หมวดพระอริยเจ้า : พระอรหันต์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 24 มีนาคม 2009.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    <TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    หมวดพระอริยเจ้า : พระอรหันต์
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>การปฏิบัติเพื่ออรหัตผล <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD vAlign=center>อนุโลมและปฏิโลม

    สำหรับเวลานี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว สำหรับวันนี้ก็จะพูดเรื่องอนุโลมและปฏิโลม เพราะว่าย้อนถอยหลังไปตั้งแต่ต้นถึงอนาคามีเพื่อเป็นการสำรวมจิต การปฏิบัติพระกรรมฐานเขาต้องปฏิบัติกันแบบนี้ เพราะว่าสำหรับวันนี้หรือขณะนี้เราทำถึงอะไร วันต่อไปที่จะทำต่อก็ต้องตรวจจิตเสียก่อนว่าอารมณ์เดิมที่เราปฏิบัติมันทรงอยู่หรือเปล่า หรือว่าการปฏิบัติก้าวสูงขึ้นไป ก็ต้องกลับหลังมาดูใหม่ ถอยหน้าถอยหลัง สำรวจอารมณ์จิต ว่าจิตที่เราปฏิบัติมาแล้วมันมีความบริสุทธิ์ตามลำดับตามสมควรหรือไม่ หรือว่ามีข้อใดข้อหนึ่ง จุดใดจุดหนึ่ง ที่เรายังบกพร่องอยู่จะได้ปรับปรุงอารมณ์จิตให้มันดี ให้สะอาดสม่ำเสมอ ควรแก่ผลที่จะพึงได้

    เมื่อคืนที่แล้วเราได้พูดถึงอนาคามีผล ตอนนี้ก็กลับมาย้อนทวนต้น ว่ากำลังจิตของเราที่จะปฏิบัติเข้าถึงมรรคผล อันดับต้นเราก็มาดูโสดาปัตติผลกันก่อน นี่ต้องย้อนหลังขึ้นมาดูเสมอๆ วิธีที่เขาปฏิบัติกันได้ดีจริงๆ ถ้าปฏิบัติขึ้นไปถึงไหนก็ตามแม้แต่ฌานโลกีย์

    อันดับแรกเขาต้องคุมอารมณ์ตั้งแต่ต้นเข้าไปถึงระดับปลายอย่างเช่น เราปฏิบัติมาถึงฌาน ๔ เวลาเข้าสมาธิจริงๆ เขาจับทีละฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ ตามลำดับ เมื่อฌาน ๔ ทรงได้ตามปกติ ถ้าเราจะปฏิบัติในอรูปฌานก็ต่อจากจุดนั้นขึ้นไป ไม่ใช่อยู่ๆ มาจับปลายมือกันเลยทีเดียว ดีไม่ดีปลายก็ไม่ได้ ต้นก็เสีย ปลายก็ไม่ได้ นี่ต้องถอยหน้าถอยหลังกันเป็นปกติ

    วันที่แล้วเราพูดกันมาฟังกันมาถึงอารมณ์ของอนาคามี ความจริงก็ฟังกันมาหลายวันจนกว่าจะถึงจุดนี้ วันนี้เราก็มาฟังตอนต้น สำรวจจิตดูว่าเรายังมีอารมณ์บกพร่องในอันดับไหน สำหรับพระโสดาปัตติผล พระพุทธเจ้าบอกว่าต้องตัดสังโยชน์ได้ ๓ สำหรับสังโยชน์ข้อ ๑ ได้แค่เล็กน้อย คือ สักกายทิฏฐิ หมายถึงว่าพิจารณาเห็นว่าสภาพร่างกายนี่มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา อารมณ์ที่จะทรงจุดนี้ได้จริงๆ ก็คือพระอรหันต์ สำหรับพระโสดาบันยังมีความรู้สึก

    ท่านบอกว่าพระโสดาบันนี่มีสมาธิเล็กน้อย และมีปัญญาเล็กน้อยเท่านั้น ไม่มาก แต่ว่าพระโสดาบันกับสกิทาคามีอยู่ในเขตของ อธิศีลสิกขา จำไว้ให้ดี หมายความว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีล ฉะนั้นในฐานะที่เป็นผู้บริบูรณ์ไปด้วยศีล จะเห็นว่าสมาธิไม่หนักหนานัก ปัญญาก็จะไม่ก้าวมากเกินไป เป็นแต่เพียงว่ารู้ว่าจะต้องตาย ความตายมีแน่ พระโสดามีความยึดมั่นไม่แปรผัน มีความรู้สึกตัวอยู่ว่าเราจะต้องตายแน่ ฉะนั้นในเมื่อรู้ตัวว่าจะต้องตาย จะไม่มีความประมาทในชีวิต คิดว่าถ้าเราจะตายได้เราตายไปแล้วความสุขจะพึงมี ก็อาศัย พุทธานุสสติกรรมฐาน ธัมมานุสสติกรรมฐาน สังฆานุสสติกรรมฐาน คือมีความยึดมั่น ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์อย่างจริงจัง

    ในเมื่อนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว ก็ต้องปฏิบัติตนเพื่อกันอบายภูมิ นั่นคือทรงศีลห้าบริสุทธิ์สำหรับฆราวาส สำหรับพระภิกษุสามเณรก็มีศีลของตัวต้องรักษาให้บริสุทธิ์ ไม่ปรารภเรื่องการแสดงอาบัติ คือเป็นผู้ไม่มีอาบัติจะแสดง และก็มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ การที่จะมีศีลบริสุทธิ์ได้ การมีศีลบริสุทธิ์คือควบคุมศีลเป็นอารมณ์ เรียกว่าสีลานุสสติกรรมฐาน การที่จะมีศีลบริสุทธิ์ได้จริงๆ ไม่ใช่อยู่ๆ ก็จะมารักษาศีลกันเฉยๆ มาสมาทานกันเฉยๆ ไม่มีกำลังธรรมะส่วนอื่นเข้ามาควบคุม ศีลทรงตัวอยู่ไม่ได้

    ทีนี้ธรรมะที่จะควบคุมศีลได้จริงๆ ก็คือ พรหมวิหาร ๔ นี่เราต้องพิจารณาว่าพรหมวิหาร ๔ ของเรามีครบถ้วนไหม ถ้ามีพรหมวิหาร ๔ ครบถ้วนศีลเราก็บริสุทธิ์ สมาธิก็ทรงตัว นี่ศูนย์กลางแห่งการปฏิบัติจริงๆ เพื่อให้ศีลทรงตัว สมาธิทรงตัว อยู่ที่พรหมวิหาร ๔ พรหมวิหาร ๔ เป็นสมถะอันดับหนึ่งที่จะต้องทรงอยู่เป็นประจำ นอกจากนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้พรหมวิหาร ๔ ของเราบกพร่อง เราก็ต้องใช้ เทวตานุสสติกรรมฐาน เข้าควบคุมกำลังใจอีกจุดหนึ่งนั่นก็คือ หิริ และโอตตัปปะ

    หิริ ความอายต่อความชั่ว โอตตัปปะ เกรงกลัวผลของความชั่ว อันนี้เรียกว่า เทวตานุสสติ การนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ คิดว่าตัวตายไปแล้วหรือว่าความดีที่เราทำทั้งหมด เราไม่หวังผลตอบแทนในชาติปัจจุบัน ไม่หวังผลในการเกิดเป็นเทวดา ไม่หวังผลในการเกิดเป็นพรหม สิ่งที่เราต้องการคือพระนิพพาน อันนี้เรียกว่า อุปสมานุสสติ ทีนี้ เราก็ลองนั่งนึกถอยหลังว่าเราศึกษากันมาถึงพระอนาคามี แต่ความจริงสำนักนี้สอนถึงอรหัตผลมาตั้งแต่ปีที่แล้ว วันนี้เรามาทวนกันใหม่ ทวนสายสุกขวิปัสสโก

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=130>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>ชักมานั่งคิดพิจารณาดูจิตของเรา ว่ามรณานุสสติกรรมฐานนี่เรากำหนดคิดไว้เสมอหรือเปล่า หรือว่าลืมไป หลายๆ วันจึงมีความรู้สึกสักทีว่าเราอาจจะตาย ความจริงมรณานุสสติที่ท่านแนะนำ ให้มีความรู้สึกไว้เสมอว่าเราจะตายเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่คิดว่าจะตายวันหน้า วันโน้น ไม่ใช่อย่างนั้น คิดว่าเวลานี้เราอาจจะตาย หายใจเข้าแล้วเราอาจจะไม่ได้หายใจออก หายใจออกแล้วอาจจะไม่ได้หายใจเข้า ความตายมันไม่มีนิมิตเครื่องหมาย จะตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายเมื่อเป็นเด็ก ตายเมื่อเป็นหนุ่มสาว ตายเมื่อแก่ เอาแน่ไม่ได้</TD></TR></TBODY></TABLE>นี่เราคิดถึงความตายกันวันละกี่ครั้ง ถ้าเราเผลอข้อนี้ก็จงประณามใจของเราว่ามันชั่วเกินไป ที่ไม่ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง ความตายเป็นของธรรมดา เราเห็นกันเป็นปกติ คนตายให้เห็นสัตว์ตายให้เห็น แต่ว่าเราไม่มีความรู้สึกว่าเราจะตาย อย่างนี้ก็แปลว่าเลวเกินไป นี่ใคร่ครวญพิจารณาจิตของตน แล้วก็มาใคร่ครวญถึงพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ ว่าเราใชัปัญญาพิจารณาความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์บ้างหรือเปล่า และความดีที่ท่านปฏิบัติกันได้มานั้น เรานำส่วนใดส่วนหนึ่งมาประพฤติปฏิบัติบ้างหรือเปล่า ถ้าเราไม่คิดถึงข้อนี้ก็จงประณามใจไว้อีกว่าเราเลวเกินไปจะเป็นทาสของอบายภูมิ

    ต่อมาก็พิจารณา ศีล ว่าเราบกพร่องบ้างหรือเปล่า ถ้าเราบกพร่องก็ชื่อว่าเราเลวเกินไปแล้ว อันนี้เรามีนรกเป็นที่ไปแน่นอนถ้าบกพร่องในศีล ทีนี้ก็มองไปดู พรหมวิหาร ๔ ซึ่งเป็นจุดหมาย จุดกลาง ที่ทำให้ทุกอย่างทรงตัว ว่าเรามีอาการทรงพรหมวิหาร ๔ บ้างหรือเปล่า จิตของเรามีความรู้สึกว่าเรารักคนและสัตว์อื่นนอกจากตัวเราเหมือนกับเรารักเราเอง เพราะในฐานะที่เขาทั้งหมดเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน การประพฤติพลั้งพลาดไปบ้างเป็นของธรรมดาของปุถุชน ถึงแม้ว่าพระอนาคามีก็ยังมีพลั้งพลาดแต่เป็นอนุสัย

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=140>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>เมื่ออาการอย่างนี้เกิดกับเพื่อนของเรา เราเคยมีจิตคิดให้อภัยเพราะความรักบ้างหรือเปล่า หรือให้อภัยเพราะการสงสารเขา ในฐานะที่เขายังเป็นผู้มีความรู้น้อย มีสติไม่มั่นคง มีปัญญาไม่รอบคอบ แล้วเราเคยคิดอิจฉาริษยาบุคคลอื่นบ้างไหม เคยว่ากล่าวเสียดสี เพ่งโทษ เรียกว่าทำให้เขาไม่มีความสุข มีในตัวเราบ้างหรือเปล่า กรรมใดที่เป็นเหตุเกินวิสัยที่ชาวโลกจะพึงหนีได้เกิดขึ้นกับเราก็ดี เกิดขึ้นกับคนอื่นก็ดี เราคลายอารมณ์หวั่นไหวได้บ้างหรือเปล่า ทำจิตวางเฉยได้ไหม ในเมื่อกรรมเหล่านั้นมันหลีกเลี่ยงไม่ได้</TD></TR></TBODY></TABLE>มาพิจารณาดูตัวเราว่าอาการ ๔ ประการนี้มีครบถ้วนหรือว่าบกพร่อง คนเราทุกคนที่มีความเดือดร้อน ก็เพราะว่าขาดพรหมวิหาร ๔ นี่เป็นอันดับต้น ถ้าหากว่าจิตเราครบถ้วนในพรหมวิหาร ๔ อยู่ที่ไหนก็ตามมันมีแต่ความเยือกเย็น มันมีแต่ความสุข สุขทั้งเรา และก็สุขทั้งบุคคลที่เนื่องกับเรา ในเมื่อเราพิจารณาถึงพรหมวิหาร ๔ ว่ามันอาจจะมีบ้าง หรืออาจจะไม่มีบ้าง ครบหรือไม่ครบเราก็ไปดูเทวตานุสสติกรรมฐานว่า หิริ และโอตตัปปะ ความอายบาป ความเกรงกลัวบาป บาปคือความชั่ว ชั่วทางกาย ชั่วทางวาจา ชั่วทางใจ

    กายมันไม่ดีพยายามประทุษร้ายบุคคลอื่นเขา ลักทรัพย์เขา ละเมิดในกามารมณ์ วาจามันไม่ดี ชอบพูดคำหยาบ พูดมดเท็จ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล นี่มันไม่ดีประเภทนี้ กรรมไม่ดีทุกอย่าง กำลังใจก็เหมือนกัน คอยคิดประทุษร้ายบุคคลอื่นตลอดเวลา เป็นอันว่าอาการที่กล่าวมาแล้วนี้ถ้ามันมีก็แสดงว่าเราไม่รู้จักความชั่ว ไม่อายความชั่ว ถ้าเราอายความชั่วเราก็ไม่ทำ กลัวว่าผลของความชั่วจะสนองให้เรามีความทุกข์ เราก็ไม่พูด

    นี่อาการทั้งหลายเหล่านี้มีในจิตของเราบ้างหรือเปล่า และอารมณ์หยั่งถึงพระนิพพานมีบ้างหรือเปล่า คิดถึงพระนิพพานวันละกี่ครั้ง นี่เป็นการทบทวนกำลังจิตอันดับต่ำ ถ้าทำได้อย่างนี้ถือว่าต่ำที่สุดในเขตของพระพุทธศาสนา เรานึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ไม่ประมาทในชีวิต เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีศีล ๕ บริสุทธิ์สำหรับฆราวาส พระเณรก็ศีลของตัวทรงพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ มีหิริและโอตตัปปะประจำใจ และมีอุปสมานุสสติกรรมฐาน นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์

    ถ้าเราอารมณ์ทรงได้ขนาดนี้เป็นปกติ ท่านเรียกกันว่า พระโสดาปัตติผล เป็นอารมณ์ที่มีอารมณ์ต่ำที่สุดในด้านของความดีในเขตของพระพุทธศาสนา ใคร่ครวญว่าเราทุกคนใครบกพร่องจุดไหนบ้าง อันนี้ต้องจำไว้นะ แค่นี้มันต่ำที่สุด ถ้าเลวกว่านี้ละมันใช้อะไรไม่ได้เลย เลวกว่านี้เป็นเรื่องของสัตว์ในอบายภูมิ ถ้าเรามีร่างกายเป็นคนก็พึงคิดว่าเราเป็นคนเทียบได้กับสัตว์นรก ตายแล้วก็เป็นสัตว์นรกไป ไปกลับเป็นคนใหม่ไม่ได้ ใจของเราต้องประณามไว้เสมอ

    อย่าทนงตนว่าเป็นผู้วิเศษ คนไหนมีความรู้สึกตัวว่าเป็นผู้ฉลาดบุคคลนั้นก็คือเป็นคนที่โง่บัดซบ พระพุทธเจ้ากล่าวว่าบุคคลใดรู้ตัวว่าเป็นพาล พาลนี่เขาแปลว่าโง่ พระพุทธเจ้ากล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นบัณฑิต เพราะเป็นผู้รู้ คนที่รู้ตัวว่าเป็นคนพาลมันจับความชั่วของตัวไว้เสมอ จ้องดูจิตว่าอารมณ์ชั่วมันจะเกิดเมื่อไร ในเมื่อความชั่วมันจะเกิดขึ้นมาในด้านไหน หาทางตัด นี่บัณฑิตมีความรู้สึกอย่างนี้ ไม่เคยมีความรู้สึกตัวว่าเป็นคนดี มองหาความชั่วของตัวให้พบ เมื่อหาชั่วพบทำลายความชั่วได้แล้วมันก็ดีเอง

    นี่จัดว่าเป็นความดีอันดับต้นสำหรับคนที่เข้าถึงพระพุทธศาสนา เพราะเราเรียนกันอันดับสูง นี่เราไม่ได้เรียนเปะๆ ปะๆ ตายแล้วจะไปไหนก็ช่าง อันนี้เราไม่ใช้ อย่างเลวที่สุดตายแล้วเราไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม และมีชาติเกิดจำกัด ๑ ชาติ ๓ ชาติ ๗ ชาติ เป็นอย่างมาก แล้วไม่ลงอบายภูมิ นี่ศูนย์แห่งการศึกษาเป็นอย่างนี้

    ในอันดับต่อไป ขยับกำลังใจขึ้นไปอีกนิดว่าสำหรับ โลภะ ความโลภ โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง พระโสดาบันยังมีอยู่ แต่อยู่ในขอบเขตของศีล เราทำลายความโลภ ด้วยมีจิตเมตตา กรุณา สงสาร คือมีการให้ทานเป็นปกติ เป็นการตัดความตระหนี่ในจิต ความโลภของเราเบาบางลงบ้าง ความโกรธทำลายลงไปด้วยอำนาจของพรหมวิหาร ๔ เบาบางลงไปบ้างไหม เรามีจิตเคยคิดให้อภัยกับบุคคลผู้มีความผิดที่เราเรียกกันว่า อภัยทาน

    ไม่ถือโทษโกรธเขาและไม่มีความรู้สึกขึ้นว่าเราโกรธ เราอาฆาต แต่พอยับยั้งชั่งใจ ทรงใจได้ เราก็ให้อภัยไม่ถือโทษโกรธต่อไป อันนี้มีแก่เราหรือเปล่า และความหลง คือมีปัญญาสูงขึ้นคิดว่าร่างกายนอกจากจะตายแล้วมันก็เป็นปัจจัยของความทุกข์ ร่างกายไม่ใช่เป็นปัจจัยแห่งความสุข มันเป็นสมุฏฐานแห่งความทุกข์ที่จะพึงมี ถ้าเราหลงใหลใฝ่ฝันว่าต้องการร่างกายอย่างนี้อีกเราก็จะพบกับความทุกข์ หาความสุขไม่ได้ ฉะนั้นเราต้องหนีร่างกาย คือต้องการไปพระนิพพาน เพื่อให้พ้นจากวัฏฏะ อารมณ์อย่างนี้ของเรามีหรือเปล่า นี่เราเรียนผ่านกันมาแล้ว ถ้าไม่มีก็แสดงว่าจิตของเราเลวไป ถ้ามีได้อย่างนี้ทรงเป็นปกติ ก็แสดงว่าเราเข้าถึงความเป็น พระสกิทาคามี

    ต่อไปเราก็พิจารณาอีกทีว่า เราศึกษากันมาถึงพระอนาคามี พระอนาคามีต้องมีอารมณ์จิตเข้มแข็ง พระพุทธเจ้ากล่าวเป็น อธิจิตสิกขา คือมีอารมณ์จิตเข้มแข็งมากไม่ใช่อ่อนแอ คือว่าอารมณ์จิตของเราทรงอยู่ในกายคตานุสสติกรรมฐานกับอสุภกรรมฐาน เห็นคน สัตว์ วัตถุ มีสภาพสกปรกทั้งหมดไม่มีอะไรน่ารัก นอกจากสกปรกแล้วอัตภาพร่างกายนี้ยังเป็นปัจจัยของความทุกข์ ไม่มีการทรงตัว เป็นเรือนร่างที่จิตจะเข้าอาศัยชั่วคราวเท่านั้น มันทำลายตัวมันอยู่ตลอดเวลา ไม่ช้ามันก็สลายตัว เราตัดความมัวเมาในเพศเสียให้หมด ไม่มีความรู้สึกในเพศ อันนี้มีในจิตของเราแล้วหรือยัง เรายังบกพร่องข้อไหน

    ประการที่สอง เราตัดปฏิฆะ คำว่าปฏิฆะนี่คืออารมณ์เข้ามากระทบจิต ไม่ใช่ความโลภ ไม่ใช่ความโกรธ ความพยาบาท ปฏิฆะยังไม่ทันจะโกรธ ยังไม่ทันจะพยาบาท พอวาจาเขาเข้ามาปะทะจิต อาการกายเขาแสดงเข้ามาปะทะจิตว่าแสดงถึงความเป็นศัตรู หรือกลั่นแกล้งเรา เราไม่ยอมรับอารมณ์นั้นทันที ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของชาวโลก เมื่อเกิดมาในโลกมันจะต้องกระทบอารมณ์ ๒ อย่าง คือนินทา กับสรรเสริญ ถือว่ามันเป็นของธรรมดา นินทาเราก็ไม่รับ เฉยไม่มีความรู้สึก สรรเสริญเราก็ไม่รับ ไม่พึงปรารถนา จะถูกนินทาหรือถูกสรรเสริญมีจิตสบาย มีจิตสบายคือทรงตัวเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่รับทั้งสองอย่าง

    เห็นคำนินทาว่าร้ายเป็นปกติธรรมดา ผ่านไป ได้ฟังคำสรรเสริญก็พึงนึกว่า นี่เขาต้องการให้เราเป็นทาส เขาจึงสรรเสริญยกย่องเรา มันเป็นปัจจัยแห่งความทุกข์ เราจะดีเราจะชั่ว ไม่ใช่อยู่ที่คำนินทาและสรรเสริญ มันอยู่ที่เรารวบรวมกำลังใจเราให้เป็นสุข ตอนนี้อารมณ์ของเราจะทรงตัวทั้งเวลาหลับตาและลืมตา เห็นคน สัตว์ และวัตถุที่สวยสดงดงามเราก็เบือนหน้าหนี รู้ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันสกปรก มันเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และก็มีจิตไม่สนใจ ไม่รับสัมผัสใดๆ จากคำนินทาและสรรเสริญ อารมณ์ที่เป็นอิฏฐารมณ์ก็ดี อนิฏฐารมณ์ก็ดี อิฏฐารมณ์ ได้แก่อารมณ์ที่น่าปรารถนาที่ชอบใจ อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ไม่มีอยู่ในใจของเรา มีอารมณ์จิตเป็นสุข อารมณ์อย่างนี้ถ้าทรงตัวถือว่าเราเป็น พระอนาคามี

    นี่เป็นการอนุโลมและปฏิโลม ในการปฏิบัติพระกรรมฐานเขาต้องทำแบบนี้ ฟังแล้วก็นำไปคิดใคร่ครวญพิจารณาให้จิตมันทรงตัวตลอดวัน ทั้งเวลาลืมตาและหลับตาจึงจะใช้ได้ และพิจารณาว่าใจของเราทรงได้อันดับไหน เราทรงพระโสดาบันได้แล้วหรือยัง เป็นพระสกิทาคามีแล้วหรือยัง เป็นพระอนาคามีได้แล้วหรือยัง ถ้าโสดาบันยังไม่ได้ จงตั้งใจไปนรกตามความประสงค์ ต่อจากนี้ไปขอท่านพุทธบริษัททั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    จากหนังสือทางสายเข้าสู่พระนิพพาน (ตอนที่ ๑๒) หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี [​IMG]
    ทบทวนวิธีการปฏิบัติ

    สำหรับวันนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว ต่อไปขอได้โปรดตั้งใจศึกษาธรรมะปฏิบัติเพื่อความสุขของจิตต่อไป สำหรับการที่จะศึกษาต่อก็ขอทบทวนต้น เป็นการแนะนำตามวิธีการปฏิบัติที่แท้จริง เพราะการปฏิบัติพระกรรมฐานจริงๆ ที่เขาทำกันได้เมื่อเริ่มใหม่ๆ เขาจะทวนจากของเก่าไปก่อน พยายามทรงอารมณ์ของเดิมที่ได้แล้วตามลำดับไปถึงที่สุดที่เราพึงได้แล้วจึงจะทำต่อ

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=120>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>สำหรับวันนี้ก็จะขอเตือนให้ท่านทั้งหลายตามนึกถึง สติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นอันดับแรกที่เราพึงปฏิบัติในเบื้องต้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า "จงกำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก" นี่หมายถึงว่าทรงสั่งสอนให้เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ สติ แปลว่าการระลึกนึกได้ ว่าเวลานี้เรามีภาวะเป็นอะไรนึกว่าเราจะทำอะไร สัมปชัญญะ ทราบดีว่ากิจนั้นเราทำแล้วหรือยัง เมื่ออารมณ์จิตคิดว่าเราจะทำอะไร การนั้นที่เราทำมันควรหรือไม่ควร เราจะรู้ได้ด้วยสัมปชัญญะ จิตคิดว่าเราจะทำนี่สัมปชัญญะจะบอกได้เลยว่าไอ้นี่เป็นกรรมที่เป็นกุศลหรือเป็นกรรมที่เป็นอกุศล หรือเป็นความดีหรือความชั่ว ทำตัวให้ไม่ลืมสติสัมปชัญญะ นึกไว้ในด้านของความดี ระมัดระวังความชั่วไม่ให้เกิด พยายามรักษาอารมณ์ไม่ให้บกพร่องในด้านความดี </TD></TR></TBODY></TABLE>พยายามริดรอนความชั่วไม่ให้เกิดขึ้นกับจิต หรือว่าจริยาทั้งหมด ทั้งอารมณ์ของจิต ทั้งวาจาและกายเราจะต้องระมัดระวัง คือใช้สติสัมปชัญญะควบคุมอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตทรงอยู่อย่างนี้ขึ้นชื่อว่าอารมณ์เป็นสมาธิ อันนี้เรามีแล้วหรือยัง พวกเราระมัดระวังกันหรือเปล่า

    ประการที่สอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำว่า "เราจงเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์" ไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง ไม่ยุยงบุคคลอื่นให้ทำลายศีล และไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว ประการที่สาม ทรงแนะนำให้ ระงับนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการ ประการที่สี่ ทำจิตให้ เข้าถึงพรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ อารมณ์อย่างนี้ที่เราจะพึงเข้าถึง พระพุทธเจ้าถือว่าเป็นการเข้าถึงเปลือกของพระศาสนา อาการอย่างนี้จิตของเราพร้อมบริบูรณ์แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่พร้อมก็ปรับปรุงใจเสียให้พร้อม แต่ความจริงศึกษากันมานาน ถ้าอาการอย่างนี้ยังไม่พร้อม ชาตินี้ก็เห็นจะไม่แคล้วอเวจีกันแน่

    อันดับแรกที่มีความสำคัญคือ สติสัมปชัญญะ ถ้าอาการอย่างนี้ยังไม่พร้อม ก็แสดงว่าพวกเรายังไม่มีสติสัมปชัญญะ ถ้าศึกษากันมาขนาดนี้ไม่มีสติสัมปชัญญะ การรับฟังวันละหลายเวลา จะกลายเป็นเอาตาเป็นตากระทู้ เอาหูเป็นหูกระทะ ตากระทู้นี้มันมองอะไรไม่เห็น หูกระทะฟังอะไรไม่ได้ยิน ก็รู้สึกว่าจะไม่ทันแก่ความดีเสียแล้ว ผลที่มันจะติดตามเข้ามาคืออารมณ์ที่เป็นอกุศล บกพร่องในสติสัมปชัญญะ นี่ควรจะต้องทบทวนไว้ตลอดเวลา

    ประการต่อไป องค์สมเด็จพระจอมไตรกล่าวว่ามรรคต้นที่บุคคลเราจะเข้าถึงเป็นของง่าย นั่นก็คือมรณานุสสติกรรมฐาน มีประจำใจหรือเปล่า พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติกรรมฐาน สีลานุสสติกรรมฐาน เทวตานุสสติกรรมฐาน หิริ และโอตตัปปะ และอุปสมานุสสติกรรมฐาน ก็คือการนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ อันนี้เรามีแล้วหรือยัง ศึกษากันมานาน ถ้ายังไม่มีก็รู้สึกว่าแย่ แก้ตัวไม่ทัน นี่ต้องทบทวนจิตไว้เสมอว่าอะไรที่เราจะพึงปฏิบัติประการต่อไป องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์แนะนำให้ใช้พรหมวิหาร ๔ ให้เข้มข้นจนถึงอภัยทาน ที่ท่านกล่าวมาเมื่อกี้นี้ เป็นอาการของ พระโสดาปัตติผล

    เมื่อทำจิตของตนให้เป็นอภัยทาน ความโกรธ ความพยาบาทเกิดขึ้น มีความรู้สึกตัว ไม่ถือโทษโกรธต่อไป ให้อภัยแก่คนผิด ให้อภัยแก่บุคคลผู้คิดประทุษร้าย ไม่ถือโทษโกรธเขา แล้วพยายามกำจัดความโลภด้วยจาคานุสสติกรรมฐาน พยายามกำจัดความโกรธด้วยอาศัย พรหมวิหาร ๔ มีความเข้มข้น พยายามกำจัดความหลงให้ยิ่งกว่าพระโสดาบัน คือนอกจากจะนึกถึงความตายแล้วก็คิดว่าร่างกายนี่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา สภาวะของร่างกายมีการสลายตัวไปในที่สุด ชีวิตไม่สามารถจะคงทนตลอดกาลตลอดสมัยไปได้ ถ้าเราจะตายก็ตายอย่างคนดี เมื่ออยู่ก็เป็นคนดี เมื่อตายแล้วเป็นผีก็เป็นผีดี อย่างนี้เป็นอาการของ พระสกิทาคามีผล

    อย่างนี้บรรดาท่านทั้งหลายทุกท่านทำได้แล้วหรือยัง หรือได้ระดับไหน วัดกำลังใจของเราดูไว้คือต้องทบทวนกันไว้เป็นปกติ ไม่ใช่ว่าก้าวไปข้างหน้าแล้วลืมข้างหลัง อาการของพวกเรามันมีอยู่ ที่ศึกษาไปไกลแต่ว่าจริยาที่ทำไม่ได้อะไรเลย อันนี้มีอยู่ พึงรู้ตัวไว้ มีหลายท่านด้วยกัน ยังไม่ได้อะไรเลย แม้แต่สติสัมปชัญญะขั้นต้นก็ยังไม่ได้ บางทีเรานึกครึ้มๆ ศึกษากันมานานคงจะไปสวรรค์ไปพรหม ไปนิพพาน แต่ถ้ายังไร้อาการสติสัมปชัญญะลดก็อย่าหวังเลย การเกิดเป็นมนุษย์มันก็ไม่มีทางจะเกิดเมื่อมีความรู้สึกอย่างนี้

    ตามที่กล่าวมาเป็นด้านของสกิทาคามี สำหรับพระโสดาบันก็ดี หรือว่าสกิทาคามีก็ดี พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็นด้าน อธิศีลสิกขา เป็นผู้มีศีลยิ่ง บรรเทาความโกรธความพยาบาทบ้างตามสมควร แล้วมาถึงอนาคามีผล อารมณ์ทรงตัวให้ด้านสมาธิ คำว่าทรงตัวนี่ไม่ใช่นั่งหลับตาเป๋ง ลืมตาอยู่อารมณ์ความดีทรงตัวเป็นปกติ และก็มีความเข้มข้น คือทรงอารมณ์เป็นฌาน มีการหนักหน่วงในการทรงจิต นั่นก็คือมีความคิดเห็นตามความเป็นจริงในด้านสักกายทิฏฐิ และอสุภกรรมฐาน เห็นว่าสภาวะร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหมด และวัตถุทั้งหมดเต็มไปด้วยความสกปรก

    ร่วมกับวิปัสสนาญาณ เห็นว่าสกปรกแล้วก็รู้สึกว่าอัตภาพร่างกายของเราก็ดี ของเขาก็ดี เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ เข้ามาประชุมกัน มีความเกิดในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุด มีความรังเกียจในร่างกายที่เรียกกันว่า นิพพิทาญาณ แล้วมีอารมณ์เฉยในด้านกามารมณ์ทั้งหมด ที่เรียกกันว่าสังขารุเปกขาญาณ มีอารมณ์ทรงตัว ไม่มีความรู้สึกในเพศ ไม่มีความกระสันในเพศ และก็ไม่ติดใจพอใจอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส แม้แต่ไม่ใช่คน เป็นวัตถุก็ตาม สีสันวรรณะที่เห็นว่าสวย เราเห็นเป็นของธรรมดาไป

    กลิ่นที่เรียกว่าหอม เราก็ไม่มีความรู้สึกในการติดใจ รสสัมผัสใดๆ ที่พึงเป็นที่พอใจของปุถุชนคนธรรมดาเรางดเว้นได้ อารมณ์ไม่มีความรู้สึกในความต้องการ สำหรับความโกรธความพยาบาทนั้นไม่เกิดกับจิต แม้แต่ปฏิฆะ อารมณ์ที่ไม่พอใจ คือกำลังใจที่จะสร้างความสะดุ้งให้เกิดความไม่พอใจกับวาจาหรือจริยาของบุคคลอื่นที่ทำต่อเรา อันนี้ไม่มี เพราะอาศัยมีพรหมวิหาร ๔ เต็มภาคภูมิ

    ในด้าน สักกายทิฏฐิ ให้มีความรู้สึกว่าอัตภาพร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา อารมณ์ใจที่ทำให้เกิดความไม่พอใจกับบุคคลอื่น หรือที่บุคคลอื่นทำให้เกิดกับเรา รู้สึกว่าอารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ของทาส มันเป็นอารมณ์ของทาส ของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และ อกุศลกรรม ทำใจให้มีความปลอดโปร่งตามอารมณ์อย่างนี้ อารมณ์จิตสบาย เป็นอันว่าตัดกามฉันทะกับปฏิฆะได้เด็ดขาด มีอารมณ์จิตเป็นสุข เป็นสุขอย่างมากเท่าที่เราไม่เคยจะพบกัน อารมณ์สบาย จะมีอารมณ์ความหนักอยู่บ้างก็นิดหน่อย เหมือนกับเราเคยแบกช้างมาแล้วช้างมันหนัก ทีนี้กลับมาใหม่ กลับมาแบกเศษกระดาษ เศษกระดาษก็เป็นเศษกระดาษชิ้นเล็กๆ แค่กระดาษฟุลสแก๊ป ลองพิจารณากันดู ช้างกับกระดาษฟุลสแก๊ปหนึ่งแผ่นนี่มันหนักเท่ากันไหม ความรู้สึกของพระโยคาวจรในระดับนี้จะมีความเบา จะมีความสบาย

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=110>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>ก็ลองพิจารณากันไปว่า ความทุกข์ใหญ่ของเรานี่มันมีทุกข์อะไรเป็นสำคัญ ที่เราทุกข์กันจริงๆ ก็ทุกข์เพราะ ความยึดมั่นถือมั่นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นเรา มันเป็นของเรา แล้วเราก็ไม่อยากให้มันเสื่อมโทรมไป ไม่อยากให้มันสลายตัวไปคือพลัดพรากจากกัน แต่อารมณ์ในตอนนี้นั้น อารมณ์จิตมันมีความรู้สึกว่าทุกอย่างเป็นธรรมดาไปหมด เห็นอาการของความเกิดของเราก็ดี ของบุคคลอื่นก็ดีเป็นของธรรมดา ความเสื่อมโทรมของร่างกายของคนและสัตว์ ของวัตถุถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา การจะสลายไปของวัตถุของร่างกายของคนอื่นและของเราเป็นของธรรมดา

    ตอนนี้มาในด้านโลกธรรม ความมีลาภ ลาภเกิดขึ้น ก็มีความรู้สึกว่าลาภนี้มันสลายตัวแน่ มันไม่สามารถจะทรงอยู่คู่กับเราไปได้ เมื่อลาภสลายตัวไปก็ไม่มีความหวั่นไหว ไม่มีการสะเทือนใจถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ถ้าได้ยศมาก็ไม่มีความเมาในยศ มีความรู้สึกว่าคนที่ได้ยศฐาบรรดาศักดิ์ที่สูงลิ่ว ที่ศักดิ์ศรีสูง แต่ภายในไม่ช้าไม่นานยศนั้นก็สลายไป เพราะการทำลายของตนเอง หรือว่าคนอื่นถอดถอนขึ้น บางทีคนทรงยศใหญ่ เมื่อตายแล้วก็สิ้นสภาพของความเป็นผู้มียศ เห็นว่าการได้รับยศฐาบรรดาศักดิ์ไม่มีความสำคัญของชีวิต ไม่มีจิตผูกพันในยศ ไม่ถือว่ามีความสำคัญ ไม่เห็นว่ายศมีความสำคัญ แล้วก็เมื่อเวลายศจะต้องถูกถอดไปหรือต้องสลายไปด้วยประการใดประการหนึ่ง ก็มีความรู้สึกว่าเป็นของธรรมดา ไม่มีอะไรเป็นที่น่าสะเทือนใจ

    ได้ยศหรือไม่ได้ยศเราก็มีสภาพเท่าเดิม แก่ลงไปทุกวัน มีอาการทรุดโทรมริดรอนทุกวัน และมีความตายไปในที่สุด และอารมณ์ของโลกธรรม ได้แก่คำ สรรเสริญ และนินทา ฟังคำสรรเสริญของคนไม่มีความรู้สึกดีใจ รู้สึกเป็นอาการปกติว่านี่เรื่องธรรมดาของโลก มันต้องมีการสรรเสริญกัน เมื่อมีคนสรรเสริญได้ก็ต้องมีคนนินทาได้ บางทีบุคคลคนเดียวกันบางครั้งสรรเสริญเยินยอเราเสียเกือบตาย แต่บางโอกาสเขาก็ทำลายคำสรรเสริญด้วยการนินทาเข้ามาแทน

    จงถือว่าการสรรเสริญและนินทานั้นเป็นธรรมดาของชาวโลกที่เกิดมาจะต้องกระทบกระทั่งอย่างนั้น อันนี้องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาไม่ถือเอาเป็นสาระสำคัญ โดยทรงแนะนำว่า การนินทาและสรรเสริญไม่ได้ทำให้คนดีหรือคนชั่ว ถ้าคนเราทำความดีแล้วใครจะนินทาว่ายังไงก็ตามที เราก็ไม่เลวไปด้วย เมื่อเป็นคนเลวเขาจะสรรเสริญว่าเราดียังไงก็ตาม เราก็ไม่ดีไปตามคำเขาว่า ดีหรือชั่วมันอยู่ที่การควบคุมกำลังใจ

    ถ้าใจของเราบริสุทธิ์ผุดผ่องเสียอย่างเดียวใครจะว่าดีว่าชั่วไม่มีความสำคัญ เขาจะประฌามเราว่าเลวมันก็เลวไม่ได้ มันก็ต้องดีอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตของเราชั่วเขาจะสรรเสริญว่าดี มันก็ดีไม่ได้เหมือนกัน นี่เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าให้ทรงรักษากำลังใจเป็นสำคัญว่า ควบคุมกำลังใจให้ดีไว้แล้วมันก็ดีเอง ไม่ต้องไปฟังคำชาวบ้านเขา การที่เราจะต้องดีเพราะรอให้ชาวบ้านสรรเสริญนั่นมันเป็นอารมณ์ของความชั่ว

    ทีนี้ความสุขความทุกข์ของโลก มีความร้อนเกินไป ความหนาวเกินไป มีความหิว มีความกระหาย มีความป่วยไข้ไม่สบาย กระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่เราพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง ความแก่เข้ามาถึง ความตายจะเข้ามาถึง ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจจะเข้ามาถึง อาการทั้งหลายเหล่านี้ถ้าเกิดขึ้นถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาเป็นกฏธรรมดาที่เราจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความสบายใจมันเกิด อารมณ์จิตเกิดสุขนี่อารมณ์ของพระอนาคามี มีความสุขใจแบบนี้ ไม่มีอะไรเป็นที่รับสัมผัสแห่งความทุกข์ มีอารมณ์จิตสบาย

    แล้วตัวสำคัญที่ร้ายที่สุดที่สร้างความสุขสร้างความทุกข์ก็คือ อารมณ์ความรักในกามารมณ์ นี่ตัวสำคัญ เป็นตัวสร้างเหตุร้ายให้เกิดขึ้นกับจิตหรือเป็นเหตุให้เกิดขึ้นกับกาย อาศัยความรักเป็นสำคัญที่เราจะต้องเศร้าโศกเสียใจ เพราะอาศัยของรักพลัดพรากไป ภัยอันตรายจะเกิดขึ้นกับเรา โทสะ ความพยาบาทมันจะเกิดขึ้น จะต้องประทุษร้ายซึ่งกันและกันก็เพราะว่าสิ่งที่เรารัก ถ้าความรักที่เนื่องด้วยกามารมณ์ไม่มีสำหรับเราแล้ว มันจะมีภัยอันตรายมาจากไหน จะมีความเศร้าโศกเสียใจมาจากไหน

    ตอนนี้เป็นอันว่ากิเลสหยาบหมดไป ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสว่าอันนี้เป็น อธิจิตสิกขา ก็หมายความว่าต้องทรงอารมณ์ในด้านความรู้สึกอย่างนี้เป็นปกติ มีความเข้มแข็งพอที่จะไม่ทำลายความดีส่วนนี้ไปจากจิต มันจะทรงอยู่ได้ทุกขณะจิตที่ชีวิตเราทรงอยู่ต่อไป ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระบรมครูต่อไป นี่เราทบทวนความจำกันว่าสิ่งที่เราศึกษากันมาถึง พระอนาคามี น่ะ ความจริง เนื้อแท้จริงๆ เราถึงไหนกันแน่ ข้อวัตรปฏิบัติที่เราปฏิบัติอยู่เวลานี้มันถึงไหน

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=86>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>ทีนี้ต่อไปอีกสักนิดหนึ่ง ว่าถึงการก้าวเข้าไปสู่ความเป็น อรหัตผล ค่อยๆ ไป อย่าไปให้มันแรงนัก ไปแรงนักขาบิ่น ดีไม่ดีก็แพลงตกถนน มาดูสังโยชน์ตัวที่ ๖ กับสังโยชน์ตัวที่ ๗ รูปราคะ อรูปราคะ พระพุทธเจ้ากล่าวว่าพระอรหัตมรรค นี่เป็นพระอนาคามีผลแล้วนะ เข้าถึงอรหัตมรรคก็มานั่งพิจารณาดู รูปฌานและอรูปฌาน เพราะว่าพระอนาคามีนี่เคร่งครัดมัธยัสถ์ในรูปฌานและอรูปฌานอย่างยิ่ง รวมความว่ามีจิตเกาะฌานแจเป็นสำคัญ ไม่ยอมให้ฌานคลาดจากจิต คำว่าฌานนี่ก็คืออารมณ์ที่เป็นกุศล เกาะหนักหน่วงมากไม่อยากให้มันคลายอารมณ์ อารมณ์หนัก ไม่ใช่อารมณ์เบา ทีนี้เราก็มานั่งพิจารณาต่อไปว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าจะเป็นอรหันต์แล้วละก็ ต้องพยายามอย่าหลงในรูปฌานและอรูปฌานเกินไป พึงทำความรู้สึกว่ารูปฌานและอรูปฌานนี่เป็นบันไดสำหรับก้าวขึ้นไปสู่ความเป็นอรหันต์เท่านั้น เป็นกำลังที่จะส่งให้เราสูงขึ้นไป อย่าติดอยู่แค่นี้</TD></TR></TBODY></TABLE>ตอนนี้ก็เป็นของไม่ยาก มันเป็นด้านอนุสัย ความจริงจะว่าไม่ยากก็ไม่ใช่ ถ้ายังโง่อยู่มันก็ติด ถ้าเลิกโง่มันก็ไปง่ายๆ เพราะตอนนี้เป็นของง่ายแล้ว เพียงรักษากำลังใจ ทรงรูปฌานหรืออรูปฌานให้ทรงตัว แล้วก็มีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราจะไม่ยับยั้งอยู่เพียงแค่นี้ เราจะแสวงหาความดีต่อไป เพราะความดียิ่งกว่านี้มีอยู่ แต่เราก็จะรักษาความดีที่องค์สมเด็จพระบรมครูแนะนำไว้ในขั้นต้น คือ รูปฌานและอรูปฌาน ทรงอารมณ์ไว้เป็นปกติ แต่ก็ไม่หลงในรูปฌานและอรูปฌาน คิดว่าความดีจากนี้มีอยู่ ที่องค์สมเด็จพระบรมครูแนะนำไว้ว่าต้องทำลายอวิชชา ความโง่ให้ได้

    แต่การก้าวเข้าไปที่จะทำลายอวิชชานั้น จะต้องค่อยๆ ทำไปตามลำดับ จับอันดับปลายทีเดียว เดี๋ยวอารมณ์จะเฝือ นั่นก็คือก้าวเข้าไปสู่การจับมานะ ความถือตัวถือตน ที่องค์สมเด็จพระทศพลว่าเป็นกิเลสที่เป็นตัวสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่ามานะ ความถือตัวถือตนนี่เป็นความลำบาก องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าให้วางภาระ คือการถือตัวถือตนเสีย แต่ว่าอาการอย่างนี้จะกล่าวไปก็ไม่มีเวลาเพราะกาลเวลาที่จะพูดหมดแล้ว

    ต่อไปนี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายรวบรวมกำลังใจให้ทรงตัว พยายามกำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก ตัวรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกเวลาฝึกนี่เป็นการฝึกสติสัมปชัญญะ ฉะนั้นเวลาที่เราจะทำงานทำการใดก็ดีต้องใช้อารมณ์นี้ไม่ใช่ไปนั่งนับลมหายใจ ว่าเราจะทำอะไร นึกไว้ว่าเราจะทำ ขณะที่ทำไปแล้ว ก็รู้ตัวว่าเราทำแล้ว

    นี่การฝึกรู้ลมหายใจเข้าออกก็เพื่อผลงาน งานที่เราจะทำเป็นงานควรหรือไม่ควร ที่ทำไปแล้วมันดีหรือมันเลว รู้ตัว นี่ทรงตลอดวันแบบนี้ ไม่ใช่มานั่งฝึกรู้ลมหายใจเข้าออกกันแล้ว พอเวลาเลิกไปแล้วก็ทำความระยำทุกอย่าง สิ่งที่ควรทำ ไม่ควรทำ ก็ทำดะ นี่มันก็หมายถึงว่าการฝึกไม่มีผล ฝึกไปฝึกมาไปอยู่กับเทวทัตหมด ไม่มีใครเหลือ ต่อไปนี้ขอท่านทั้งหลายพยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    จากหนังสือทางสายเข้าสู่พระนิพพาน (ตอนที่ ๑๓) หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี [​IMG]
    ทบทวนความรู้เดิม

    โอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้สมาทานศีล สมาทานพระกรรมฐานแล้ว วันนี้เราก็มาทบทวนความรู้เดิมกันอีก และก็จะต่อไปถึงอรหัตมรรคเบื้องต้น สำหรับการศึกษาเดิมในอันดับแรกเราศึกษาเพื่อให้อารมณ์เป็นสมาธิ คือ พื้นฐานเดิมมีการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เพราะว่าอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ละเอียด แล้วก็เป็นพื้นฐานใหญ่สำหรับกรรมฐานทั้งหมด อันนี้เราสามารถทรงได้กี่นาที จิตจะทรงอยู่ได้ตามลำดับต้องทบทวนต้นไว้เสมอ

    ประการที่สอง องค์แห่งพระโสดาบัน คือพระโสดาบันมีศีลบริสุทธ์เป็นสำคัญ และมีความเคารพในพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี่เป็นองค์จุดใหญ่ของพระโสดาบัน เราทำได้แล้วหรือยัง อารมณ์ทรงอยู่ได้แล้วหรือยัง ทีนี้สำหรับพระโสดาบันถ้าจะกล่าวโดยจริยา ก็ หนึ่ง มีมรณานุสสติกรรมฐานนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ทรงได้ไหม ประการที่สอง มีพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ เทวตานุสสติ มีพรหมวิหาร ๔ และก็ หิริ และโอตตัปปะ มีอุปสมานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ อันนี้เราทรงได้แค่ไหน ทรงได้ครบถ้วนหรือไม่
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=110>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>นี่ทวนกำลังใจเราอยู่เสมอ อย่าทำใจให้มันลอย และอย่าปล่อยอารมณ์ฟุ้งซ่าน ให้น้อมไปในด้านของกุศล จงคิดว่าถ้าเราไม่สามารถจะทรงความเป็นพระโสดาบันไว้ได้เตือนใจไว้เสมอว่าเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้วก็เสียชาติเกิด เพราะว่าเราจะต้องทุกข์เวทนาไปอีกนับกัปไม่ถ้วน ถ้าทรงความเป็นพระโสดาบันไว้ได้เราก็จะมีการเกิดเพียงแค่มนุษย์กับเทวดา หรือพรหม เป็นแดนของความสุข และก็จะเป็นมนุษย์โดยการจำกัดชาติ ไม่ช้าก็เป็นอรหัตผล นี่ถ้าเราทรงอารมณ์อย่างนี้ได้</TD></TR></TBODY></TABLE>ต่อไปก็คลำความเป็นสกิทาคามี สกิทาคามี มีจริตทั้งหมดเหมือนกับพระโสดาบัน แต่ทว่าระงับความโลภด้วยการมีจาคานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ แล้วปฏิบัติด้วย และก็ระงับความโกรธ โดยการทรงพรหมวิหาร ๔ เข้มข้นจนถึงขั้นอภัยทาน คือให้อภัยกับคนที่มีความผิด ไม่ถือโทษโกรธเคือง ไม่ดึงเอาไว้นานๆ เรียกว่าไม่มีพยาบาท ไม่จองล้างจองผลาญบุคคลคนนั้น บรรเทาความหลงไว้ได้มากกว่าพระโสดาบัน นอกจากว่าจะนึกถึงความตายเป็นอารมณ์แล้ว ก็เห็นโทษของการเกิด เห็นโทษของการมีขันธ์ ๕ ว่ามันเป็นปัจจัยของความทุกข์ นี่เป็นอาการของพระสกิทาคามี เราทำได้แล้วหรือยัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อารมณ์พระนิพพานเรามีความจับแน่นหนาขึ้น

    ทีนี้ต่อไป สำหรับพระอนาคามีเราศึกษากันมาแล้ว พระอนาคามีตัดสังโยชน์ได้อีก ๒ ตัดได้เด็ดขาด นั่นก็คือ กามฉันทะ เห็นโทษของกามคุณ อาการเสวยกามคุณเป็นไปด้วยความทุกข์ เป็นปัจจัยของความทุกข์ ซึ่งเราจะเห็นได้ง่ายๆ ที่คนแต่งงานเขาไม่มีอะไรเป็นสุข อยู่คนเดียวเป็นสุขดีกว่า ครองคู่เข้ามาต้องเอาใจคนอีกพวกหนึ่ง ถ้ามีลูกมีหลานมีเหลนขึ้นมา ก็ทุกข์หนักขึ้น และกามคุณไม่ได้ให้คุณแต่ประการใด ดึงมาซึ่งความทุกข์อยู่ตลอดเวลา มีความใคร่ไม่มีที่สิ้นสุด เราคนเดียวมีความปรารถนาวัตถุชิ้นเดียว ถ้าอยู่สองคนครองคู่ปรารถนาวัตถุสองชิ้นหรือสองเท่า ถ้าหากว่ามีลูกมีเต้าก็มีความปรารถนามากขึ้น ต้องลำบากมากขึ้น เป็นปัจจัยของความทุกข์

    นี่เราพิจารณาแล้วก็เพิ่มกายคตานุสสติกับอสุภสัญญา คืออสุภกรรมฐานมากขึ้น จนกระทั่งจิตตัดกามารมณ์ได้เด็ดขาด โดยมาเทียบกับร่างกายว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ร่างกายเขาก็ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของเขา มันเป็นเรือนร่างที่จิตอาศัยชั่วคราว ระงับหรือว่าตัดความกำหนัดในเพศ หรือว่าในสีสันวรรณะเสียให้หมด ไม่มีความหลง ไม่มีความปรารถนาในสีสันวรรณะและเพศใดๆ จนกระทั่งความรู้สึกในกามารมณ์หายไป เหือดแห้งสนิท

    สังโยชน์ข้อที่ ๒ คือ ปฏิฆะ สำหรับพระสกิทาคามี มีความโกรธเบาบาง ความโกรธเกิดขึ้นให้อภัย นี่แสดงว่าความโกรธเบา สำหรับพระอนาคามีไม่โกรธเลย ตัดอารมณ์ปฏิฆะ คือการกระทบใจหายไป มีแต่ความเมตตาปรานีเข้าสู่ใจ สำหรับพระสกิทาคามีเกิดเป็นคนอีกหนเดียวก็ไปนิพพาน พระอนาคามีตายจากคนไปเป็นเทวดาหรือพรหมแล้วนิพพานบนนั้น นี่ความรู้เดิม เราศึกษากันมาได้ถึงเพียงนี้เราทำได้แค่ไหน วัดกำลังใจไว้ให้เป็นปกติ

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=180>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>ทีนี้สำหรับพระอรหันต์ ความจริงถ้าเป็นพระอนาคามีแล้วเป็นพระอรหันต์ไม่ยาก เพราะว่ากิเลสหยาบทั้งหมดเราทำลายลงไปเสียแล้วจากพระอนาคามี สำหรับพระอรหันต์ก็ หนึ่ง เราไม่เมาในรูปฌาน สอง เราไม่เมาในอรูปฌาน นี่หมายความว่าเราพอใจในรูปฌาน และอรูปฌานเหมือนกัน ต้องทรงไว้เป็นปกติ แต่จิตใจของเราไม่ยับยั้งไว้เพียงนี้ ว่ารูปฌานดี หรืออรูปฌานดี ดีเกินไปกว่าที่เราไม่ต้องการอย่างอื่น มีความรู้สึกอยู่เสมอว่ารูปฌานและอรูปฌานเป็นกำลังใหญ่สำหรับจิตที่จะกดกิเลสให้จมลงไปแต่มันยังฆ่าไม่ตาย</TD></TR></TBODY></TABLE>ทำใจให้มั่นคง มีอารมณ์หนัก อารมณ์ตอนนี้ยังหนักอยู่ มีความมั่นคง จับจิตแน่น เราจะสังเกตได้ ท่านที่ทรงอยู่แค่นี้หรือต่ำไปกว่านี้ จะพูดน้อย เคลื่อนไหวน้อย ระมัดระวังตัวมาก

    ทีนี้เมื่อเห็นว่ารูปฌานและอรูปฌานเป็นของดีก็จริงแหล่ แต่ทว่าว่ายังไม่ถึงที่สิ้นสุดที่เราจะต้องปฏิบัติ เราก็ไม่มีความประมาท ก้าวต่อไปตอนนี้ความจริงระวังตัวให้ดีนะ เราอาจจะเผลอว่าเราเป็นอรหันต์ไปเสียก็ได้ เพราะอารมณ์ของเรามันอยากอยู่แล้ว ในเมื่อเราทำลายความหยาบของจิตได้ จิตมันเบามีความปลอดโปร่งมีความเป็นสุขเพราะอารมณ์แห่งการรักในเพศ รักสีสันวรรณะไม่มี อารมณ์แห่งความโกรธไม่มี เราไม่มีความประมาทในชีวิต เราอาจจะคิดว่าเราเป็นพระอรหันต์ แต่ยัง นี่เราต้องพิจารณาต่อไปว่าการไม่เมาในรูปฌานและอรูปฌานนี้เป็นของไม่ยาก เป็นแต่เพียงใช้กำลังจิตก้าวไปหน่อยเดียวก็ใช้ได้ ว่าเราไม่ประมาทในชีวิตคิดว่าตอนนี้ยังดีไม่พอ

    ทีนี้สำหรับการก้าวต่อไปนี่เป็นของหนัก นั่นก็คือการตัด มานะ ความถือตัวถือตน พระอนาคามียังมีมานะ การถือตัวถือตน การที่จะเข้าไปตัดมานะ เขาตัดกันตรงไหน ความจริงกิเลสทั้งหมดตัดตัวเดียวที่สักกายทิฏฐิ เห็นว่าอัตภาพร่างกายมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราเสียอย่างเดียว เราก็หมดความรู้สึกที่จะถือตัวถือตน เราถือตัวถือตนว่าเราดีกว่าเขาบ้าง เราเสมอเขาบ้าง เราเลวกว่าเขาบ้าง เอาอะไรมาเป็นเครื่องวัด เอาฐานะ เอาศักดิ์ศรี เอาวิชาความรู้ เอาสภาวะที่คงอยู่เป็นเครื่องเหยียดหยามกันยังงั้นรึ มันก็ผิดทั้งนั้น

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=160>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>อะไรมันจะดีขันธ์ ๕ ของเรากับขันธ์ ๕ ของเขาน่ะดูซิว่าอะไรมันจะดีกว่ากัน เขามีอาการ ๓๒ เราก็มีอาการ ๓๒ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นเหมือนกัน มีความเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลางเหมือนกัน ก็มีการสลายตัวไปในที่สุดเหมือนกัน นี่เป็นจุดแรกที่เราจะพึงมองเห็น แล้วเราก็ลองไปนั่งวัดดูว่า เราดีกว่าเขา ชั่วกว่าเขา มันตรงไหน เอาเงินเอาทองที่มีมากกว่ากันมาเป็นเครื่องวัดยังงั้นรึ แล้วเงินทองมันห้ามความแก่ ความป่วย ความตาย ห้ามทุกข์ได้ไหม มันก็ไม่ได้</TD></TR></TBODY></TABLE>เป็นอันว่าเราจะมีทรัพย์สินสักเท่าใดก็ตามที เราก็ต้องแก่ ต้องป่วย ต้องตาย มีทุกข์เหมือนชาวบ้าน แล้วเอาอะไรมาดีกว่าเขาล่ะ ทีนี้หากเราจะว่ามียศฐาบรรดาศักดิ์ ไอ้ยศฐาบรรดาศักดิ์มันช่วยอะไรให้เราดีขึ้นมาบ้าง ช่วยไม่ให้เราแก่ได้ไหม ช่วยไม่ให้เราตายได้ไหม ช่วยไม่ให้เราป่วยไหม ช่วยไม่ให้เรากระทบกระทั่งกับกฎของธรรมดา คือโลกธรรมได้หรือเปล่า ไม่มี ไม่ได้อีก มันห้ามไม่ได้

    ทีนี้เอาตระกูลมาเป็นเครื่องวัด เราเกิดเป็นตระกูลของเศรษฐีบ้าง เกิดเป็นตระกูลของคหบดีบ้าง เกิดเป็นตระกูลของกษัตริย์บ้าง เกิดเป็นตระกูลของขุนนางผู้ใหญ่บ้าง แล้วก็ต้นตระกูลของเราดีกว่าชาวบ้านยังงั้นรึ ต้นตระกูลของชาวบ้านเขาตายเป็นแถวๆ ต้นตระกูลของเราตายบ้างหรือเปล่า ต้นตระกูลของชาวบ้านมีความป่วยไข้ไม่สบาย ต้นตระกูลของเรามีความป่วยไข้บ้างไหม ต้นตระกูลของเขาแก่ ต้นตระกูลของเราแก่เป็นไหม มันก็เหมือนกันอีก

    ในเมื่อสภาวะมันเหมือนกัน ก็มองเข้าไปดูอีกที ว่าจิตที่เกาะขันธ์ ๕ จิตที่มีมานะทิฐิเป็นสำคัญ ถือว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขาน่ะ มันเป็นจิตดีหรือจิตทราม เราก็จะเห็นว่าไอ้การมานะตัวนี้สร้างอารมณ์จิตให้เป็นทุกข์ ถ้าเราคิดว่าเราดีกว่าเขา เราก็มีเพื่อนน้อย แล้วเพราะอะไร เพราะคนที่เราเห็นว่าเขาเลวกว่าเรา ต่ำต้อยกว่าเรา เราก็คบเขาไม่ได้ ในเมื่อมีคนประเภทนั้นเข้ามา ใจเราก็เกิดความไม่สบาย ไอ้การไม่สบายแบบนี้ เพราะรังเกียจเขา จิตมันเป็นสุขหรือ เป็นอันว่าเราหาเพื่อนยาก เมื่อมีเพื่อนน้อยความทุกข์มันก็มาก ความชื่นอกชื่นใจมันก็ไม่มีในเมื่อเวลาเข้าไปสัมผัสกับเพื่อน

    ทีนี้ถ้าเราเห็นว่าเราเสมอเขา เราเท่ากับเขา มันเท่ากันตรงไหน ไอ้คนเท่ากันจริงๆ น่ะมันจะต้องเกิดเสมอกัน แก่ด้วยกันพร้อมๆ กัน ป่วยพร้อมๆ กัน หิวพร้อมๆ กัน ตายพร้อมๆ กัน แล้วความรู้สึกต่างๆ มันต้องมีความสม่ำเสมอกันหมด เขาสุขเราสุข เขาทุกข์เราทุกข์ แต่อาการอย่างนี้มันมีสำหรับเรา มีกับเขาสม่ำเสมอกันไหม ไม่มี ต่างคนต่างมีความรู้สึก ต่างคนต่างปรากฏ ทางกายเสื่อมโทรมไม่เสมอกัน เกิดวันเดียวกัน เดือนเดียวกัน ปีเดียวกัน แต่ทว่าเรากับเขามีสภาวะต่างกัน เราหิว เขายังไม่หิว เราป่วย เขายังไม่ป่วย เรามีความทุกข์ เขายังมีความสุข นี่มันไม่เสมอกัน แล้วเราจะไปตั้งหน้าตั้งตาคิดว่าเราเสมอกับเขาได้ยังไง

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=160>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>นี่ตัวการที่คิดว่าเราเสมอกับเขา มันเป็นตัวทะเยอทะยาน การที่คิดว่าเราดีกว่าเขา เป็นการข่มขู่ ทะเยอทะยาน คิดทะนงตนว่าตนเป็นใหญ่ ถ้าเราคิดว่าเราเสมอเขามันก็เสียอีก เพราะบางคนเขามีจริยาเลว เราคิดว่าเรากับเขาเสมอกัน ก็ต้องพยายามเลวตามเขา ความเลวมันเป็นปัจจัยของความทุกข์ ไม่ใช่ปัจจัยของความสุข ทีนี้ถ้าหากว่าเขาดีกว่าเรา เราดีไม่เท่าเขา แต่เราคิดว่าเราดีเท่าเขา ก็เกิดความประมาท ประมาทอะไร การทะเยอทะยานคิดว่าเราดีก็เป็นการทำลายความดีที่เราจะพึงแสวงหาต่อไป </TD></TR></TBODY></TABLE>เป็นอันว่าการที่คิดว่าเราเสมอเขา มันก็เป็นส่วนแห่งความเลว ทีนี้ต่อมาอีกข้อหนึ่ง เราคิดว่าเราเลวกว่าเขา ตอนนี้ก็เป็นการทำลายความดีของตนเอง จิตใจมันก็มีความสุขไม่ได้ เป็นอันว่า การถือตัวถือตนว่าเราเสมอเขาก็ดี เราดีกว่าเขาก็ดี เราเลวกว่าเขาก็ดี เป็นปัจจัยของความทุกข์

    ทีนี้ เราจะวางใจยังไงถึงจะสบาย อาการที่เราจะวางใจในตอนนี้ ก็วางใจแต่เพียงว่า "ชราปิ ทุกขา" ความแก่เป็นทุกข์ "มรณัมปิ ทุกขัง" ความตายเป็นทุกข์ "โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัส สุปายาส" ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ ทุกข์มาจากไหน ทุกข์มาจากการเกิด แล้วการเกิดนี่มันมาจากไหน การเกิดมาจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม

    เป็นอันว่าวางใจเป็นกลาง ใครจะดีใครจะชั่วยังไงก็ช่าง เราทำใจไว้เสมอ เห็นคนใดเขาดี ก็ยินดีกับเขา เห็นคนใดเขามีความสม่ำเสมอกับเราโดยธรรมเราก็พอใจ เห็นใครเขาเลวกว่าเรา เราก็แสดงธรรมสังเวช ว่าเขาไม่น่าจะประมาทในชีวิต ควรจะคิดปรับปรุงตัว ควรจะคิดปรับปรุงใจให้มีความดี เป็นอันว่าเราไม่เหยียดหยามใคร เราจะไม่ตีเสมอใคร เราจะไม่ข่มขู่ใคร รักษากำลังใจของเราให้เป็นสุข แต่ถ้าอารมณ์อย่างนี้ไม่มี มีอารมณ์อย่างเดียวที่เราเรียกกันว่า อุเบกขา วางเฉย เขาเรียกกันว่า อัพยากฤต คำว่าอุเบกขาวางเฉยแบบอัพยากฤตตัวนี้ มันไม่ไปเกี่ยวข้องกับความสุข และไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับความทุกข์ มันเฉยเป็นธรรมดา
    * อัพยากฤต, อัพยากตะ : บอกไม่ได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล คือเป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล


    เอาเป็นว่าใครเขาจะยังไงก็ช่าง ปรับปรุงใจของเราให้มีความสุข เห็นคนดีเข้ามา เห็นคนเสมอเรามา เห็นคนเลวเข้ามา เราก็มีจิตใจชื่นบานตลอดเวลา ไม่เหยียด ไม่หยาม ไม่ตีเสมอ ไม่ข่มขู่ ทำใจสบายเป็นกลางๆ ถ้าทำใจอย่างนี้ตัวมานะทิฐิมันก็ไม่มี มานะทิฐินี่เป็นปัจจัยของความทุกข์ ระวังให้ดี มันจะดึงเราให้จมไปในอบายภูมิได้ แต่หากว่าเป็นพระอนาคามีแล้ว ตัวมานะทิฐิมันนิดเดียว ยังมีความรู้สึกอยู่ว่า แหม นี่เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ว่าจิตยังประกอบไปด้วยความเมตตาปรานีมาก การทะนงตนเหมือนคนที่มีกิเลสหนาไม่มี นี่เป็นอันว่าพระอนาคามีมีมานะอยู่นิดหนึ่งไม่ใช่หยาบ

    อย่างที่พูดมาเมื่อตะกี้นี้ ที่พูดมาแล้วเมื่อสักครู่นี้ก็หมายความว่าเป็นมานะของคนที่มีกิเลสหนาของคนเป็นปุถุชน สำหรับพระอนาคามีมีพรหมวิหาร ๔ ครบถ้วนแล้ว เวลานี้เราก้าวไปสู่ความเป็นพระอรหัตมรรค ทีนี้ตัวมานะ ถือตัวถือตนนั้นมันมีอยู่นิดเดียว ยังมีความรู้สึกอยู่ว่าเราเป็นกษัตริย์ มีความรู้สึกว่าเราเป็นขุนนางผู้ใหญ่ มีความรู้สึกอยู่ว่าเรามีฐานะดี มีฐานะจน อยู่ในเพศอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ว่าอารมณ์อย่างนี้มันมีนิดๆ หน่อยๆ เป็นเพียงแค่อนุสัยเท่านั้น ไม่มีปัจจัยถึงให้เกิดโทษ ไม่มีปัจจัยถึงให้เกิดทุกข์หนัก แต่ว่ามันก็เป็นอารมณ์ถ่วง ยังไม่สามารถให้เราก้าวเข้าไปสู่พระนิพพานในชาตินี้ได้

    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=135>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>ฉะนั้นจงวางอารมณ์เสีย ใครเขาจะยังไงก็ช่าง เขาจะดี เขาจะชั่ว เขาจะเลว เขาจะยังไงก็ตามเถอะ ไม่สนใจ เห็นหน้าคน เราคิดไว้เสมอว่าเป็นคนที่เราควรแก่การปรานี เห็นหน้าสัตว์ก็คิดว่าเป็นสัตว์ควรแก่การปรานี พยายามไม่ถือตน คนและสัตว์ก็ตาม ถือว่ามีธาตุ ๔ คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ เสมอกัน มีอาการ ๓๒ เหมือนกัน มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง มีการสลายตัวไปในที่สุดเหมือนกัน สร้างอารมณ์ให้เป็นสังขารุเปกขาญาณในวิปัสสนาญาณ </TD></TR></TBODY></TABLE>อย่างนี้การระงับการถือตัวถือตนย่อมเป็นของไม่ยาก อย่ามองคนด้วยฐานะ อย่ามองคนด้วยศักดิ์ศรี อย่ามองคนด้วยความรู้ความสามารถ มองคนแต่เพียงว่าสภาพของเขาเป็นวัตถุเหมือนสภาพของเรา จิตใจของเราพร้อมในการเมตตาปรานี ไม่ถือตน เขาจะมาในฐานะเช่นใดก็ช่าง ถือว่าเป็นเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันหมด การกำหนดอารมณ์อย่างนี้ เราก็สามารถจะกำจัดตัวมานะการถือตัวถือตนเสียได้ อย่างนี้เรียกว่า อรหัตมรรค

    ตอนนี้ อรหัตมรรคนี่มันยังไม่หมด อุทธัจจะ ตัวสำคัญ คำว่า อุทธัจจะ แปลว่า อารมณ์ฟุ้งซ่าน ยังมีความต้องการนอกเหนือไปจากพระนิพพาน นั่นก็หมายความว่า รู้สึกว่ามีอารมณ์เป็นสุข มีอารมณ์เป็นสุขนี่บางครั้งมันเกิดความพอใจ คิดว่านี่เราจะทำไปทำไม ดิ้นรนไปทำไม ในเมื่อเราเป็นพระอนาคามีแล้วตายเป็นเทวดาหรือพรหมเราก็นิพพานบนนั้น บางครั้งมีอารมณ์ประมาทอยู่นิดหนึ่ง แต่ว่าไม่ได้ประมาทในด้านของอกุศล

    ประมาทในการยับยั้งจิตของตนว่า ทำไปก็เหนื่อยเปล่าๆ ใจเราก็สบายแล้ว เราตายเป็นพรหม เป็นเทวดา แล้วก็ไปนิพพาน เรายับยั้งความดีไว้แค่นี้ดีกว่ากระมัง บางครั้งมันมีความรู้สึกอย่างนี้ขึ้นมา ถ้าหากจะกล่าวว่าเป็นโทษรึ มันก็ไม่เป็น ไอ้โทษไอ้ทัณฑ์น่ะไม่เป็น แต่ว่าเป็นการกักตัวเองไว้ในชั่วขณะหนึ่ง

    ทีนี่ทำยังไง เราก็ตั้งใจไว้โดยเฉพาะ รักษาอารมณ์อุปสมานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ ว่าเราต้องการพระนิพพานในชาตินี้ โดยสรุปตัวท้ายเสียทันที คือตัด อวิชชา ความโง่ มานั่งใคร่ครวญว่า มนุษย์โลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดี เป็นดินแดนที่ไม่พ้นความทุกข์ ความทุกข์มันมีกับเราได้ทุกขณะจิต เราเป็นมนุษย์เต็มไปด้วยความร้อน ความหนาว ความหิว ความกระหาย ความปวด ความเมื่อย ป่วยไข้ มีความไม่สบาย มีความตายไปในที่สุด

    มีการกระทบกระทั่งกับอารมณ์ของชาวโลก เรื่องโลกมนุษย์ไม่ดี เทวโลกกับพรหมโลกก็พักความดีอยู่ชั่วคราว ไม่มีความหมาย ใจเราต้องการอย่างเดียวคือ พระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นอารมณ์

    ถ้าจิตถึงตอนนี้ละบรรดาท่านพุทธบริษัท จิตจะเบามากเหมือนกับมีความรู้สึกว่าเราไม่ได้อะไรเลย จิตมันสบายๆ กำลังฌานที่เราเคยมั่นคง กดอารมณ์นิ่ง จะกระทบกระทั่งอาการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามที ไม่มีความรู้สึกว่ามันจะมีความลำบาก ไม่มีอะไรที่จะมีความหนัก ไม่มีอะไรที่จะทำจิตใจของเราให้เร่าร้อน ได้ยินเสียงคนด่าก็สบายใจ คิดว่าเขาไม่น่าจะทำความชั่ว เป็นปัจจัยของความทุกข์ เห็นใครเขาสรรเสริญเรา ก็ไม่มีความสุขใดๆ ไม่สั่นคลอน การสรรเสริญไม่มีความหมาย เราดีขึ้นมาได้ไม่ใช่อาศัยการสรรเสริญ หรือว่าถ้าเราไม่ดี ก็ไม่ใช่อาศัยการแช่งด่าของบุคคลใด ความดีจะมีขึ้นมาได้ หรือความไม่ดีจะมีขึ้นมาได้ ก็เพราะอาศัยเราปฏิบัติเท่านั้น ถ้าจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททรงได้อย่างนี้ เรียกว่า อรหัตผล

    เอาละ บรรดาท่านพุทธศาสนิกชน ต่อจากนี้ไปกาลเวลาก็สมควรแล้ว ขอทุกท่านตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    [​IMG]
    จากหนังสือทางสายเข้าสู่พระนิพพาน (ตอนที่ ๑๔) หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ๗ รูปราคะ อรูปราคะ พระพุทธเจ้ากล่าวว่าพระอรหัตมรรค นี่เป็นพระอนาคามีผลแล้วนะ เข้าถึงอรหัตมรรคก็มานั่งพิจารณาดู รูปฌานและอรูปฌาน เพราะว่าพระอนาคามีนี่เคร่งครัดมัธยัสถ์ในรูปฌานและอรูปฌานอย่างยิ่ง รวมความว่ามีจิตเกาะฌานแจเป็นสำคัญ ไม่ยอมให้ฌานคลาดจากจิต คำว่าฌานนี่ก็คืออารมณ์ที่เป็นกุศล เกาะหนักหน่วงมากไม่อยากให้มันคลายอารมณ์ อารมณ์หนัก ไม่ใช่อารมณ์เบา ทีนี้เราก็มานั่งพิจารณาต่อไปว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าจะเป็นอรหันต์แล้วละก็ ต้องพยายามอย่าหลงในรูปฌานและอรูปฌานเกินไป พึงทำความรู้สึกว่ารูปฌานและอรูปฌานนี่เป็นบันไดสำหรับก้าวขึ้นไปสู่ความเป็นอรหันต์เท่านั้น เป็นกำลังที่จะส่งให้เราสูงขึ้นไป อย่าติดอยู่แค่นี้






    ตรงนี้แสดงไห้เห็นหลายอย่างนะครับไม่ทราบว่าเคยรู้รึเปล่า กว่าจาต้องละฌาณกันนั้นควรจะถือตอนไหนละตอนไหน ต้องรู้ตัวเองก่อน
     
  3. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    กว่าจะเป็นพระอรหันต์ นี่ต้องทำความเข้าใจให้ดีก่อนนะคับทำแบบคลำๆทางไปไม่ถึงจิงๆ อย่าไห้ต้องเสียเวลาทางลัดทางตรงมีอยู่แล้วอย่ามัวไปอ้อมครับ
    ข้อความนี้ หลวงพ่อพระราชพรหมยานแสดงไว้ได้ดีมากและละเอียดด้วย ทั้งยังตรงและถูกต้อง
    ควรจะต้องรู้กันซะทีนะครับตัวไหนต้องยึดไว้ก่อนเพื่อละตัวไหนต้องละก่อนเพื่อก้าวอย่าปล่อยไห้ความไม่รู้บดบังทางตรงต้องไปอ้อมกันไกลเสียเวลา
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ราคะ ไม่ได้หมายแค่รูป ยังมีครบทั้ง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมมารมณ์ ด้วย..... หากเข้าใจว่า ราคะหมายแต่เรื่องรูป ที่เป็นเพศตรงข้าม ก็ยังต้องเพิ่มเติมใหม่ ...
    การละ ราคะ ก้ต้องฝึก เจริญสติสัมปชัญญะ ให้มาก

    หากยัง เห็นรูปด้วย ตา แล้วยัง เข้าไปถลำยินดี ก็ยังเรียกว่า ละไม่ได้
    หากยัง เห็นรูปด้วยนึกคิดเอา แล้วยัง เข้าไปถลำยินดี ก็ยังเรียกว่า ละไม่ได้

    หากยัง ได้ฟังเสียงด้วย หู แล้วยัง เข้าไปถลำยินดี ก็ยังเรียกว่า ละไม่ได้
    หากยัง ได้ฟังเสียงด้วย นึกคิดเอา แล้วยัง เข้าไปถลำยินดี ก็ยังเรียกว่า ละไม่ได้

    หากยัง ได้กลิ่นด้วย จมูก แล้วยัง เข้าไปถลำยินดี ก็ยังเรียกว่า ละไม่ได้
    หากยัง ได้กลิ่นด้วย นึกคิดเอา แล้วยัง เข้าไปถลำยินดี ก็ยังเรียกว่า ละไม่ได้

    หากยัง ได้ลิ้มรสอาหารด้วย ลิ้น แล้วยัง เข้าไปถลำยินดี ก็ยังเรียกว่า ละไม่ได้
    หากยัง ได้ลิ้มรสอาหารด้วย นึกคิดเอา แล้วยัง เข้าไปถลำยินดี ก็ยังเรียกว่า ละไม่ได้
     
  5. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,065
    ค่าพลัง:
    +2,682
    อนุโมทนาสาธุ..ทั้ง จขกท และคุณ วิษณุ ครับ..

    ละกาม ไม่ใช่แค่การละเซ็กเพศสัมพันธ์เท่านั้น มันต้องละตั้งแต่จิตเริ่มจะทะยานออกจนไปนึกคิด จนไปเห็น จนได้กระทำ..
    อย่างนี้เป็นต้นฯ ส่วนทวารทั้ง6 ก็เช่นเดียวกันจ่ะ
    ค่อยๆ ทำไป เริ่มจากระเอียดมาหยาบ หรือ จากหยาบไประเอียดก็ตามแต่ถนัด
     
  6. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    ถูกต้องที่สุดครับท่านวิษณุครับ ปล่อยจิตให้มันทำงานของมันเอง มันจะรู้เอง ไม่ใช่ว่าเราจะไปนึกไปคิดแทนมันได้ครับ มันหลุดมันก็บอกเอง มันผ่านไปขั้นไหน มันก็บอกเอง รูปและนาม ไม่ใช่ของเรา เมื่อถึงที่สุดมันจะดับที่ตัวมันเอง แล้วเข้าสู่ทางสายพระนิพพานครับ

    อนุโมทนากับทุกๆท่านครับ
     
  7. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อนุโมทนา ทุกท่านครับ อยากให้ผู้ที่ต้องการนิพพานจริงๆได้อ่าน บางคนบอกอยากได้นิพพานๆ จะได้รู้ด้วยต้องทำเช่นไร
     
  8. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ขอเน้นอีกทีหลวงพ่อเทสไว้ดีมากๆๆเลยครับ ทำตามได้แน่ๆ
     
  9. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    oo
     
  11. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ตรงนี้แสดงไห้เห็นหลายอย่างนะครับไม่ทราบว่าเคยรู้รึเปล่า กว่าจาต้องละฌาณกันนั้นควรจะถือตอนไหนละตอนไหน ต้องรู้ตัวเองก่อน

    เมื่อใดหน่ายจากกาม ก็จะไปแสวงหาสูขที่โทษน้อยกว่า นั่นคือ ฌาน หรืออาจ ทำฌานให้เกิด เพื่อบรรเทา กาม ^-^
     

แชร์หน้านี้

Loading...