หลวงพ่อชา เล่าว่าได้พบหลวงปู่มั่น เกิดความประทับใจ และได้ฝากเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย แดนโลกธาตุ, 22 มกราคม 2007.

  1. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=text_white_head width="90%">หลวงพ่อชา เล่าว่าได้พบหลวงปู่มั่น เกิดความประทับใจในปฏิปทาขององค์ท่าน...เท่าที่เคยพบมา.. และได้ฝากเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น




    [​IMG] [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="9%"></TD><TD class=text_green_big vAlign=top width="79%">

    หลวงพ่อชา สุภัทโท พบท่านพระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และได้ฝากเป็นศิษย์ท่าน และได้แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องตามธรรมวินัย ดังเรื่องราวที่หลวงปู่ชาได้เล่าถ่ายทอดให้พระเณรได้ฟังต่อไปนี้..............


    ในระหว่างที่จำพรรษาที่วัดเขาวงกฏ หลวงพ่อชาได้ฟังเรื่องราวของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จาก โยมคนหนึ่ง ซึ่งเคยไปนมัสการหลวงปู่มั่นที่สำนักวัดป่าหนองผือนาใน ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และได้เกิดความรู้สึกเลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงปู่มั่น และตั้งใจว่าจะต้องไปศึกษาแนวทางการปฏิบัติจากท่านหลวงปู่มั่น เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อชาพิจารณาเห็นว่า พระถวัลย์มีความสนใจในการศึกษาตำรับตำรา จึงปรารภ เรื่องวิถีชีวิตกันระหว่างเพื่อน พระถวัลย์ตกลงใจจะไปเรียนปริยัติธรรมที่กรุงเทพฯ หลวงพ่อชากับคณะ พระภาคกลางรวมกันสี่รูป จึงออกเดินทางย้อนกลับมาที่อุบลราชธานี พักอยู่ที่วัดก่อนอก ระยะหนึ่ง แล้วเดินจาริกธุดงค์มุ่งหน้าไปจังหวัดสกลนคร เพื่อไปยังเสนาสนะวัดป่าหนองผือนาใน เพื่อรับการอบรมธรรมจากหลวงปู่มั่น ผู้ประสิทธิ์ประสาทธรรมในที่นั้น

    ระหว่างการเดินทางไปสำนักหลวงปู่มั่น ได้แวะสนทนาและศึกษาตามสำนักต่าง ๆ ที่ จาริกผ่านไปเรื่อย ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ และเปรียบเทียบแนวทางปฏิบัติของแต่ละสำนัก การเดินทางครั้งนั้น ผู้ร่วมทางบางคนในคณะเกิดท้อถอย เพราะมีความเหน็ดเหนื่อย และยาก ลำบากมาก ต้องเดินลัดเลาะป่าเขา เดินตามทางเกวียน ประกอบกับเป็นผู้ไม่คุ้นเคยต่อการเดินทางไกลนัก พระบางรูปจึงขอแยกทางกลับคืนถิ่นเดิม หลวงพ่อกับพระ อีกสองรูปที่ไม่เลิกล้มความตั้งใจ ได้ออกเดินทางต่อ ในที่สุดก็ถึงสำนักของ หลวงปู่มั่น เสนาสนะวัดป่าหนองผือนาใน


    ก้าวแรกที่หลวงพ่อเดินเข้าไปเห็นสภาพวัดป่าหนองผือนาใน


    ก้าวแรกที่ย่างเข้าสู่สำนักป่าหนองผือนาใน หลวงพ่อรู้สึกประทับใจในบรรยากาศอันสงบ ร่มรื่นของสำนักวัดป่าหนองผือ มองดูลานวัดสะอาดสะอ้าน กิริยามารยาทของเพื่อนบรรพชิตในวัดป่านี้เป็นที่น่าเลื่อมใสยิ่งนัก จึงเกิดความพึงพอใจยิ่งกว่าสำนักใด ๆ ที่เคยเห็นเคยสัมผัสมา ยามเย็นวันแรกที่ไปถึง ได้เข้ากราบนมัสการ หลวงปู่มั่น พร้อมศิษย์ของท่านเพื่อฟังธรรมร่วมกัน หลวงปู่มั่นท่านได้ปฏิสันถาร สอบถามเกี่ยวกับอายุ พรรษา และสำนักที่เคยได้ศึกษาปฏิบัติ และการภาวนา

    หลวงปู่มั่น ท่านล่วงรูวาระจิตหลวงพ่อชา

    แปลกมากเมื่อมาถึงวัดป่าหนองผือนาใน หลวงปู่มั่นท่านเทศน์อบรมเรื่องนิกายธรรมยุติ กับมหานิกาย บังเอิญเป็นเรื่องที่หลวงพ่อชาสงสัยมานานเกี่ยวกับเรื่องนี้ ตลอดการเดินทางมาที่นี่หลวงพ่อชาก็กะว่าจะเรียนถามถึงเรื่องสองนิกายนี้ แต่ยังไม่ได้ทันถามหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านเทศน์เรื่องสองนิกายก่อนเลย ทำให้หลวงพ่อชาขนลุกขนพองปลื้มปิติแปลกใจมาก เพราะท่านเพียงแต่คิดในใจท่านเท่านั้นเอง หลวงปู่มั่นท่านทำไมถึงทราบได้ ทำให้หลวงพ่อชามั่นใจในคุณธรรมปฏิบัติของหลวงปู่มั่นมากเป็นลำดับ

    จากนั้นท่านพระอาจารย์มั่นก็ให้โอวาทและปรารภถึงเรื่องนิกายทั้งสอง คือ ธรรมยุติและมหานิกาย ซึ่งเป็นเรื่องที่หลวงพ่อสงสัยอยู่มาก

    หลวงปู่มั่นกล่าวว่า "การประพฤติปฏิบัตินั้น หากถือเอาพระธรรมวินัยเป็นหลักแล้ว ก็ไม่ต้องสงสัยในนิกายทั้งสอง" เมื่อคลายความสงสัยในเรื่องนิกายแล้ว หลวงพ่อได้กราบเรียน ถามปัญหากับหลวงปู่มั่น ซึ่งหวงพ่อถ่ายทอดบทสนทนาของท่านกับหลวงปู่มั่นให้ศิษย์ฟังว่า

    "เกล้ากระผมเป็นผู้ปฏิบัติใหม่... ไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไร... มีความสงสัยมาก ยังไม่มีหลัก ในการปฏิบัติเลยครับ" หลวงพ่อชาถาม

    "มันเป็นยังไง" หลวงปู่มั่นถาม
    "ผมหาทางปฏิบัติ... ก็เลยเอาหนังสือวิสุทธิมรรคขึ้นมาอ่าน มีความรู้สึกว่า มันจะไปไม่ไหว เสียแล้ว เนื้อความในสีลานิทเทส สมาธินิทเทส ปัญญานิทเทสนั้น ดูเหมือนไม่ใช่วิสัยของ มนุษย์จะทำได้ ผมมองเห็นว่ามนุษย์ทั่วโลกนี้ มันจะทำตามไม่ได้ครับ มันยาก มันลำบาก มันเหลือวิสัยจริง ๆ ..." หลวงพ่อชาตอบ
    หลวงปู่มั่นจึงกล่าวให้ฟังว่า...
    "ท่าน... ของนี้มันมากก็จริงอยู่ ถ้าเราจะกำหนดทุก ๆ สิกขาบทในสีลานิทเทสนั้น นะมันก็ลำบาก แต่ความจริงแล้ว สีลานิทเทสก็คือสิ่งที่บรรยายออกมาจากใจของ คนเรานั่นเอง ถ้าหากว่าเราอบรมจิตของเราให้มีความละอาย มีความกลัวต่อ ความผิดทั้งหมด เราก็จะเป็นคนที่สำรวมสังวรระวัง เพราะมีความละอายและ เกรงกลัวต่อความผิด...
    เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็จะเป็นเหตุให้เราเป็นคนมักน้อย และสติก็จะกล้าขึ้น จะยืนเดิน นั่ง นอนอยู่ที่ไหน มันจะตั้งอกตั้งใจมีสติเต็มเปี่ยมเสมอ ความระวัง มันก็เกิดขึ้น...

    อะไรทั้งหมดที่ท่านศึกษาในหนังสือน่ะ มันขึ้นต่อจิตทั้งนั้น ถ้าท่านยังไม่ อบรมจิตของท่านให้มีความรู้ มีความสะอาดแล้ว ท่านจะมีความสงสัยอยู่เรื่อยไป...

    ดังนั้น ท่านจงรวมธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้ที่จิต สำรวมอยู่ที่จิต อะไรที่เกิดขึ้นมา ถ้าสงสัย... ถ้ายังไม่รู้แจ้งแล้วอย่าไปทำ... อย่าไปพูด... อย่าไป ละเมิดมัน"
    หลวงปู่มั่นแนะนำ

    คืนนั้น.. หลวงพ่อนั่งฟังธรรมร่วมกับศิษย์ของหลวงปู่มั่น เช่นหลวงปู่ขาว หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่มหาบัว หลวงปู่ผาง หลวงปู่แหวน หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่หลอด หลวงปู่ศรี จนกระทั่งถึงเที่ยงคืน จิตใจเกิด ความสงบระงับเป็นสมาธิ ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการเดินทางได้อันตรธานไปสิ้น...





    [​IMG]



    คืนที่สอง... หลวงปู่มั่นได้แสดงปกิณกธรรมต่าง ๆ ให้ฟังอย่างละเอียดลึกซึ้ง จนหลวงพ่อ คลายความลังเลสงสัยในวิถีทางการปฏิบัติ มีความปลาบปลื้มปิติในธรรมอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ในวันที่สาม... หลวงพ่อได้กราบลาหลวงปู่มั่น แล้วเดินธุดงค์ลงมาทางอำเภอนาแก จังหวัด นครพนม

    จากการได้พบหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในครั้งนั้น เป็นประสบการณ์สำคัญที่นำวิถีชีวิตของ หลวงพ่อเข้าสู่กระแสธรรมปฏิบัติอย่างถูกต้องและมั่นคง หลวงพ่อเล่าถึงบรรยากาศของการได้ สัมผัสหลวงปู่มั่น และสำนักป่าหนองผือนาใน แก่พระเณรในเวลาต่อมาว่า...

    "...ที่ผมได้ความรู้ความฉลาด จนได้มาแบ่งปันพวกท่านทั้งหลายนั้น ก็เพราะผมได้ ไปกราบครูบาอาจารย์มั่น... ไปพบท่าน แล้วก็เห็นสภาพวัดวาอารามของท่าน ถึงจะไม่สวยงาม แต่ก็ สะอาดมาก
    พระเณรตั้งห้าสิบหกสิบขณะฟังการอบรมธรรมจากหลวงปู่มั่น ทุกรูป เงียบ! กริบไม่มีการไอการจาม นั่งโยกเยกไม่มีเลยขนาดจะถากแก่นขนุน (แก่นขนุนใช้ต้มเคี่ยว สำหรับย้อมและซักจีวร) ก็ยังแบกเอาไปฟันอยู่โน้น.. ไกล ๆ โน้น เพราะกลัวว่าจะ ก่อกวนความสงบของหมู่เพื่อน...
    พระเณรที่นั่นพอตักน้ำทำกิจอะไรเสร็จ ก็เข้าทางจงกรม ของใครของมัน ไม่ได้ยินเสียงคุยกันอะไร อะไร นอกจากเสียงเท้าที่เดินเท่านั้นแหละ
    บางวันประมาณหนึ่งทุ่ม เราก็เข้าไปกราบท่านหลวงปู่มั่นเพื่อฟังธรรม ได้เวลาพอ สมควรประมาณสี่ทุ่มหรือห้าทุ่มก้กลับกุฏิ เอาธรรมะที่ได้ฟังไปวิจัย... ไปพิจารณาปฏิบัติดู
    เมื่อได้ฟังเทศน์ท่านหลวงปู่มั่นแล้ว ไม่รู้เป็นไง มันอิ่มใจ เดินจงกรมทำสมาธินี่... มันไม่เหน็ดไม่เหนื่อย มันมีกำลังมาก
    ออกจากที่ประชุมกันแล้วก็เงียบ! บางครั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน เพื่อนเขาเดิน จงกรมอยู่ตลอดคืนตลอดวัน จนได้ย่องไปดูว่าใคร ท่านผู้นั้นเป็นใคร ทำไมถึงเดิน ไม่หยุดไม่พัก นั่น... เพราะจิตใจมันมีกำลัง..."
    นี่แหละการได้อยู่ศึกษากับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ท่านมีคุณธรรมสามารถบอกสอนอบรมแนะนำให้เราปฏิบัติถูกทางตามอรรถตามธรรมเมื่อมรรคผลนิพพาน


    หลังจากกราบลาท่านหลวงปู่มั่นออกจากสำนักหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าหนองผือนาในแล้ว หลวงพ่อกับคณะเดินธุดงค์รอนแรมพักภาวนา ตามป่าเขามาเรื่อย ๆ ตามคำแนะนำของหลวงปู่มั่น ในขณะนั้นไม่ว่าจะเดินจงกรม หรือนั่งสมาธิอยู่ที่ใดก็ตามจิตของหลวงพ่อ มีความรู้สึก ราวกับว่า หลวงปู่มั่นคอยติดตามให้คำแนะนำตักเตือนอยู่ตลอดเวลา... เพื่อมิให้ประมาทในธรรมปฏิบัติ


    หลวงปู่มั่นแนะนำให้หลวงพ่อชาไปฝึกกรรมฐานพิจารณาอสุภะที่ป่าช้าเพื่อขจัดกิเลสในจิตของตน

    หลวงพ่อเกิดความสนใจ ใคร่จะศึกษาดูว่า การอยู่ป่าช้าจะช่วยขัดเกลากิเลสได้อย่างไร
    หลวงพ่อเล่าถึงประสบการณ์ที่ป่าช้าในครั้งนั้นว่า...

    " ...วันนั้นตอนบ่าย ๆ ตั้งใจว่าคืนนี้จะไปภาวนาในป่าช้า พอจะไปจริง ๆ ใจชักไม่อยากไป ซะแล้ว ก็บังคับมัน คิดว่าถ้าจะตายก็ยอมตายเพราะมันลำบากนัก มันโง่นัก พูดในใจ อย่างนี้...
    พอไปถึงป่าช้า ปะขาวแก้วจะมาพักใกล้ ๆ ก็ไม่ยอม ให้ไปอยู่ไกล ๆ โน่น ความจริงแล้ว อยากให้มาอยู่ใกล้ ๆ เป็นเพื่อนกัน แต่ไม่เอาเดี๋ยวตัวเองจะอาศัยเขา กลัวนัก ก็ให้มันตาย เสียในคืนนี้
    พอค่ำลง เขาหามศพมาฝังพอดี ทำไมถึงเหมาะเจาะอย่างนี้.. คิดอยากจะหนี.. เขานิมนต์ ให้สวดมาติกา ก็ไม่เอา เดินหนีไป... มันกลัว... เดินก็แทบไม่รู้สึกว่าเท้าแตะดิน
    สักพักก็เดินกลับมา เขาเอาศพฝังไว้ใกล้ ๆ แล้วยังเอาไม้ไผ่ที่หามศพมาทำเป็นร้านให้นั่ง... จะทำอย่างไรดี... หมู่บ้านกับป่าช้าก็ไม่ใช่ใกล้ ๆ กัน ห่างกันตั้งสองสามกิโล
    พอตะวันตกดิน ใจหนึ่งก็บอกให้เข้าไปอยู่แต่ในกลดท่าเดียว จะเดินไปหาหลุมศพ ก็เหมือนมีอะไรมาดึงขาเอาไว้ ความรู้สึกกลัวกลับกล้ามันฉุดรั้งกันอยู่
    พอมืดสนิทจริง ๆ ก็มุดเข้ากลดทันที รูสึกเหมือนมีกำแพงเจ็ดชั้น เห็นบาตรตั้งอยู่ข้าง ๆ ก็รู้สึกดีใจ ได้อาสัยบาตรเป็นเพื่อน นั่งอยู่ในกลดทั้งคืน ไม่ได้หลับไม่ได้นอนเลย นั่งเงียบอยู่ จะง่วงก็ไม่ง่วง มันกลัว ทั้งกลัวทั้งกล้า นั่งอยู่อย่างนั้นตลอดทั้งคืนเลย
    พอสว่างขึ้น ก็รู้สึกว่า เรารอดตายแล้ว ดีใจจริง ๆ ภายในใจเราอยากให้มีแต่กลางวันเท่านั้น ไม่อยากให้มีเวลากลางคืนเลย อยากฆ่ากลางคืนทิ้ง มันจะได้มีแต่กลางวัน...
    ตอนเช้า ไปบิณฑบาตคนเดียว หมาวิ่งตามหลังมาจะกัด แต่ก็ไม่ไล่ จะกัดก็กัดไปเลย ให้ มันกัดให้ตายซะ หมาก็งับผิดงับถูก โยมชาวภูไท ไม่รู้จักไล่หมา เขาว่าผีมันมากับพระ หมาจึงได้เห่าได้กัด เขาจึงไม่ไล่มัน
    ช่างมัน! เมื่อคืนนี้ก็กลัวจนเกือบตายทีหนึ่งแล้ว ตอนเช้านี้หมาจะกัด ก็เลยปล่อยให้มันกัด ซะ ถ้าหากว่าแต่ก่อนเราเคยกัดมัน ก็ปล่อยให้มันกัดคืนซะ แต่มันก็งับผิดงับถูกอยู่อย่างนั้น
    บิณฑบาตกลับก็ฉัน พอฉันเสร็จ แดดออกมาบ้างรู้สึกอบอุ่นได้เดินจงกรม และพักผ่อน เอาแรงบ้าง คืนนี้จะได้ภาวนาให้เต็มที่ คงไม่มีอะไรน่ากลัว เพราะได้ทดลองมาคืนหนึ่งแล้ว
    พอบ่าย ๆ ชาวบ้านหามศพมาอีกแล้ว เป็นผู้ใหญ่เสียด้วย เขาเอามาเผาไว้ใกล้ ๆ ด้านหน้า กลด แล้วก็กลับบ้านกันหมด ช่วงหัวค่ำศพที่ถูกเผามีกลิ่นเหม็นตลบอบอวล จะเดินจงกรม ไปข้างหน้าก็ก้าวไม่ออก ที่สุดเลยเข้าไปในกลด... นั่งหันหลังให้กองไฟ ไม่คิดอยากนอนเลย ตาตื่นแข็งอยู่อย่างนั้น
    ตกดึกประมาณสี่ทุ่ม มีเสียงอยู่ข้างหลังในกองไฟ ดังเหมือนตกลงมา หรือหมาจิ้งจอกมา กินซากศพ แต่ฟังอีกที เหมือนเสียงควายดังครืดคราด ๆ ... พอสักพัก มีเสียงเหมือนคน เดินเข้ามาหาทางด้านหลัง เดินหนักเหมือนควาย แต่ไม่ใช่... แต่จะเข้ามาก็ไม่เข้า เดิน โครม ๆ ออกไปทางปะขาวแก้ว
    นานประมาณครึ่งชั่วโมง เดินกลับมาอีกแล้ว เหมือนคนเดินจริง ๆ ตรงดิ่งเข้ามาเหมือน จะเหยียบเราอย่างนั้นแหละ... หลับตาสนิทไม่ยอมลืมตา ให้มันตายทั้งหลับตานี่แหละ มันมาถึงใกล้ ๆ หยุดกึก! ยืนนิ่งอยู่เงียบ ๆ ข้างหน้ากลด รู้สึกเหมือนกับว่า มันเอามือที่ถูก ไฟไหม้คว้าไปมาอยู่ข้างหน้า...
    ตายคราวนี้ละ! พุทโธ ธัมโม สังโฆ ลืมหมด มีแต่ความกลัวอย่างเดียว เต็มแน่นเอี๊ยดอยู่ ในใจ ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยมีความกลัวเหมือนครั้งนี้เลย มันกลัวมาก เปรียบเหมือนกับน้ำ ที่เราเทใส่ในโอ่ง เทใส่มากจนเต็มมันก็ล้นออกมา ความกลัวเหมือนกัน มันกลัวมากจน หมดกลัว แล้วก็ล้นออกมา... ใจหนึ่งเลยถามว่า... ที่กลัวมากกลัวมายนัก มันกลัวอะไร? กลัวตาย อีกใจหนึ่งตอบ
    แล้วความตายมันอยู่ที่ไหน... ทำไมกลัวเกินบ้านเมืองเขานัก... หาที่ตายดูซิ มันอยู่ไหน ความตายอยู่กับตัวเอง อยู่กับตัวเอง แล้วจะหนีไปไหนจึงจะพ้นมันล่ะ... วิ่งหนี ก็ตาย... นั่งอยู่ก็ตาย เพราะมันอยู่กับเราไปไหนมันก็ไปด้วย เพราะความตายมัน อยู่กับเรา.. กลัวหรือไม่กลัว.. ก็ตายเหมือนกัน หนีมันไม่ได้หรอก...
    พอคิดได้อย่างนี้ เท่านั้น สัญญาพลิกกลับ... ความคิดก็เปลี่ยนขึ้นมาทันที ความกลัว ทั้งหลายเลยหายไป ปานพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ อัศจรรย์เหลือเกิน ความกลัวมาก ๆ มันหายไปได้ ความไม่กลัวมันกลับมาแทนในที่เดียวกันนี้ โอ... ใจมันสูงขึ้น... สูงขึ้นเหมือน อยู่บนฟ้านะ... เปรียบไม่ถูก
    พอเอาชนะความกลัวได้แล้ว ฝนเริ่มตกทันทีเลย ลมพัดแรงมาก แต่ก็ไม่กลัวตายแล้ว ไม่ กลัวต้นไม้กิ่งไม้มันจะหักลงมาทับ ไม่สนใจมันเลย... ฝนตกลงมาหนักเหมือนฝนเดือนสี่ พอฝนหยุด... เปียกหมดทั้งตัว นั่งนิ่งไม่กระดิกเลย... ร้องไห้... นั่งร้องไห้น้ำตาไหลอาบ แก้มลงมาเพราะเกิดนึกไปว่า ตัวเรานี่ทำไมเหมือนคนไม่มีพ่อมีแม่แท้ มานั่งตากฝนยังกับ คนไม่มีอะไร ยังกับคนสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง คนที่เขามีบ้านอยู่ดี ๆ เขาคงจะไม่คิดหรอกว่า จะมีพระมานั่งตากฝนอยู่ทั้งคืนอย่างนี้ เขาคงจะนอนห่มผ้าสบาย คิดไปวิตกไป เลยสังเวช ชีวิตของตน ร้องไห้น้ำตาไหลพราก ๆ เอ้า... น้ำไม่ดีนี่ให้มันไหลออกมาให้หมด... อย่าให้ มันมีอยู่
    เมื่อคิดได้อย่างนี้... เมื่อชนะความรู้สึกแล้ว ก็นั่งดูจิตดูใจอยู่อย่างนั้น ความรู้เห็นสารพัด เรื่องเกิดขึ้นมา... พรรณนาไม่ได้ คิดถึงพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ วิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน... ความทุกข์ที่นั่งตากฝน... ความกลัวที่มันหายไป ความรู้สึกต่อมาเป็นอย่างไร ก็รู้แต่เฉพาะเราเอง ใครอื่นจะมารู้ด้วย... นั่งพิจารณาอยู่ อย่างนี้จนสว่าง จิตมีกำลังศรัทธาขึ้น
    ส่วางขึ้นมา ลืมตาครั้งแรกมองไปทางไหนเหลืองไปหมด ลุกไปปัสสาวะ เพราะมันปวด ตั้งแต่เมื่อคืน ปวดจนหายปวดไปเฉย ๆ ... ปัสสาวะออกมามีแต่เลือด รู้สึกตกใจเล็กน้อย คิดว่าไส้หรืออะไรข้างในคงขาดหมดแล้ว... ขาดก็ขาด... ตายก็ตายไปซิ... ตายเพราะ การปฏิบัติอย่างนี้ก็พอใจตาย แต่ตายเพราะไปทำความชั่วซิไม่ค่อยดี ตายเพราะปฏิบัติ แบบนี้ตายก็ตาย...
    ในใจมันแย้งกันอยู่อย่างนี้ ใจหนึ่งมันเบียดเข้ามาว่าเป็นอันตรายอีกใจหนึ่งมันสู้ มันค้าน และตัดขึ้นมาทันที คืนนั้นฝนตกทั้งคืน วันรุ่งขึ้นจับไข้สั่นไปทั้งตัว แต่ก็อดทนออกไป บิณฑบาตในหมู่บ้าน บิณฑบาตก็ได้แต่ข้าวเปล่า ๆ ..."
    หลังคืนสยองผ่านไป โดยมิรู้ว่าอาคันตุกะลึกลับผู้นั้นคือใคร เหตุใดจึงมาเยี่ยมเยือนด้วย อาการดุร้ายน่ากลัวเช่นนั้น... หลวงพ่อไม่กล่าวถึงมัน ท่านกลับเน้นให้ศิษย์มองเห็นคุณค่าของ การต่อสู้ให้ถึงที่สุด... สู้ชนิดเอาชีวิตเข้าแลก แล้วปัญญาความรู้แจ้งเห็นจริงจะเกิดขึ้นตรงนั้น ดังคำที่หลวงพ่อมักใช้ปลุกใจลูกศิษย์ว่า ไม่ดีก็ให้มันตาย... ไม่ตายก็ให้มันดี!

    เมื่อหลวงพ่อพักบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่ป่าช้าได้เจ็ดวัน ก็มีอาการป่วยหนัก จึงออกมาพัก รักษาตัวที่สำนักท่านอาจารย์คำดี พักอยู่ประมาณ 10 วัน อาการก็ทุเลาลง แม้ร่างกายอ่อนล้า เพราะพิษไข้ แต่จิตใจกลับกล้าแกร่งองอาจยิ่งนัก เพราะได้ฝ่าฟันอุปสรรคคือ ความกลัวตายใน คืนนั้นได้ด้วยความอดทนและภูมิปัญญา


    [​IMG]


    หลังจากอาการไข้สร่างซาลง มีพละกำลังกลับคืนมา ก็กราบลาท่านอาจารย์คำดี เดินทาง มาพักอยู่ในป่าใกล้บ้านต้อง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พักอยู่ที่นั่นหลายวัน อาการไข้หาย เป็นปกติ แต่อาการไข้ใจจากไฟราคะ ที่ถูกควบคุมความร้อนแรงไว้ด้วยการหลีกเร้นและภาวนา กลับถูกจุดให้ลุกโชนขึ้นอีกครั้ง โดยม่ายสาวผู้รวยรูปลักษณ์และทรัพย์สิน นางมาถวายอาหาร และ พูดคุยด้วยทุกวัน จนจิตใจหลวงพ่อหวั่นไหวไปตามแรงจริตที่นางแสดงออก ซึ่งส่อถึงความรู้สึก อันพิเศษ เกินขอบเขตที่อุบาสิกาจะพึงมีต่อพระ...

    หลวงพ่อชั่งใจว่าจะเอาอย่างไรดีอยู่หลายวัน กระทั่งคืนหนึ่งขณะนั่งภาวนาพิจารณาไป สังเกตเห็นใจตัวเองเอนเอียงไปทางนางมากขึ้นทุกที จึงตัดสินใจลุกขึ้นเก็บบริขารในกลางดึกของ คืนนั้น แล้วเดินไปปลุกปะขาวแก้ว ซึ้งกำลังหลับสบายอยู่ในกลด

    ปะขาวแก้วสะดุ้งตื่น ลุกขยี้ตา ถามอย่างงัวเงียว่า "ไปพรุ่งนี้ไม่ได้หรือครับ"

    "ไม่! จะไปเดี๋ยวนี้แหละ" หลวงพ่อตอบอย่างเด็ดขาด เพราะตรึกตรองดีแล้วว่า ถ้าไม่หนี คืนนี้ คงจะเสียทีแก่นางแน่

    หลายปีต่อมา หลังจากหลวงพ่อมาอยู่วัดหนองป่าพงแล้ว ครั้งหนึ่งท่านได้เยี่ยมลูกศิษย์ที่ สำนักสาขาแถวบ้านต้อง ระหว่างพูดคุยอย่างเป็นกันเองกับญาติโยม ท่านปรารภถึงความหลัง และพูดถึงการปฏิบัติของตัวเองในสมัยก่อนอย่างขำ ๆ ว่า...

    "การปฏิบัติของอาตมามันยากหลายแนว แต่แนวที่มันยากนำอีหลีก็เรื่องแม่ออก (เรื่องผู้หญิง ) นี่ล่ะ" ( ภาษาอีสาน )

    (การปฏิบัติของอาตมามันยุ่งยากหลายอย่าง แต่ที่ยากกับมันจริง ๆ ก็เรื่องผู้หญิง นี่แหละ)



    คืนหนึ่งในพรรษานั้น หลังทำความเพียรเป็นเวลาพอสมควร หลวงพ่อได้ขึ้นไปพักผ่อนบน กุฏิ กำหนดสติเอนกายลงนอน พอเคลิ้มไปเกิดนิมิตเห็นหลวงปู่มั่น เดินเข้ามาหยุดยืนอยู่ใกล้ ๆ แล้วส่งลูกแก้วให้ลูกหนึ่ง พร้อมกับกล่าวว่า... "ชา... เราขอมอบลูกแก้วนี้แก่ท่าน มันมีรัศมี สว่างไสวมากนะ" ในนิมิตนั้น ปรากฏว่าตนได้ลุกขึ้นนั่ง พร้อมกับยื่นมือไปรับลูกแก้วจาก หลวงปู่มั่นมากำไว้ พอรู้สึกตัวตื่นขึ้นแปลกใจมาก ที่พบตัวเองนั่งกำมืออยู่ดังในความฝัน จิตใจ เกิดความสงบระงับผ่องใส พิจารณาสิ่งใดไม่ติดขัด มีความปลื้มปิติตลอดพรรษา

    หลวงพ่อกล่าวว่าหลวงปู่มั่น ท่านเป็นพระอริยเจ้าชั้นสูงมีภูมิจิตภูมิธรรมท่านสูง สามารถสั่งสอนศิษย์ทุกรูปทุกองค์ให้เข้านิพพานได้ ด้วยบารมีสติปัญญาท่านเฉียบแหลมคมยิ่งนักยากที่จะหาท่านผู้ใดเสมอเหมือนในปัจจุบัน




    คัดจาก
    http://www.watpa.com/board_detail.asp?board_id=792


    ------------------------------------------------------------



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" border=0><TBODY><TR><TD class=text_white_big>อนุโมทนาครับ ผมเป็นคนหนึ่งที่ได้ฟังประวัติปฏิปทาของหลองพ่อชาครั้งใดก็ปลื้ม ปิติ และมีกำลังใจมากครับ ชอบที่ท่านเทศษน์ว่า คนมีปัญญาพอเข้าใจก็สามารถแยกไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่หิ่งห้อยเที่ยววิ่งวนรอบกองไฟ ท่านจึงแยกตนไปหลังจากรับคำสอนของหลวงปู่มั่นไปปฏิบัติเองจนพบธรรมเห็นธรรม ชอบแนวคิดท่านจริงๆครับ</TD></TR></TBODY></TABLE>

    -------------------------------------------------------------




    ธรรมปฏิบัติ
    สมาธิภาวนา - หลวงพ่อชา สุภัทโท
    (ธรรมเทศนาแสดงที่ประเทศอังกฤษ)
    <HR width="50%" color=#800000>[​IMG]สมาธิภาวนา

    ผู้แสวงบุญทั้งหลายที่มารวมกันแล้ว เพื่อจะได้ฟังธรรมะต่อไป ให้ฟังธรรมะอยู่ในความสงบ การฟังธรรมะในความสงบนั้น คือทำจิตให้เป็นหนึ่ง หูเรารับฟัง สัมผัสถูกต้อง แล้วก็ปล่อยไปอย่างนี้ เรียกว่า ทำจิตให้สงบ
    การฟังธรรมะนี้ก็เป็นประโยชน์มาก ส่วนหนึ่งเกี่ยวแก่การปฏิบัติธรรมะ ดังนั้นการฟังธรรมะ ท่านจึงให้ตั้งกายตั้งใจให้เป็นสมาธิ ในครั้งพุทธกาลนั้น ฟังธรรมะให้เป็นสมาธิเพื่อรู้ธรรมะ สาวกบางองค์ได้ตรัสรู้ธรรมะในอาสนะที่นั่งนั้นก็มีอยู่มาก
    สถานที่นี้เป็นที่สมควรที่จะทำกรรมฐานมาก อาตมามาพักอยู่ที่นี่คืนสองคืนมาแล้ว รู้ว่าสถานที่นี้ ้ เป็นที่สำคัญมาก สถานที่ข้างนอกสงบแล้ว ยังแต่สถานที่ข้างในคือจิตใจของเราเท่านั้น ดังนั้นพวกเรา ทั้งหลายที่มานี้ ขอให้ตั้งใจทุกคน ถึงแม้ว่ามันจะสงบบ้างไม่สงบบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา
    ทำไมเราจึงได้มารวมทำความสงบอยู่ที่นี่ เพราะจิตใจของเรายังไม่รู้สิ่งที่ควรรู้ คือยังไม่รู้ตาม ความเป็นจริงว่าอะไรมันเป็นอะไร อะไรมันผิด อะไรมันถูก อะไรมันทำความทุกข์ให้เรา อะไรมันทำ ความสงสัยให้เราอยู่ เราจึงมาทำความสงบกันก่อน เหตุที่เราต้องมาทำความสงบระงับในที่นี้ เพราะว่า จิตใจไม่สบาย จิตใจไม่สงบ จิตใจไม่ระงับ วุ่นวาย สงสัย จึงนัดมา ณ ที่นี่ เพราะฉะนั้น วันนี้ตั้งใจฟัง ธรรมะ
    การฟังธรรมะของอาตมานั้นอยากให้ตั้งใจฟังให้ดี อาตมาชอบพูดแรงหน่อยชอบพูดรุนแรงหน่อย เพราะนิสัยเป็นอย่างนี้ แต่จะพูดรุนแรงอย่างไรก็ตามเถอะ อาตมาก็ยังมีความเมตตาอยู่ตลอดกาลตลอดเวลาอยู่นั่นเอง การพูดบางสิ่งบางอย่างนั้นขออภัยด้วยทุกๆ คน เพราะว่าประเพณีเมืองไทย กับชาวตะวันตกนี้มันไม่คล้ายกัน มันคนละอย่าง บางทีมันอาจทำให้ไม่ค่อยสบายใจก็ได้ พูดรุนแรงหน่อยก็ดีนะ มันตื่นเต้น ไม่งั้นมันหลับเฉย ไม่รู้ว่าอะไรมันนอนใจอยู่อย่างนั้น มันนิ่งเฉยอยู่ไม่ลุกขึ้นมาฟังธรรม
    การปฏิบัตินี้ก็มีหลายอย่าง แต่มันก็มีอย่างเดียว เช่นว่าการปลูกต้นไม้ที่ได้รับผลนั้น บางทีก็ได้ กินเร็วๆ คือเอาทาบกิ่งมันเลย อันนี้เรียกว่ามันไม่ทนทาน อีกอย่างหนึ่ง เอาเมล็ดมันมาเพาะปลูกจากเมล็ดมันเลย อันนี้มีความแน่นหนาถาวรดีมาก ตามความจริงเป็นอย่างนี้เป็นธรรมดาทุกคน
    ตัวอาตมาเองก็เป็นอย่างนี้ เมื่อไม่รู้จักว่าอะไรเป็นอะไรนั้น ก็ไปนั่งทำกรรมฐานลำบากมาก จนร้องไห้ตั้งหลายเวลาหลายครั้งเหมือนกัน บางอย่างมันคิดสูงไป บางอย่างมันคิดต่ำไป ไม่ถึงความพอดีของมัน เพราะว่าการปฏิบัติที่สงบนี้ ไม่สูง แล้วก็ไม่ต่ำ คือความพอดี แล้วก็มาเห็นญาติโยมทั้งหลายที่นี้ มันยุ่งมาก คือต่างคนต่างฝึกมา ต่างคนต่างมีครูบาอาจารย์เหลือเกินแล้ว ก็มารวมทำนี่ เกิดความสงสัยมาก อย่างอาจารย์นั้นต้องทำอย่างนั้น อาจารย์นี้ต้องทำอย่างนี้ ครูนั่นต้องทำอย่างนั้น มานั่งเถียงกันเลยวุ่น ไม่รู้จักว่าจะเอาอันไหน ไม่รู้จักเนื้อจักตัว มันเลยวุ่น มันหลายเกินไป มากเกินไป ไม่รู้ว่าจะเอาอะไร ให้มันเป็นที่หนึ่งได้ สงสัยตลอดมา
    ฉะนั้น พวกเราอย่าคิดให้มันมาก ถ้าจะคิดให้มันรู้จักอย่างนี้ไม่รู้หรอก ต้องทำจิตเราให้สงบเสียก่อน ที่มันรู้ไม่ต้องคิด ความรู้สึกมันจะเกิดมาในที่นี่เอง มันจึงเป็นปัญญา คิดนั้นไม่ใช่ปัญญา ไม่ใช่ตัวปัญญา มันติดเรื่อยไปไม่รู้เรื่อง ยิ่งคิดยิ่งวุ่นวาย
    ฉะนั้น มาถึงที่นี่ก็ต้องพยายามอย่าให้คิด อยู่ในบ้านเราเคยคิดมากๆ แล้วไม่ใช่เหรอ มันกวนใจ ให้รู้อย่างนั้น คิดมากๆ ไปน้ำตามันไหลออกด้วย ละเมอหลงติดไปน่ะ ไม่ใช่ความจริง ไม่ใช่ปัญญา พระพุทธองค์ท่านมีปัญญามาก ท่านจึงหยุดคิด อย่างนี้เรามาฝึกก็เพื่อให้มันหยุดคิด นั่งให้สงบ ให้มีความ สงบ ถ้าคิดปัญญาไม่เกิด ธรรมะไม่เกิด เกิดแต่สังขารปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ถ้าสงบแล้วไม่ต้องคิด แล้ว ปัญญาจะเกิดขึ้นตรงนั้น เมื่อเราคิดอยู่ปัญญาไม่เกิด เมื่อเรามีความสงบแล้ว ความรู้สึกจะเกิดขึ้นมาใน ความสงบนั้น มีพร้อมกันทั้งความคิด มีพร้อมกันทั้งปัญญา เป็นคู่กันเลย ถ้าจิตใจเราไม่สงบ ปัญญาไม่มี มีแต่จะคิดอย่างเดียวเท่านั้น มันถึงยุ่ง
    การนั่งสงบจิตนี่ ไม่ต้องคิดอะไรมากมาย บัดนี้เราจะต้องทำจิตอันนี้อย่างเดียว ไม่ปล่อยจิตของ เราให้มันพุ่งไปข้างขวาข้างซ้าย ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างบน ข้างล่าง จะทำอะไร จะทำอันนี้ จะทำจิตคืออานาปานสตินี่ กำหนดจากศีรษะลงไปหาปลายเท้า กำหนดปลายเท้าขึ้นมาศีรษะ กำหนดจากศีรษะลงไป ดูด้วยปัญญาของเราอันนี้ เพื่อให้เป็นเหตุ ให้รู้จักร่างกายของเราก่อน แล้วก็นั่งกำหนดว่า บัดนี้ ธุระก็เดินต่อ หน้าที่ของเรานั้นก็คือให้ดูลมหายใจเข้าออก อย่าไปบังคับให้มันสั้น หรือบังคับให้มันยาว ปล่อย ตามสบาย ไม่ให้กดดันมัน ให้มีความปล่อยวาง อยู่ในช่วงลมหายใจเข้าออกเสมออย่างนี้
    การกระทำนี้ให้เข้าใจว่า เป็นการกระทำด้วยการปล่อยวาง แต่มีความรู้สึกอยู่ ให้มีความรู้สึกอยู่ ในการปล่อยวาง ลมหายใจเข้าออกสบาย ไม่ให้กดกัน ปล่อยตามธรรมชาติ ให้มันสบาย ให้คิดว่าธุระ หน้าที่อย่างอื่นของเราไม่มี ความคิดที่ว่าการนั่งอย่างนี้มันจะเป็นอะไร แล้วมันจะเห็นอะไรอย่างนี้จะเกิด ขึ้นมา ก็ให้หยุด หยุดไม่เอา มันจะเป็นอะไร จะรู้อะไร มันจะเห็นอะไรไหม แม้ความคิดเช่นนี้มันจะเกิดขึ้นมาในเวลานั้นก็ตามที
    เมื่อเรานั่งอยู่นั่น ไม่ต้องรับรู้อารมณ์ เมื่ออารมณ์ที่มากระทบกระทั่งเมื่อไร รู้สึกในจิตของเรา แล้วปล่อยมันไป มันจะดีจะชั่วก็ช่างมัน ในเวลานั้นไม่ใช่ธุระหน้าที่ของเราจะไปจัดแจงในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ปล่อยมันออกไปเสียก่อน แล้วกำหนดลม เอาคืนมาให้มีความรู้สึกแต่ลมอย่างเดียว เข้าออก แล้วให้มันสบาย อย่าให้มันทุกข์เพราะมันสั้น ทุกข์เพราะมันยาว อย่าให้มันทุกข์ ดูลมหายใจ อย่าให้มีความกดดัน คืออย่ายึดมั่น รู้แล้วให้ปล่อยตามสภาวะของมันอย่างนั้นให้ถึงความสงบ ต่อไปจิตมันก็จะวางลมหายใจ มันก็จะเบา เบาไป ผลที่สุดลมหายใจมันจะน้อยไปน้อยไป จนกระทั่งปรากฏว่ามันไม่มีลม ในเวลานั้นจิตมันก็จะเบา กายมันก็จะเบา การเหน็ดเหนื่อยเลิกหมดแล้ว มีเหลือความรู้อันเดียวอยู่อย่างนั้น นั่นเรียกว่าจิตมันเปลี่ยนไปหาความสงบ แล้วนี่พูดถึงการกระทำในเวลาเรานั่งสมาธิอย่างเดียว
    ถ้าหากว่าจิตใจมันวุ่นวายมากก็ตั้งสติขึ้นสูดลมเข้าไปให้มันมากจนไม่มีที่เก็บ แล้วก็ปล่อยมันหมด จนกว่าที่มันไม่มีในนี้แล้วก็หายใจเข้ามาอีก สูดมันให้เต็ม แล้วก็ปล่อยไปสามครั้งตั้งจิตใหม่ มีความสงบขึ้น ถ้ามีอารมณ์วุ่นวายอีก ก็ทำอย่างนี้อีกทุกครั้ง จะเดินจงกรมก็ตาม จะนั่งสมาธิก็ตาม ถ้าเดินจงกรมมันวุ่นวายมาก ก็หยุดนิ่ง กำหนดให้ลงในที่สงบ ตั้งใหม่ให้รู้ จิตจึงจะเกาะ แล้วไปนั่งสมาธิก็เหมือนกันอย่างนั้น เดินจงกรมก็เหมือนกันอย่างนั้น มันต่างกันแต่อิริยาบถนั่งกับอิริยาบทเดินเท่านั้น
    บางทีความสงสัยก็มีบ้าง ต้องให้มีสติ มีผู้รู้ ที่มันวุ่นวายเป็นอย่างๆ ก็ติดตามอยู่เสมอ อาการนี้ เรียกว่ามีสติ สติตามดูจิต จิตเป็นผู้รู้ อาการที่ตามดูจิตของเรานั้นอยู่ในลักษณะอันใดก็ให้เรารู้อย่างนั้น อย่าเผลอไป
    อันนี้เป็นเรื่องสติกับจิตควบคุม พอถึงกันแล้วก็จะมีความรู้สึกอย่างหนึ่ง ถ้าจิตมันพอที่จะสงบแล้ว จิตที่มันถูกคุมขังอยู่ในที่สงบเหมือนกับเรามีไก่ตัวหนึ่งที่ใส่ไว้ในกรงนั้น ไก่ที่อยู่ในกรงนั้นมันไม่ ออกไปจากกรง แต่ว่ามันเดินไปเดินมาได้ในกรงนั้น อาการที่มันเดินไปเดินมานี่ไม่เป็นอะไร เพราะมัน เดินไปเดินมาได้ในกรงนั้น ความรู้สึกของจิตที่เรามีสติสงบอยู่นั้น มีความรู้สึกในที่สงบนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ มันให้เราวุ่นวาย คือเมื่อมันคิด มันรู้สึก ให้มันรู้สึกอยู่ด้วยความสงบ ไม่เป็นอะไร
    บางคนเมื่อมีความรู้สึกขึ้นมา ก็ไม่ให้มันมีความรู้สึกอะไร อย่างนี้ผิดไป ไม่ได้ มีความรู้สึกอยู่ใน ที่สงบ รู้สึกอยู่ด้วยความสงบ รู้สึกอยู่ก็ไม่รำคาญ นี่สงบ อยู่อย่างนี้ไม่เป็นไร ตัวที่มันสำคัญก็คือตัวที่มันออกจากกรงไป เช่นว่า เรามีลมหายใจเข้าออกอยู่อย่างนี้ ลืมไป ลมหายใจไปเที่ยวในบ้าน ไปเที่ยวในตลาด ไปเที่ยวโน้น สารพัดอย่าง บางที ครึ่งชั่วโมงถึงมา อ้าวอะไรตายไม่รู้เรื่อง นี่ตัวสำคัญ ระวังให้ดี ตัวนี้สำคัญ มันออกจากกรงไปแล้วนี่ มันออกจากความสงบแล้วนี่
    ต้องระวัง ต้องให้มีสติมารู้ ต้องพยายามดึงมันมา ที่ว่าดึงมันมานี่ก็คือไม่ใช่ดึงหรอก มันไม่ไปที่ ไหนหรอก คือเปลี่ยนความรู้สึกเท่านั้นเอง ให้มันอยู่ที่นี่ มันก็มีอยู่ที่นี่ มีสติที่นี่เมื่อไหร่ก็มีอยู่ที่นี่ แต่สมมุติว่าดึงมันมา มันไม่ได้ไปที่ไหนหรอก มันเปลี่ยนแปลงอยู่ที่จิตเรานี้ ที่สังเกตว่ามันไปโน่นไปนี่ ความเป็นจริงมันไม่ได้ไป มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตรงนี้ มันมีสติพรึบเข้ามาแล้ว มันก็มาทันที มันไม่มาจากอะไร มันรู้สึกอยู่ที่นี่เอง ให้เข้าใจอย่างนั้น
    อันนี้เรื่องจิต จิตเราที่อยู่มีอะไรเป็นเครื่องหมายไหม คือมีความรู้บริบูรณ์ ติดต่อกันไม่ได้ขาด รู้ ตลอดเวลานั้นเรียกว่าจิตของเราอยู่ตรงนี้ ถ้าเราไม่รู้ลมอะไร มันไปที่ไหนนั่นเรียกว่าขาด ถ้าหากว่ารู้เมื่อไหร่ มีลมก็มีจิต มีลม มีความรู้สึกสม่ำเสมอนี้ ตัวเดียวอันนั้นน่ะอยู่กับเราแล้ว อันนี้พูดถึงอาการจิต มันจะต้องเป็นอย่างนี้
    มันจะต้องมีสติ มีสัมปชัญญะ สติคือระลึกได้ สัมปชัญญะคือรู้ตัวอยู่ เดี๋ยวนี้รู้ตัวกับอะไร กับลม อยู่อย่างนี้ ทำมีสติ มีสัมปชัญญะปรากฏ ที่มันแบ่งกันอยู่อย่างนี้ ถ้าหากว่าเรารู้ตัวอยู่ มันก็จะเป็นคล้ายๆ กับคนที่ยกไม้ ยกวัตถุที่มันหนักๆ อยู่สองคน มันหนักจนจะทนไม่ไหวอย่างนี้จะมีคนที่มีเมตตา คือปัญญามองเห็น ปัญญาก็วิ่งเข้ามาช่วย นี่อย่างนี้มีสติ มีสัมปชัญญะรู้อยู่แล้วก็ปัญญาเกิดขึ้นมาตรงนี้ ช่วยกันมีสติ มีสัมปชัญญะ มีปัญญามาช่วยกันอย่างนี้
    เมื่อมีปัญญาเข้ามาช่วย มันจะรู้จักอารมณ์ เช่น มานั่ง อาการจิตมันมีสติ มีสัมปชัญญะ แล้วก็มีปัญญา อารมณ์ผ่านเข้ามา มันเกิดความรู้สึกคิดถึงเพื่อน
     
  2. Onaguu

    Onaguu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2021
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +655
    ขออนุโมทนาบุญแห่งการเผยแผ่ธรรมมะด้วยครับ...สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...