หลวงปู่สาร์ กนฺตสีโล : พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 14 พฤษภาคม 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ช่วงสิบปีที่หลวงปู่มั่นแยกไปบำเพ็ญเพียร (ต่อ)

    ในขณะที่จิตของท่านดำเนินไปอย่างได้ผล ก็ปรากฏเห็นเป็นลูกสุนัขกำลังกินนมแม่ ท่านพิจารณาใคร่ครวญดู ว่าทำไมจึงเกิดมีนิมิตมาปน ทั้งๆ ที่จิตของท่านเลยขั้นที่จะนิมิตแล้ว เมื่อกำหนดจิตพิจารณาก็เกิดญาณรู้ขึ้นว่า “ลูกสุนัขนั้นก็คือตัวเราเอง เราเคยเกิดเป็นสุนัขอยู่ตรงนี้มานับอัตภาพไม่ถ้วน เวียนเกิดเวียนตายเป็นสุนัขอยู่หลายชาติ ”

    เมื่อพิจารณาโดยละเอียดได้ความว่า ภพ คือความยินดีในอัตภาพของตน สุนัขก็ยินดีในอัตภาพของมัน จึงต้องเวียนอยู่ในภพของมันตลอดไป

    เมื่อหลวงปู่มั่น ทราบความเป็นไปในอดีตชาติของท่านก็ได้ถึงความสลดจิตเป็นอย่างมาก

    ความสว่างไสวในจิตของท่านยังคงเจิดจ้าอยู่ แต่ทำไมยังมีการห่วงหน้าพะวงหลังอยู่ ไม่สามารถพิจารณาธรรมให้ยิ่งขึ้นไปได้ เมื่อตรวจสอบดูก็พบความจริงที่ท่านไม่เคยทราบมาก่อน นั่นคือ
    การปรารถนาพระสัมมาสัมโพธิญาณ” ของท่าน โอ ! แล้วจะต้องเวียนตายเวียนเกิดไปอีกกี่หมื่นกี่แสนชาติ จึงจะถึง คิว ได้เป็นพระพุทธเจ้าสมความปรารถนา

    หลวงปู่มั่น ได้ย้อนพิจารณาถึงภพชาติในอดีตปรากฏว่า ท่านเคยมีตำแหน่งเป็นเสนาบดีเมืองกุรุรัฐ (กรุงเดลฮี ในปัจจุบัน) พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดชาวกุรุรัฐ พระองค์ทรงแสดงมหาสติปัฏฐานสูตร หลวงปู่ในชาตินั้นก็ได้เจริญสติปัฏฐาน แล้วยกจิตขึ้นอธิษฐานว่า
    “ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นพระองค์เถิด”

    ได้ความว่า หลวงปู่มั่นได้ปรารภโพธิญาณมาตั้งแต่บัดนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านต้องชะงักในการพิจารณาอริยสัจเพื่อทำจิตให้หลุดพ้นได้ ต้องสร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ไปอีกชั่วกัปชั่วกัลป์ ถ้าไม่ปล่อยวางความปรารถนานั้น

    หลวงปู่มั่น ยังเห็นต่อไปอีกว่า หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี เคยเป็นหลานชายของท่านในชาติที่เป็นเสนาบดีเมืองกุรุรัฐ นั้น ภายหลังเมื่อหลวงปู่เทสก์ตามท่านไปอยู่ที่เชียงใหม่ หลวงปู่เคยบอกหลวงปู่เทสก์ว่า
    “เธอเคยเกิดเป็นหลานเราที่กรุงกุรุรัฐ ฉะนั้น เธอจึงดื้อดึงไม่ค่อยจะฟังเรา และสนิทสนมกับเรายิ่งกว่าใคร”

    ต่อจากนั้น หลวงปู่มั่น ได้ระลึกถึง หลวงปู่ใหญ่เสาร์ พระอาจารย์ของท่าน ก็ปรากฏว่า หลวงปู่ใหญ่ก็ได้เคยปรารถนาเป็นพระปัจเจกโพธิญาณ (พระปัจเจกพุทธเจ้า) จึงไม่สามารถที่จะกระตือรือร้น ที่จะทำจิตให้ถึงที่วิมุตติได้

    หลวงปู่มั่นตั้งใจไว้ว่าจะต้องหาโอกาสไปกราบอาราธนาให้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ได้ละวางความปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในชาตินี้ให้ได้ นี่คือความกตัญญูส่วนหนึ่งของท่าน

    หลังจากที่ได้ใคร่ครวญสิ่งต่างๆ แล้ว หลวงปู่มั่น รู้สึกสลดใจที่เคยเกิดเป็นสุนัขนับอัตภาพไม่ถ้วน และยังจะต้องเวียนวายตายเกิดเพื่อสร้างบารมีต่อไปอีกนานแสนนาน ท่านจึงได้อธิษฐานจิตหยุดการปรารถนาพระโพธิญาณ ตั้งใจแน่วแน่ที่จะขอบรรลุธรรมในชาติปัจจุบัน

    ต่อจากนั้น หลวงปู่มั่น ได้พิจารณาธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ จึงระลึกได้ว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ที่ทรงแสดงในปฐมเทศนาเป็นทางบรรลุที่แท้จริง พระองค์ทรงแสดงจากความเป็นจริงที่พระองค์ได้ทรงรู้ แล้วนำออกแสดงโปรดพระปัญจวัคคีย์ ทรงแสดงถึง อริยสัจ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และทรงย้ำว่า

    ปริเญยฺยนฺ เม ภิกฺขเว
    ทุกข์พึงกำหนดรู้ ปริญาตนฺ เม ภิกฺขเว เราได้กำหนดรู้แล้ว ปหาตพฺพนฺติ เม ภิกฺขเว สมุทัยควรละ ปหีนนฺติ เม ภิกฺขเว เราได้ละแล้ว สทฺฉกาตพฺพนฺติ เม ภิกฺขเว นิโรธควรทำให้แจ้ง เราทำให้แจ้งแล้ว ภาเวตพฺพนฺติ เม ภิกฺขเว มรรคควรเจริญให้มาก ภาวิตนฺติ เม ภิกฺขเว เราก็เจริญให้มากแล้ว
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ช่วงสิบปีที่หลวงปู่มั่นแยกไปบำเพ็ญเพียร (ต่อ)

    เมื่อได้ระลึกถึงธรรมะอันเป็นหัวใจของพระธัมมจักกัปปวัตนสูตรคือ อริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ ควรกำหนดรู้ สมุทัย ควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง และ มรรค ควรเจริญให้มาก ดังนี้แล้ว หลวงปู่มั่นก็ได้พิจารณาอริยสัจไปตามลำดับ

    หลวงปู่ได้พิจารณากายคตาสติ โดยยกเอาการระลึกชาติที่เกิดเป็นสุนัขมาเป็นตัวทุกข์ จนกระทั่งเกิดความแจ่มแจ้งขึ้นในจิต กลายเป็นญาณ คือ การหยั่งรู้ที่เกิดจากการดำเนินทางจิตจนพอเพียงแก่ความต้องการ (อิ่มตัว) ไม่ใช่เกิดจากการนึกเอาคิดเอา หรือน้อมเอาเพื่อให้เป็นไป แต่เกิดจากการพิจารณาโดยความเป็นจริงแห่งกำลังของจิตที่ได้รับการฝึกอบรมมาพอแล้ว

    (ตัวอย่างเช่น ผลไม้ มันจะต้องพอแก่ความต้องการของมันจึงจะสุกได้ ไม่ใช่นึกเอาคิดเอา หรือ ข้าว จะสุกได้ก็ต้องได้รับความร้อนที่พอแก่ความต้องการของมัน)

    ในการพิจารณากาย ที่เป็นตัวทุกข์ก็เช่นกัน กว่าจะกลับกลายเป็นญาณ ขึ้นมาได้ ก็ต้องอาศัยการพิจารณาทางจิต จนเพียงพอแก่ความต้องการ คือ อิ่มตัวในแต่ละครั้ง จะเกิดเป็นนิพพิทาญาณ คือความเบื่อหน่าย จะตั้งอยู่ในใจได้ ก็เมื่อการพิจารณากายได้เห็นชัดด้วยความสามารถแห่งพลังจิต... “การพิจารณาทุกข์เป็นเหตุให้เกิด นิพพิทาญาณ ถ้าเกิดความเพียงพอแห่งกำลังเข้าเมื่อใด ญาณนั้นจึงจะเป็นกำลังตัดกิเลสได้”

    โดยย่นย่อ หลวงปู่มั่นได้พิจารณาอริยสัจ ๔ จนเกิดญาณรู้แจ้งขึ้นในจิตโดยลำดับ ในวาระสุดท้าย หลวงปู่ได้กำหนดทบทวนกระแสจิตกลับมาหา ฐีติภูตํ คือ ที่ตั้งของจิต จนปรากฏตัว
    ผู้รู้ - ผู้เห็น” และ “ผู้ไม่ตาย” ท่านพิจารณาทบทวนกลับไปกลับมา จนหมดความสงสัยทุกอย่างโดยสิ้นเชิง

    ความจริงมีเรื่องราวการพิจารณาธรรมของหลวงปู่มั่นต่อไปอีกหลายอย่าง ครั้นจะนำเสนอในที่นี้ก็จะยาวและออกนอกเรื่องมากไป

    ท่านที่ต้องการทราบเพิ่มเติม โปรดอ่านได้ที่หนังสือ
    “หลวงปู่มั่นภูริทตโต : ประวัติ ข้อวัตรและปฏิปทา” โครงการหนังสือบูรพาจารย์เล่ม ๑”

    หรือถ้าต้องการอ่านรายละเอียดอย่างพิสดาร โปรดอ่านได้ที่หนังสือ ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เขียนโดย หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร วัดธรรมมงคล สุนมวิท ๑๐๑ พระโขนง กรุงเทพฯ



    เมื่อออกจากถ้ำไผ่ขวาง หลวงปู่มั่น ไปพักบำเพ็ญเพียรที่ถ้ำสิงโต เขาช่องลม หรือที่เรียกว่า เขาพระงาม จังหวัดลพบุรี ในปัจจุบันประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๖

    พ ศ ๒๔๕๗ หลวงปู่มั่น ได้รับการขอร้องจากท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ให้ลงมาจำพรรษาที่กรุงเทพฯ เพื่อโปรดพระเณรและประชาชนที่สนใจในธรรมปฏิบัติ ท่านพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม

    พ.ศ. ๒๔๕๘ หลวงปู่มั่น อายุ ๔๗ ปี อายุพรรษา ๒๕ ได้เดินทางกลับอิสาน พักจำพรรษาที่ วัดบูรพาราม ในเมืองอุบลฯ มีช่วงหนึ่งขณะที่ท่านกำลังพิจารณาว่า
    “ใครหนอจะเป็นผู้ควรแก่การสั่งสอน” ก็พอดีกับหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เข้าไปกราบถวายตัวเป็นศิษย์

    หลวงปู่มั่น ทักทายเป็นประโยคแรกว่า
    “เราได้รอเธอมานานแล้ว ที่อยากจะพบและต้องการชักชวนให้ปฏิบัติธรรมด้วยกัน”

    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม (วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา) องค์นี้จึงเป็นศิษย์รุ่นแรก ได้ติดตามปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น ได้รับความไว้วางใจและมอบหมายให้เป็นผู้ปกครองดูแลพระภิกษุสามเณรสายกรรมฐานแทน เมื่อครั้งหลวงปู่มั่นท่านปลีกตัวไปอยู่ภาคเหนือนานถึง ๑๒ ปี และหลวงปู่สิงห์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นแม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม

    ในปีเดียวกันนั้นหลวงปู่มั่น ได้ไปโปรดโยมมารดาจนเกิดศรัทธาแก่กล้า ลาลูกหลานออกบวชชีจนตลอดชีวิต

    ปี พ.ศ. ๒๔๕๙ หลังออกพรรษา หลวงปู่มั่น ได้ธุดงค์ไปหาหลวงปู่ใหญ่เสาร์ พระอาจารย์ของท่านซึ่งทราบว่าจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำภูผากูด บ้านหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม (ในขณะนั้น) เพื่อหาโอกาสให้สติหลวงปู่ใหญ่ได้วางการปรารถนาพระปัจเจกโพธิ ทำให้หลวงปู่ใหญ่ได้ปฏิบัติก้าวหน้าต่อไป จนบรรลุ หมดความสงสัยในพระธรรม สำเร็จคุณธรรมสูงสุดในพระพุทธศาสนาดังใจปรารถนา
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พำนักที่ถ้ำจำปา ภูผากูด


    ตามประวัติทราบว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่ถ้ำภูผากูด ต.หนองสูง อ คำชะอี จ.นครพนม (ปัจจุบันขึ้นอยู่กับจังหวัดมุกดาหาร) เป็นเวลา ๕ ปี แต่ไม่ได้ระบุว่าตั้งแต่ปีใดถึงปีใด

    แต่จากประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ระบุว่าในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ หลวงปู่มั่น ได้ไปกราบ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ที่ถ้ำภูผากูด ด้วยจุดประสงค์หลักเพื่อให้สติหลวงปู่ใหญ่ ได้ละวางความปรารถนาพระปัจเจกโพธิ เพื่อจะได้บรรลุธรรมสูงสุดคือ อรหันตภูมิ ในชาติปัจจุบัน

    เรื่องนี้หลวงปู่มั่น ท่านทราบด้วยญาณในขณะที่บาเพ็ญเพียรอยู่ที่ถ้ำไผ่ขวาง น้ำตกสาริกา จังหวัดนครนายก ตามที่กล่าวแล้วในตอนต้น

    หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ได้บันทึกเหตุการณ์จากการบอกเล่าของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ดังนี้ :-

    “.. (พ.ศ. ๒๔๕๙). เมื่อออกพรรษาที่วัดบูรพาฯ จังหวัดอุบลฯท่านอาจารย์มั่น ได้กราบลาพระกรรมวาจาจารย์ (พระครูสีทา ชยเสโน) เพื่อไปติดตามพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร ซึ่งขณะนั้นท่านจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำภูผากูด

    เมื่อทราบแน่แล้ว ท่านอาจารย์มั่น ก็ได้เดินโดยเท้า เช่นพระธุดงค์ทั้งหลาย ท่านเล่าว่าทางรถยนต์ไม่มีรถยนต์วิ่ง...นับเป็นเวลาเดือนๆ ก็ไม่เห็นสักคันหนึ่ง

    ตามทางที่ท่านไปก็เป็นดงดิบ ล้วนแต่ต้นไม้ใหญ่ๆ เช่น ต้นตะเคียน ต้นยาง ต้นประดู่ ต้นตระแบก และสารพัดไม้นั้นเป็นไม้ใหญ่บางต้น ๙ อ้อม ๑๐ อ้อม แลดูไม่เห็นพระอาทิตย์ทีเดียว เป็นป่าเปลี่ยวจริงๆ ขณะที่เดินธุดงค์เห็นว่าที่ไหนเหมาะก็แวะพักทำความเพียรกันเป็นเวลา ๕ วัน หรือ ๗ วัน

    ขณะที่ท่านอาจารย์มั่น กำลังเดินธุดงค์ระหว่างทางยังไม่ถึงถ้ำภูผากูด นั้น ท่านได้คิดถึงท่านอาจารย์ของท่านมาก และก็วันหนึ่งหลังจากการพักผ่อนเดินทางซึ่งเร่งเดินเป็นวันๆ มาแล้วอย่างเหน็ดเหนื่อยท่านได้พิจารณาถึงท่านอาจารย์เสาร์ที่เป็นอาจารย์ของท่านและได้ระลึกถึงที่ท่านได้ทราบภายในญาณเมื่อคราวที่ท่านอยู่ที่ถ้ำสาริกา ว่า ท่านอาจารย์ของท่านปรารถนาพระปัจเจกโพธิ ถ้าหากว่าท่านยังมีจิตกังวลในการปรารถนาเช่นนั้น การทำความเพียรเพื่อความพ้นทุกข์ก็จะสำเร็จไปไม่ได้...

    ถ้าเราไปพบท่านอาจารย์ของเรา เราก็จะต้องแนะนำให้ท่านเลิกจากการปรารถนาเช่นนั้นเสีย...

    “...ท่านก็ไค้ธุดงค์เรื่อยๆ ไปจนใกล้จะถึงถ้ำภูผากูด โดยรอบบริเวณภูเขาอันเป็นถ้ำแห่งนี้นั้น เป็นภูมิประเทศที่เป็นป่าไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ไม้มะค่า แต่ไม่เป็นดงทึบเหมือนกับดงอื่นๆ จึงทำให้บริเวณนั้นมีอากาศปลอดโปร่งดี ถ้ำแห่งภูเขาแถวนั้นก็ไม่อับชื้น ทั่วบริเวณจึงเป็นสถานที่ที่จะพึงอาศัยเป็นเวลาแรมปีได้

    ถ้าเป็นดงดิบมองไม่เห็นพระอาทิตย์แล้ว จะอยู่กันนานไม่ได้เพราะจะทำให้สุขภาพเสีย โดยที่ท่านอาจารย์เสาร์ท่านได้เลือกเอาสถานที่แห่งนี้อยู่ถึง ๕ ปี และท่านก็ยังมีสุขภาพดีเป็นปกติเหมือนกับอยู่ในวัดธรรมดา

    นับว่าท่านอาจารย์เสาร์ มีความรู้ความชำนาญในการอยู่ป่าอย่างยิ่ง

    ท่านอาจารย์มั่น ท่านว่า เราได้เดินมองพิเคราะห์ดูแล้ว เป็นที่เหมาะสมจริงๆ เพราะมีธารน้ำเล็กๆ ไหลไม่ขาด อยู่ที่ตรงกลางทางที่จะขึ้นถ้ำพอดี

    คำว่า ภูผากูด คือ มีผักกูดขึ้นอยู่ตามตลิ่งธารน้ำนั้นมาก เมื่อผักกูดขึ้น ผักที่จะขึ้นตามผักกูดมากเช่นผักหนาม ผักเต่าเกียด

    ในคราวนั้น ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ทราบว่าท่านอาจารย์
    มั่นธุดงค์ไป ท่านก็ธุดงค์ตามไปติดๆ กับท่านอาจารย์มั่น แต่พอก่อนจะถึงถ้ำภูผากูด ท่านก็ล้มเจ็บเป็นไข้ จึงได้เดินทางกลับมารักษาตัวอยู่ที่จังหวัดอุบลฯ เมื่อท่านหายป่วยแล้วก็ได้ติดตามท่านอาจารย์มั่นไปเพื่อหวังในการศึกษาธรรมปฏิบัติอีก โดยมิได้มีการย่นย่อท้อถอยแต่ประการใด

    <TABLE id=table31 border=0 width=482><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>เชิงเขาถ้ำจำปา</TD><TD colSpan=2 align=middle>ถ้ำจำปาที่หลวงปู่เสาร์เคยจำพรรษา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่มั่นตามมาจำพรรษาด้วย


    ระหว่างพำนักอยู่ที่ภูผากูด หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลได้ทราบด้วยญาณและรู้ถึงวาระจิตของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ศิษย์เอกของท่าน ว่ากำลังเดินทางติดตามหาท่านอยู่ และใกล้จะถึงภูผากูดแล้ว

    เมื่อหลวงปู่มั่น เดินทางเข้ามาถึง ก็ได้เห็นหลวงปู่ใหญ่นั่งรอรับอยู่แล้ว หลังจัดวางบริขารเรียบร้อยแล้วก็เข้าไปกราบหลวงปู่ใหญ่ทันที

    ทั้งอาจารย์และศิษย์ได้สนทนาปราศรัย ไต่ถามทุกข์สุขกันและกันสมกับที่ได้จากกันเป็นเวลานานหลายปี แล้วหลวงปู่ใหญ่ก็ให้หลวงปู่มั่นเข้าที่พักที่เตรียมไว้ให้ และบอกให้พักจำพรรษาอยู่ด้วยกัน

    ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จึงได้พักจำพรรษาอยู่ด้วยกันที่ถ้ำภูผากูด ซึ่งตลอดพรรษา ทั้งสององค์ก็ได้ปรึกษาสนทนาธรรมกันแทบทุกวัน

    ในปีนั้น หลวงปู่มั่น มีอายุพรรษาได้ ๒๖ ท่านได้ปฏิบัติต่อหลวงปู่ใหญ่ เหมือนกับท่านเป็นพระใหม่ คือปฏิบัติตั้งแต่การล้างบาตร ขัดกระโถน ซักจีวร ปูที่นอน ตักน้ำ ถวายน้ำสรง ถูหลังให้ แม้กระทั่งบีบนวด แม้หลวงปู่ใหญ่ ท่านจะห้ามปรามก็ตาม หลวงปู่มั่นท่านก็ยังปฏิบัติต่อครูอาจารย์ของท่านด้วยความอ่อนน้อมทุกประการ

    การที่หลวงปู่มั่น ปฏิบัติต่อครูอาจารย์ของท่าน จึงเป็นแบบอย่างของพ่อแม่ครูอาจารย์สายพระกรรมฐาน ที่แสดงถึงความกตัญญูรู้คุณต่อพระผู้เป็นครูอาจารย์

    ทางฝ่าย หลวงปู่ใหญ่ แม้ท่านจะเป็นอาจารย์ท่านก็ยอมรับฟังข้อแนะนำจากศิษย์ด้วยความตั้งอกตั้งใจ ไม่มีที่ถือตนเองว่าเป็นครูเป็นอาจารย์เลย

    คุณธรรมของบุพพาจารย์ทั้งสององค์นี้นับว่าประเสริฐยิ่ง และถือเป็นแบบอย่างของการปฏิบัติระหว่างครูอาจารย์กับศิษย์ในสายกรรมฐานสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

    <TABLE id=table32 border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD colSpan=2 align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=2 align=middle>
    ศาลาสมณธรรมมังคลาภูผากูด
    </TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เลิกความปรารถนาพระปัจเจกโพธิ


    จากประวัติของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านผู้อ่านคงจำได้ว่าในช่วงที่หลวงปู่มั่น บำเพ็ญเพียรอยู่ที่ถ้ำสาริกา จังหวัดนครนายกนั้นหลวงปู่มั่น ได้ทราบด้วยญาณว่าอาจารย์ของท่าน คือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ท่านปรารถนาปัจเจกโพธิ และถ้ายังมีจิตกังวลในการปรารถนาเช่นนั้น การทำความเพียรเพื่อความพ้นทุกข์ก็ไม่สามารถสำเร็จได้ในชาตินี้

    การเดินทางตามหาหลวงปู่ใหญ่ ในครั้งนี้ ก็ด้วยความกตัญญู ที่หลวงปู่มั่นต้องการจะหาโอกาสให้สติอาจารย์ของท่าน ได้ปล่อยวางการปรารถนาปัจเจกโพธิ (ปรารถนาจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า) นั้นเสีย ไม่เช่นนั้นจะต้องเวียนว่ายตายเกิดเพื่อสร้างบารมีไปอีกนานแสนนาน

    หลวงปู่มั่น พยายามหาโอกาสที่จะให้สติแก่อาจารย์ของท่านในเรื่องนี้

    อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อได้โอกาสเหมาะ หลวงปู่มั่นได้กราบเรียนหลวงปู่ใหญ่ว่า “ท่านอาจารย์ได้พิจารณาอริยสัจจธรรมหรือไม่?”

    หลวงปู่ใหญ่ ตอบว่า
    “เราก็พิจารณาเหมือนกัน”

    หลวงปู่มั่น ถาม
    “แล้วได้ผลเป็นอย่างไรบ้าง?”

    หลวงปู่ใหญ่ ตอบว่า
    “ได้ผลเหมือนกัน แต่ไม่ชัดเจน”

    หลวงปู่มั่น ถามรุกต่อไปว่า
    “เพราะเหตุไรบ้างครับ?”

    หลวงปู่ใหญ่ ตอบว่า
    “เราได้พยายามอยู่ คือพยายามคิดถึงความแก่ความตาย แต่ว่าบางคราวมันก็ไม่แจ่มแจ้ง”

    หลวงปู่มั่น ก็ถามต่อไปว่า
    “ถ้าเช่นนั้น ท่านอาจารย์คงมีอะไรเป็นเครื่องห่วงหรือกระมัง?”

    หลวงปู่ใหญ่ ตอบ
    “เราก็พยายามพิจารณาเหมือนกัน แต่ก็หาสิ่งขัดข้องไม่ได้” แล้วท่านก็พูดต่อไปว่า “ความจริง ความสว่างของดวงจิตนั้นก็เป็นปกติดีอยู่ แม้มันจะดีบ้างไม่ดีบ้างมันก็เรื่องธรรมดาของสมาธิ แต่ว่าเมื่อจิตพิจารณาที่ไร รู้สึกว่ามันไม่ก้าวไป...”

    หลวงปู่มั่น เห็นสบโอกาส จึงกราบเรียนไปว่า
    “กระผมคิดว่าคงมีอะไรสักอย่างเป็นเครื่องห่วง”

    หลวงปู่ใหญ่ จึงย้อนถามลูกศิษย์กลับไปว่า
    “แล้วเธอรู้ไหมว่าเรามีอะไรเป็นเครื่องห่วง?”

    หลวงปู่มั่น จึงได้เรียนตอบตามความรู้ที่ท่านได้ทราบเมื่อคราวอยู่ถ้ำสาริกาในทันทีว่า
    “ท่านอาจารย์ห่วงเรื่องการปรารถนาพระปัจเจกโพธิกระมัง?

    หลวงปู่ใหญ่ ท่านเห็นด้วย จึงพูดว่า
    “แน่ทีเดยว ในจิตของเราตั้งอยู่ว่า จะขอให้รู้ธรรมเองโดยมิต้องให้ใครมาแนะหรือบอกให้ และมันก็ตั้งอยู่ในใจของเรามาตลอด”

    หลวงปู่มั่น จึงได้ถวายความเห็นว่า
    “ขอให้ท่านอาจารย์อย่าเป็นห่วงเลย ขอให้พิจารณาอริยสัจจ์เพื่อความพ้นทุกข์เสียแต่ชาตินี้เถิด เพราะกระผมเองก็ปรารถนาพระโพธิญาณและกระผมก็ได้ละความปรารถนานั้นแล้ว เนื่องด้วยว่าการท่องเที่ยวในสังสารวัฏฏ์นี้มันนานเหลือเกิน”

    การสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์ข้างต้นนี้ได้จากบันทึกของ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ที่ได้รับฟังมาจากหลวงปู่มั่นโดยตรง แล้วหลวงพ่อวิริยังค์ได้เขียนต่อไปว่า

    “ในวันนั้นท่านอาจารย์เสาร์ ต้องประหลาดใจที่ศิษย์ของท่านได้ล่วงรู้ถึงความจริงอันปรากฏอยู่ในใจของท่าน ซึ่งท่านไม่เคยปริปากบอกใครเลย ฉะนั้น จึงทำให้ท่านรู้สึกว่า ท่านอาจารย์มั่นนี้ ต้องมีความดีความจริงชัดเจนในใจอย่างแน่นอน ในวันนั้นก็ได้คุยกันเพียงเท่านี้แล้วก็เลิกกันไป”

    <TABLE id=table29 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>พระศรีสุพลพุทธวิเวกที่ถ้ำภูผากูด
    พระอาจารย์เสาร์เป็นผู้นำในการสร้าง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พบวิมุตติสมปรารถนา


    หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ได้บันทึกตามคำบอกเล่าของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ดังนี้

    “อยู่มาวันหนึ่ง ท่านอาจารย์เสาร์ได้ไปนั่งอยู่ที่สงัดเฉพาะองค์เดียว เริ่มด้วยการพิจารณาถึงอริยสัจจ์โดยอุบายอย่างหนึ่งคือ การพิจารณากายจนชัดแจ้งประจักษ์ เกิดนิพพิทาญาณ - ความเบื่อหน่ายขึ้น

    และ ท่านก็เริ่มดำเนินจิต เจริญให้มาก กระทำให้มากจนเป็นญาณ สามารถทวนกระแสมาถึงที่ตั้งของจิตได้ และวันนั้น ท่านก็ตัดเสียซึ่งความสงสัยได้อย่างเด็ดขาด

    ในบันทึกมีต่อไปว่า :-

    “เมื่อได้รับการอธิบายจากท่านอาจารย์มั่น ซ้ำอีกว่าเมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ควรจะเจริญให้มาก จนกว่าจะพอแก่ความต้องการ

    เมื่อถึงกาลปวารณาออกพรรษา ท่าน (หลวงปู่ใหญ่) ก็ทราบชัดถึงความเป็นจริงทุกประการ และท่านก็บอกแก่อาจารย์มั่นว่า

    เราได้เลิกการปรารถนาพระปัจเจกโพธิแล้ว และเราก็ได้เห็นธรรมจริงแล้ว

    เมื่อท่านอาจารย์มั่นได้ฟัง ก็ได้พูดให้ความแน่ใจว่าเป็นจริงเช่นนั้นแล้ว ต่างก็อิ่มเอิบในธรรม


    สาธุ ! สาธุ ! สาธุ !

    แม้ในบันทึกไม่ได้เขียนไว้ แต่ผู้เขียนก็เชื่อว่าเหล่าเทพเทวดาต่างก็อนุโมทนาสาธุการอย่างสนั่นหวั่นไหว กระเทือนไปทั้งสามโลกธาตุอย่างแน่นอน

    <TABLE id=table22 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD rowSpan=2>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD rowSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    วัดถ้ำจำปากันตสีลาวาส ภูผากูด อ หนองสูง จ.มุกดาหาร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บันทึกของท่านหลวงตาฯ


    ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้เขียนถึงการปล่อยวางความปรารถนาพระปัจเจกโพธิของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ในหนังสือประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ดังนี้ :-

    “ท่าน (หลวงปู่มั่น) เล่าว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์ เดิมท่านปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เวลาออกบำเพ็ญ พอเร่งความเพียรเข้ามากๆ ใจรู้สึกประหวัดๆ ถึงความปรารถนาเดิมเพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แสดงออกมาเป็นเชิงอาลัยเสียดาย ยังไม่อยากไปนิพพาน

    ท่าน (หลวงปู่เสาร์) เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อความเพียรเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ท่านเลยอธิษฐานของดจากความปรารถนานั้น และขอประมวลมาเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ ไม่ขอเกิดมารับความทุกข์ทรมานในภพชาติต่างๆ อีกต่อไป

    พอท่านปล่อยวางความปรารถนาเดิมแล้ว การบำเพ็ญเพียรรู้สึกสะดวกและเห็นผลไปโดยลำดับ ไม่มีอารมณ์เครื่องเกาะเกี่ยวเหมือนแต่ก่อน

    สุดท้ายท่านก็บรรลุถึงแดนแห่งความเกษมดังใจหมาย


    ท่านหลวงตาฯ ได้เขียนต่อไปว่า
    “...แต่การแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ท่านไม่ค่อยมีความรู้แตกฉานกว้างขวางนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นไปตามภูมินิสัยเดิมของท่านที่มุ่งเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้เองชอบ แต่ไม่สนใจสั่งสอนใครก็ได้

    อีกประการหนึ่ง ที่ท่านกลับความปรารถนาได้สำเร็จตามใจนั้นคงอยู่ในขั้นพอแก้ไขได้ ซึ่งยังไม่สมบูรณ์เต็มภูมิแท้


    คำพูดประโยคหลังนี้ ผมก็ไม่เข้าใจหรอกครับ เชิญพิจารณาเองหรือถามผู้รู้ท่านอื่นเอาเถอะครับ

    <TABLE id=table30 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD align=middle>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    ข้อความจารึกไว้ข้างผนังถ้ำ
    </TD><TD>
    ถ้ำแม่ขาว
    ที่เชื่อกันว่าเป็นที่พำนักของแม่ชีจันทร์
    ผู้เป็นโยมมารดาของหลวงปู่มั่น
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2 align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    คุณปู่กำนันมหาปาน แสนสุข
    เคยบวชเป็นสามเณรอยู่กับ
    พระอาจารย์เสาร์ที่ภูผากูด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่ใหญ่นั่งสมาธิแล้วตัวลอย

    ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้เล่าถึงปฏิปทาของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ดังนี้ :-

    ท่าน (หลวงปู่มั่น) เล่าว่า นิสัยของท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นไปอย่างเรียบๆ และเยือกเย็นน่าเลื่อมใสมาก

    ที่มีแปลกอยู่บ้าง ก็เวลาท่านเข้าที่นั่งสมาธิ ตัวของท่านชอบลอยขึ้นเสมอ บางครั้งตัวลอยขึ้นไปจนผิดสังเกต เวลาท่านนั่งสมาธิอยู่

    ท่านเองเกิดความแปลกใจในขณะนั้นว่า ตัวเราท่าจะลอยขึ้นจากพื้นแน่ๆ เลยลืมตาขึ้นดูตัวเอง ขณะนั้นจิตท่านถอนออกจากสมาธิพอดี เพราะพะวักพะวงกับเรื่องตัวลอย ท่านเลยตกลงมาก้นกระแทกกับพื้นอย่างแรง ต้องเจ็บเอวอยู่หลายวัน

    ความจริงตัวท่านลอยขึ้นจากพื้นจริงๆ สูงประมาณ ๑ เมตรขณะที่ท่านลืมตาดูตัวเองนั้น จิตได้ถอนออกจากสมาธิ จึงไม่มีสติพอยับยั้งไว้บ้าง จึงทำให้ท่านตกลงสู่พื้นอย่างแรง เช่นเดียวกับสิ่งต่างๆ ตกลงจากที่สูง

    หลวงปู่ใหญ่ ท่านพยายามหาวิธีใหม่

    ในคราวต่อไป เวลาท่านนั่งสมาธิ พอรู้สึกว่าตัวท่านลอยขึ้นจากพื้นดิน ท่านพยายามทำสติให้อยู่ในองค์ของสมาธิแล้วค่อยๆ ลืมตาขึ้นดูตัวเอง ก็ประจักษ์ว่า ตัวท่านลอยขึ้นจริงๆ !

    แต่... มิได้ตกลงสู่พื้นเหมือนคราวแรก เพราะท่านมิได้ปราศจากสติ และคอยประคองใจให้อยู่ในองค์สมาธิ ด้วยเหตุนี้หลวงปู่ใหญ่ท่านจึงรู้เรื่องของท่านได้ดี และจับหลักได้

    เนื่องจากหลวงปู่ใหญ่ ท่านเป็นคนละเอียดถี่ถ้วนอยู่มาก แม้จะเห็นด้วยตาท่านก็ยังไม่แน่ใจ ก่อนนั่งสมาธิครั้งต่อไป ท่านจึงเอาวัตถุเล็กๆ เบาๆ เช่น กลักไม้ขีดไปเหน็บไว้กับหญ้ามุงหลังคากุฏิ

    แล้วท่านก็เริ่มนั่งสมาธิ พอจิตสงบและรู้ว่าตัวเริ่มลอยขึ้นอีก ท่านพยายามประคองจิตให้มั่นอยู่ในสมาธิ เพื่อตัวจะได้ลอยขึ้นไปจนถึงวัตถุเครื่องหมายที่นำไปเหน็บไว้ แล้วค่อยๆ เอื้อมมือจับเอาวัตถุนั้นด้วยความมีสติ แล้วนำลงมาโดยทางสมาธิภาวนา

    คือ พอหยิบได้วัตถุนั้นแล้ว ก็ค่อยๆ ถอนจิตออกจากสมาธิ เพื่อกายจะได้ค่อยๆ ลงมาจนถึงพื้นอย่างปลอดภัย แต่ไม่ถึงกับให้จิตถอนออกจากสมาธิจริงๆ

    หลวงปู่ใหญ่ ได้ทดลองทำหลายครั้งจนเป็นที่แน่ใจแล้ว ท่านจึงมั่นใจว่าตัวท่านเองลอยขึ้นได้จริงในเวลาเข้าสมาธิ คือ ลอยขึ้นได้ในบางครั้ง มิได้ลอยขึ้นทุกครั้งเสมอไป

    ท่านหลวงตาพระมหาบัวฯ สรุปว่า
    “นี้เป็นจริตนิสัยแห่งจิตของท่านพระอาจารย์เสาร์ รู้สึกผิดกับนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่นอยู่มากในปฏิปทาทางใจ

    จิตของท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นไปอย่างเรียบๆ สงบเย็นโดยสม่ำเสมอ นับแต่ขั้นเริ่มแรกจนถึงสุดท้ายปลายแดนแห่งปฏิปทาของท่าน ไม่ค่อยล่อแหลมต่ออันตราย และไม่ค่อยมีอุบายต่างๆ และความรู้สึกแปลกๆ เหมือนจิตท่านพระอาจารย์มั่น


    หมายเหตุ ผู้เขียนเคยได้ฟังเรื่องการเหาะของหลวงปู่มั่น ในคราวที่ท่านบำเพ็ญเพียรอยู่ถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

    เรื่องนี้หลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป เป็นผู้เล่าให้ผู้เขียนและอาจารย์ภัทราฟัง ท่านบอกว่าหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เล่าให้ท่านฟัง

    คราวอยู่ถ้ำเชียงดาว หลวงปู่มั่นพักอยู่ที่ถ้ำด้านบน ส่วนถ้ำใหญ่ข้างล่างเป็นที่มารวมฉันภัตตาหารและการอบรมสั่งสอนศิษย์ซึ่งศิษย์แต่ละองค์แยกย้ายกันอยู่คนละที่ห่างๆ กัน

    ปกติลูกศิษย์จะมารวมฉันภัตตาหารทุกๆ เช้า แต่องค์หลวงปู่มั่น ท่านจะลงมารวมฉัน ๔ วันต่อครั้ง ทำให้หลวงปู่ตื้อ สงสัย เช้ามืดจึงได้ไปหมอบแอบดูที่ปากถ้ำ หลวงปู่ตื้อเล่าว่า
    “เห็นเพิ่นห่มจีวร สะพายบาตร แล้วเหาะข้ามหัวอาตมาไป”หลวงปู่ตื้อ แอบดูอยู่ ๒ - ๓วัน เหตุการณ์ก็เป็นเช่นนั้น และท่านทราบภายหลังว่าหลวงปู่มั่นเพิ่นเข้าฌาณเหาะไปบิณฑบาตโปรดชาวเมืองเชียงใหม่พวกอาตมาก็เลยเลิกเป็นห่วงท่าน

    ”ถ้าท่านผู้อ่านเห็นว่า เหลือเชื่อ...ก็เหลือเชื่อจริงๆ ครับ !
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บวชชีให้โยมมารดาของหลวงปู่มั่น


    ตามประวัติของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลังจากที่ท่านบรรลุธรรมขั้น ๓ คือ อนาคามิผล ที่ถ้ำสาริกาแล้ว ท่านได้รับนิมนต์ไปจำพรรษาในกรุงเทพฯ ๑ พรรษา

    ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ หลวงปู่มั่น ได้เดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อตอบแทนผู้มีพระคุณ คือไปให้สติ พระอาจารย์สีทา ชยเสโน พระกรรมวาจารย์ของท่าน ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดบูรพาราม เมืองอุบลฯ ทำให้พระอาจารย์ของท่านปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไปได้อย่างน่าพอใจ และชื่นชมในความเฉลียวฉลาดและความกตัญญูของศิษย์

    หลังจากนั้น หลวงปู่มั่น ก็เดินทางไปบ้านคำบง บ้านเกิดเพื่อโปรดโยมมารดา ยังความปลื้มปีติให้โยมมารดายิ่งนัก

    หลวงปู่มั่น ได้เล่าเรื่องการเดินธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ทั้งในฝั่งลาว พม่า และตามป่าเขาในประเทศไทย ตลอดจนผลการปฏิบัติภาวนาให้โยมมารดาฟัง รวมทั้งเทศน์โปรดชี้แนะแนวทางปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ ยังความปลาบปลื้มและเลื่อมใสศรัทธาแก่โยมมารดายิ่งนัก

    โยมมารดาของท่านเกิดความศรัทธาแรงกล้า จนได้ลาลูกหลานออกบวชชีจนตลอดชีวิต โดยมีหลวงปู่ใหญ่เสาร์ เป็นผู้บวชให้ แต่ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าท่านบวชชีที่ไหนกันแน่ บางท่านบอกว่าท่านบวชชีที่บ้านคำบง แล้วติดตามไปบำเพ็ญเพียรอยู่กับหลวงปู่ใหญ่ ที่ถ้ำภูผากูด และบางท่านก็บอกว่าท่านไปบวชชีกับหลวงปู่ใหญ่ที่ถ้ำภูผากูด

    ผู้เขียนขอทิ้งประเด็นเรื่องสถานที่บวชชีของโยมแม่ของหลวงปู่มั่นไว้ แต่ชี้ให้ทราบว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ หลังจากได้ฟังเทศน์จากพระลูกชายคือ หลวงปู่มั่น แล้ว โยมแม่ก็ออกเดินทางติดตามหลวงปู่มั่น ไปพักบำเพ็ญอยู่ที่ถ้ำภูผากูด โดยไปถึงทีหลังพระลูกชาย

    เท่าที่ผู้เขียนได้สืบค้นจากแหล่งต่างๆ พอจะชี้ชัดได้ว่า ก่อนเข้าพรรษาปี พ ศ. ๒๔๕๘ แม่ชีจันทร์ โยมมารดาของหลวงปู่มั่น ได้อุตส่าห์เดินทางออกจากจังหวัดอุบลฯ ด้วยความล้มลุกคลุกคลานไปตามวิบากของคนแก่เฒ่า ติดตาม หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่นพระลูกชาย มาจนถึงถ้ำจำปา บนภูผากูด

    หลวงปู่ใหญ่ ได้กำหนดให้ โยมแม่ชีจันทร์ พักอยู่ที่เงื้อมผาแถบนั้น ซึ่งต่อมาเรียกว่า ถ้ำแม่ขาว เป็นที่ปฏิบัติธรรม

    แม่ชีจันทร์ โยมมารดาของหลวงปู่มั่น ท่านมีจิตใจที่มั่นคงเด็ดขาด แม้จะอยู่ในวัยสังขารร่วงโรยก็ตาม แต่จิตใจของท่านหาได้เสื่อมถอยไปตามสังขารไม่ กลับมีความแจ่มใสเบิกบานเป็นอย่างยิ่ง ถ้าแม้จิตใจไม่แน่วแน่จริง คงไม่สามารถฟันฝ่าอุปสรรค นำพาสังขารของท่านผ่านป่าผ่านดง ที่เต็มไปด้วยสัตว์อันตรายต่างๆ จำพวกช้าง เสือ หมี งู ตะขาบป่า มาได้แน่

    ด้วยจิตใจที่แจ่มใส มั่นคง สงบเยือกเย็นนี้ เป็นผลดีในการภาวนาของแม่ชีจันทร์เป็นอย่างมาก การปฏิบัติของท่านได้ผลเป็นอย่างมาก

    ท่านแม่ชีจันทร์ ได้เร่งความเพียรเป็นยิ่งยวดไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน อยู่ ณ ภูผากูดแห่งนี้ นับว่าเป็นวาสนาของท่านแม่ชีจันทร์ที่มีท่านหลวงปู่ใหญ่ กับ หลวงปู่มั่น จำพรรษาอยู่ที่เดียวกันให้การแนะนำและอุบายธรรมที่สุดวิเศษในพรรษานั้น
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ถ้ำจำปา ภูผากูดในปัจจุบัน


    ทราบแต่เพียงว่าหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พักจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำภูผากูด อยู่นานถึง ๕ ปี แต่ไม่ทราบว่าเป็นปีใดถึงปีใดเป็นการแน่นอน ที่ระบุชัดคือในพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๕๙ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต กับ คุณแม่ชีจันทร์ โยมมารดาของท่านได้มาพักจำพรรษาอยู่ในสถานที่นี้ด้วย

    ปัจจุบัน ถ้ำภูผากูดอยู่ในพื้นที่ตำบลหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

    อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้เขียนถึงถ้ำภูผากูด ดังนี้

    “ปัจจุบันภูผากูด เป็นภูเขาขนาดกลางลูกหนึ่งในหมู่เทือกเขาแถบนี้ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากในหมู่บ้าน ต.หนองสูง อ.คำชะอี ตั้งอยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ราว ๕ กม. เท่านั้น โดยแยกเข้าทางบ้านคันแท ต.หนองสูง อ.คำชะอี

    เดินลัดตัดทุ่งนาไปถึงเชิงเขา มีป่าโปร่งเป็นที่พักสงฆ์ มีนามว่าวัดถ้ำจำปากันตสีลาวาส

    มองขึ้นไปตามไหล่เขาจะเห็นจุดที่เป็นเพิงผานี้อยู่สูงขึ้นไปพอประมาณ มีทางวกวนขึ้นไปถึงข้างบน ซึ่งมีลานตรงกลางโล่งๆ เป็นหลืบใต้ชะง่อนเพิงผา ถ่ายเทอากาศได้ดี มีชื่อเรียกว่า ถ้ำจำปา มีศาลาไม้ยกพื้นสูงเพียงเอวสร้างขึ้นใต้เพิงผานี้ชื่อ ศาลาธรรมสภามังคลา

    ห่างออกไปทางขวามือ จะเป็นถ้ำลักษณะเดียวกันแต่เล็กกว่าเรียก ถ้ำแม่ขาว (แม่ขาว คือแม่ชี) ว่ากันว่าเป็นที่พักของแม่ชีจันทร์ ผู้เป็นมารดาของท่านหลวงปู่มั่นนั่นเอง

    ส่วนถัดไปทางซ้ายมือ จะมีพระพุทธรูปใหญ่ปูนปั้นประดิษฐานบนแท่นหินและปูนหันหลังพิงหน้าผา ต่ำลงมาตรงแท่นข้างซ้าย มีรอยพระพุทธบาทจำลองอยู่ด้วย

    เลยไปอีกเป็นเนินขวางทางเดิน ต้องปีนบันได้ขึ้นไปใต้เพิงผาเป็นที่นั่งภาวนาพิจารณาธรรม

    สภาพป่าเป็นป่าโปร่ง ไม่เป็นดงทึบมากนัก มีป่าไผ่ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ไม้มะค่า อยู่

    อาจารย์พิศิษฐ์ เขียนบรรยายต่อไปว่า

    “ด้วยความรอบรู้ชำนาญชีวิตป่า ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้หาสถานที่พอเหมาะสม ถ้ำที่พักก็อยู่ไม่สูงจนเกินไป ป่าก็โปร่งดี ไม่ทึบอับชื้น ข้างล่างมีลำธารน้ำไหลผ่าน

    สมัยก่อนนั้น พ่อแม่ครูอาจารย์เล่าว่า แถวนี้เต็มไปด้วยเสือส่งเสียงหยอกล้อกันเพ่นพ่าน ทำให้พระเณรต้องหมั่นเร่งภาวนาจิตอย่างยิ่งยวด ซึ่งสถานที่แห่งนี้เองเป็นที่ที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้เลือกพำนักอยู่ท่ามกลางแมกไม้ สัตว์ป่า อย่างสงบยาวนานร่วม ๕ ปี

     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่มั่นออกธุดงค์ต่อ


    หลังจากที่ท่านแม่ชีจันทร์ โยมมารดาของหลวงปู่มั่น ได้บวชชีและมีที่พักบำเพ็ญเพียรที่ภูผากูด ภายในสำนักของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำให้หลวงปู่มั่นมีความสบายใจหายห่วงโดยมั่นใจว่าโยมแม่ชีของท่านต้องพอใจในสำนักของพระอาจารย์ได้อย่างดีแน่

    พอออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๕๙ แล้ว หลวงปู่มั่น พร้อมคณะก็กราบลาหลวงปู่ใหญ่ ออกธุดงค์ไปอบรมเผยแพร่ธรรมปฏิบัติให้แก่ประชาชนตามสถานที่ต่างๆ ต่อไป

    หลวงปู่มั่น และคณะได้ออกธุดงค์ไปเผยแพร่ธรรมะทางจังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๖๔ จึงย้อนกลับมาเยี่ยมแม่ชีมารดา และพระอาจารย์ที่ภูผากูดอีกครั้ง

    พอถึงฤดูเข้าพรรษาหลวงปู่มั่น และคณะได้พักจำพรรษาที่บ้านห้วยทราย ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับภูผากูด นั่นเอง

    ดังนั้น เราจึงมั่นใจได้ว่า ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๙ - ๒๔๖๔ หลวงปู่ใหญ่ ท่านพักจำพรรษาอยู่ที่ภูผากูด แห่งนี้ ส่วนระหว่างช่วงออกพรรษาไม่มีการบันทึกว่าท่านออกธุดงค์ไปที่ใดบ้าง นอกจากปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ท่านเดินทางไปนครพนม แล้วออกธุดงค์ไปฝั่งลาวแล้วกลับมาจำพรรษาที่ภูผากูดเหมือนเคย ดังเรื่องราวในตอนต่อไป
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เยือนนครพนมแล้วธุดงค์ไปฝั่งลาว


    ออกพรรษาปี พ ศ. ๒๔๖๔ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ออกเดินทางไปทางนครพนม ได้แวะเยี่ยมลูกศิษย์ของท่านคือ เจ้าคุณปู่จันทร์ เขมิโย ที่สำนักวัดศรีเทพประดิษฐาราม บริเวณวัดยังมีสภาพเป็นป่าซึ่งเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา หลวงปู่ใหญ่ ได้พักที่วัดนั้นอยู่ระยะหนึ่ง

    ต่อจากนั้น หลวงปู่ใหญ่ ได้ออกธุดงค์ข้ามแม่น้ำโขงไปยังฝั่งประเทศลาว เจ้าคุณปู่จันทร์ เขมิโย ได้ติดตามไปด้วย

    คณะของหลวงปู่ใหญ่ ออกธุดงค์ไปทางเมืองท่าแขกซึ่งอยู่ตรงข้ามจังหวัดนครพนม แถบนั้นมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีเถื่อนถ้ำเงื้อมผาอยู่มากมาย เหมาะที่จะบำเพ็ญเพียรเป็นอย่างยิ่ง

    เมื่อ ๒๐ ปีก่อนนี้ หลวงปู่ใหญ่ ได้เคยพาหลวงปู่มั่นมาธุดงค์ในแถบถิ่นนี้ จนพากันล้มป่วยด้วยได้มาเลเรียจนแทบจะเอาชีวิตไม่รอดมาแล้ว

    มาครั้งนี้ หลวงปู่ใหญ่ ท่านคุ้นและชำนาญภูมิประเทศมากขึ้นจึงไม่ค่อยลำบากลำบนเหมือนกับครั้งแรก เมื่อท่านเดินธุดงค์ผ่านไปถึงหมู่บ้านใด ก็จะชี้แจงแสดงธรรมอบรมให้ชาวบ้านตั้งมั่นอยู่ในศีลห้าและยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอาศัย รวมทั้งสอนให้รู้จักสวดมนต์ รู้จักภาวนา

    การออกธุดงค์ของหลวงปู่ใหญ่ และคณะในครั้งนี้ ไม่มีบันทึกว่าท่านไปนานเท่าใด แต่พอประมาณได้ว่า เมื่อถึงฤดูกาลเข้าพรรษา ท่านกลับมาพักจำพรรษาที่ภูผากูด ซึ่งน่าจะเป็นพรรษาที่ ๕ ที่ท่านพำนักอยู่ ณ สถานที่นั้น

    และในพรรษาเดียวกันนั้น หลวงปู่มั่น ลูกศิษย์ของท่าน ได้พักจำพรรษาที่บ้านห้วยทราย ไม่ห่างไกลจากภูผากูด ไปมาหาสู่กันได้สะดวก

    <TABLE id=table16 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ทัศนียภาพแม่น้ำโขงและภูเขาเมืองท่าแขก ประเทศลาว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การธุดงค์และจำพรรษาร่วมกับหลวงปู่มั่น


    ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้พูดถึงความผูกพันระหว่างหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับศิษย์เอกของท่านคือ หลวงปู่มั่นภูริทตฺโต ดังนี้

    “ท่านพระอาจารย์ทั้งสององค์นี้ (หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับ หลวงปู่มั่นรักและเคารพกันมาก ในระยะต้น ไปที่ไหนท่านชอบไปด้วยกัน อยู่ด้วยกันทั้งในและนอกพรรษา

    พอมาถึงวัยกลางผ่านไป เวลาพักจำพรรษามักแยกกันอยู่ แต่ไม่ห่างไกลกันนัก พอไปมาหาสู่กันได้สะดวก มีน้อยครั้งที่จำพรรษาร่วมกัน ทั้งนี้อาจเกี่ยวกับบรรดาศิษย์ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีมากด้วยกัน และต่างก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกที ถ้าจำพรรษาร่วมกันจะเป็นความลำบากในการจัดที่พักอาศัย จำต้องแยกกันอยู่เพื่อเบาภาระในการจัดที่พักอาศัยได้บ้าง

    ทั้งสองพระอาจารย์ ขณะที่แยกกันอยู่จำพรรษา หรือนอกพรรษา รู้สึกคิดถึงกันมากและเป็นห่วงกันมาก เวลามีพระที่เป็นลูกศิษย์ของแต่ละฝ่ายมากราบนมัสการ จะมากราบนมัสการท่านพระอาจารย์เสาร์ หรือมากราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ต่างจะต้องถามถึงความสุขทุกข์ของกันและกันก่อนเรื่องอื่นๆ จากนั้นก็บอกกับพระที่มากราบว่า “คิดถึงท่านพระอาจารย์.. ” และฝากความเคารพคิดถึงไปกับพระลูกศิษย์ที่มากราบเยี่ยมตามสมควรแก่ “อาวุโสภันเต” ทุกๆ ครั้งพระมากราบพระอาจารย์ทั้งสองแต่ละองค์

    ท่านมีความเคารพในคุณธรรมของกันและกันมากไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรืออยู่ไกล เวลาพระอาจารย์ทั้งสอง องค์ใดองค์หนึ่งพูดปรารภถึงกันและกันให้บรรดาลูกศิษย์ฟัง จะมีแต่คำที่เต็มไปด้วยความเคารพและความยกยอสรรเสริญโดยถ่ายเดียว ไม่เคยมีแม้คำเชิงตำหนิแฝงขึ้นมาบ้างเลย


    หลวงปู่มั่น เล่าให้ท่านหลวงตาพระมหาบัว ฟังอีกตอนหนึ่งว่า เวลาท่านออกเที่ยวธุดงค์กรรมฐานทางภาคอิสาน ตามจังหวัดต่างๆ ในระยะต้นวัย ท่านมักจะไปกับหลวงปู่ใหญ่เสาร์เสมอ แม้ความรู้ทางภายในจะมีแตกต่างกันบ้างตามนิสัย แต่ก็ชอบไปด้วยกัน

    ท่านหลวงตาฯ ได้ถ่ายทอดคำบอกเล่าของหลวงปู่มั่นว่า
    “สำหรับท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านเป็นคนไม่ชอบพูด ไม่ชอบเทศน์ ไม่ชอบมีความรู้แปลกๆ ต่างๆ กวนใจเหมือนท่านพระอาจารย์มั่น

    เวลาจำเป็นต้องเทศน์ ท่าน (หลวงปู่ใหญ่เสาร์) ก็เทศน์เพียงประโยคหนึ่งหรือสองเท่านั้น แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปเสีย ประโยคธรรมที่ท่านเทศน์ซึ่งพอจับใจความได้ว่า

    “ให้พากันละบาป และบำเพ็ญบุญ อย่าให้เสียชีวิตลมหายใจไปเปล่าที่ได้มีวาสนามาเกิดเป็นมนุษย์”

    และ

    “เราเกิดเป็นมนุษย์ มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ มนุษย์ของเราจะต่ำลงกว่าสัตว์ และจะเลวกว่าสัตว์อีกมากเวลาตกนรก จะตกหลุมที่ร้อนกว่าสัตว์มากมาย อย่าพากันทำ” แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปกุฏิโดยไม่สนใจกับใครต่อไปอีก

    ปกตินิสัยของท่าน (หลวงปู่ใหญ่) เป็นคนไม่ชอบพูด พูดน้อยที่สุด ทั้งวันไม่พูดอะไรกับใครเกิน ๒
    - ๓ ประโยค เวลานั่งก็ทนทาน นั่งอยู่ได้เป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง เดินก็ทำนองเดียวกัน แต่ลักษณะท่าทางของท่านมีความสง่าผ่าเผย น่าเคารพเลื่อมใสมาก มองเห็นท่านแล้วเย็นตาเย็นใจไปหลายวัน ประชาชนและพระเณรเคารพเลื่อมใสท่านมาก ท่านมีลูกศิษย์มากมายเหมือนท่านพระอาจารย์มั่น”
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่สิงห์ตามมาที่ภูผากูด


    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นศิษย์เอกของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มีบทบาทมากในการเผยแพร่ธรรมะสายวิปัสสนากรรมฐาน และบริหารหมู่สงฆ์แทนหลวงปู่มั่น ในช่วงที่หลวงปู่มั่น ไปพำนักอยู่ทางภาคเหนือ ๑๒ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๑ - ๒๔๘๒

    ระหว่างที่หลวงปู่มั่นเดินทางจากอุบลราชธานี มาตามหาหลวงปู่เสาร์ที่ภูผากูด ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ นั้น หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโมก็ได้ออกติดตามหลวงปู่มั่นมาติดๆ แต่พอจวนจะถึงภูผากูด ก็เกิดมีอันล้มเจ็บไข้เสียก่อน จึงได้กลับไปพักรักษาตัวที่เมืองอุบลฯ เมื่อไข้หายดีแล้ว จึงได้ออกติดตามพระอาจารย์ของท่านคือหลวงปู่มั่น มาอีกครั้ง จนมาทันกันที่ภูผากูด และหลังจากนั้นก็ได้ออกปฏิบัติธรรมติดตามหลวงปู่มั่นไปหลายแห่งในภาคอิสาน

    กลุ่มพระกรรมฐานที่ออกปฏิบัติธรรมและเผยแพร่ธรรมในสมัยเริ่มแรกนั้นมี ๓ กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กลุ่มของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต กับกลุ่มของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม แต่ละกลุ่มมีพระเณรติดตามเป็นจำนวนมาก

    <TABLE id=table15 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์
    (พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม)
    </TD><TD>
    พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์
    (พระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​











    เกี่ยวกับการเดินทางของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ในครั้งนั้น ปรากฏในบันทึกของหลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ดังนี้

    “เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม กับพระอาจารย์คำ ได้เดินรุกขมูลไปถึงบ้านนาสีดา (บ้านเกิดของหลวงปู่เทสก์).. เรากับบิดาของเราก็ได้ปฏิบัติท่านด้วยความเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างดียิ่ง...”

    ตอนนั้นหลวงปู่เทสก์ ยังเป็นฆราวาสอายุเพียง ๑๔ ปี ท่านบันทึกไว้ว่า
    “หลวงปู่สิงห์ มีไข้ป่ากำเริบอยู่ตลอดเวลา หลังวันออกพรรษาปีนั้นแล้ว หลวงปู่สิงห์ ได้เดินทางกลับไปจังหวัดอุบลราชธานี โดยที่หลวงปู่เทสก์ ได้ติดตามไปด้วย ต่อมาก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร แล้วอยู่เรียนต่อ จนกระทั่งปี พ ศ ๒๔๖๓ หลวงปู่สิงห์ ก็ออกเที่ยวรุกขมูลกลับมาจังหวัดนครพนม - สกลนคร เพื่อติดตามหลวงปู่มั่น ต่อไป”
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธุดงค์มาทางสกลนคร


    ในปี พ ศ. ๒๔๖๕ หลวงปู่ทั้งสององค์ คือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมพระเณรกลุ่มใหญ่ ได้ธุดงค์มาพักที่ป่าริมหนองน้ำบาก ใกล้บ้านหนองลาด ต.หนองลาด อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร

    จากการเสาะหาข้อมูลของ อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้เขียนไว้ว่า “ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๕ และหลังจากนั้นในพรรษากาลอีก ๒ ปีต่อมา สันนิษฐานว่าท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้พำนักจำพรรษาอยู่ที่นี่ ส่วนท่านหลวงปู่มั่น ได้ไปจำพรรษาที่วัดมหาชัย หนองบัวลำภู อ.หนองบัวลำภู (ปัจจุบันเป็น จ.หนองบัวลำภู) และวัดป่าสารวารีบ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ตามลำดับ”

    ตรงบริเวณที่คณะของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ พักจำพรรษาคือชายป่าริมหนองน้ำบาก ทางตะวันตกท้ายบ้านหนองลาด นั้น ต่อมาได้กลายเป็นวัด เรียกว่า วัดป่าหนองบาก

    ต่อมาภายหลัง เมื่อการศึกษาได้ขยายตัวเข้ามาถึง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันใช้สถานที่วัดนั้นสร้างเป็นโรงเรียนประชาบาลขึ้น ซึ่งก็คือ โรงเรียนบ้านหนองลาดวิทยาคาร ในปัจจุบัน

    ส่วนวัดป่าหนองบากเดิม ได้ขยับออกไปสร้างใหม่ในป่าทางทิศเหนือ ห่างจากที่เดิมราว ๒ กม. ให้ชื่อว่าวัดป่าราษฎร์สามัคคี มีพระอาจารย์บุญธรรม ปญฺญาสาโร เป็นเจ้าอาวาส ได้พัฒนาขึ้นมาจนเจริญรุ่งเรืองถึงปัจจุบัน (ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ มี หลวงปู่ประดิษฐ์ ฐานวโร อายุ ๗๒ ปี เป็นเจ้าอาวาส)

    หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ได้บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่บ้านหนองลาด ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ตามคำบอกเล่าของ หลวงปู่มั่นภูริทตฺโต ดังนี้ :-

    ท่านอาจารย์เสาร์ และท่านอาจารย์มั่น พร้อมด้วยศิษย์ของท่านอาจารย์ทั้ง ๒ รุ่นแรก และผู้เข้ามาฝึกหัดใหม่รวมกันจำนวนมากจำพรรษาอยู่ที่เสนาสนะป่า บ้านหนองลาด (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนประชาบาล)...นับเป็นเวลา ๗ ปี ที่ท่านอาจารย์มั่นได้เริ่มแนะนำการปฏิบัติธรรมที่ง่ายๆ และได้ผลจริงจังจนถึงปีนี้ และได้มีผู้ที่ได้รับธรรมชั้นสูงจากท่าน จนสามารถสอนธรรมกรรมฐานแทนท่านได้ก็มากองค์

    มาในปีนี้ ท่านอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง ใคร่จะได้ปรับปรุงแผนการให้ได้ผลดีขึ้นทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายคฤหัสถ์ จึงได้มีการรวมประชุมบรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายให้มาจำพรรษา ณ ที่นี้

    แม้ท่านอาจารย์ทั้งสอง จะได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับธรรมปฏิบัติเป็นประจำก็ตาม แต่ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้มอบให้ท่านอาจารย์มั่นเป็นผู้วางแผนงาน ตลอดถึงแนะนำธรรมปฏิบัติเพื่อให้พระทุกองค์ได้ยึดเป็นแนวการปฏิบัติให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

    ทางฝายบรรพชิต (นักบวช) ท่านอาจารย์มั่นได้ยืนยันถึงการที่ได้ปฏิบัติมาและแนะนำมาก่อนแล้วนั้น เป็นทางดำเนินถูกต้องแล้ว ว่าแต่ใครๆ อย่าไปแหวกแนวเข้าก็แล้วกัน เพราะเมื่อดำเนินมาเป็นเวลา ๗ ปีนี้เกิดผลสมความตั้งใจแล้ว คือการปฏิบัติตามอริยสัจจธรรม โดยเฉพาะท่านย้ำถึงการพิจารณากายนี้เป็นหลักประกันที่สำคัญยิ่ง

    ท่านได้ยกตัวอย่างมากมาย นับแต่พระบรมศาสดา และพระสาวกทั้งหลาย ซึ่งผู้ที่จะผ่านเข้าสู่อริยสัจนั้น จะไม่พิจารณากายไม่มีเลย ข้อนี้ท่านยืนยันอย่างแน่วแน่

    การที่ท่านย้ำลงในข้อการพิจารณาโดยอุบายต่างๆ นั้น เพราะกลัวศิษย์จะพากันเข้าใจผิดว่าเป็นการพิจารณาที่ไม่ถูก อาจจะเข้าใจไขว้เขว แล้วจะเป็นการเสียผลเป็นอย่างยิ่ง

    ทั้งท่านอาจารย์มั่น ได้วิตกว่า กลัวผู้ที่ไม่เข้าใจโดยละเอียดถ่องแท้จะพากันเขวหนทาง และพาให้หมู่คณะที่อยู่ในปกครองเขวหนทางตามไปด้วย เพราะท่านได้นิมิตภายในสมาธิของท่าน ณ ค่ำคืนวันหนึ่ง ว่า

    “ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า เราได้พบพระภิกษุสามเณรเป็นจำนวนมากเข้าไปบิณฑบาตในละแวกบ้าน ในนิมิตนั้นเป็นที่น่าประหลาดใจ คือพระภิกษุสามเณรที่เดินตามเรามาดีๆ ก็เกิดมีพวกหนึ่งแซงซ้ายบ้าง แซงขวาบ้าง ขึ้นหน้าเราไป บางพวกก็เลยเดินออกไปนอกทางเสีย และก็มีอีกพวกหนึ่งที่เดินตามเราไป”

    การนิมิตเช่นนี้ ท่านได้เล่าให้ศิษย์ในที่นั้นฟัง พร้อมทั้งอธิบายว่า ที่มี พวกภิกษุสามเณรแซงท่านขึ้นไปข้างหน้านั้น คือ บางพวกจะพากันอวดตัวว่าเก่งว่าดี แล้วก็จะละจากข้อปฏิบัติที่เราได้พาดำเนิน ครั้นแล้วก็จะเกิดความเสื่อมเสีย ไม่ได้ผลตามที่ได้เคยได้ผลมาแล้ว ซึ่งเขาเหล่านั้นก็จะมาอ้างว่าเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ เป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น แต่ที่ไหนได้ พากันหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตางๆ ที่เรากำหนดไว้ ที่สุดแม้แต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่น สีจีวร เป็นต้น การจะปฏิบัติเพื่อการพิจารณากายอันนับเนื่องด้วยอริยสัจธรรม ก็ยิ่งห่างไกล

    จำพวกหนึ่งเดินออกนอกทาง
    คือจำพวกนี้ เพียงแต่ได้ยินกิตติศัพท์เราแล้ว ก็อ้างว่าเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์ ของท่านอาจารย์มั่น บางที่จะยังไม่เคยเห็นหน้าเราด้วยซ้ำ และก็หาได้รู้อุบายแยบคายในการปฏิบัติแต่อย่างใดไม่ หรือพวกที่เคยอยู่กับเรามา แต่เมื่ออยู่กับเราก็เคร่งครัดเพราะกลัว แต่พอออกจากเราไปแล้ว ก็ไม่นำพาในข้อธรรมและการปฏิบัติของเรา เพียงแต่มีชื่อว่าเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์ ของท่านอาจารย์มั่น เท่านั้น แต่ไม่มีข้อปฏิบัติอันใดที่จะถือได้ว่าเป็นแนวทาง เป็นตัวอย่าง อันนำมาจากเราเลย

    จำพวกหนึ่งที่เดินตามหลังเราไปนั้น
    จำพวกนี้เป็นผู้ดำเนินตามคำแนะนำของเรา ทั้งภายนอกและภายใน เป็นผู้ใคร่ต่อธรรม ต้องการพ้นทุกข์ในวัฏสงสาร พยายามศึกษาหาความรู้ทุกๆ ประการที่มีความสนใจ ต่อหน้าหรือลับหลังก็เหมือนกัน รับข้อปฏิบัติแม้เล็กน้อย รักษาไว้ด้วยชีวิตจิตใจ เพราะจำพวกนี้ ได้รับผลแห่งการปฏิบัติมากับเรา แล้วเกิดผลอันละเอียดอ่อนจากข้อวัตรปฏิบัติเหล่านี้ ก็เป็นที่แน่นอนว่าจะแปรผันเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้

    พวกที่ออกนอกลู่นอกทางนั้นคือ เขาเหล่านั้นไม่ได้รับผลอย่างจริงจังจากการปฏิบัติอยู่กับเรา เพราะเหตุที่ไม่ได้ผลจริงนั้นเอง ทำให้เกิดความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ

    แต่พวกที่เดินตามเราย่อมได้รับความเจริญ

    การที่หลวงปู่มั่น ได้เล่าถึงเหตุการณ์ในอนาคตของศิษย์ของท่านเพื่อเตือนสติให้พระเณรรุ่นหลังให้ระลึกถึงความที่ว่า ธรรมปฏิบัติที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น ได้ลงทุนลงแรงพากเพียรพยายามทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จนบังเกิดผลดีมหาศาล จะพึงอยู่ได้นานเพียงใดนั้น ก็แล้วแต่ศิษย์ทั้งหลายจะพากันมีสติปัญญาหรือพากเพียรให้เกิดผลจริงจัง จะรักษาการปฏิบัติเหล่านี้ได้ ถ้าใครจักพึงกล่าวว่าเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์ของท่านอาจารย์มั่น เขาก็จะได้รักษาไว้ซึ่งข้อวัตรปฏิบัติของอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น ผลที่ได้ก็จะได้สมจริง

    ที่กล่าวนี้เป็นการสอนแนวทางปฏิบัติสำหรับพระเณร

    สำหรับแนวทางปฏิบัติทางด้านฆราวาสนั้น ท่านเน้นหนักเรื่องการเชื่อ เพราะปรากฏว่าพุทธบริษัทบางพวก พากันไปนิยมนับถือในสิ่งที่ผิดเสียมาก เช่น นับถือภูตผีปีศาจ นับถือศาลเจ้า นับถือการเข้าทรง นับถือเทพเจ้าต่างๆ นับถือศาลพระภูมิ นับถือต้นไม้ใหญ่ ถืออารามเก่าแก่ ถือภูเขาเลากา เป็นต้น การนับถือสิ่งเหล่านั้นผิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยแท้

    เป็นการนับถือที่งมงาย ผู้ที่เป็นพุทธบริษัทไม่ควรที่จะนับถือสิ่งเหล่านี้ เมื่อถือสิ่งเหล่านี้เข้าก็เท่ากับการอ่อนการศึกษา คือขาดปัญญาในทางพระพุทธศาสนา ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นได้ปฏิญาณตนว่าได้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว กลับมีจิตใจกลับกลอกหลอกลวงตนเอง ไม่นับถือจริง เพราะถ้านับถือจริง ก็ต้องไม่นับถือสิ่งที่งมงายที่พระพุทธองค์ทรงตำหนิแล้ว

    ดังนั้น จึงปรากฏในภายหลังว่า ภิกษุผู้เป็นชั้นหัวหน้า ผู้ที่ได้รับการอบรมจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น แล้ว จะต้องรู้จักวิธีการแก้ไขผู้นับถือผิดเกี่ยวกับภูตผีปีศาจ หรือสิ่งต่างๆ ดังกล่าว ได้ทุกองค์ ถ้าแก้สิ่งงมงายเหล่านี้ไม่เป็น หรือพลอยนับถือสิ่งผิดๆ ไปกับเขาด้วย ก็รู้ได้ทันทีว่าไม่ใช่ศิษย์หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ไม่ใช่ศิษย์หลวงปู่มั่นแน่นอน

    เพราะว่าการแก้เรื่องภูตผีปีศาจเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากการนับถือสิ่งเหล่านี้ฝังอยู่ในสันดานมานานแล้ว และสถานที่อันถือว่เป็นเทวสถานหรือภูตผีอยู่ ชาวบ้านก็ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ นอกจากพากันเซ่นไหว้ กราบไหว้แล้ว ยังพากันหวาดกลัว ไม่กล้าถ่ายถอนหรือกำจัดออกไป

    หลวงปู่มั่น ได้แนะทั้งวิธีการจัดการเกี่ยวกับการถอนสิ่งที่ชาวบ้านถือว่าศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ และวิธีการแนะนำอุบายต่างๆ ให้กับประชาชนเลิกเชื่อในเรื่องงมงายเหล่านั้น

    เมื่อท่านแนะวิธีแล้วท่านจะใช้ให้ศิษย์ไปทดลองปฏิบัติงานจริงดูถึงผลงานที่ท่านเหล่านั้นไปปฏิบัติ

    หลวงปู่มั่น อธิบายว่า อันที่จริงการนับถืองมงายนี้ เกิดจากการไม่เข้าใจถ่องแท้ในพระพุทธศาสนา หรือขาดการศึกษาที่แท้จริงในพระพุทธศาสนานั่นเอง ยิ่งชาวชนบทห่างไกลความเจริญแล้วก็ยิ่งมีแต่ความเชื่อกับสิ่งงมงายเหล่านี้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน จึงเป็นสิ่งที่แก้ยากถอนยากทีเดียว

    ไม่ต้องพูดถึงชาวชนบทจะพากันงมงายหรอก แม้แต่ชาวเมืองหลวงอย่างในกรุงเทพฯ ก็ตาม ยังพากันหลงงมงายในสิ่งเหล่านั้นมาก เช่น ศรัทธาเจ้าพ่อนั้น เจ้าพ่อนี้ บางแห่งพากันสร้างเป็นเทวสถาน แล้วพากันกราบไหว้บูชาถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปก็มีมากมาย

    ในเรื่องเหล่านั้นพระเถระบางองค์ถือว่าไม่สำคัญ แต่หลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่น ท่านถือว่าเป็นเรื่องสำคัญลำดับแรกสำหรับผู้นับถือพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว เพราะการจะเข้าถึงซึ่งความบริสุทธิ์ ถึงความเป็นพระอริยะในขั้นแรก คือ พระโสดาบัน ก็จะต้องแก้ไขความเชื่อถืองมงายเหล่านี้ในตนเองให้หมดไป ไม่เช่นนั้นจะเข้าไม่ถึงสัจธรรมของพระพุทธเจ้าได้เลย

    <TABLE id=table33 border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle>พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม</TD><TD align=middle>พระอาจารย์ปิ่น ปญฺญาพโล</TD><TD align=middle>พระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    เพราะหลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านต้องการสอนคนให้พ้นทุกข์จริงๆ สอนคนให้เป็นอริยะกันจริงๆ จึงให้เลิกเชื่อสิ่งงมงายเหล่านี้โดยสิ้นเชิง เดินตามรอยบาทพระบรมศาสดาอย่างแท้จริง ไม่มีสิ่งอื่นมาแอบแฝงแปลกปลอม

    ในปีที่จำพรรษาที่บ้านลาดนี้ หลวงปู่ทั้งสององค์ ได้แนะนำแก่พระภิกษุที่ถือได้ว่าเป็นศิษย์ชั้นหัวหน้าแทบทั้งนั้น จึงปรากฏว่าหลังจากที่หลวงปู่มั่น ได้หลีกจากหมู่คณะ ออกธุดงค์ไปเชียงใหม่ และมอบศิษย์ทั้งหลายให้แก่ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม บรรดาศิษย์เหล่านั้นซึ่งล้วนแต่เป็นศิษย์ชั้นหัวกะทิ จึงเป็นกำลังให้หลวงปู่สิงห์ ในการปราบความเชื่อเรื่องการนับถือภูตผีได้เป็นอย่างดี ประชาชนพากันเลิกถือผี หันมาถือพระไตรสรณาคมน์ มีการไหว้พระสวดมนต์ รักษาศีลเจริญเมตตาภาวนา กันอย่างได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบจังหวัดอุบลฯ อุดร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา ฯลฯ ตามที่คณาจารย์เหล่านั้น ไปผ่านไปเผยแพร่ธรรมปฏิบัติ ซึ่งชาวชนบทไม่เคยได้รับทราบคำสอนเช่นนี้มาก่อนเลย
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จำพรรษาที่บ้านค้อ อ บ้านผือ อุดรธานี


    ในปี พ ศ. ๒๔๖๖ สันนิษฐานว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พักจำพรรษารวมกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่เสนาสนะป่าบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

    จากหนังสือ อัตตโนประวัติพระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสฺรํสี)ได้บันทึกเหตุการณ์ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ว่า

    “..ท่านอาจารย์สิงห์ ได้พาพวกเรา (หลวงปู่เทสก์) ออกเดินทางไปนมัสการท่านอาจารย์มั่น ที่บ้านค้อ อ.บ้านผือ ขณะนั้นพระอาจารย์เสาร์ ก็อยู่พร้อม เป็นอันว่าเราได้พบท่านอาจารย์ทั้งสอง และได้กราบนมัสการท่านเป็นครั้งแรกในชีวิต...”

    ขณะนั้นหลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี เพิ่งอุปสมบทได้เป็นพรรษาแรก และอยู่จำพรรษาที่วัดสุทัศน์ ในเมืองอุบลฯ แล้วได้ออกธุดงค์ติดตามมากับคณะของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์องค์แรกของท่าน

    ในประวัติของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หลังจากท่านเดินธุดงค์ไปทางฝั่งประเทศลาวกับหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม แล้วก็แยกทางกัน โดยหลวงปู่ตื้อธุดงค์เลียบฝั่งขึ้นไปทางเวียงจันทน์แต่ลำพัง ส่วนหลวงปู่แหวน ได้ย้อนกลับข้ามโขงมาฝั่งไทย เพื่อมุ่งแสวงหาหลวงปู่มั่นพระอาจารย์ใหญ่ และทราบว่าท่านพักอยู่ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้เข้าไปกราบถวายตัวเป็นลูกศิษย์
    (คนละนิกาย)

    ประโยคแรกที่หลวงปู่มั่นทักถาม คือ
    “มาจากไหน” เมื่อเรียนท่านว่า “มาจากอุบลฯ ครับ” (หลวงปู่แหวน เป็นชาวจังหวัดเลย แต่ไปบวชเรียนด้านปริยัติที่จังหวัดอุบลฯ)

    หลวงปู่มั่น กล่าวเป็นประโยคที่สอง ซึ่งหมายถึงท่านลงมือให้การสอนทันทีว่า
    “เออ ! ต่อไปนี้ภาวนา ความรู้ที่เรียนมาให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน”

    คำพูดของพระอาจารย์ใหญ่เพียงสั้นๆ แค่นี้ ช่างมีความหมายต่อหลวงปู่แหวนมากมายเหลือเกิน เพราะเป็นความต้องการของท่านจริงๆ ท่านสุดแสนจะดีใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้ยินคำว่า
    “ต่อไปนี้ให้ภาวนา” เท่ากับความตั้งใจของท่านได้บรรลุตามความประสงค์โดยไม่ต้องเอ่ยปากขอแต่ประการใด...

    <TABLE id=table13 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    บ้านค้อ อ บ้านผือ จ อุดรธานี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จำพรรษาที่พระบาทบัวบก


    ในปี พ ศ ๒๔๖๗ สันนิษฐานได้ว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และคณะ มาพำนักที่พระบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี แต่ไม่มีการยืนยันว่าท่านจำพรรษาอยู่ที่นั่นหรือไม่ (แน่ใจว่าไม่ได้จำพรรษา ดูตอนต่อไป)

    ในหนังสือ จนฺทสาโรบูชา ประวัติของ หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร เขียนโดย คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต ภายใต้หัวข้อว่า...(พ.ศ. ๒๔๖๗) พบท่านพระอาจารย์เสาร์ และท่านพระอาจารย์มั่น มีข้อความดังนี้ -

    “ท่าน (หลวงปู่หลุย) ได้อยู่กับพระอุปัชฌาย์พอสมควร แล้วก็ได้เดินทางจากจังหวัดเลยกลับไปอยู่กับท่านพระอาจารย์บุญ (พระกรรมวาจาจารย์ของหลวงปู่หลุย กับ หลวงปู่ขาว ซึ่งทำญัตติกรรมพร้อมกันที่อำเภอหนองวัวซออีก และได้ติดตามท่านพระอาจารย์บุญไปยังวัดพระบาทบัวบก ณ ที่นี้เองที่หลวงปู่ (หลุย) ได้พบกับ ท่านพระอาจารย์เสาร์กนฺตสีโล และได้อยู่ปฏิบัติรับฟังโอวาทจาก ท่านพระอาจารย์เสาร์ โดยมีท่านพระอาจารย์บุญ เป็นพระพี่เลี้ยงผู้ชี้แนะในข้อที่ท่านไม่เข้าใจอีกชั้นหนึ่งด้วย”

    <TABLE id=table14 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle> หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในหนังสือเล่มเดียวกัน มีต่อไปว่า “จากนั้นท่านพระอาจารย์บุญก็ได้พาหมู่คณะศิษย์ พร้อมด้วยหลวงปู่ (หลุย) ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ที่ท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบันท่าบ่อเป็นอำเภอ)




    คณะท่านอาจารย์บุญ ได้อยู่อบรมรับฟังโอวาทและฝึกปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์มั่น จนกระทั่งจวนเข้าพรรษาจึงได้พากันกลับมาจำพรรษาที่วัดพระบาทบัวบก


    หมายเหตุ: ท่านพระอาจารย์บุญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร กับ หลวงปู่ขาว อนาลโย คราวญัตติกรรมพร้อมกันเมื่อ ปี พ ศ ๒๔๖๘ โดยหลวงปู่หลุย เป็นนาคขวา หลวงปู่ขาว เป็นนาคซ้าย

    หลวงปู่ เคยทำนายไว้ว่า หลวงปู่บุญ ปญฺญาวุฒฺโฑ จะอายุไม่ยืน เพราะท่านไม่ชอบเดินจงกรม ซึ่งก็เป็นจริง ท่านมรณภาพเมื่ออายุเพียง ๔๔ ปี ทั้งที่ท่านนั่งสมาธิดีมาก และจิตใสมาก
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วัดพระงาม อ.ท่าบ่อ หนองคาย


    จากการสอบค้นของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ บอกว่าในปีพ ศ. ๒๔๖๗ เป็นพรรษาที่ ๔๔ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมพระเณรลูกศิษย์ที่ติดตาม ได้ธุดงค์ประกาศธรรมเข้าเขตจังหวัดหนองคาย

    ในข้อมูลบอกต่อไปว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้พักจำพรรษาที่วัดราช ใกล้บ้านน้ำโขง อำเภอท่าบ่อ ส่วนหลวงปู่มั่นไปพำนักที่ (ไม่ได้บอกว่าจำพรรษา) เสนาสนะป่าในอำเภอท่าบ่อ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวัด ชื่อ วัดอรัญญวาสี ขณะเดียวกันพระกรรมฐานกลุ่มของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม กับ หลวงปู่พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ยังคงจำพรรษาอยู่ที่เดิม ที่บ้านหนองลาด บ้านปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

    ที่วัดราช อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ที่หลวงปู่ใหญ่ และสานุศิษย์ พักจำพรรษาอยู่นี้ เป็นวัดเก่ามีพระพุทธรูปเก่าสมัยเวียงจันทน์อยู่ซึ่งได้ชำรุดทรุดโทรมมาก

    ในบันทึกได้บอกว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับหลวงปู่มั่น ทั้งสององค์ได้ช่วยกันบูรณะให้สวยงามดังเดิม เมื่อชาวบ้านชาวเมืองได้ไปเห็นเข้า ต่างก็กล่าวชมว่า งามแท้ ภายหลังจึงพากันเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดพระงาม และพระพุทธรูปองค์นี้ก็ได้ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัดมาจนทุกวันนี้

    ข้อเขียนของอาจารย์พิศิษฐ์ มีว่า “ที่ท่าบ่อนี้เป็นสถานที่เหมาะสำหรับบำเพ็ญสมณธรรมยิ่งอีกที่หนึ่งของพระเถระทั้งหลายที่น้อมตัวเข้าเป็นศิษย์สายธารธรรม อาทิเช่น พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโณ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน พระอาจารย์กว่า สุมโน ฯลฯ ท่านเหล่านี้มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะอยู่ปฏิบัติตามแนวทางสายธรรมที่ได้รับฟังโอวาทมาอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ซึ่งต่างองค์ต่างได้รับผลทางใจเป็นอย่างสูง ตามภูมิจิตภูมิธรรมของแต่ละองค์”

    เมื่อประมวลจากหลักฐานเอกสารจากแหล่งต่างๆ ผู้เขียน (ปฐม นิคมานนท์) เชื่อว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และคณะศิษย์ ได้อยู่จำพรรษาที่วัดพระงามแห่งนี้นาน ๒ พรรษา คือในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ - ๒๔๖๘ เป็นพรรษาที่ ๔๔ และ ๔๕ ของท่าน

    ทั้งหมดนี้เขียนตามหลักฐานเอกสาร ตัวผู้เขียนเองยังไม่เคยไปที่วัดพระงาม แห่งนี้

    อนึ่ง ช่วงที่หลวงปู่ใหญ่ พักอยู่ที่วัดพระงามแห่งนี้ได้มีเหตุการณ์สูญเสียครั้งใหม่อีกครั้งหนึ่งของชาวไทยทั้งชาติ คือ การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ หลังจากครองราชย์ได้เพียง ๑๕ ปี
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กองทัพธรรม


    พอออกพรรษาที่ ๒ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ธุดงค์ออกจากวัดพระงาม อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย แล้วจาริกขึ้นเหนือตามฝั่งแม่น้ำโขง จนถึงอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ลงมาใต้ไปถึงภูฟ้า ภูหลวง แล้ววกมาทางตะวันออกเข้าเขตจังหวัดอุดรธานี

    ในปี พ ศ. ๒๔๖๙ หลวงปู่ใหญ่ และคณะพักจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านดงยาง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

    ศิษย์อาวุโสองค์อื่นๆ แยกพักจำพรรษาในที่ต่างๆ ตามบันทึกของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ มีดังนี้ :-

    “พระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ผู้เป็นน้องร่วมสายโลหิต และพระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี จำพรรษาที่ป่าบ้านอากาศ ต.อากาศ อ วานรนิวาส (ปัจจุบันเป็น อ.อากาศอำนวย) จ สกลนคร พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินโน จำพรรษาที่บ้านโนนแดง พระอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร จำพรรษาที่บ้านข่า ใกล้บ้านสามผง ท่านหลวงปู่มั่น และคณะส่วนหนึ่งได้ไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ใกล้กับวัดโพธิ์ชัย ตามคำอาราธนานิมนต์ของพระอาจฯย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร”

    ในปี พ ศ ๒๔๖๙ มีเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้กองทัพธรรมสายของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น มีชื่อเสียงโด่งดัง และได้รับความศรัทธาอย่างสูง

    เหตุการณ์ที่ว่านี้เป็นเพราะพระเถระที่ชาวบ้านศรัทธามาก ๓ องค์ได้ขอญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต ติดตามปฏิบัติธรรมไปกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้แก่ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร และพระอาจารย์ดี ฉนฺโน

    พระเถระองค์แรก คือ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก อายุพรรษา ๑๙ เป็นพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนแถบลุ่มแม่น้ำสงคราม ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิชัย บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นเจ้าสำนักเรียนนักธรรมและบาลี และเป็นครูใหญ่ท่านแรกของโรงเรียนประถมศึกษาแห่งตำบลสามผง ที่ตั้งอยู่ในวัดนี้ด้วย

    พระเถระองค์ที่สอง เป็นสหธรรมิกกับองค์แรก ได้แก่พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร เป็นชาวสกลนคร อายุพรรษา ๑๗ พำนักอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย (คนละแห่งกับพระอาจารย์เกิ่ง) ตำบลวาใหญ่ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

    พระเถระทั้งสององค์ได้ยินกิตติศัพท์ทางธรรมของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น ก็มีความสนใจ พอทราบว่าหลวงปู่มั่น มาพักที่บ้านหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ สกลนคร พระอาจารย์เกิ่ง จึงได้ชวนพระอาจารย์สีลา พร้อมพระเณรถูกวัดไปฟังเทศน์และสนทนาไต่ถามปัญหาข้ออรรถธรรมที่สงสัยค้างคาใจต่างๆ พร้อมทั้งสังเกตข้อวัตรของหลวงปู่มั่นอย่างใกล้ชิด จนเกิดความอัศจรรย์ใจในข้ออรรถข้อธรรมและจริยาวัตรของท่าน ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส

    พระอาจารย์เกิ่ง ได้นิมนต์หลวงปู่มั่น ให้ไปโปรดญาติโยมและพักจำพรรษาที่บ้านสามผง ถิ่นที่พำนักของท่าน พร้อมทั้งขอถวายตัวเป็นศิษย์อยู่ปฏิบัติธรรมใกล้ชิด จนเกิดผลประจักษ์ทางใจอย่างที่ไม่เคยได้สัมผัสรับรู้มาก่อน

    ในที่สุดพระอาจารย์เกิ่ง ได้ตัดสินใจสละตำแหน่งและลาภยศต่างๆ ทั้งหมด แล้วขอญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุต ลูกศิษย์พระเณรก็ขอญัตติตามหมดทั้งวัด รวมทั้งคณะของท่านอาจารย์สีลาก็ขอญัตติตามด้วยในภายหลัง

    จำนวนพระภิกษุสามเณรที่ญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุตที่บ้านสามผงในครั้งนั้นมีประมาณ ๒๐ รูป รวมทั้งสามเณรสิม วงศ์เข็มมา (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ เชียงดาว จ เชียงใหม่) ที่มาจากวัดศรีรัตนาราม บ้านบัว ต.สว่าง อ พรรณานิคม จ สกลนครด้วย

    พระเถระองค์ที่สาม ที่มาขอญัตติเป็นพระธรรมยุตในช่วงนั้นด้วยได้แก่ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พระดังจากบ้านกุดแห่ อ เลิงนกทา จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับ จ ยโสธร) ชาวบ้านตั้งฉายาท่านว่าอาจารย์ดีผีย่าน เพราะท่านมีอิทธิฤทธิ์เก่งกล้าและคาถาอาคมในการปราบผีและคุณไสย์ต่างๆ

    พระอาจารย์ดี ได้ดั้นด้นบุกป่าดงออกเสาะหาของดีของขลังมาถึงบ้านสามผง ได้รู้กิตติศัพท์เกี่ยวกับหลวงปู่มั่น จึงเข้าไปกราบขอฟังธรรมและปฏิบัติธรรมด้วย จนประจักษ์ผลทางใจอย่างน่าอัศจรรย์ ในที่สุดก็ขอสละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านกุดแห่ หรือ วัดศรีบุญเรือง ท่าแขก ที่โด่งดังในสมัยนั้น แล้วขอญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุตออกติดตามคณะกองทัพธรรม และเป็นศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่เสาร์จนถึงวาระสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่ท่าน

    ในพรรษานั้นจึงเป็น การประกาศธรรมชนิดพลิกแผ่นดินที่บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ทำให้ชื่อเสียงของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมทั้งกิตติศัพท์ของกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ลือเลื่องกระเดื่องไกล เป็นที่อัศจรรย์ร่ำลือของผู้คนในแถบนั้น ถึงกับว่า หลวงปู่ทั้งสององค์ เป็นพระผู้วิเศษที่ทำให้พระดังถึงสามองค์ยินยอมถวายตัวเป็นศิษย์ได้

    ขออนุญาตโยงไปถึงอีกเหตุการณ์หนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกันด้วย คือในช่วงไล่เลี่ยกันนั้น ศิษย์อาวุโสของหลวงปู่มั่น อีกองค์หนึ่ง คือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล (วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์) เพื่อนสหธรรมิกของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้พักจำพรรษาที่บ้านกุดก้อม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ก็เกิดเหตุการณ์พลิกแผ่นดินบ้านม่วงไข่ขึ้นเหมือนกัน

    กล่าวคือ พอออกพรรษา ปรากฏว่าบรรดาพระภิกษุสามเณรวัดม่วงไข่ ทุกรูป นับตั้งแต่เจ้าอาวาสคือ ท่านญาคูดี เป็นต้นมา ได้พากันและละทิ้งวัด ออกจาริกธุดงค์ติดตามหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แล้วไปเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น และได้ญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุตทั้งหมด

    ในบรรดาพระเณรวัดม่วงไข่ เมื่อครั้งนั้นก็มีพระภิกษุหนุ่มชื่อ ฝั้น อาจาโร (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมภรณ์ อ.พรรณานิคมจ.สกลนคร) รวมอยู่ด้วย

    รวมทั้งมีเณรเล็กๆ ติดตามอุปัฏฐากหลวงปู่ดูลย์ ชื่อ สามเณรอ่อน ซึ่งก็คือ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ. อุดรธานี นั่นเอง
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประชุมศิษย์ วางระเบียบการปฏิบัติ


    ในระยะนี้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ฝึกฝนอบรมลูกศิษย์ลูกหาสายธุดงค์กรรมฐานจำนวนมากมายพอสมควร ที่ติดตามหลวงปู่ใหญ่เอง ติดตามหลวงปู่มั่น และติดตามหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ก็มีกลุ่มละหลายสิบองค์ ที่แยกย้ายกระจัดกระจายไปบำเพ็ญเพียรในที่ต่างๆ ก็มีมาก เกือบทั่วภาคอิสาน กระจายไปทางฝั่งประเทศลาว รวมทั้งอยู่ทางภาคตะวันออก เช่นท่านพ่อลี ธมมธโร และหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ และอยู่ทางภาคกลางก็มี

    หลวงปู่ทั้งสององค์ เห็นว่าควรจะมีการประชุมศิษย์เพื่อกำหนดระเบียบการปฏิบัติต่างๆ ให้เป็นไปในแนวเดียวกัน ดังนั้น พอออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ แล้ว หลวงปู่ทั้งสอง จึงได้เรียกประชุมบรรดาพระอาจารย์ทั้งหลายที่เป็นศิษย์ที่อยู่ทั้งใกล้ทั้งไกล ให้มาประชุมพร้อมกันที่บ้านโนนแดง ในปีนั้น หลวงปู่ใหญ่เสาร์ มีอายุพรรษา ๔๕ และหลวงปู่มั่น มีอายุพรรษา ๓๕

    <TABLE id=table34 border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle>พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก
    </TD><TD align=middle>พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร
    </TD><TD align=middle>พระอาจารย์ดี ฉนฺโน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในการประชุมพระธุดงค์กรรมฐานในครั้งนั้น ได้มีการวางระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกธุดงค์อยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติ และเกี่ยวกับแนวทางการสั่งสอนการปฏิบัติธรรม ปฏิบัติจิต

    ผู้เขียนไม่สามารถหารายละเอียดเกี่ยวกับการประชุมครั้งนั้นได้เช่น ประชุมกันกี่วัน มีพระกรรมฐานมาร่วมประชุมจำนวนเท่าใด ตลอดจนรายละเอียดในเนื้อหาของการประชุม เป็นต้น ก็ขอฝากไว้ให้ได้พิจารณาต่อไป

    หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ได้บันทึกเรื่องนี้ไว้เพียงสั้นๆ ว่า

    “หลังจากออกพรรษาแล้วในปีนี้ พระอาจารย์มั่นฯ พระอาจารย์เสาร์ฯ ก็ได้เรียกบรรดาพระอาจารย์ที่เป็นศิษย์ทุกองค์ให้มาประชุมพร้อมกันที่บ้านโนนแดง

    ในการประชุมครั้งนี้ ท่านได้วางระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติ เกี่ยวกับแนวทางแนะนำสั่งสอนปฏิบัติจิต เพื่อให้คณะศิษย์นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียวกัน

     

แชร์หน้านี้

Loading...