หลวงปู่สาร์ กนฺตสีโล : พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 14 พฤษภาคม 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล


    หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล เป็นศิษย์ฝ่ายมหานิกายของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และ หลวงปู่มั่น ถือเป็นศิษย์ต้น หรือศิษย์อาวุโสที่มีบทบาทมากในการเผยแพร่พระธรรมกรรมฐาน และมีกิตติศัพท์ในการแก้พวกที่มีความเห็นผิด หรือพวกมิจฉาทิฏฐิที่คอยขัดขวางต่อต้านแนวทางของพระธุดงค์กรรมฐาน

    หลวงปู่ทองรัตน์ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ ที่บ้านสามผง หรือที่บ้านชีทวน ยังไม่ทราบแน่ชัด เพราะบรรพบุรุษเป็นคนบ้านชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี แล้วอพยพไปอยู่บ้านสามผง อำเภอท่าอุเทน ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

    บิดาของท่านเป็นคหบดีผู้มีอันจะกิน มีหน้าที่เก็บส่วย พี่ชายท่านชื่อศรีทัศน์ เป็นกำนันตำบลสามผง

    ในวัยเด็ก หลวงปู่ทองรัตน์ ค่อนข้างจะหัวดื้อ นิสัยออกไปทางนักเลง ในวัยหนุ่ม ท่านใช้ชีวิตค่อนไปทางนักเลงสุรา พูดจาคึกคะนอง โผงผาง ตลกโปกฮา แต่ช่วยบิดามารดาทำมาหากินอย่างขยันขันแข็ง

    หลวงปู่ทองรัตน์ เคยบรรพชาเป็นสามเณร แล้วลาสิกขาออกมา จนอายุ ๒๖ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในสังกัดมหานิกาย ที่ วัดโพธิ์ชัย โดยมี พระอาจารย์คาน คนฺธิโย เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก เป็นพระกรรมวาจารย์ ได้ฉายาว่า กนฺตสีโล

    พื้นฐานการศึกษา ท่านเรียนจบชั้นประถม หลังจากอุปสมทบแล้วได้ศึกษาทางปริยัติธรรม แตกฉานในการสวดพระปาฏิโมกข์

    ในพรรษาที่ ๖ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้เดินทางไปกราบขอฝากตัวเป็นศิษย์กับ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่สกลนคร ตั้งใจศึกษาเคร่งครัดในข้อวัตรปฏิบัติ เป็นพระผู้มักน้อย ถือสันโดษ มีใจเด็ดเดี่ยวมั่นคง ไม่ยึดติดถิ่น ไม่ติดวัด รักการธุดงค์ ท่านใช้บริขารบาตรใบเดียวตั้งแต่บวชจนถึงวันมรณภาพ

    หลวงปู่ทองรัตน์ เที่ยวธุดงค์ทั่วทั้งแถบลุ่มน้ำโขงตอนกลางและตอนล่าง ท่านเป็นพระธุดงค์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ท่านธุดงค์ไปในประเทศลาว เขมร พม่า และอินเดีย พร้อมกับ หลวงปู่กินรี จนฺทิโย ศิษย์องค์หนึ่งของท่าน (และเป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่ชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง)

    สำหรับในประเทศลาว หลวงปู่ทองรัตน์ ได้วางรากฐานแห่งการปฏิบัติพระกรรมฐานไว้ โดยเฉพาะที่วัดภูมะโรง นครจำปาศักดิ์ และมีศิษย์ที่อยู่สืบทอดมรดกธรรมต่อมา คือ หลวงปู่บุญมาก ฐิติปญฺโญ และหลวงปู่กิ ธมฺมุตฺตโม ซึ่งได้ติดตามปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่ใหญ่เสาร์และหลวงปู่มั่น ในเวลาต่อมา

    หลวงปู่ทองรัตน์ ท่านเคารพนับถือ หลวงปู่ใหญ่ และหลวงปู่มั่นมาก และท่านได้รับการแนะนำอุบายธรรมที่ล้ำลึกเสมอ

    ในปี พ ศ ๒๔๗๙ หลวงปู่ทองรัตน์ ได้มาพำนักที่บ้านชีทวนตามบัญชาของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ เป็นเวลาถึง ๖ ปี เพื่อแก้มิจฉาทิฏฐิของชาวบ้าน หลังจากหลวงปู่ใหญ่ มรณภาพแล้ว หลวงปู่ทองรัตน์จึงได้ธุดงค์จากไปที่อื่นท่ามกลางความศรัทธาอาลัยของชาวบ้าน

    ตลอดระยะเวลาที่ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กลับมาพำนักที่จังหวัดอุบลราชธานี ไม่ว่าจะพักที่บ้านข่าโคม ที่วัดบูรพา ที่วัดภูเขาแก้ว และที่วัดดอนธาตุ ซึ่งเป็นวัดสุดท้าย หลวงปู่ทองรัตน์ จะแวะเวียนมากราบหลวงปู่ใหญ่อยู่เสมอ และครั้งสุดท้ายได้ร่วมธุดงค์ติดตามหลวงปู่ใหญ่ไปเมืองลาว จนหลวงปู่ใหญ่มรณภาพที่นั่น

    ในปัจฉิมวัย หลวงปู่ทองรัตน์ ได้ธุดงค์มาพำนักที่ป่าช้าบ้านคุ้ม ตำบลหนองไซ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับตำบลโคกสว่าง อำเภอสำโรง) ซึ่งเป็นหมู่บ้านชนบทที่กันดาร ห่างไกลจากตัวเมือง สมัยนั้นยังไม่มีทางรถยนต์เข้าถึงหมู่บ้าน

    หลวงปู่ทองรัตน์ ได้พักประจำที่วัดป่าบ้านคุ้ม นานกว่า ๑๐ ปี ท่านบอกว่า “จะไม่ไปไหนอีก จะตายที่นี่”

    ช่วงออกพรรษา ท่านจะธุดงค์ไปที่อื่นครั้งละนานๆ เมื่อเข้าพรรษาจึงกลับมา

    ในปีที่ท่านจะมรณภาพ ท่านบอกให้ชาวบ้านหาฟืนมาไว้ให้เต็มโรงครัวถึง ๔ ห้อง ท่านว่า
    “ปีนี้จะมีการใช้ฟืนมาก” ในต้นเดือนกันยายนปีนั้น ท่านให้ทำซุ้มประตูโค้งทางเข้าวัดบอกว่า “จะมีรถยนต์มามาก” ท่ามกลางความแปลกใจของชาวบ้าน เพราะแต่ไหนแต่ไรมาไม่เคยมีรถยนต์เข้าถึงหมู่บ้านเลย

    <TABLE id=table59 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ปกหนังสือมณีรัตน์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    หลังจากนั้นไม่นาน ท่านก็มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ หลังจากเกิดปวดท้องอย่างกะทันหันก่อนหน้าเพียง ๒ วันเท่านั้น รวมอายุท่านได้ ๖๘ ปี พรรษา ๔๒



    หลังการมรณภาพของท่าน ปรากฏว่ามีศิษย์จำนวนมาก พร้อมทั้งยานพาหนะต่างๆ เข้าร่วมงานศพจำนวนมาก ตามที่ท่านเคยบอกไว้

    มรดกวัตถุที่ หลวงปู่ทองรัตน์มีอยู่เป็นของส่วนตัว มีเพียง บาตรกับย่ามใบเก่าๆ พร้อมมีดโกนที่ถูกใช้มานานจนคมกร่อนเกือบถึงสันเท่านั้น เป็นเครื่องบ่งบอกถึงความสมถะที่มีประจำองค์ของท่าน

    อัฐิของท่านส่วนหนึ่ง ชาวบ้านคุ้มได้บรรจุไว้ในเจดีย์ที่สร้างไว้เป็นอนุสรณ์ให้คนรุ่นหลังได้ทราบไหว้อยู่กลางเนิน วัดป่าบ้านคุ้มมาจนบัดนี้

    (สำหรับท่านที่สนใจทราบประวัติของ หลวงปู่ทองรัตน์ โดยละเอียด หาอ่านได้ที่หนังสือชื่อ “มณีรัตน์ อัญมณีแห่งไพรสณฑ์ : ประวัติและธรรม หลวงปู่ครูบาอาจารย์เฒ่าทองรัตน์ กนฺตสีโล บูรพาจารย์พระกรรมฐาน ฝ่ายมหานิกาย สายหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น” จัดพิมพ์โดย วัดหนองป่าพง อ วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖)
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วีรกรรมหลวงปู่ทองรัตน์


    ผมขออนุญาตท่านผู้อ่านเขียนถึง หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโลสัก ๒ ตอนยาวๆ แทรกไว้ตรงนี้ เพราะโอกาสจะไปเขียนถึงท่านโดยตรงมันยาวเหลือเกิน ทนอ่านเอาหน่อยนะครับ

    หลวงปู่ทองรัตน์ เป็นศิษย์ฝ่ายมหานิกายของ หลวงปู่ใหญ่ทั้งสองท่านเป็น “พระบู๊” ที่ครบเครื่อง ไม่แพ้ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เล่มที่ผมเคยเขียนผ่านมาแล้ว

    หลวงปู่ทองรัตน์ เป็นอาจารย์ของ หลวงปู่กินรี จนฺทิโย ซึ่งเป็นอาจารย์ของ หลวงปู่ชา สุภทฺโท เจ้าสำนักวัดหนองป่าพง และวัดป่านานาชาติ อีกต่อหนึ่ง

    ท่านผู้อ่านคงทราบดีแล้วว่า ลูกศิษย์ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น มีทั้งฝ่ายธรรมยุติ และฝ่ายมหานิกาย ศิษย์ท่านใดที่ต้องการคงอยู่ในฝ่ายมหานิทายท่านก็ไม่ว่า ส่วนศิษย์ที่ต้องการญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุตินั้น ท่านจะพิจารณาอนุญาตเป็นรายๆ ไป

    หลวงปู่มั่นท่านให้เหตุผลกับศิษย์ที่ท่านไม่อนุญาตให้ญัตติใหม่ว่า
    “ถ้าพากันมาญัตติเป็นพระธรรมยุตหมดเสียแล้ว ฝ่ายมหานิกายจะมีใครแนะนำการปฏิบัติ มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกายหรอก แต่มรรคผลขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั่งสอนไว้แล้ว ละในสิ่งที่ควรละ เว้นในสิ่งที่ควรเว้น เจริญในสิ่งที่ควรเจริญ นั่นแหละทางดำเนินสู่มรรคผลนิพพาน...”

    ผมขออนุญาตหยิบยกบางเรื่องที่เป็นวีรกรรมของหลวงปู่ทองรัตน์มาเสนอพอเป็นตัวอย่าง ดังนี้

    กรณีแรก เมื่อหลวงปู่ทองรัตน์ ได้ฝึกอบรมธรรมเชิงปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่ใหญ่ทั้งสององค์ จนเป็นที่มั่นใจแล้ว หลวงปู่มั่น ได้ทดสอบพลังจิตของลูกศิษย์ โดยให้ลูกศิษย์แต่ละองค์แยกไปจำพรรษายังที่ต่างๆ กัน สำหรับหลวงปู่ทองรัตน์นั้นท่านบอกให้ไปจำพรรษาที่ ถ้ำบังบด ถ้าไม่ครบ ๓ พรรษาไม่ต้องลง ที่ถ้ำนี้หลวงปู่มั่นเคยไปภาวนามาแล้ว เหมาะกับพระเณรที่มีภูมิจิตภูมิธรรมที่แข็งกล้าแล้วจึงจะไปอยู่ได้ เคยมีพระธุดงค์ไปมรณภาพหลายรูปแล้ว ถ้าไม่เก่งจริงคงกลับออกมายาก หลวงปู่มั่น ได้แนะนำอย่างนั้น

    เมื่อหลวงปู่ทองรัตน์ รับคำพระอาจารย์แล้ว ก็ได้ไปภาวนาที่ถ้ำนั้นเพียงรูปเดียวจนตลอด ๓ พรรษา

    ท่านเล่าว่า ในคืน ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ พรรษาแรกที่ไปอยู่ หลังจากเดินจงกรมตอนหัวค่ำแล้ว ได้เปลี่ยนมานั่งสมาธิ ท่านได้ยินเสียงกึกก้อง ราวกับฟ้าจะทลาย ภูเขาทั้งลูกถูกเขย่าให้สั่นสะเทือน ท่านแยกไม่ออกว่าเสียงอะไร ท่านเล่าว่า ท่านกลัวจนไม่รู้ว่ากลัวอะไร ขนและผมลุกชูชันแทบจะหลุดออกจากหัว เหงื่อออกท่วมตัว จะวิ่งหนีก็ไม่รู้ว่าจะหนีไปไหน

    เมื่อความกลัวถึงขีดสุด ก็ได้มีเสียงกระซิบที่หูท่านว่า
    “ในสากลพิภพนี้ สรรพสัตว์ตลอดทั้งเทพ พรหม ยม ยักษ์ ทั้งหลายทั้งปวง ล้วนเคารพและยำเกรงต่อพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น เราเป็นลูกศิษย์พระตถาคตจะไปกลัวอะไร

    เมื่อได้ยินอย่างนั้นสติเริ่มกลับคืนมา ความกลัวค่อยหายไป แล้วเกิดความอาจหาญขึ้นมาแทน จากนั้นท่านไม่เคยรู้สึกกลัวอะไรเลย ท่านเล่าเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า
    “อาการหายกลัวครั้งนี้มีอานุภาพมากกว่าครั้งที่ผ่านมาหลายร้อยพันเท่า เดินจงกรม นั่งสมาธิ มีแต่ความเยือกเย็นสบาย ข้าวปลาอาหารไม่หิว เป็นอยู่ ๗ วัน ๗ คืน นอนก็ไม่นอน”...ฯลฯ

    เมื่ออยู่ครบ ๓ พรรษา จึงได้ลงมากราบหลวงปู่มั่น แล้วเล่าเรื่องต่างๆ ถวาย หลวงปู่มั่น ออกปากว่า
    “ทองรัตน์ เดี๋ยวนี้ จิตของท่านเท่ากับจิตของผมแล้ว ต่อไปนี้ท่านจะเทศน์จะสอนคนอื่นก็จงสอนเถิด”

    หลวงปู่ทองรัตน์ มีความคุ้นเคยกับ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม มากเพราะเป็นศิษย์อุปัชฌาย์เดียวกัน ท่านจึงพูดสัพยอกกันแรงๆ ท่านเคยบอกศิษย์ว่า
    “ญาท่านตื้อนี่ ต่อไปจะเป็นผู้มีชื่อเสียงหลาย องค์หนึ่ง” และก็เป็นจริงตามนั้น

    หลวงปู่อวน ปคุโณ เล่าว่า ช้างยังกลัวหลวงปู่ทองรัตน์ ครั้งหนึ่งท่านธุดงค์ไปทางฝั่งลาว ไปพักปักกลดที่ป่าช้าดอนเจ้าปู่ บ้านนาขาม ช่วงนั้นมีนายฮ้อยควานช้าง นำช้าง ๑๖ เชือก เดินทางมาจากเขตคำม่วน เพื่อนำไปขายทางเวียงจันทน์

    เมื่อนำช้างมาถึงป่าช้าดอนเจ้าปู่ ช้างทั้งหมดไม่ยอมเดินทางต่อจะบังคับอย่างไรก็ไม่ได้ผล แม้จะถูกตีอย่างไรก็ได้แต่เอางวงกอดต้นไม้ไว้แน่น ไม่ยอมไป

    พวกนายฮ้อยช้าง ต้องไปหาพ่อเฒ่าจ้ำ หมอผีรักษาป่าช้าให้มาช่วยแต่งขัน ดอกไม้ธูปเทียน เพื่อขอขมาเจ้าปู่ ก็ไม่ได้ผล ทำวิธีอื่นๆ หลายวิธีก็ไม่สำเร็จ จนในที่สุดก็ไปขอให้ หลวงปู่ทองรัตน์ ช่วย.
    (มีรายละเอียดการสนทนาเยอะ).. ในที่สุดหลวงปู่ทองรัตน์ บอกว่า “มันแค่หิวหญ้าเท่านั้นแหละ กลับไปเถอะไม่มีปัญหาอะไรแล้ว”

    เมื่อพวกนายฮ้อยช้าง กลับไปดูก็เห็นช้างกำลังกินใบไผ่และเชื่อฟังควาญแต่โดยดี จึงเชื่อว่าเป็นด้วยอำนาจจิตของท่าน

    หลวงปู่ทองรัตน์ ได้เล่าประสบการณ์การภาวนาที่ภูเขาลูกหนึ่งว่า ขณะที่เดินจงกรมอยู่ ได้มีใบไผ่ร่วงลงมาตรงทางเดินมากมาย แล้วเกิดเป็นลมหมุน อากาศกลายเป็นน้ำ ใบไผ่กลายเป็นปลาหลดมากมายแหวกว่ายอยู่ นิมิตเช่นนี้เกิดอยู่นาน

    หลวงปู่จึงตะโกนคนเดียวว่า
    “ใบไผ่ผีบ้า หน้าหมา โคตรพ่อโคตรแม่มึง มึงตั๋ว (หลอก) กู ใบไผ่กะเป็นใบไผ่ อากาศกะเป็นอากาศ มึงอย่ามาตั๋วกู สิ่งได๋เกิด สิ่งนั้นกะดับ” ท่านพูดซ้ำๆ ว่า “สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นก็ดับๆ ๆ ” ปรากฏว่านิมิตนั้นค่อยหายไป ใบไผ่ก็เป็นใบไผ่ อากาศก็เป็นอากาศตามปกติ

    หลวงปู่มั่น ให้ความเชื่อถือหลวงปู่ทองรัตน์มาก ถึงกับให้ท่านเป็นผู้คอยตรวจตราพระเณรที่ออกนอกลู่นอกทางจากพระธรรมวินัย พระเณรบางพวกจึงไม่ชอบท่าน ไม่กล้าเผชิญหน้าท่าน

    มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลวงปู่มั่นปรารภกับหลวงปู่ทองรัตน์ว่า
    “ทองรัตน์เดี๋ยวนี้พระเณรเราไม่เหมือนเก่าแล้วนะ เครื่องใช้ไม้สอย สบู่ อะไรต่ออะไรมันหอมเกินวิสัยสมณะที่จะใช้ ไม่รู้จะแก้อย่างไร!”

    อยู่มาวันหนึ่ง มีกลุ่มพระภิกษุ ๒-๓ รูป เดินผ่านท่าน กลิ่นสบู่หอมจนเตะจมูกเหมือนกับหลวงปู่พูดจริงๆ หลวงปู่ทองรัตน์ จึงตะโกนเสียงดังว่า
    “โอ้ย ! หอมผู้บ่าวโว้ยๆ ๆ ” (หอมพวกหนุ่มๆ โว้ย) ทำให้พระกลุ่มนั้นรีบหลบไม่กล้าสู้หน้าท่าน

    หลวงปู่กิ ธมฺมุตฺตโม เล่าว่า หลวงปู่ทองรัตน์ได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ พระเณรต่างทำความเพียรอย่างหนัก วันหนึ่งมีพระรูปหนึ่งเอะอะโวยวายด้วยความดีใจ คิดว่าท่านเองเหาะได้ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ พูดบอกว่า
    “เอาแหม้ (เอาซิ) ทองรัตน์ เอาแหม้” หลวงปู่ทองรัตน์ เดินตรงไปยังพระองค์นั้น อัดกำปั้นใส่กกหูเต็มแรง พระองค์นั้นถึงกับล้มไปกองที่พื้น รู้สึกค่อยส่างได้สติกลับคืนมา

    หลวงพ่ออวน ปคุโณ เล่าว่า นอกจากหลวงปู่ทองรัตน์ จะได้รับมอบหมายหน้าที่ ให้ควบคุมดูแลพระเณรที่ปฏิบัติร่วมกันในสำนักหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น แล้ว ท่านยังเป็นผู้เตือนสติพระเณรผู้กำลังพลั้งเผลอต่อพระธรรมวินัย ซึ่งผลตามมาจะเป็นความเศร้าหมองของพระเณรเอง

    มีบ่อยครั้งที่พระเณรที่เข้าศึกษาปฏิบัติธรรมกับ พ่อแม่ครูอาจารย์ทั้งสอง ด้วยประสงค์ได้รับรสพระธรรม จากหลวงปู่ใหญ่ทั้งสององค์ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ แต่บางครั้ง องค์หลวงปู่ ก็ทรมานพระเณรเหล่านั้น โดยไม่อบรม ไม่เทศน์ จนพระเณรเหล่านั้นทนไม่ไหวจึงไปกราบเรียนหลวงปู่ทองรัตน์

    หลวงปู่ทองรัตน์ ถามพระเณรเหล่านั้นว่า
    “อยากฟังอีหลีบ้อ?” (อยากฟังจริงๆ หรือ) พระเณรเหล่านั้นบอกว่า “พวกขะน้อยมาปฏิบัติกับพ่อแม่ครูอาจารย์ตั้งดน (นาน) บ่เห็นครูอาจารย์เพิ่นสอนอีหยัง จนขะน้อยสิใจออกหนีเมื่อแหล่วไล้ขะน้อย (คิดจะเปลี่ยนใจจะลากลับแล้ว)”

    หลวงปู่ทองรัตน์ รับปากพระเณรเหล่านั้นว่า
    “บ่ยากตั๋ว เดี๋ยวเมื่อแลงกะได้ฟังเทศน์เพิ่น” (ไม่ยากหรอก เดี๋ยวตอนเย็นก็ได้ฟังท่านเทศน์)

    พอถึงเวลาออกบิณฑบาตเช้าวันนั้น มีโยมเอาแตงกวาใส่บาตร หลวงปู่ทองรัตน์ เดินตามหลังหลวงปู่มั่น พอได้จังหวะ ท่านก็ล้วงแตงกวาขึ้นมาเคี้ยวกิน เมื่อหลวงปู่มั่น หันมาดู ท่านก็ปิดปากทำไม่รู้ไม่ชี้ หลวงปู่มั่น หันกลับมาดู ท่านก็ปิดปากเฉยอีก

    พอตกเย็นก็ได้เรื่อง คือหลวงปู่มั่นได้เทศน์ให้พระเณรฟังสมปรารถนา

    มีอีกคราวหนึ่ง พระเณรคนละกลุ่มอยากฟังเทศน์หลวงปู่มั่นเช่นเดียวกัน หลวงปู่ทองรัตน์ รับปากว่าจะช่วย กลางวันวันนั้น ท่านไปต่อยมวยชกลม อยู่ใต้ถุนกุฏิหลวงปู่มั่น ทำเสียงฟุดฟัดๆ อยู่จนกระทั่งแน่ใจว่าหลวงปู่มั่นท่านเห็นและได้ยินแล้ว

    ตกเย็นวันนั้น ได้ผลตามคาดหมาย หลวงปู่มั่นท่านเทศน์ให้พระเณรฟังอย่างเต็มอิ่ม ทำให้พระเณรยกย่องหลวงปู่ทองรัตน์ว่า มีความกล้าหาญเป็นเลิศ เพราะไม่มีพระเณรองค์ไหนกล้าทำเช่นนั้น ยิ่งทำกับพ่อแม่ครูอาจารย์ อย่างหลวงปู่มั่นแล้วยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย

    เล่ากันว่า ควายป่าก็ยังขยาด คือมีครั้งหนึ่งหลวงปู่ทองรัตน์ ได้ออกธุดงค์ไปกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ และหลวงปู่มั่นโอกาสเช่นนี้หายากมาก

    ระหว่างทางจากตัวเมืองไปบ้านสามผง ต้องผ่านป่าทึบและเดินผ่านโป่งที่สัตว์ป่าลงมากินดินโป่งตอนบ่ายแก่ๆ ปรากฏว่ามีควายป่าตัวเขื่องยืนจังก้า ขวางทางด้วยท่าทางไม่เป็นมิตร ไวอย่างไม่มีใครคาดถึง หลวงปู่ทองรัตน์วิ่งรี่เข้าหา แล้วยกเท้าถีบสีข้างควายตัวนั้นเต็มแรงดังตึ้บ ควายตั้งตัวไม่ทัน วิ่งหนีไป ตัวอื่นๆ ก็วิ่งหนีตามไปด้วย

    เรื่องนี้หลวงปู่กิ ธมฺมุตฺตโม เล่าให้พระครูกมลภาวนากร
    (หลวงพ่อสีทน กมโล เจ้าอาวาสวัดภูหล่น) ฟัง แล้วท่านพระครูฯ เป็นผู้ถ่ายทอดต่อ ว่า : -

    หลวงปู่ทองรัตน์ ได้ออกธุดงค์ไปกับหลวงปู่มั่น ระหว่างทางต้องปีนเขา พระเณรขออาสาสะพายบาตรให้ แต่หลวงปู่มั่นบอกว่าจะสะพายเอง หลวงปู่มั่น เดินออกหน้า พระเณรต่างไต่เขาตามหลังท่านเว้นระยะพอสมควร

    เดินไปได้ครึ่งทาง เกิดอุบัติเหตุ บาตรหลวงปู่มั่นหลุดจากบ่าแล้วตกรูดลงมาตามเขา ผ่านพระเณรที่ตามหลังมา ทุกองค์ต่างยืนดูเพราะไม่รู้จะทำอย่างไร ใช้มือจับก็ไม่ทัน จะใช้เท้าก็เป็นการไม่เคารพครูอาจารย์ ทุกองค์ยืนงงกันหมด

    บาตรตกมาใกล้หลวงปู่ทองรัตน์ ท่านใช้เท้าเหยียบสายบาตรไว้ได้ทัน

    จากเหตุการณ์นั้น หลวงปู่มั่น พูดว่า
    “เออ ! บ่มีผู้ได๋สิคิดซอยครูบาอาจารย์ดอก ทองรัตน์” (ไม่มีใครคิดช่วยอาจารย์หรอก ทองรัตน์)

    หลวงปู่ทองรัตน์ในวัยหนุ่มท่านมีนิสัยไปทางนักเลง ชอบดื่มเหล้าเกเรเกกมะเหรกพอสมควร แต่ท่านก็มีความรับผิดชอบสูง ถ้าดูนิสัยท่านเปรียบได้กับม้าพยศ เมื่อได้รับการฝึกฝนแล้วกลับกลายเป็นม้าศึกหรือม้าอาชาไนยที่วิเศษยิ่ง (อันนี้ผมพูดเอง)

    เรื่องราวของท่านมีมากมาย ล้วนแต่มีสาระและน่าสนใจ ถ้าดูบุคลิกภายนอกแล้วท่านเป็นพระที่ไม่ค่อยสงบเสงี่ยมเท่าไรนัก แต่เรื่องพระธรรมวินัยท่านเคร่งครัดและละเอียดเป็นอย่างยิ่ง

    (จะขอเสนออีกตอน เป็นเรื่องราวสมัยที่ท่านไปอยู่บ้านชีทวนตามบัญชาของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะครับ)
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่ทองรัตน์ทีบ้านชีทวน


    ท่านผู้อ่านคงจำได้ ก่อนที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ จะเดินทางออกจากนครพนม เพื่อกลับจังหวัดอุบลฯ ภูมิลำเนาของท่าน ท่านได้มอบหมายภาระให้ลูกศิษย์อาวุโสแต่ละองค์ หลวงปู่ใหญ่เองท่านจะไปอยู่ที่บ้านข่าโคม บ้านเกิดของท่าน

    สำหรับหลวงปู่ทองรัตน์นั้น หลวงปู่ใหญ่ให้ไปอยู่บ้านชีทวน คำพูดของหลวงปู่ใหญ่แปลเป็นภาษากลางว่า “ท่านทองรัตน์ เมื่อไปถึง (อุบลฯ) ให้ไปจำพรรษาอยู่บ้านชีทวน ที่นั่นผมเคยไปอยู่ เป็นที่สำคัญคนที่มีความฉลาดมีมาก คนดีก็มีเยอะ คนขี้ฮ้าย (เกเร) ก็มีมาก ให้คนอื่นไปอยู่ไม่ได้...เมื่อไปถึงให้ไปรวมกันในตัวเมืองอุบลฯ ก่อน”

    เมื่อแบ่งงานกันแล้ว ศิษย์แต่ละหมู่ก็แยกย้ายกันเดินทางไป เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ไปถึงบ้านข่าโคม (พ ศ.๒๔๘๐) ได้มีญาติโยมจากบ้านชีทวนมากราบนมัสการ พร้อมกับพยายามนิมนต์ให้หลวงปู่ใหญ่ ไปจำพรรษาที่บ้านชีทวน แต่หลวงปู่ใหญ่บอกว่า ท่านไปไม่ได้เพราะรับนิมนต์ชาวบ้านข่าโคมไว้แล้ว

    ญาติโยมจากบ้านชีทวนพยายามอ้อนวอนให้หลวงปู่ใหญ่จัดพระองค์ไหนไปอยู่ก็ได้ เพราะพวกเขาศรัทธาพระสายกรรมฐานที่เคยไปสอนชาวบ้านเอาไว้แล้ว

    หลวงปู่ใหญ่บอกว่า
    “ถ้าจะเอาพระไปเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้ เพราะพระยังไม่มา”

    ชาวบ้านเห็นว่าพระเณรที่บ้านข่าโคมมีตั้งเยอะ อีกแค่ ๓ วันก็จะเข้าพรรษาแล้ว จึงขอกับท่านว่า
    “หลวงปู่ขะน้อย พระอยู่ในวัด คือจั่งมีหลายองค์อยู่ แบ่งให้ไปก่อนบ่ได้บ่อ ขะน้อย”

    หลวงปู่ใหญ่ บอกว่า
    “บ้านชีทวนเป็นบ้านเจ้าคัมภีร์ใหญ่ตั๋ว ถ้าให้พระมะเขมะขาไปสิมีเรื่องกัน ถ้าสาก่อนจั๊กสองมื่อ (รอก่อนสักสองวัน) เพิ่นจั่งสิมาฮอด (พระท่านจึงจะมาถึง)”

    ในช่วงนั้นไม่ทราบว่า หลวงปู่ทองรัตน์ อยู่ที่ไหน แต่เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ว่าอย่างนั้นชาวบ้านก็ดีใจ และกราบอำลาไปจัดแจงกุฏิ และทำความสะอาดวัด รอพระที่จะมาอยู่จำพรรษาให้

    เมื่อครบ ๒ วัน ญาติโยมบ้านชีทวนก็มาทวงพระตามที่หลวงปู่ใหญ่บอกไว้ หลวงปู่ชี้ไปที่หลวงปู่ทองรัตน์ ซึ่งนั่งคู่กับหลวงปู่กิว่า
    “นั่นเด พระที่เพิ่นจะไปอยู่กับพวกหมู่เจ้า”

    หลวงปู่ใหญ่ จึงบอกให้ หลวงปู่ทองรัตน์ กับพระอีก ๓ องค์ ไปอยู่บ้านชีทวนพร้อมกับชาวบ้านที่มารับ และบอกให้หลวงปู่กิ กับพระอาจารย์กอน และพระอาจารย์บัญชี ไปอยู่บ้านโพนงาม ต.หนองบ่อ อ.เมือง จ.อุบลฯ

    ทางด้านหลวงปู่ทองรัตน์ ท่านต้องเจอปัญหาที่บ้านชีทวนอย่างสาหัสสากรรจ์ที่สุด อย่างที่หลวงปู่ใหญ่บอกไว้ไม่ผิด ซึ่งชาวบ้านพูดภายหลังว่า
    “ปัญหาแต่ละอย่าง ถ้าไม่ใช่ครูบาจารย์ทองรัตน์ คงจะอยู่ไม่ได้ เพราะมันหนักมากในการแก้ทิฏฐิคน”

    ปัญหาอันดับแรกที่หลวงปู่ทองรัตน์ ไปถึงบ้านชีทวน พบว่าชาวบ้านแบ่งแยกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเป็นฝ่ายต่อต้านอย่างรุนแรง เป็นฝ่ายของอดีตพระมหา และผู้เคยบวชเรียนมีความรู้สูง ซึ่งมีความเห็นว่า
    “เป็นพระเป็นเจ้าไปอยู่ป่า นั่งหลับหูหลับตาสิเห็นหยัง แม้แต่คนตาดีๆ มืนตาเบิ่งมันยั๋งบ่เห็น (แม้คนตาดีๆ ลืมตาดู มันยังไม่เห็น)”

    อีกฝ่ายเป็นฝ่ายศรัทธาพระป่า พูดถึงฝ่ายแรกว่า
    “ซ่างเขาคนเขาเว่าเขาบ่เห็นนำเฮา” (ช่างเขา พวกเขาพูดอย่างนั้นเพราะเขาไม่เห็นด้วยกับเรา)

    หลวงปู่ทองรัตน์ใช้สรรพนามแทนตัวท่านว่า ลูก พูดกับญาติโยมว่า พ่อ แม่ ทุกคน ท่านบอกว่า
    “ที่ใช้คำพูดอย่างนั้น ต้องการหัดให้ลูกเขารู้จักพูดกับพ่อแม่ด้วยคำพูดที่สุภาพ” เพราะเห็นว่าเด็กใช้คำว่า “อี” นำ เมื่อพูดกับผู้ใหญ่ เช่น อีพ่อ อีแม่ เรียกพี่ผู้ชายกว่า บักนั่น บักนี่ เรียกพี่สาวก็ว่า อีนั่น อีนี่ ฟังดูแล้วไม่น่ารัก

    หลวงปู่ทองรัตน์มีเรื่องกับกลุ่มผู้หญิงที่มาตักน้ำในบ่อของวัด โดยท่านจัดหาถังน้ำส่วนกลางไว้ให้ แต่ชาวบ้านไม่ยอมใช้ จะใช้ครุ (ถังน้ำสานด้วยไม้ไผ่ แล้วใช้ชันทาไม่ให้น้ำรั่วซึม) ของตนเอง เมื่อหลวงปู่เห็นก็บอกว่า
    “แม่เอ๊ย อย่าเอาครุลงตักน้ำในส่าง (บ่อ) เด้อ ให้เอาครุที่ลูกหาให้ นั้นตัก”

    พวกโยมกลุ่มที่ต่อต้านก็พูดโจมตีต่อๆ กันว่า หลวงปู่ทองรัตน์หวงน้ำบ่อ พระที่เคยมาอยู่ก่อนไม่เห็นใครเป็นอย่างนั้น ซึ่งท่านก็ให้คำอธิบายว่า.เมื่อพวกแม่เอาครุ (ที่มี) คาวปูคาวปลามาตักน้ำในบ่อ เมื่อพระเจ้าพระสงฆ์ไปตักน้ำมากินมาฉัน เพิ่นก็เป็นอาบัติตั๋วพ่อ แม่


    คือพวกชาวบ้านชอบเอาครุใส่ปูใส่ปลา แล้วเอามาใช้ตักน้ำบ่อกลิ่นคาวก็ติดอยู่ในน้ำ เมื่อพระตักน้ำมาฉันก็ทำให้พระอาบัติ ชาวบ้านก็เข้าใจ เรื่องนี้ก็จบไป



    ก่อนมาบ้านชีทวน หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้กำชับว่าบ้านชีทวนนี้เป็นบ้านที่มีการศึกษามาก เป็นมหาก็เยอะ เรื่องที่จะไปพูดเฉยๆ ไม่มีอุบาย จึงยากที่คนเหล่านั้นจะเชื่อ เคยส่งพระไปอยู่แล้ว ต้องหันหลังกลับอย่างไม่เป็นท่า เพราะถูกลองภูมิ แม้แต่องค์หลวงปู่ใหญ่ก็เคยถูกลองดีมาแล้ว ถ้าบ่แม่นท่านทองรัตน์ บ่มีไผสิเอาอยู่

    หลวงปู่ทองรัตน์ ยังไปกราบหลวงปู่ใหญ่ และขอรับอุบายจากท่านอยู่บ่อยๆ

    ในระหว่างพรรษา หลวงปู่ใหญ่ ให้พระลูกศิษย์ทั้งมหานิกายและธรรมยุต ที่ไปจำพรรษาในที่ต่างๆ ในละแวกนั้นมารวมลงอุโบสถด้วยกันที่ วัดป่าหนองอ้อ บ้านข่าโคม ที่หลวงปู่ใหญ่พำนักอยู่

    ต่อมาพระผู้ใหญ่ทางเมืองหลวงทราบเรื่องนี้ จึงได้แจ้งมายังหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ห้ามไม่ให้พระทั้งสองนิกายลงอุโบสถทำสังฆกรรมรวมกัน ท่านจึงบอกว่า
    “ถ้าทางการเขาให้รวมกัน ก็ให้ลูกศิษย์แต่ละวัดทำอุโบสถกันเอง เมื่อมีงานจึงมาร่วมปรึกษาประชุมกัน”

    หลวงปู่ทองรัตน์พยายามสอนให้ชาวบ้านรู้จัก เสียสละทาน รู้จักใส่บาตรกัน ซึ่งชาวบ้านกลุ่มต่อต้านก็หาว่าท่านเป็นพระขี้ขอ

    เช่น บ้านที่เคยใส่บาตร แต่คิดว่าพระยังไม่มา หรือมองไม่เห็น ท่านก็จะยืนรอจนกว่าโยมจะเห็นแล้วลงมาใส่บาตร แล้วจึงไปบ้านอื่นต่อ

    เมื่อฝนตก ท่านก็บอกชาวบ้านว่า
    “แม่บ่ต้องลงมาหรอก มันเปียก ลูกสิไปรับเอง” คนที่ไม่ชอบก็รังเกียจท่าน หาว่าท่านเป็นพระขี้ประจบ

    ถ้าบ้านไหนไม่เคยใส่บาตร ท่านก็พูดขอตรงๆ จนเจ้าของบ้านนำอาหารมาใส่บาตรให้ พอกลับจึงวัดท่านก็คัดแยกอาหารนั้นออก ไม่นำมาฉัน เพราะเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ได้มาจากการเอ่ยปากขอ พระฉันแล้วต้องอาบัติ

    ท่านต้องไปขออาหารบ้านนั้นทุกวัน จนกระทั่งเจ้าของบ้านมาใส่บาตรเอง ท่านจึงเลิกพูดขอ

    บางครั้งเห็นกล้วยสุกคาต้น ท่านก็พูดกับโยมว่า
    “แม่ กล้วยมันสุกคาเครือ บ่อยากได้บุญบ้อ คั่นอยากได้กะเอามาใส่บาตรตี้” แล้วท่านก็ยืนรอจนกว่าโยมจะไปตัดกล้วยเครือนั้นมาใส่บาตร เมื่อถึงวัดแล้วท่านก็ไม่ฉันกล้วยนั้น

    เมื่อเป็นอย่างนี้ ชาวบ้านกลุ่มต่อต้านก็แปลเจตนาของท่านว่าเป็นพระขี้ขอ ทำตัวไม่เหมาะสม แต่ท่านก็ไม่สนใจกับเสียงโจมตีนั้น

    วันหนึ่งมีโยมบ้านหนึ่ง เอาไม้ค้อนสำหรับตอกสิ่วใส่บาตรให้ท่าน พอกลับจึงวัดท่านก็บอกพระเณรว่า

    “โยมเขาคือสิคิดว่า ทางวัดป่าบ่มีค้อนตอกสิ่ว เขาเลยใส่บาตรให้”

    วันต่อมา เจ้าของบ้านที่ตักบาตรด้วยค้อน ก็นำอาหารห่อใบตองห่อใหญ่ใส่ลงในบาตร พอถึงวัด หลวงปู่คัดแยกอาหารดิบ อาหารไม่บริสุทธิ์ อาหารที่ไม่ควรฉันออกไป แล้วค่อยๆ หยิบห่อใบตองห่อใหญ่ขึ้นมาค่อยๆ แกะ เพราะไม่รู้ว่าข้างในเป็นน้ำหรือเนื้อ

    อย่างที่ไม่คาดคิด กลายเป็นกบตัวใหญ่ กระโดดแผล็วออกมา ท่านรีบตะครุบจับไว้ได้ แล้วก็พูดกับกบว่า
    “โอ ! ถ้าเขาไม่เอาเจ้ามาใส่บาตรให้พ่อ เจ้าก็ต้องไปลงหม้อต้มเขาแล้วหนอ” แล้วท่านก็ให้เณรนำไปปล่อย

    สาธุ ! กบรอดตายก็เพราะบาตรพระแท้ๆ

    วันต่อมาท่านก็ออกไปบิณฑบาตตามปกติ โยมคนเดิมคงจะแอบขำในใจ แต่ท่านก็ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น วันนี้เขามีกระดาษจดหมายใส่ลงในบาตร

    พอกลับจึงวัดก็รู้ว่าเป็นจดหมายโจมตีท่าน ท่านก็ห่มจีวรเรียบร้อยพาดสังฆาฏิ ยื่นจดหมายให้เณรอ่าน บอกว่า
    “เอ้า ลูกอ่าน อมฤตธรรมแน่ นี่เทวดาเขาใส่บาตรมา หาฟังยากตั๋ว”

    เณรก็อ่านจดหมายต่อหน้าพระเณรที่นั่น หลวงปู่ท่านนั่งประนมมือตั้งใจฟังอย่างสำรวม ใจความในจดหมายว่า

    “พระผีบ้า เป็นพระเป็นเจ้าไม่สำรวม ไม่มีศีล ไม่มีวินัย ประจบสอพลอ ขอของจากชาวบ้าน พระแบบนี้ถึงจะเหาะเหินเดินอากาศได้ ก็ไม่นับถือว่าเป็นพระ ให้ออกจากวัดไป ถ้าไม่ไปจะเอาลูกตะกั่วมาฝาก”

    พอเณรอ่านจดหมายจบ ท่านก็จบมือขึ้น เปล่งวาจาว่า
    [SIZE=5]“สาธุ ! “ จนพระเณรทั้งวัดได้ยินทั่วถึง แล้วท่านก็พูดว่า “เอ้า เก็บได้ ไว้ที่แท่นบูชาเด้อ โลกธรรมแปดมันนี่เอง แต่ก่อนได้ยินแต่ชื่อว่า มีลาภ-เสื่อมลาภ มียศ-เสื่อมยศ มีสรรเสริญ-มีนินทา มีสุข-มีทุกข์ โอ้ย ! ของดีตั๋วนี้สาธุ ! พ่อได้ฟังแล้ว แก่นธรรมเพิ่งมามื่อนี่ (วันนี้) เอง เก็บไว้ เก็บไว้”[/SIZE]
    [SIZE=5][/SIZE]
    [SIZE=5]หลวงปู่ทองรัตน์ ออกไปบิณฑบาตตามปกติไม่แสดงอาการโกรธเคืองหรือไม่พอใจใดๆ ทั้งสิ้น[/SIZE]
    [SIZE=5][/SIZE]
    [SIZE=5]๒[/SIZE]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]-๓ วันต่อจากนั้น ครอบครัวของโยมคนนั้นเกิดวุ่นวาย ผัวเมียตบตีกัน ฝ่ายผัวมีอาการคลุ้มคลั่งหวาดระแวงกลัวจะมีคนตามฆ่า ต้องไปหลบซ่อนตัวอยู่ในป่า ญาติพี่น้องต้องนำตัวมากราบขอขมาท่าน ท่านก็บอกว่าท่านไม่ได้โกรธเคืองและทำอะไรเขา การเป็นไปทุกอย่างขึ้นอยู่กับการกระทำของตนเองทั้งนั้น[/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]สุดท้ายหลวงปู่ทองรัตน์ ก็เทศน์ให้ฟังถึงโทษและกรรมของการใส่ร้ายคนอื่น แล้วบอกให้ญาตินำกลับไปบ้าน โยมคนนั้นก็กลับมีอาการปกติ[/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]ต่อมาภายหลังได้สำนึกผิด ได้เข้าไปกราบขอขมาโทษ และไปอยู่เฝ้าอุปัฏฐากหลวงปู่ทองรัตน์ทุกวัน แม้ต่อมาหลังจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์มรณภาพแล้ว ท่านย้ายไปตั้งวัดป่าบ้านคุ้ม โยมคนนี้ก็ยังตามไปอุปัฏฐากรับใช้ หลวงปู่เรียกโยมคนนี้ว่า [/SIZE][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5]“หมาแก้ว” แต่คนทั่วไปเรียก“อาจารย์มหาแก้ว” เพราะเคยบวชเรียนเป็นเปรียญ ๔-๕ ประโยค[/SIZE][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]เรื่องการกลั่นแกล้งโจมตีลองดีจากชาวบ้านมีมากมาย ผมนำมาเล่าเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้านชีทวนเคยถามท่านว่า [/SIZE][/FONT][/FONT][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5]“ท่านถูกแกล้งถูกโจมตีทุกวัน ท่านไม่โกรธไม่แค้นเขาบ้างหรือ ถ้าเป็นคนอื่นเขาคงจะหนีไปนานแล้ว”[/SIZE][/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [/FONT][B][SIZE=4][COLOR=purple]หลวงปู่ทองรัตน์ ได้ตอบว่า “ถ้าไทบ้านชีทวนบ่ไห่นำสิบ่หนี”หมายความว่า ถ้าชาวบ้านชีทวนไม่ร้องไห้คิดถึงแล้ว ท่านจะไม่หนีไปไหน ซึ่งก็เป็นความจริงเช่นนั้นในตอนท้าย[/COLOR][/SIZE][/B]

    [B][SIZE=5][/SIZE] [/B]

    [FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5]พูดถึงฝ่ายชาวบ้านที่กลั่นแกล้งโจมตีท่าน ต่างประสบเหตุการณ์ที่ไม่ดีกันแทบทุกบ้าน ทุกคน ต่างพากันสำนึกและกลับมากราบขอขมาท่าน กลายมาเป็นฝ่ายสนับสนุนท่านเป็นอย่างดี[/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]ผมขอกล่าวถึงการต่อต้านจากทางฝ่ายสงฆ์บ้าง ซึ่งก็ไม่เบาไปกว่าฝ่ายชาวบ้านเลย ทั้งกล่าวโจมตีและยุยงชาวบ้านให้เกลียดชังท่านต่างๆ นานา[/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]ทางฝ่ายพระได้ส่งพระมหารูปหนึ่งชื่อ [B][COLOR=navy]อาจารย์สี[/COLOR][/B] ได้ชื่อว่าเป็นพระที่เคร่งวินัย และรู้เรื่องวินัยดีมาก ยอมตัวมาอยู่เพื่อจับผิดท่านนานถึง ๓ ปี แต่หาข้อผิดของหลวงปู่ทองรัตน์ไม่ได้ แม้แต่อาบัติเล็กน้อยก็ไม่พบ[/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]วันหนึ่งหลวงปู่เห็นพระมหารูปนั้นนั่งอยู่ใกล้ พอจะมองเห็นรางปัสสาวะได้ชัด หลวงปู่ทองรัตน์จึงไปนั่งปัสสาวะที่รางนั้น แล้วบ้วนน้ำลายลงในราง[/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]ทางพระมหาลุกขึ้นมาต่อว่าทันที [/SIZE][/FONT][/FONT][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5]“ไหนท่านว่าเคร่งวินัย ทำไมถึงบ้วนน้ำลายลงรางปัสสาวะ ไม่รู้หรือว่ามันผิดวินัย?”[/SIZE][/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]หลวงปู่ทองรัตน์ ตอบกลับไปว่า [/SIZE][/FONT][/FONT][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5]“ผมสงสารท่านที่มาคอยจับผิดผมตั้ง ๓ ปี ถ้าท่านว่าผมผิด แล้วท่านซ่อนอะไรไว้ให้อาสนะที่นั่งของท่าน ท่านไม่รู้หรือว่าศัสตรานั้นมันคู่ควรกับสมณะหรือเปล่า?”[/SIZE][/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]ท่านมหาถึงกับหน้าถอดสี คิดไม่ถึงว่าหลวงปู่ทองรัตน์รู้ได้อย่างไรว่าตัวท่านซ่อนมีดไว้ใต้อาสนะ[/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]โบราณว่า ไม่ได้ด้วยเล่ห์ ต้องเอาด้วยกล ปรากฏว่ามีการร้องเรียนกล่าวโทษหลวงปู่ทองรัตน์ไปถึงพระผู้ใหญ่ฝ่ายปกครอง ว่าท่านทำตัวไม่เหมาะสม ประจบเอาใจและชอบขอของจากชาวบ้าน[/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]ทางสงฆ์ได้ส่งคณะกรรมการจากในเมืองมาสอบสวน พระเถระฝ่ายปกครองถามข้อกล่าวหาแต่ละข้อว่า ที่เขากล่าวหานั้นมัน [/SIZE][/FONT][/FONT][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5]“ถูกไหม” หลวงปู่ทองรัตน์ ประนมมือแล้วตอบว่า “โดย ขะน้อย” คือตอบว่า “ขอรับกระผม” ทุกข้อกล่าวหา[/SIZE][/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]พระเถระถามว่า [/SIZE][/FONT][/FONT][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5]“เมื่อเป็นอย่างนี้ จะมีข้อแก้ตัวอย่างไร ท่านทองรัตน์?”[/SIZE][/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]หลวงปู่ทองรัตน์ กราบเรียนว่า [/SIZE][/FONT][/FONT][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5]“ภิกขุ คือใคร ถ้าแปลออกมาก็คือผู้ขอไม่ใช่หรือ ที่ขอก็เพราะไม่มี ถึงขอ ถ้าไม่ขอก็หาอยู่กินเอง เขาก็เรียกคฤหัสถ์ญาติโยม เท่านั้นแหละ ถ้าว่าการกระทำของกระผมผิด จะฆ่าจะแกงกระผมก็ยอม”[/SIZE][/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]หลวงปู่ทองรัตน์ ได้อธิบายถึงเหตุผลและอุบายให้ฟังจนพระเถระเหล่านั้นพอใจ ไม่สามารถเอาผิดกับท่านได้[/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]หลังจากหลวงปู่ทองรัตน์ เป็นที่เคารพรักของชาวบ้านชีทวนแล้ว ชาวบ้านหลายคนแสดงความจำนงถวายที่ดินและพร้อมใจกันสร้างวัดถวายท่าน แต่ท่านไม่อยากให้สร้างวัดให้ท่านอีก ท่านพูดว่า [/SIZE][/FONT][/FONT][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5]“ไม่ต้องสร้างวัดหรอกพ่อ นาของลูกมีแล้ว นาแปลงนี้ยังไงล่ะ !” พร้อมกับชี้ไปที่บาตรของท่าน ซึ่งตลอดชีวิตการเป็นพระของท่าน ท่านมีบาตรใบนี้ใบเดียวเท่านั้น[/SIZE][/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]หลวงปู่ทองรัตน์ ท่านเป็นพระที่เทศน์เก่ง สอนเก่ง หลังจากท่านเป็นที่รู้กันดีแล้ว ที่วัดพระธาตุสวนตาลได้นิมนต์ท่านไปเทศน์ ๒ ธรรมาสน์ คู่กับ เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน มีประชาชนศรัทธาไปฟังจำนวนมากหยอดเงินถวายกัณฑ์เทศน์คนละ ๑ สตางค์บ้าง ๕ สตางค์บ้าง ได้รวมกันแล้วเป็นเงินร่วม ๒,๐๐๐ บาท ได้แบ่งเป็น ๒ ส่วน ท่านเจ้าคณะฯ รับส่วนถวายของท่านไปทั้งหมด ในขณะที่หลวงปู่ทองรัตน์ถวายคืนแก่วัดพระธาตุสวนตาลทั้งหมดเหมือนกัน[/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]เงินกัณฑ์เทศน์ครั้งนั้นถือว่าสูงมากเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่เงินเดือนครูประชาบาลแค่ ๘บาท และข้าวสารเหนียวชั้นหนึ่ง ๑๐๐ ก.ก. กระสอบละ ๙ บาท เท่านั้น[/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]หลวงปู่ทองรัตน์ เข้มงวดกวดขันในการสอนพระเณรมาก อาบัติเล็กน้อยท่านก็ไม่ละเว้น ตัวอย่างการสอนพระเณร มีดังนี้ : -[/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]“พระพุทธเจ้า ท่านทำทางเดินไว้ให้เราเดินแล้ว พระอริยเจ้าพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านก็เดินตามทางที่พระพุทธองค์ทำไว้ แนะนำไว้แล้วทุกพระองค์ ถ้าเราได้ศึกษา ได้ปฏิบัติตาม เราก็จะพบทางเดินไปมรรค ผล นิพพานได้เหมือนพระอรหันต์ ๘๐ องค์นั้นเหมือนกัน เว้นแต่ผู้ประมาท ผู้ขี้เกียจ ผู้ไม่มีความเพียร ผู้หลงเดินตามกิเลส ก็จะไม่มีทางพ้นจากทุกข์ ไม่พ้นจากวัฏสงสาร เกิด ตาย ทุกข์โศก โรคภัยอยู่อย่างนี้นับภพนับชาติไม่ถ้วน [/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]ใครมาบวชปฏิบัติในสำนักนี้ ให้มีความพากเพียรนั่งสมาธิเดินจงกรม อย่าให้น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง วันหนึ่งกับคืนหนึ่งให้กิเลสเอาไป๒๑ ชั่วโมง[/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]ถ้าทำความเพียร ทำจิตให้สงบจากกิเลสได้ไม่ถึง ๓ ชั่วโมงต่อวันเป็นอย่างน้อย ออกพรรษาให้สึกออกไปช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา ช่วยพ่อแม่ประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว ดีกว่ามาบวชไม่มีความเพียร ทำความเพียรน้อยกว่า ๓ ชั่วโมง เอาชนะกิเลสไม่ได้หรอก[/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Cordia New][SIZE=5]มรรคผลนิพพานโน่น อยู่ฟากตายโน้น ต้องกินน้อย นอนน้อย ขยันมาก อดทนมาก ไม่กลัวลำบาก ไม่กลัวกิเลส เอาชนะกิเลสให้ได้จึงจะเห็นมรรคผลนิพพาน...ฯลฯ[/SIZE][/FONT][/FONT][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5]”[/SIZE][/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New][SIZE=5][/SIZE][/FONT]
    [/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT]
    <TABLE id=table1 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=left>
    เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ หลวงปู่ทองรัตน์
    ที่วัดป่าบ้านคุ้ม อ วารินชำราบ
    จ อุบลราชธานี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ตัวอย่างการเทศน์สอนชาวบ้าน เช่น : “...ก่อนนอน ไหว้พระสวดมนต์ แล้วสมาทานศีลห้าด้วยตัวเอง สำรวจศีลห้า ข้อใดไม่บกพร่องแล้วดีใจ ปลื้มใจ ปีติยินดี

    บริกรรม พุทโธ เม นาโถ ธัมโม เม นาโถ สังโฆ เม นาโถ นอนด้วยความมีสติ หายใจเข้าภาวนาว่า พุท หายใจออกภาวนาว่า โธให้หลับไปด้วยอารมณ์ พุทโธ ฝันก็ฝันดี มีนิมิตก็มีนิมิตดี ตายไปก็ตายดี ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์แน่ ถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์อีก เกิดใหม่ก็จะดีกว่าเก่า...


    หลวงปู่ทองรัตน์ รักและเคารพหลวงปู่ใหญ่เสาร์มาก หลวงปู่ใหญ่สั่งว่าอยู่วัดป่าบ้านชีทวนอย่าไปไหน ท่านก็ไม่เคยออกจากวัดไปไหนเลย นอกจากไปกราบเยี่ยมหลวงปู่ใหญ่ ที่ท่านไม่ยอมไปไหนท่านบอกว่า
    “หลวงปู่ สั่งให้อยู่วัด ถ้าเกิดท่านมาเยี่ยมแล้วเราไม่อยู่เดี๋ยวจะไม่ดี”

    เมื่อคราวหลวงปู่ใหญ่เสาร์ เดินทางไปนครจำปาศักดิ์ ท่านก็ได้ติดตามไปด้วย หลวงปู่ใหญ่ได้มรณภาพที่นั่น หลวงปู่ทองรัตน์อยู่ประจำที่บ้านชีทวน ๖ ปี สอนชาวบ้านจนได้ผลแล้ว ท่านจึงย้ายไปสร้างวัดใหม่ที่วัดป่าบ้านคุ้ม แล้วท่านก็มรณภาพที่นั่น

    (ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวที่ย่อที่สุด ท่านที่ต้องการอ่านในรายละเอียดติดต่อขอหนังสือจากวัดหนองป่าพงได้ ชื่อหนังสือ “มณีรัตน์ อัญมณีแห่งไพรสณฑ์”)
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การเคลื่อนทัพพระกรรมฐานสู่อุบลฯ


    ผมเคยเกริ่นไว้แล้วในหัวข้อเรื่อง “มอบภาระและการจัดขบวนทัพ” ว่า ในการเคลื่อนย้ายคณะพระกรรมฐานสู่จังหวัดอุบลฯนั้น ถ้าพูดตามภาษาวิชาการสมัยใหม่ ต้องบอกว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่นท่านมีวิธีบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยมจริงๆ

    ขอย้อนกล่าวถึงกรณีของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เมื่อครั้งที่ท่านพาสานุศิษย์ที่เป็นพระเณรราว ๗๐-๘๐ องค์ เดินทางจากคำชะอี ไปส่งโยมมารดาที่อุบลราชธานี แล้วปลีกตัวจากหมู่คณะไปบำเพ็ญเพียรที่เชียงใหม่เมื่อปลายปี พ ศ ๒๔๗๐ นั้น

    หลวงปู่มั่นได้แบ่งศิษย์เอกเป็นคณะย่อยๆ คณะ ๕-๖ องค์ องค์อาวุโสเป็นหัวหน้าคณะ แล้วแยกย้ายทยอยกันไปเพื่อไม่ให้เป็นภาระหนักแก่ชาวบ้านในการต้อนรับเลี้ยงดูพระ

    องค์หลวงปู่มั่นเอง ออกกรุยทางเป็นคณะแรก แวะพักปักกลดอบรมสั่งสอนชาวบ้านตามรายทางเป็นระยะๆ พอคณะแรกย้ายไป คณะใหม่ก็มาพักแทนที่ อบรมประชาชนอย่างต่อเนื่องกัน ทำเช่นนี้ต่อกันไปเรื่อยๆ และที่พักปักกลดนั้นก็กลายเป็นสำนักสงฆ์ กลายเป็นวัดป่า หรือวัดกรรมฐานขึ้นอีกมากมาย

    วิธีการเช่นนี้ จะไม่เรียกว่าวิธีบริหารจัดการที่วิเศษยอดเยี่ยมหรือ
    ? ชาวบ้านก็ไม่เดือดร้อน การบำเพ็ญภาวนาของพระเองก็ได้ผลดีการอบรมสั่งสอนชาวบ้านก็ได้ผลดี และเกิดเป็นวัดกรรมฐานขึ้นอีกมากมายสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้

    การเคลื่อนย้ายทัพพระกรรมฐานของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ในครั้งนี้ ก็ทำเช่นเดียวกันกับหลวงปู่มั่น กล่าวคือ กองทัพพระกรรมฐาน เคลื่อนขบวนทัพออกจากธาตุพนมมุ่งหน้าลงใต้ จุดหมายปลายทางอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี ถิ่นของนักปราชญ์

    ขบวนทัพพระกรรมฐาน แยกย้ายทยอยกันไปเป็นคณะย่อยๆ ด้วยเกรงว่า จะเป็นการลำบากแก่ชาวบ้านตามรายทาง ในการจัดหาภัตตาหารบิณฑบาต ทั้งยังได้เผยแพร่สั่งสอนอบรมธรรมให้แก่ชาวบ้านในเส้นทางอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อคณะแรกผ่านไปแล้ว คณะต่อๆ มาก็ติดตามมาให้การสอนเพิ่มเติมซ้ำอีก ชาวบ้านได้มีโอกาสรับฟังธรรมจากครูบาอาจารย์หลายๆ ท่านอย่างต่อเนื่อง สำนักวัดป่าที่เกิดใหม่ก็มีครูบาอาจารย์สายกรรมฐานมาโปรดมาเยี่ยมเยียนอย่างต่อเนื่องด้วยเป็นผลดีทั้งแก่พระและแก่โยม และเกิดวัดกรรมฐานขึ้นอีกมากมาย

    <TABLE id=table9 border=0 width=306><TBODY><TR><TD width=226 align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=226 align=middle>วัดพระงามศรีมงคล อ ท่าบ่อ จ หนองคาย </TD><TD align=middle>พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร</TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่ใหญ่เดินทางโดยรถยนต์


    ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ที่ทัพพระกรรมฐานเคลื่อนย้ายสู่จังหวัดอุบลราชธานีนั้น หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล มีอายุ ๗๗ ปี ท่านต้องใช้ไม้เท้าพยุงกายเวลาเดิน

    การเดินทางไกลด้วยเท้าจากนครพนม ถึงอุบลฯ ต้องผ่านป่าเขาเป็นระยะทางร่วม ๓๐๐ กิโลเมตร ย่อมเป็นการลำบากสำหรับหลวงปู่ใหญ่อย่างแน่นอนในวัยสังขารขนาดนั้น คณะศิษย์เป็นห่วงจึงขอให้ท่านเดินทางโดยรถยนต์ ในหนังสือของ อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติบันทึกไว้ดังนี้ : -

    “คณะท่านพระอาจารย์เสาร์ เดินทางโดยรถยนต์โดยสารที่ศรัทธาญาติโยมได้จัดถวายค่ารถโดยสารให้.

    การเดินทางออกจากธาตุพนมต้องไปลงแพข้ามลำน้ำก่ำ ที่บ้านต้อง (สมัยนั้นยังไม่มีสะพานข้าม) ถนนหนทางก็ขรุขระเต็มไปด้วยหลุมบ่อในหน้าฝน พอถึงหน้าแล้ง เช่นที่ท่านพระอาจารย์เสาร์เดินทางไปนี้ ก็คละคลุ้งตลบอบอวลไปด้วยฝุ่นแดงของลูกรัง และควันดำ เสียงดังจากท่อไอเสียรถ

    กว่าจะถึงเมืองอุบลฯ ก็ต้องหยุดพักค้างคืนที่อำนาจเจริญเสียก่อน ๑ คืน จึงได้ถึงที่หมาย พอก้าวลงจากรถ ก็ต้องพากันสลัดฝุ่นเป็นการใหญ่ เพราะฝุ่นที่เกาะติดตามร่างกายนี้ทำให้ทุกคนกลายร่างเป็นผีแดงไปหมด.

    เมื่อถึงจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว คณะของหลวงปู่ใหญ่ไปพักที่สวนข้างทุ่งนาบ้านท่าวารี พักรอคณะลูกศิษย์ที่ทยอยตามมาอยู่หลายเดือน เมื่อได้เวลาพอสมควรแล้ว ก็ให้แต่ละคณะแยกย้ายกันออกไปปฏิบัติธรรม และเผยแพร่ธรรม ตามที่ได้มอบหมายตั้งแต่ครั้งก่อนออกเดินทางจากนครพนม

    <TABLE id=table10 border=0 width=187><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>ลำเซบาย ที่ไหลผ่าน บ้านข่าโคมมายังบ้านท่าวารี</TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จุดพักครั้งแรกที่บ้านท่าวารี


    ที่บ้านท่าวารี จุดพักครั้งแรกของคณะของหลวงปู่ใหญ่นั้น เมื่อมาถึง ท่านพาคณะปักกลดบำเพ็ญภาวนาอยู่ชายทุ่ง แล้วมีคณะญาติโยมได้ช่วยกันทำที่พักชั่วคราวถวาย

    มีผู้เลื่อมใสศรัทธามาสมาทานศีล เป็นอุบาสกอุบาสิกาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ใหญ่เป็นจำนวนร่วมร้อยคน

    พอได้เวลาทำวัตรสวดมนต์ องค์หลวงปู่ใหญ่จะเคาะไม้ให้สัญญาณมารวมกัน กลางคืนท่านจะจัดให้มีการอบรมธรรม และพานั่งสมาธิภาวนาจนดึกดื่น บางคืนปฏิบัติภาวนาจนตลอดคืนก็มี

    ถึงตอนเช้าหลวงปู่ใหญ่ ก็พาพระเณรออกรับบิณฑบาตโปรดญาติโยมตามปกติ และปฏิบัติกิจของสงฆ์เหมือนที่เคยทำเป็นประจำ

    หลวงปู่ใหญ่พักอยู่ที่บ้านท่าวารี อยู่หลายเดือน ต่อมาท่านได้รับนิมนต์ให้ไปพักจำพรรษาที่บ้านข่าโคม บ้านเกิดของท่าน ตามความประสงค์ตั้งแต่ก่อนออกเดินทางจากนครพนม

    ในหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ได้กล่าวถึงสถานที่ในจังหวัดอุบลราชธานี ที่หลวงปู่ใหญ่ได้ไปพำนัก ในช่วงปัจฉิมวัย ระหว่าง พ.ศ.๒๔๗๙ - ๒๔๘๔ ดังนี้ -

    ๑ บ้านสวนวัง อำเภอม่วงสามสิบ
    . บ้านข่าโคม อำเภอเมืองอุบลราชธานี
    . วัดบูรพา ในตัวเมืองอุบลราชธานี
    ๔ บ้านชีทวน อำเภอเขื่องใน
    ๕ บ้านกุดปากหวาย อำเภอวารินชำราบ
    ๖. บ้านโพธิ์ตาก อำเภอวารินชำราบ
    ๗. บ้านท่าฆ้องเหล็ก อำเภอวารินชำราบ
    ๘. วัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร
    ๙. วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร เป็นสถานที่สุดท้ายของท่าน

    <TABLE id=table11 border=0 width=306><TBODY><TR><TD width=226 align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=226 align=middle>กุฏิ หรือ สีมาน้ำ</TD><TD align=middle>สิมน้ำวัดหนองอ้อ</TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วัดป่าหนองอ้อ บ้านข่าโคม


    ในปี พ ศ. ๒๔๗๙ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล มาพักจำพรรษาที่บ้านข่าโคม บ้านเกิดของท่าน ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี

    สำหรับเหตุการณ์ที่บ้านข่าโคมนั้น อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติได้คัดลอกมาจากหนังสือ ชีวประวัติพระครูวิเวกพุทธกิจ กันตสีโลเถร (พระอาจารย์เสาร์) เรียบเรียง โดย คุณวาสนา ไชยเดช

    ผม นายปฐม นิคมานนท์ ขอสารภาพว่าไม่เคยเห็นหนังสือเล่มดังกล่าว จึงขออนุญาตคัดลอกมาเสนอด้วยความง่ายดาย (หรือจะว่ามักง่ายก็ตามใจ) ดังนี้ -

    “เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้เดินทางกลับมาบ้านข่าโคม

    ในการเดินทางกลับมาบ้านเกิดในครั้งนั้นได้เกิดแผ่นดินไหวสั่นสะเทือนถึง ๒๐ วินาที สิ่งนั้นแสดงให้เห็นถึงอภินิหารแห่งธรรมของท่าน

    มีผู้ติดตามในการกลับมาของท่านในครั้งนั้น คือเจ้าจอมมารดาทับทิม และข้าหลวงชั้นผู้ใหญ่นับสิบๆ คน

    โดยคณะเจ้าจอมมารดาทับทิมได้เดินทางจากกกรุงเทพฯ พร้อมเครื่องไทยทานมากมายเป็นประวัติการณ์ ซึ่งในสมัยนั้นการเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องใช้ช้าง ม้า เป็นพาหนะในการเดินทาง

    ข้าพเจ้า...(ไม่ทราบว่าหมายถึงคุณวาสนา หรือ อ.พิศิษฐ์ เพราะเขียนไว้ในวงเล็บ)...เข้าใจว่าน่าจะเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงอุบลฯ โดยทางรถไฟ เมื่อมาถึงปลายทางที่อำเภอวารินชำราบแล้วจึงได้ใช้เรือกลไฟของ นายวิชิต - คุณนายตุ่น โกศัลวิตร คหบดีชาวเมืองอุบลฯ จากหาดสวนยา ริมฝั่งน้ำมูล บรรทุกผู้คนและสัมภาระต่างๆ เดินทางทวนแม่น้ำมูล ขึ้นไปตามลำน้ำเซบาย มาขึ้นบกที่ท่ากกโดน หรือ โฮงเฮือน (ท่าน้ำนี้ทำเป็นโรงสำหรับเก็บเรือพาย เรือแข่ง)

    ชาวบ้านได้ใช้เกวียนเป็นพาหนะสำหรับขนย้ายสัมภาระต่างๆ เข้ามายังหมู่บ้านข่าโคม อีกทอดหนึ่ง


    ท่านผู้อ่านคงนึกภาพออกว่า กองการบุญของคณะผู้แสวงบุณย์ในยุคนั้นจะทุลักทุเล ไกลาหล และยิ่งใหญ่สักเพียงใดกันนะครับ

    “ต่อมา ท่านเจ้าจอมมารดาทับทิม พระสรราชภักดี คุณนายอั๋น คุณนายชม พร้อมข้าหลวงชั้นผู้ใหญ่ และชาวบ้าน ได้ร่วมกันจัดสร้างกุฏิที่พักสงฆ์ที่ป่าดอนหอธรรม หรือป่าหนองอ้อ ต่อมาชาวบ้านเรียกว่า วัดป่าหนองอ้อ ให้ไว้เป็นสำนักสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต”

    ตอนท้ายของบันทึก มีต่อไปว่า : -

    “ในปี พ ศ. ๒๔๘๐ ท่านได้เริ่มสร้างอุโบสถในน้ำ (สิมน้ำ) ก่อสร้างโดยช่างคนพื้นบ้าน

    ในขณะนั้น วัดป่าหนองอ้อ มีภิกษุสามเณรจำพรรษาอยู่ถึง ๑๕๐ รูป แม่ชีประมาณ ๖๐ ท่าน

    ในครั้งกระโน้น หมู่บ้านข่าโคม มีความสงบสุขและเจริญรุ่งเรืองด้วยร่มเงาของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เพราะมีทั้งวัดป่าและวัดบ้าน


    บันทึกก็จบลงตรงนี้ ต้องขอขอบคุณทั้งคุณวาสนา และอาจารย์พิศิษฐ์ที่ทำให้พวกเราได้มีเรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่ให้ได้ศึกษากัน

    อ้อ ! ก็ยังจบตอนนี้ไม่ได้ ผมไปเจอข้อมูลใหม่จากหนังสือ
    “พระปรมาจารย์สายพระกัมมัฏฐาน ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร” มีเรื่องราวที่น่าสนใจ ดังนี้. -

    “ณ หนองอ้อแห่งนี้เอง พระอาจารย์บัวพา เล่าให้ฟังว่า วันหนึ่งนั่งเข้ารับใช้ท่านพระอาจารย์เสาร์อยู่ เห็นท่านหัวเราะหึๆ ขึ้นพระอาจารย์บัวพาจึงกราบเรียนถามท่านว่า “ขอโอกาสครูบาจารย์ มีอีหญังนอ ขะน่อย ท่านจึงได้หัวเราะ?”

    ท่านพระอาจารย์เสาร์จึงเล่าให้ฟังว่า
    “หนองนี้แหละในชีวิตของข้อยเคยทำบาปใหญ่ครั้งหนึ่ง สมัยข้อยเป็นหนุ่ม ฝนตกหนักปลามันขึ้นจากหนองนี้มีแต่ตัวใหญ่ๆ ใครเขาไม่กล้ามาเอา เขากลัวเพราะผีมันดุ ตาปู่มันร้าย ใครมาทำอะไรในเขตของเขาเป็นอันไม่ได้ คนเขาถึงกลัว

    ข้อยกับพ่อเป็นคนไม่กลัว ได้พร้าอีโต้คนละดวง ข้องคนละใบ ฝนตกตอนกลางคืนมา สองคนกับพ่อ ข้อยก็ฟัน พ่อก็ฟัน ฟันเอาฟันเอาจนเต็มข้องไผข้องมัน


    พระอาจารย์บัวพา เลยกราบเรียนท่านว่า
    “ทอนี่ (เท่านี้) หรือครูบาอาจารย์ บาปใหญ่ที่สุดของชีวิต คนอื่นเขาทำจนนับไม่ถ้วนและไม่รู้ว่าเขาได้ทำบาปอะไรไว้บ้าง แล้วเขาพวกนั้นจะเป็นบาปขนาดไหน !”

    และมีต่อไปอีกว่า : -

    “หลังจากที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร มาพักที่บ้านข่าโคมได้ระยะหนึ่งแล้ว ท่านได้เดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อไปเยี่ยมท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (ฐิตปญฺโญ หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม สหธรรมิกกับท่านพระอาจารย์เสาร์ ซึ่งจากกันเป็นเวลาหลายสิบปี หลังจากที่ท่านออกธุดงค์และเผยแพร่ธรรมทั่วภาคอิสานแล้ว

    พร้อมกันนี้ท่านนำสามเณรพุธ ไปฝากเรียนหนังสือกับท่านเจ้าคุณฯ ที่วัดปทุมวนารามด้วย ซึ่งขณะนั้นองค์ท่านพระอาจารย์เสาร์ชราภาพมากแล้ว ต้องถือไม้เท้าไปด้วย

    เมื่อท่านพระอาจารย์เสาร์เข้ากรุงเทพฯ เจ้าจอมมารดาทับทิมกำลังไม่สบายอยู่ ได้ให้คนมานิมนต์ท่านเข้าไปในวัง เพื่อเทศน์โปรดเพราะทราบกิตติศัพท์ของท่านพระอาจารย์เสาร์จากสามเณร (บุญ) นาคที่เป็นลูกศิษย์ท่านรูปหนึ่ง ซึ่งเจ้าจอมฯ อุปถัมภ์ในการบวชพระ และเจ้าจอมฯ ได้เป็นผู้อุปถัมภ์วัดป่าหนองอ้อ บ้านข่าโคม เรื่อยมา และมีผู้มีศรัทธาติดตามมาด้วย เช่น คุณนายหวัด คุณนายชม คุณนายพริ้ง เป็นต้น


    เมื่อออกพรรษาปีนั้น วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้มีผ้าป่าชาววังจัดมาทอดถวายพระป่าเป็นครั้งแรก มีเจ้าจอมมารดาทับทิม นำคณะมาทอดถวายผ้าป่า ๗๐ กอง มีพระนาค พระมหาสมบูรณ์ร่วมขบวนมาด้วย

    พระคณะศิษย์ของท่านพระอาจารย์เสาร์ที่ได้ติดตามไปเพื่อศึกษาฟังธรรมท่านพระอาจารย์ แยกย้ายกันไปอยู่จำพรรษาในบริเวณใกล้ๆ แถวนั้น เมื่อออกพรรษาแล้ว ต่างองค์ต่างมารวมกันที่วัดหนองอ้อ บ้านข่าโคม อยู่กับท่านพระอาจารย์เสาร์ เพื่อเตรียมตัวรับผ้าป่าทางวัง

    พระเณรปักกลดอยู่ตามร่มไม้ในป่าหนองปู่ตาหนองอ้อเต็มไปหมด ดูแล้วเป็นบรรยากาศที่หาดูได้ยากจริงๆ คณะเจ้าจอมมารดาทับทิม ได้มาเห็นบรรยากาศที่พระเณรปักกลดพักอยู่ริมน้ำ ซึ่งเป็นภาพที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นมาก่อน จนพากันน้ำตาร่วงน้ำตาไหล เพราะบรรยากาศที่เห็นนั้นเป็นภาพที่ประทับใจของคนชาวกรุงมากทีเดียว

    ญาติโยมชาววังจึงขอนิมนต์ให้ท่านพระอาจารย์ใหญ่เสาร์แสดงธรรมให้ฟัง เมื่อท่านขึ้นไปนั่งบนธรรมาสน์ พระภิกษุสามเณรและญาติโยมต่างก็ตั้งอยู่ในความสงบคอยสดับรับฟังธรรม

    ท่านพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ เริ่มแสดงธรรม ท่านตั้งนะโม ๓ จบเสร็จแล้วท่านก็ว่า
    “ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เอวังมีด้วยประการฉะนี้” จบแล้วท่านก็ลงจากธรรมาสน์

    ท่านเป็นผู้มีนิสัยพูดน้อยและเยือกเย็น เจ้าจอมมารดาทับทิมได้อุปถัมภ์ในการอุปสมบทสามเณรเพ็ง คำพิพากในครั้งนั้น และมีศรัทธาสร้างสิมน้ำที่วัดป่าบ้านหนองอ้อ ถวายแด่ท่านพระอาจารย์เสาร์ด้วย

     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สามเณรบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน

    <TABLE id=table12 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=left>
    สามเณรบุนนาค เที่ยวกรรมฐาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    โดยส่วนตัว ผมรู้สึกตื่นเต้นและยินดียิ่งเมื่ออ่านและเขียนมาถึงตอนนี้ เพราะมีเรื่องเชื่อมโยงระหว่างสามเณรบุญนาค กับหลวงปู่ใหญ่ของเรา

    ท่านผู้อ่านคงจำได้นะครับว่า ในหนังสือที่ระลึก หลวงปู่เพ็ง พุทธธมโม นั้นผมได้เขียนถึง สามเณรบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน หรือพระภิกษุบุญนาค โฆโส มาบ้างเล็กน้อย


    ผมตั้งเป้าหมายไว้ในใจว่า จะต้องหาเวลาค้นคว้าเรื่องของพระอาจารย์นาค องค์นี้มาเขียนให้ได้ เพราะท่านเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานองค์แรก และพาหลวงปู่เพ็งออกท่องธุดงค์ครั้งแรก และหลวงปู่เพ็ง ก็ได้รับการถ่ายทอดครั้งบุคลิกและวิชาธรรมมาไม่น้อย

    (หลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม ท่านมาโปรดที่บ้านผมเป็นประจำ ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ อายุ ๘๘ ปี ขณะนี้พวกเรากำลังสร้างมณฑปพิพิธภัณฑ์ของท่านอยู่ รวมทั้งดำเนินการก่อตั้งวัดที่ท่านเริ่มต้น๒ แห่งให้เสร็จสมบูรณ์ คือ วัดป่าสามัคคีธรรม อ.เมืองร้อยเอ็ด และวัดป่าสิริปุณโณ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ บิดาของหลวงปู่เพ็ง)

    ต้องกราบขออภัยครับ ที่พาท่านออกนอกเรื่อง

    เรื่องสามเณรบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน ในหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ (อีกแล้ว - และจะมีต่อๆ ไปอีกเยอะ) เขียนไว้ดังนี้ : -

    “ในสมัยก่อนเมื่อ ๓๐-๔๐ ปีที่แล้วนั้นได้มีหนังสือบันทึกเรื่องราวในแวดวงพระกรรมฐาน จากประสบการณ์ในชีวิตจริงของสามเณรองค์หนึ่ง ที่เที่ยวธุดงค์เดี่ยวดั้นด้นไปโดยลำพัง ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ สารพัดอย่างที่น่าทึ่งและน่าสนใจ เป็นวิถีชีวิตจริงด้านหนึ่งของนักปฏิบัติธรรม ที่ต้องแน่วแน่ มีสัจจะ มีความเพียร และความทรหดอดทนต่อสู้กับกิเลสทั้งมวลอย่างน่ายกย่องสรรเสริญยิ่ง ควรที่จะได้ศึกษาไว้เป็นแบบอย่างในทางปฏิบัติสืบไป”

    อ่านข้อความข้างต้นแล้วน่าติดตามเรื่องของสามเณรบุญนาคใช่ไหมครับ
    ? ในข้อเขียนมีต่อไป ดังนี้ : -

    “สามเณรองค์นั้นมีตัวตนจริงๆ ชื่อ บุญนาค แต่มีน้อยคนที่จะทราบว่าสามเณรบุญนาคนี้ เป็นลูกศิษย์สายพระอาจารย์เสาร์ - หลวงปู่มั่น

    ท่านมีชื่อว่า นาค นามสกุล กองปราบ เกิดที่บ้านด่าน ต.หนองสิม อ.บุ่ง จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันบ้านด่าน อยู่ในเขต ต สามแยก อ เลิกนกทา จ.ยโสธร)

    บิดาชื่อว่า นายเนตรวงศ์ กองปราบ มารดาชื่อ นางทอง กองปราบ มีพี่น้องรวมกันทั้งหมด ๘ คน เป็นหญิง ๕ คน ชาย ๓ คน ท่านเป็นคนสุดท้อง เกิดเมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๕๓ พี่ชายถัดจากท่านก็ได้ออกบวชเป็นพระภิกษุเช่นกัน และมีชื่อคล้องจองกันคือ ชื่อว่า ครุฑ

    ท่านมีอุปนิสัยใฝ่ในทางเป็นนักบวชตั้งแต่เยาว์วัย จึงได้ออกบวชตอนอายุได้ ๙ ขวบ

    เมื่ออายุย่างเข้า ๑๕ ปี ท่านได้จากบ้านออกเดินธุดงค์ไปทั่วทั้งสองฝั่งลุ่มแม่น้ำโขงโดยลำพังองค์เดียว เป็นผู้เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว ตั้งมั่นอยู่ในธุดงควัตร จนผ่านพ้นภยันตรายนานัปการมาได้ ดังปรากฏรายละเอียดอยู่ในหนังสือ สามเณรบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน

    ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์สิงห์ พระมหาปิ่น เป็นสามเณรนักเทศน์ฝีปากเอก อยู่จนอายุล่วงเข้า ๒๒ ปี จึงเลยไปกรุงเทพฯ และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อเดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่วัดบรมนิวาส โดยมี เจ้าจอมมารดาทับทิม ซึ่งพำนักที่วังกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช โยมอุปัฏฐากเป็นเจ้าภาพบวชให้ท่านโดยได้รับฉายาสามว่า โฆโส...


    ผมขอคัดมาให้อ่านเพื่อเรียกน้ำย่อยเพียงแค่นี้ก่อน รออ่านเรื่องสมบูรณ์จากหนังสือของผม (ซึ่งไม่รู้ว่าอีกกี่ปีจะได้ทำ ดูลมหายใจรอไปเรื่อยๆ ครับ)

    <TABLE id=table57 border=0 align=right><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle>เจ้าจอมมารดาทับทิม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พระอาจารย์นาค โฆโส กลับมาเยี่ยมบ้านเกิดและมากราบหลวงปู่ใหญ่ในปี พ ศ ๒๔๗๙ พร้อมทั้งพาคณะของเจ้าจอมมารดาทับทิมมาทอดผ้าป่า และถวายเครื่องไทยทาน ครั้งยิ่งใหญ่เป็นประวัติการของเมืองอุบลฯ เมื่อครั้งนั้นด้วย

    น่าเสียดายอย่างยิ่ง ท่านพระอาจารย์นาค ท่านมรณภาพเมื่ออายุเพียง ๔๑ ปี เท่านั้นเอง

    อย่าลืมรออ่านหนังสือของผมให้ได้นะครับ !

    ยังจบตอนนี้ไม่ลงครับ

    เหตุที่เจ้าจอมมารดาทับทิมจะมีศรัทธาเลื่อมใสและได้รู้จักกับหลวงปู่ใหญ่ของเรา ก็สืบเนื่องมาจาก...ในเช้าวันหนึ่ง ที่กรุงเทพเมืองสวรรค์ มีสามเณรบุคลิกดีที่เพิ่งเดินทางไปจากอุบลฯ (พูดง่ายๆ ว่าเณรบ้านนอกเข้ากรุง) เดินบิณฑบาตเลยเข้าไปในเขตพระราชฐานโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงถูกกักตัวไว้สอบสวนตามธรรมเนียม

    สามเณรองค์นั้นไม่แสดงอาการหวาดกลัวต่อโทษทัณฑ์อันใดนั่งสมาธิรอการสอบสวนด้วยอาการสงบเย็น

    ความทราบถึงเจ้าจอมมารดาทับทิมเจ้าของพระตำหนัก สอบถามได้ความว่า ชื่อ สามเณรบุญนาค เป็นลูกศิษย์ของ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และ พระอาจารย์มหาปิ่นปญฺญาพโล ซึ่งมีพระอาจารย์ใหญ่ชื่อ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อยู่เมืองอุบลฯ สุดชายแดนไกลโน้น ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงได้รับเป็นเจ้าภาพทำพิธีอุปสมบทให้เป็นพระภิกษุต่อไป พร้อมเป็นโยมอุปัฏฐากมาตั้งแต่บัดนั้น

    เจ้าจอมมารดาทับทิม ได้พาคณะมาทอดผ้าป่าถวายไทยทานกับองค์หลวงปู่ใหญ่ ใน พ.ศ. ๒๔๗๙ ดังได้กล่าวแล้ว และในช่วงออกพรรษาก็ยังได้มอบให้บุตรชายนำคณะมาทอดกฐิน พร้อมทั้งกองบวชอีกกองหนึ่ง ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู ร.ศ. ๑๕๖ วันสุดท้ายของกฐินกาล ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ ศ. ๒๔๘๐


    งานบุญงานกุศลยิ่งใหญ่ขนาดนั้น ไม่ทราบว่าลูกหลานชาวอุบลรุ่นหลังจะทราบเรื่องนี้กันหรือเปล่าหนอ !
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เรื่องเล่าจากหลานของหลวงปู่ใหญ่


    ในคราวที่จัดทอดกฐินที่วัดป่าหนองอ้อในปี พ ศ ๔๔๘๐ ดังเสนอในตอนที่ผ่านมานั้นได้จัดพิธีบวชพระด้วย ผู้ที่บวชคือ สามเณรบุญเพ็ง คำพิพาก หลานของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล

    พิธีอุปสมบทจัดขึ้น ณ สีมาน้ำ (โบสถ์กลางน้ำ) วัดป่าหนองอ้อ มีท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) วัดศรีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านเจ้าคุณพระศรีธรรมวงศาจารย์ วัดสุปัฏนาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระที่บวชได้รับสมณฉายาว่า นารโท ก็คือ พระภิกษุบุญเพ็ง นารโท ได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ใหญ่หลายปี

    เมื่ออาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ กำลังเสาะหาข้อมูลเพื่อเขียนประวัติหลวงปู่ใหญ่ได้รับความเมตตาชี้แนะจากหลวงพ่อพุธ ฐานิโยให้ไปสอบถามที่หลานของหลวงปู่ใหญ่ท่านนี้ เพราะรู้เรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่ในช่วง ๕ พรรษาสุดท้ายดี

    อาจารย์พิศิษฐ์ไปเสาะหาข้อมูลที่บ้านข่าโคม เมื่อปี พ ศ ๒๕๔๐ พบว่าหลานของหลวงปู่ใหญ่ ได้สึกออกมาครองเพศฆราวาสแล้ว ชื่อ คุณตาบุญเพ็ง คำพิพาก อายุ ๘๑ ปี (เกิด พ.ศ. ๒๔๖๐) ยังมีสุขภาพดี สายตาดี ความทรงจำแม่นยำ มีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข เรียบง่าย สมถะรักษาศีล ทำนุบำรุงวัดวาศาสนา เป็นร่มโพธิ์ชัยของภรรยาและลูกหลาน

    ผมก็ขอหยิบยกข้อมูลจากปากคำของ คุณตาบุญเพ็ง คำพิพาก ที่นำเสนอในหนังสือของ อาจารย์พิศิษฐ์ ดังต่อไปนี้. -

    เกี่ยวกับปฏิปทาของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ คุณตาเล่าว่า

    “องค์ท่านมีน้ำใจดั่งมหานที แผ่บารมีกว้างไพศาล พระเณรอีกทั้งพ่อขาว แม่ขาว ต่างหลั่งไหลไปรวมกันปฏิบัติธรรมกับท่านเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐๐ รูป จนบางครั้งก็เกินกำลังที่ชาวบ้านข่าโคมจะรับไหวในเรื่องภัตตาหาร ทำให้ขาดแคลนไปบ้าง

    บางวันองค์ท่านได้ขอบิณฑบาตภัตตาหารคำสุดท้ายของพระแต่ละรูปไปแบ่งปันให้แม่ชีและศิษย์วัด


    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เคยเป็นเณรอุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่ เคยกล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกันว่า
    “ตอนนั้นยังเป็นเณรอยู่ เห็นพระเณรมากมายมีเป็นร้อย เวลาไปบิณฑบาตอยู่แถวหลังได้ข้าวก้อนเท่ากำปั้นเท่านั้น”

    <TABLE id=table13 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=left>
    พระอาจารย์นาค โฆโส
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ไหนๆ ก็ยกเรื่องหลวงพ่อพุธขึ้นมาแล้ว ผมก็ขอยกคำบอกเล่าของหลวงพ่อเรื่องหนึ่ง มาเป็นอุทาหรณ์ในตอนนี้เสียเลย หลวงพ่อเล่าว่า -

    “สมัยที่หลวงพ่อเป็นเณรน้อยอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี วันหนึ่งเพิ่งฉันอาหารเสร็จกำลังจะไปล้างบาตร เหลือบไปเห็นหมาขี้เรื้อนหิวโซเดินโซซัดโซเซใกล้จะหมดแรงเต็มที เกิดความสงสารจับใจ มองดูข้างในก้นบาตรก็ฉันเกลี้ยง เพราะครูบาอาจารย์สอนไว้ว่าเป็นธรรมเนียมพระธุดงค์จะฉันให้หมดบาตรเสมอ ไม่ให้กินทิ้งกินขว้าง

    มองหาอาหารรอบทิศก็ไม่มีอะไรพอประทังความหิวของหมาน้อยได้ เจ้าหมาที่น่าสงสารก็ใกล้จะหมดแรง

    เมื่อหมดหนทางก็นึกได้ อาหารเพิ่งฉันใหม่ๆ พอจะเรียกคืนมาให้เจ้าหมาน้อยได้ จึงเอามือล้วงคอให้อาเจียนออกมา

    หมาตัวนั้นคลานมาฟุบตรงเศษอาหารจากลำคอของเราพอดี มันได้กินอาหารนั้นจนมีกำลังขึ้น เราก็เรียกอาหารใหม่ออกมาจนหมดท้อง จนอาหารเก่าเริ่มระบายออกมาด้วย พอเห็นสุนัขมีแรงก็หยุด

    เจ้าหมาตัวนั้นได้แรงขนาดวิ่งเหยาะๆ ตามเราได้


    นี่เป็นเหตุการณ์สมัยที่หลวงพ่อพุธเป็นเณรของหลวงปู่ใหญ่ สมัยที่อดอยาก แล้วหลวงพ่อ ได้เล่าต่อไปว่า : -

    “จากนั้นมา ลาภสักการะในเรื่องอาหารการกินที่มีมากเสียจนเขาบังคับให้กิน บางรายทำอาหารประณีตมาถวาย เห็นเราไม่แตะต้องเลยก็กลับไปนอนร้องไห้ เขามาเล่าให้หลวงพ่อฟังเอง หลวงพ่อจึงต้องพยายามฉันให้เขาทุกครั้ง เพื่อรักษาน้ำใจ”
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิธีเรียกฝนของหลวงปู่ใหญ่


    จากคำบอกเล่าของ คุณตาบุญเพ็ง คำพิพาก หลานชายของหลวงปู่ใหญ่ ได้เล่าถึงความอัศจรรย์ในองค์หลวงปู่ใหญ่ในการเรียกฝนเพื่อบำบัดความแห้งแล้งช่วยชาวบ้าน ว่า

    ในปีนั้น ที่บ้านข่าโคมเกิดฝนแล้ง พื้นดินท้องนาแห้งผาก ชาวบ้านพากันมากราบเรียนเพื่อขอฝนกับองค์หลวงปู่ใหญ่

    ด้วยความเมตตาที่ท่านมีต่อชาวบ้าน เพราะเป็นญาติพี่น้องลูกหลานของท่านทั้งนั้น ท่านรับฟังคำขอจากชาวบ้านด้วยความสงบเย็นเป็นปกติ แล้วบอกให้นัดชาวบ้านมาทำพิธีรวมกันที่วัดป่าหนองอ้อในบ่ายวันเดียวกันนั้น

    ทางวัดไม่ได้มีการตระเตรียมพิธีกรรมอันใดให้ยุ่งยากเลย ทุกอย่างดำเนินไปตามปกติ พอชาวบ้านมาพร้อมกันในตอนบ่ายตามที่นัดไว้ หลวงปู่ใหญ่ก็เป็นองค์ประธาน ให้ชาวบ้านกราบพระ รับศีล แล้วพระสงฆ์ก็เจริญพระพุทธมนต์ เหมือนในงานมงคลทั่วไป

    เหตุอัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น กล่าวคือ ใช้เวลาไม่นานนักฝนได้เทลงมาห่าใหญ่ในท่ามกลางพิธีนั้น จนทุกคนเปียกชุ่มโชก ทั้งๆ ที่ก่อนเริ่มพิธีมีแต่แสงแดดแผดจ้า บนท้องฟ้าไม่แสดงเค้าว่าจะมีฝนตกเลย

    อาจารย์พิศิษฐ์ สรุปว่า นั่นแหละคือบุญญาภินิหารของพระบูรพาจารย์เจ้า

    หมายเหตุ เรื่องขอฝนนี้ ผู้เขียนมีประสบการณ์ตรง อยากขอนำมาเล่าแทรก ๒ ครั้ง (หากไม่สมควรต้องขออภัยด้วย)

    ครั้งแรก
    ผู้เขียนติดตาม หลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโมไปพักที่ฟาร์มแห่งหนึ่งในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว พ ศ ๒๕๓๓ ช่วงนั้นแล้งจัด เจ้าของฟาร์มบ่นเรื่องฝนไม่ตกให้หลวงปู่ฟัง ท่านพูดว่า “เดี๋ยวตก บ่นานดอก”

    เช้ามืด หลวงปู่พาพวกเราสวดมนต์ทำวัตรเช้า พอถึงบทสุดท้าย ปัตติทานคาถา เป็นบทแผ่เมตตา หลวงปู่พูดว่า
    “บทนี้ให้ตั้งใจสวด ฝนมันจึงสิตก”

    แล้วท่านก็นำแผ่เมตตาไปว่า
    “ยา เทวะตา สันติ วิหาระวาสินี, ถูเป ฆะเร โพธิฆะเร ตะหิง ตะหิง... ฯลฯ” สวดไปจนจบแล้วนั่งสมาธิ

    หลังหลวงปู่ฉันเสร็จ พวกเราเตรียมตัวกลับ พอรถพร้อมจะออก ฝนตกลงมาอย่างหนัก ต้องขับรถฝ่าสายฝนกลับออกมา เพื่อเดินทางต่อไปเชียงใหม่

    หลวงปู่บอกว่า ตอนท่านไปอยู่ที่วัดเทิงเสาหิน อ เทิง จ เชียงราย ใหม่ๆ ก็เกิดภาวะฝนแล้งท่านก็สวดมนต์แผ่เมตตาบทนี้แหละ คราวนั้นตก ๓ วัน ๓ คืน

    ผมนำบท ปัตติทานะคาถา มาพิจารณา ค้นดูคำแปล พบประโยคท้ายๆ ๓ ประโยคว่าดังนี้

    สัมมา ธารัง ปะเวจฉันโต, กาเล เทโว ปะวัสสะตุ ขอฝนทั้งหลายจงหลั่งลงตกต้องตามฤดูกาล

    วุฒฑิง ภาวายะ สัตตานัง
    ขอฝนจงนำความสำเร็จมาสู่พื้นปฐพี

    สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง
    เพื่อความเจริญแก่สัตว์ทั้งหลาย

    ครั้งที่สอง
    คณะพวกเราจากสำนักพุทธธรรมปฏิบัติ นำโดย อาจารย์เบญจางค์ โกศิน ได้อาราธนานิมนต์ หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก วัดทุ่งสามัคคีธรรม อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ไปพักผ่อนสุขภาพที่ วังแก้ว เป็นรีสอร์ทริมทะเล อยู่ที่จังหวัดระยอง

    ช่วงนั้นฝนแล้งจัด ต้นไม้เที่ยวเฉา ทราบว่าเจ้าของสถานที่เขารักและห่วงต้นไม้มาก ดูเขากังวลใจกลัวต้นไม่ตาย

    ตอนบ่ายหลัง ๔ โมงเย็น พวกเราประคองหลวงพ่อไปเดินที่ชายหาด ให้ท่านเหยียบสัมผัสน้ำทะเล ได้เวลาพอสมควร ก่อนกลับ หลวงพ่อยืนนิ่งสักอึดใจหนึ่ง แล้วพูดยิ้ม ๆ พอได้ยินว่า อาโปกสิณัง, อาโป กสิณัง แล้วท่านให้พากลับที่พัก พอหลวงพ่อลงนั่งเรียบร้อย ฝนตกลงมาอย่างหนักร่วมชั่วโมงจึงหยุด !
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การสอนศิษย์ที่สติไม่สมประกอบ


    เรื่องนี้ก็เล่าโดย คุณตาบุญเพ็ง คำพิพาก เช่นเดียวกัน เรื่องมีอยู่ว่า ลูกศิษย์ของหลวงปู่ใหญ่คนหนึ่งอยู่ที่วัดป่าหนองอ้อ แกชื่อ เถนดี เพราะเคยบวชพระมาก่อน แต่เป็นคนสติไม่สมประกอบ

    ในตอนสายวันหนึ่ง เถนดี แกไปได้กบมาจากไหนก็ไม่ทราบ แกเอาไปต้มเตรียมทำอาหารถวายพระ ก็คงเป็นเจตนาดีของแกที่ต้องการอุปัฏฐากเลี้ยงดูพระ บังเอิญ หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส พระอุปัฏฐากของหลวงปู่ใหญ่ เดินมาเห็น ได้สอบถาม แต่เถนดีไม่ตอบ กลับหลีกหนีเดินขึ้นกุฏิไปอย่างมีพิรุธ

    หลวงปู่ใหญ่ทราบเรื่องนี้ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร พอถึงตอนเย็นท่านก็เรียกเถนดีมาหา ท่านอบรมไม่ให้ทำปาณาติบาต อย่าฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แม้จะเป็นสัตว์เล็กสัตว์น้อยเพียงไรก็ตาม เขาก็มีสิทธิ์ที่จะมีชีวิตเขาก็มีความรู้สึกเจ็บปวดทรมานเหมือนกัน

    สอนแล้ว ท่านก็ใช้ให้เถนดีไปหยิบไม้ค้อนสำหรับตีระฆังที่อยู่ใกล้ๆ มา แล้วบอกว่า : -

    “ลองเคาะหัวตัวเองดูซิ เจ็บไหม?..เจ็บหรือ... เออ ! นี่แหละอย่าทำต่อไปอีกนะ”

    หลวงปู่ใหญ่ สอนเถนดีเพียงเท่านั้น แล้วท่านไม่ได้พูดถึงอีกเลย
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จำพรรษาที่วัดบูรพาราม


    ในบันทึกของ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค เขียนไว้ดังนี้. -

    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้มาพำนักที่บ้านข่าโคม ที่ข้างหนองอ้อ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน มีญาติโยมทำที่พักอาศัยจำพรรษา เป็นวัดภายหลัง

    ชาววังหลวงได้จัดกฐินมาทอดถวาย ให้ทุนสร้างสิมน้ำขึ้นที่หนองอ้อ และทอดผ้าป่าเป็นประจำ

    ท่านให้ พระอาจารย์บุญมี สูงเนิน จำพรรษาอยู่ด้วย ให้พระอาจารย์ทองรัตน์ไปจำพรรษาที่บ้านชีทวน เพื่อปราบพวกมิจฉาทิฏฐิ

    ท่านพระอาจารย์เสาร์ จำพรรษาที่บ้านข่าโคม เป็นเวลา ๓ ปีแล้วมาจำพรรษาที่วัดบูรพาราม เมืองอุบลฯ

    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ เข้ามาพำนักในตัวเมืองอุบลฯ แล้วได้
    “ตั้งศูนย์กรรมฐาน” ขึ้นที่วัดบูรพาราม ถึงวันเพ็ญเดือน ๓ พระสงฆ์สามเณรลูกศิษย์ลูกหาทุกหนทุกแห่ง พร้อมทั้งพระอาจารย์มั่น มารวมกันที่วัดบูรพาราม เป็นประจำมิได้ขาด เพื่อรับฟังโอวาทข้อปฏิบัติปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง ให้การปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน เป็นกองทัพธรรมที่สมบูรณ์ นำสัจจธรรมของพระพุทธศาสนาออกเผยแผ่ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

    (การประชุมทุกวันเพ็ญเดือน ๓) ถือเป็นกา๗ระชุมสันนิบาตของคณะกรรมการก็ว่าได้ เป็นการแสดงความเคารพนับถือ กตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณอีกทางหนึ่งด้วย”

    แล้วหลวงพ่อโชติ ลงท้ายการบันทึกในตอนนี้ว่า
    “วัดคณะธรรมยุตได้เกิดขึ้นอีกมากมาย”

    <TABLE id=table56 border=0 width=458><TBODY><TR><TD width=226>
    [​IMG]
    </TD><TD width=222>

    คุณธิดาวรรณ คุณพิศิษฐ์ ไสยสมบัติ
    (คนที่ผมลอกหนังสือเขามานี้แหละ)
    ตาม...หลานพระอาจารย์เสาร์
    ที่บ้านคุ้มวัดแสงเกษม
    อ เดชุอดม จ อุบลราชธานี
    พบคุณยายสีฟอง คำพิพาก
    </TD></TR><TR><TD width=226>
    [​IMG]
    </TD><TD width=222>
    ต้องตามไปที่นา ออกจากเมืองเดช ไปทางน้ำยืนราว ๑๐ กม. ห่างไกลผู้คน
    </TD></TR><TR><TD width=226>
    [​IMG]
    </TD><TD width=222>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    พบแล้วคุณตาบุญเพ็ง คำพิพาก หลานชายแท้ๆ ของพระอาจารย์เสาร์ ผู้อยู่ในเหตุการณ์จนวินาทีสุดท้าย ที่พระอาจารย์เสาร์ละสังขาร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สามเณรพุธ วัดบูรพาราม

    <TABLE id=table54 border=0 width=122 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระราชสังวรญาณ
    (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    วัดบูรพาราม สมัยที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และศิษย์มาพำนักอยู่นั้น มีสภาพเป็นวัดที่เงียบสงัดอยู่ท้ายเมืองอุบล

    สามเณรพุธ อินทหา ได้พำนักอยู่ที่วัดบูรพาราม มาก่อนแล้วเมื่อหลวงปู่ใหญ่ เข้ามาพำนักประจำ สามเณรจึงมีโอกาสอุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิด และรับฟังธรรมโอวาทเป็นประจำ รวมทั้งเคยติดตามท่านไปอยู่ที่บ้านข่าโคมด้วย

    สามเณรน้อยในครั้งนั้นก็คือ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หรือ พระราชสังวรญาณ วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา มรณภาพเมื่อ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒

    หลวงพ่อพุธ เคยเล่าถึง หลวงปู่ใหญ่ ว่า

    ก็ได้พบท่านเวลาท่านมาพักวัดบูรพาฯ ก็ได้ปรนนิบัติท่าน ไม่ได้ติดสอยห้อยตาม

    ผู้ติดสอยห้อยตามที่ยังมีชีวิตอยู่จนกระทั่งพระอาจารย์ท่านสิ้นนี่ยังเหลืออยู่หลวงปู่บัวพา (หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕) องค์เดียว จากกันไป ๓๐ ปี พอพบท่านก็วิ่งมากอดท่านว่า โอ้ย! บักห่า ! กูนึกว่ามึงตายไปแล้ว ที่อยู่ใกล้ชิดครูบาอาจารย์เสาร์นี่ มีแต่เฮาสองคนเด๊เหลืออยู่ !

    หลวงพ่อเล่าต่อไปว่า
    “งานที่ทำถวายท่านก็อุปัฏฐาก นวดเฟ้น ซักสบง จีวร แล้วก็ปัดกวาดที่นอน เทกระโถน อะไรทำนองนี้

    เวลาแขกมาหาท่าน ก็คอยดูแลรับแขก

    พระอาจารย์เสาร์นี่ เพียงแต่เวลาท่านไปมาพักนี่ เราก็ได้อุปัฎฐากท่านเท่านั้นเอง แต่ก็ครูบาอาจารย์ในสายนี้เขาถือว่า ใครที่เป็นหัวหน้าใหญ่ เขาถือว่าเป็นลูกศิษย์องค์นั้นแหละ รองๆ ลงมาอาจารย์เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ใหญ่ เราก็มาเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์รองลงมา แต่ศูนย์รวมจิตใจมันอยู่ที่อาจารย์ใหญ่


    หลวงพ่อพุธ เล่าว่าสมัยนั้นเขาดูถูกพระป่ามาก ท่านเล่าดังนี้ : -

    “หลวงพ่ออดที่จะนึกถึงสมัยที่เป็นสามเณรเดินตามหลังครูบาอาจารย์ไม่ได้ ใส่ผ้าจีวรสีดำๆ เดินผ่านหน้าชาวบ้าน หรือพระสงฆ์ทั่วๆ ไปนี้ เขาจะถุยน้ำลายขากใส่

    บางทีถ้ามีแม่ชีเดินตามหลังไปด้วย เราจะได้ยินเสียงตะโกนมาเข้าหู
    “ญาคู เอ้ย! พาลูกพาเมียไปสร้างบ้านสร้างเมืองที่ไหนหนอ” เขาว่าอย่างนี้

    มาบัดนี้ สิ่งที่เขาเกลียดมากที่สุดถึงกับถุยน้ำลาย เขามาแย่งเอาของเราไปห่มหมด ทำไม เพราะว่าสีผ้าชนิดนี้ลูกศิษย์สายอาจารย์เสาร์อาจารย์มั่น เคยนุ่งห่มมาแล้ว

    พอลูกศิษย์สายอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น มีชื่อเสียงโด่งดังมีคนนิยมชมชอบ ผ้าจีวรสีดำก็เลยเป็นสินค้าที่สนใจของคนทั่วๆ ไป

    บางทีพอมีใครถามเป็นลูกศิษย์สายไหน?... สายพระอาจารย์มั่น
    ...เดี๋ยวนี้มีแต่ลูกศิษย์อาจารย์มั่นเต็มบ้านเต็มเมือง

    เมื่อลองมาพิจารณากันดูแล้ว ขอพูดสรุปๆ ลงไปสั้นๆ ว่า ถ้าใครตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์จริงๆ อย่าไปสนใจกับใครทั้งนั้น หลักฐานและเหตุผลต่างๆ เราได้ข้อมูลมาจากครูบาอาจารย์ของเราแล้ว

    เมื่อก่อนนี้ครูบาอาจารย์ของเรานี้ ไปที่ไหนๆ มีแต่เขาว่า พวกนี้นะใจแคบเห็นแก่ตัว ตัดช่องน้อยเอาแต่ตัวรอดคนเดียว

    เอ้า ! ในขณะที่ใครยังมองไม่เห็นคุณค่า ท่านก็ต้องเก็บสมบัติท่านเอาไว้ ทีนี้พอเกิดมีคนสนใจ ท่านก็เอาออกมาจ่าย พอจ่ายออกมาแล้วมันก็ได้ผล ทำให้มีคนปฏิบัติธรรมกว้างขวางออกไป

     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สอนทำอะไรให้เป็นเวลา


    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย พูดถึงการสอนธรรมของหลวงปู่ใหญ่เริ่มจากการทำอะไรให้เป็นเวลาเสียก่อน ดังนี้ -

    ท่านอาจารย์หลวงปู่เสาร์ นี้ ท่านเป็นสาวกแบบชนิดที่ว่าเป็นพระประเสริฐ ท่านสอนธรรมะนี้ท่านไม่พูดมาก ท่านชี้บอกว่าให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่การปฏิบัติของท่านนี้ท่านเอาการปฏิบัติแทนการสอนด้วยปาก

    ผู้ที่ไปอยู่ในสำนักท่าน ก่อนอื่นท่านจะสอนให้ทำวัตรนอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๓ นี้ข้อแรกต้องทำให้ได้ก่อน

    บางทีก็ลองเรียนถามท่าน หลวงปู่ทำไมสอนอย่างนี้? การนอนเป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา ฉันเป็นเวลา อาบน้ำเข้าห้องน้ำเป็นเวลา มันเป็นอุบายสร้างพลังจิต แล้วทำให้เรามีความจริงใจ

    ทีนี้นักปฏิบัติทั้งหลายไม่ได้ทำอย่างนี้ แม้แต่นักสะกดจิตเขาก็ยังยึดหลักอันนี้

    มันมีอยู่คำหนึ่งที่หลวงพ่อไม่เคยลืม หลักปฏิบัติที่เวลาไปปฏิบัติท่าน ท่านจะพูดขึ้นมาลอยๆ ว่า
    “เวลานี้จิตข้าไม่สงบ มันมีแต่ความคิด”

    ก็ถามว่า
    “จิตมันฟุ้งซ่านหรือไง อาจารย์?”

    “ถ้าให้มันหยุดนิ่งมันก็ไม่ก้าวหน้า”

    กว่าจะเข้าใจความหมายของท่านก็ใช้เวลาหลายปี ท่านหมายความว่า เวลาปฏิบัติ ถ้าจิตมันหยุดนิ่งก็ปล่อยให้มันหยุดนิ่งไปอย่าไปรบกวนมันถ้าเวลามันจะคิดก็ให้มันคิดไป เราเอาสติตัวเดียวเป็นตัวตั้งเป็นตัวตี

    เป็นไงครับ งงไหมครับ !
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พุทโธแปลว่าจังได๋


    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย กล่าวถึงการสอนของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ต่อไปดังนี้ -สมัยที่หลวงพ่อเป็นเณรอยู่ใกล้ๆ ท่าน ถ้าวันไหนเราคิดว่าจะเดินจงกรมแข่งกับท่านอาจารย์ใหญ่ วันนั้นท่านจะเดินจงกรมไม่หยุด จนกว่าเราหยุดนั่นแหละท่านจึงจะหยุด ท่านจะไม่ยอมให้เราชนะท่าน เวลาท่านสอน สอนสมาธิ ถ้ามีใครถามว่า

    “อยากปฏิบัติสมาธิเร็ว จังได๋ญาท่าน?”

    พุทโธ ซิ”

    “ภาวนา พุทโธ แล้วมันจะได้อีหญังขึ้นมา?”

    “อย่าถาม”

    พุทโธ แปลว่า จังได๋?”

    “ถามไปหาสิแตกอีหญัง ยั้งว่าให้ภาวนา พุทโธ ข้าเจ้าให้พูดแค่นี่” แล้วก็ไม่มีคำอธิบาย

    ถ้าหากว่าใครเชื่อตามคำแนะนำของท่าน ไปตั้งใจภาวนา พุทโธ จริงๆ ไม่เฉพาะแต่เวลาเราจะมานั่งอย่างเดียว ยืน เดิน นั่ง นอนรับประทาน ดื่ม ทำ ใจนึก พุทโธ ไว้ให้ตลอดเวลา ไม่ต้องเลือกเวลาว่าเวลานี้เราจะภาวนา พุทโธ เวลานี้เราจะไม่ภาวนา พุทโธ ท่านสอนให้ภาวนาทุกลมหายใจ

    มีคนถามว่า
    “ภาวนาในห้องน้ำได้ไหม บาปไหม?

    บางคนก็จะไปข้องใจว่า ภาวนา พุทโธ ในห้องน้ำห้องส้วมมันจะไม่บาปหรือ
    ?

    ไม่บาป ธรรมะเป็นอกาลิโก ไม่เลือกกาลเลือกเวลา พระองค์สอนไว้แล้ว ถ้ายิ่งเข้าในห้องน้ำห้องส้วมนะ ยิ่งภาวนาดี เพราะมันมีสิ่งประกอบ สิ่งที่จะทำให้เรามองเห็นสิ่งปฏิกูล น่าเกลียด โสโครก มันก็แสดงออกมาให้เราเห็น แล้วเราภาวนา พุทโธ พุทโธ แปลว่า รู้ รู้ในสิ่งที่เราทำอะไรอยู่ในขณะนั้นถ้าหากว่าท่านผู้ใดเชื่อในคำแนะนำของหลวงปู่ท่าน ไปภาวนาพุทโธอย่างเอาจริงเอาจัง ส่วนใหญ่จะไม่เกิน ๗ วัน บางคนเพียงครั้งเดียวจิตสงบ สว่าง รู้ ตื่น เบิกบานขึ้นมา

    ทีนี้เมื่อภาวนาจิตเป็นสมาธิ เวลามาถามท่าน ภาวนาพุทโธแล้วจิตของฉันนี่ตอนแรกๆ มันมีอาการเคลิ้มเหมือนกับจะง่วงนอน ทีนี้มันสะลึมสะลือ เหมือนครึ่งหลับครึ่งตื่น พอเผลอๆ จิตมันวูบลงไปสว่างตูมขึ้นมาเหมือนกับมันมองเห็นทั่วหมดในห้อง จนตกใจว่าแสงอะไรมันมาสว่างไสว

    พอตกใจแล้วสมาธิถอน ลืมตาแล้วความมืดมันก็มาแทนที่ อันนี้เป็นจุดสำคัญ คือถ้าจิตของเราได้สัมผัสกับสิ่งแปลกใหม่ มันจะเกิดความตื่นตกใจ หรือเกิดเอะใจขึ้นมา แต่ถ้าหากว่าเราไม่เกิดการตื่นใจหรือเกิดตกใจ เกิดเอะใจ จิตของเราสามารถมีสติประคับประคองรู้อยู่โดยธรรมชาติ จิตมันก็สงบนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน มีปีติมีความสุข

     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แนะการภาวนาและนิมิต


    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย พูดถึงการสอน การชี้แนะของ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ในเรื่องของการทำสมาธิภาวนา และเรื่องนิมิต ดังนี้ : -

    “เมื่อหลวงพ่อไปเล่าเรื่องภาวนาให้ท่านฟัง ถ้าสิ่งใดที่มันถูกต้องท่านบอกว่า เร่งเข้าๆ ๆ แล้วจะไม่อธิบาย

    แต่ถ้าหากมันไม่ถูกต้อง เช่น อย่างใครทำสมาธิภาวนาแล้ว มันคล้ายๆ กับว่า พอจิตสว่างรู้เห็นนิมิตขึ้นมาแล้ว ก็น้อมเอานิมิตเข้ามา พอนิมิตเข้ามาถึงตัวถึงใจแล้ว มันรู้สึกว่าอึดอัดใจเหมือนหัวใจถูกบีบ แล้วสมาธิที่สว่างก็มืดไปเลย

    อันนี้ท่านบอกว่า อย่าทำอย่างนั้นมันไม่ถูกต้อง

    หลวงพ่อพุธ ได้อธิบายการภาวนาจากหลวงปู่ใหญ่ ว่า
    “เมื่อเกิดนิมิตขึ้นมา ถ้าหากว่าไปเล่าให้อาจารย์องค์ใดฟัง ถ้าท่านแนะนำว่าให้น้อมให้เอานิมิตนั้นเข้ามาหาตัว อันนี้เป็นการสอนผิด

    แต่ถ้าว่าท่านผู้ใดพอบอกไปว่า ภาวนาเห็นนิมิต ท่านแนะนำให้กำหนดรู้จิตเฉยอยู่ คล้ายๆ กับว่าไม่สนใจกับนิมิตนั้น แล้วนิมิตนั้นจะแสดงปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงไปในแง่ต่างๆ

    เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะดี มีสมาธิมั่นคง เราจะอาศัยความเปลี่ยนแปลงของมโนภาพอันเป็นของนิมิตนั้น เป็นเครื่องเตือนใจให้เรารู้ว่าทุกอย่างมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา

    นิมิตที่เปลี่ยนแปลงเป็นปฏิภาคนิมิต

    ถ้าหากว่านิมิตที่ปรากฏแล้ว มันหยุดนิ่ง ไม่ไหวติง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ บางทีสมาธิของเรามันแน่วแน่ ความทรงจำมันฝังลึกลงไปในส่วนลึกของจิตไปถึงจิตใต้สำนึก

    เมื่อออกจากที่นั่งสมาธิแล้ว เราไม่ได้นึกถึง เหมือนกับคล้ายๆ มองเห็นนิมิตนั้นอยู่ นึกถึงมันก็เห็น ไม่นึกถึงมันก็เห็น มันติดตาติดใจอยู่อย่างนั้น อันนี้เรียกว่า อุคคหนิมิต

    ว่ากันง่ายๆ ถ้าจิตของเรามองเพ่งอยู่ที่ภาพนิ่งเป็นอุคคหนิมิต ถ้าจิตเพ่งรู้ความเปลี่ยนแปลงของนิมิตนั้นเป็นปฏิภาคนิมิต

    อุคคหนิมิต เป็นสมาธิขั้นสมถกรรมฐาน แต่ปฏิภาคนิมิตนั้นเป็นสมาธิขั้นวิปัสสนา เพราะจิตกำหนดรู้ความเปลี่ยนแปลง

    อันนี้ถ้าหากใครภาวนาได้นิมิตอย่างนี้ ไปเล่าให้ท่านอาจารย์เสาร์ฟัง ท่านจะบอกว่า เอ้อ! ดีแล้ว เร่งเข้าๆ ๆ

    แต่ถ้าใครไปบอกว่า ในเมื่อเห็นนิมิตแล้ว ผมหรือดิฉันน้อมเข้ามาในจิตในใจ แต่ทำไมเมื่อนิมิตเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว จิตที่สว่างไสวปลอดโปร่ง รู้ ตื่น เบิกบาน มันมืดมิดลงไป แล้วเหมือนกับหัวใจถูกบีบ หลังจากนั้นจิตของเราไม่เป็นตัวของตัว คล้ายๆ กับว่าอำนาจสิ่งที่เข้ามานั้นมันครอบไปหมด

    ถ้าไปเล่าให้ฟังอย่างนี้ ท่านจะบอกว่าทำอย่างนั้นมันไม่ถูกต้อง เมื่อเห็นนิมิตแล้ว ให้กำหนดรู้เฉยๆ อย่าน้อมเข้ามา ถ้าน้อมเข้ามาแล้ว นิมิตเข้ามาในตัว มันจะกลายเป็นการทรงวิญญาณ

    อันนี้เป็นเคล็ดลับในการปฏิบัติ เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดมาแนะนำเราว่า ทำสมาธิแล้วให้น้อมจิตไปรับเอาอำนาจเบื้องบน หรือเห็นนิมิตแล้วให้น้อมเข้ามาในตัว อันนี้อย่าไปเอา มันไม่ถูกต้อง

    ในสายหลวงปู่เสาร์นี่ ท่านสอนให้ภาวนาพุทโธ


    <TABLE id=table16 border=0 width=122><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    หลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    แสดงพระธรรมเทศนา
    ในวันเปิดพระเจดีย์หลวงปู่เสาร์ ณ วัดดอนธาตุ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทำไมจึงสอนภาวนาพุทโธ


    คำบอกเล่าจาก หลวงพ่อพุธ ฐานิโย มีต่อไปดังนี้ : -

    “หลวงพ่อ ก็เลยเคยแอบถามท่านว่า ทำไมจึงต้องภาวนาพุทโธ?

    ท่านก็อธิบายให้ฟังว่า ที่ให้ภาวนาพุทโธนั้น เพราะ พุทโธ เป็นกิริยาของใจ

    ถ้าเราเขียนเป็นตัวหนังสือเราจะเขียน พ พาน สระ อุ ท-ทหารสะกด สระ โอ ตัว ธ-ธง อันนี้เป็นเพียงแต่คำพูด เป็นชื่อของคุณธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อจิตภาวนา พุทโธ แล้ว มันสงบวูบลงไป นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน พอหลังจากนั้น คำว่าพุทโธมันก็หายไป

    แล้วทำไมมันจึงหายไป เพราะจิตมันถึงพุทโธแล้ว จิตกลายเป็นจิตพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นคุณธรรมที่ทำจิตให้เป็นพุทธะเกิดขึ้นในจิตของท่านผู้ภาวนา

    พอหลังจากนั้นจิตของเราจะหยุดนึกคำว่าพุทโธ แล้วก็ไปนิ่งรู้ ตื่น เบิกบาน สว่างไสว กายเบาจิตเบา กายสงบจิตสงบ ยังแถมมีปีติ มีความสุขอย่างบอกไม่ถูก อันนี้มันเป็นพุทธะ พุทโธ โดยธรรมชาติเกิดขึ้นที่จิตแล้ว

    พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาของจิต มันใกล้กับความจริง

    แล้วทำไมเราจึงมาพร่ำบ่น พุทโธๆ ๆ ในขณะที่จิตเราไม่เป็นเช่นนั้น ?

    ที่เราต้องมาบ่นว่า พุทโธ นั้นก็เพราะว่า เราต้องการจะพบพุทโธ ในขณะที่พุทโธยังไม่เกิดขึ้นกับจิตนี้ เราก็ต้องท่อง พุทโธๆ ๆ ๆ เหมือนกับว่าเราต้องการจะพบเพื่อนคนใดคนหนึ่ง เมื่อเรามองไม่เห็นเขา หรือเขายังไม่มาหาเรา เราก็เรียกชื่อเขา ทีนี้ในเมื่อเขามาพบเราแล้ว เราได้พูดจาสนทนากันแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องไปเรียกชื่อเขาอีก ถ้าขืนเรียกซ้ำๆ เขาจะหาว่าเราร่ำไร ประเดี๋ยวเขาด่าเอา

    ทีนี้ในทำนองเดียวกัน ในเมื่อเรียก พุทโธๆ ๆ เข้ามาในจิตของเรา เมื่อจิตของเราได้เกิดเป็นพุทโธเอง คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาก จิตของเราก็หยุดเรียกเอง

    ทีนี้พอเรามีความรู้สึกอันหนึ่งแทรกขึ้นมา เอ้า ! ควรจะนึกพุทโธอีก พอเรานึกขึ้นมาอย่างนี้ สมาธิของเราจะถอนทันที แล้วกิริยาที่จิตมันรู้ ตื่น เบิกบาน จะหายไป เพราะสมาธิถอน

    ทีนี้ตามแนวทางของครูบาอาจารย์ที่ท่านแนะนำพร่ำสอน ท่านจึงให้คำแนะนำว่า เมื่อเราภาวนาพุทโธไป จิตสงบวูบลงนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ท่านก็ให้ประคองจิตให้อยู่ในสภาพปกติอย่างนั้น

    ถ้าเราสามารถประคองจิตให้อยู่ในสภาพอย่างนั้นได้ตลอดไป จิตของเราจะค่อยสงบ ละเอียดๆ ๆ ลงไป ในช่วงเหตุการณ์ต่างๆ มันจะเกิดขึ้น ถ้าจิตส่งกระแสออกนอก เกิดมโนภาพ ถ้าวิ่งเข้ามาข้างในจะเห็นอวัยวะภายในร่างกายทั่วหมด ตับ ไต ไส้ พุง เห็นหมด

    แล้วมักจะรู้สึกว่ากายของเรานี่เหมือนกับแก้วโปร่ง ดวงจิตที่สงบ สว่างเหมือนกับดวงไฟที่เราจุดไว้ในครอบแก้ว สามารถเปล่งรัศมีออกมารอบๆ จนกว่าจิตจะสงบละเอียดลงไป จนกระทั่งว่ากายหายไป แล้วจึงจะเหลือแต่จิตสว่างไสวอยู่ดวงเดียว ร่างกายตัวตนหายหมด

    ถ้าหากจิตดวงนี้มีสมรรถภาพดีพอ จะเกิดความรู้ความเห็นอะไรได้ จิตจะย้อนกายลงมาเบื้องล่าง เห็นร่างกายตัวเองนอนตายเหยียดยาวอยู่ขึ้นอืดเน่าเปื่อยผุพัง สลายตัวไป..

     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลักปฏิบัติที่ครูอาจารย์พาดำเนิน


    หลวงพ่อพุธ ฐานิโยพูดถึงหลักปฏิบัติที่ครูอาจารย์สายกรรมฐานพาดำเนินสืบต่อกันมา ดังนี้

    “พระบูรพาจารย์ของเรา เราถือว่าพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เป็นพระอาจารย์องค์แรก และเป็นผู้นำหมู่คณะลูกศิษย์ลูกหาออกเดินธุดงคกรรมฐาน ชอบพักพิงอยู่ตามป่าตามที่วิเวก อาศัยอยู่ตามถ้ำบ้างตามโคนไม้บ้าง

    และท่านอาจารย์มั่น ก็เป็นอีกท่านหนึ่งซึ่งเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์เสาร์

    หลวงพ่อสิงห์ ขนฺตยาคโม ก็เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์และท่านอาจารย์มั่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระอาจารสิงห์ เปรียบเสมือนหนึ่งว่าเป็นเสนาธิการใหญ่ของกองทัพธรรม ได้นำหมู่คณะออกเดินธุดงค์ไปตามราวป่าตามเขา อยู่อัพโภกาส อยู่ตามโคนต้นไม้ อาศัยตามถ้ำพักพิงอาศัยอยู่ในราวป่าห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๕๐๐ เมตร

    การธุดงค์ของพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์ จะไม่นิยมที่จะไปปักกลดอยู่ตามละแวกบ้าน ตามสนามหญ้า หรือตามบริเวณโรงเรียน หรือใกล้ๆ กับถนนหนทางในที่ซึ่งเป็นที่ชุมนุมชนท่านจะออกแสวงหาวิเวกในราวป่าห่างไกลกันจริงๆ

    บางทีไปอยู่ในป่าเขาที่ไกล ตื่นเช้าเดินจากที่พักลงมาสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้วกลับไปที่พักเป็นเวลา ๑๑.๐๐ น.หรือ ๕ โมงก็มี

    อันนี้ก็คือหลักการปฏิบัติของพระธุดงคกรรมฐานในสายพระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร์ ซึ่งบางทีอาจผิดแผกจากพระธุดงค์ในสมัยปัจจุบัน ซึ่งไปปักกลดอยู่ตามสนามหญ้า หรือตามสถานีรถไฟ ตามบริเวณโรงเรียนหรือศาลเจ้าต่างๆ

    พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์ ไม่นิยมทำเช่นนั้น ไปธุดงค์ก็ต้องไปป่ากันจริงๆ ที่ใดซึ่งมีอันตรายท่านก็ยิ่งไป เพื่อเป็นการทดสอบความสามารถของตัวเอง และเป็นการฝึกฝนลูกศิษย์ลูกหาให้มีความกล้าหาญ เผชิญต่อภัยของชีวิต ตะล่อมจิตให้ยึดมั่นในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแน่วแน่

    เมื่อไปในสถานที่ที่คิดว่ามีอันตราย ไปอยู่ในที่ห่างไกลพี่น้องเพื่อนฝูงสหธรรมิกก็ไปอยู่บริเวณที่ห่างๆ กัน ในเมื่อจิตใจเกิดความหวาดกลัวภัยขึ้นมา จิตใจก็วิ่งเข้าสู่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยึดเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะอย่างเหนียวแน่น เพราะในขณะนั้นไม่มีใครอีกแล้วที่จะเป็นเพื่อนตาย

    ดังนั้นท่านจึงมีอุบายให้ไปฝึกฝนอบรมตัวเอง ฝึกฝนอบรมบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ผู้ติดตาม ในสถานที่วิเวกห่างไกล เต็มไปด้วยภัยอันตราย เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหามีความกล้าหาญชาญชัย ในการที่จะเสียสละเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อบูชาพระรัตน์ตรัยอย่างแท้จริง

    การฝึกฝนอบรมหรือการอบรมสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ดังกล่าวนั้น ท่านยึดหลักที่จะพึงให้ลูกศิษย์ปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวันดังนี้

    ท่านจะสอนให้พวกเราประกอบความเพียรดังกล่าว ตั้งแต่หัวค่ำ จนกระทั่งเวลา ๔ ทุ่ม พอถึง ๔ ทุ่มแล้วก็จำวัดพักผ่อนตามอัธยาศัย

    พอถึงตี ๓ ท่านก็เตือนให้ลุกขึ้นมาบำเพ็ญเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา หรือทำวัตรสวดมนต์ ก็ตามแต่ที่จะถนัด

    แต่หลักที่ท่านยึดเป็นหลักที่แน่นอนที่สุดก็คือว่า ในเบื้องต้นท่านจะสอนให้ลูกศิษย์หัดนอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๓ ในขณะที่ยังไม่ได้นอนหรือตื่นขึ้นมาแล้วก็ทำกิจวัตร มีการสวดมนต์ไหว้พระ เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ท่านก็จะสอนให้ทำอย่างนี้

    อันนี้เป็นหลักสำคัญที่ท่านจะรีบเร่งอบรมสั่งสอนและฝึกลูกศิษย์ให้ทำให้ได้ ถ้าหากยังทำไม่ได้ ท่านก็ยังไม่อบรมสั่งสอนธรรมะส่วนละเอียดขึ้นไป

    เพราะอันนี้เป็นการฝึกหัดดัดนิสัยให้มีระเบียบ นอนก็มีระเบียบ ตื่นก็มีระเบียบ การฉันก็ต้องมีระเบียบ คือฉันหนเดียวเป็นวัตร ฉันในบาตรเป็นวัตร บิณฑบาตฉันเป็นวัตร

    อันนี้เป็นข้อวัตรที่ท่านถือเคร่งนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อฉันในบาตร ฉันหนเดียว อันนี้ท่านยึดเป็นหัวใจหลักของการปฏิบัติกรรมฐานเลยทีเดียว
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลักสมถวิปัสสนาของหลวงปู่ใหญ่


    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย พูดถึงหลักการสอนด้านสมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ดังนี้. -

    “หลักการสอน ท่านก็สอนในหลักของสมถวิปัสสนาดังที่เราเคยได้ยินได้ฟังกันมาแล้วนั้น แต่ท่านจะเน้นหนักในการสอนให้เจริญพุทธคุณเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเจริญพุทธคุณจนคล่องตัว จนชำนิชำนาญแล้วก็สอนให้พิจารณา กายคตาสติ

    เมื่อสอนให้พิจารณากายคตาสติ พิจารณาอสุภกรรมฐานจนคล่องตัว จนชำนิชำนาญแล้ว ก็สอนให้พิจารณาธาตุกรรมฐาน ให้พิจารณากาย แยกออกเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ แล้วก็พยายามพิจารณาว่าในร่างกายของเรานี้ไม่มีอะไร มีแต่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันอยู่เท่านั้น หาสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี

    ในเมื่อฝึกฝนอบรมให้พิจารณาจนคล่องตัว จิตก็จะมองเห็นทั้งที่ไม่มีตัวตน คือเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เป็นอนัตตาทั้งสิ้น

    (ถ้า) จะว่ามีตัวมีตน เมื่อแยกออกไปแล้วมันก็มีแต่ธาตุ ๔ ดินน้ำ ลม ไฟ สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ไม่มี แต่อาศัยความประชุมพร้อมของธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิวิญญาณ มายึดครองอยู่ในร่างกายนี้ เราจึงสมมติบัญญัติว่าสัตว์ บุคคล ตัวตนเรา เขา

    อันนี้เป็นแนวการสอนของพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่นและพระอาจารย์สิงห์

    การพิจารณาเพียงแค่ว่า พิจารณากายคตาสติก็ดี พิจารณาธาตุกรรมฐานก็ดี ตามหลักวิชาการท่านว่า เป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐานแต่ท่านก็ย้ำให้พิจารณาอยู่ในกายคตาสติกรรมฐาน กับ ธาตุกรรมฐานนี้เป็นสวนใหญ่

    ที่ท่านย้ำๆ ให้พิจารณาอย่างนั้น ก็เพราะว่าทำให้ภูมิจิตภูมิใจของนักปฏิบัติก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้เร็ว โดยเพราะอย่างยิ่งการพิจารณากายคตาสติ แยกผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูกเป็นต้น แยกเป็นส่วนๆ เราจะมองเห็นว่าในกายของเรานี้ก็ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน มันมีแต่เพียงผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เท่านั้น

    ถ้าว่ากายนี้เป็นตัวเป็นตน ทำไมจึงจะเรียกว่า ผม ทำไมจึงจะเรียกว่าขน ทำไมจึงจะเรียกว่า เล็บ ว่าฟัน ว่าเนื้อ ว่าเอ็น ว่ากระดูก ในเมื่อแยกออกไปเรียกอย่างนั้นแล้ว มันก็ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตนเรา เขา

    นอกจากนั้นก็จะมองเห็นอสุภกรรมฐาน เห็นว่าร่างกายนี้เต็มไปด้วยของปฏิกูลน่าเกลียด โสโครก น่าเบื่อหน่าย ไม่น่ายึดถือมั่นว่าเป็นอัตตาตัวตน แล้วพิจารณาบ่อยๆ พิจารณาเนืองๆ จนกระทั่งจิตเกิดความสงบ สงบแล้วจิตจะปฏิวัติตัวไปสู่การพิจารณาโดยอัตโนมัติ

    ผู้ภาวนาก็เริ่มจะรู้แจ้งเห็นจริงในความเป็นจริงของร่างกายนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ พิจารณากายแยกออกเป็นส่วนๆ ส่วนนี้เป็นดิน ส่วนนี้เป็นน้ำ ส่วนนี้เป็นลม ส่วนนี้เป็นไฟ เราก็จะมองเห็นว่าร่างกายนี้สักแต่ว่าเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ไม่มี ก็ทำให้จิตของเรามองเห็นอนัตตาได้เร็วขึ้น

    เพราะฉะนั้น การเจริญกายคตาสติก็ดี การเจริญธาตุกรรมฐานก็ดี จึงเป็นแนวทางให้จิตดำเนินก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้

    และอีกอันหนึ่ง อานาปานสติ ท่านก็ยึดเป็นหลักสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรรมฐานอานาปานสติ - การกำหนดพิจารณา กำหนดลมหายใจ นั้น จะไปแทรกอยู่ทุกกรรมฐาน จะบริกรรมภาวนาก็ดี จะพิจารณาก็ดี ในเมื่อจิตสงบลงไป ปล่อยวางอารมณ์ที่พิจารณาแล้ว ส่วนใหญ่จิตจะไปรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก

    ในเมื่อจิตตามรู้ลมหายใจเข้าออก กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่เป็นปกติ จิตเอาลมหายใจเป็นสิ่งรู้ สติเอาลมหายใจเป็นสิ่งระลึก ลมหายใจเข้าออกเป็นไปตามปกติของร่างกาย เมื่อสติไปจับที่ลมหายใจลมหายใจก็เป็นฐานที่ตั้งของสติ

    ลมหายใจเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยกาย สติไปกำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก จดจ่ออยู่ที่ตรงนั้น วิตกถึงลมหายใจ มีสติรู้พร้อมอยู่ในขณะนั้น จิตก็มีวิตกวิจารอยู่กับลมหายใจ

    เมื่อจิตสงบลงไป ลมหายใจก็ค่อยๆ ละเอียดๆ ลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในที่สุดลมหายใจก็หายขาดไป เมื่อลมหายใจหายขาดไปจากความรู้สึก ร่างกายที่ปรากฏว่ามีอยู่ก็พลอยหายไปด้วย

    ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าหากว่าลมหายใจยังไม่หายขาดไป กายก็ยังปรากฏอยู่ เมื่อจิตตามลมหายใจเข้าไปข้างใน จิตจะไปสงบนิ่งอยู่ในท่ามกลางของกาย แล้วก็แผ่รัศมีออกมารู้ทั่วกาย จิตสามารถที่จะมองเห็นอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายได้หมดทั้งตัว

    เพราะลมย่อมวิ่งเข้าไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ลมวิ่งไปถึงไหนจิตก็รู้ไปถึงนั่น ตั้งแต่หัวจรดเท้า ตั้งแต่เท้าจรดหัว ตั้งแต่แขนซ้ายแขนขวา ขาขวา ขาซ้าย

    เมื่อจิตตามลมหายใจเข้าไปแล้ว จิตจะรู้ทั่วกายหมด ในขณะใดกายยังปรากฏอยู่ สงบนิ่ง รู้สว่างอยู่ในกาย วิตก วิจาร คือจิตรู้อยู่ภายในกาย สติก็รู้พร้อมอยู่ในกาย

    ในอันดับนั้น ปีติและความสุขย่อมบังเกิดขึ้น เมื่อปีติและความสุขบังเกิดขึ้น จิตก็เป็นหนึ่ง นิวรณ์ ๕ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจทุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็หายไป จิตกลายเป็นสมถะ มีพลังพอที่จะปราบนิวรณ์ ๕ ให้สงบระงับไป

    ผู้ภาวนาก็จะมองเห็นผลประโยชน์ในการเจริญสมถกรรมฐาน
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่ใหญ่ฉันเห็ดเบื่อ

    <TABLE id=table57 border=0 align=left><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=left>
    พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เรื่องนี้เป็นปฏิปทาที่แปลก หรือที่สมัยใหม่เขาพูดว่าเป็นความสามารถเฉพาะตัว หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นผู้เล่าให้ฟัง ดังนี้ : -

    “หลวงปู่เสาร์ นี่ เห็ดมันขึ้นตามวัด บอกเณรไปเก็บ เณรก็เก็บเห็ดอันนี้ไปหมกไฟให้กิน เณรก็ไปเก็บได้ประมาณเต็มชามก๋วยเตี๋ยวหนึ่ง เอามาห่อหมก (หมายถึงใช้ใบตองห่อ แล้วนำไปหมกไฟให้สุก) เสร็จแล้วก็ไปถวายหลวงปู่ หลวงปู่ก็ฉันจนหมด

    ทีนี้ไอ้เราพวกเณรที่ทำห่อหมก เณร ๕-๖ องค์ ตักแจกกันคนละช้อนๆ ๆ ฉันอาหารยังไม่ทันอิ่มเลย สลบเหมือดทั้ง ๖ องค์

    ทีนี้ อุ๊ย ! เณรเป็นอะไรๆ ถามมันดูซิว่ามันเป็นอะไร เณรก็กินเห็ดเบื่อ (คือเห็ดเมา เห็ดมีพิษ)

    รู้ว่าเห็ดเบื่อทำไมถึงกินล่ะ
    ?

    ท่านอาจารย์พากิน

    ข้าไม่ได้กินเห็ดเบื่อ ถ้าข้ากินเห็ดเบื่อข้าก็เมาตายสิ

    หลวงปู่เสาร์ฉันเป็นชามนั่งยิ้มเลย แต่เณรฉันคนละช้อน ฉันข้าวยังไม่อิ่ม สลบเหมือดไปเลย อันนี้จิตของเรานี่มันปรุงแต่ง จะให้มันแพ้หรือมันชนะก็ทำได้

    อีกเรื่องหนึ่ง หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค เล่าให้ผู้เขียนฟังเมื่อคราวไปร่วมงานฉลองเจดีย์หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ที่วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี ซึ่งเป็นวัดสุดท้ายที่หลวงปู่ใหญ่พำนักอยู่

    หลวงพ่อโชติ บอกว่า หลวงปู่ใหญ่ ท่านชอบฉันเห็ด ตรงหน้ากุฏิของท่านเป็นทางเดินจงกรม และที่ขอบทางเดินจะมีเห็ดขึ้นทุกวัน ไม่ว่าฤดูไหนก็ตาม จำนวนไม่มาก พอเก็บถวายให้ท่านฉันองค์เดียวได้

    ทุกวัน แม่ชีจะเก็บเห็ดนั้นไปทำถวายท่าน

    ทุกคนในวัดรู้เรื่องนี้ดี เรียกกันว่า เห็ดเทวดาถวาย

    แต่หลวงปู่ใหญ่ ไม่เคยปริปากพูดถึงเรื่องนี้เลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...