หลวงปู่สนธิ์ เขมิโย พระเกจิฯสองฝั่งโขง

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 12 กันยายน 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    b988e0b8aae0b899e0b898e0b8b4e0b98c-e0b980e0b882e0b8a1e0b8b4e0b982e0b8a2-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b980.jpg

    มงคลข่าวสด

    “หลวงปู่สนธิ์ เขมิโย” วัดอรัญญานาโพธิ์ บ้านนาโพธิ์ หมู่ 8 ต.โพนสว่าง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม พระเกจิชื่อดัง 5 แผ่นดินแห่งเมืองนครพนม

    มีความเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคมอันเข้มขลัง เป็นลูกศิษย์สืบสายธรรมจากหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน วัดท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม อดีตพระเกจิสองฝั่งโขงที่มีชื่อเสียงเลื่องลือ

    มีนามเดิมว่า สนธิ์ โคตะบิน เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 เม.ย.2453 ที่บ้านนาโพธิ์ ต.โพนสว่าง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม เป็นบุตรคนโต ในจำนวนชาย 6 คน หญิง 4 คน

    เมื่อครั้งอายุ 18 ปี ขณะนอนตะแคงในท่าพนมมือสองข้างหนุนศีรษะ ผู้เฒ่าผู้แก่ทักว่าจะไม่ได้ครองเรือนเช่นคนทั่วไป แต่จะได้สืบทอดพระพุทธศาสนาตลอดชีวิต

    อายุ 20 ปี ญาติถึงแก่กรรม บิดาจึงให้บวชหน้าไฟและอุปสมบทในคราวเดียวกัน ที่วัดศรีชมชื่น ต.โพนสว่าง อ.ศรีสงคราม โดยมีหลวงพ่อแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเกศ เป็นพระกรรมวาจา และมีหลวงพ่อเกิด เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    จากนั้นเดินธุดงค์ไปจำพรรษาที่ อ.กุสุมาลย์ จ.สกลนคร อ.โพนสวรรค์ และ อ.ท่าอุเทน นาน 8 พรรษา

    ช่วงที่จำพรรษาอยู่ที่วัดพระธาตุท่าอุเทน ปวารณาฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสัมปันโน พระเกจิชื่อดังผู้สร้างพระพุทธบาทบัวบกในยุคนั้น ก่อนที่จะเดินธุดงค์ไปจำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทบัวบก อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และ จ.หนองคาย ตามลำดับ ก่อนข้ามแม่น้ำโขงไปที่แขวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว นาน 2 พรรษา และธุดงค์ไปภูเขาควายอีก 4 พรรษา นั่งปฏิบัติธรรมท่ามกลางสัตว์ป่าดุร้าย เช่น หมี เสือโคร่ง

    จากนั้นธุดงค์ต่อไปในภาคเหนือของไทย 7 จังหวัด และภาคกลางอีก 7 จังหวัด

    จนมาถึง จ.นครราชสีมา และกลับมายังบ้านเกิด เพื่อโปรดบิดา-มารดา และญาติพี่น้อง หลังจากนั้นเดินทางไปสร้างวัดและจำพรรษาที่บ้านเปงจาน อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย

    กระทั่งทราบข่าวบิดาป่วย จึงเดินทางกลับมายังบ้านนาโพธิ์ เพื่อดูแลอาการ และได้สร้างวัดอรัญญานาโพธิ์ ในปี พ.ศ.2509 อยู่จำพรรษาจนถึงปัจจุบัน

    เป็นพระที่มีความสมถะ ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายเวลาเดินธุดงค์จะไม่มีทรัพย์สินมีค่าติดตัว ไม่สวมรองเท้า และบิณฑบาตก็รับแต่พอฉันในแต่ละมื้อเท่านั้นไม่เก็บสิ่งของมีค่า

    ยึดมั่นในพระธรรมวินัย จะคอยอบรมลูกศิษย์อย่าประมาทในศีล มักน้อยสันโดษ เป็นอยู่ง่ายๆ กินแต่น้อย ไม่สะสมทรัพย์สิ่งของ จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธา

    นอกจากเป็นผู้ชำนาญการด้านพระปริยัติและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ยังเป็นผู้ทรงวิทยาคมอันสูงส่งรูปหนึ่ง

    ครั้งหนึ่งจากคำบอกเล่าของชาวบ้าน ที่พบเห็นหลวงปู่สนธิ์ กำลังออกบิณฑบาต เกิดฝนตก แต่ปรากฏว่าเม็ดฝนไม่ถูกตัวหลวงปู่ ทั้งที่หลวงปู่สนธิ์ก็ออกเดินบิณฑบาตไปตามปกติ แต่ฝนตกตามหลังไป แต่ไล่ไม่ทันตัวหลวงปู่ ชาวบ้านก็เลยเรียกขานว่า “ฝนไล่ไม่ทันหลวงปู่”

    สร้างวัดอรัญญานาโพธิ์ เมื่อปี พ.ศ.2509 ยังสร้างโรงเรียนอีก 5 แห่ง และตึกอาพาธสงฆ์ที่ ร.พ.ศรีสงคราม สร้างศาลาการเปรียญวัดกูฏิอีกหลายแห่ง พร้อมตั้งมูลนิธิหลวงปู่สนธิ์สนับสนุนทุนเรียนดีแต่ยากจน

    เมื่อวัยเข้าสู่ชรา จึงกลับจำพรรษาที่วัดบ้านเกิด แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง หลวงปู่อาพาธเป็นโรคเส้นเลือดในสมอง ก่อนนำตัวเข้ารักษาที่ ร.พ.ศรีสงคราม เมื่อเดือน พ.ย.2559 แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงส่งต่อไปรักษาตัวที่ ร.พ.นครพนม จากนั้นจึงส่งตัวไปรักษาต่อที่ ร.พ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น นาน 2 เดือน ก่อนกลับมารักษาตัวที่ ร.พ.ศรีสงคราม

    กระทั่งละสังขารอย่างสงบ เมื่อเวลา 10.20 น. วันที่ 5 ก.ย. สิริอายุ 108 ปี พรรษา 88 ท่ามกลางความเศร้าสลดของศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศ

    หลังศิษย์ยานุศิษย์ทราบข่าวมรณภาพ ทำให้วัตถุมงคลของหลวงปู่สนธิ์แต่ละรุ่น เป็นที่เสาะแสวงหาแก่นักสะสม โดยเฉพาะวัตถุมงคลรุ่นอายุ 99 ปีเป็นที่กล่าวขวัญถึงพุทธคุณรอบด้าน

    จากนั้น คณะศิษยานุศิษย์ นำสังขารกลับมาบำเพ็ญกุศลที่ศาลาการเปรียญวัดอรัญญานาโพธิ์ เป็นอีกหนึ่งพระเกจิดังที่จากไป

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/amulets/news_503344
     

แชร์หน้านี้

Loading...