หยั่งอาการชาวพุทธ ด้วย ภาพ “พระอุลตร้าแมน”

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 28 กันยายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    b8b2e0b881e0b8b2e0b8a3e0b88ae0b8b2e0b8a7e0b89ee0b8b8e0b897e0b898-e0b894e0b989e0b8a7e0b8a2-e0b8a0.jpg

    คนข้างวัด / อุทัย บุญเย็น

    ทราบจากข่าวว่า ได้มีการถอนฟ้องฝ่ายภาพเขียน “พระอุลตร้าแมน” จากกลุ่มที่อ้างว่าเป็ฯกลุ่ม (หรือชมรม) ชาวพุทธพลังแผ่นดินแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดี และอยากตั้งข้อสังเกตว่า ภาพเขียนของ นศ.ชิ้นนั้น ว่าไปแล้วไม่ใช่งานศิลปะอันประณีตแต่อย่างใด แต่ทำไมจึงมีผู้ประมูลภาพนั้นถึงสองล้านกว่าบาท? คิดว่า นศ.หญิงเจ้าของภาพชิ้นนั้น ก็คงงงเหมือนกัน

    ก็เลยคิดว่าเป็นการหยั่งดูอาการของชาวพุทธว่าจะมีปฎิกิริยาอย่างไร? จะมีความแตกแยกกันเพียงใด?

    เพราะทันทีที่มีข่าวเรื่องนี้ ก็ได้เห็นท่าทีของชาวพุทธประเภท “นักวิชาการ” ได้แสดงความคิดเห็นเป็นปฏิปักษ์กับชาวพุทธ “หัวเก่า” ในทันทีทันใด

    ต้องยอมรับว่า ชาวพุทธในประเทศไทยทุกวันนี้ นับวันจะมีชาวพุทธในทะเบียนบ้านหรือในบัตรประชาชนเท่านั้น เป็นจำนวนมากขึ้นทุกวัน ทั้งที่เขายังไม่ได้ศึกษาหรือรู้จักพุทธศาสนาเลยก็ว่าได้

    เชื่อไว้ล่วงหน้า จะมีการเคลื่อนไหวของชาวพุทธไทย (ส่วนหนึ่ง) เพื่อให้รัฐตราไว้ในรัฐธรรมนูญว่า “พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ” แต่ก็จะมีฝ่ายคัดค้านเป็นจำนวนไม่น้อยลุกขึ้นมาต่อต้านฝ่ายที่เคลื่อนไหวนั้น

    ส่วนผมมีจุดยืนว่าไม่ควรมีการบัญญัติศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ แต่ควรมีการรับรองศาสนา (ทุกศาสนา) ด้วยกฎหมาย ให้ทุกศาสนา (หรือนิกายของศาสนานั้นๆ) ที่รัฐรับรองนั้น ปฏิบัติตามคำสอนของตน (ในคัมภีร์ของตน)อย่างเคร่งครัด

    อย่าให้มีการใช้ศาสนาสร้างความแตกแยก หรือเป็นภัยแก่รัฐแก่ประชาชน หรือมอมเมาประชาชน แสวงหาอำนาจ-ลาภสักการะให้คนหลงเชื่อผิดๆ ด้วยความ “งมงาย” ต่างๆ

    แม้แต่พุทธศาสนาเองก็ไม่ให้มีการแสวงหาผลประโยชน์ในรูปต่างๆ

    และในแต่ละศาสนานั้น ก็มีนิกายต่างๆ เช่น พุทธศาสนามีนิกายมหายาน และนิกายเถรวาท (หีนยาน) ศาสนาอิสลามมีนิกายสุหนี่และนิกายชีอะฮ์ ศาสนาคริสต์มีนิกายคาธอลิกและนิกายโปรแตสแตนต์ เป็นต้น รัฐจะต้องมีกฎหมายรับรองศาสนาและนิกายให้ชัดเจน เพื่อจะได้ตรวจสอบวิถีปฏิบัติของศาสนิกชนของศาสนา หรือนิกายที่รับรองนั้นให้เป็นไปตามหลักคำส่วนของศาสนาหรือนิกายนั้นๆ

    ป้องกันการบิดเบือนคำสอน และป้องกันไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งกันระหว่างศาสนาหรือระหว่างนิกายต่างๆ ซึ่งมีความละเอียดและซับซ้อนอย่างยิ่ง

    ผมมีความคิดเห็นในเรื่องนี้อีกมาก ค่อยขยายความในโอกาสต่อๆไป

    ที่แน่ๆ คือไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดให้มีการตรา “ศาสนาประจำชาติ”ในรัฐธรรมนูญ เพราะเห็นแต่ความแตกแยก (ทางความคิด) และการทำลายพุทธศาสนารออยู่ข้างหน้า

    วันนี้ ตั้งใจจะแก้ไขความคลาดเคลื่อนที่เขียนไปในฉบับที่แล้วที่เขียนไม่ชัดว่า พระพุทธเจ้าแสดงฤทธิ์กับพวกพรหมอย่างไรเพราะเขียนจากความจำเมื่อราวพ.ศ.2505-2506 (ขณะที่ผมเป็นเณรน้อยที่ต่างจังหวัด) คือจำภาพเขียนของ เหม เวชกร ได้เลาๆ ว่ามีการแสดงฤทธิ์ของพระพุทธเจ้ากับพกาพรหม

    จำได้ (เลาๆ) ว่า ที่ศาลาการเปรียญซึ่งเป็นที่ฉันข้าวเป็นประจำทุกเช้า ข้างา (เบื้องบน) มีภาพเขียนเกี่ยวกับชัยชนะของพระพุทธเจ้า 8 ภาพ ฝีมือ เหม เวชกร ภาพที่ 8 เป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าแสดงฤทธิ์กับพระพรหมชื่อ “พกา” (สมัยเป็นเณรอ่านผิดเป็น “ผกา”)

    ชัยชนะของพระพุทธตอนนี้อยู่ใน “พุทธชัยมงคลคาถา” หรือบทสวด “ถวายพรพระ” ซึ่งขึ้นต้นว่า “พาหุง”

    ในบทสวดตอนนี้ สวดว่า

    “ทุคฺคานทิฎฺฐิภุชเคน สุทฎฺฐหตฺถํ พฺรหมํ วิสุทธิชุติมิทฺธิ พกาภิธานํ ญาณาคเทน วิธินา ชิตวา มุนินฺโท”

    แปลว่า

    “พระจอมมุนี (พระพุทธเจ้า) ได้ชนะพรหมาผู้มีนามว่า พกาผู้มีฤทธิ์ ซึ่งสำคัญตนว่าเป็นผู้งดงามบริสุทธิ์ ถูกพญางูใหญ่ (ภุชงค์) ซึ่ง ได้แก่ มิฉาทิฏฐิ รึงรัดเอาไว้แน่น ทรงชนะด้วยวิธีแสดงธรรมด้วยพระญาณ”

    เรื่องนี้มีอยู่ใน (พระไตรปิฎกบาลีเล่า 13) พรหมนิมันตนสูตร แต่บทสวดนี้ มีผู้สันนิษฐานว่า แต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ราว พ.ศ.2006) เป็นบทสวดถวายพรพระแผ่นดินให้ทรงชนะศึก จึงเรียกว่า คาถา “ถวายพรพระ” (เมื่อพระสวดถึงบทสวดถวายพรพระหรือ “พุทธชัยมงคลคาถา” นี้ ซึ่งขึ้นต้นว่า “พาหุง…” ชาวพุทธนิยมยกสำรับอาหารถวายพระ เข้าใจว่า เพราะคำว่า “พาหุง” นั่นกระมั่ง?)

    เรื่องราวตอนนี้ (ในพระไตรปิฎก) น่าสนใจ

    เพราะกล่าวถึงพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพกาพรหมที่หลงผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ว่า พรหมโลก มีความหยั่งยืนเป็นนิรันดร์ แต่ความจริงพรหมโลกที่พกาพรหมไปเกิดอยู่นั้น มีอายุยืนนาน จนพกาพรหมลืมไปว่าตนไปเกิดเมื่อไรและจะสิ้นสุด (จุติ) เมื่อใด (ยิ่งได้เห็นพระพุทธเจ้าเกิดแล้วเกิดเล่าหลายพระองค์ ก็ยิ่งสำคัญผิดว่าตนเป็นอมตะไม่มีการเปลี่ยนแปลง (เป็นพระผู้สร้างว่างั้นเถิด) แต่ความจริงพกาพรหมมีการเปลี่ยนแปลง คืออายุของตนค่อยๆ เสื่อมลง และในที่สุดก็จะจุติไปเกิดภพที่ตำลงไป)

    พระสูตรนี้ ทำให้ได้ความรู้หลายอย่าง

    ทำให้รู้ว่า ผู้ไปเกิดในพรหมโลก คือผู้ได้ฌานตั้งแต่ฌานที่ 1 ถึงฌานที่ 4 ไม่จำกัดว่าถือศาสนาอะไร ชั้นสูงสุดของพรหมคือ ชั้น “มหาพรหม” (พรหม เป็นเทวดาประเภทหนึ่ง) แล้วเทวดาชั้นพรหมนั้น จะค่อยๆ เสื่อมลง อย่างพกาพรหมเคยอยู่ในพรหมโลกชั้นมหาพรหม เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดนั้นเขาอยู่ในพรหมโลกชั้นต่ำสุด (คือพรหมชั้น “ปาริสัชชา”) ในบรรดาพรหมโลก 16 ชั้น แสดงว่า พกาพรหมใกล้จะจุติแล้ว (ซึ่งนับเป็นหมื่อนๆปี)

    เมื่อพกาพรหมเห็นแต่เทวดาพวกอื่น (และมนุษย์) เกิดและจุติคนแล้วคนเล่า ก็เลยคิดว่า ตนเองไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นการสำคัญผิด (เกิดมิจฉาฎฐิ)

    ในพระสูตรนี้กล่าวตอนหนึ่งว่า พกาพรหม (และพรหมชั้นต่ำสุด) มีอำนาจ (อาณา) ครองจักรวาลได้จำนวน 1 พันจักรวาล คำว่าอำนาจหรืออาณานี้หมายถึงแสงของตนสาดส่องไปถึงจักลวาลนั้น สามารถเห็นความเป็นไปของชีวิตในพ้นจักรวาลนั้น

    พระสูตรนี้กล่าวว่า 1 จักรวาล กำหนดด้วยแสงอาทิตย์ที่สาดส่องถึง หมายความว่า ดวงอาทิตย์คือศูนย์กลางของจักรวาลแต่ละจักรวาล

    คำว่า “จักรวาล” ทางพุทธศาสนา (ในพระไตรปิฎก) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โลกธาตุ”

    พระสูตรนี้ทำให้รู้ว่าการเดินทาง (ด้วยจิต) ของพระพุทธเจ้า จากโลกนี้ถึงพรหมโลก (จักรวาลอื่น) เป็นไปได้เร็วมาก อย่างที่ใช้คำว่า “ชั่วลัดนิ้วมือ” นั่นแหละ

    พระสูตรนี้ทำให้รู้อีกว่า การแสดงฤทธิ์ของพระพุทธเจ้าครั้งนั้น เป็นการหายตัวไปมีแต่เสียงให้ได้ยิน ไม่ใช่ว่า พระพุทธเจ้าแสดงพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าองค์เล็กประทับอยู่ที่หน้าผากของพกาพรหม อย่างที่เหม เวชกร เขียนภาพ (เพื่อให้รู้ว่า พระพุทธเจ้าหายตัวไปมีแต่เสียงให้ได้ยิน) และพระพุทธเจ้าแสดงฤทธิ์ในคราวนั้น ก็เพราะพกาพรหมเป็นคนท้าให้แสดงฤทธิ์หายตัว ซึ่งพระพุทธเจ้าหายตัวได้ มีแต่เสียงให้ได้ยิน ส่วนพกาพรหมไม่สามารถแสดงฤทธิ์นั้นได้เพราะพระพุทธเจ้าไม่ยอมให้เขาหายตัวได้ เท่ากับแข่งกันว่าใครมีอำนาจเหนือใคร

    พระพุทธเจ้าตรัสด้วยว่า ในอดีตชาติพกาพรหมเป็นใครและมาเกิดในพรหมโลกได้อย่างไร ทรงรู้ว่า พกาพรหมาทำกรรมดีอะไรไว้จึงมาเกิดในพรหมโลก (และในที่สุด พกาพรหมจะต้องจุติ (ตาย) จากพรหมโลกไปเมื่อไร) ทุกขัง อนัตตา เช่นกัน

    ไม่มีใครเป็นอมตะชั่วนิรันดร์กาล ว่างั้นเถิด

    คราวนั้น พกาพรหมยอมรับว่า ตนสู้พระพุทธเจ้าไม่ได้และได้ทูล นิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จมาแสดงธรรมแก่พรหมทั้งหลายในพรหมโลกอีก

    พระสูตรนี้ จึงตั้งชื่อว่า “พรหมนิมันตนสูตร” (แปลว่า พระสูตรว่าด้วยการทูลเชิญพระพุทธเจ้าของพกาพรหม)

    เรื่องพระพุทธเจ้าเสด้จไปโปรดพกาพรหมนี้ เป็นการแสดงฤทธิ์ (หายตัว) ครั้งหนึ่งของพระพุทธเจ้า ด้วย “อิทธาภิสังขาร” คำว่า อิทธาภิสังขาร แปลว่า การแสดงฤทธิ์หรือปาฏิหาริย์

    เป็นชัยชนะของพระพุทธเจ้าครั้งหนึ่งใน 8 ครั้ง ตามที่กล่าวไว้ในบทสวด “ถวายพรพระ” หรือ “พุทธชัยมงคลคาถา”

    ชัยชนะของพระพุทธเจ้า 8 ครั้ง (ตามบทสวดนี้) คือ 1. ครั้งชนะมารซึ่งถืออาวุธ 1,000ทุกมือ (1,000มือ) 1 พันมือนี้แหละคือคำว่า “พาหุง” ในบทสวด อยู่บนช้างชื่อ “สิริ เมขลา” มีไพร่พลมากมาย 2. ครั้งปราบอายักษ์ (พญามาร) 3. ครั้งปราบช้างตกมันชื่อ “นาปัวคีรี” 4. ครั้งปราบโจรองค์คุลิมาล 5. ครั้งเอาชนะนางจิญจมาณวิกา (สาวิกาของเดียรถีย์) ที่กล่าวหาพระพุทธเจ้าว่า ทำให้นางตั้งครรภ์ 6. ครั้งโปรดหัวหน้าสาวกของศาสดานิครมถ์ให้หันมาถือพระรัตนตรัย (เป็นชาวพุทธ) 7. ครั้งปราบพญานาค ชื่อ “นันโทปนันทะ” (โดยให้พระมหาโมคคัลลานะไปปราบด้วยฤทธิ์) และ 8. ครั้งเสด็จไปโปรดพกาพรหมให้ละมิจฉาฏฐิ( ครั้งนี้)

    ชัยชนะทั้ง 8 ครั้งนี้ เหม เวชกร แสดงเป็นภาพเขียนพิมพ์เผยแพร่เป็นภาพใส่กรอบโดย “สำนักพิมพ์ ส.ธรรมภักดี” และคนนิยมซื้อถวายวัดเพื่อติดไว้ตามโบสถ์และศาลาการเปรียญให้คนดู

    ภาพแต่ละภาพแสดง “พุทธชัยมงคล” ของ เหม เวชกร ชุดนั้นคงหาดูได้ยากแล้ว

    ขอขอบคุณที่มา
    https://siamrath.co.th/n/105457
     

แชร์หน้านี้

Loading...