หลวงปู่สาร์ กนฺตสีโล : พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 14 พฤษภาคม 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ภาค ๓ : ธุดงค์แดนไกล : ออกธุดงค์โปทางฝั่งลาว


    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับลูกศิษย์คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตพักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ภูหล่น ราว ๒ ปี

    หลวงปู่ใหญ่ เห็นว่าลูกศิษย์ของท่านได้ฝึกทำความเพียรจนจิตมีกำลังกล้าแข็งพอสมควรแล้ว จึงได้พาออกธุดงค์ข้ามแม่น้ำโขงไปทางฝั่งประเทศลาว

    การออกธุดงค์ครั้งนั้นอยู่ระหว่างปี พ ศ. ๒๔๔๒ - ๒๔๔๓ ไปกัน๓ องค์ มี หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น ซึ่งเป็นพระหนุ่ม อายุพรรษาประมาณ ๖ พรรษา และสามเณรอีก ๑ รูป

    ทั้งสามองค์พากันเดินลัดเลาะไปตามป่าเขาขึ้นไปทางทิศเหนือเรื่อยไป จนไปถึงเมืองหลวงพระบาง นอกจากแสวงหาที่วิเวกเพื่อบำเพ็ญเพียรแล้ว หลวงปู่ใหญ่ ยังมีความประสงค์ที่จะเสาะหาครูอาจารย์กรรมฐานที่เก่งๆ พอที่จะช่วยแนะนำการภาวนาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

    หลังจากเที่ยวเสาะหาอยู่ระยะหนึ่ง ก็ไม่พบว่าจะมีใครที่สามารถให้ความรู้ด้านกรรมฐานได้ดีกว่าแนวทางที่ตัวท่านเองกับลูกศิษย์กำลังปฏิบัติอยู่ จึงตัดสินใจกลับมาทางฝั่งไทยคืน

    ทั้งสามองค์เดินย้อนลงมาทางแขวงคำม่วน ตลอดเส้นทางเป็นป่าดงดิบ และภูเขาเพิงผาสลับซับซ้อนเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรอย่างยิ่ง

    หลวงปู่ใหญ่ พาศิษย์เดินธุดงค์ลงมาถึงเขตเมืองท่าแขก ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับจังหวัดนครพนมของไทย ระยะนั้นเป็นช่วงใกล้จะเข้าพรรษา จึงได้พักบำเพ็ญสมณธรรมและจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำแห่งหนึ่ง อยู่ไม่ห่างจากหมู่บ้านชาวป่า เรียกว่า บ้านถ้ำ

    ภูมิประเทศแถบนั้นเป็นป่าเขาที่อุดมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิดมีทั้งช้าง เสือ หมี และผีร้ายนานาประการ ตลอดจนไข้มาเลเรียก็ชุกชุม แต่เป็นที่สงบวิเวกเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรเป็นอย่างยิ่ง

    ทั้งหมดนี้ได้จากบันทึกของ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ซึ่งท่านได้รับการบอกเล่ามาจากหลวงปู่มั่นโดยตรง ในบันทึกมีต่อไปว่า

    “ในระหว่างพรรษานั้น ท่านอาจารย์เสาร์ และสามเณรได้จับไข้มาเลเรีย มีอาการหนักบ้างเบาบ้าง ก็ไม่ถึงกับร้ายแรงจริง..

    วันหนึ่งมีคณะอุบาสกอุบาสิกาได้นำผ้ามาบังสุกุล ท่านอาจารย์เสาร์ ต้องการจะตัดจีวร เรา (หลวงปู่มั่น) ก็ต้องจัดทำทุกอย่างกว่าจะเย็บเสร็จ เพราะต้องเย็บด้วยมือ ใช้เวลาถึง ๗ วันจึงเสร็จ

    หลวงปู่มั่น เล่าว่า “...(จีวร) ยังไม่เสร็จดีเลย ไข้มันเกิดมาจับเอาเราเข้าให้แล้ว ทำให้เราต้องเกิดความวิตกกังวลขึ้นมา นึกในใจว่าเณรก็ไข้ อาจารย์ก็ไข้ เราก็กลับจะมาไข้เสียอีก ถ้าต่างคนต่างหนักใครเล่าจะดูแลรักษากัน ถ้าเกิดล้มตายกันเข้า ใครจะเอาใครไปทิ้งไปเผากันเล่า

    เจ้ากรรมเอ๋ย อยู่ด้วยกันสามองค์ก็เจ็บป่วยไปตามๆ กัน ยิ่งกว่านั้น อาจารย์ของเรานั่นแหละจะร้อนใจมาก

    หลวงปู่มั่น เล่าให้หลวงพ่อวิริยังค์ ฟังต่อไปว่า

    “...เราได้คิดมานะขึ้นมาในใจว่า บัดนี้เราไม่มีทางเลือกทางอื่นแล้ว ที่จะมาระงับเวทนานี้ได้ เพราะยาจะฉันแก้ไข้ก็ไม่มีเลย มีแต่กำลังอานุภาพแห่งภาวนานี้เท่านั้น

    เรามาอยู่สถานที่นี้ ก็เพื่อจะอบรมตนในทางเจริญกรรมฐานภาวนา เราจะมาคิดแส่ส่ายไปทางอื่นหาควรไม่ เราต้องเอาธรรมเป็นที่พึ่งจึงจะถูก แม้จะตายขอให้ตายด้วยการภาวนา ไม่ต้องท้อถอยอ่อนแอ จะต้องเป็นผู้กล้าหาญจึงจะจัดว่าเป็นนักพรตได้

    แล้วเราก็ตัดสินใจปฏิบัติบูชาพระพุทธศาสนาด้วยข้อปฏิบัตินั้น

    แล้วหลวงปู่มั่น ก็กำหนดบริกรรมว่า พุทโธ ๆ ๆ ไป จนใจเริ่มสงบเย็น ซึ่งท่านบอกว่าในขณะนั้น ท่านยังไม่สันทัดในการเจริญกรรมฐานเท่าไร

    “ครั้นบริกรรม พุทโธๆๆ ก็นึกถึงคำสอนของอาจารย์ขึ้นมาว่า กายนี้เป็นที่อาศัยของจิตและเป็นทางเดินของจิต เปรียบเหมือนแผ่นดิน ย่อมมีทางน้อยใหญ่เป็นที่สัญจรของหมู่สัตว์ทุกหมู่เหล่า

    กายนี้ก็เหมือนกัน ย่อมเป็นที่อยู่อาศัยของจิต และเป็นที่เที่ยวไปมาของจิตฉันนั้น

    ถ้าจิตมามัวยึดถือกายนี้ว่าเป็นตนอยู่เมื่อใด ย่อมได้รับความทุกข์ความเศร้าโศกเสียใจ มีความเดือดร้อนวุ่นวายอยู่เป็นนิตย์...

    หลวงปู่มั่น เล่าต่อไปว่า

    “เมื่อหมดหนทางเพราะไม่มีใครช่วยแล้ว เรานั่งสมาธิเข้าที่อยู่ โดยการเสียสละกำหนดจิตแล้วทำความสงบ ทำให้เป็นหนึ่งแน่วแน่ ไม่ให้ออกนอกเป็นอารมณ์ได้เลย

    เพราะขณะนั้นทุกขเวทนากล้าจริงๆ พอกำหนดความเป็นหนึ่งนิ่งจริงๆ ครู่หนึ่ง ปรากฏว่าศีรษะลั่นเปรี๊ยะปร๊ะไปหมด จนเหงื่อไหลออกมาเหมือนรดน้ำ

    เมื่อออกจากสมาธิปรากฏว่า ไข้ได้หายไปราวกับปลิดทิ้ง

    นี่เป็นการระงับอาพาธด้วยธรรมโอสถเป็นครั้งแรกของเรา เราได้พยาบาลอาจารย์ของเราได้เต็มที่..

    การเดินทางในครั้งนี้นั้น ได้เป็นเช่นนี้หลายหน บางครั้งมาเลเรียขึ้นสมองแทบเอาชีวิตไม่รอด

    หลวงปู่ใหญ่ ท่านเห็นว่า การจะเดินธุดงค์ในถิ่นทุรกันดารเช่นนั้นต่อไปคงจะไม่เป็นผลดี พอออกพรรษาแล้วท่านก็พาศิษย์เดินทางกลับประเทศ ไทย
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ป้างหย่อนเกิดจากแรงพยาบาทของหญิง


    เรื่องตอนนี้ได้รับการถ่ายทอดจาก หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ดังนี้ -

    “ท่านอาจารย์เสาร์ ได้เล่าเรื่องประวัติท่านอาจารย์มั่นให้ผู้เขียน (หลวงปู่เทสก์) ฟังว่า ท่านมั่นเป็นลูกศิษย์ที่ดี พรรษาตั้ง ๑๐ กว่าแล้วยังตักน้ำให้อาจารย์อาบอยู่ ด้านการภาวนาก็เก่งมาก เราไม่เป็นไม่เห็นสิ่งต่างๆ แต่ท่านมั่นก็เห็นและเป็นไปต่างๆ

    เมื่อครั้งมาเที่ยวประเทศลาวครั้งแรก ท่านพูดน่าขบขันมาก บอกว่า ท่าน (หลวงปู่เสาร์) ป่วยเป็นโรคป้างหย่อน คือ ม้ามหย่อนนั่นเอง เจ็บไม่หายสักที

    ภาวนาวันหนึ่ง เกิดรู้ขึ้นมาว่า มีผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งอิจฉาพยาบาทท่านอยู่ไม่หาย ตั้งแต่สมัยท่านยังหนุ่ม สึกออกจากสามเณรไป เกิดชอบรักกัน เมื่อจะร่วมรัก ไปเห็นของสกปรกของผู้หญิงคนนั้น จึงไม่กล้าสำเร็จความใคร่ ผู้หญิงเลยอาย เกิดความพยาบาทอาฆาตจองเวร

    ไม่ได้ดอก ถ้าไม่พาผมกลับไปเมืองอุบลฯ ไปให้เขาอโหสิให้เสียก่อนจึงจะหาย

    เมื่อท่านกลับไปเมืองอุบลฯ แล้ว ได้เรียกผู้หญิงคนนั้นกับแม่เขามาหา ท่านอาจารย์เสาร์ได้เล่าเรื่องความจริงให้เขาฟังทุกประการ ถ้าหากเป็นความจริงอย่างนั้น ก็ให้อโหสิกรรมกันเสีย การผูกกรรมทำเวรกันเป็นกรรมอันยืดยาวมาก อันนี้ยังดีที่ยังไม่ได้ตายจากกัน อโหสิกรรมให้กันเสียก็จะแล้วกันไป

    เมื่อพูดแล้ว ผู้หญิงคนนั้นก็ยิ้มๆ ได้ขันน้ำแล้วไปกรวดน้ำที่ตีนบันได เป็นอันว่าอโหสิกรรมกันหมดเท่านั้น

    (เรื่องกรรมนี้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก ถ้ายังนั่งสมาธิ - ภาวนายังไม่ถึงที่ ก็จะไม่เข้าใจ ท่านที่สนใจโปรดหาอ่านได้ที่ ชีวิตนี้สำคัญนัก เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นเล่มบางๆ ๔๐ กว่าหน้าเท่านั้น พระองค์อธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจได้ง่ายๆ เป็นพระปรีชาอย่างยิ่ง - ปฐม)
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จำพรรษาที่พระธาตุพนม


    เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ก็พาหลวงปู่มั่นและสามเณร รอนแรมตามฝั่งโขงเรื่อยลงมา อาศัยบิณฑบาตตามหมู่บ้าน ซึ่งมีเป็นหย่อมๆ ของชนเผ่าต่างๆ ได้แก่ ชาวภูไท ไทยดำ ลาวโซ่ง เป็นต้น ซึ่งชนแต่ละเผ่านี้ล้วนแต่นับถือพระสงฆ์องคเจ้า ชอบทำบุญ

    หลวงปู่มั่น ได้พูดถึงตัวท่านเองในขณะนั้นว่า “...แต่ขณะนี้ตัวของเราเองก็ยังมองไม่เห็นธรรมของจริง ยังหาที่พึ่งแก่ตนเองยังไม่ได้ จะไปสอนผู้อื่นก็เห็นจะทำให้ตัวของเราเนิ่นช้า จึงไม่แสดงธรรมอะไร นอกจากเดินทางไป พักบำเพ็ญสมณธรรมไปตามแต่จะได้”

    จากหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ เขียนถึงการเดินทางในตอนนี้ว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้พาศิษย์ “เดินมาจนถึงปากเซบั้งไฟ จึงพากันนั่งเรือข้ามมาฝั่งขวาคือฝั่งประเทศไทย ขึ้นฝั่งที่ท่าน้ำหน้าวัดพระธาตุพนม และหยุดพักที่วัดพระธาตุพนม”

    (การเรียกฝั่งซ้ายฝั่งขวานั้น ท่านให้ยืนหันหลังไปทางต้นน้ำหันหน้าไปทางที่น้ำไหลลง ฝั่งที่อยู่ทางซ้ายมือของเราถือเป็นฝั่งซ้ายและฝั่งทางขวามือเราก็เป็นฝั่งขวา-ปฐม)

    ในปีนั้นน่าจะเป็นปี พ.ศ. ๒๔๔๓ หลวงปู่มั่น ได้เล่าถึงสภาพของพระธาตุพนมในสมัยนั้นว่า :-



    “ขณะนั้น พระธาตุพนมไม่มีใครเหลียวแลดอก มีแต่เถาวัลย์นานาชนิดปกคลุมจนมิดเหลือแต่ยอด ต้นไม้รกรุงรังไปหมด”

    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น กับสามเณร ได้พักอยู่ที่นั่นเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม

    จากบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ได้กล่าวถึงท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) ซึ่งต่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ ได้ร่วมคณะธุดงค์ในครั้งนั้นด้วย ดังนี้ :-

    “สมัยหนึ่งท่านรวมกันอยู่ มีท่านพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น และท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถร ออกปฏิบัติธรรมร่วมกัน เที่ยวบำเพ็ญไปตามฝั่งแม่น้ำโขง พอจวนเข้าพรรษาในปีนั้น ท่านหวนกลับมาฝั่งไทย ข้ามแม่น้ำโขงมาทางฝั่งจังหวัดนครพนม เข้าพักที่ธาตุพนม ประมาณปี ๒๔๔๓ พระธาตุพนมสมัยนั้นยังไม่สูงเหมือนสมัยนี้..”

    ในบันทึกของ หลวงพ่อโชติ มีต่อไปว่า :-

    “ปี พ.ศ. ๒๔๔๔ พระครูวิโรจน์รัตโนบล เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี วัดทุ่งศรีเมือง ได้ไปบูรณะพระธาตุพนม

    ท่านเล่าว่า สมัยนั้นพระธาตุพนมรกทึบ มีต้นไม้ เครือเถาวัลย์ขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะต้นยางใหญ่นั้นใหญ่จนคนโอบไม่หุ้ม

    ตรงบริเวณฐานและส่วนกลางของพระธาตุจะมองไม่เห็นองค์พระธาตุเลย ไม่มีคนกล้าไปแตะต้องถากถางได้ เพราะกลัวอาถรรพ์ต่างๆ นานา ซึ่งเป็นอำนาจลึกลับเร้นลับที่คนไม่สามารถเข้าไปที่นั่น

    บันทึกของหลวงพ่อโชติ ได้พูดถึงคณะของหลวงปู่ใหญ่ ว่า :-

    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ ปกติวิสัยท่านชอบกุฏิน้ำ ถ้ามีสระท่านจะให้ทำยื่นไปในสระน้ำ แล้วทำสะพานเข้าไป ถ้าริมน้ำท่านจะให้ทำใกล้น้ำที่สุด

    อยู่ที่ธาตุพนมก็เหมือนกัน ตรงบริเวณพระธาตุมีสระน้ำอยู่สระหนึ่ง น้ำใสมาก มีดอกบัวบานสะพรั่ง และจอกแหน

    ท่านพระอาจารย์เสาร์ จึงให้ทำกุฏิน้ำให้ท่าน ส่วนพระอาจารย์มั่นและท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร ทำที่พักกุฏิริมรอบพระธาตุ ปีพ.ศ. ๒๔๙๘ ผู้เขียน (หลวงพ่อโชติ) ไปไหว้พระธาตุพนมยังเห็นกุฏิพระอาจารย์เสาร์ในสระข้างโรงเรียน

    <TABLE id=table24 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ภาพ พระธาตุพนม
    วาดจากภาพถ่ายของนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อ พ ศ. ๒๔๐๙
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แสงประหลาดที่พระธาตุพนม


    พระธาตุพนมในสมัยก่อน ประชาชนแถวนั้นคงไม่รู้ถึงความสำคัญ จึงไม่มีใครสนใจเท่าใดนัก เมื่อคณะของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้มาพำนักจำพรรษา จึงได้เปิดเผยความลี้ลับและความศักดิสิทธิ์ ประชาชนและทางบ้านเมืองจึงได้ตื่นตัว ต่อมากได้มีการบูรณะขึ้นมาจนกลายเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญของภาคอิสาน และของประเทศไทยในปัจจุบัน

    จึงนับได้ว่าการมาพำนักของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระปัญญาพิศาลเถร (หลวงปู่หนู ฐิตปญฺโญ) และคณะ ในปี พ ศ. ๒๔๔๓ จึงถือเป็นคุณมหาศาล ที่ทำให้ชนรุ่นหลังได้พระธาตุพนมสถานศักดิ์สิทธิ์เพื่อการกราบไหว้มาจนทุกวันนี้

    ในบันทึกของหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ที่ได้ฟังจากปากของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เมื่อปี พ ศ ๒๔๘๖ บันทึกไว้ดังนี้

    “ท่านเล่าไปเคี้ยวหมากไปอย่างอารมณ์ดีว่า ขณะนั้นพระธาตุพนมไม่มีใครเหลียวแลดอก มีแต่เถาวัลย์นานาชนิดปกคลุมจนมิดเหลือแต่ยอด ต้นไม้รกรุงรังไปหมด

    ทั้งสาม ศิษย์อาจารย์ก็พากันพักอยู่ที่นั่นเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ขณะที่ท่านอยู่กันนั้น พอตกเวลากลางคืนประมาณ ๔ - ๕ ทุ่ม จะปรากฏมีแสงเขียววงกลมเท่ากับลูกมะพร้าว และมีรัศมีสว่างเป็นทางผุดออกจากยอดพระเจดีย์ แล้วก็ลอยห่างออกไปจนสุดสายตา และเมื่อถึงเวลาก่อนจะแจ้ง ตี ๓ - ๔ แสงนั้นจะลอยกลับเข้ามาจนถึงองค์พระเจดีย์ แล้วก็หายวับเข้าองค์พระเจดีย์ไป

    ทั้งสามองค์ ศิษย์อาจารย์ได้เห็นเป็นประจักษ์เช่นนั้นทุกๆ วัน ท่านอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร จึงพูดว่าที่พระเจดีย์นี้ต้องมีพระบรมสารีริกธาตุอย่างแน่นอน

    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค เล่าถึงเหตุการณ์เดียวกัน

    “นับแต่วันแรกของการอธิษฐานเข้าพรรษา พระอาจารย์เสาร์ได้เห็นแสงฉัพพรรณรังสี พวยพุ่งออกมาจากองค์พระธาตุในระยะหัวค่ำ ครั้นพอจวนสว่างก็ปรากฏแสงสีต่างๆ ลอยพวยพุ่งเข้าสู่องค์พระธาตุเหมือนเดิม

    ปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดนั้น ปรากฏขึ้นโดยตลอดจนออกพรรษา

    ท่านพระอาจารย์เสาร์ท่านเชื่อแน่ว่า พระธาตุนี้บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย

    ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้ไปเสาะหาข้อมูลในภายหลังได้บันทึกไว้ดังนี้ :-

    “เรื่องแสงประหลาดลอยออกจากพระธาตุฯ มีผู้รู้เห็นกันมากมาย เรื่องนี้มีการเล่าขานสู่กันฟังในหมู่ลูกหลานชาวเมืองพนม (ชาวธาตุพนม) ว่า ตกมื้อสรรวันดี ยามค่ำคืนกะสิมีแสงคือลูกไฟลอยจากพระธาตุให้ไทบ้านไทเมืองพนมได้เห็นกันทั่ว

    ข้าพเจ้าได้สอบถามจากคุณเฉลิม ตั้งไพบูลย์ เจ้าของร้านเจียบเซ้ง จำหน่ายยารักษาโรค ผู้ตั้งรกรากอยู่ที่ถนนกุศลรัษฎากร อันเป็นถนนจากท่าน้ำตรงไปยังวัดพระธาตุพนม ท่านเล่าให้ฟังว่า

    สมัยก่อนนั้น (เมื่อ ๔๐ ปีย้อนหลัง) ท่านยังได้เห็นแสงจากองค์พระธาตุอยู่บ่อยๆ คือตอนกลางคืนราว ๓ - ๔ ทุ่ม จะมีแสงสว่างคล้ายหลอดไฟ ๖๐ แรงเทียน เป็นทรงกลมเท่าผลส้ม ลอยออกจากองค์พระธาตุฯ ในระดับสูงเท่ายอดมะพร้าว (๔๐ - ๕๐ เมตร) ลอยขนานกับพื้นในระดับความเร็วกว่าคนวิ่ง พุ่งไปทางทิศตะวันออก ผ่านหลังคาบ้านของท่าน... แล้วลอยข้ามโขง (แม่น้ำโขง) ไปจนลับสายตา... พอตกดึกจวนสว่างก็จะลอยกลับมาในแนวเดิม แล้วลับหายเข้าสู่องค์พระธาตุฯ เหมือนเดิม ผู้คนแถวนี้ได้เคยเห็นกันอยู่บ่อยๆ ปัจจุบันนี้ไม่มีปรากฏให้เห็นอีก

    หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้พูดถึงการบำเพ็ญสมณธรรมที่พระธาตุพนมในครั้งนั้นว่า “การพักอยู่ในบริเวณของพระธาตุพนมนี้ทำให้จิตใจเบิกบานมาก และทำให้เกิดอนุสรณ์รำลึกถึงพระพุทธเจ้าได้อย่างดียิ่ง”
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เริ่มต้นบูรณะพระธาตุพนม


    จากบันทึกของหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่มั่น เกี่ยวกับการเริ่มต้นบูรณะพระธาตุพนม มีว่า :-

    “ดังนั้น ท่าน (หลวงปู่ใหญ่เสาร์) จึงได้ชักชวนญาติโยมทั้งหลายในละแวกนั้น ซึ่งก็มีอยู่ไม่กี่หลังคาเรือน และส่วนมากก็เป็นชาวนา ได้มาช่วยกันถากถางทำความสะอาดบริเวณองค์พระเจดีย์นั้น ได้พาญาติโยมทำอยู่เช่นนี้ ๓ เดือนเศษ จึงค่อยสะอาดเป็นที่เจริญหูเจริญตามาตราบเท่าทุกวันนี้

    เมื่อญาติโยมทำความสะอาดเสร็จแล้ว ท่านอาจารย์ก็พาญาติโยมในละแวกนั้นทำมาฆบูชา ซึ่งขณะนั้นผู้คนแถวนั้นยังไม่รู้ถึงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด ทำให้พวกเขาเหล่านั้นเกิดศรัทธาเลื่อมใสอย่างจริงจัง จนได้ชักชวนกันมารักษาอุโบสถ ฝึกหัดกรรมฐานทำสมาธิกับท่านอาจารย์จนได้ประสบผลตามสมควร

    บันทึกของหลวงพ่อวิริยังค้ามีต่อไปว่า

    “...จากนั้นท่านทั้งสามก็ได้ออกเดินทางจาริกต่อไป และแสวงหาความสงบตามป่าดงพงพีไปเรื่อยๆ โดยมุ่งหวังเพื่อบรรลุธรรม แต่ก็ยังไม่สมความตั้งใจไว้

    ต่อมาพระอาจารย์เสาร์ ก็พากลับจังหวัดอุบลราชธานีอันเป็นถิ่นเดิมของท่าน

    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค มีดังนี้.:-

    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ จึงได้ข่าวประกาศให้ญาติโยมจังหวัดนครพนมได้ทราบว่า พระธาตุพนมนี้เป็นพระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นพระธาตุที่บรรจุอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า ขอให้ชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลายช่วยกันถากถาง ทำความสะอาดบริเวณพระธาตุ แล้วทำบุญอุทิศถวายกุศลแด่พระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาของเรา

    เมื่อชาวบ้านชาวเมืองได้รู้เช่นนั้นแล้ว ก็พากันบังเกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง เอิกเกริกโกลาหลกันเป็นการใหญ่

    ครั้นถึงวันเพ็ญเดือน ๓ ท่านพระอาจารย์ ก็พาญาติโยมทั้งหลายทำบุญ อันมีพระอาจารย์มั่น และท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร รวมอยู่ด้วย จนเป็นประเพณีสืบๆ ต่อกันมามิได้ขาด จนกระทั่งบัดนี้

    หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ได้เปรียบเทียบเชิงอุปมาอุปมัยในการค้นพบพระธาตุพนม ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และคณะศิษย์ ดังนี้ :-

    “เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๓ หลังจากที่ชาวเมืองนครพนมจมอยู่ในความมืดบอดเป็นเวลานาน ปล่อยให้พระธาตุเป็นป่ารกทึบ และแล้วพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น และท่านเจ้าคุณปัญญาพิศาลเถรได้นำเอาแสงสว่างดวงประทีปธรรมของพระพุทธองค์ สองทางให้ได้เห็นหนทางแห่งการปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องดำเนินต่อไป”

    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้เล่าให้ หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส ศิษย์อุปัฏฐากฟังว่า ทีแรก ชาวเมืองได้ขอให้หลวงปู่ใหญ่เป็นผู้บูรณะ แต่ท่านบอกว่า “เราไม่ใช่เจ้าของ เดี๋ยวเจ้าของผู้ซ่อมแซมจะมาทำเอง”

    และเจ้าของ ที่หลวงปู่ใหญ่พูดไว้ก็คือ พระครูวิโรจน์รัตโนบล หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่านพระครูดีโลด นั่นเอง
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บันทึกการบูรณะพระธาตุพนม


    บันทึกการบูรณะพระธาตุพนม หลังจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และศิษย์มาพักจำพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ แล้ว ก็ได้มีการบูรณะพระธาตุพนมอย่างจริงจังขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ (การบูรณะครั้งที่ ๕) ตามหนังสืออุรังคนิทาน ตำนานพระธาตุพนมที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร (แก้ว กนฺโตภาโส) ได้กล่าวไว้ ดังนี้ -

    “ครั้นถึง พ ศ. ๒๔๔๔ มีพระเถระนักปฏิบัติชาวเมืองอุบลฯ ๓ รูป เดินธุดงค์มาจำพรรษาอยู่วัดสระพัง (ตะพัง) ซึ่งเป็นสระโบราณใหญ่อยู่บริเวณนอกกำแพงวัดทางด้านหรดีองค์ธาตุพนม คือ พระอุปัชฌาย์ทา ๑ พระอาจารย์เสาร์ ๑ พระอาจารย์มั่น ๑

    ท่านและคณะได้มานมัสการพระบรมธาตุ และพิจารณาดูแล้วมีความเลื่อมใส เห็นว่าพระธาตุพนมเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุอันแท้จริง แต่เป็นที่น่าสลดใจ เมื่อเห็นองค์พระธาตุเศร้าหมอง รกร้างตามบริเวณทั่วไป

    ทั้งพระวิหารหลวง ซึ่งพระเจ้าโพธิศาล (พ ศ. ๒๐๗๓ - ๒๑๐๓) แห่งนครหลวงพระบางได้สร้างไว้ (ตามประวัติพระธาตุพนมบูรณะครั้งที่๒) ก็พังทลายกลายเป็นกองอิฐปูนอยู่ภายในกำแพงพระธาตุ ถ้าได้ผู้สามารถเป็นหัวหน้าบูรณะจะเป็นมากุศลสาธารณะแก่พระพุทธศาสนาและบ้านเมืองมิใช่น้อย

    จึงแต่งตั้งให้ตัวหน้าเฒ่าแก่ชาวบ้านธาตุพนม เดินทางลงไปเมืองอุบล ให้อาราธนาเอาท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนตโร) วัดทุ่งศรีเมือง จ อุบลฯ แต่เมื่อท่านดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูอุดรพิทักษ์คณาเดช ขอให้ท่านขึ้นมาเป็นหัวหน้าซ่อมแซมพระบรมธาตุ ท่านก็ยินดีรับขึ้นมาตามความประสงค์ (ท่านมีคุณสมบัติพิเศษ โอบอ้อมอารี จนได้นิมิตนามว่า “พระครูดีโลด” คืออะไรก็ดีหมด)

    ท่านเป็นพระเถระผู้เชี่ยวชาญทางการฝีมือ ศิลปกรรม การก่อสร้าง แกะสลักทั้งไม้ อิฐ ปูน เป็นนักปกครองชั้นดี ทั้งเป็นนักปฏิบัติมีจิตตานุภาพและจิตวิทยาสูง เป็นที่นิยมของประชาชน ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต มีศิษย์มากอยู่ ผู้ใดได้พบปะสนทนาด้วยแล้ว ต่างมีความเคารพรัก

    เมื่อท่านพระครูฯ รับนิมนต์ เดินทางมาถึงแล้วได้ประชุมหารือทั้งชาววัดและชาวบ้าน

    ชั้นแรกชาวบ้านจะยอมให้ทำแต่เพียงทาปูนลานพระธาตุ ให้มีที่กราบไหว้เท่านั้น มิยอมให้ซ่อมองค์พระธาตุเพราะเกรงกลัวเภทภัยทั้งหลายซึ่งเคยเป็นมาแล้วแต่หนหลัง

    ท่านพระครูฯ ไม่ยอม บอกว่าถ้ามิได้บูรณะพระธาตุแต่ยอดถึงดิน แต่ดินถึงยอดแล้วจะมิทำ

    ชาวบ้านไม่ตกลง เลิกประชุมกัน

    ครั้นต่อมาในวันนั้น มีอารักษ์เข้าสิงคน ขู่เข็ญผู้ขัดขวาง จะทำให้ถึงวิบัติ ชาวบ้านเกิดความกลัวจึงกลับมาวิงวอนให้ท่านพระครูฯทำตามใจชอบ

    ท่านพระครูวิโรจน์ฯ ได้เริ่มบูรณะแต่เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ค่ำ จนถึงเดือน ๓ เพ็ญ ได้ฉลอง มีประชาชนหลั่งไหลมาจากจตุรทิศ ช่วยเหลือจนมืดฟ้ามัวดินเป็นประวัติการณ์นับแต่หลังจากบ้านเมืองเป็นจลาจลมา (เกิดศึกสงครามระหว่างไทยกับญวน ทำให้ผู้คนแตกตื่นอพยพหนีหายไปจำนวนมาก และช่วงนั้นเกิดกรณีกบฏผีบุญ ขึ้นที่มณฑลอุบล เมื่อสมัย ร.ศ. ๑๑๗ ตรงกับ พ ศ ๒๔๔๓ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ด้วย)

    มีผู้ศรัทธาร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อบูรณะพระธาตุเป็นจำนวนมาก

    การบูรณะ ได้ชำระต้นโพธิ์เล็กที่เกาะจับอยู่ออก ขูดไคลน้ำและกะเทาะสะทายที่ชำรุดออก โบกปูน ทาสีใหม่ ประดับกระจกสีในที่บางแห่ง และลงรักปิดทองยอดตามที่อันควร สิ้นทองเปลว ๓ แสนแผ่น หมดเงินหนัก ๓๐๐ บาท ทองคำ ๕๐ บาทเศษ แก้วเม็ด ๒๐๐ แก้วประดับ ๑๒ หีบ หล่อระฆังโบราณด้วยทองแดง ๑ ลูก หนัก ๒ แสน (๒๔๐ กก.) ไว้ตีเป็นพุทธบูชา

    คัดลอกมาจากหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลับมาเยี่ยมบ้านคำบงบ้านเกิดหลวงปู่มั่น


    ข้อมูลในตอนนี้ได้จากการสืบค้นของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ เหตุการณ์ช่วงนี้ไม่ได้ระบุวันเดือนปีที่แน่นอน แต่เป็นเหตุการณ์ภายหลังจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้นำลูกศิษย์ของท่าน คือ หลวงปู่มั่น ธุดงค์ออกจากภูหล่น ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปทางฝั่งลาว แล้วกลับมาฝั่งไทยพักบำเพ็ญเพียรที่พระธาตุพนมระยะหนึ่ง แล้วก็เดินธุดงค์กลับมาจังหวัดอุบลราชธานี

    ในช่วงนี้ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับหลวงปู่มั่น ได้เดินทางไปที่บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม บ้านเกิดของหลวงปู่มั่นอีกครั้งหนึ่ง

    ข้อมูลจากท่านอาจารย์พิศิษฐ์ บอกว่า ผู้เฒ่าชาวบ้านคำบง เล่าว่าหลวงปู่ทั้งสอง ได้รับการถวายทองคำมาจำนวนหนึ่ง ได้นำมาหล่อเป็นพระพุทธรูปที่ บ้านกุดเม็ก โดยทำเตาหลอม และเททองหลอมด้วยตัวของท่านเอง

    ชาวบ้านเล่าว่า พระอาจารย์ กับ ศิษย์ ได้ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๒ องค์ องค์ใหญ่หลวงปู่ใหญ่เสาร์เป็นคนหล่อและหลวงปู่มั่นหล่อพระพุทธรูปองค์เล็ก

    อาจารย์พิศิษฐ์ บรรยายว่า

    “...พระพุทธรูปสององค์นี้เป็นทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักราว ๗ - ๙ นิ้ว ข้าพเจ้าคาดไม่ถึงว่าจะมีน้ำหนักมากมายจนเกือบยกไม่ขึ้นปานนี้ ต่อเมื่อได้ยกขึ้นพิจารณาดูอย่างละเอียดใกล้ชิดแล้ว จึงได้ทราบว่าเป็นพระพุทธรูปที่หล่อตันทั้งองค์ จะมีกลวงนิดหน่อยก็ตรงส่วนฐานของพระพุทธรูปเท่านั้นเอง พระพุทธรูป ๒ องค์นี้ชาวบ้านคำบงและพระสงฆ์ทั้งหลาย พากันเคารพหวงแหนมาก โดยได้เก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้”

    <TABLE id=table25 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระพุทธรูป ๒ องค์นี้ ชาวบ้านคำบงและพระสงฆ์ทั้งหลาย พากันเคารพหวงแหนมาก โดยได้เก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การทำบุญฉลองการบูรณะพระธาตุพนม


    การบูรณะพระธาตุพนมในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยพระครูวิโรจน์รัตโนบล หรือ พระครูดีโลด เป็นการบูรณะครั้งที่ ๕ โดย “ได้เริ่มบูรณะแต่เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ จนถึงเดือน ๓ เพ็ญ ได้ฉลอง มีประชาชนหลั่งไหลมาจากจตุรทิศ... จนมืดฟ้ามัวดิน...”

    ในบันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ได้กล่าวถึงงานฉลองพระธาตุพนม ดังนี้ :-

    “ในงานมหามงคลวันนั้นท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู) เป็นผู้แสดงธรรม น้ำเสียงของท่าน สำนวนภาษา อรรถาธิบาย อุปมาอุปมัย ความสงบ กิริยาท่าทาง ดำเนินไปเยี่ยงผู้เห็นภัยด้วยความงดงามยิ่ง ไพเราะเพราะพริ้งเป็นที่ชื่นชมโสมนัส เลื่อมใสศรัทธา ประทับใจผู้ฟัง เป็นอย่างมาก ข้อความที่ท่านยกขึ้นแสดงแต่ละอย่าง ก็ซึ้ง สมบูรณ์ด้วยเหตุผล จนผู้ฟังบังเกิดความเห็นคล้อยตามไปทุกอย่าง ไม่มีแม้เสียงเคลื่อนไหว แทบจะไม่หายใจ เงียบกริบ นั่งเป็นระเบียบฟังอย่างเป็นสมาธิ ไม่มีเสียงกระแอมไอแม้กระทั่งเขยื้อนตัว เป็นต้น

    น้ำเสียงของท่านเป็นกังวานชัดเจน ในสมัยนั้น ถึงไม่มีเครื่องขยายเสียง แต่กระแสเสียงของท่าน แม้จะพูดธรรมดาก็ได้ยินโดยทั่วเพราะความสงบเงียบนั่นเอง

    นี่ละหนอ เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมท่ามกลางบริษัทมากๆ ต้องกินเนื้อที่กว้างไกล สมัยพุทธกาลก็ไม่มีเครื่องขยายเสียงทำไมคนจึงได้ยินโดยทั่วกัน

    ก็คงเป็นเหมือนเช่นครั้งท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถรท่านแสดงธรรมทั่วพระธาตุพนมนั่นเอง เพราะอาศัยความเงียบ ความสำรวมของผู้ฟัง น้ำเสียงจึงแผ่ไปทั่วทุกอณูของสถานที่บริเวณอย่างชัดเจน ซึ่งต่างจากปัจจุบันนี้เป็นไหนๆ

    การแสดงความเคารพเป็นกิจเบื้องแรกในบวรพุทธศาสนา ผู้ที่ขาดความอ่อนน้อม แข็งกระด้าง ก็อย่าหวังเลยว่าจะทำมรรคผลนิพพานให้เกิดขึ้นได้ ความเคารพนั้น แสดงออกได้ ๓ ทาง คือ กาย วาจา ใจ

    ก่อนฟังเทศน์ บริษัททั้งหลายสมาทานเอาไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่งที่เคารพยึดถือ ต้องแสดงความเคารพอย่างสูงสุดหยุดนิ่ง

    เมื่อครูอาจารย์ขึ้นเทศน์อบรม ถึงจะเป็นใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเถระ พระเถรเณรน้อย หรือเจ้าฟ้าเจ้าคุณก็ตาม เราจะต้องให้ความเคารพเสมอภาคกันหมด เพราะผู้เทศน์ผู้แสดงธรรมท่านเอาพระธรรมของพระพุทธเจ้ามาอบรมสั่งสอนเรา เมื่อเราแสดงออกซึ่งความไม่เคารพ คือไม่ตั้งใจสงบนิ่งด้วยกาย วาจา ใจ ซึ่งแสดงว่าเราไม่มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ที่เราอุตส่าห์สมาทานเอาเป็นสรณะแต่เบื้องแรก เมื่อเป็นเช่นนั้น การสมาทาน การฟังเทศน์ จะมีประโยชน์มีความหมายอะไร ไม่มีอานิสงส์แม้แต่น้อย สักแต่ว่าเป็นทุกขเวทนา เป็นบาปกรรมเปล่าๆ

    แม้ในบันทึกจะไม่ได้กล่าวถึงเนื้อหาของพระธรรมเทศนา ก็ได้บ่งบอกถึงบรรยากาศของการฟังเทศน์ของคนในสมัยนั้น ว่าเป็นไปด้วยความเคารพศรัทธา และความตั้งใจฟังอย่างแท้จริง

    <TABLE id=table26 border=0><TBODY><TR><TD rowSpan=3 align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=2 align=middle>พระองค์ล่างสุดคือ พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร)
    หรือ พระครูดีโลด พระผู้บูรณะพระธาตุพนม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล พระผู้บูรณะพระธาตุพนม


    ผมขออนุญาตนำเสนอประวัติและข้อมูลโดยย่อของท่าน

    พระครูวิโรจน์รัตโนบล ผู้นำในการบูรณะพระธาตุพนมในครั้งนั้น ไว้ ณ ที่นี้ด้วย เพราะโอกาสที่ท่านผู้อ่านจะไปค้นหาประวัติเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก

    ท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร) หรือ “พระครูดีโลด” เกิดวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๓๙๘ ที่บ้านหมู่ที่ ๑ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

    ท่านอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ ที่วัดป่าน้อย (วัดมณีวนาราม) เจ้าอธิการจันลา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์คำ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ดี เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ท่านได้รับการศึกษาเบื้องต้นคือ การเรียนอักษรขอม อักษรธรรม อักษรไทยน้อย หนังสือไทย การคิดเลข จากท่านราชบรรเทา

    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้เล่าเรียน ท่องบ่น สวดมนต์น้อย สวดมนต์กลาง ได้แก่ เจ็ดตำนาน สิบสองตำนานในปัจจุบัน สวดมนต์ปลาย ได้แก่ ปาฏิโมกข์ สัททสังคหสูตร เรียนมูลกัจจายน์ และเรียนวิชาช่างศิลป์ (ช่างปั้น เขียน แกะสลัก) จากอาจารย์ชื่อ ราชบรรเทาอีกด้วย

    หลังจากอุปสมบทระยะหนึ่ง ก็ย้ายไปอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง ต่อมาเมื่อเจ้าอาวาสมรณภาพ ท่านจึงได้เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง สืบมา

    เกียรติประวัติของท่าน พอสรุปได้ดังนี้

    ๑.การปกครอง พ ศ. ๒๔๓๔ เป็นเจ้าคณะแขวง อำเภออุตตรุปรนิคม (อำเภอม่วงสามสิบ) ต่อมาเป็นเจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ รวมเวลาเป็นเจ้าคณะบริหารคณะสงฆ์รวม ๓๗ ปี



    ๒.การสาธารณูปการ เนื่องจากท่านเป็นช่างศิลป์ ท่านได้รับอาราธนาให้ดำเนินการปฏิสังขรณ์ และสร้างถาวรวัตถุที่สำคัญ คือ

    (๑) ปฎิสังขรณ์พระธาตุพนม พ.ศ. ๒๔๔๔
    (๒) ปฏิสังขรณ์วิหารพระเหลาเทพนิมิต
    (๓) เป็นกรรมการสร้างอุโบถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร หลังปัจจุบัน และ
    (๔) เป็นประธานหล่อพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ พระประธานวัดสุปัฏนารามวรวิหาร พระประธานวัดบ้านท่าบ่อ พระประธานวัดบ้านหนองไหล เป็นต้น

    ๓.เกียรติคุณทางอาคม ในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในอินโดจีน กองทหารหน่วยบุกยึดนครจำปาศักดิ์ได้มาตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ที่อุบลราชธานี พระกล้ากลางสมร ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ได้นิมนต์ท่านพระครูวิโรจน์ฯ เป็นผู้ประสาทพรแก่ทหารและขุนบุรัสการบดี ผู้แทนสมัยนั้นได้นำเอารูปถ่ายของพระครูวิโรจน์ฯ มาทำเป็นเหรียญมอบให้ ปรากฏว่าทหารหาญรุ่นนั้นปลอดภัยเป็นส่วนใหญ่ เหรียญรุ่นนั้นจึงเป็นที่ต้องการอย่างแพร่หลาย

    ท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล มรณภาพเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ อายุได้ ๘๗ ปี

    (ข้อมูลจาก พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ชมรมพุทธศาสน์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ๒๕๔๖ )

    <TABLE id=table27 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุญรอด นนฺตโร)
    พระผู้บูรณะพระธาตุพนม (ครั้งที่ ๕)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตำนานพระธาตุพนม


    ตำนานพระธาตุพนม โดยย่อ มีดังนี้

    ในตำนานพระธาตุพนมตอนหนึ่ง ได้กล่าวถึงพุทธประวัติโดยย่อไว้อย่างน่าสนใจว่า ครั้งหนึ่งในตอนปัจฉิมโพธิกาล (ช่วงท้ายที่พระองค์ยังทรงขันธ์อยู่) พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ที่เป็นปัจฉาสมณะ ได้เสด็จออกจากพระเชตวันโดยทางอากาศ ผินพระพักตร์มาทางเบื้องบูรพาทิศ เสด็จประทับที่ดอนกอนเนา นั้นก่อน แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ทรงทอดพระเนตรเห็นแลนคำ (ตะกวด) แลบลิ้น แล้วทรงทำนายชะตาเมืองล้านช้างไว้ตามนิมิตของแลนคำนั้น

    <TABLE id=table32 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระพุทธบาทบัวบก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    จากนั้นก็ได้โปรดสัตว์มาตามลำแม่น้ำโขง (เดิมเรียก ขลนที) และได้ประทับรอยพระบาทมาโดยลำดับ มีรอยพระบาทบัวบก (อำเภอผือ อุดรธานี) พระบาทโพนเพล (ฝั่งซ้ายตรงกับอำเภอโพนพิสัย) พระบาทเวินปลา (เหนือบ้านสำราญ อำเภอเมืองนครพนม) แล้วมาพักแรมที่ภูกำพร้า หรือกปณศรี (ที่ตั้งพระธาตุพนม) ๒ ราตรี

    รุ่งขึ้นเสด็จไปชำระพระบาทที่ริมแม่น้ำแห่งหนึ่ง เอาบาตรคล้องไว้ที่กิ่งไม้พุทรา ใต้ป่าไม้แป้งต้นหนึ่ง เดี๋ยวนี้เรียกว่า โพธิห้อยบาตร อยู่ริมแม่น้ำก่ำ ใต้พระธาตุพนมประมาณ ๒ กิโลเมตร

    จากนั้นได้เสด็จไปประทับอยู่ใต้ต้นรังต้นหนึ่ง ซึ่งอยู่ใต้ปากเซบั้งไฟ พญาเมืองศรีโคตบูร ได้อาราธนาให้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองแล้วได้กลับมาฉันที่ภูกำพร้า

    <TABLE id=table33 border=0 width=122 align=right height=198><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระธาตุอิงฮัง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ที่โคนต้นรังอันเป็นที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในครั้งนั้น ต่อมาในราว พ ศ. ๕๐๐ พญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร (นครพนมในปัจจุบัน) ได้สร้างเจดีย์ครอบไว้เพื่อเป็นพุทธบูชา คนทั้งหลายพากันเรียกว่า พระธาตุอิงฮัง (พิงต้นรัง) อยู่ห่างจากสุวรรณเขตไปทางเหนือประมาณ ๑๔ กิโลเมตร

    เมื่อพระพุทธองค์ทรงทำภัตตกิจที่ภูกำพร้าเสร็จแล้วได้ทรงพยากรณ์เมืองศรีโคตบูร ปรารภถึงภูกำพร้า และเมืองมรุกขนคร แล้วได้เสด็จไปเมืองหนองหานหลวง ได้เทศนาโปรด พญาสุวรรณภิงคาร และ พระนางเทวี พร้อมทั้งบริวารทั้งหลาย ให้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ดีแล้ว จึงได้เสด็จไปประทับรอยพระบาทไว้ที่ภูน้ำรอดเชิงชุม ได้ทรงตรัสว่า ณ สถานที่นั้น พระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ได้มาประสานรอยบาทไว้แล้ว

    <TABLE id=table34 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระธาตุเชิงชุม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พญาสุวรรณภิงคาร ทรงศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยอย่างแรงกล้า ได้ทรงสละมงกุฎทองคำถวายเป็นพุทธบูชาไว้ที่รอยพระบาทนั้น และทรงสร้างเจดีย์ครอบไว้ ๑ องค์ คนทั้งหลายเรียกว่าพระธาตุเชิงชุม มาจนกระทั่งบัดนี้ ที่อยู่ในตัวเมืองสกลนคร)

    เมื่อพระพุทธองค์ได้โปรดพญาสุวรรณภิงคาร และพระนางเทวีแล้ว ได้เสด็จไปประทับที่แท่นศิลาอาสน์ ณ ดอยคูหาลูกหนึ่งทรงทอดพระเนตรเห็นเมืองหนองหานหลวง เมืองศรีโคตบูร และภูกำพร้า (ธาตุพนม) ทรงระลึกถึงพระมหากัสสปเถระ ทันใดนั้น เมื่อพระมหากัสสปเถระ ได้ทราบวาระจิตของพระองค์แล้ว ก็ได้มาเฝ้าโดยทางอากาศ

    พระพุทธองค์ตรัสกับพระเถระว่า “ดูกรกัสสปะ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เธอจงนำเอาอุรังคธาตุแห่งเราตถาคตไปประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้าโน้นเถิด เธออย่าได้ละทิ้งคำสั่งของเราตถาคตนี้เสีย”

    พระมหากัสสปเถระ เมื่อได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้วก็ชื่นชมยินดี ยกอัญชลีขึ้นกล่าวว่า “สาธุ สาธุ !” ดังนี้ แล้วก็กลับไปที่อยู่ของตน

    ภูเขาลูกที่พระพุทธองค์ประทับขณะนั้น คนทั้งหลายเรียกว่าดอยแท่น ในกาลต่อมาเรียกว่า ภูเพ็ก ตั้งอยู่ในเขตตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

    จากภูเพ็ก พระองค์เสด็จไปภูกูเวียง ดอยนันทดังฮีแล้วเสด็จกลับพระเชตวันมหาวิหาร อยู่มาไม่นานก็เสด็จดับขันธ์ไปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา

    ในตำนานพระธาตุพนมได้กล่าวต่อไปอีกว่า เมื่อพระมหากัสสปเถระ ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศาสดาเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญเอาพระอุรังคธาตุของพระองค์มาประดิษฐานไว้ที่ภูกำพร้าตามพระดำรัสที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสั่งไว้

    <TABLE id=table35 border=0 width=122 align=right height=198><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระธาตุภูเพ็ก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในระหว่างการเดินทาง พระมหากัสสปเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ พระองค์ ได้พักอยู่ที่ดอยแท่นหรือภูเพ็กก่อน รุ่งขึ้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหานหลวง เพื่อโปรดพญาสุวรรณภิงคารและแจ้งข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าให้ทรงทราบ

    กล่าวถึง เมืองหนองหานหลวง อันมี พญาสุวรรณภิงคาร และพระนางนารายณ์เจงเวง เป็นต้น พอได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานแล้ว ก็มีความหวังอยู่ว่าตนเองจะได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุนั้น จึงได้สร้างเจดีย์ขึ้น ๒ องค์ด้วยศิลาล้วนๆ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

    <TABLE id=table36 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระธาตุนารายณ์เจงเวง หรือ ธาตุนางเวง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในการสร้างเจดีย์ขึ้นครั้งนั้น ได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือฝายชายมีพญาสุวรรณภิงคาร เป็นหัวหน้าสร้างที่ภูเพ็ก ฝ่ายหญิงมีพระนางนารายณ์เจงเวง เป็นหัวหน้า สร้างขึ้น ณ สวนอุทยานห่างจากตัวเมืองสกลนครไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๖ กม. เดี๋ยวนี้เรียกว่า ธาตุนางเวง

    ทั้งสองฝ่ายได้ให้สัญญากันว่า ถ้าเจดีย์ของฝ่ายใดสร้างเสร็จก่อนจะได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในที่สุดของทางฝ่ายหญิงเสร็จก่อน

    เมื่อพระมหากัสสปเถระได้เดินทางมาถึงแล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างผิดหวังไม่มีใครได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหากัสสปเถระอัญเชิญมา โดยพระเถระได้ชี้แจงให้ทราบว่า ที่พระธาตุนางเวงก็ดีและที่ภูเพ็กก็ดี ไม่ใช่ภูกำพร้า และถ้าจะนำเข้าบรรจุในเจดีย์ที่สร้างด้วยการพนันขันแข่งกันนี้ก็จะผิดพุทธประสงค์ และไม่เป็นศิริมงคลแก่บ้านเมือง

    พระมหากัสสปเถระ จึงให้พระอรหันต์ไปอัญเชิญพระอังคารคือ เถ้าถ่านจากที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ณ เมืองกุสินารา มาบรรจุในเจดีย์ทั้งสององค์นั้น

    พระมหากัสสปะเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ออกจากเมืองหนองหานหลวง ตรงมาที่ดอยกปณคีรี หรือ ภูกำพร้าธาตุพนม ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำขลนที หรือแม่น้ำโขง ได้ทำการก่อสร้างเจดีย์ด้วยอิฐ ก่อเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยมสูงประมาณ ๘ เมตร แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าบรรจุไว้ข้างใน

    สำหรับประวัติการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมหรือเรียกตามแผ่นทองจารึกไว้ในสมัยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก แห่งนครเวียงจันทน์มาบูรณะใน พ.ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ ว่า “ธาตุปะนม” เป็นพุทธเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนพระอุระ) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    มีรูปทรงสี่เหลี่ยมประดับตกแต่งด้วยศิลปลวดลายอันวิจิตรประณีตทั้งองค์ มีความหมายทางพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง สูงจากระดับพื้นดิน ๕๓ เมตร ฉัตรทองคำสูง ๔ เมตร รวมเป็น ๕๗ เมตร

    ในตำนานพระธาตุพนมกล่าวไว้ว่า องค์พระธาตุพนมสร้างครั้งแรกในราว พ.ศ. ๘ ในสมัยอาณาจักรศรีโคตบูร กำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ โดยท้าวพญาทั้ง ๕ อันมีพญาศรีโคตบูร เป็นต้น และพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ อันมีพระมหากัสสปเถระ เป็นประมุข

    ลักษณะการก่อสร้างในสมัยแรกนั้น ใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม แล้วเผาให้สุกทีหลัง กว้างด้านละสองวาของพระมหากัสสปเถระ สูงสองวา ข้างในเป็นโพรงมีประตูเปิดปิดทั้งสี่ด้าน เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธองค์ที่พระมหากัสสปเถระอัญเชิญมา ประดิษฐานไว้ข้างใน แล้วปิดประตูทั้งสี่ด้าน แต่ยังปิดไม่สนิททีเดียวยังเปิดให้คนเข้าไปสักการบูชาได้อยู่ในบางโอกาส

    ในตำนานพระธาตุพนมบอกว่า “ยังมิได้ฐาปนาให้สมบูรณ์” ซึ่งหมายความว่า ยังมิได้ปิดประตูพระธาตุให้มิดชิด พึ่งมาสถาปนาให้สมบูรณ์ในราว พ.ศ. ๕๐๐

    ท้าวพญาทั้ง ๕ ผู้มาเป็นประมุขประธานในการก่อสร้างพระธาตุในครั้งนั้น เป็นเจ้าผู้ครองนครในแคว้นต่างๆ คือ

    ๑.พญาจุลณีพรหมทัต ครองแคว้นจุลณี ก่อด้านตะวันออก
    ๒ พญาอินทปัตถานคร ครองเมืองอินทปัตถานคร ก่อด้านใต้
    ๓.พญาคำแดง ครองเมืองหนองหานน้อย ก่อด้านตะวันตก
    ๔ พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตบูร ก่อด้านเหนือ
    ๕.พญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหานหลวง ก่อขึ้นรวบยอดเข้าเป็นรูปฝาละมี

    ประวัติการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมยุคต่อมา มีดังนี้

    บูรณะครั้งที่ ๑ ในราว พ.ศ. ๕๐๐ โดยมีพญาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร และพระอรหันต์ ๕ องค์ เป็นประธานการบูรณะครั้งนั้น ได้เอาอิฐซึ่งเผาให้สุกดีแล้ว มาก่อต่อเติมจากยอดพระธาตุองค์เดิมให้สูงขึ้นไปอีกประมาณ ๒๔ เมตร แล้วอัญเชิญพระอุรังคธาตุจากอุโมงค์เดิม ขึ้นไปประดิษฐานไว้ใหม่ที่ใจกลางพระธาตุชั้นที่สอง แล้วปิดประตูอย่างมิดชิด หรือสถาปนาไว้อย่างสมบูรณ์ (อยู่สูงจากพื้นดิน ๑๔.๗๐ เมตร)

    บูรณะครั้งสอง เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๗ โดยมีพระยานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตบูร แห่งเมืองโคตบูร เป็นประธาน ได้โบกสะทายตีนพระธาตุทั้งสี่ด้าน และสร้างกำแพงรอบพระธาตุพร้อมทั้งซุ้มประตูและเจดีย์หอข้าวพระทางทิศตะวันออกพระธาตุ ๑ องค์

    บูรณะครั้งที่สาม เมื่อ พ ศ. ๒๒๓๖ - ๔๕ โดยเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก แห่งนครเวียงจันทน์ เป็นประธาน ได้ใช้อิฐก่อต่อเติมจากพระธาตุชั้นที่สองให้สูงขึ้นไปอีกเป็น ๔๓ เมตร ได้มีการปรับปรุงที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุใหม่ โดยสร้างอูบสำริดครอบเจดีย์ศิลาอันเป็นที่บรรจุบุษบกและผอบพระอุรังคธาตุไว้อย่างแน่นหนา และได้บรรจุพระพุทธรูปเงิน ทอง แก้วมรกตและอัญมณีอันมีค่าต่างๆ ไว้ภายในอูบสำริดไว้มากมาย มีจารึกนามพระธาตุพนมว่า “ธาตุปะนม” (ประนม)

    บูรณะครั้งที่สี่ ใน พ.ศ. ๒๓๕๐ - ๕๖ โดยมีเจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทนเป็นประธาน ได้ทำฉัตรใหม่ด้วยทองคำประดับด้วยเพชรพลอยสีต่างๆ ประมาณ ๒๐๐ เม็ด และได้ทำพิธียกฉัตรขึ้นสู่ยอดเจดีย์ในปี ๒๓๕๖

    บูรณะครั้งที่ห้า ใน พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยมีพระครูวิโรจน์รัตโนบล วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน ได้ซ่อมแซมโบกปูนองค์พระธาตุใหม่ ลงรักปิดทองส่วนบน ประดับแก้วติดดาวที่ระฆัง แผ่แผ่นทองคำหุ้มยอด ปูลานพระธาตุ ซ่อมแซมกำแพงชั้นในและชั้นกลาง

    บูรณะครั้งที่หก ใน พ.ศ. ๒๔๘w - ๘๔ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ให้กรมศิลปากร อันมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นหัวหน้า สร้างเสริมครอบพระธาตุองค์เดิมด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กตั้งแต่ชั้นที่ ๓ ขึ้นไป และต่อยอดให้สูงขึ้นไปอีก ๑๐ เมตร รวมเป็น๕๗ เมตร

    มีเหตุการณ์ที่ทำความสะเทือนใจมาสู่ชาวพุทธ คือเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๘ น องค์พระธาตุพนมได้หักล้มลงไปทางทิศตะวันออกทั้งองค์ ทับวัตถุก่อสร้างต่างๆ ซึ่งอยู่บริเวณนั้นได้แก่ หอพระทางทิศเหนือและทิศใต้ ศาลาการเปรียญและพระวิหารหอพระแก้วเสียหายหมด ทั้งนี้เพราะฐานหรือพระธาตุชั้นที่ ๑ ซึ่งสร้างแต่สมัยแรกนั้นเก่าแก่มาก ไม่สามารถทานน้ำหนักส่วนบนได้จึงพังทลายลงมาหมดทั้งองค์

    ต่อมาก็ได้ทำการรื้อถอน และได้สร้างขึ้นมาใหม่ สำเร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้จัดพระราชพิธีบรรจุพระอุรังคธาตุระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จมาเป็นองค์ประธาน และทรงบรรจุพระอุรังคธาตุ

    หมายเหตุ: ทั้งหมดนี้สรุปมาจากหนังสือ ประมวลภาพประวัติศาสตร์พระธาตุพนม ซึ่งวัดพระธาตุพนมวรวิหารจัดพิมพ์ สำหรับท่านที่สนใจประวัติศาสตร์อิสานโบราณและตำนานพระธาตุพนมโปรดอ่าน อุรังคนิทาน : ตำนานพระธาตุพนม (พิสดาร) โดย พระธรรมราชานุวัตร อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม

    <TABLE id=table28 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระธาตุพนมองค์เดิม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขบถผีบุญที่มณฑลอิสาน


    เหตุการณ์ขบถผีบุญ ที่มณฑลอุบล เป็นเรื่องที่ดังมากในสมัยนั้น ผมเองเคยได้ยินแต่ชื่อ ไม่ทราบเรื่องราวที่แท้จริง เผอิญเรื่องนี้มีความเกี่ยวพันกับหลวงปู่มั่น อยู่บ้างเล็กน้อย คือ ชื่อของหัวหน้าผีบุญ ที่เรียกว่า อ้ายมั่น (อ้าย แปลว่า พี่ หรือ ลูกพี่) ต่อมาก็เรียกว่า องค์มั่นผู้วิเศษ ชื่อไปพ้องกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ของพวกเราเข้า เลยก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ก่อเรื่องกวนใจให้ครูบาอาจารย์ในสมัยนั้นพอสมควร

    เรื่องขบถผีบุญ ที่นำเสนอ ณ ที่นี้ เป็นผลการศึกษาค้นคว้าของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ อีกตามเคย ต้องขอบพระคุณที่ท่านอุตส่าห์ค้นคว้าและเรียบเรียงสาระสำคัญมาให้พวกเราได้อ่านกัน

    ผมเองก็ แหะ !.แหะ ! คัดลอกมาทั้งดุ้น เพื่อเสนอท่านผู้อ่านดังต่อไปนี้ครับ :-

    อาจารย์สมบัติ ตั้งชื่อหัวข้อว่า กรณีขบถผีบุญหรือผู้มีบุญ” มีรายละเอียด ดังนี้ :-

    เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกัน ควรที่จะนำลงมาพิมพ์ไว้เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลังที่อาจจะยังไม่ทราบ นั่นคือเกิดเหตุการณ์เรื่องขบถผีบุญ หรือขบถผู้มีบุญ ขึ้นที่มณฑลอุบล เมื่อ ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๓) ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

    เหตุการณ์เริ่มต้นจากการที่มีข้อความเป็นคำพยากรณ์ซึ่งนัยว่ามาจากหนังสือผูกที่จารลงใบลาน เป็นถ้อยคำปริศนา ความว่า

    “...ถึงกลางเดือนหก ปีฉลู จะเกิดเภทภัยใหญ่หลวง หินแร่ (หินลูกรัง) จะกลายเป็นเงินทอง ฟักเขียวฟักทองจะกลายเป็นช้างม้า ควายทุยเผือกและหมูจะกลายเป็นยักษ์กินคน ท้าวธรรมิกราช (ผู้มีบุญ) จะมาเป็นใหญ่ในโลกนี้ ใครอยากพ้นเหตุร้ายก็ให้คัดลอกบทความลายแทงให้รู้กันต่อๆ ไป ถ้าใครเป็นคนบริสุทธิ์ ไม่ได้กระทำชั่วบาปกรรมใดๆ แล้ว ให้เอาหินแฮ่มาเก็บรวบรวมไว้ รอท้าวธรรมิกราช มาชุบเป็นเงินเป็นทองขึ้น ถ้าใครได้กระทำชั่วต่างๆ แต่เพื่อแสดงตนให้เป็นคนบริสุทธิ์ ก็ต้องมีการล้างบาปโดยจัดพิธีนิมนต์พระสงฆ์มารดน้ำมนต์ให้ ถ้ากลัวตายก็ให้ฆ่าควายทุยเผือกเสียก่อนกลางเดือนหก อย่าทันให้มันกลายเป็นยักษ์ต่างๆ นานา ผู้ที่เป็นสาวโสดก็ให้รีบมีผัว มิฉะนั้นยักษ์จะกินหมด...”

    (ข้อความข้างต้น มีที่สะดุดใจมากตอนที่ว่า “ใครอยากพ้นเหตุร้ายก็ให้คัดลอกบทความลายแทงให้รู้กันต่อๆ ไป” ข้อความตรงนี้คุ้นๆ ไหมครับ ทุกวันก็ยังมีอยู่บ่อยๆ ในลักษณะจดหมายลูกโซ่ ให้คัดลอกข้อความแล้วส่งต่อหลายๆ ชุด ถ้าใครทำก็บอกว่าจะเจริญ แล้วถ้าใครไม่ทำก็จะพบความหายนะต่างๆ นานา เข้าใจว่าหลายๆ ท่านคงเคยได้รับและหลายท่านก็ส่งมาให้ผมบ่อย ผมก็ฉีกทิ้งทุกครั้ง แล้วท่านยังกลัวยังเชื่อในเรื่องนี้อยู่หรือครับ - ปฐม)

    อาจารย์พิศิษฐ์ เขียนต่อไปว่า :-

    ข้อความดังกล่าวนี้ ได้แพร่หลายไปในหมู่ชนชาวอิสานแถบมณฑลอุบล สร้างความสะเทือนขวัญ ปั่นป่วนหวาดผวา ให้กับชาวบ้านเป็นอันมาก

    เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ สืบเนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น สาเหตุความขัดแย้งกันระหว่างผู้ปกครองส่วนกลางจากกรุงเทพฯ กับผู้ปกครองส่วนท้องถิ่น “เจ้าเมืองเก่า” และความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้ปกครองกับราษฎรอิสานอันเนื่องมาจากสภาพความแร้นแค้นขัดสนทางเศรษฐกิจ ความกดดันทางจิตใจ ประกอบกับความเชื่อถือในเรื่องภูตผีปีศาจ พิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ที่ยังครอบงำชีวิตจิตใจและวิถีชีวิตของชาวบ้านตามชนบทอยู่เป็นส่วนใหญ่

    ราษฏรส่วนมากจึงเกิดความไม่พอใจข้าราชการเกี่ยวกับการเข้ามาขูดรีดเงินส่วยโดยไม่เป็นธรรม อีกทั้งเหตุการณ์ภาวะแห่งการแผ่ขยายอำนาจ เข้ามาในภาคพื้นดินสองฝั่งลุ่มน้ำโขง ของมหาอำนาจประเทศฝรั่งเศสในช่วงนี้ (พ.ศ. ๒๔๓๖ - ๒๔๔๕) ที่กองทัพแห่งสยามประเทศจำต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมด ถอยมาอยู่ฝั่งขวา

    จากเหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ทำให้มีข่าวลือต่างๆ เช่น

    “ผู้มีบุญจะมาแต่ตะวันออก”

    “เจ้าเก่าหมดอำนาจ ศาสนาก็สิ้นแล้ว”

    “บัดนี้ฝรั่งเข้าไปเต็มกรุงเทพฯ แล้ว กรุงจะเสียแก่ฝรั่งแล้ว”

    ส่วนทางบ้านเมืองนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งในสมัยนั้นทรงเป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว (พ.ศ. ๒๔๓๖) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ (พ.ศ. ๒๔๔๒) แล้ว เปลี่ยนชื่อเป็น มณฑลอิสาน(พ.ศ. ๒๔๔๓) พระองค์ได้ทรงบันทึกเอาไว้ในหนังสือทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (เสนาบดี หรือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในสมัยนั้น) ว่า :-

    “ตามซึ่งไต่สวนขึ้นไป ได้ความเป็นพยายามมาตั้งแต่ปี ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) มาแล้ว...เดิมมาเป็นหมอลำ เที่ยวลำคำผญา (สุภาษิตคำกลอนของอิสาน) บ่งความไปในส่วนผู้มีบุญจะมาแต่ตะวันออก

    ข่าวลือจึงมาจากตะวันออก เพราะเดินเป็นสายไปทาง เดชอุดม ขุขันธ์ ทางหนึ่ง, ไปทางศรีสะเกษ สุรินทร์ ทางหนึ่ง, มาทางเขมราฐ อำนาจเจริญ เกษมสีมา ผาสีดอน กันทวิไชย หนองเลา วาปีปทุม มาหนองซำ พยัคฆ์ ไปทางกาฬสินธุ์ และเสลภูมิ

    ดูจะเห็นว่าการแพร่ของขบวนการผีบุญได้แผ่ขยายไปเร็วมากสมัยนั้นไม่มีสื่อมวลชนประเภททีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ หากแต่แพร่ขยายไปทางสื่อหมอลำ)

    หมอลำได้กระจายไปตามท้องถิ่นต่างๆ ทั่วเมืองอุบลฯ และใกล้เคียง เนื้อหาของกลอนลำ เป็นการสรรเสริญผู้มีบุญ ว่าจะมาจากทิศตะวันออก และโจมตีการเข้ามาปกครองของกรุงเทพฯ เป็นต้นว่า

    “ลือแซะแซงแซ่ลำโขง หนองซำเป็นเขตลาสีมา ฝูงไทยใจฮ้ายตายสิ้นบ่หลง”

    ความหมายของกลอนลำข้างต้น หมายความว่า

    “มีข่าวเล่าลือไปทั่วลำน้ำโขง จนไปถึงหนองซำ เมื่อผู้มีบุญมาเกิดแล้ว ชาวกรุงเทพฯ พวกใจโหดร้ายก็จะตายสิ้นไม่มีเหลือ (ด้วยอำนาจอิทธิฤทธิ์ของผู้มีบุญ)”

    ปรากฏว่าชาวบ้านนิยมฟังกลอนลำประเภทนี้มากและเริ่มเห็นคล้อยตามคำพยากรณ์ และคำโฆษณาชวนเชื่อกันเพิ่มมากขึ้นในทุกท้องที่ อันเป็นช่องทางให้มีผู้แอบอ้างกระทำตนเป็นผู้วิเศษสวมรอยข่าวโคมลอยขึ้นมา

    ผู้แอบอ้างต่างตั้งสำนักขึ้นชวนเชื่อชาวบ้านให้เข้ามาอยู่ในอารักขาโดยมีเจ้าสำนักกระทำตนเป็นผีบุญ เป็นผู้วิเศษ ที่สามารถปัดเป่าความชั่วร้ายให้หายไปได้

    บรรดาชาวบ้านซึ่งตกอยู่ในความหวาดกลัวอยู่แล้วต่างก็อยากจะแสวงหาที่พึ่งอยู่พอดี ซึ่งทันทีที่มีผู้วิเศษอวดอ้างฤทธิ์เดชปรากฏขึ้นจึงได้พากันแห่ไปหา เพื่อที่จะให้ช่วยเหลือคุ้มครองภัยต่างๆ

    เหตุการณ์ตอนขบถผีบุญนี้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าเอาไว้ในหนังสือพระนิพนธ์เรื่อง นิทานโบราณคดี ที่พระองค์ทรงรับสั่งเอาไว้ว่า เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องเกร็ดนอกพงศาวดาร เขียนรักษาไว้ให้เป็นประโยชน์แก่ลูกหลานและผู้อื่นต่อไป ว่า :-

    “ข่าวที่มีผู้วิเศษรับจะช่วยป้องกันภัยรู้ไปถึงไหน ก็มีราษฎรที่นั่นพากันไปหา โดยประสงค์เพียงจะขอให้เสกเป่ารดน้ำมนต์ให้ก็มี ที่นึกว่าเป็นท้าวธรรมิกราชผีบุญ มาบำรุงโลก เลยสมัครเข้าเป็นพรรคพวกติดตามผู้วิเศษนั้นก็มี ผู้วิเศษไปทางไหนหรือพักอยู่ที่ไหน พวกชาวบ้านก็รับรองเลี้ยงดู เลยเป็นเหตุให้มีคนเข้าเป็นสมัครพรรคพวกมากขึ้นโดยลำดับ เมื่อผู้วิเศษนั้นเห็นว่ามีคนนับถือกลัวเกรงมาก ก็เลยแสดงตนโดยเปิดเผย ว่าเป็นท้าวธรรมิกราชผีบุญ ที่จะมาดับยุคเข็ญตามคำพยากรณ์”

    ในตอนแรก ฝ่ายรัฐบาลไม่ประสงค์จะเข้าไปยุ่งด้วย เพราะไม่แน่ใจว่าเรื่องผีบุญ หรือผู้มีบุญนี้จะเป็น “ความผิดแท้” (คือเจ้าหน้าที่ไม่แน่ใจว่าจะเอาความผิดในข้อกฎหมายใด)

    และเกรงว่า “ถ้าห้ามไป กำลังตื่นคนนั้นตำราว่า ไม่ได้ จะกลายเป็นยาบำรุงไป” (คือเจ้าหน้าที่กลัว มวลชน เพราะตอนนั้นชาวบ้านไม่พอใจข้าราชการอยู่แล้ว ขืนทางการเข้าไปยุ่งก็จะเป็นการเติมเชื้อไฟให้ลุกโชนรุนแรงขึ้น - ปฐม)

    (ด้วยทางราชการประเมินสถานการณ์อย่างนี้) ทำให้ผู้มีบุญ หรือผีบุญ มีโอกาสเกลี้ยกล่อมและซ่องสุมผู้คนได้มากขึ้น จนต่อมาได้พากันตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ไม่ขึ้นกับทางการบ้านเมืองอีกต่อไป มีการปกครองกันเองในกลุ่ม มีกองกำลังคุ้มกันตนเอง

    กลุ่มผีบุญ มีหลายกลุ่ม ที่เป็นกลุ่ม หรือ กอง ขนาดใหญ่ มีอยู่๓ กลุ่ม หรือ กอง ดังนี้ :-

    ผีบุญกลุ่มที่หนึ่ง เรียกว่า กองอ้ายเล็ก หรือ อ้ายเหล็ก (ภาษาไทยกลางก็ต้องว่า กลุ่มพี่เล็ก หรือ พี่เหล็ก) เป็นผีบุญคนแรกที่อ้างตัวเป็น พระยาธรรมิกราช เป็นผู้มาดับยุคเข็ญให้ประชาชน ตั้งสำนักขึ้นที่บ้านหนองซำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เมืองสุวรรณภูมิ (คนพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม กับ ร้อยเอ็ด ในปัจจุบัน)

    ผีบุญกลุ่มที่สอง เรียกว่า กองอ้ายบุญจัน เป็นน้องชายพระยาขุขันธ์ภักดีศรีนครลำดวน เมื่อพี่ชายถึงแก่กรรมได้เกิดการขัดแย้งกับทางการ จึงร่วมมือกับท้าวทัน บุตรพระยาขุขันธ์ฯ พร้อมด้วยหลวงรัตน อดีตกรมการเมือง พากันไปตั้งตัวเป็นผู้มีบุญอยู่ที่สันเขาบรรทัด เขตเมืองขุขันธ์ (เขตปฏิบัติการก็อยู่แถวศรีสะเกษ สุรินทร์บุรีรัมย์)

    ผีบุญกลุ่มที่สาม เรียกว่า กองอ้ายมั่น เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด กลุ่มนี้ที่ไปมีส่วนพัวพันทำให้ทางการเข้าใจผิด เพราะชื่อและข้อมูลบางอย่างเกิดไปพ้องกับหลวงปู่มั่น ของเรา ดังกล่าวแล้ว

    ผีบุญอ้ายมั่น ตั้งตัวเป็น องค์ปราสาททอง หรือ องค์หาสาตรทอง ในภาษาอิสาน อยู่ที่บ้านกระจีน แขวงเมืองเขมราฐ (ใกล้ถิ่นของหลวงปู่มั่น) เคยร่วมมือกับ องค์แก้ว ทางฝั่งลาว มีราษฎรนิยมทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวาแม่น้ำโขง

    ต่อมาได้เข้าสมทบกับกองกำลังของท้าวสน นายอำเภอโขงเจียม และกับกองอ้ายเล็ก (กลุ่มที่หนึ่ง) ที่ยกกำลังมาจาก หนองซำ นำกำลังประมาณ ๒,๕๐๐ คนเศษ ยกเข้าปล้นและเผาเมืองเขมราฐ อีกทั้งได้สังหาร ท้าวโพธิราช กรมการเมือง และจับตัว ท้าวธรรมกิตติกา กรมการเมือง และพระเขมรัฐเดชนารักษ์ ผู้รักษาเมือง ไปเป็นตัวประกัน แล้วถอดนักโทษออกทั้งหมด ทำให้ได้สมัครพรรคพวกเพิ่มขึ้นอีกมาก

    หลังการกระทำอุกอาจครั้งนั้น พวกผีบุญทั้งหลายก็กลายเป็นขบถขึ้นแต่นี้ไป และได้เพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยส่งกำลังไปบุกล้อมจับท้าวกรมช้าง กรมการเมืองอุบลฯ ที่ออกมารักษาการนายอำเภอพนานิคม แล้วฆ่าทิ้งเสีย เป็นการข่มขวัญข้าราชการและประชาชน ทำให้ผู้คนตื่นกลัว ยินยอมเข้าเป็นพรรคพวกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

    พวกราษฎรต่างพากันแห่เข้าไปขอให้พวกผีบุญช่วยขับไล่ป้องกันภัย “องค์ผีบุญ” ก็เป่าคาถา รดน้ำมนต์ให้ตามประสงค์ พร้อมโอภาปราศรัยด้วยเป็นอย่างดี ราษฎรทั้งหลายต่างพากันเข้านับถือ องค์มั่นผู้วิเศษ

    ในการนี้ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เจ้าเมืองอุบลฯ ได้รายงานเหตุการณ์ต่างๆ ให้ทางกรุงเทพฯ (กระทรวงมหาดไทย) ทราบและขอกำลังทหารพร้อมอาวุธปืนไปโดยด่วน จำนวน ๔๐๐ - ๕๐๐ คน

    พร้อมกันนั้น ทางจังหวัดอุบลฯ ก็จัดทหารไปคอยสกัดพวกผีบุญอยู่ที่วารินชำราบ บ้านตุงลุง เมืองเกษมสีมา บ้านลืออำนาจ และได้ส่งกองกำลังออกไปจับพวกผีบุญอีกหลายกอง

    ในตอนแรก กองกำลังที่ไปทางเมืองขุขันธ์ โดยการนำของร้อยโทหวั่น ได้ทำการปราบปรามผีบุญกองอ้ายบุญจัน ลงได้อย่างราบคาบ อ้ายบุญจันตายในที่รบ ที่เหลือก็แตกสลายหนีไป ไม่มีให้พบเห็นอีกเลยตลอดท้องที่เมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ และอิสานตอนใต้

    ส่วนศึกใหญ่หลวงซึ่งอยู่ทางตะวันออกและทางเหนือนั้นล้วนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกผีบุญที่เป็นสมัครพรรคพวกขององค์มั่น ผู้ที่กำลังโด่งดังสุดขีด

    ศึกยกแรก (ตามคำของอาจารย์พิศิษฐ์) นั้น ทางการประสบความพ่ายแพ้อย่างหมดรูป คือ หน่วยของร้อยเอกหม่อมราชวงศ์ร้าย คุมกำลังพลตระเวน ๑๒ นาย กับคนนำทางและชาวบ้านที่เกณฑ์มาอีกเป็นจำนวน ๑๐๐ คน ได้เกิดปะทะกับกองระวังหน้าของพวกผีบุญจำนวนร้อยคนเศษ ใกล้บ้านขุหลุ (ไม่ทราบอยู่ที่ไหนเหมือนกัน)

    พวกผีบุญร้องขู่ว่า “ผู้ใดไม่สู้ ให้วางอาวุธ หมอบลงเสีย”

    พวกชาวบ้านที่โดนเกณฑ์มา ก็พากันหมอบกราบพวกผีบุญเสียหมดสิ้น เหลือแต่หม่อมราชวงศ์ร้ายกับพลตระเวน ๑๒ นาย ที่ได้ต่อกรกับพวกผีบุญ พร้อมกับล่าถอยกลับไปกราบทูลให้เสด็จในกรมฯ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เจ้าเมืองอุบล) ทรงทราบ

    จากชัยชนะครั้งนั้นทำให้บรรดาสาวกของเหล่าผีบุญได้ใจ มีความฮึกเหิมถึงขนาดประกาศว่า จะยกพวกเข้ามาตีเมืองอุบลราชธานี แล้วผนวกร่วมกับดินแดนสองฝั่งลุ่มน้ำโขง จัดตั้งอาณาจักรใหม่ ที่ไม่ขึ้นต่อกรุงเทพฯ และฝรั่งเศส

    สร้างความขุ่นเคืองให้กับเสด็จในกรมฯ ยิ่งนัก พระองค์จึงทรงให้ พันตรี หลวงสรกิจพิศาล ผู้บังคับการทหารอุบลราชธานี จัดทหารออกไปสืบดูเหตุการณ์ที่แท้จริงอีกครั้ง

    (แสดงว่าการข่าวของทางราชการสมัยนั้นสู้สมัยนี้ไม่ได้ ใช่ไหมครับ !)

    พันตรี หลวงสรกิจฯ จึงได้จัดส่ง ร้อยตรีหลี กับทหารจำนวน ๑๕ คนออกไปสืบดูร่องรอยของเหล่าขบถทางอำเภอพนา อำเภอตระการ (ตระการพืชผล) ปรากฏว่าพวกทหารได้ไปเสียท่า โดนพวกผีบุญล้อมจับฆ่าตายถึง ๑๑ คน เหลือพลตระเวนหนีรอดกลับมาได้ ๔ คนเท่านั้น

    ทางการเห็นว่ารอให้เพลี่ยงพล้ำมากไปกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว (เอาเป็นว่า เครื่องเพิ่งร้อน) การปราบปรามขั้นเด็ดขาดจึงเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๕ (หลังปล่อยให้ลุกลามอยู่ ๒ ปี) โดยรับสั่งให้ร้อยเอกหลวงชิตสรการ (จิตร มัธยมจันทร์) นายทหารปืนใหญ่ กับร้อยตรีอิน คุมทหาร ๒๔ คน พลเมือง ๒๐๐ คน อาวุธปืน ๑๐๐ กระบอก ปืนใหญ่อีก ๒ กระบอก ออกไปปราบขบถ

    ขณะเดียวกันก็กราบทูลไปยัง กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (เสนาบดี กระทรวงมหาดไทย) เมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๕ (ร.ศ. ๑๒๑) ว่า

    “ทหารอุบลราชธานีคิดใช้หลายทางหมดตัว เรียกตำรวจภูธรขึ้นหมดกำลังก็ยังไม่พอใช้ ถ้าเกณฑ์มา เชื่อใจชาวบ้านไม่ได้ว่าจะไม่วิ่งเข้าหาผีบุญอีก ขอทหารหรือตำรวจปืนดีๆ รีบไปช่วยเร็วๆ อีกสัก ๔๐๐”

    แล้ว ทหารจากมณฑลนครราชสีมา จึงถูกส่งไปปราบขบถ โดยแบ่งออกเป็น ๔ กองพัน กองพันละ ๒ กองร้อย ยกไปมณฑลอิสาน ๒ กองพัน และเตรียมพร้อมอยู่ที่เมืองนครราชสีมาอีก ๒ กองพัน ทหารทุกคนได้รับจ่ายปืนคนละ ๑ กระบอก กระสุนคนละ ๑๐๐ นัดและเสบียงติดตัวอยู่ไปได้ ๕ วัน

    อาจารย์พิศิษฐ์เขียนว่า “เป็นกองทัพที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น”

    เชิญกลับมาดูด้าน ร้อยเอกหลวงชิตสรการ ได้ยกกำลังเข้าสู่บ้านสะพือ (อ.พิบูลมังสาหาร) ในวันที่ ๔ เมษายน (พ.ศ. ๒๔๔๕) ตอนกลางคืน ได้จัดให้กองกำลังส่วนหนึ่งตั้งพักตรงบ้านสา อีกส่วนหนึ่งตั้งค่ายอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม ห่างจากค่ายพวกผีบุญประมาณ ๕๐ เส้น(๒ กิโลเมตร)

    “ที่ตรงนั้นเป็นทางเดินเข้ามาเมืองอุบลฯ สองข้างเป็นป่าไม้ ต้องเดินเข้าในตรอก”

    จัดให้พระสุนทรกิจวิมล (คูณ สังโขบล) เป็นปีกขวา เพียซามาตย์ (แท่ง) เป็นปีกซ้าย ตั้งปืนใหญ่ไว้ใต้ซุ้มไม้ในป่าทึบ ใกล้ทางเลี้ยวออกมาจากบ้านสะพือ หมายยิงถล่มในทางตรอกนั้น แล้วให้ซุ่มกำลังไว้ในป่าสองข้างทางอีก

    วันรุ่งขึ้น ได้เกิดปะทะกับพวกขบถผีบุญ ยิงถล่มสู้รบใส่พวกผีบุญ เกือบ ๔ โมง จึงกำชัยชนะได้โดยเด็ดขาด (ต้องร้องว่า โอโฮ !ง่ายจัง !)

    พวกขบถผีบุญถูกถล่มเสียชีวิตไป ๒๐๐ คนเศษ บาดเจ็บอีกไม่น้อยกว่า ๕๐๐ คน แถมถูกจับเป็นได้ ๑๒๐ คน

    ส่วนองค์มั่นผู้หัวหน้าผีบุญ ได้หลบหนีไปพร้อมกับสมุนราว ๑๐ คน

    จากนั้นก็มีการกวาดล้างจับกุมพวกผีบุญไปทั่วมณฑลอิสาน สั่งปราบปรามอย่างเด็ดขาด มีตราสั่งไปถึงทุกหัวเมือง ดังนี้ :-

    “อย่าให้มีการหลบหนีไปได้เป็นอันขาด ถ้าหากผู้ใดปกปิดพวกเหล่าภัยและเอาใจช่วยให้หลบหนีไปได้ จะเอาโทษแก่ผู้ปิดบังและเจ้าหน้าที่หัวเมืองนั้นๆ อย่างหนัก”

    เป็นอันว่าพวกขบถผีบุญก็แตกฉานซ่านกระเซ็นไป

    แล้วที่มาเกี่ยวกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ศิษย์ของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ก็เพราะความบังเอิญที่มีส่วนไปพ้องกันหลายอย่าง

    องค์มั่น หัวหน้าผีบุญที่พาพวกหลบหนีไป ถูกตามล่าอย่างหนัก ตอนนี้ข่าวกรองของทางราชการเกิดการสับสนในข้อมูล เพราะ

    หนึ่ง ชื่อไปซ้ำกันกับหลวงปู่มั่น

    สอง เป็นคนอยู่ใน ถิ่น แขวง เขต เมืองเดียวกัน

    สาม มีความสามารถเฉพาะตัวเป็น หมอลำกลอน คล้ายกัน

    สี่ เครื่องนุ่มห่มแต่งกายก็คล้ายคลึงกัน คือพวกผีบุญระดับหัวหน้า จะแต่งกายต่างไปจากสาวกคนอื่นๆ ซึ่งรายงานทางราชการบอกว่า “นุ่งห่มผ้าขาวจีบ ห่มครองอย่างพระหรือสามเณร”

    ห้า ผีบุญที่เป็นพระสงฆ์ก็มีหลายรูป

    และที่สำคัญยิ่งก็คือ

    หก ในช่วงนั้น หลวงปู่มั่น ได้ธุดงค์ ติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ข้ามไปทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและมาพักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่พระธาตุพนม แสดงว่าท่านหลบหนีไปจากเมืองอุบลฯ และไปในทิศทางเดียวกันกับที่องค์มั่นผีบุญ หลบหนีไป

    สมัยนั้นไม่มีบัตรประจำตัว ไม่มีรูปถ่าย ไม่มีเอกสารยืนยันคงจะยุ่งกันพอสมควร

    อาจารย์พิศิษฐ์ ก็ไม่ได้เขียนตอนจบว่า มีการ “เคลียร์” กันอย่างไร แต่ท่านลงท้ายว่า ”ครูบาอาจารย์รุ่นต่อๆ มา จึงได้มีเรื่องเล่าถึงการตามล่าผีบุญองค์มั่น ที่มาเกี่ยวข้องอย่างบังเอิญเหลือหลายกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ผู้ที่เราเคารพเทิดทูนอยู่เหนือเศียรเกล้าฉะนี้ แล”

    โอ ! โล่งใจ !

    ผมเอง (ปฐม) ก็ไม่ได้ถามอาจารย์พิศิษฐ์ ว่าท่านเขียนโยงเหตุการณ์ขึ้นมา หรือเหตุการณ์เป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่... ผมก็เชื่อว่าหลวงปู่ของเรา ท่านสร้างบารมีมามาก คงไม่กลับไปเป็น แพะ ให้พวกเจ้าหน้าที่เอาไปสร้างผลงานให้กับตนเองได้หรอก ใช่ไหมครับ ?

    ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ได้ให้ความรู้ต่อท้ายไปอีกว่า “หลังจากการจบสิ้นของกรณีขบถผีบุญหรือขบถผู้มีบุญแล้วไม่นานนัก อีก ๒ เดือนต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ก็ทรงตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๕ ให้เป็นกิจจะลักษณะในรูปของกฎหมายเป็นครั้งแรก อีกทั้งยังทรงโปรดให้จัดพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งแรกอีกด้วย”
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อาราธนาอยู่โปรดชาวนครพนม


    ในปี พ ศ. ๒๔๔๕ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเลียบ กับสหธรรมิกของท่าน คือ หลวงปู่หนู ฐิตปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดใต้ (ภายหลังมีสมณศักดิ์เป็นพระปัญญาพิศาลเถร เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ) ได้ออกธุดงค์ไปจังหวัดนครพนม

    ในหนังสือของท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ระบุว่า หลวงปู่ทั้งสององค์ ได้พักปักกลดอยู่ใต้ต้นโพธิ์สุดเขตเมืองนครพนมทางด้านทิศใต้ เข้าใจว่าจะเป็นแถวบริเวณโรงฆ่าสัตว์เทศบาลจังหวัดนครพนมในปัจจุบัน

    ได้มีประชาชนชาวบ้านจำนวนมากไปสนทนารับการอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ทั้งสององค์ ข้าหลวงประจำเมืองนครพนมคือ พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (เลื่อง ภูมิรัตน์) ได้ทราบเรื่อง จึงไปนมัสการและสนทนาธรรมด้วย

    มีตอนหนึ่ง ท่านเจ้าเมืองได้ปรารภถึงปัญหาของพระเณรในจังหวัด ได้ขอคำปรึกษาหารือและขอให้หลวงปู่ทั้งสองได้ช่วยคิดอ่านแก้ไข พร้อมทั้งกราบเรียนหลวงปู่ให้พำนักโดยตั้งวัดธรรมยุตขึ้นในจังหวัดนครพนมด้วย

    ท่านเจ้าเมืองกราบเรียนว่า “กระผมขอโอกาสกราบเรียนนมัสการครูบาอาจารย์ พวกกระผมมีศรัทธาปสาทะอย่างเต็มที่ ต้องการอยากได้วัดคณะธรรมยุติกนิกาย ไว้เป็นศรีสง่าคู่บ้านเมืองของจังหวัดนครพนมสืบไป เกล้ากระผมในนามเจ้าเมือง ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวจังหวัดนครพนม ขอกราบอาราธนาให้ครูบาอาจารย์เป็นประมุขประธานเป็นพ่อแม่เป็นที่พึ่งต่อไป”

    หลวงปู่ใหญ่ ท่านยิ้มตามลักษณะของท่าน แล้วพูดขึ้นว่า

    “เมื่อญาติโยมมีศรัทธาอันแรงกล้าอย่างนั้นก็ดีแล้ว อาตมาขออนุโมทนาสาธุการ แต่ทว่าเวลานี้อาตมายังเป็นพระเที่ยวอยู่ จะอยู่ประจำตามที่นิมนต์อาราธนานั้นคงยังไม่ได้ คงจะอยู่ได้ชั่วครั้งชั่วคราวอย่างนี้แหละ เอายังงี้ดีไหม เมื่อโยมมีความปรารถนาอันแรงกล้า อยากได้พระอยากได้วัดคณะธรรมยุตแล้ว ให้โยมไปหาพระมาสักรูปหนึ่ง พยายามเลือกเฟ้นเอาผู้มีอุปนิสัยพอเป็นไปได้ด้วยศีลาจารวัตร มีความอดทนแล้วอาตมาจะเอาไปญัตติกรรม ทำทัฬหีกรรมใหม่ เพื่อให้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ กับจะส่งไปเรียนที่กรุงเทพฯ เมื่อสำเร็จแล้วจึงจะส่งกลับมาเป็นหัวหน้าเป็นผู้นำสร้างวัด สร้างความเจริญในพระพุทธศาสนาต่อไป ”

    พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงประจำจังหวัดนครพนมเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำแนะนำของหลวงปู่ใหญ่ จึงได้ให้คนของท่านออกสืบเสาะเลือกเฟ้นหาพระภิกษุตามที่หลวงปู่ใหญ่บอก ใช้เวลาหลายวัน

    ในที่สุดได้คัดเลือกพระภิกษุมา ๔ รูป ได้แก่ พระจันทร์ เขมิโย, พระสา อธิคโม, พระหอม จนฺทสาโร และพระสังข์ รกฺขิตธมฺโม กับสามเณรอีก ๑ รูปที่ติดตามพระจันทร์ เขมิโยจากท่าอุเทน ชื่อ สามเณรจูม จันทร์วงศ์

    เวลานั้นท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับ หลวงปู่หนู ฐิตปญฺโญ ยังพักรออยู่ที่พระธาตุพนม

    ท่านข้าหลวงได้นำพระภิกษุและสามเณรทั้ง ๕ รูปเข้าถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อให้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับ หลวงปู่หนูช่วยรับเอาเป็นธุระแนะนำสั่งสอนและฝึกอบรมต่อไป พระคุณเจ้าทั้งสองก็รับไว้ด้วยความยินดี

    จากการติดตามศึกษาประวัติครูอาจารย์พระกรรมฐานในภายหลังจะปรากฏชื่อเพียง ๒ องค์ คือ พระจันทร์ เขมิโย ภายหลังมีสมณศักดิ์เป็น พระเทพสิทธาจารย์ ประชาชนชาวนครพนมเรียกว่า “เจ้าคุณปู่” เพราะเป็นปู่ใหญ่พระธรรมยุตองค์แรกของจังหวัดนครพนม กับสามเณรจูม จันทร์วงศ์ ภายหลังมีสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) แห่งวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี มีบทบาทสำคัญยิ่งในวงศ์พระกรรมฐานสายหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น นั่นเอง

    ส่วนพระภิกษุอีก ๓ องค์ ไม่เห็นกล่าวถึง หรือมีการกล่าวถึงแต่ผู้เขียนหาไม่พบ

    ในบันทึกมีว่า “ท่านเจ้าเมืองได้นำพระจันทร์ เขมิโย ไปถวายตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ ที่ยังรออยู่ที่พระธาตุพนมเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว จึงได้พากันเดินทางธุดงค์กลับจังหวัดอุบลราชธานี รอนแรมผ่านป่าดงดิบผืนใหญ่ชื่อดงบัง ที่แสนลำเค็ญ แล้วเข้าเขตอำนาจเจริญ ใช้เวลาร่วมเดือนจึงลุถึงวัดเลียบ ในตัวเมืองอุบลราชธานี”
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คำบอกเล่าของเจ้าคุณปู่


    จากปากคำของท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) หรือที่ชาวนครพนมเรียกว่า “เจ้าคุณปู่” ได้พูดถึงการติดตามไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ที่จังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้ :-

    ในปลายปี พ ศ. ๒๔๔๕ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่หนู (พระปัญญาพิศาลเถร) ก็ได้อำลาประชาชนชาวจังหวัดนครพนม เดินทางกลับสู่จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยพระภิกษุ ๔ รูป คือ หลวงปู่จันทร์ เขมิโย พระภิกษุสา พระภิกษุหอม พระภิกษุสังข์ และสามเณรอีก ๓ รูป ในจำนวน ๓ รูปนี้ มี สามเณรจูม จันทร์วงศ์ (ต่อมาได้เป็นพระธรรมเจดีย์) รวมอยู่ด้วย

    คณะของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้จาริกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ หยุดพักรอนแรมกลางป่าดงพงไพร ได้พบสัตว์ป่านานาชนิด มีเสือ ช้าง ละอง ละมั่ง ควายป่า เป็นต้น

    เมื่อเจอสัตว์ป่า หลวงปู่ใหญ่ ก็สั่งให้คณะนั่งลงกับพื้นดิน แล้วกำหนดจิตแผ่เมตตาให้สัตว์เหล่านั้น พระภิกษุสามเณรทุกรูปก็แคล้วคลาดปลอดภัย

    ท่านเจ้าคุณปู่เล่าว่า “ในการบำเพ็ญกรรมฐานในป่านั้น ประการสำคัญต้องทำตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์มักจะมีความวิตกกังวล คงจะทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ต่อจากนั้นก็มีอันเป็นไป หากมีศีลบริสุทธิ์ จิตก็สงบเป็นสมาธิได้ง่าย และอีกประการหนึ่ง จะต้องยึดมั่นในพระรัตนตรัย ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณอยู่เสมอ”

    ท่านเจ้าคุณปู่ เล่าต่อไปว่า การธุดงค์ไปกับหลวงปู่ใหญ่ในครั้งนั้น ทำให้การฝึกฝนด้านกรรมฐานของท่าน นับว่าก้าวรุดหน้าไปกว่าเดิมมาก ทั้งนี้เพราะท่านหลวงปู่ใหญ่ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานได้พยายามถ่ายทอดความรู้และอบรมท่านอย่างเคร่งครัดยิ่ง

    “ตอนนั้น พอเราธุดงค์ถึงสถานที่อันวิเวกเหมาะแก่การปฏิบัติแห่งไหน ท่านพระอาจารย์เสาร์ จะหยุดพักและพวกเราเร่งบำเพ็ญเพียรอบรมจิตอย่างหนักทันที ท่านให้พยายามกำจัดมหาโจรภายใน อันหมายถึงตัวกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง ให้เบาบางลงไปให้ได้และให้ทำจนหมดสิ้นไปจากจิตใจ ตามกำลังความสามารถ

    การปฏิบัติกรรมฐานภายในป่านั้น หลักสำคัญประการแรก ผู้ปฏิบัติจะต้องทำตนให้บริสุทธิ์ด้วยศีล เพราะในป่าเขาลำเนาไพรมีเทพารักษ์ สัตว์ร้ายนานาชนิด ดังนั้น ต้องคอยตรวจสอบศีลของเราอยู่เสมอ ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์เมื่อไรแล้ว ก็มักจะมีอันเป็นไปในทางไม่ดีเสมอ

    และเมื่อมีศีลบริสุทธิ์แล้ว ก็ต้องรักษาจิตของเราให้บริสุทธิ์ด้วยระวังอย่าให้จิตเอนเอียงไปหารากเหง้าแห่งกิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ

    หลังจากนั้น เมื่อศีลและจิตบริสุทธิ์ ก็ต้องตรวจความเห็นของตนว่ามีความบริสุทธิ์หรือไม่ ความเห็นของเราตรงต่อคุณธรรมจริงหรือไม่ เมื่อเราอุทิศชีวิตของตนต่อพระรัตนตรัยอย่างแท้จริงแล้ว มีอะไรเกิดขึ้นแก่ชีวิตเราบ้าง

    ควรยึดมั่นเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ยอมสละทุกอย่างเพื่อพระรัตนตรัย แม้ชีวิตของเราก็ต้องยอมเสียสละ จึงจะสามารถรู้แจ้งเห็นจริงในชีวิต สามารถหยั่งจิตลงในคุณแห่งพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหว จนถึงคุณอันสูงสุดในพระศาสนา จึงจะประสบตัววิปัสสนาอย่างแท้จริง

    ท่านเจ้าคุณปู่ บอกต่อไปว่า “สำหรับการเจริญกรรมฐานนั้น หากยังไม่พบตัววิปัสสนาแล้ว จะไม่สามารถพบกับความสุขอย่างแท้จริงได้

    การเข้าถึงพระพุทธเจ้า ประการแรกก็คือ การไม่ทำความชั่วทุกอย่าง อันได้แก่ การรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ การทำความดี มีความดี มีความเฉลียวฉลาดให้พร้อมอยู่เสมอ ก็คือการเข้าถึงพระศาสนาด้วยการบำเพ็ญสมาธิ และการเข้าถึงพระศาสนาด้วยการทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว

    ท่านเจ้าคุณปู่ เล่าถึงการเดินทางในครั้งนั้นว่า ท่านต้องใช้เวลาอยู่หลายสัปดาห์จึงเดินทางถึงจังหวัดอุบลราชธานี

    จากนั้น ท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้นำคณะพระเณรเข้าไปพำนักอยู่ที่วัดเลียบ ซึ่งเป็นสำนักของท่าน และ ณ สถานที่นั้นเอง ท่านเจ้าคุณปู่ ก็ได้พบกับ ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต

    ดังนั้น นอกจากเจ้าคุณปู่ จะร่ำเรียนความรู้ในทางธรรมจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์แล้ว ท่านยังได้มีโอกาสร่วมศึกษาหาความรู้และปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น อีกระยะหนึ่งด้วย

    ท่านเจ้าคุณปู่ พำนักอยู่ที่วัดเลียบ จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๖ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ จึงนำท่านไปแปรญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต ที่พระอุโบสถวัดศรีอุบลรัตนาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยมีพระสงฺฆรกฺขิโต (พูน) วัดศรีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปัญญาพิศาลเถร (ฐิตปญฺโญ หนู) วัดใต้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูประจักษ์อุบลคุณ (ญาณสโย สุ้ย) วัดสุปัฏนาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาเดิมคือ เขมิโย

    หลังจากที่อุปสมบทแล้ว ท่านเจ้าคุณปู่ ก็กลับมาพำนักที่วัดเลียบ ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ สำหรับการศึกษาด้านปริยัติธรรม ท่านก็สนใจศึกษาอย่างเอาจริงเอาจัง พยายามศึกษาพระปริยัติธรรมแผนใหม่ ได้แก่ วิชาธรรมะ วิชาวินัย วิชาพุทธประวัติ และวิชาอธิบายกระทู้ธรรม ซึ่งพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ได้นำมาเผยแพร่ที่อุบลฯ

    ส่วนแนวทางปฏิบัติกรรมฐาน ท่านเจ้าคุณปู่ได้ฝึกอบรมในสำนักของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านอาจารย์ใหญ่มั่น และหลวงปู่หนู (พระปัญญาพิศาลเถร) จนมีความรู้ทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติอย่างแท้จริง มีจิตใจมั่นคงแนบแน่นต่อธรรมะอย่างไม่สั่นคลอน

    ท่านเจ้าคุณปู่ พูดถึงการศึกษาด้านปริยัติของท่านในสมัยที่พำนักอยู่วัดเลียบ อุบลราชธานีว่า นอกจากการปฏิบัติกรรมฐานอย่างคร่ำเคร่งแล้ว ท่านยังได้ศึกษาหลักพระพุทธศาสนาแผนใหม่ด้วยคือ ศึกษาวิชาวินัย วิชาธรรม วิชาพุทธประวัติ และวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม ตลอดจนการศึกษาทบทวนบทบาลีไวยากรณ์แบบเก่า จากคัมภีร์มูลกัจจายน์ ตามที่เคยศึกษามาก่อนด้วย ท่านว่า

    “บาลีไวยากรณ์ที่แต่งขึ้นใหม่ มีความเข้าใจได้ง่ายกว่าแบบเก่า เมื่ออาตมาได้ศึกษาคัมภีร์ต่างๆ แล้ว จึงได้ศึกษาพระวินัยอันเป็นข้อปฏิบัติโดยตรงของพระสงฆ์จากคัมภีร์จุลวรรค ศึกษาบทสวดมนต์และขัดตำนานบทสวดมนต์ต่างๆ ศึกษาแบบแผนพิธีกรรมต่างๆ ของคณะธรรมยุตในแต่ละสำนักวัดต่างๆ”

    ท่านเจ้าคุณอยู่พำนักร่ำเรียนทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติที่วัดเลียบ เมืองอุบลฯ อยู่ ๓ ปีเต็มๆ นอกจากอยู่เรียนในสำนักแล้ว บางโอกาสท่านยังได้ออกธุดงค์แสวงความวิเวก ติดตามพระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต ด้วย

    ท่านเจ้าคุณปู่ เคยออกธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์ใหญ่มั่นไปบำเพ็ญเพียรอยู่บนภูเขาแห่งหนึ่ง ในเขตจังหวัดสกลนคร และท่านพูดว่า

    “แต่ในระยะหลัง อาตมาไม่ค่อยอยากไปพบท่านพระอาจารย์มั่นหรอก เพราะพออาตมาจะไปทีไร ท่านจะทราบล่วงหน้าทุกที แล้วท่านก็จัดสถานที่พักให้ยกใหญ่ มโหฬารมาก ทั้งที่ท่านอยู่ในป่าในเขา สร้างความยุ่งยากลำบากให้แก่ท่านเปล่าๆ

    ท่านพูดกับอาตมาเสนอว่า อาตมาเป็นเจ้าคุณ

    ต่อมาภายหลัง ท่านเจ้าคุณปู่ ก็ได้เป็นเจ้าคุณจริงๆ ตามที่หลวงปู่มั่น ออกปากปรารภ ซึ่งเรื่องการรู้ใจคนและการทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าของหลวงปู่มั่น นั้น เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวางในหมู่พระกรรมฐานด้วยกันมาช้านานแล้ว

    <TABLE id=table29 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) แถวหน้า ซ้าย
    พระธรรมเจดีย์ (พนฺธุโล จูม) แถวหน้า ขวา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บทเรียนที่ต้องจำฝังใจ


    เมื่อหลวงปู่จันทร์ เขมิโย หรือท่านเจ้าคุณปู่ ของชาวจังหวัดนครพนม มาอยู่ศึกษาอบรมในสำนักของพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล จนเวลาล่วงเข้า ๓ ปี พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงประจำเมืองนครพนมได้ทำหนังสือไปนมัสการ หลวงปู่ใหญ่ พร้อมทั้งอีกฉบับส่งไปกราบทูลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ (พระองค์เจ้าชายชุมพลสมโภช เป็นพระโอรสองค์ที่ ๑๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ข้าหลวงต่างพระองค์ในรัชกาลที่ ๕ ประจำมณฑลอุบลฯ

    “เพื่อขอนิมนต์ตัวพระภิกษุจันทร์ เขมิโย และคณะกลับไปตั้งสำนักคณะธรรมยุติกนิกายขึ้นที่เมืองนครพนม”

    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ จึงได้พา เจ้าคุณปู่ เข้าพบ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ท่านเจ้าเมืองอุบลฯ

    พระองค์ท่านทอดพระเนตรเห็นเจ้าคุณปู่ ยังเป็นพระหนุ่มน้อยอยู่ จึงรับสั่งด้วยความห่วงใย (เชิงสบประมาท) ว่า

    “นี่นะหรือพระที่ท่านอาจารย์เสาร์จะให้นำคณะธรรมยุตไปตั้งที่เมืองนครพนม ดูรูปร่างลักษณะเล็ก บาง ยังหนุ่มแน่นมาก จะไม่ทำให้ครูอาจารย์และวงศ์ธรรมยุตต้องเศร้าหมองเสียหายไปด้วยหรือ เพราะประสบการณ์ยังอ่อน หาพอที่จะรักษาตัวและหมู่คณะไว้ได้ไม่ จะไปตายเพราะผู้หญิง ฉันเกรงว่าจะเอาบาตรไปทำเป็นรังไก่เสียก่อนนะซิ”

    ท่านเจ้าคุณปู่เล่าว่า ตอนนั้นท่านเป็นพระวัยหนุ่มแน่น เมื่อถูกท่านเจ้าเมืองสบประมาทเช่นนั้น ท่านถึงกับตัวสั่นระคนไปด้วยความน้อยใจ เสียใจ จนถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ไปด้วย ท่านอยากจะแทรกแผ่นดินหนีไปในบัดนั้นเลย

    และด้วยคำพูดอันรุนแรงของท่านเจ้าเมืองในครั้งนั้นเองที่ทำให้ท่านเจ้าคุณปู่ ยิ่งมุมานะ มีใจมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าเพื่อที่จะลบคำสบประมาทนั้นให้ได้

    ด้วยเหตุการณ์ที่ถูกสบประมาทอย่างรุนแรงในครั้งนั้นเองได้เป็นแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งที่ทำให้ท่านเจ้าคุณปู่ ได้ขยันศึกษาหาความรู้ บำเพ็ญสมณธรรมค้ำตน จนครองเพศบรรพชิตได้ดิบได้ดีสืบต่อมา

    ถ้าสมัยใหม่ ต้องว่า ทำวิกฤติให้เป็นโอกาส นั่นเอง

    ทางฝ่ายหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เมื่อได้ฟังท่านเจ้าเมืองตรัสดังนั้น ท่านเพียงแต่ยิ้มด้วยนิสัยใจเย็นของท่าน แล้วจึงถวายพระพรเล่าถึงปฏิปทา จรรยามารยาท และความหนักแน่นในพระธรรมวินัยของพระลูกศิษย์ให้ทรงทราบทุกประการ

    หลังจากได้ฟังคำบอกเล่าเช่นนั้นแล้ว ท่านเจ้าเมืองก็ทรงอนุญาตให้เจ้าคุณปู่ และคณะเดินทางกลับไปนครพนม พร้อมกับทรงออกหนังสือรับรอง เป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้ มีใจความว่า

    “ให้นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเส้นทางที่เดินผ่าน ให้จัดคนตามส่งตลอดทาง พร้อมทั้งให้จัดที่พักแลภัตตาหารถวายด้วย”

    คณะของเจ้าคุณปู่ ใช้เวลาเดินทางจากอุบลฯ ถึงนครพนมเป็นเวลา ๒๑ วัน ท่านเจ้าเมืองนครพนมได้จัดขบวนออกไปต้อนรับแห่แหนเข้าเมือง แล้วนิมนต์ให้พำนักอยู่ ณ วัดศรีขุนเมือง

    วัดศรีขุนเมือง เป็นวัดโบราณที่รกร้างมานาน ได้รับการบูรณะขึ้นสำหรับเป็นที่พำนักของพระสงฆ์ธรรมยุต ที่ขึ้นมาตั้ง ณ จังหวัดนครพนมเป็นครั้งแรก โดยคณะของเจ้าคุณปู่ ในครั้งนั้น

    ภายหลังต่อมาวัดนี้ได้รับการขนานนามใหม่ว่า วัดศรีเทพประดิษฐาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ นับเป็นวัดธรรมยุตวัดแรกในจังหวัดนครพนม โดยมีเจ้าคุณปู่ ซึ่งยังเป็นพระอันดับ พรรษา ๔ เป็นผู้นำคณะธรรมยุตขึ้นมาประดิษฐาน ณ จังหวัดนครพนม เป็นครั้งแรก

    ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เจ้าคุณปู่ พร้อมด้วยคณะอีก ๓ รูป คือ พระสาร พระจูม พนฺธุโล (หลังสุดเป็น พระธรรมเจดีย์) และ สามเณรจันทร์ ได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนในกรุงเทพมหานครในสำนักของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวโร เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส แต่ครั้งยังเป็นพระเทพกวี

    หลังจากเล่าเรียนอยู่ ณ วัดเทพศิรินทราวาส ๖ ปี เจ้าคุณปู่ จึงได้กลับมาประจำอยู่ ณ วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๘

    วัดศรีเทพประดิษฐาราม จึงเป็นแหล่งกำเนิดการศึกษาทั้งฝายพระปริยัติธรรมและฝ่ายสามัญศึกษาของจังหวัดนครพนม ซึ่งความสำเร็จทั้งปวงนี้เกิดจากความวิริยะอุตสาหะของเจ้าคุณปู่โดยแท้

    โดยที่เจ้าคุณปู่ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์ต่อการพระศาสนาและการศึกษาของบ้านเมืองเป็นอันมาก จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์มาโดยลำดับ คือ พ.ศ. ๒๔๖๐ ในรัชกาลที่ ๖ เป็นที่ พระครูสีลสัมบัน, พ.ศ. ๒๔๗๓ ในรัชกาลที่ ๗ เลื่อนขึ้นเป็นที่ พระครูสารภาณพนมเขต รองเจ้าคณะจังหวัด, พ.ศ. ๒๔๗๘ เลื่อนเป็น พระครูสารภาณมุนี เจ้าคณะจังหวัด, พ ศ. ๒๔๘๐ เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระสารภาณมุนี, พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสิทธาจารย์

    เจ้าคุณปู่ หรือ พระเทพสิทธาจารย์ (เขมิโยเถร จันทร์) มรณภาพเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๖ สิริอายุได้ ๙๒ ปี

    กรณีของพระเทพสิทธาจารย์ หรือ เจ้าคุณปู่ ของจังหวัดนครพนม นี้ เป็นปฏิปทาอีกอย่างหนึ่งของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนุตสีโล ซึ่งนอกจากการมุ่งปฏิบัติธรรมกรรมฐานแล้ว ท่านยังส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาภาคปริยัติธรรมด้วย เพราะเป็นธรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน จะขาดเสียอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้

    เมื่อพูดถึงการเริ่มต้นคณะสงฆ์ธรรมยุตในจังหวัดนครพนมแล้ว ผู้เขียนจะขออนุญาตนำบันทึกของ พระญาณวิศิษฏ์ หรือ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม แม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม ที่ได้บันทึกถึงการเผยแพร่ธรรมด้านวิปัสสนาธุระของกองทัพธรรมในจังหวัดนครพนมดังนี้ :-

    “พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก, พระอาจารย์บุญมา มหายโส, พระอาจารย์ทอง อโสโก, พระอาจารย์สนธิ์, พระอาจารย์คำ คมฺภีโร, พระอาจารย์จรัส พร้อมด้วยภิกษุสามเณรหมวดละ ๗ องค์ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระในท้องที่จังหวัดนครพนม

    เมื่อไปถึงจังหวัดนครพนมแล้ว ท่านได้แยกกันอยู่ตามสำนักต่างๆ ดังนี้ :-

    ๑. พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก อยู่สำนักวัดโพธิชัย ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌายะ

    ๒. พระอาจารย์บุญมา มหายโส อยู่สำนักวัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูไพโรจน์ปัญญาคุณ

    ๓. พระอาจารย์ทอง อโสโก อยู่สำนักสงฆ์วัดป่าเกาะแก้ว อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

    ๔. พระอาจารย์สนธิ์ อยู่สำนักสงฆ์วัดถ้ำบ้านนาโสก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

    ๕. พระอาจารย์คำ คมฺภีโร อยู่สำนักสงฆ์วัดป่าสิลาวิเวก อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม

    ๖. พระอาจารย์จรัส อยู่สำนักสงฆ์วัดป่าท่าควาย อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

    พระเถระทั้ง ๖ องค์ จึงถือว่าเป็นบูรพาจารย์สายวิปัสสนาธุระรุ่นแรกของจังหวัดนครพนม
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระธรรมเจดีย์(จูม พนฺธุโล) : ตัวอย่างการลนับลนุนด้านปริยัติธรรมของหลวงปู่ใหญ่


    การยกเรื่องของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) แห่ง วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี มากล่าวในที่นี้ ก็เพื่อจะให้เห็นอีกตัวอย่างหนึ่งว่า แม้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และ หลวงปู่มั่นจะให้น้ำหนักความสำคัญทางด้านวิปัสสนาธุระ แต่ท่านทั้งสองก็สนับสนุนการศึกษาด้านปริยัติเหมือนกัน

    ในกรณีของ เจ้าคุณปู่ แห่งจังหวัดนครพนมที่กล่าวมาแล้ว เป็นตัวอย่างหนึ่ง และกรณีของพระธรรมเจดีย์ นี้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง

    ท่านผู้อ่านคงจำได้ว่า ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ สมัยเป็นสามเณรจูม ได้ติดตามเจ้าคุณปู่ไปรับการศึกษาอบรมกับหลวงปู่ใหญ่เสาร์และหลวงปู่มั่น ที่จังหวัดอุบลราชธานี ถึง ๔ ปี ก่อนจะกลับมาร่วมตั้งวัดธรรมยุตแห่งแรกในจังหวัดนครพนม คือ วัดศรีขุนเมือง และเปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น วัดศรีเทพประดิษฐาราม ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น

    นอกจากการศึกษาด้านปริยัติขั้นต้นในจังหวัดอุบลราชธานีแล้วท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ สมัยยังเป็นสามเณรจูม ได้เคยติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับหลวงปู่มั่น ออกปฏิบัติธรรมตามป่าเขาในช่วงออกพรรษาหลายครั้ง จึงได้รับการฝึกหัดด้านวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างดี

    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ คงจะมองเห็นอุปนิสัยและมองการณ์ไกลจึงได้สนับสนุนสามเณรจูมให้ก้าวหน้าในด้านปริยัติธรรม ซึ่งต่อมาสามเณรจูม ก็ได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรมในกรุงเทพฯ เมืองหลวง จนได้เป็นพระมหาเปรียญ แล้วกลับมาบริหารและจัดการศึกษาแก่คณะสงฆ์ในภาคอิสาน นับเป็นการปกครองและจรรโลงหมู่คณะและทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญขึ้นเป็นอย่างมาก

    ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ได้เป็นพระอุปัชฌายะให้การบวชแก่พระสายธรรมยุต ท่านจึงมีลูกศิษย์ลูกหามาก จะว่าเต็มบ้านเต็มเมืองก็ได้ ท่านจึงเป็นที่เคารพนับถือของพระสงฆ์ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และประชาชนทั่วไป อย่างกว้างขวาง แม้แต่ท่านหลวงปู่ใหญ่และหลวงปู่มั่นก็ให้ความเชื่อถือลูกศิษย์องค์นี้มาก

    แม้ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ จะมีภาระในด้านการปกครองสงฆ์ และด้านการศึกษาของสงฆ์อย่างมากมาย ท่านก็ไม่เคยละทิ้งด้านการปฏิบัติพระกรรมฐาน ตามที่พระอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง ได้เคยพาดำเนินมา ซึ่งองค์ท่านเองก็ปฏิบัติอย่างเสมอต้นเสมอปลายและสนับสนุนพระสายกรรมฐานอย่างเต็มที่

    ท่านผู้อ่านคงจำได้ว่า ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์องค์นี้ เป็นพระผู้ใหญ่ที่เดินทางไปอาราธนาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่จังหวัดเชียงใหม่ ให้กลับมาโปรดลูกศิษย์ลูกหาทางภาคอิสาน หลังจากหลวงปู่มั่น ได้ไปอยู่ทางภาคเหนือติดต่อกันนานถึง ๑๒ ปี

    จึงกล่าวได้ว่า การที่พระป่าสายหลวงปู่มั่น ได้แพร่ขยายไปอย่างกว้างขวางนั้น ส่วนหนึ่งก็ด้วยการสนับสนุนของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) นี้เอง

    สำหรับประวัติย่อของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) มีดังนี้ :-

    พระธรรมเจดีย์ มีนามเดิมว่า จูม นามสกุล จันทรวงศ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๑ ณ บ้านท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม บิดา - มารดาชื่อ นายคำสิงห์ นางเขียว จันทรวงศ์ ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ มีพี่น้องทั้งหมด ๙ คน

    ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ทีวัดโพนแก้ว อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม มีพระอาจารย์เหง้า เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสังกัดธรรมยุติกนิกาย ชื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๔๐ ณ วัดมหาชัย อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระครูแสง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสารภาณพนมเขต (เจ้าคุณปู่) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรมด้วยความขยันหมั่นเพียร สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ที่สำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร

    ตั้งแต่ปี พ ศ. ๒๔๖๖ - ๒๔๙๖ ได้ปฏิบัติศาสนกิจด้วยความขยันหมั่นเพียรและเป็นผลดีแก่พระศาสนา จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ เมืองอุดรธานี เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะมณฑลอุดรธานีและสมาชิกสังฆสภา เป็นต้น

    ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้เลื่อนสมณศักดิ์ตามลำดับดังนี้ คือพระครูสังฆวุฒิกร, พระครูชิโนวาทธำรง, พระญาณดิลก, พระราชเวที, พระเทพกวี, และสุดท้าย พระธรรมเจดีย์

    ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฏาคม พ ศ. ๒๕๐๕ สิริรวมอายุได้ ๗๔ ปี อายุพรรษา ๕๔

    <TABLE id=table30 border=0 width=475><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle>
    นั่งแถวหน้า จากซ้าย
    พระเทพสิทธาจาย์ (จันทร์ เขมิโย), พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล), พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)

    นั่งแถวที่สอง จากซ้าย
    หลวงปู่ขาว อนาลโย พระอาจารยฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์กว่า สุมโน,
    พระครูอุดมธรรมคุณ (ทองสุข สุจิตฺโต), พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ

    ยืนแถวหลัง จากซ้าย

    พระญาณวิริยะ (วิริยังค์ สิรินฺธโร), หลวงพ่อบัว สิริปุณฺโณ,
    พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สิบปีที่ประวัติขาดช่วงไป


    ประวัติของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๔๕๘ เป็นช่วงเวลาประมาณ ๑๐ ปี ไม่สามารถหาหลักฐานได้ชัดเจน

    จากการศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ผม (นายปฐม) พอจะประมวลเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่ใหญ่ ได้ดังนี้

    ๑.หลวงปู่ใหญ่ ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดเลียบในเมืองอุบลฯ ประมาณ ๑๐ ปี เริ่มจากปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ถ้านับไป ๑๐ ปี ก็จะเป็นเจ้าอาวาสถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๕

    ถ้าดูจากเรื่องราวของเจ้าคุณปู่ของชาวนครพนม คือ พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) จากตอนที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าคุณปู่ ติดตามหลวงปู่ใหญ่ จากนครพนมเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๔๕ มาอยู่รับการศึกษาอบรมที่ วัดเลียบ อุบลราชธานี เป็นเวลา ๔ ปี ก่อนจะกลับไปตั้งวัดธรรมยุตแห่งแรกที่จังหวัดนครพนม

    จึงพอสรุปได้ว่า จากปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ไป หลวงปู่ใหญ่พักจำพรรษาอยู่ที่วัดเลียบ เมืองอุบลฯ อย่างน้อย ๔ ปี ถึง พ.ศ. ๒๔๔๙ ไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้าอาวาส แต่เป็นพระผู้ใหญ่ประจำสำนัก และในช่วงนี้ท่านไปๆ มาๆ ระหว่างวัดเลียบ กับ วัดบูรพาราม ในเมืองอุบลฯ และตามปกติ ในช่วงออกพรรษาหลวงปู่ใหญ่ จะพาคณะศิษย์ออกท่องธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ พอใกล้จะเข้าพรรษาก็กลับมาจำพรรษาที่วัดเลียบ

    ๒.การออกธุดงค์กับหลวงปู่มั่นลูกศิษย์ของท่าน พอประมวลได้ว่า เมื่อกลับจากนครพนมมาอยู่ที่เมืองอุบลฯ แล้ว ทั้งสององค์ได้กลับไปพำนักที่ภูหล่นอีกครั้งหนึ่ง แล้วทั้งสององค์ได้พาชาวบ้านหล่อพระพุทธรูปทองสำริด ๒ องค์ หน้าตัก ๗ และ ๙ นิ้ว ไว้ที่บ้านกุดเม็ก องค์ใหญ่แทนหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และองค์เล็กแทนหลวงปู่มั่น ประดิษฐานอยู่คู่กันจนถึงทุกวันนี้

    <TABLE id=table1 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=left>
    ภูผากูด คำชะอี จ.มุกดาหาร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    หลังจากพำนักที่วัดเลียบระยะหนึ่ง หลวงปู่มั่น ได้แยกเดินธุดงค์ไปทางภาคกลาง แล้วขึ้นเหนือไปในเขตพม่า กลับลงมาส่งสหธรรมิกท่านที่กรุงเทพฯ แล้วไปธุดงค์ที่จังหวัดเลย กลับมาอยู่วัดเลียบระยะหนึ่ง แล้วไปภาวนาที่ถ้ำไผ่ขวาง น้ำตกสาริกา จังหวัดนครนายก บรรลุธรรมขั้นพระอนาคามี จำพรรษาที่กรุงเทพฯ ระยะหนึ่ง แล้วจึงกลับมาอุบลฯ แล้วตามไปจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ที่ ภูผากูด คำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙

    (จะเสนอรายละเอียดในตอนต่อไป)

    ๓.การออกธุดงค์กับพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) ท่านเป็นพระสหธรรมิกรุ่นราวคราวเดียวกัน หลวงปู่ใหญ่ เป็นเจ้าอาวาสวัดเลียบ และ หลวงปู่หนูเป็นเจ้าอาวาสวัดใต้ ซึ่งสองวัดนี้อยู่คนละฟากถนนกัน

    หลวงปูทั้งสององค์ ออกธุดงค์ด้วยกันหลายครั้งทั้งฝั่งไทยและฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง รวมทั้งไปที่นครพนม

    มีช่วงหนึ่ง หลวงปู่ทั้งสององค์ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ พักอยู่ที่วัดปทุมวนาราม ได้รับข่าวว่าพระผู้ใหญ่จะแต่งตั้งหลวงปู่ใหญ่ ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส และให้หลวงปู่หนู เป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม แต่หลวงปู่ใหญ่ ท่านไหวตัวทัน หนีออกจากวัดทั้งกลางคืน เดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ เลยไม่ถูกจับตัวเป็นเจ้าอาวาส แต่หลวงปู่หนู ท่านหลีกไม่ทัน จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ และครองวัดนี้จนมรณภาพ

    เรื่องของหลวงปู่ใหญ่ มาปรากฏชัดเจนอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เมื่อท่านมาพักจำพรรษาที่ภูผากูด คำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ดังจะกล่าวรายละเอียดในตอนต่อไป

    ก่อนจะถึงเรื่องราวที่ภูผากูด จะขอยกการบันทึกเหตุการณ์ของครูบาอาจารย์สององค์ คือ บันทึกของหลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี กับบันทึกของหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร มาเสนอเพื่อทบทวนความจำของพวกเราอีกสัก ๒ ตอนยาวๆ ครับ
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บันทึกของหลวงปู่เทสก์


    จากตอนที่แล้ว ผมบอกว่าจะนำเสนอบันทึก ๒ ตอนยาวๆ ก่อนจะถึงเรื่องของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ โดยตรง ตอนที่พักอยู่ที่ภูผากูด

    ตอนนี้เป็นบันทึกของหลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ซึ่งยังไม่ยาว ตอนต่อไปเป็นตอนที่ยาวจริงๆ

    หลวงปู่เทสก์ ได้บันทึกเรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่เสาร์กับหลวงปู่มั่น ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๔๙ - ๒๔๕๘ ดังนี้

    ท่านพระอาจารย์เสาร์ และท่านพระอาจารย์มั่น ได้นำพระและเณรที่พระยายศสุนทร (เจ้าเมืองนครพนม) หามาให้ลงไปเมืองอุบลฯ แล้วส่งไปเรียนกรุงเทพฯ ต่อไป ส่วนท่านทั้งสองนั้นอยู่วัดเลียบเรื่อยมา

    ตอนนี้ไม่ทราบว่าท่านอยู่นานเท่าไร ท่านจึงได้ออกเที่ยวอีก แต่ไม่ทราบว่าเที่ยวไปที่ไหนบ้าง ไปคราวนี้ดูจะไป ๓ องค์ด้วยกัน คือท่านอาจารย์มั่น และท่านอาจารย์เสาร์ อาจารย์หนู อีกองค์หนึ่งต่อมาทีหลังเขาเลยจับเป็นสมภารที่วัดสระประทุม (วัดปทุมวนารามที่กรุงเทพฯ นี้เอง จนกระทั่งได้เป็นเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร แล้วกมรณภาพในที่นั้นเอง

    ตอนนี้ไม่ทราบว่าท่านไปเที่ยวที่ไหนบ้าง ได้ทราบแต่ว่าท่านอาจารย์มั่น ไปเที่ยวพม่าพร้อมด้วยท่านเจ้าคุณพระเทพมงคลปัญญาจารย์ (ภายหลังเป็น พระธรรมปาโมกข์ บุญมั่น มนฺตาสโย เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม รูปที่ ๖ ต่อจากพระปัญญาพิศาลเถร - หนู) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสระประทุมเดี๋ยวนี้ (หมายถึง เมื่อตอนนั้น) กับพระเมืองโขง (ฝั่งประเทศลาว) องค์หนึ่ง ชื่ออะไรจำไม่ได้

    ตอนนี้ท่านเจ้าคุณวิริยังค์ (วัดธรรมมงคล สุขุมวิท ๑๐๑ กรุงเทพฯ ) พูดว่า ท่านหลวงปู่มั่นไปเที่ยวพม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ แล้วกลับจากพระธาตุชะเวดากอง เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า กลับมาจำพรรษาที่มอระแมง (เมืองมะละแหม่ง)

    ออกพรรษากลับมาเมืองไทย ส่งพระอาจารย์ (บุญ) มั่น กลับวัด แล้วเดินธุดงค์ไปจังหวัดเลย ไปจำพรรษาที่ถ้ำผาบิ้ง

    ออกพรรษาแล้วกลับไปพักที่วัดเลียบ เมืองอุบลราชธานี เกิดภาพนิมิตหลายเรื่องหลายอย่าง กำหนดให้คนตายเต็มวัดทั้งวัดก็ได้ ขึ้นไปบนชั้นฟ้าสวรรค์ เห็นวิมานปราสาทเหลือที่จะคณานับ แล้วกลับลงไปเล่าให้ท่านอาจารย์เสาร์ฟัง ท่านก็บอกว่า ผมไม่เป็นอย่างนั้น ไม่ทราบว่าจะพูดอย่างไร

    พ ศ. ๒๔๕๕ ท่าน (หลวงปู่มั่น) ออกธุดงค์ไปคนเดียว เดินด้วยเท้าเปล่า มาอยู่ถ้ำไผ่ขวาง ลพบุรี และได้จำพรรษาที่ถ้ำสาริกา น้ำตกนครนายก จนเกิดความรู้ในธรรมชัดเจนขึ้นในใจ อันเป็นเหตุให้กล้าหาญจะออกเผยแพร่ธรรมต่อไป

    ตอนนี้เจ้าคุณวิริยังค์ไม่ได้พูด แต่ท่านเล่าให้ผู้เขียน
    (หลวงปู่เทสก์) ฟังว่า ขณะที่อยู่ถ้ำไผ่ขวาง นั้นปรากฏเห็นท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ นั่งหันหน้า ไปทางทิศตะวันออก อยู่ที่วัดบรมนิวาส กำลังพิจารณาปฏิจจสมุปปบาทอยู่ ท่านเกิดสงสัย แล้วกำหนดเวลา วันที่เท่านั้น เดือนที่เท่านั้น เมื่อเข้ามากรุงเทพฯ จึงเรียนถามท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านก็ตอบว่า เป็นอย่างนั้นจริง เจ้าคุณอุบาลีฯ ได้พูดในที่ประชุมว่า ท่านมั่นเป็นกัลยาณมิตร ควรสมาคม

    พ.ศ. ๒๔๕๔ จวนเข้าพรรษา (หลวงปู่มั่น) เดินทางผ่านจังหวัดสระบุรี ไปลพบุรี พักที่ถ้ำสิงโต เขาช่องลม (ปัจจุบันเรียกว่า เขาพระงาม) จำพรรษาที่นี่

    พ.ศ. ๒๔๕๗ เจ้าคุณอุบาลีฯ นิมนต์ (หลวงปู่มั่น) ไปจำพรรษาที่วัดสระประทุม (วัดปทุมวนาราม) กรุงเทพฯ

    พ ศ ๒๔๕๘ ดำริถึงหมู่คณะว่า สมควรจะสอนธรรมต่างๆ ที่ได้รู้เห็นมา แล้วจึงลาเจ้าคุณอุบาลีฯ กลับไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลฯ กับ อาจารย์สีทา (ชยเสโน) ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่าน ปีนี้พรรษาท่าน (หลวงปู่มั่น) ได้ ๒๕ ปี

    ตอนนี้ท่านอาจารย์สิงห์ (ขนฺตยาคโม
    )ซึ่งขณะนั้นเป็นครูโรงเรียนอยู่ และมหาปิ่น (ปญฺญาพโล) น้องชายของท่านอีกองค์หนึ่ง ได้ข่าวก็เข้าไปศึกษา เกิดศรัทธาเลื่อมใส ลาออกจากครูโรงเรียน แล้วติดตามท่าน (หลวงปู่มั่น)ไป ส่วนท่านมหาปิ่นน้องชายนั้น ขอลาไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ เสียก่อน แล้วจะตามไปทีหลัง

    ส่วนท่านอาจารย์มั่น และท่านอาจารย์เสาร์ ได้ออกเที่ยวธุดงค์ไปทางอำเภอหนองสูง จังหวัดนครพนม โดยมีท่านอาจารย์สิงห์ติดตามไปด้วย และยังมีอีกคนหนึ่งที่สึกแล้วชื่อหนู ติดตามไปอีกด้วย

    พอไปถึงอำเภอหนองสูง คำชะอี ท่านอาจารย์สิงห์ เป็นไข้ป่าอย่างหนัก จนญาติพี่น้องของท่านให้หามกลับคืนมา (เมืองอุบลฯ)

    ท่านอาจารย์เสาร์ ไปถึงอำเภอหนองสูง คำชะอี แล้ว ก็ตั้งสำนักอยู่ ณ ที่นั้น ตอนนี้ไม่ทราบว่า ท่านอาจารย์มั่น จำพรรษาอยู่ที่ไหน แต่เข้าใจว่าอยู่ในบริเวณเดียวกัน

    ก็จบบันทึกของหลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี แล้วก็ไปต่อกับตอนพำนักที่ถ้ำจำปา ภูผากูด ข้ามตอนยาวๆ ไปอีกตอน

    ตอนต่อไปเป็นบันทึกของ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร เป็นเรื่องราวของ หลวงปู่มั่น ในช่วง ๑๐ ปี ที่แยกจากหลวงปู่เสาร์ แล้วไปต่อกับตอนถัดไปคือ พำนักที่ถ้ำจำปา ภูผากูด ดังที่กล่าวมาแล้ว

    ตอนต่อไปนี้เป็นตอนที่ยาวที่สุด มีหลายสิบหน้าผมไม่อยากตัดออก ขอนำเสนอเต็มๆ เลย ทนอ่านสักหน่อยก็แล้วกันนะครับ

    <TABLE id=table9 border=0 width=459><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=2 align=middle>วัดถ้ำจำปากันตสีลาวาส อ หนองสูง จ มุกดาหาร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ช่วงสิบปีที่หลวงปู่มั่นแยกไปบำเพ็ญเพียร


    เรื่องราวในส่วนนี้สรุปย่อมาจากบันทึกของหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร วัดธรรมมงคล สุขุมวิท ๑๐๑ พระโขนง กรุงเทพฯ

    หลวงพ่อวิริยังค์ได้ติดตามอาจารย์ของท่าน คือ หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ไปกราบหลวงปู่มั่นที่วัดป่าบ้านหนองผือ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และมีโอกาสถวายอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ๓ - ๔ ปี ได้ฟังเรื่องราวต่างๆ จากปากของหลวงปู่มั่น โดยตรง

    บันทึกที่เป็นเรื่องราวช่วง ๑๐ ปีดังกล่าว มีความยาวมากกว่า ๖๐ หน้า ผมขอนำเสนอ ณ ที่นี้อย่างย่นย่อที่สุดดังต่อไปนี้ ครับ -

    ... จากนครพนมในครั้งนั้น หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้พาหลวงปู่มั่น และคณะศิษย์เดินธุดงค์กลับมายังจังหวัดอุบลราชธานีแล้วพักอยู่ที่วัดเลียบเช่นเดิม

    ในส่วนขององค์หลวงปู่มั่น ท่านพักที่วัดเลียบ อยู่ระยะหนึ่ง แล้วกราบลาหลวงปู่ใหญ่ ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ได้พบกับพระองค์หนึ่ง ชื่อ มั่น เหมือนกับท่าน (จากข้อมูลที่สืบค้นได้ พบว่า พระมั่น องค์นี้ก็คือหลวงปู่บุญมั่น มนฺตาสโย เป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม รูปที่ ๖ สมณศักดิ์ครั้งสุดท้ายเป็นเจ้าคุณชั้นธรรมที่พระธรรมปาโมกข์)

    หลวงปู่มั่น กับหลวงปู่บุญมั่น ออกธุดงค์เดินทางด้วยเท้าข้ามป่าเขาหลายแห่งไปจนถึงเขตประเทศพม่า ตั้งใจแสวงหาความวิเวกไปเรื่อยๆ โดยไม่สนใจว่าเป็นเขตประเทศอะไร พอพบสถานที่เหมาะก็ปักกลดบำเพ็ญภาวนา พอเริ่มรู้สึกคุ้นกับสถานที่ คุ้นกับญาติโยมก็ต้องย้ายไปที่ใหม่ เพื่อไม่ให้ติดสถานที่ ไม่ให้ติดญาติโยม และที่สำคัญคือไม่ให้ติดความสุขอันเป็นอุปสรรคขัดขวางการปฏิบัติไปสู่ความหลุดพ้น

    หลวงปู่มั่นบอกว่า ชาวพม่าที่ท่านพบล้วนมีศรัทธาต่อศาสนามาก ให้ความอนุเคราะห์ต่อพระสงฆ์เป็นอย่างดี แต่พูดกันไม่รู้เรื่อง ซึ่งท่านเห็นว่าเป็นการดีที่ไม่ต้องพูดกันให้มีเรื่องกวนใจ สามารถปฏิบัติภาวนาได้เต็มที่

    หลวงปู่ทั้งสอง ได้พำนักในที่ต่างๆ เป็นการชั่วคราวเพื่อฉลองศรัทธาชาวบ้าน ท่านไม่คิดจะอยู่ที่ใดเป็นเวลานานๆ เพราะท่าน “ไม่ได้มาเพื่อเอาคน แต่มาเพื่อหาทางพ้นทุกข์”

    ช่วงนี้หลวงปู่มั่น ยังไม่ได้สอนธรรมะให้แกใคร เพราะท่าน
    “ต้องการความหลุดพ้นของตนก่อน ถ้าตนหลุดพ้นแล้วจึงจะช่วยให้คนอื่นหลุดพ้นตามได้” ท่านจึงมุ่งปฏิวัติอย่างเดียวโดยไม่สนใจใครทั้งนั้น

    ในท่ามกลางป่าเขา สัตว์ป่า เช่น เสือ ช้าง งูจงอาง หมี วัว กระทิง มีชุกชุม ท่านรู้สึกเคยชินกับพวกสัตว์เหล่านั้น
    “แม้จะเดินสวนทางผ่านกันไป ต่างก็ทำเหมือนไม่รู้ไม่ชี้ซึ่งกันและกัน”

    หลวงปู่ทั้งสององค์ ได้พักจำพรรษาที่สำนักสงฆ์แห่งหนึ่งอยู่บนภูเขาในเขตเมืองมะละแหม่ง ซึ่งมีพระพม่าอยู่เพียงองค์เดียว การปฏิบัติทางจิตมีความก้าวหน้าพอสมควร

    ออกพรรษาแล้ว หลวงปู่มั่น กับหลวงปู่บุญมั่น ก็เดินทางกลับประเทศไทย ท่านเดินทางด้วยเท้าไปส่งหลวงปู่บุญมั่น ที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ พักอยู่ที่นั่นระยะหนึ่ง แล้วหลวงปู่มั่น ก็ออกเดินธุดงค์ต่อไปเพียงลำพังองค์เดียว มุ่งสู่จังหวัดเลย ไปพำนักบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง (ต่อมาภายหลัง หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ได้ไปสร้างเป็นวัด ชื่อ วัดถ้ำผาบิ้ง ในปัจจุบันนี้)

    การอยู่ภาวนาที่ถ้ำผาบิ้ง แต่องค์เดียว
    “เป็นการทำความเพียรที่ได้ผลมาก แต่ก็ยังไม่ได้ปัญญาเป็นที่แน่ใจได้เลย”

    หลวงปู่มั่น เล่าว่า
    “แม้ผ่านการปฏิบัติมาอย่างทุรกันดาร จิตได้รับความสงบถึงที่สุดแล้ว วิเวกถึงที่สุดแล้ว นั่งสมาธิถึงที่สุดแล้ว อยู่ถ้ำมาก็ถึงที่สุดแล้ว แต่ความสงสัยก็ยังไม่สิ้นไปเสียที”

    อยู่ถ้ำผาบิ้ง นานพอสมควร หลวงปู่มั่น ก็เดินทางกลับวัดเลียบ เมืองอุบลราชธานี สำนักของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ พระอาจารย์ของท่าน

    เมื่อหลวงปู่มั่น ท่านมาอยู่กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ เมื่อใดก็ตามหลวงปู่มั่น จะทำตัวประหนึ่งพระบวชใหม่ ดูแลหลวงปู่ใหญ่ทุกอย่างด้วยความเคารพ นับตั้งแต่ล้างบาตร เทกระโถน ปูอาสนะ ถวายน้ำอาบ บีบนวด และอุปัฏฐากทุกอย่าง ซึ่งท่านทำอย่างเสมอต้นเสมอปลายจนรู้สึกว่าอาจารย์และศิษย์คู่นี้มีความผูกพันกันอย่างมากและนี่ก็เป็นต้นแบบที่ศิษย์สายกรรมฐานปฏิบัติต่อครูอาจารย์ของตน สืบต่อมาจนปัจจุบัน

    ที่วัดเลียบ เมืองอุบลฯ หลวงปู่มั่น ได้เพียรปฏิบัติภาวนาอย่างไม่ลดละ การดำเนินชีวิตของท่านมีความก้าวหน้าโดยลำดับ มีนิมิตสำคัญที่น่าสนใจ ๒ ครั้ง

    ครั้งที่หนึ่ง หลวงปู่มั่น เล่าว่า คืนหนึ่ง
    “เราได้หลับไปแล้ว แต่การหลับของเราในขณะนั้นเหมือนจะตื่น เพราะต้องกำหนดจิตให้มีสติไว้เสมอ”

    ท่านรู้สึกว่าฝันไป (สุบินนิมิต) ว่าเดินออกจากบ้านเข้าสู่ป่าที่รกชัฏ พบต้นไม้ใหญ่ ชื่อ ต้นชาด ถูกโค่นล้มอยู่กับพื้น กิ่งก้านผุพังหมดแล้ว ท่านขึ้นไปยืนบนขอนต้นชาด มองเห็นทุ่งกว้างอยู่เบื้องหน้า แล้วมีม้าขาววิ่งมาหยุดอยู่ใกล้ๆ ท่านขึ้นไปนั่งบนหลัง แล้วม้าก็วิ่งผ่านทุ่งไปจนสุด พบตู้พระไตรปิฎกตั้งตระหง่านอยู่ ท่านไม่ได้เปิดดู แล้วก็รู้สึกตัวตื่น
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ช่วงสิบปีที่หลวงปู่มั่นแยกไปบำเพ็ญเพียร (ต่อ)

    ท่านได้ทบทวนเรื่องที่ฝัน เกิดความรู้สึกมั่นใจในการปฏิบัติภาวนาของท่าน ภายหลัง ท่านเล่าคำทำนายฝันให้ฟังว่า ที่ออกจากบ้าน ก็คือออกจากเพศฆราวาส ไปพบป่ารกชัฏ แสดงว่ายังไปไม่ถูกทางจริงจึงต้องลำบากหนัก ที่ท่านขึ้นไปยืนบนขอนชาดที่ผุพังแล้ว แสดงว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของท่าน เหมือนขอนชาดย่อมไม่สามารถงอกขยายพืชพันธุ์ต่อไปได้ ท่านต้องแสวงหาต่อไป ทุ่งโล่ง หมายถึงแนวทางที่ถูกต้อง เป็นทางที่ไม่ลำบากนัก การได้ขี่ม้าขาว หมายถึงการเดินทางไปสู่ความบริสุทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว การพบตู้พระไตรปิฎกแต่ก็ได้เปิดดู ก็คือท่านคงมิได้ถึง ปฏิสัมภิทาญาณ ถ้าได้เปิดดูก็คงจะแตกฉานกว่านี้ ท่านเพียงได้ความรู้ถึงปฏิสัมภิทานุศาสตร์ สามารถสอนผู้อื่นได้เพียงบางส่วนเท่านั้น

    ขณะอยู่ที่วัดเลียบ หลวงปู่มั่นได้เร่งความเพียรหนักขึ้น ได้เปลี่ยนวิธีการ คือ พอจิตดำเนินถึงขั้นสงบนิ่งแล้ว แต่ไม่หยุดที่ความสงบนิ่งเหมือนแต่ก่อน ยกกายขึ้นพิจารณา เรียก กายคตาสติ โดยกำหนดจิตเข้าสู่กายทุกส่วน ทั้งยืน เดินนั่ง นอนให้จิตจดจ่อที่กายตลอดเวลา พิจารณาให้เป็นอสุภะ จนเกิดความเบื่อหน่ายในจิต (นิพพิทาญาณ) บางครั้งขณะเดินจงกรมอยู่ ปรากฏเดินลอยอยู่ท่ามกลางซากศพก็มี เหตุการณ์ เช่นนี้ ปรากฏขึ้นเป็นเดือน ท่านว่า ปรากฏปัญญาขึ้นบ้าง ไม่เหมือนตอนทำจิตให้สงบอยู่อย่างเดียว เหมือนที่ผ่านมา ซึ่งได้แต่ความสุข ความอิ่มใจเฉยๆ ไม่เกิดปัญญา ยิ่งกว่านั้นยังเกิดความหวั่นไหวไปตามอารมณ์กิเลสอยู่ แต่การปฏิบัติคราวหลังนี้ ความรู้สึกหวั่นไหวได้ชะงักลง จึงปลงใจว่าน่าจะไปถูกทาง

    นิมิตครั้งที่สอง เกิดจากการปฏิบัติภาวนา เห็นนิมิตในสมาธิเกิดต่อเนื่องขึ้นไปเป็นลำดับ เกิดอยู่นานถึง ๓ เดือน

    หลวงปู่มั่น เล่าว่า วันหนึ่งเกิดนิมิตในสมาธิว่า เห็นคนตายนอนอยู่ห่างจากตัวท่านราว ๑ ศอก มีสุนัขกำลังกัดทึ้งดึงไส้ออกมาเคี้ยวกินอยู่ ท่านกำหนดจิตพิจารณาดูซากศพทุกส่วน กำหนดขยายส่วนต่างๆ ขึ้นพิจารณาจนเห็นเด่นชัด สามารถกำหนดขยายให้ใหญ่ขึ้นหรือย่อให้เล็กลงได้ตามต้องการ (ปฏิภาคนิมิต) ยิ่งพิจารณาไปจิตก็ยิ่งสว่างไสว ปรากฏเป็นดวงแก้วขึ้นมา แล้วทิ้งการกำหนดอสุภะ มากำหนดเอาเฉพาะดวงแก้วเป็นอารมณ์

    วาระต่อไป ได้ปรากฏนิมิตเป็นภูเขาสูงอยู่ข้างหน้า ท่านกำหนดจิตขึ้นไปดู เห็นมี ๕ ชั้น เดินขึ้นไปจนถึงชั้นที่ ๕ พบบันได้แก้ว แล้วหยุดอยู่ที่นั่น ไปต่อไม่ได้จึงเดินทางกลับ ท่านได้พบว่าตัวท่านได้สะพายดาบและรองเท้าวิเศษไปด้วยทุกครั้งที่เกิดนิมิตเช่นนั้น

    ในครั้งต่อไป เมื่อทำสมาธิ ก็เกิดนิมิตและดำเนินไปเหมือนเดิมแต่ไปได้ไกลกว่าเดิม พบเห็นสิ่งต่างๆ มากขึ้น มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้เดินสวนทางกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท วัดบรมนิวาส) ท่านเจ้าคุณฯเปล่งเป็พาษาบาลีว่า
    “อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค” แล้วก็เดินต่อไป

    นิมิตในสมาธิเช่นนี้ เกิดเหตุการณ์ต่อเนื่องกันไปนานถึง ๓ เดือน จนในที่สุดไม่มีนิมิตอะไรต่อไปอีกแล้ว มีแต่ความสุขสงบเหลือที่จะประมาณได้ จนท่านเองสำคัญว่า
    “ตนของตนถึงความบริสุทธิ์แน่จริง หมดจากกิเลสแล้ว”

    ยังครับ ! อย่าเพิ่งดีใจ !

    หลวงปู่มั่น ได้ยกประสบการณ์ในครั้งนั้นมาเป็นตัวอย่างสั่งสอนศิษย์ว่า
    “ระวัง อย่าได้หลงในนิมิตเช่นนั้น เพราะมันวิเศษจริงๆ ผู้ปฏิบัติทางจิตชอบจะมาติดอยู่เพียงแค่นี้ แล้วสำคัญตนผิด... เราเองก็เป็นมาแล้ว และมันก็น่าจะหลงใหลเพราะเป็นสิ่งอัศจรรย์มาก ที่เรียกว่าวิปัสสนูปกิเลสก็คือความเป็นเช่นนี้”

    (ไปเที่ยวนรก เที่ยวสวรรค์ ไปกราบเจดีย์พระเกศแก้วจุฬามณี หรือแม้กระทั่งไปท่องในแดนนิพพาน ก็ตาม กิเลสหาได้หมดลงไม่ รู้สึกมีความสุขจริง ได้เห็นจริง...แต่ สิ่งที่เห็นนั้นไม่จริง นั่งเมื่อไรก็จะไปดูสวรรค์ แล้วตรงไหนจะเป็นการละวาง ละครับท่าน ? - ปฐม)

    หลังจากที่หลวงปู่มั่น รู้ตัวว่าหลงไปตามนิมิตต่างๆ แล้วท่านกลับมากำหนด กายคตาสติ จิตได้เข้าถึงฐาน ปรากฏว่าได้เลิกหนังของตนออกหมด แล้วแหวะในกาย พิจารณาทบทวนในร่างกายอย่างละเอียด แล้วพักจิต (ไม่ใช่พิจารณาไปเรื่อยโดยไม่พัก ภาษาพระท่านว่า เดินจิต แล้ว พักจิต สลับกันไป เดินจิตอย่างเดียวจิตอ่อนพลังแล้วฟุ้งซ่าน พักจิต นานไปก็ติดสุข เป็นการเข้าฌานเหมือนฤๅษีชีไพรไป - ปฐม)
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ช่วงสิบปีที่หลวงปู่มั่นแยกไปบำเพ็ญเพียร (ต่อ)

    ขณะที่พักจิตก็รู้ว่าปัญญาได้เกิดขึ้นพอควร มีอาการไม่ตื่นเต้นไม่หวั่นไหว จึงได้เปล่งอุทานว่า :-

    “นี่แหละจึงจัดว่ารวมถูก เพราะไม่ใช่จิตสงบแล้วก็อยู่เฉย ที่สงบนั้นต้องสงบแล้วพิจารณาอยู่ในกัมมัฏฐานคือ อยู่ในการพิจารณาตัวทุกข์ และให้เห็นตัวทุกข์อยู่ จึงจะได้ชื่อว่าดำเนินจิตอยู่ในองค์มรรค...ฯลฯ... เราจะต้องตรวจค้นให้รู้จริงเห็นจริงอยู่ที่กายกับจิตเท่านั้น จึงจะถูกอริยมรรคปฏิปทา”

    หลวงปู่มั่น เล่าว่า มีครั้งหนึ่ง ปรากฏในนิมิตว่าร่างกายของท่านแตกออกเป็น ๒ ภาค ท่านกำหนดจิตให้นิ่งจนเกิดความสังเวชสลดใจ เห็นทุกข์ของการเวียนว่ายตายเกิด จึงถือเอาหลักที่ทำมาเป็นการเริ่มต้น เพราะมั่นใจว่าปฏิบัติถูกต้องเป็นทางดำเนินจิตของท่านต่อไป

    ไปภาวนาที่ถ้ำไผ่ขวาง น้ำตกสาริกา นครนายก

    การปฏิบัติภาวนาในช่วงที่อยู่วัดเลียบ เมืองอุบลฯ แม้จะก้าวหน้าไปโดยลำดับ แต่หลวงปู่มั่น ตระหนักว่า “ยังไปได้ไม่ไกลเท่าไร” ท่านจึงได้กราบลาหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ออกธุดงค์เข้าป่าเพียงลำพังองค์เดียว ไปทางนครราชสีมา แสวงวิเวกไปเรื่อยๆ จนถึงบริเวณน้ำตกสาริกา จังหวัดนครนายก เป็นป่าทึบเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ เป็นสถานที่น่าประหลาดสำหรับพระธุดงค์

    หลวงปู่มั่น มุ่งหน้าสู่ถ้ำไผ่ขวาง ชาวบ้านได้ทัดทานไว้เนื่องจากมีพระธุดงค์ไปมรณภาพที่ถ้ำแห่งนั้นถึง ๖ องค์แล้ว แต่หลวงปู่ตอบชาวบ้านว่า
    “ขอให้อาตมาเป็นองค์ที่ ๗ ก็แล้วกัน”

    หลวงปู่มั่น ศิษย์เอกของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ท่านมีความเด็ดเดี่ยว ปฏิบัติธรรมแบบมุ่งมั่นไม่กลัวตาย หากแต่กลัวกิเลสที่ย่ำยีจิตใจทำให้รุ่มร้อนมากกว่า

    ถ้ำแห่งนั้นเป็นถ้ำที่ไม่ใหญ่โตนัก มีต้นไม้ขึ้นปกคลุมหนาแน่น บรรยากาศน่าสะพรึงกลัว ยิ่งตอนพลบค่ำยิ่งวังเวง แต่หลวงปู่ท่านเคยชินกับสภาพเช่นนั้นมากแล้ว จึงไม่มีอะไรทำจิตของท่านหวั่นไหวได้

    หลังจากจัดแจงสถานที่และเดินดูรอบๆ บริเวณแล้ว พอค่ำลงสนิท ท่านก็เริ่มบำเพ็ญภาวนาโดยนั่งสมาธิตลอดคืน ปรากฏว่าในจิตเกิดสว่างไสวอย่างประหลาด นับเป็นนิมิตที่ดียิ่ง

    รุ่งเช้า หลวงปู่มั่น ก็ออกบิณฑบาตที่หมู่บ้านชาวไร่นั้น หลังจากฉันแล้ว ท่านก็พักผ่อนไปสักหนึ่งชั่วโมง พอลุกขึ้นรู้สึกตัวหนักไปหมด หนำซ้ำเกิดท้องร่วงอย่างแรง เมื่อสังเกตดูอุจจาระ พบว่า อาหารที่ฉันเข้าไปไม่ย่อยเลย ข้าวสุกยังเป็นเม็ด อาหารที่รับเข้าไปยังอยู่ในสภาพเดิม ท่านจึงเข้าใจว่าพระธุดงค์องค์ก่อนๆ ที่มรณภาพไปก็คงเป็นเพราะเหตุนี้ ได้รำพึงกับองค์ท่านเองว่า
    “เราเองก็เห็นจะตายแน่เหมือนพระเหล่านั้น”

    หลวงปู่มั่น ได้หาที่ที่น่าหวาดเสียวที่สุด เห็นว่าริมปากเหวเหมาะที่สุดที่จะนั่งบำเพ็ญเพียร ท่านตั้งใจแน่วแน่ว่า
    “หากจะตายขอตายตรงนี้ ขอให้ร่างกายหล่นลงไปในเหวนี้ จะได้ไม่ต้องเป็นที่วุ่นวายเดือดร้อนแก่ใครๆ ”

    ตั้งแต่บัดนั้น หลวงปู่มั่น ได้ตั้งปณิธานแน่วแน่ว่า
    “ถ้าไม่รู้แจ้งเห็นจริงในธรรม ก็จะไม่ลุกจากที่นั่งนี้เป็นอันขาด”

    หลวงปู่ได้นั่งสมาธิอยู่ ณ จุดนั้นติดต่อกันเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืนโดยไม่ขยับเขยื้อนและไม่ลืมตาเลย

    หลวงปู่ เริ่มกำหนดจิตต่อจากที่เคยดำเนินการครั้งหลังสุด ได้เกิดการสว่างไสวดุจกลางวัน ความผ่องใสของจิตสามารถเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามต้องการ แม้จะกำหนดดูเม็ดทรายก็เห็นได้อย่างชัดเจนทุกเม็ด แม้จะพิจารณาดูทุกอย่างที่ผ่านมา ก็แจ้งประจักษ์ขึ้นในปัจจุบันหมด
     

แชร์หน้านี้

Loading...