หลวงปู่ศรีจันทร์ ฐิตธมฺโม ทายาทธรรม"หลวงปู่คำมุง"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 2 กรกฎาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488


    [​IMG]


    ถึงแม้ "หลวงพ่อสมุห์คำมุง อหิงสโก" อดีตเจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์สุทธาวาส บ้านค้อ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม ผู้ครองตนอยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์อย่างสมถะเสมอต้นเสมอปลาย จะได้มรณภาพจากโลกนี้ไปนานหลายสิบปีแล้ว แต่คุณูปการคุณความดีของท่านยังคงอยู่ในศรัทธาพุทธศาสนิกชนชาวมหาสารคามอย่างไม่เสื่อมคลาย

    นอกจากนี้ยังมีพระเถระหลายรูปได้สืบทอดเป็นทายาทธรรมหลวงปู่สมุห์คำมุงสืบทอดปฏิปทาอันงดงาม

    โดยเฉพาะ "พระครูสถิตสิทธิคุณ" หรือ "หลวงปู่ศรีจันทร์ ฐิตธมฺโม" วัดป่าศุภมิตรสิทธาราม ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม ที่ชาวอีสานตอนกลางให้ความเลื่อมใสศรัทธา ด้วยความที่เป็นพระภิกษุที่มีเมตตาธรรมสูง วัตรปฏิบัติเจริญรอยตามหลวงปู่สมุห์คำมุง อย่างเคร่งครัด

    พระครูสถิตสิทธิคุณ มีนามเดิม ศรีจันทร์ ถาลี เกิดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2475 ณ บ้านสุขเกษม ต.นาทราย อ.เมือง จ.นครพนม เป็นบุตรของพ่อวิสัย-แม่เพ็ง ถาลี ภายหลังเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดสระพังทอง ก็ออกมาช่วยงานครอบครัวทำไร่ไถนาตามวิถีชีวิตของคนอีสาน จนถึงพ.ศ. 2499 อายุล่วงเข้าสู่วัยหนุ่มใหญ่ นายศรีจันทร์ จิตใจโน้มเอียงเข้าหาพระธรรม

    ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดท่าดอกแก้วเหนือ ต.ท่าจำปา อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม โดยมีพระครูสันธานพนมเขต อดีตเจ้าคณะอำเภอท่าอุเทน วัดท่าดอกแก้วเหนือ เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการจันดี จิตฺตสนฺโธ วัดจอมแจ้ง เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอธิการแก้ว วัดบ้านคำพอก เป็นอนุสาวนาจารย์
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    หลังอุปสมบท ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสระพังทอง ต.นาทราย จนถึงปี พ.ศ.2511 ด้วยความที่ท่านมุ่งมั่นอยากศึกษาพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้ง จึงเดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าศุภมิตรสิทธาราม ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม หลังจากมุมานะศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉานในปี พ.ศ. 2516 ก็สอบได้นักธรรมชั้นเอก จากสำนักเรียนวัดอภิสิทธิ์

    นอกจากนั้นหลวงปู่ ยังให้ความสนใจด้านปฏิบัติกรรมฐาน โดยเข้าฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่สมุห์คำมุง วัดเครือวัลย์บ้านค้อ โดยศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน รวมทั้งศึกษาวิทยาคมซึ่งหลวงปู่สมุห์คำมุง ก็เมตตาถ่ายทอดให้จนหมดสิ้นทำให้หลวงปู่ศรีจันทร์ มีความรู้ แตกฉานทั้งธรรมวินัย วิปัสนากรรมฐาน ด้วยเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามหลักพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดเสมอต้นเสมอปลายจึงอยู่ในศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวมหาสารคามอย่างรวดเร็ว ในแต่ละวันจะมีญาติโยมเดินทางมากราบนมัสการ รับฟังธรรม รวมทั้งขอประพรมน้ำพุทธมนต์ที่เข้มขลังของท่านอย่างล้นหลาม

    หลวงปู่ศรีจันทร์ ยังให้ความสำคัญงานด้านการศึกษา เพราะผู้บวชเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวชาวไร่ ชาวนา มีฐานะที่ค่อนข้างยากจนท่านจึงตั้งสำนักศาสนศึกษาพระปริยัติธรรม-บาลีขึ้น ณ วัดป่าศุภมิตรฯ ท่านเป็นเจ้าสำนัก และเป็นครูสอนปริยัติธรรม รวมทั้งจัดตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดป่าศุภมิตรสิทธาราม

    หลวงปู่ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการอำนวยการสอบธรรมสนามหลวงประจำสนามสอบวัดศรีสวัสดิ์ ต.ตลาด อ.เมือง รวมทั้งมีผลงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกมากมาย อาทิ เป็นวิทยากรบรรยายธรรมโครงการครอบครัวอบอุ่นด้วยธรรมะแสดงธรรมให้กับผู้ต้องขังในเรือนจำมหาสารคาม และเคยได้รับโล่รางวัลจากสถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรมอีสานมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในฐานะเป็นบุคลากรที่มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมอีสาน ฯลฯ

    ปีพ.ศ. 2518 ได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าศุภมิตรสิทธาราม ท่านได้อุทิศตนปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างเข้มแข็ง พ.ศ. 2527 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูสถิตสิทธิคุณ (จร.ชท.) และในปีเดียวกันยังได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะตำบลตลาด เขต 1 ปี พ.ศ.2538 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นพระวิปัสสนาจารย์เขตจังหวัดมหาสารคาม พ.ศ.2548 ได้รับแต่งตั้งจากกองการวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย ในสังฆราชูปถัมภ์ ให้เป็นพระวิปัสสนาจารย์หัวหน้าจังหวัดมหาสารคาม ปี พ.ศ. 2549 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

    หลวงปู่ศรีจันทร์ ยังได้ชื่อว่าเป็นพระนักพัฒนามีความชำนาญด้านการก่อสร้าง เสนาสนะภายในวัดท่านจะออกแบบและควบคุมการก่อสร้างด้วยตัวเอง นอกจากนั้นยังปรับปรุงพื้นที่ป่าภายในวัดให้มีแต่ความร่มรื่น หลวงปู่จะพาภิกษุ สามเณร และญาติโยมปลูกต้นไม้เพิ่มทุกปี ก่อให้เกิดความสงบวิเวกเหมาะกับการเจริญภาวนาและปฏิบัติธรรมของสงฆ์ยิ่งนัก
    แต่สิ่งที่หลวงปู่ศรีจันทร์พยายามพร่ำสอนแนะนำญาติโยมมาตลอดคือ อยากให้คนทุกเพศทุกวัยเข้าวัดจะเข้าวันละกี่นาที กี่ชั่วโมงก็ดีทั้งนั้น การเข้าวัดอย่างน้อยก็ได้ไม่ต่ำกว่า 6 ข้อ ประกอบด้วย
    1.ได้ความเคารพ
    2.ได้สักการะ
    3.ได้รับศีล
    4.ได้รับฟังธรรม
    5.ได้ถวายทาน
    6.ได้กรรมฐาน

    จะเห็นว่าทุกข้อล้วนแต่เป็นมงคลแก่ชีวิต ส่งเสริมให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อสรรพสัตว์ร่วมโลก ซึ่งจะทำให้สังคมพานพบแต่สันติสุข

    ปัจจุบัน หลวงปู่ศรีจันทร์ สิริอายุ 74 พรรษา 50 ถึงสังขารท่านจะเริ่มโรยราไปตามวัยบ้าง แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติศาสนกิจ และท่านยังคงรักษาศรัทธาจากญาติโยมมิเสื่อมคลาย

    ที่มา : [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...