หลวงพ่อพระราชพรหมยานเล่าเรื่อง พรหมวิหารเป็นกรรมฐานเย็น

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 5 ธันวาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    พรหมวิหารเป็นกรรมฐานเย็น

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สำหรับพรหมวิหาร ๔ นี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย เป็นกรรมฐานกลางจริงๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า่ พรหมวิหาร ๔ ย่อมเป็นกำลังของฌาน เป็นอาหารของศีล เป็นอาหารของฌาน และเป็นอาหารของวิปัสสนาญาณ ทั้งนี้ก็เพราะว่า พรหมวิหาร ๔ เป็นกรรมฐานเย็น คือ ต้นเหตุของพรหมวิหาร ๔ ก็คือ

    ๑. ความรัก เมื่อเรามีความรักที่ไหน ต่างคนต่างรักกัน ใจก็เย็น

    ๒. กรุณา มีความสงสาร ถ้าทุกคนต่างคนต่างก็มีความสงสารเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ก็เป็นอารมณ์เย็น ความเร่าร้อนมันก็ไม่มี

    ๓. มุทิตา พรหมวิหาร ๔ มีปัจจัยให้เกิดความไม่อิจฉาริษยา ซึ่งกันและกัน มีการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน และก็มีใจดี คืิอยินดีในบุคคลอื่นได้ดี เมื่อเห็นใครเขาได้ดี แล้วเราก็ยินดีด้วย ดีใจด้วย พร้อมรับเอาความดีของผู้ที่ทรงความดีแล้ว มาปฏิบัติเพื่อผลของความดีของตน อันนี้อีกประการหนึ่ง การเป็นผู้มีจิตอ่อนโยน เป็นปัจจัยให้มีความเยือกเย็น

    ๔. อุเบกขา คำ่ว่าอุเบกขาในที่นี้แบ่งเป็นหลายชั้น แต่จะขอพูดสั้นๆ ไว้ก่อน นั่นคือ มีอาการวางเฉยต่ออารมณ์ที่เข้ามากระทบใจ หมายความว่า ใครเขาจะด่า เขาจะว่า เขาจะนินทา เราก็เฉย จิตสบาย ใครเขาจะชม เขาจะสรรเสริญ เราก็เฉยไม่รู้สึก คำว่าไม่รู้สึกลอยไปตามถ้อยคำของบุคคลนั้น จิตใจมีความเป็นปกติ ไม่ขึ้นไม่ลง ไม่หวั่นไหว อย่างนี้มันก็เป็นอาการของความสุข

    รวมความว่าพรหมวิหาร ๔ นี้เป็นอารมณ์เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข นี่การบำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา เราทำกันเพื่อความสุข คือสุขทั้งที่มีชีวิตอยู่ แล้วก็สุขเมื่อตายไปแล้ว เมื่อเรามีชีวิตอยู่เรามีความสุข ตายไปเกิดที่ไหนก็ตามมันก็มีความสุข ฉะนั้นพรหมวิหาร ๔ นี้จึงชื่อว่า เป็นอาหารใหญ่สำหรับใจ ในด้านของความดี
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=154>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>คนที่มีพรหมวิหาร ๔ สมบูรณ์ ย่อมมีศีลบริบูรณ์
    คนที่มีพรหมวิหาร ๔ สมบูรณ์ ย่อมมีฌานสมาบัติตั้งมั่น
    คนที่มีพรหมวิหาร ๔ สมบูรณ์ เพราะอาศัยใจเยือกเย็น ปัญญาก็เกิด

    เมื่อพูดเพียงเท่านี้ หวังว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทที่มีกำลังใจ ใช้ปัญญา ก็จะได้ทราบชัด ว่าพรหมวิหาร ๔ นี้เป็นพื้นฐานแห่งความเป็นพระอริยเจ้าแน่นอน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    แต่ว่าก่อนที่จะพูดอะไรอย่างอื่น ก็ขอเตือนบรรดาท่านพุทธบริษัทไว้ก่อนว่า การเจริญสมาธิ คำว่า สมาธิ ก็คือ การตั้งใจ จงตั้งใจไว้ในเขตของความเป็นพระอริยเจ้า อย่าตั้งใจส่งเดช มันจะเสียเวลาขาดทุนเปล่า

    ความเมตตา กรุณา ทั้งสองประการนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงสอนว่า ในอันดับแรก อย่าเพิ่งแผ่เมตตาไปในบุคคลที่เราคิดว่าเป็นศัตรู ต้องยับยั้งไว้ก่อน แผ่เมตตา คือความรัก กรุณา ความสงสาร ไปใน บุคคลกลุ่มเดียวกัน ที่มีกำลังใจเสมอกัน เป็นกลุ่มคนที่เรารัก และกลุ่มคนที่เราไม่เกลียด ที่คิืดว่าไม่เป็นศัตรู เพราะว่าอันดับแรก ถ้ามุ่งหน้าไปหาศัตรูละก็ จิตมันจะหวั่นไหว จนเมื่อกำลังใจของเรามั่นคงดีแล้ว

    พรหมวิหาร ๔ ถ้าความรักของเรามันทรงตัว ทรงจิตใจ เห็นหน้าใครที่ไหนก็ตาม เราก็รักเหมือนกับรักตัวเรา จะเป็นชาติเดียวกัน ภาษาเดียวกัน คนในชาติ ต่างชาติ ต่างภาษา ต่างประเทศ ต่างลัทธิ ต่างศาสนา ต่างอะไรทั้งหมด ก็ช่าง พอมองเห็นหน้าก็คิดว่าโอหนอ เขานี้เป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย สำหรับเรา เรากับเขามีสภาวะความต้องการเหมือนกัน คือเกลียดทุกข์ รักสุข จิตเราก็มีความเมตตาปราณี ไม่คิดจะเ็ป็นศัตรูกับเขา และนอกจากนั้น น้ำใจของเราก็คิืดไว้เสมอว่า ถ้าหากว่าเขามีทุกข์เมื่อไร ถ้าไม่เกินวิสัยสำหรับเรา เราจะสงเคราะห์ทันที นี่น้ำใจของเราเป็นอย่างนี้

    แต่ว่าการสงเคราะห์ต้องดู ว่าควรหรือไม่ควร อย่าดีเกินไป เอาดีแค่พระพุทธเจ้า ใช้ปัญญาพิจารณาเสียก่อน อย่างกับคนที่เราให้การสงเคราะห์ อนุเคราะห์ พึ่งพิงอาศัยในสถานที่ใกล้เคียง อาศัยมีอาชีพจากเราเป็นสำคัญ แต่ว่าเขาผู้นั้นยังประกาศตนเป็นศัตรู อย่างนี้องค์สมเด็จพระบรมครูบอกว่า อย่าเพิ่งเมตตาเขา แต่ว่าเราก็ไม่ประกาศตนเป็นศัตรู จิตสงสาร แต่ยังเกื้อกูลอะไรไม่ได้ เพราะว่ากำลังใจของเขายังเลว เขายังไม่ยอมรับ เหมือนกับฝนที่ตกลงมา แต่ทว่าชาวบ้านนำตะกร้าไปรองน้ำฝน ฝนจะเมตตาปรานีกับเขาเพียงใดก็ตามที ตะกร้ามันรับน้ำฝนไม่อยู่ นี่องค์สมเด็จพระบรมครูทรงคิดอย่างนี้
    ที่มา http://www.praruttanatri.com/link.php
     

แชร์หน้านี้

Loading...