หมวดพระอริยเจ้า : พระสกิทาคามี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 23 มีนาคม 2009.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    <TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>หมวดพระอริยเจ้า : พระสกิทาคามี

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>การปฏิบัติเพื่อพระสกิทาคามี <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD vAlign=top>หิริ และ โอตตัปปะ

    ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ ในตอนก่อนได้พูดถึงจริยาของการปฏิบัติให้เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน แต่ในตอนนั้นรู้สึกว่าจะเป็นของพระโสดาบันขั้นสัตตักขัตตุงมากกว่า ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเราใช้การพิจารณาอันดับแรก พิจารณาถึงความตายเป็นอารมณ์ การนึกถึงความตายนี่บรรดาท่านพุทธบริษัท ต้องถือว่าเป็นจุดสำคัญที่เราจะต้องคิดเป็นปกติ ถ้าลงได้คิดถึงความตายแล้วคนมันก็เลวได้ยาก ที่เลวๆ นั่นน่ะโดยมากไม่ได้นึกถึงความตาย จึงได้ทำความชั่วกันได้ทุกอย่าง ขาด หิริ และ โอตตัปปะ

    หิริ ได้แก่ ความละอายแก่ความชั่ว โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผลของความชั่วจะทำความเร่าร้อนให้เกิด ที่เลวกันมาได้ก็เพราะอาศัยคุณธรรมทั้งสองประการนี้ไม่มีในจิต คนเราถ้าขาดหิริ และโอตตัปปะ ก็เป็นอันว่าไม่ใช่มนุษย์เพราะว่า มนุษย์ แปลว่ามีใจสูง ยิ่งเป็นพระภิกษุสามเณรด้วยแล้วก็เลวมากเต็มที

    ฉะนั้น คำสอนแต่ละคราว ทั้งตอนเย็น ตอนเช้า ตอนกลางคืน ตอนดึกก็ตาม มักจะเตือนกันอยู่เสมอว่า ให้นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ จะได้ประกอบความดี องค์สมเด็จพระชินสีห์เองก็ได้ทรงตรัสแก่พระอานนท์ว่า "อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เราเองนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก" นี่คนดีอย่างพระพุทธเจ้าเป็นจอมอัจฉริยะหรือว่าเป็นจอมของสมณะทั้งหมด พระองค์ก็ยังกำหนดจิตจับความตายเป็นอารมณ์ ไม่มีความประมาทในชีวิต เพราะอะไร ก็เพราะว่า คนถ้านึกถึงความตาย ก็ต้องมีความรู้สึกว่าถ้าเราจะอยู่ ก็อยู่อย่างคนดี ถ้าตายเป็นผีเราก็จะเป็นผีดี

    ถ้าไม่นึกถึงความตาย มันก็ขาดหิริและโอตตัปปะ ถ้าอยู่อย่างคนก็เป็นคนเลว ถ้าตายเป็นผีมันก็เป็นผีเลว คือเป็นผีในนรก เป็นผีประเภทเปรต เป็นผีประเภทอสุรกาย เป็นผีประเภทสัตว์เดรัจฉาน นี่ผลร้ายสำหรับคนที่ไม่นึกถึงความตายและขาดหิริและโอตตัปปะ ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลายเมื่อจะสร้างความดี ก็จงทรงจิตไว้ในด้านหิริและโอตตัปปะ ควบกับความรู้สึกตัวว่าเราจะต้องตาย

    ความจริง ความตายนี่มี ๒ อย่าง ตายประเภทสิ้นลมปราณ นั่นอย่างหนึ่ง ตายประเภทที่มีลมปราณ นั่นอย่างหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น พระนางสามาวดีกับหญิง ๕๐๐ ถูกนางมาคันธิยาอิจฉาริษยาในที่สุดถึงกับจ้างให้น้าชาย หรืออา เข้าไปเผาปราสาทนางกับหญิง ๕๐๐ ให้ตายพร้อมกัน แต่หญิงทั้ง ๕๐๐ นั้นมีความไม่ประมาทในชีวิต เพราะอารมณ์จิตเป็นพระโสดาบันอยู่แล้ว จึงได้แนะนำกันว่าพวกเราทั้งหลายจงอย่าโกรธในพระนางมาคันธิยา จงอย่าโกรธในมาคันธิยพราหมณ์ผู้เผาปราสาท จงมีจิตคิดให้อภัยแก่คนทั้งสอง

    เร่งรัดรวบรวมกำลังใจสร้างความดีให้สูงยิ่งขึ้นไป ในขณะที่ไฟใกล้เข้ามาจวนจะเผาเข้ามาถึงกาย ก็ปรากฎว่าบางคนได้เป็นพระสกิทาคามี บางคนบรรลุถึงพระอนาคามี ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะรู้ว่าความตายจะเข้ามาถึงในเดี๋ยวนี้ ท่านทั้งหมดทั้ง ๕๐๐ คนไม่มีความประมาทในชีวิต รวบรวมกำลังจิตปลงขันธ์ ๕ ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้ มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในที่สุดมันจะต้องตาย แล้วตายดีตายชั่วมันก็ตาย

    การตายแบบนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบ เพราะพระสงฆ์ไปรายงานให้ฟังว่า หญิง ๕๐๐ มีพระนางสามาวดีเป็นประธานต้องถูกไฟเผาตาย องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ทรงตรัสว่า "ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หญิง ๕๐๐ ที่ถึงว่าจะตายแล้วก็เหมือนกับคนที่ไม่ตาย" เพราะอะไร เพราะว่าเมื่อมีชีวิตอยู่เขาก็สร้างแต่ความดี เมื่อตายไปแล้วก็เป็นผีดี คือเป็นพระอริยเจ้าเบื้องสูง เป็นสกิทาคามีบ้าง เป็นพระอนาคามีบ้าง

    เป็นอันว่าท่านที่เป็นสกิทาคามีเรื่องอบายภูมิไม่ต้องพูดกัน ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียวก็ไปนิพพาน ท่านที่เป็นอนาคามีตายไปเป็นเทวดาแล้วนิพพานบนนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์กล่าวว่าเขาผู้นั้นยังไม่ตาย คือว่าไม่ตายจากความดี มีความดีก้าวขึ้นสูงกว่าเมื่อมีชีวิตอยู่ปกติ สำหรับพระนางมาคันธิยา ก็ถูกพระเจ้าอุเทนบรมกษัตริย์สั่งประหารชีวิตพร้อมด้วยพวกและญาติ ในฐานะที่เป็นจอมอิจฉาริษยาคนอื่น คืออิจฉาริษยาพระนางสามาวดีพร้อมด้วยหญิง ๕๐๐ ที่เป็นบริวาร จนกระทั่งถึงความตาย

    ในที่สุดพระเจ้าอุเทนบรมกษัตริย์ พระบาทท้าวเธอก็สั่งให้จับพระนางมาคันธิยากับบรรดาญาติทั้งหลาย โดยเฉพาะญาติทั้งหลายเหล่านั้นให้ขุดหลุมฝังลงไปครึ่งตัวแล้วให้เอาฟางมาสุมให้เลยหัว สั่งเอาไฟจุดแล้วก็ใช้ช้างเทียมไถเหล็กเดินไถพวกนั้นขาดกลางตัว
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=180>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>สำหรับตัวนางมาคันธิยา จอมอิจฉาริษยาเป็นหัวหน้าคนในด้านทำลายความดีของบุคคลอื่น พระเจ้าอุเทนบรมกษัตริย์พระบาทท้าวเธอให้จับผูกมือสองมือ แขวนเท้าหวิดๆ กับพื้นให้เอาผ้าม้วนๆ ยัดใส่ปาก แล้วเชือดเนื้อทีละชิ้น เอามาทอดน้ำมัน ทอดสุกแล้วบังคับให้นางมาคันธิยากินจนกว่าจะตาย

    การตายแบบนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์กล่าวว่า นางมาคันธิยาในสมัยที่ยังไม่ตายก็เหมือนกับบุคคลที่ตายแล้ว คือมีแต่ความชั่วไม่มีความดี ตายจากความเป็นสุข มีแต่ความเร่าร้อน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>นี่การที่จะบำเพ็ญตนให้เป็นพระโสดาบัน เราก็ต้องนึกถึงความตายเป็นปกติ ถ้าพวกเราเป็นพระโสดาบันไม่ได้ ก็รู้สึกว่าเป็นที่น่าเสียดาย อยู่ในสถานที่เช่นนี้ รับฟังธรรมะกันทุกวันวันละหลายเวลา ยังจะคบกับความชั่ว คือขาดหิริและโอตตัปปะเข้ามาเป็นประจำ ตามที่เคยปฏิบัติกันมาในกาลก่อนก็รู้สึกว่าจะเลวเกินไปสำหรับการเกิดเป็นคน ไม่สมควรจะเอาภาคของมนุษย์เข้ามาสวมกาย เอาใจเข้ามาสิงในภาคของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นพระภิกษุสามเณรก็จะเลวมากที่สุด เพราะว่าภิกษุสามเณรจะต้องมี อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

    ฉะนั้น จงพยายามรวบรวมกำลังใจให้ทรงไว้เฉพาะความดีอย่าปล่อยให้ความเลวมันหลั่งไหลเข้ามาสู่ใจอีก เพราะความเลวไม่ให้ผลความสุขแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติ มีอย่างเดียวคือความทุกข์ ความเร่าร้อน เช่นเดียวกับนางมาคันธิยา จงอย่านึกว่าจะมีใครเขาปรานีในฐานะที่เราเป็นคนเลว มันหาไม่ได้ โลกนี้ทั้งโลกไม่มีใครเขาเมตตาปรานีคนเลว

    ทีนี้การลงโทษ เราก็จงอย่าคิดว่าคนอื่นจะต้องมาลงโทษเรา ก่อนที่คนอื่นจะลงโทษ กรรมที่เราทำความชั่วมันก็ทำความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่เรา ใครเขาพูดความชั่วคราวใดเราก็สะดุ้งเพราะเรามันเลว พระพุทธเจ้าตรัสว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนไว้เสมอ และจงโจทก์ตน กล่าวโทษตนไว้เป็นปกติ หาความชั่วของตัว อย่าไปหาความชั่วของบุคคลอื่น ถ้าเลวมากเท่าไหร่ เราก็เพ่งเล็งความเลวของบุคคลอื่นมากเท่านั้น ถ้าเราดีมากเท่าไหร่ เราก็ไม่มองเห็นความเลวของบุคคลอื่น เพราะยอมรับนับถือกฎของกรรม

    ที่เรายังไปแส่หาความเลวของบุคคลอื่น เสียดสีเขาบ้าง พูดกระทบกระเทียบเขาบ้าง ทำลายความสุขใจเขาบ้าง นั่นแสดงว่าเรามันเลวที่สุดของความเลว คือความเลวมันไม่ได้ขังอยู่เฉพาะในใจ มันไหลออกมาทางกาย ไหลออกมาทางวาจา เพราะมันล้น เลวจนล้น

    นี่ขอทุกท่านจงจำไว้ อย่าไปมองดูความเลวของคนอื่น มองดูความเลวของตน ไม่ต้องไปปรับปรุงบุคคลอื่น ปรับปรุงเราเองให้มันดีที่สุด ทีนี้ จิตที่มันจะดีมันดีตรงไหน ก็ดีที่ตรงว่านึกถึงความตาย มีหิริและโอตตัปปะ อายความชั่ว เกรงกลัวความชั่ว ความชั่วมันมีอะไรบ้าง เราก็รู้กันอยู่แล้ว เราต้องเป็นผู้มีศีล ถ้าทำลายความสุขของบุคคลอื่นจะชื่อว่าเราเป็นผู้มีศีลได้ยังไง ทำลายความดีของบุคคลอื่น เราจะเป็นผู้มีศีลได้ยังไง

    จิตของเรานอกจากจะทำอธิศีลสิกขาแล้ว ก็ต้องเป็นอธิจิตสิกขา อธิจิตสิกขาคือทรงจิตให้อยู่ในด้านของความดีเรียกว่า ฌานสมาบัติ ฌานสมาบัตินี่แปลว่า นึกถึงความดีอยู่ตลอดเวลา มีพรหมวิหาร ๔ เป็นเครื่องประจำใจ ถ้าเราอายความชั่ว เกรงกลัวผลของความชั่ว ก็ต้องใช้พรหมวิหาร ๔ เข้ามาประคับประคองอารมณ์ของจิต เมื่อพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตาในคนทั้งหลายและสัตว์ทั้งหมด กรุณา มีความสงสารปรารถนาเกื้อกูลจะให้มีความสุข มุทิตา มีจิตใจอ่อนโยน ไม่อิจฉาริษยาบุคคลอื่น เมื่อเห็นบุคคลอื่นได้ดีก็พลอยยินดีด้วย อุเบกขา วางเฉยในเมื่อกฎของกรรมหรือกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งมันเกิดขึ้น มันสุดวิสัยที่จะพึงระงับได้ เราก็วางเฉยไม่ดิ้นรน คือไม่ซ้ำเติมเมื่อบุคคลอื่นได้รับความทุกข์

    นี่ถ้าอาการทั้ง ๔ อย่างมีอยู่ในใจของเรา ความชั่วมันเกิดขึ้นไม่ได้ ที่เราต้องชั่วกันเพราะว่าขาดหิริและโอตตัปปะ ขาดนึกถึงความตาย ขาดพรหมวิหาร ๔ ถ้าขาดสิ่งทั้ง ๓ ประการนี้ศีลของเรามันก็ไม่มี จะทรงเพศเป็นพระ จะทรงเพศเป็นเณร จะทรงเพศเป็นอุบาสก อุบาสิกา ก็สักแต่ว่าพึงมีเพียงเพศเท่านั้น อย่างนี้พระพุทธเจ้าถือว่าเถน เถนแปลว่าหัวขโมย คือขโมยเพศของสมณะมาใช้ แต่น้ำใจจริงๆ นั่นเลวยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน เพราะสัตว์เขาถือว่าเป็นสัตว์อยู่แล้ว มันจะรบกวนกันเขาก็เป็นสัตว์อยู่ในอบายภูมิ แต่คนเรามีน้ำใจคล้ายสัตว์ไม่ยอมรับนับถือความดีซึ่งกันและกัน มันก็เลวกว่าสัตว์

    นี่ต้องประณามตนอย่างนี้ การประณามตนต้องประณามให้หนัก อย่าประณามเบา อย่ามองในด้านของความดี ถ้าจิตของเราทรงอยู่ในพรหมวิหาร ๔ แล้วมีอะไรบ้างที่มันจะเกิดขึ้น นั่นก็คือ ศีลบริสุทธิ์ ไม่ต้องระมัดระวังศีล ความเป็นผู้มีเหตุมีผล มีความเคารพในองค์สมเด็จพระทศพลก็มีพร้อมบริบูรณ์ เพราะอะไร เพราะคนที่ทรงศีลบริสุทธิ์ ก็แสดงว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ เพราะว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทรงแนะนำให้จิตอยู่ในขอบเขตนี้

    เรามีความเคารพในองค์สมเด็จพระชินสีห์เป็นต้น เราจึงมีศีลบริสุทธิ์ เราจึงรู้จักอายความชั่วเกรงกลัวความชั่ว จึงได้มีการประกอบความดี คือจิตทรงพรหมวิหาร ๔ มีหิริและโอตตัปปะ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ อยู่ที่ไหนก็มีแต่ความเยือกเย็น มีแต่ความเป็นสุข เราก็เป็นสุข บุคคลอื่นก็เป็นสุข เพราะกายไม่เสีย ปากไม่เสีย ทั้งนี้เพราะว่าใจไม่เสีย ถ้ากายเสีย ปากเสีย ก็แสดงว่าใจมันเสีย เสียมากจนล้นมาถึงกาย ถึงวาจา นี่เป็นอันว่าถ้าทรงคุณธรรมอย่างนี้ได้ ความเป็นพระโสดาบันก็ย่อมปรากฏ

    ทีนี้สำหรับวันนี้ขอดูเวลาก่อน พอจะมีเวลาพูดไหม ขอพูดต่อไปว่า เราพูดกันมาถึงด้านพระโสดาบันว่า ประกอบไปด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. มีความเคารพในพระพุทธเจ้า ๒. มีความเคารพในพระธรรม ๓. มีความเคารพในพระสงฆ์ ๔. มีศีลบริสุทธิ์ นี่เป็นองค์ของพระโสดาบัน แต่องค์ทั้งหลายอย่างนี้จะเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะอาศัย มรณานุสสติกรรมฐาน เป็นเบื้องต้น ที่เราคิดว่าเราจะต้องตาย จงอย่าคิดว่าอีกสองวันตาย สามวันตาย จงคิดไว้เสมอว่าเราอาจจะต้องตายเดี๋ยวนี้ และตายก็จงตายดี ตายอย่างพระนางสามาวดีพร้อมด้วยหญิง ๕๐๐ อย่าเป็นคนมีลมปราณแต่ว่ายืนตายจากความดีอย่างเหล่าของนางมาคันธิยา

    ทีนี้ สำหรับอนุสสติที่จะพึงปฏิบัติในความเป็นพระโสดาบันก็คือ ๑. มรณานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ๒. พุทธานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ๓. ธัมมานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความดีของพระธรรมเป็นอารมณ์ ๔. สังฆานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความดีของพระสงฆ์เป็นอารมณ์ ๕. สีลานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความดีของศีลเป็นอารมณ์ ๖. พรหมวิหาร ๔ อย่างนี้ไม่เรียกว่าอนุสสติ ใคร่ครวญในพรหมวิหาร ๔ จัดเป็นกรรมฐานกองหนึ่งเป็นอารมณ์ ๗. อุปสมานุสสติ นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์

    ทั้งหมดนี้ไม่จำเป็นต้องนั่งภาวนา ให้ใช้จิตควบคุมอยู่ตลอดวัน ทั้งเวลาลืมตาและหลับตา นี่นักปฏิบัติที่ดีเขาใช้แบบนี้ ไม่ใช่ว่าเวลาหลับตาทำท่าจะเป็นคนดีแต่พอลืมตาขึ้นมาแล้วความอัปรีย์ มันก็เกิดแก่จิต อิจฉาริษยาบุคคลอื่น กลั่นแกล้งบุคคลอื่น คิดประทุษร้ายบุคคลอื่นเป็นต้น อย่างนี้มันใช้อะไรไม่ได้ ตายแล้วไปสู่อบายภูมิ อย่าว่าแต่เป็นพระโสดาบันเลย กลับมาเป็นคนมันยังเป็นไม่ได้ เข้าใจจิตตามนี้

    ทีนี้พูดกันไปแล้วในด้านของพระโสดาบัน ขอต่อไปอีกนิดถึงอารมณ์ของ พระสกิทาคามี สำหรับพระสกิทาคามีน่ะ ทำให้จิตละเอียดลงไปกว่านั้น คือ ระงับโลภะ ความโลภ ระงับโทสะ ความโกรธ ระงับโมหะ ความหลง ให้เบาบางลง ยังไม่หมด คือความโลภยังมีอยู่ แต่ว่าเพลาลงไป ความโกรธยังมีอยู่ ยับยั้งไว้ได้เร็ว ความหลงยังมีอยู่ มีอาการเพลาตัว เป็นอันว่าทั้งความโลภ ความโกรธ ความหลงมันบาง บางกว่าพระโสดาบัน ท่านจึงเรียกว่า สกิทาคามี สำหรับสังโยชน์ก็มีความประพฤติเหมือนกัน แต่จิตละเอียดกว่า

    ทีนี้ถ้าหากว่าเราจะระงับความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ทีละตัวมันก็ลำบาก เราก็มายืนจุดศูนย์กลาง ก็คือทรงพรหมวิหาร ๔ เคร่งครัด มีความมั่นคงในพรหมวิหาร ๔ มากขึ้น มีหิริและโอตตัปปะมากขึ้น นึกถึงความตายเห็นชัด มีอารมณ์ทรงตัวมากขึ้น ทีนี้เมื่อเรามีพรหมวิหาร ๔ มีหิริและโอตตัปปะ นึกถึงความตาย ใจมันก็เลิกโลภ เลิกโลภตรงไหน เพราะมันจะตาย มันรู้

    ทำงานกันตะเกียกตะกายเหมือนกับว่าเกินพอดี ถ้าหากว่าหาอาหารหรือหาทรัพย์สินมาด้วยสัมมาอาชีวะ ไม่จัดว่าเป็นความโลภ ต้องเอาอาการเกินพอดี ที่สำคัญคืออยากจะได้ของบุคคลอื่น แม้ไม่ทำแต่ใจมันก็อยาก อยากจะโกงเขา อยากจะข่มเหงเขา อยากจะอิจฉาริษยาเขา อยากทุกอย่างซึ่งเป็นด้านของความเลว อันนี้ไอ้ตัวอยากตัวนี้เราตัด งดมันเสียได้ด้วยอำนาจของ พรหมวิหาร ๔ หิริ และโอตตัปปะ และ มรณานุสสติกรรมฐาน เอาอารมณ์ ๓ ประการเข้าควบคุม

    คิดว่าจะอยากได้ของเขาไปทำไม ได้มาแล้วมันก็ตาย ไม่ได้มันก็ตาย มีเท่านี้ก็พอกิน หากินแบบนี้มีได้เท่าไหร่พอใช้พอกิน หากินให้มันรวยกว่านี้ หากินด้วยความสุจริตใจ ไม่มีโทษ เพราะยังเป็นสกิทาคามี และอารมณ์อีกอันหนึ่งสำหรับพระสกิทาคามี ที่มีความสำคัญก็คืออภัยทาน ให้อภัยแก่ผู้ผิด เราเองก็พยายามไม่ทำผิดอยู่เสมอ ทรงอารมณ์ปกติใน มรณานุสสติกรรมฐานเคร่งครัด เคารพในคุณพระรัตนตรัยเคร่งครัด มีหิริและโอตตัปปะเคร่งครัด มีศีลเคร่งครัด มีพรหมวิหาร ๔ แข็งกร้าวในจิต ไม่ยอมให้จิตตกอยู่ในอำนาจของความเลว

    นึกถึงการให้ทาน การบริจาคอยู่ตลอดเวลา ตั้งหน้าปรารถนาจะสงเคราะห์คนอื่นให้มีความสุข มีอุปสมานุสสติ การนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีจิตใจรักพระนิพพานอย่างยิ่ง เพียงเท่านี้จิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง ภิกษุและสามเณรถ้าทรงอารมณ์จิตใจได้อย่างนี้จริงๆ ท่านก็เป็นสกิทาคามี ซึ่งมันเป็นของไม่ยาก ที่ยากก็เพราะว่าเราอยากเลว ถ้าคนอยากดีพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีไม่มีอะไรยาก
    จากหนังสือทางสายเข้าสู่พระนิพพาน (ตอนที่ ๔) หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี [​IMG]
    อภัยทาน

    โอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว สำหรับวันนี้ก็จะพูดต่อเมื่อวันวาน แต่การเริ่มต้นก็ขอให้ทุกคนพยายามฝึกฝนอารมณ์ไว้ วิธีการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกนี่เป็นการระงับอาการฟุ้งซ่านของจิต เราอธิบายกันมามาก พูดกันมามาก ไม่อยากจะอธิบายซ้ำ ไม่อยากจะพูดซ้ำ

    สำหรับวันนี้ก็จะได้ปรารภเรื่องของพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีต่อไป เพราะว่าท่านโสดาบันกับสกิทาคามีละสังโยชน์ได้เสมอกัน แต่ทว่ามีอาการระงับต่างกัน หมายถึงว่าพระสกิทาคามี มีการระงับหรือว่าการทำโลภะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง สำหรับพระสกิทาคามีเบื้องต้นเรียกว่า สกิทาคามีมรรค นั่นก็ได้แก่ถือ อภัยทาน เป็นสำคัญ อภัยทานที่จะเกิดขึ้นมาได้ก็อาศัยพรหมวิหาร ๔ ถ้ามีอยู่ในใจ ก็มีแต่ความรักความสงสาร ตัดความอิจฉาริษยา มีอารมณ์วางเฉยหรือว่าเฉยในอารมณ์ต่างๆ ที่เป็นเหตุให้ทำลายอารมณ์จิตของเรา วางไว้ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา

    อันนี้ต้องจำ ที่ว่าต้องจำก็เพราะว่าบางทีพวกเราก็มักจะลืมกันเหมือนกัน มักจะไปยุ่งกับจริยาของบุคคลอื่น อันนี้เป็นการไม่สมควร พูดกันมาทุกวัน ระวังให้ดี อย่าไปยุ่ง ความเป็นพระให้มันเป็นพระอย่าทำตนเป็นพะ เป็นเณรจงเป็นเณร อย่างทำตนเป็นโจร คำว่าโจร หมายความว่า ปล้นความดีของพระพุทธศาสนา ปรับปรุงใจของตนเองเป็นสำคัญ ถ้าทุกคนปรับปรุงใจของตนดีแล้ว มันก็ไม่มีเรื่องไปยุ่งกับคนอื่น ไม่สร้างคนอื่นให้มีความเร่าร้อน

    ในการที่จะเพ่งโทษคนอื่น ต้องรู้ตัวว่าเราเลวเกินไป นี่จงรู้สึกตัวไว้เสมอ รู้สึกตัวว่าเรามันเลว เลวมากจนกระทั่งขังอยู่ในใจไม่ได้ มันจึงอุตส่าห์ไหลมาจากทางวาจา ไหลมาทางกาย นี่แสดงว่าความเลวมันล้นออกมาจากจิต ในข้อนี้ต้องคิดไว้เป็นประจำ อย่าทนงตนว่าเป็นคนดี ถ้าดีแล้วปากไม่เสีย กายไม่เสีย ถ้าปากเสีย กายเสีย ความเลวมันล้น มีความดีไม่ได้

    ทีนี้ สิ่งที่เราจะกันความเลวไม่ให้มันล้นออกมา ก็ต้องอาศัยพรหมวิหาร ๔ คือมีจิตเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร มีจิตอ่อนโยนไม่อิจฉาริษยาใคร เห็นใครได้ดีพลอยยินดีด้วย และมีอารมณ์วางเฉย ยอมรับนับถือกฎของกรรม และพยายามเพ่งโทษโจทก์ความชั่วของตัวอยู่เสมอ อย่าไปโทษโจทก์ความชั่วของคนอื่น ถ้าใจมันยังโทษโจทก์ความชั่วของบุคคลอื่น แสดงว่ายังเลวอยู่ ยังมีความอิจฉาริษยาคนอื่น ยังเลวอยู่ พูดเสียดสีค่อนแคะบุคคลอื่น ยังเลวอยู่ สร้างกรรมชั่ว ทำชั่ว ทำผิดวินัย มันยังเลวอยู่

    นี่พยายามมองความเลวในใจของเราเป็นสำคัญ ถ้าใจของเราไม่เลว เราก็ไม่มีอาการเพ่งโทษบุคคลอื่น ไม่เสียดสีบุคคลอื่น ไม่ประทุษร้ายบุคคลอื่น และอารมณ์แห่งพรหมวิหาร ๔ มีอยู่ เมื่อพรหมวิหาร ๔ มีความละเอียดทรงตัวดี มีอารมณ์ละเอียดจึงจะให้อภัยทานได้ อภัยทานนี่มันมีกำลังหนัก คือว่าหนักกว่าพรหมวิหาร ๔ ธรรมดา พรหมวิหาร ๔ ธรรมดานี่เรามีจิต เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร แล้วมีรัก มีสงสาร ไม่อิจฉาริษยาเขา

    สำหรับอภัยทานนี่ต้องใช้อารมณ์สูงไปกว่านั้น เพราะว่าเราต้องให้อภัยกับคนที่สร้างความชั่วให้เกิดขึ้นกับเรา สร้างความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นกับเรา แทนที่เราจะโกรธ แทนที่เราจะพยาบาท เรามีจิตคิดให้อภัยในความเลวของเขา โดยมีความรู้สึกนึกคิดว่าบุคคลคนนี้มีสภาพเป็นทาส ไม่มีความเป็นไท คำว่า ทาส เป็นคนชั้นต่ำ เป็นพระนักบวช ก็นักบวชชั้นต่ำ เป็นอุบาสกอุบาสิกา ก็เป็นอุบาสกอุบาสิกาชั้นต่ำ เพราะว่ายังมีจิตเป็นทาสอยู่ยังไม่เป็นไท อยู่ในเกณฑ์ถูกบังคับบัญชาให้ทำอยู่เสมอ

    ทาสคนยังดี ยังมีโอกาสหาความดีมาใส่ตนได้ถึงแม้ว่าเป็นทาส นี่ทาสของคน ดูตัวอย่าง นางบุญทาสี เป็นทาสของคหบดี รับใช้เจ้านายอยู่ตลอดเวลา ไม่มีค่าจ้างรางวัล เพราะเป็นทาส แต่ว่านางบุญทาสีก็ยังมีจิตเป็นกุศล ยอมรับนับถือความดีขององค์สมเด็จพระทศพล นายใช้ให้ไปธุระในกิจทางไกล นางก็ทำแป้งจี่ด้วยรำกับปลายข้าว ปิ้งแล้วก็ห่อชายพกไปหวังจะไปกินตามทาง
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=180>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>ในเวลานั้นปรากฎว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระอานนท์เดินผ่านพอดี นางบุญทาสีมาคิดในใจว่าเราเป็นทาสเขา บางครั้งเรามีศรัทธาเห็นพระแต่ไม่มีอะไรจะถวาย บางครั้งเรามีของจะถวายพระก็ไม่เจอพระหาพระยาก วันนี้เราเจอองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคมากับพระอานนท์ เรามีแป้งจี่ทำด้วยรำกับปลายข้าวผสมกัน ห่อชายพกมา เราจะเอาของอันนี้ถวายองค์สมเด็จพระบรมศาสดา

    เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้ามาใกล้ นางก็นิมนต์ให้หยุด แล้วก็แก้ชายพกเอาแป้งจี่มาใส่ลงไปในบาตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    </TD></TR></TBODY></TABLE>เมื่อใส่ลงไปแล้วนางก็คิดว่าตามธรรมดาพระพุทธเจ้าย่อมไปฉันในสำนักของพระราชาบ้าง ในสำนักของมหาเศรษฐีบ้าง ฉันแต่ของดี ไอ้ของๆ เราน่ะเป็นของเลว พระพุทธเจ้าคงไม่ฉัน แต่ทว่าอาศัยที่เรามีตั้งใจเป็นกุศลองค์สมเด็จพระทศพลจะฉันหรือไม่ฉันก็ช่าง เราหวังถวายท่านเอาบุญเท่านั้น

    เมื่อนางคิดแบบนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้มองดูหน้าพระอานนท์ นี่เขาคิดนะเขาไม่ได้พูด พระอานนท์รู้ท่าจึงได้ปูผ้าสังฆาฎิลง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงประทับที่ตรงนั้นฉันแป้งจี่ของนางบุญทาสีในขณะนั้นกลางทางนั่นเอง นางบุญทาสีดีใจเกือบตาย นั่งลงยกมือไหว้พนมตลอดเวลาด้วยความเคารพปลื้มใจอย่างยิ่ง เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงฉันเสร็จก็โมทนา เมื่อโมทนาจบนางบุญทาสีก็สำเร็จเป็นพระโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้น

    นี่แสดงว่าความเป็นทาสของคน คนเป็นทาสคน ถึงแม้ว่าจะไม่มีอิสรภาพเป็นตัวของตัวเองก็จริงแหล่ แต่ทว่าใจเป็นอิสระ สามารถจะประกอบความดี จะคิดถึงความดีได้ แล้วเราก็คิดใหม่ว่า สำหรับคนที่เขามาสร้างความชั่วให้สะเทือนใจเรา นั่นเขาเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม นี่ไม่มีทางที่จะคืนตัวได้ ความเป็นอยู่ของเขาในสมัยปัจจุบันในชาติที่เป็นมนุษย์ เขาก็มีแต่ความเร่าร้อน มีแต่ความเศร้าหมองจิต เพราะกิเลสมันทำจิตใจให้เศร้าหมอง ตัณหาสร้างจิตใจให้เร่าร้อน อุปาทานมีอาการเกาะความชั่วเป็นปกติ อกุศลกรรมทำความชั่วตลอดเวลา

    คนที่เป็นทาสของกิเลสตายแล้วไม่มีโอกาสจะเกิดเป็นคน แม้จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังเกิดไม่ได้ ต้องไปเกิดในอบายภูมิ นี่ถ้าบุคคลผู้ใดทำใจของเราให้เร่าร้อนด้วยกายกรรม ทำด้วยกายก็ดี ด้วยวจีกรรม ทำด้วยวาจาก็ดี เราจงคิดว่าคนประเภทนี้เขาไม่ใช่คน เขาคือสัตว์นรกในอบายภูมินั่นเอง เราก็คิดว่าถ้าเราจะไปต่อล้อต่อเถียง จะกระทำตอบ เราก็จะเลวตามเขา เวลานี้จิตใจของเขาจมลงไปแล้วในนรก ถ้าเราทำตามแบบเขาบ้างเราก็จะจมลงนรกเหมือนกัน มันไม่มีประโยชน์ จิตเราก็ระงับความโกรธด้วยอำนาจขันติหรืออุเบกขา

    นี่อุเบกขาเราใช้กันตรงนี้เลย เฉย เขาเลวก็ปล่อยให้เขาเลวไปแต่ผู้เดียว เราไม่ยอมเลวด้วย นอกจากนั้นก็มาคิดปลงอนิจจังว่า พุทโธ่เอ๋ย นี่ตัวเขาเองกว่าจะมาเกิดเป็นคนได้น่ะมันยากแสนยาก คนที่มีจิตใจประเภทนี้มาจากนรกก่อน เดิมทีมาจากนรก ตกนรกสิ้นระยะเวลาหลายแสนกัป กว่าจะผ่านนรกขึ้นมาได้ แล้วก็ต้องมาเป็นเปรต มีทุกขเวทนาอย่างหนัก แล้วก็มาเป็นอสุรกาย มีแต่ความหิวโหย แล้วก็ต้องมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานซึ่งไม่มีอิสรภาพ ใช้เวลานานแสนนาน จึงได้มาเกิดเป็นมนุษย์

    เขาน่าจะรู้สึกตัวว่ากรรมชั่วเก่าของเขาที่ทำไว้ให้โทษอย่างหนัก น่าจะเป็นคนที่มีการกลับใจได้ดี สร้างความดีจากความเป็นคนให้ไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม แต่ว่าเขามากลับหวนลงนรกอีก แบบนี้เป็นบุคคลที่น่าสงสาร ควรให้อภัยเพราะอะไร เพระว่าใจของเขาไม่ใช่ใจของคนเสียแล้ว เป็นใจสัตว์นรก ควรให้อภัยเขา ถ้าเราไปต่อสู้กับเขา ต่อล้อต่อเถียงตอบแทนเขาด้วยอาการเช่นเดียวกัน อารมณ์ของเราก็จะทรามเกินไป

    นี่การให้อภัยทาน เขาให้อภัยกันอย่างนี้ แล้วก็จำไว้ด้วยว่าถ้าบุคคลใด หรือพระองค์ใด เณรองค์ใดปฏิบัติอย่างนั้น ก็พึงรู้ตัวว่า เราจะมานั่งเจริญสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐานสักกี่แสนปี มันก็ไม่มีประโยชน์เลย กลับจะมีโทษอย่างหนัก เพราะการเจริญพระกรรมฐานถ้ามีใจเลวมันกลายเป็นมารยา ล่อลวงบุคคลอื่นให้หลงผิดคิดว่าเราเป็นคนเคร่งครัดมัธยัสถ์ คิดว่าเราเป็นคนดี

    ในอารมณ์ของพระสกิทาคามีเบื้องต้น ถ้าจะกล่าวกันไปอีกทีก็เรียกว่าสกิทาคามีมรรค ยังไม่ใช่สกิทาคามีผล เป็นอันว่าเรากำลังเดินเข้าไปหาความเป็นพระสกิทาคามี อย่าลืม อาการอย่างนี้เป็นพระสกิทาคามีมรรค ทวนต้นสักนิดว่า สกิทาคามีมรรคปฏิบัติมาเช่นเดียวกับพระโสดาบัน คือนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ที่เรียกว่ามรณานุสสติกรรมฐาน เมื่อรู้ตัวว่าจะตาย ก็มีความไม่ประมาท คิดว่าตายคราวนี้ต้องดีกว่าการเกิดมาคราวนี้ ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะว่าเราเกิดมาเป็นคนแล้ว จะกลับมาเกิดเป็นคนอีกก็ต้องเป็นคนที่ดีกว่านี้ ไม่ใช่มีสภาวะอย่างนี้ หรือมิฉะนั้นเราก็ควรเป็นเทวดาหรือพรหม

    ฉะนั้นเมื่ออารมณ์ของพระโสดาบัน หรือโสดาปัตติมรรคคิดอย่างนี้แล้วจึงพยายามรวบรวมกำลังใจ นึกถึงคุณความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ มั่นคงอยู่ในคุณทั้ง ๓ ประการ คิดว่าเรามั่นอยู่ในคุณทั้ง ๓ ประการนี้เราตายไม่ลงนรกแน่ แต่ก็ยังเอาแน่ไม่ได้ เราจะต้องปิดอบายภูมิด้วยการรักษาศีลห้าให้บริสุทธิ์ อย่างนี้เป็นอารมณ์ของพระโสดาปัตติมรรค ยังไม่ใช่อารมณ์ของพระโสดาปัตติผล

    พอถึงพระโสดาปัตติผล อันดับแรกพอจิตเข้าสู่ โคตรภูญาณ ในตอนนี้อารมณ์จะเริ่มเข้าจุดยอมรับนับถือกฎของธรรมดา มันจะแก่ มันจะป่วย มันจะตาย ใจรู้สึกว่าเป็นของธรรมดา ไม่มีความหนักใจ ใครเขาจะกล่าวนินทาว่าสรรเสริญจะเสียดสีอะไรก็ตามรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ไม่ใช่จะไม่มีความไม่พอใจ ความไม่พอใจมีขึ้นเหมือนกัน แต่ระงับได้เร็ว ไม่โต้ไม่ตอบ เมื่อไม่โต้ไม่ตอบเขา เราก็ไม่ทำด้วยอาการอย่างนั้น เราไม่ทำ เห็นว่าเป็นอาการเลว

    เมื่ออารมณ์จับธรรมดาเป็นปกติอย่างนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ เมื่ออารมณ์จับธรรมดาอย่างนี้แล้ว อารมณ์อีกส่วนหนึ่งก็จับพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่เป็นโคตรภูญาณเบื้องปลาย เมื่ออารมณ์จับพระนิพพานเป็นอารมณ์ก็ถอยหน้าถอยหลังพิจารณาว่า ความตายเป็นของเที่ยง ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง เราจะต้องยึดคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยึดศีลเป็นกำลังสำคัญเพื่อป้องกันอบายภูมิ แล้วจิตใจของเราก็มีความมั่นคงในพระนิพพาน

    ศีล ๕ ประการจะไม่ด่างไม่พร้อย สำหรับฆราวาส สำหรับเณร ศีล ๑๐ ไม่ด่างไม่พร้อย มีอารมณ์รักษาศีลเป็นปกติจนกระทั่งมีอารมณ์ชุ่มชื่นแจ่มใส การปฏิบัติอยู่ในศีลในธรรมไม่ต้องระมัดระวัง มันมีการทรงอารมณ์ของมันเอง มีอารมณ์รักษาพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ อย่างนี้เรียกว่าพระโสดาปัตติผล ยังมีความรัก ยังมีความโลภ ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง แต่ทว่าไม่ทำ ไม่ละเมิดศีล รักอยู่ในขอบเขตของศีล รวยอยู่ในขอบเขตของศีล โกรธไม่ทำร้ายเขา ไม่ฆ่าเขา เพราะกลัวศีลขาด หลงก็จริงแหล่แต่ทว่าไม่ลืมความตาย ใจมั่นคงอยู่อย่างนี้เรียกว่าพระโสดาปัตติผล

    ทีนี้การเข้าถึงพระสกิทาคามีมรรคก็ยึดพรหมวิหาร ๔ เป็นสำคัญ เพราะพรหมวิหาร ๔ นี่ต้องมีมาจากพระโสดาบันแล้ว ถ้าไม่มีพรหมวิหาร ๔ ศีลไม่บริสุทธิ์ ทีนี้พอมาถึงพระสกิทาคามีมรรค เราก็มาจับอภัยทานเป็นสำคัญ
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ccff>คิดแล้วมาอย่างเมื่อกี้นี้ ถ้าใจเราเลว คิดถึงใจอยู่เสมอ ใจเรา อย่าไปดูใจคนอื่น ไม่ต้องไปช่วยใครเขาขัดเกลาจิตใจของเขา ช่วยตัวเราให้มันรอดก็แล้วกัน ถ้าหากว่าเราดีจริงๆ แล้ว เราก็ไม่มีการทำให้บุคคลอื่นให้เร่าร้อน คนดีนี่มันไม่มีชั่ว เมื่อใจของเราดี ใจทรงไปด้วยพรหมวิหาร ๔ ใจมีอภัยทาน มันมีอะไรบ้างในจิตที่เราจะไปคิดประทุษร้ายบุคคลอื่น ทั้งทางกายและวาจาทำเขาให้เร่าร้อน มันก็ไม่มี</TD></TR></TBODY></TABLE>อาการอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นสกิทาคามีมรรค ยังไม่ถึงสกิทาคามีผล แล้วเรื่องสกิทาคามีผลนี่จะไว้พูดกันวันหลัง ต่อจากนี้ไปขอบรรดาท่านทั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
    จากหนังสือทางสายเข้าสู่พระนิพพาน (ตอนที่ ๕) หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี [​IMG]
    การเข้าถึงพระสกิทาคามีมรรค

    สำหรับวันนี้จะได้พูดถึงพระสกิทาคามีมรรคต่อ คำว่า พระสกิทาคามีมรรค ก็หมายความถึงว่า ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระสกิทาคามีผล อันนี้อารมณ์จะต้องเลยพระโสดาบันมาแล้ว เพราะว่าพระโสดาบันทรงคุณธรรม ๔ ประการ คือ นึกถึงพระพุทธเจ้า เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และมีศีลบริสุทธิ์ ส่วนแถมที่เกินก็คือ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่หมายถึงว่ามีความมั่นคงจริงๆ

    คำว่านับถือพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ ก็หมายถึงว่าเป็นบุคคลที่ไม่ละเมิดคำสั่งหมายถึงศีล สิ่งใดที่พระองค์ทรงสั่งห้ามตามพระธรรมวินัย สิ่งนั้นท่านที่เป็นพระโสดาบันย่อมไม่ปฏิบัติ สิ่งใดที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ทรงแนะนำให้ปฏิบัตินั่นเป็นทางของพระพุทธเจ้าจริงๆ จึงทรงศีลบริสุทธิ์ คำว่าศีลของพระโสดาบันก็ต้องหมายเอาถึงกรรมบถ ๑๐ ด้วย คำว่ากรรมบถ ๑๐ เป็นทั้งศีล เป็นทั้งธรรม และมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ อยู่ในขอบเขตของศีลในวงจำกัด สำหรับพระสกิทาคามี ถ้าจะกล่าวกันไปก็เป็นแต่เพียงว่า มีจริยาทั้งหมดเหมือนพระโสดาบัน แต่ว่าระงับความโลภ ระงับความโกรธ ระงับความหลงให้เบาบางลงกว่าพระโสดาบัน

    ทีนี้เราก็ย้อนไปดูพระโสดาบันว่า มีกรรมฐานอะไรเป็นอารมณ์บ้าง พระโสดาบันมีมรณานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ นึกถึงความตายเป็นปกติ เมื่อรู้ตัวว่าจะตายก็ไม่ยอมตายเลว จะตายอย่างดี ทีนี้ก่อนที่จะตายดี หรือเป็นผีดี ก็ต้องเป็นคนดีก่อน คนจะเป็นคนดีได้ก็ต้องอาศัยพุทธานุสสติกรรมฐาน ธัมมานุสสติกรรมฐาน สังฆานุสสติกรรมฐาน สีลานุสสติกรรมฐาน พรหมวิหาร ๔ และอุปสมานุสสติกรรมฐาน ยิ่งกว่านั้นก็มีหิริและโอตตัปปะประจำใจ อย่างนี้เป็นพระโสดาบัน นี่พระโสดาบันทรงคุณธรรมได้อย่างนี้

    สำหรับพระสกิทาคามีก็ทรงคุณธรรมเหมือนกัน แต่ว่าสำหรับพระสกิทาคามีมรรคเบื้องต้น ก็เพิ่ม อภัยทาน ตามที่กล่าวมาแล้วเมื่อคืนนี้ คือรวบรวมกำลังใจของพรหมวิหาร ๔ ให้หนักขึ้น มีความเข้มข้นยิ่งขึ้น เมื่อกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่บุคคลทำให้เราไม่ถูกใจ เราให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธคนนั้น ถ้าอารมณ์ทรงอยู่ได้อย่างนี้จริงๆ ก็จัดว่าเป็น พระสกิทาคามีมรรคอย่างหยาบ ยัง ยังไม่ถึงสกิทาคามีผล

    ทีนี้การจะปฏิบัติตนให้เข้าถึงพระสกิทาคามีผล ก็ต้องเพิ่มกรรมฐานหรือวิปัสสนาญาณบางอย่างเข้ามาควบคุม เพราะว่าสำหรับวิปัสสนาญาณในด้านของพระโสดาบันนั้น ในด้านสักกายทิฏฐิยังไม่มีการรังเกียจในร่างกาย อารมณ์ยังไม่ละในร่างกายเด็ดขาด เพียงแต่มีความรู้สึกว่าร่างกายมันจะต้องตาย ความพอใจในร่างกายว่าเป็นของสวยสดงดงามของน่ารักน่าชมยังมีอยู่ ทีนี้มาด้านพระสกิทาคามี เราก็มาเพ่งดูตามคำสอน ท่านบอกว่าพระสกิทาคามี บรรเทาความโลภ บรรเทาความโกรธ บรรเทาความหลง

    อาการที่จะบรรเทาความโลภเขาต้องทำยังไง ก็ต้องเพิ่มกรรมฐานเข้ามาอีกกองหนึ่งนั่นก็คือ จาคานุสสติกรรมฐาน จาคานุสสตินี่หมายถึงว่า จิตคิดอยู่เสมอในการที่จะกำจัดความเหนียวแน่น ความตระหนี่หรือความโลภในทรัพย์สิน มีความรู้สึกด้วยอำนาจของปัญญา ว่าคนที่มีความตระหนี่เหนียวแน่น เกาะอยู่ในทรัพย์สินมากเกินไป จนกระทั่งไม่สามารถจะบริจาคทานการสงเคราะห์ ไม่มีการเกื้อกูลบุคคลอื่นให้มีความสุขตามที่เราจะพึงช่วยได้ อย่างในสมัยปัจจุบันเขาเรียกว่า ไม่รู้จักลดช่องว่าง แต่ความจริง การลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน มีการสงเคราะห์เกื้อกูลซึ่งกันและกันนี่ พระพุทธเจ้าทรงสอนมานานแล้ว แต่ชาวโลกไม่มีความสนใจ ไม่ปฏิบัติตาม

    ที่นี้การที่จะเป็นพระสกิทาคามีก็ต้องมีจาคานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ จาคานุสสติกรรมฐานนี่ ความจริงก็มาจากพรหมวิหาร ๔ นั่นเอง การที่เราจะสละทรัพย์สินให้แก่บุคคลอื่นใด เพราะทรัพย์สินเราหามาได้โดยยาก เราก็จะให้ได้ด้วยอำนาจเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร ถ้าเราเกลียด ไม่สงสาร เราก็ไม่ให้แน่ หรืออย่างดีที่สุดก็ให้ด้วยความไม่เต็มใจ

    ทีนี้สำหรับพระสกิทาคามีไม่ยังงั้น มีอารมณ์ใจคิดอยู่เสมอว่าทรัพย์สินเป็นของนอกกาย แม้แต่กายของเราเองเรายังควบคุมให้มันดีตลอดสมัยไม่ได้ ห้ามความตายไม่ได้ เราจะสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์และสัตว์ ที่เรียกกันว่าเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้มีความสุขตามฐานะที่เราพึงจะทำได้ และจาคะตัวนี้เป็นการให้ตัดขาด ให้เพื่อการสงเคราะห์จริงๆ ไม่มีความหวังในผลตอบแทน แม้แต่คำสรรเสริญเยินยอจากบุคคลผู้รับก็ไม่ต้องการ ให้ด้วยการมีความหวังว่าคิดจะตัดโลภะ ความโลภในจิตให้มันขาดไป

    แต่ว่าทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่ามีเท่าไหร่ให้หมดเท่านั้น การให้ต้องคิดพิจารณาดูก่อนว่าให้แล้วเราจะเดือดร้อนไหม ถ้าให้ถึงกับเราเดือดร้อน พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ สำหรับท่านที่เป็นพระโสดาบันก็ดี พระสกิทาคามีก็ดี เป็นคนประกอบไปด้วยศรัทธา ฉะนั้น ท่านพวกนี้องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงห้ามรบกวนสำหรับบุคคลประเภทนี้ ถ้าขอเข้าท่านนึกว่ามีความจำเป็นท่านก็ให้ แต่ขอบ่อยๆ มันเกินวิสัยของสมณะ คนขอเลยไม่ใช่พระ กลายเป็นขอทานไป

    ฉะนั้นถ้าเราจะพึงรู้ว่าบุคคลใดเขามีศรัทธาก็อย่าอ้าปากขอ ถ้ากิจนั้นไม่จำเป็นถึงที่สุด เช่น ผ้ามันไม่ขาดจนกระทั่งนุ่งไม่ได้ก็อย่าไปขอเขา มันยังใช้ได้ก็จงอย่าขอ มันไม่อดถึงกับจะตายก็อย่าไปออกปากขอ อาการขอมันเป็นจริยาของคนเลว ไม่ใช่จริยาของคนดี เพราะว่าคนขอนี่ต้องตัดอาการอารมณ์หน้าด้านออกไป การขอบ่อยๆ หรือขอเกินจำเป็น ไม่ใช่สมณวิสัย ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงห้ามว่า ตระกูลใดถ้าเป็น พระเสขะ ห้ามการขอทุกอย่าง เว้นไว้แต่สิ่งนั้นมันถึงที่สุดที่เราไม่สามารถจะทรงตัวได้ จำเป็นที่จะต้องขอก็ขอในสิ่งที่จำเป็น มีค่าไม่สูงนัก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าอารมณ์ของพระโสดา สกิทาคา มีพรหมวิหาร ๔ ประจำ ย่อมเป็นคนมีใจดีเพราะเกื้อกูล
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#cccccc>เสขะ ผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่ พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล โดยพิสดารมี ๗ คือ ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ในโสดาปัตติผล ในสกิทาคามีมรรค ในสกิทาคามีผล ในอนาคามีมรรค ในอนาคามีผล และในอรหัตตมรรค พูดเอาแต่ระดับเป็น ๓ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี</TD></TR></TBODY></TABLE>ในสมัยพระพุทธเจ้าก็มีผู้ขอในสำนักของพระโสดา สกิทาคามี จนเกินพอดี มีเยอะแยะไป เมื่อเหตุนี้ปรากฏขึ้น องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงห้ามขอ นี่สำหรับพระเราต้องมีความสำรวมในด้านนี้ให้มาก ถึงแม้ว่าท่านจะไม่เป็นพระโสดาบัน ก็จงอย่าเอ่ยปากขอ ถ้าไม่มีความจำเป็นจริงๆ ขอเขามากเกินไป ใช้เขามากเกินไป มันจะเป็นการรุ่มร่าม ไม่ใช่วิสัยของพระ จงมัธยัสถ์อาการทุกอย่าง อย่าคิดว่าขอเขาให้ก็ได้ใจ ขอกันหนัก

    นี่สำหรับพระสกิทาคามี มีอารมณ์ในการให้ไม่ใช่อารมณ์ในการขอ หรือพระโสดาบันก็เหมือนกัน มีอารมณ์ในการให้ไม่ใช่มีอารมณ์ในการขอ นี่วัดกำลังใจของเราไว้ การปฏิบัติจิตของเราเข้าถึงพระโสดาปัตติมรรคหรือสกิทาคามีมรรคแล้วหรือยัง เป็นอันว่ามีอารมณ์ที่จะให้อยู่เป็นปกติ อาการความโลภมันก็บรรเทาลง การที่จะคิดโกงเขาก็ไม่คิดอยู่แล้ว การตะเกียกตะกายแสวงหาทรัพย์เกินพอดีย่อมไม่มีกับพระสกิทาคามี เพราะจิตเริ่มเป็นสุข มีเท่าไหร่ก็เป็นสุข แต่การหากินต้องหาแต่หาแบบสบายๆ อย่างอารมณ์ที่มีความสุข ไม่เบียดเบียนตนจนเกินไป

    นี่เป็นอันว่าพระสกิทาคามีมรรคเพิ่มจาคานุสสติกรรมฐานเข้ามาอีกบทหนึ่ง ทำเป็นฌานสมาบัติให้อารมณ์ทรงตัวคิดไว้เสมอ การคิดไว้เสมอมีความรู้สึกไว้เสมอ นี่ชื่อว่าเป็นอาการทรงฌาน ถ้าท่านนั่งภาวนาตามปกติ โดยเวลาเลิกแล้วจิตไม่ได้คิดจิตมีความเลว อันนี้ไม่ใช่พระสกิทาคามีหรืออนาคามี มันเป็นจิตของสัตว์ในอบายภูมิ จงใคร่ครวญคิดไว้ อย่าไปนั่งภาวนาเฉยๆ นั่งภาวนาเฉยๆ นี่อารมณ์ใจมันไม่ดี มันก็ดีอยู่แค่ภาวนา บางทีก็ภาวนากันไปเป็นปกติแต่เวลาภาวนาจิตก็ซ่านไปโน่นไปนี่ มันใช้ไม่ได้ มันต้องมีปัญญาใคร่ครวญ มีความรู้สึกอยู่ตลอดเวลา ถ้าอาการอย่างนี้มีอยู่ละก็ แดนไหนก็แดนนั้นมีแต่ความสุขไม่มีความทุกข์ ไม่มีความเร่าร้อน

    อันดับที่สอง พระสกิทาคามีระงับความโกรธลงไปได้มาก ตัวนี้ก็ไม่จำเป็นแล้ว เพราะมีพรหมวิหาร ๔ เป็นประจำ แต่ทว่าพระสกิทาคามีก็เพิ่มอารมณ์ที่กล่าวมาแล้วคือให้อภัยทาน นอกจากจะระงับความโกรธ ยับยั้งความโกรธ แต่ความโกรธมันยังมีอยู่ อย่างพระโสดาบันยังมีความโกรธ แต่ทว่าไม่ทำร้ายเขา คือโกรธแล้วยังจะพยาบาท คืออาจจะคิดว่า แหม ไอ้เจ้านี่มันเลวจริงๆ ไม่คิดจะฆ่า ไม่คิดจะทำร้าย แต่คิดว่ามันเลว ยังเจ็บใจแต่ไม่คิดจะฆ่า ไม่คิดทำร้าย แต่ว่าไม่อยากสังคมสมาคมด้วย ยังมีอาการใบหน้าเครียด

    แต่มาถึงพระสกิทาคามี อาการเครียดของใบหน้าไม่มี โกรธยังมีความโกรธ ไม่ชอบใจ คิดไว้ว่าไม่ชอบใจยังมีอยู่ แต่อารมณ์จิตอีกส่วนหนึ่งก็พยายามหักห้ามความโกรธ หักห้ามความพยาบาท คิดให้อภัยกับบุคคลผู้กระทำความผิด โดยมีความรู้สึกว่าจิตของบุคคลผู้นี้เป็นจิตของสัตว์ในอบายภูมิ ซึ่งเป็นทาสของ กิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม เราไม่ควรจะตอบแทนในอาการลักษณะเช่นเดียวกัน เมื่อเขาจะเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นเรื่องของเขา เราไม่สนใจให้อภัยกับความผิดของเขา นี่เป็นอารมณ์ของพระสกิทาคามีมรรค

    ทีนี้ มาด้านความหลง ตัวนี้ก็มาจับสักกายทิฏฐิเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้นตอนไหน เพิ่มขึ้นที่ว่ามาพิจารณาถึงร่างกายของเรา นอกจากจะตายแล้วก็มามองร่างกายว่ามันเป็นของไม่เที่ยง เป็นอันว่าเพิ่ม กายคตานุสสติ กับอสุภกรรมฐาน หนักขึ้น โดยมาพิจารณาว่าร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา มันตาย ตายแน่ มาเป็นพระโสดาบันติดอยู่แค่ตาย แต่ยังมีความพอใจในลักษณะของร่างกายและผิวพรรณของร่างกาย ความสวยสดงดงามการตบแต่งของร่างกาย

    แต่มาในด้านของพระสกิทาคามี นี่เพิ่มอารมณ์ที่มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ เข้ามาประชุมกัน แล้วก็มีความสกปรกทุกด้าน เสลดน้ำลายสกปรก เหงื่อไคลสกปรก เลือดและเนื้อสกปรก น้ำเหลืองน้ำหนองสกปรก อุจจาระ ปัสสาวะสกปรก รวมความว่าทุกส่วนของร่างกายนี่มันสกปรกจริงๆ เมื่อสกปรกก็รู้สึกว่าเป็นของน่าเบื่อ ไม่น่ารัก แต่ก็ยัง ยังไม่หมด แต่อารมณ์ในการพิจารณาเห็นว่าร่างกายของคนและสัตว์และของตัวเองมันก็เกิดอาการสลดใจ ว่าร่างกายนี้มีสภาพไม่ต่างอะไรกับส้วมเคลื่อนที่

    เพราะจะมองไปดูทุกจุดทุกประการ มันก็เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก ผิวนิดเดียวที่เรามองเห็นกันว่าสวย ทั้งๆ ที่ผิวที่เห็นว่าสวยนั่นแหละต้องชำระล้างกันทุกวัน ถ้าปล่อยเกรอะกรัง ไม่อาบน้ำไม่อาบท่า ไม่ชำระล้างสัก ๗ วัน มันก็ทนไม่ไหว ก็แสดงว่าแม้แต่ผิวกายที่เราเห็นว่าสวยมันก็สกปรก ส่วนที่อยู่ในผิวกายลงไปข้างใน ถ้าลอกหนังออกไปนิดเดียวเลือดก็ไหลซึมออกมา เห็นเลือด มีกลิ่นเลือดเหม็นคาว เราก็พากันสะอิดสะเอียนว่าเลือดสกปรก
    <TABLE width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=175></TD><TD vAlign=top>ทีนี้ลอกเนื้อเข้าไปภายใน เห็นตับ ไต ไส้ ปอด อาหารใหม่ อาหารเก่า อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เต็มไปหมด ตอนนี้ดูไม่ได้ มันสกปรกจริงๆ อารมณ์เบื่อจากร่างกายที่เห็นว่าสวยสดงดงามเป็นของน่ารัก มันก็เริ่มคลายตัวลงไป ยังไม่หมด กำหนดจิตเป็นเอกัคคตารมณ์เป็นฌาน ไม่มีความรู้สึกเมามันในร่างกาย แต่บางขณะย่อมปรากฏ

    ทีนี้อาการของสักกายทิฏฐิตัวนี้ มันก็ไปพิจารณาด้วยกายคตานุสสติ กับอสุภกรรมฐาน เพื่อตัดความหลงในร่างกาย เห็นว่าร่างกายสกปรก แล้วยังเห็นว่าร่างกายมีสภาพจะต้องสลายตัว ยึดถือดึงมันไว้ไม่อยู่ นี่เป็นอันว่าอารมณ์จิตตรงนี้ ถ้าเราจะเข้าไปพิจารณาว่า จุดไหนหนอที่เราจะเป็นพระสกิทาคามี แต่ว่าเป็นสกิทาคามีผล มันมีอารมณ์พอที่จะยังพิจารณาไว้ นั่นก็คืออารมณ์ความรู้สึกกับเพศตรงกันข้าม คือเรื่องของเพศมันเริ่มสลายตัวไป ความรู้สึกในใจในเรื่องของระหว่างเพศมันมีเหมือนกัน แต่ทว่าน้อยเต็มที
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ยามปกติมันจะไม่มีความรู้สึกกระสันในเรื่องของระหว่างเพศ แต่ว่าบางครั้งเห็นคนเดินผ่านไปผ่านมาก็จะมีความรู้สึกขึ้นมาบ้าง แต่ทว่าด้วยฉับพลันนั่นเองในขณะเดียวจิตก็จะสลายซึ่งความพอใจ เพราะอะไร เพราะอารมณ์เห็นว่าร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรก เห็นผ้าตาทะลุไปถึงหนัง ทะลุจากหนังเข้าถึงเนื้อ ทะลุจากเนื้อเข้าถึงตับ ไต ไส้ ปอด มองเห็นทะลุปรุโปร่งว่าทุกส่วนของร่างกายทั้งคนและสัตว์มันเต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก และมีความเสื่อมโทรมเป็นปกติ อาการของคนเต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะการต้องบริหารร่างกาย ไม่ให้ร่างกายทรุดโทรมด้วยกฎของธรรมดา และในที่สุดมันก็สลายไป ตัวนี้จะทำให้คลายความพอใจในร่างกายของบุคคลอื่นเสีย แม้แต่ร่างกายของตัวเองก็มีความเบื่อหน่าย ไม่พึงปรารถนา แต่ทว่าอารมณ์ความพอใจในร่างกายยังไม่หมด ยังเหลือบ้าง

    ทีนี้มาด้านความโกรธ ก็ยังมีอยู่ แต่มีเบาๆ กระทบปังโกรธปัง เมื่อโกรธแล้วก็ระงับความโกรธด้วยการให้อภัย ใช้เวลานานไม่เกิน ๕ นาที อารมณ์ก็คลายไป และก็ไม่ติดใจในความผิดของบุคคลอื่น

    มาด้านของความโลภ มีอารมณ์จิตสบาย พอใจตามฐานะที่ทรงอยู่ ยังไงๆ ก็คิดว่าถ้าเลี้ยงตัวรอดเป็นพอ นี่ถ้าอารมณ์จิตของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายมีอารมณ์เบาในด้านโลภะ ความโลภ มีความพอปรากฏขึ้นในจิต คิดว่ามีมากมันก็พอ มีน้อยก็พอ แต่ไม่ได้แนะนำไม่ให้ทำมาหากินกันนะ มันได้เท่าไรรู้สึกพอ ปีนี้ได้มากพอ ปีหน้าได้น้อยพอ คือจิตไม่ดิ้นรนโดยการยอมรับนับถือ ว่าเหตุที่ได้มามันก็เป็นไปตามกฎตามความสามารถตามกาลสมัย

    ความโกรธระงับเสียได้โดยฉับไว ไม่มีการผูกพันในการพยาบาท อาการของทางกายที่มีความพอใจในระหว่างเพศหรือวัตถุต่างๆ ความสวยสดงดงามของวัตถุก็ดี ความสวยสดงดงามของร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี มันไหลไปจากใจเกือบหมดสิ้น ถ้ามีอารมณ์อย่างนี้องค์สมเด็จพระมหามุนีทรงตรัสว่าท่านผู้นั้นเป็น พระสกิทาคามี

    เอาละ สำหรับวันนี้การที่จะแนะนำก็หมดเวลาลงแล้ว ต่อนี้ไปขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
    จากหนังสือทางสายเข้าสู่พระนิพพาน (ตอนที่ ๖) หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2009
  2. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อยากให้อ่านเนื้อความถึงจะยาวแต่ก้ดีนะครับ
     
  3. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    มีประโยชน์ ขอบคุณมาก ^-^
     
  5. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    มีประโยชน์ ขอบคุณมาก ^-^
     
  6. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อยากให้อ่านเพื่อเป็นแนวทางปติบัติ หลวงพ่อเทศไว้ดีมาก ยาวซักหน่อยแต่ลองเสียเวลาซักนิด เชื่อว่าในห้องนี้น่าจะมีผู้ สมควรอ่านเพื่อความดีที่ยิ่งขึ้นไป
     
  7. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เป็นพระโสดาบันกันแล้วก้ควรเพียรต่อ เป็นพระ สกิทาคามีกันนะครับ
     
  8. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,708
    ค่าพลัง:
    +1,563
    ใครเป็นอย่างนั้นแล้ว ก็รู้สึกว่าง่าย ใครยังละไม่ได้ก็รู้สึกว่า ยาก
    ครั้นพอมีคนบอกว่าละได้ ไม่ยาก ก็ยังค่อนแคะเหน็บแนมเขา
    เป็นอารมณ์ของ . . .

    การคิดถึงความตายจะเกิดผลได้เร็ว ถ้าคิดถึงความตาย เหมือนคนป่วยระยะสุดท้าย เหมือนความตายอยู่ตรงหน้าแล้ว พูดง่าย แต่ทำยาก เพราะคนที่ยังไม่เคยเฉียดตาย ไม่มีทางเข้าใจความรู้สึกนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2009
  9. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อ่านกันหน่อยนะครับ
     
  10. ผู้เห็นภัย

    ผู้เห็นภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +476
    กราบหลวงพ่อสามครั้งที่เท้าครับ บูชาคุณพระรัตนตรัย ขอเดินตามหลวงพ่อครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2009
  11. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อภัยทาน

    โอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว สำหรับวันนี้ก็จะพูดต่อเมื่อวันวาน แต่การเริ่มต้นก็ขอให้ทุกคนพยายามฝึกฝนอารมณ์ไว้ วิธีการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกนี่เป็นการระงับอาการฟุ้งซ่านของจิต เราอธิบายกันมามาก พูดกันมามาก ไม่อยากจะอธิบายซ้ำ ไม่อยากจะพูดซ้ำ

    สำหรับวันนี้ก็จะได้ปรารภเรื่องของพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีต่อไป เพราะว่าท่านโสดาบันกับสกิทาคามีละสังโยชน์ได้เสมอกัน แต่ทว่ามีอาการระงับต่างกัน หมายถึงว่าพระสกิทาคามี มีการระงับหรือว่าการทำโลภะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง สำหรับพระสกิทาคามีเบื้องต้นเรียกว่า สกิทาคามีมรรค นั่นก็ได้แก่ถือ อภัยทาน เป็นสำคัญ อภัยทานที่จะเกิดขึ้นมาได้ก็อาศัยพรหมวิหาร ๔ ถ้ามีอยู่ในใจ ก็มีแต่ความรักความสงสาร ตัดความอิจฉาริษยา มีอารมณ์วางเฉยหรือว่าเฉยในอารมณ์ต่างๆ ที่เป็นเหตุให้ทำลายอารมณ์จิตของเรา วางไว้ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา

    อันนี้ต้องจำ ที่ว่าต้องจำก็เพราะว่าบางทีพวกเราก็มักจะลืมกันเหมือนกัน มักจะไปยุ่งกับจริยาของบุคคลอื่น อันนี้เป็นการไม่สมควร พูดกันมาทุกวัน ระวังให้ดี อย่าไปยุ่ง ความเป็นพระให้มันเป็นพระอย่าทำตนเป็นพะ เป็นเณรจงเป็นเณร อย่างทำตนเป็นโจร คำว่าโจร หมายความว่า ปล้นความดีของพระพุทธศาสนา ปรับปรุงใจของตนเองเป็นสำคัญ ถ้าทุกคนปรับปรุงใจของตนดีแล้ว มันก็ไม่มีเรื่องไปยุ่งกับคนอื่น ไม่สร้างคนอื่นให้มีความเร่าร้อน

    ในการที่จะเพ่งโทษคนอื่น ต้องรู้ตัวว่าเราเลวเกินไป นี่จงรู้สึกตัวไว้เสมอ รู้สึกตัวว่าเรามันเลว เลวมากจนกระทั่งขังอยู่ในใจไม่ได้ มันจึงอุตส่าห์ไหลมาจากทางวาจา ไหลมาทางกาย นี่แสดงว่าความเลวมันล้นออกมาจากจิต ในข้อนี้ต้องคิดไว้เป็นประจำ อย่าทนงตนว่าเป็นคนดี ถ้าดีแล้วปากไม่เสีย กายไม่เสีย ถ้าปากเสีย กายเสีย ความเลวมันล้น มีความดีไม่ได้

    ทีนี้ สิ่งที่เราจะกันความเลวไม่ให้มันล้นออกมา ก็ต้องอาศัยพรหมวิหาร ๔ คือมีจิตเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร มีจิตอ่อนโยนไม่อิจฉาริษยาใคร เห็นใครได้ดีพลอยยินดีด้วย และมีอารมณ์วางเฉย ยอมรับนับถือกฎของกรรม และพยายามเพ่งโทษโจทก์ความชั่วของตัวอยู่เสมอ อย่าไปโทษโจทก์ความชั่วของคนอื่น ถ้าใจมันยังโทษโจทก์ความชั่วของบุคคลอื่น แสดงว่ายังเลวอยู่ ยังมีความอิจฉาริษยาคนอื่น ยังเลวอยู่ พูดเสียดสีค่อนแคะบุคคลอื่น ยังเลวอยู่ สร้างกรรมชั่ว ทำชั่ว ทำผิดวินัย มันยังเลวอยู่

    นี่พยายามมองความเลวในใจของเราเป็นสำคัญ ถ้าใจของเราไม่เลว เราก็ไม่มีอาการเพ่งโทษบุคคลอื่น ไม่เสียดสีบุคคลอื่น ไม่ประทุษร้ายบุคคลอื่น และอารมณ์แห่งพรหมวิหาร ๔ มีอยู่ เมื่อพรหมวิหาร ๔ มีความละเอียดทรงตัวดี มีอารมณ์ละเอียดจึงจะให้อภัยทานได้ อภัยทานนี่มันมีกำลังหนัก คือว่าหนักกว่าพรหมวิหาร ๔ ธรรมดา พรหมวิหาร ๔ ธรรมดานี่เรามีจิต เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร แล้วมีรัก มีสงสาร ไม่อิจฉาริษยาเขา

    สำหรับอภัยทานนี่ต้องใช้อารมณ์สูงไปกว่านั้น เพราะว่าเราต้องให้อภัยกับคนที่สร้างความชั่วให้เกิดขึ้นกับเรา สร้างความเดือดร้อนให้เกิดขึ้นกับเรา แทนที่เราจะโกรธ แทนที่เราจะพยาบาท เรามีจิตคิดให้อภัยในความเลวของเขา โดยมีความรู้สึกนึกคิดว่าบุคคลคนนี้มีสภาพเป็นทาส ไม่มีความเป็นไท คำว่า ทาส เป็นคนชั้นต่ำ เป็นพระนักบวช ก็นักบวชชั้นต่ำ เป็นอุบาสกอุบาสิกา ก็เป็นอุบาสกอุบาสิกาชั้นต่ำ เพราะว่ายังมีจิตเป็นทาสอยู่ยังไม่เป็นไท อยู่ในเกณฑ์ถูกบังคับบัญชาให้ทำอยู่เสมอ
     
  12. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    สำหรับท่านที่เป็นพระโสดาบันและต้องการคุณธรรมที่สูงขึ้น หลวงพ่อท่านเทศไว้ดีมากๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...