาต้องการให้หลอมชิ้นงานใหญ่ไม่น่าจะเกินขนาดไหน ? เราจะหลอมใหญ่กว่ามากๆไม่ได้ เพราะหลักหรือกฏวิทยาศาสตร์ของการหลอมแก้วนั้น แม้แต่ขนาดที่เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 1 - 2 นิ้วก็มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การที่เราหลอมชิ้นงานต่างขนาดกันมากๆในเตาเดียว ย่อมไม่น่าถูกต้องครับ
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    0004m.jpg
    สมมุติว่า ท่านต้องการหล่อพระแก้วครั้งนี้เป็นรูปพระพุทธชินราชที่มีซุ้มแสงด้วย แต่แยกซุ้มแสงให้แยกออกจากองค์พระ คือแยกชิ้นออกไปเลย ท่านควรต้องแยกหล่อซุ้ม กับ แยกหล่อองค์พระเป็นคนละครั้งกัน เพราะความหนาที่ต่างกันมากขนาดนั้น และยิ่งการหลอมซุ้มเป็นการหล่อในแนวนอน แต่องค์พระเป็นการหล่อในแนวตั้ง จึงต่างกันโดยสิ้นเชิง จะใช้เวลาและอุณหภูมิเดียวกัน ก็มักจะติดอะไรบางอย่างได้ ( แต่ถ้าหากท่านต้องการหล่อในครั้งเดียวกัน ท่านควรต้องเลือกองค์พระเป็นหลัก คือเลือกอุณหภูมิและช่วงเวลาระยะเวลาขององค์พระเป็นหลักครับ )
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ขออภัย ผมอาจคิดผิด ซุ้มแสงที่หล่อตามแนวนอน จะมีลายละเอียดเฉพาะด้านหน้าซุ้มแสง แต่ด้านหลังจะเรียบ ซึ่งผิดจากงานของพระพุทธชินราช งานระดับนี้ ต้องละเอียดและมีลายทั้งสองด้าน ดังนั้น การหล่อซุ้มแสงก็ควรต้องหล่อแนวตั้งด้วยครับ
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    0000000000000000000000000000000000000000000.jpg
    อย่างพระแก้วหน้าตัก 8 นิ้วเศษของลาลีคฝรั่งเศสที่ผมยกย่องว่าเป็นอันดับหนึ่งของโลกนี้ องค์พระกับฐานติดกันเป็นชิ้นเดียว ไม่ตัดไม่ต่อ น้ำหนักทั้งองค์พร้อมฐานคือ 10 กิโลกรัม หากเป็นพระพุทธชินราชหน้าตัก 9 นิ้ว แต่เราแยกองค์พระออกจากฐานเสียเพื่อใส่หลอดไว้ในฐานและแยกซุ้มออก เราจะนับน้ำหนักเฉพาะองค์พระกับซุ้มแสงที่เป็นแก้วคริสตัลเท่านั้น ถ้าหน้าตัก 9 นิ้วก็น่าจะมีน้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัมครับ เพราะฐานเราจะสร้างไม่ใช้แก้ว ใช้โลหะทึบแสง เพื่อให้แสงขึ้นมาจากในฐานครับ
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    0004m.jpg
    สมมุติว่าสร้างพระพุทธชินราชแก้วคริสตัลเกรดของคริสตัลคือ 30% PbO ด้วยก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อจากจีนในราคาขายปลีกกิโลกรัมละ 5 หยวนคือกิโลละ 25.- บาท น้ำหนักองค์พระรวมซุ้มแสง 10 kg ก็จะตกต้นทุน 250.- บาท + ค่าปูนปลาสเตอร์จากจีนขายปลีกกิโลกรัมละ 2.- บาท ใช้สัก 10 kg + ค่าไฟฟ้าเตาอบที่ใช้กระแสไฟโดยใช้เตายี่ห้อ King Frog เตาขนาดสูง 18" พอใช้ได้แล้ว กินไฟ 13 Amps แต่ถ้าทำเตาด้วยอิฐทนไฟทำเองก็อาจกินถึง 20 Amps ได้ เปิดแรงเพียงไม่กี่ชั่วโมง หลังจากนั้นเปิดเบาลงเรื่อยๆนาน 4 วัน 4 คืน ค่าไฟก็จะประมาณต่ำกว่า 1,000.- บาท คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าในเตานั้นเราจะหล่อ 4 องค์หรือไม่ ? หากใส่ 4 ก็หาร 4 องค์ละ 250.- บาท ต้นทุนต่อองค์ก็เมื่อหลอมเสร็จก็ประมาณองค์ละ 750.- บาทไม่รวมค่าตัวเราเอง ซึ่งถ้าจ้างคนก็อีกเรื่องหนึ่งครับ ก็บวกค่าแรงช่างเข้าไป แต่ถ้าตัวเองก็ทำเอากุศลครับ

    หมายเหตุ
    เตาอบใหญ่บรรจุได้มาก หารเฉลี่ยจะยิ่งถูกมาก ชิ้นงานเล็กหารน้อย ชิ้นงานใหญ่ก็หารมากตามราคาชิ้นงานครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...