เรื่องเด่น หลักการปฏิบัติภาวนา (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 29 มิถุนายน 2013.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    พระธรรมเทศนา

    โดย

    หลวงปู่ สิม พุทธาจาโร

    สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่



    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

    ขอน้อบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    อ่ะอื๊มๆ

    ณ โอกาสนี้ไปเป็นกโอกาสฟังธรรม
    และเป็นการปฏิบัติบูชา นั่งสมาธิภาวนาด้วย

    การนั่งสมาธินี้ ต้องให้พากันแก้ไข อย่าให้เป็นนั่งสมาธิหลับ
    นั่งสมาธิหลับหรือนั่งสมาธิอ่อนแอ อย่างนั้นใช้ไม่ได้

    บางองค์ก็เอนไปจนกระทั่ง ฟุ๊บลงไปข้างหน้านอนหลับเหมือนกับนอนในหมอน
    ยังงี้เรียกว่า ไม่ใช่สมาธิภาวนาในทางพุทธศาสนา

    การนั่งสมาธิภาวนา
    ให้พากันดูตัวอย่างพระพุทธรูปที่ท่านนั่งสมาธิภาวนานั้น

    ท่านนั่งตัวตรงไม่ได้เอียงซ้ายเอียงขวาเหมือนคนเรา
    หรือว่าสมัยพระพุทธเจ้านั่งภาวนาใต้ต้นไม้โพธินั้น
    ไม่ใช่ท่านไปนั่งหลับ นั่งสะบาย ท่านนั่งภาวนาจริงๆ

    เรียกว่า บังคับ กาย วาจา จิต ของพระองค์ ให้อยู่ในท่าสมาธิภาวนา
    และไม่เฉพาะเวลาหนึ่ง เวลาใดด้วย
    อย่างในคืนวันที่พระองค์จะได้ตรัสรู้นั้น
    แม้จะได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็ไม่ได้ย่อหย่อนท้อถอย
    เรียกว่านั่งตลอดวันตลอดคืน ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย

    เราจะไปเข้าใจว่า นั่นก็เป็นวิธีการ
    แล้วอยากหลับก็ปล่อยให้มันหลับไป
    อยากไหลก็ปล่อยให้มันไหลไป อย่างนี้ไม่ถูก

    ที่ท่านให้นั่งขัดสมาธินั้น
    แสดงออกซึ่งความ องอาจ กล้าหาญในทางร่างกาย
    แล้วทางจิต ทางใจ ก็ไม่ให้คิดฟุ้งซ่านไปที่อื่น

    อ่านต่อตอนต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กันยายน 2013
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ต่อจากตอนที่แล้ว

    จึงมีบริกรรมภาวนา บทใด บทหนึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวไว้ในใจ
    รวมจิต รวมใจ ของตน ให้เขามาภายใน ไม่ให้อยู่ภายนอก
    ไม่ให้ออกไปหาอารมณ์ภายนอก

    เวลาภาวนา เป็นเวลาเอาจิตเอาใจเข้ามาภายใน
    แม้จะมีความคิดนึก ปรุงแต่งอะไรอยู่มากมายหลายอย่างหลายประการอย่างไรก็ตาม
    สิ่งที่เป็นอดีต อนาคตนั้น ต้องเลิก ละ ตัด ปลดปล่อยออกไป ให้หมดสิ้น
    คนอื่น ผู้อื่น สิ่งอื่นภายนอก ไม่ให้เข้ามาเกี่ยวข้อง ในจิตในใจของตัวเอง

    เวลานั่งภาวนา
    เอตัง จิตตัง ทำจิตให้เป็นดวงเดียว
    เอโกปุริโส เป็นชายคนเดียว เป็นหญิงคนเดียว

    ไม่ให้ไปเกี่ยวเกาะปะปน กับเรื่องใดๆ ทั้งหมด

    ให้ดูตัวอย่าง พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา
    ในวันที่พระองค์ จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น
    เรียกว่า เป็นตัวอย่างอันดี
    เวลาท่านนั่งสมาธิภาวนา ก็นั่งขัดสมาธิเพชร
    แล้วจิตใจของพระองค์ก็เป็นเพชรด้วย เรียกว่าแข็งแกร่ง
    ไม่มีความย่อท้อ ต่อทุขภัยต่างๆนาๆ

    เรียก ว่า
    นั่งเหมือนตอไม้ ไม่มีความ ง่วงหลับ ง่วงนอน เหมือนพวกเรา
    ถ้าหากว่า พระพุทธเจ้าไปมัวนั่งหลับเหมือนพวกเราล่ะ ที่ไหนจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

    สมัยที่พระองค์บำเพ็ญทาน รักษาศีลภาวนา สรัางบุญบารมีมาก็ดี
    พระองค์ตั้งอกตั้งใจ ประกอบกระทำ ทุกสิ่งทุกอย่าง
    ไม่ใช่ทำเล่นๆเหมือนพวกเราทั้งหลาย เรียกว่า ทำจริงๆ ปฏิบัติจริงๆ

    ทำอะไรเมื่อมันมีความจริงในจิตในใจล่ะ อันนั้นแหล่ะ
    สมาธิภาวนามันอยู่ที่จิตใจทำจริงๆ ภาวนาจริงๆ

    ไม่ใช่ว่า คนอื่นไม่รู้ไม่เห็น เราจะคิดไปที่ไหนก็คิดฟุ้งซ่านไป อย่างนี้ไม่ได้
    ไม่มีหลักจิตใจของตัวเอง
    ไม่มีอธิฐานไว้ในจิต ในใจ
    ต้องมี สัจจะ ความจริงใจ
    มีอธิฐานใจไว้ สิ่งใดที่ไม่เหลือวิสัย ต้องให้ทำได้

    อ่านต่อตอนต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 มิถุนายน 2013
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ต่อจากตอนที่แล้ว

    อย่างชั่วขณะที่เราฟังธรรม นั่งสมาธิ เป็นเวลาตั้งใจเป็นพิเศษ
    กิเลสอันใดที่มันยุ่งเหยิงอยู่ในจิตในใจ จงปล่อยวางตัดให้มันขาดออกไปให้หมดสิ้น
    ให้ทำเหมือนคนตาย

    ธรรมดาคนตาย เขาไม่วุ่นวายเหมือนคนเป็น
    คนเป็นนั้นมันเรื่องมาก ความอยากได้ อยากดี อยากเป็น
    อยากมีอะไรทุกอย่าง ทุกประการจิปาถะ นับไม่ถ้วน อันนี้มันเรื่องคนเป็น

    คนตายน่ะ เขาไม่เกี่ยวข้องพัวพัน แม้ผู้อยู่ทางหลังจะร้องไห้ น้ำตาไหลอย่างไร
    ร้องขออย่างไร คนตายก็ไม่เกี่ยว มันเฉยไปหมด
    ไม่ได้ห่วงหน้าห่วงหลัง เหมือนคนเป็น

    ใจของเรานี้
    ถ้าไม่ภาวนาจริงๆ มันไม่เป็นคนตายได้ มันดิ้นอยู่
    กามตัณหา ความรักใคร่พอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมารมณ์
    ก็วุ่นวายอยู่ในใจ มันไม่สงบ มันไม่ตาย
    ทำเฉยไว้เหมือนคนตาย
    เหมือนของตาย มันจะอยากได้ อยากดี อยากเป็น
    อยากมีอะไร ตามอำนาจกิเลส ราคะ โทษะ โมหะแล้ว

    เป็นอันว่าเราทุกดวงใจ ต้องลุกขึ้น ต่อสู้ภาวนาพุทโธในใจ
    รวมจิตใจให้สงบตั่งมั่น เป็นสมาธิภาวนา

    ไม่ใช่เพียงแต่ว่า หูฟัง ใจฟุ้งซ่าน
    หูได้ยิน ใจไม่ได้ยิน อย่างนี้ไม่ได้

    กาย วาจา ใจ
    เวลาปฏิบัติบูชาภาวนา ต้องรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    เมื่อกายนั่งขัดสมาธิภาวนา
    ใจก็ขัดสมาธิภาวนาภายใน
    ตั้งใจลงไปให้มั่นคง

    อ่านต่อตอนต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กรกฎาคม 2013
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ต่อจากตอนที่แล้ว

    การได้ยิน ได้ฟัง เป็นการให้สติเตือนใจเท่านั้น
    เวลาเราจะสู้กับกิเลสในหัวใจของตัวเองนั้น

    มันต้องเป็นจิตใจที่เรียกว่า ตื่นขึน ลุกขึ้น ไม่ใช่ทำเล่นๆ
    ทำเล่นก็ได้แต่เล่น

    ทำจริงๆ ปฏิบัจิจริงๆ ภาวนาจริงๆ ยกจิตใจของตนให้สูงขึ้น ให้ดีขึ้น
    นอกจากรักษาศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 227 แล้วอ่ะอื๊มๆ
    ก็ต้องมีการนั่งสมาธิภาวนา ให้มันมีความเข้มข้นขึ้น ไปโดยลำดับ ลำดับ
    บวชมาหลายปี ได้แต่อายุ ได้แต่พรรษา
    สติ ปัญญา วิชชาความรู้ในจิตในใจ
    มันไม่ก้าวหน้า มันถอยหลังเข้าคลองอยู่เรื่อย อย่างนี้ไม่ได้

    มันต้องระลึกถึงพระพุทธเจ้า
    พระพุทธเจ้าพระอริยะเจ้าทั้งหลายนั้น
    ท่านภาวนา ท่านมีความก้าวหน้าไป
    ไม่ใช่ถอยหลังเข้าคลอง
    ภาวนาวันนึง คืนนึง ก็ให้มันก้าวไปโดยลำดับ ลำดับ
    ความเกียจคร้านท้อถอย ความท้อแท้ อ่อนแอ ในดวงจิตดวงใจ
    ไม่ให้มีในใจของผู้ปฏิบัติ ให้มีความก้าวหน้าเจริญไป

    ดูตัวอย่างพระพุทธเจ้า

    พระองค์ทำก้าวหน้าให้ท่านทั้งหลายเห็น
    อย่างว่า วันที่พระองค์นั่งสมาธิภาวนา ในวันเดือนหกเพ็ญ

    เดือนหกเพ็ญหมายถึง พระจันทร์เต็มดวง ของเดือนนั้น
    พระจันทร์เต็มดวงนั้นหมายถึง ความแจ้ง ความสว่าง ไม่ใช่ความมืด

    พระองค์ทำความแจ้ง ความสว่างให้ปรากฎ
    วันนั้นพระองค์นั่งขัดสมาธิเพชรเสร็จเรียบร้อยแล้ว
    พระองค์ก็ตั้งสัจจ์อธิฐานในใจของพระองค์ ไม่มีใครไปบอกท่าน ท่านทำเอง

    ว่าการนั่งสมาธิภาวนาครั้งนี้
    จะไม่ท้อแท้อ่อนแอในหัวใจ จะเอาชีวิตเป็นแดนสุดท้าย
    แม้เลือดเนื้อเชื้อไข จะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกก็ตามที
    มันจะตายก็ยอมตายในที่นั่งนี้

    อ่านต่อตอนต่อไป
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ต่อจากตอนที่แล้ว

    ไม่ต้องลุกไปมาในที่ใดๆ นั่นคือว่า
    ความสามารถ อาจหาญ ในใจของพระองค์
    มีสัจจะ อธิฐาน ตั่งมั่นลงไปในจิตใจจริงๆ

    ถ้าหากว่า สู้กับกิเลสมาร สังขารมารไม่ได้
    พระองค์ยอมตายในที่นั่งนั้น
    ไม่ใช่ว่า จะไปหลับไปไหลมัวเมาไปเหมือนก่อนๆ
    จิตใจของพระองค์ เรียกว่า ลุกขึ้นเต็มที่ ไม่ใช่อยู่ในที่เก่า

    เรียก ว่า

    ตายก็ยอมตาย จะมีภัยอันตราย พ่องพาลเข้ามาก็ไม่กลัว
    เพราะพระองค์ได้เสียสละตายลงไปแล้ว
    ความเจ็บปวดทุกขเวทนาในรูปขันธ์
    มันก็เป็นธรรมดาเหมือนพวกเราทั้งหลายนั่นแหล่ะ

    เพราะว่าเนื้อหนังมังสังของมนุษย์ กระดูกเส้นเอ็นของมนุษย์เหมือนกัน
    ก็ต้องมีความเจ็บปวดทุขเวทนา

    แต่ พระองค์ เป็นผู้มีความอดทน มันจะเจ็บขนาดไหนก็ตาม
    อดทน ขันติขันตี ความอดทนในใจของพระองค์เต็มบริบูรณ์แล้ว
    ความพาก ความเพียร ความพยายาม พระองค์ ก็ มีพร้อมมูลบริบูรณ์
    ปัญญาวิชชาความรู้เท่าทัน กิเลสมาร สังขารมาร ท่านก็รู้เท่าทัน

    เรียก ว่า

    ท่านลุกขึ้นต่อสู้ในใจ ไม่เฉพาะแต่ในใจ ทั้งกายท่านก็สู้ด้วย
    ท่านไม่หลบหลีก ลีลามารกิเลส ขันธมาร

    เมื่อความเจ็บปวดทุกขเวทนา บังเกิดมีขึ้นในสังขารร่างกาย
    พระองค์ก็ไม่เข้ามายึด มาถือว่า พระองค์เป็นผู้เจ็บ

    ธาตุดินเขาเจ็บช่างมัน ท่านว่าอย่างนั้น
    ธาตุน้ำเขาเจ็บช่างมัน ท่านว่าอย่างนั้น
    ธาตุไฟ ธาตุลม เขาเจ็บไข้ได้ป่วยต่างหาก
    เขาเกิดตั้งอยู่ อีกไม่นาน เขาก็แตกดับไปต่างหาก

    อ่านต่อตอนต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 กรกฎาคม 2013
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ต่อจากตอนที่แล้ว

    จิตใจของพระองค์ไม่ไหวหวั่นพรั่นพรึง
    ตายก็ให้ตายด้วยการหมดกิเลส ราคะ โทษะ โมหะ
    ไม่ใช่ตายเรี่ยราดเหมือนคนเราในโลก คนเราในโลก เรียกว่า ตายเรี่ย ตายราด
    ตายพรัดพรากจากของรักของชอบใจวุ่นวาย

    ไม่มีจิตใจอันผ่องใส สะอาด
    เพราะไม่ภาวนา ทำความเพียรละกิเลสในจิต ในใจ เหมือนพระพุทธเจ้า

    ฉะนั้น

    การนั่งสมาธิภาวนา เราท่านทั้งหลาย
    ให้พากัน รำลึกเตือนจิตเตือนใจของตัวเองขึ้นมา
    อย่าไปเพียงแต่ว่า
    ทำอะไรก็ทำได้แบบโบร่ำโบราณเท่านั้นพอเป็นพิธีการ
    ปล่อยปละละเลย
    ขาดสติ สัมปชัญญะ
    ขาดสมาธิจิตตั่งมั่น
    ขาดปัญญา ความเฉลียวฉลาด ความสามารถ ในจิตในใจ ย่อมไม่ได้ ไม่ถึงเป็นไปไม่ได้

    พระพุทธเจ้า
    ในวันที่พระองค์ นั่งสมาธิภาวนาจะได้ตรัสรู้นั้น

    เรียกว่า แข็งแกร่งทุกอย่าง

    ทาน พระองค์ก็บำเพ็ญมาได้สูงสุดเต็มที่
    ศีล พระองค์ก็บำเพ็ญมา
    เนกขัมมะบารมี เว้นจากกามเว้นจากผู้ครองเรือนพระองค์ก็บำเพ็ญมา แข็งแกร่งที่สุด
    ไม่มีกระแสจิตอันใดที่จะแส่ส่ายไปหากามคุณ กามกิเลสอีก

    เรียกว่า เนกขัมมะ ออกจากกิเลส ราคะ โทษะ โมหะในจิตใจจริงๆ
    ทั้งภายนอกทั้งภายในด้วย เรียกว่า เนกขัมมะออก ไม่เข้าไปหาใคร
    มีสมาธิตั่งมั่นลงไปในใจ แหล่ะพระองค์บำเพ็ญปัญญา เรียกว่า ความฉลาด

    ความเฉลียว ความฉลาด ความสามารถอาจหาญ
    เป็นจิตใจ อันแหลมคม
    ทะลุปรุโปร่ง ทุกอย่าง ทุกประการ

    ท่านไม่ยอมให้สิ่งใด มาผ่องพาล ให้จิตใจ หลงไหลต่อไปได้อีก

    ถ้าเปรียบเหมือนแหลม ก็เรียกว่า เหมือน เข็มเย็บผ้า
    จะเป็นเข็มจักร เข็มเย็บมือก็ตาม
    แทงทะลุไปได้ในผ้าฉันใด กิเลสในใจของพระองค์
    พระองค์แทงทะลุได้หมด
    ไม่ยอมให้มันหลงไหลต่อไปอีกเรียกว่า " ปัญญา "

    "ความสอดส่อง ทุกอย่าง ทุกประการ ไม่ใช่คำพูด แต่ มันเป็นในใจ "

    อ่านต่อตอนต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 กรกฎาคม 2013
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ต่อจากตอนที่แล้ว

    จิตใจของพระองค์ มีความแน่วแน่มั่นคงไม่หลงไหลจริงๆ
    ทีนี้ความพาก ความเพียร ความพยายาม ท่านก็ไม่ท้อแท้อ่อนแอในดวงใจ
    เรียก ว่า ตั้งใจอย่างไรก็ตั้งใจอย่างนั้น
    ภาวนาอย่างไรท่านก็เอาจริงอย่างนั้น
    เมื่อเลือกคำภาวนาอานาปานุสติกรรมฐานได้แล้ว
    พระองค์ก็มั่นใจ

    ทุกลมหายใจเข้าออก ตามรู้อยู่ในดวงใจ
    ว่า
    ลมผ่านเข้าไป ยาวหรือสั้น หยาบหรือละเอียด ตามรู้อยู่ในที่นั่น
    ลมออกมา ยาว สั้น หยาบละเอียด ตามรู้อยู่ในดวงจิตดวงใจ
    ไม่ใช่โลเล หลงไหลไปกับ คน สัตว์ วัตถุธาตุทั้งหลาย

    น้ำใจของพระพุทธเจ้า แน่วอยู่อานาปา ลมหายใจ
    จนกระทั่งจิตใจ ที่รั่วไหลไปอย่างก่อนๆไม่มี

    ดวงจิตผู้รู้อยู่ที่ไหน พระองค์ก็ตั้งมั่นอยู่ในที่นั่น
    จนเห็นแจ้งชัดอยู่ในจุดจิตใจของพระองค์

    ว่า

    นอกจากจิตใจดวงที่รู้อยู่นี่ออกไปทั้งหมดทั้งมวล
    ไม่เที่ยงทั้งหมด เป็นทุกข์ทั้งนั้น ไม่ใช่ตัวตนของเรา

    ขึ้นชื่อ ว่า สังขารทั้งหลาย มีความไม่เที่ยงแท้แน่นอนทั้งหมด
    จิตของพระองค์ก็บริสุทธิ์ผ่องใส สะอาดปราศจากกิเลส
    เรียก ว่า
    นั่งใจเบา กายเบา ไม่ใช่นั่งหนัก
    นั่งเบานั่งสะบาย

    ทุกขเวทนา สุขเวทนา เฉยๆเวทนา เข้ามาคุกคามจิตใจของพระองค์ไม่ได้
    จิตใจของพระองค์เรียก ว่า สูงส่ง สามารถอาจหาญ
    มีความอด ความทน
    มีความสัจจ์ความจริง
    มีสัจจะอธิฐาน
    มีเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ในจิตใจของพระองค์จริงๆ

    อะไรอะไร ทุกสิ่งทุกอย่าง ท่านม้วนลงไป
    ว่า
    รูปนามกายใจนี้ก็ตาม
    รูปนอกคน สัตว์ วัตถุธาตุทั้งหลายในโลกก็ตาม

    มันไม่เหลือ หลักสามประการ คือ อนิจจัง อนิจจา ความไม่เที่ยงทั้งหมด

    อ่านต่อตอนต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กรกฎาคม 2013
  8. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ต่อจากตอนที่แล้ว

    น้ำพระทัยใจพระพุทธเจ้าแจ่มแจ้งภายใน
    ทุกขัง สิ่งที่มนุษย์อยู่อาศัยดิ้นรนวุ่นวายอยู่
    ไม่นอกไปจากความทุกข์
    มันเรื่องความทุกข์ทั้งเพ เรื่องความทุกข์ทั้งนั้น

    ยินดี ยินร้ายอะไรทุกอย่าง มันเรื่องทุกข์

    ท่านไม่หลงไหลไปกับอารมณ์เรื่องราวเหล่านี้
    ท่านแจ้งในอก ในใจอยู่
    เรียก ว่า
    แจ้งใจ ไม่ใช่แจ้งลืมตา
    ไม่ใช่แจ้งดวงพระทิตย์พระจันทร์
    ไม่ใช่แจ้งดวงไฟฟ้า ไม่ใช่แจ้งดวงไฟ
    ใจมันแจ้ง

    ใจมันแจ้งชัดว่า มี รูป นาม กาย ใจ ตัวตน
    สัตว์ บุคคล อยู่ที่ไหน ก็ต้องมีทุกข์อยู่อย่างนี้อย่างนี้
    เห็นแจ้งอยู่ตลอดเวลา จะต้องมีความไม่เที่ยงแท้แน่นอนอย่างนี้
    จิตอย่าได้มาหลงไหล

    น้ำพระทัยใจพระพุทธเจ้าก็ย่อมสงบระงับ ตั้งมั่นเป็นสมาธิภาวนา
    ไม่ใช่คนอื่นมาตั้งให้ เป็นจิตใจของพระองค์ตั้งมั่นลงไปในจิตใจนี้

    ดวงจิตดวงใจของพระองค์ก็มั่นคงหนักแน่น เรียก ว่า
    เหมือนพื้นแผ่นดิน ดูพื้นแผ่นดินที่เรานั่งภาวนาอยู่ซิ

    ใครจะนั่งมากน้อยขนาดไหนก็ตาม แผ่นดินก็ตั้งมั่นอยู่

    น้ำพระทัยใจพระพุทธเจ้า
    มีความตั้งมั่นอยู่ใน สมถะกรรมฐาน วิปัสนากรรมฐาน
    จึงสามารถอาจหาญ ตัดบ่วงห่วงอาลัย กิเลสตัณหา มานะทิฐิ
    อันมีอยู่ในกาย วาจา จิต ของพระองค์เก่าแก่ เหล่านั้น หมดสิ้นไปในคืนวันนั้น
    ไม่มีอาลัยเสียดายตายอยาก


    อ่านต่อตอนต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 กรกฎาคม 2013
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    ใครจะเป็นอย่างไรก็เป็นไป
    ใครจะเกิดก็เป็นเรื่องของคนเกิดคนหลง
    ใครจะตายก็เป็นเรื่องของคนตาย จิตใจของพระองค์ไม่ไหวหวั่นพรั่นพรึง
    ไปตามคน สัตว์ วัตถุธาตุทั้งหลาย เรียก ว่า พระองค์ตัดได้ขาด
    มีจิตสามารถอาจหาญ จริงๆ
    ฉะนั้น เรา ทุกลมหายใจเข้า หายใจออก อย่าได้มัวเมาประมาท

    มระณัง เม ภะวิสติ เราต้องตาย
    เราต้องตายภายใน ร้อยปี
    ไม่มีบุคคลใดจะอยู่ชั่วฟ้าดินสลาย
    ไม่ตายไม่มี

    เราเกิดมาอย่างนี้แล้ว ชรา พยาธิ มันติดตามอยู่ตลอดกาล
    เมื่อ ชรา ความแก่
    พยาธิ ความเจ็บไข้ มาเตือนเราท่านทั้งหลายเป็นคราวๆอยู่

    มระณัง เม ภะวิสติ เราต้องตายนั้น
    มันเป็นความแน่นอน ไม่มีใครจะผลัดวันประกันพรุ่งได้

    บางคนก็ร้องขอจากพยามัจจุราช คือความตาย
    ว่า ข้าพเจ้ายังเด็กอยู่ ยังไม่อยากตาย ขอไว้
    อย่าให้ตาย มันได้ที่ไหน

    เด็กๆเกิดวันนั้น ตายวันนั้นก็มี
    เกิดเดือนนั้น ตายเดือนนั้นก็มี
    เกิดปีนั้น ตายปีนั้นก็มี
    ถ้ามันร้องขอได้มันก็คงไม่มีตาย นี่มันร้องขอไม่ได้มันจึงตาย

    ตาย เราอย่าไปเห็นว่าคนอื่นตายอย่างเดียว
    เมื่อคนอื่นตายได้ ตัวเราก็ตายได้เหมือนกัน
    มระณัง เม ภะวิสติ นึกให้ได้เจริญให้ได้
    เพราะว่ากรรมฐานข้อนี้นั้น ผู้ใดเจริญ จนซาบซึ้งตรึงใจ
    ในหัวใจผู้รู้อันนั้น เต็มไปด้วยมรณะกรรมฐาน
    จิตใจดวงนั้นจะมีความสลดสังเวช ในความตายนั้น
    ว่า มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายทั้งโลก ไม่มีใครเหลือความตายไปได้

    จิตใจของผู้ภาวนามรณะกรรมฐาน ก็จะมีความสงบ ระงับ ตั้งมั่นจริงๆ
    เพราะความตายมันไม่ได้เลือกหน้า
    ไม่เลือกหน้าว่า
    คนนั้นจะมียส มีอย่าง มีชื่อ มีเสียง
    มีศีล มีธรรม กรรมฐานอย่างไรก็ตาม
    แม้องค์พระบรมศาสดาจารย์ สัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังไม่ยกเว้น

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 สิงหาคม 2013
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    เมื่ออายุได้ 80 บริบูรณ์ มรณะกรรมฐานก็ยกเว้นไม่ได้แล้ว
    แล้วจะมายกให้พวกเราพ้นจากความตายนั้นได้ที่ไหน
    เราต้องรีบเร่งปฏิบัติบูชาภาวนาเอาไว้ก่อน

    นั่งก็ตั้งใจภาวนา ยืนก็ตั้งใจภาวนา เดินอยู่ก็ตั้งใจภาวนา
    แม้จะไปรถไปลาที่ไหน ก็ตั้งใจภาวนาอยู่
    ยิ่งเวลาไปรถไปลา

    ให้เข้าใจว่า นั่นแหล่ะ ใกล้ที่สุด
    พลาดท่า รถคว่ำรถชนกันเข้า มรณะกรรมฐานน่ะ
    มันจะไม่ใช่คำพูดแล้วทีเนี๊ยะมันจะแหลกลานไป

    ถ้าคนเคยไปเห็นที่เขา เกิด อุปัตวเหตุ
    มันจะไม่ใช่คำพูดซะแล้ว

    ศรีษะ คอมันจะขาดไปอยู่ทางหนึ่ง
    แขนมันจะขาดไปอยู่ทางหนึ่ง
    ขามันจะขาไปอยู่ทางหนึ่ง
    ตัวบั้นเอวมันจะขาดไปอยู่ทางหนึ่ง

    มันไม่ใช่จะหัวเราะเพลิดเพลินได้แล้ว

    นี่แหล่ะเราทุกข์ลมหายใจเข้าออกเท่านั้น

    เราอย่าไปเข้าใจว่า วันคืน เดือนปี ปีนั้น ปีนี้ เป็นอายุของเรา
    รอบปีก็ได้ปี อันนั้นวันคืนเดือนปี นับเอาเท่าไรก็ได้

    แต่อายุชีวิตจริงๆนี่ มันเหลืออยู่แค่ลมหายใจเท่านี้
    ถ้าลองลมหายใจจบลงไป หายใจไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้น

    ก็ตายนั่นซิ

    นี่แหล่ะท่านว่า มระณังเม ภวิสติ เราต้องตาย
    เมื่อเราตายได้ คนอื่น ผู้อื่นก็ตายได้เหมือนกัน
    พ่อแม่ ปู่ย่า ตาทวด ของเรา สามีภรรยา ลูกเต้าหลานเหลน ก็ตายได้เหมือนกัน
    เมื่อความตายเช่นนั้นเข้ามาถึง ตัวเรา ใจเรา
    ใจเราจะเป็นยังไง

    ก็หวั่นไหวซิ

    เพราะไม่ตั้งใจภาวนาเดี๋ยวนี้ ขณะนี้ลงไป
    ก็จะมาร้องครางให้ความตายว่ายังไม่สมควรเลย
    ยังเด็กอยู่ ทำไมมาตายก่อน พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ไม่ได้ทั้งนั้น ไม่มีข้อยกเว้น

    มีอยู่อย่างเดียว

    ผู้ใดยังมีลมหายใจเข้าออกอยู่อย่างขณะนี้ เวลานี้
    เป็นสิทธิของเราที่จะต้องภาวนา บริกรรมทำใจให้สงบตั้งมั่น

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กันยายน 2013
  11. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    เมื่อเราจดจำอะไรไม่ได้
    ก็
    พุทโธ คุณพระพุทธเจ้า
    ธัมโม คุณพระะรรม
    สังโฆ คุณพระอริยะสงฆ์

    นึกได้ข้อใด สิ่งใด ก็น้อมนึกรำลึกขึ้นมาในจิตในใจนี้ให้ได้ตลอดเวลา
    กลางวันก็ให้มันได้ตลอดเวลา กลางคืนก็ให้มันได้ตลอดเวลา
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้แล้ว
    ว่า
    เอาให้ได้ทุกลมหายใจเข้าออกนะ
    ถ้าไม่ได้ทุกลมหายใจเข้าออก ชื่อว่า เป็นผู้ประมาท

    ผู้ใดประมาท ชื่อว่า เป็นผู้ไม่เจริญ

    ผู้ไม่ประมาทนั้น ท่านว่า นึกได้ภาวนาได้ รวมจิตใจนี้อยู่ได้ทุกลมหายใจเข้าออก
    ยังมีลมเข้าออกอยู่ ใจก็มั่นคงลงไป

    ในสมัยครั้งพุทธกาล พุทธสาวก
    แรกก็เรียกว่า พระองค์ โปรดปัญจวคีย์ ฤษีทั้งห้า ให้ภาวนาทำความเพียรละกิเลส
    จนพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้สำเร็จ เป็นพระโสดาปฏิผล
    เป็นพระอริยะบุคคลเกิดขึ้นในพุทธศาสนา
    นั่นแหล่ะคือว่าท่านตั้งใจ ใจท่านตั้ง ใจไม่นอน เมื่อใจใครไม่ตั้งใจนอน กายมันก็นอน
    มันก็หลับไปตามความหลงอันนั้น

    ต้อง กายก็ไม่ให้หลับ ตื่นอยู่ ใจก็ไม่ให้หลับไม่ให้หลง
    รู้สึก สำนึกอยู่ในใจนี้ตลอดกาล

    ความสามารถ อาจหาญในใจ ก็ให้มีอยู่ทุกเวลา
    เวลาเล่นไม่ให้มี เวลาหัวเราะเพลิดเพลินไม่ให้มี
    มีแต่เวลาภาวนา ตั้งใจให้มั่นคง

    ไม่ให้เหมือนผีหลอก

    ธรรมดาผีหลอก
    มันหลอกลวงให้จิตใจคนเราหลง

    กิเลสราคะไงมันผีหลอก
    กิเลสโทษะมันผีหลอก
    กิเลสโมหะมันผีหลอก
    ผีหลอกไม่ให้ภาวนา

    ฉะนั้นอย่ามาหลงไหลอยู่แค่ผีหลอก

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กันยายน 2013
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    ตั้งใจให้มั่นคงลงไปทุกลมหายใจเข้าออก
    ไม่ต้องไปมัวผลัดวันประกันพรุ่ง ภาวนาลงไปในดวงจิตดวงใจ
    ผู้รู้ ผู้เห็น ผู้ได้ยินได้ฟัง อยู่นี่แหล่ะ ให้เต็มที่เต็มฐาน ให้ดวงจิตดวงใจดวงนี้
    มีความเบิกบานยิ้มแย้มแจ่มใส ตั่งมั่นไม่หวั่นไหวสั่นสะเทือน

    เรียกว่า

    มีสติอยู่ในดวงใจ มีสติเต็มที่ ระลึกได้อยู่ทุกเวลา
    เมื่อมีสติ ระลึกได้อยู่ที่ไหน
    สมาธิ ก็ตั่งมั่นลงไปได้ในที่นั่น
    ปัญญาญาณ ก็ย่อมเกิดขึ้นที่นั่น
    ญาณอันวิเศษละกิเลส ราคะ โทษะ โมหะ ให้หมดไปสิ้นไป
    ก็เกิดขึ้นที่จิตที่ใจนี้ทั้งนั้น ไม่ได้มาจากที่อื่น ที่อื่นไม่มี
    มันมีอยู่หัวใจคนเรานี้เอง เมื่อ กาย วาจา ใจ
    จิตใจเราอยู่ที่ไหน ตัวเราอยู่ที่ไหน นั่งอยู่ที่ไหน นั่งทำอะไร
    ในขณะนี้เวลานี้ นี่แหล่ะสมาธิ ก็ตั้งลงไปที่ตรงนี้

    ความตั้งอกตั้งใจอันนี้แหล่ะ ให้มีความหนักแน่นมั่นคง
    อย่าได้มีความย่อท้อ ต่อข้อปฏิบัติ
    ข้อปฏิบัติอันใดที่เป็นไปเพื่อละกิเลส ราคะ โทษะ โมหะ
    ก็ให้รีบทำ รีบปฏิบัติ อย่าไปรอคนนั้น อย่าไปรอคนนี้ ตัวใครตัวมัน

    เวลาเกิดมาน่ะ ไปรอพร้อมใคร
    เวลาแก่ชรา ไปรอพร้อมใคร
    เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยไปรอใคร
    เวลาตาย รอใครได้ ไม่มีใครรอได้

    เมื่อความตายมาถึงเข้า บุคคลผู้นั้นก็จำเป็นต้องตายไป
    จะมีความห่วงความอาลัยอย่างไร ความตายไม่ได้ยกเว้น
    ไม่ได้ยกเว้นว่า เป็นหญิง เป็นชาย เป็นคฤหัส และ นักบวช ไม่ได้ยกไว้ทั้งนั้น

    ตายได้ทุกคน

    ตายได้ทุกลมหายใจเข้า
    ตายได้ทุกลมหายใจออก

    อันผู้ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน จงเป็นผู้สามารถอาจอาญ
    ในดวงจิตดวงใจของตนของตนอยู่เสมอ
    ไม่ต้องผลัดวันเวลา เอาเวลาปัจจุบันเป็นการปฏิบัติ
    ถ้ารวมจิตรวมใจของตนลงไปในหลักปัจจุบันแล้ว
    ย่อมมีเวลา ทำอะไรมีเวลาทำทั้งนั้น

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กันยายน 2013
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    ภาวนาบทใดข้อใดก็ย่อมมีเวลาทั้งนั้น ไม่สงบไม่มี
    ไม่สงบ มันจะไปอยู่ที่ไหน หัวใจมันอยู่ในร่างกายของเรานี้
    ใจมันอยู่ภายในนี้ เราตั้งใจบริกรรมภาวนา
    รวบรวมกำลัง กาย กำลังวาจา กำลังจิตกำลังใจ
    กำลังศีล สมาธิ ปัญญา ตั่งมั่นลงไปที่กาย วาจา จิต ของเรานี่เอง

    ก็ย่อมเข้าใจในธรรมมะปฎิบัติ

    มันจะเจ็บปวด ทุกขเวทนาอย่างไร ก็ไม่ไปยึดถือ
    เจ็บอะไรมันไม่ถึงตายหรอก มันไปถึงแค่ตายนั่นล่ะ
    มันไม่เลยตายไปได้จะไปหวั่นไหวทำไม หวั่นไหวแล้วมันได้อะไร

    เจ็บข้าก็ไม่หวั่นไหว
    ตายข้าก็ไม่หวั่นไหว
    เมื่อตายไม่หวั่นไหวแล้ว
    ไม่มีอะไรที่จะเหนือนั่นไปได้

    คนเรานั้นคือ ว่า ความอดทน ความตั้งใจไม่มั่นคงพอ
    ยังไม่ถึงตายมันก็บ่นว่า ตายแล้ว ตายแล้ว คือ ว่า ใจมันกลัวตาย

    กลัวแล้วมันไม่ตายหรือ

    คนกลัวตายน่ะมันไม่ตายหรอก
    ความตายมันเป็นหลักกรรมฐาน

    ที่จะต้องรู้ภายใน
    ที่จะต้องเห็นแจ้ง ปัจจัตตังจำเพาะจิตของตัวเอง

    อะไรมันตาย อะไรมันเหลือตาย
    ธาตุดินมันตาย
    ธาตุน้ำมันตาย
    ธาตุไฟธาตุลมมันตาย

    ใจมันไม่ตาย
    วุ่นวายอยู่ในโลก ในวัฎฎะสงสาร

    วุ่นวายอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ
    วุ่นวายอยู่ด้วยกิเลส ราคะ โทษะ โมหะ

    จิตมันจะไปตายยังไง จิตมันไม่ตาย เมื่อจิตมันไม่ตายเราจะไปกลัวมันทำไม

    นั่งภาวนาปฏิบัติบูชา ภาวนาในจิตในใจให้มันเต็มที่

    (อ่านต่อตอนต่อไป)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กันยายน 2013
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)

    ร่างกายสังขารมันเป็นเพียงรูปขันธ์ มีเหตุปัจจัยให้เกิดมีขึ้นมันก็เกิดขึ้น
    เมื่อเกิดขึ้นเจริญวัยใหญ่โต มันก็ตั้งอยู่ช่วงระยะกาลเวลาหนึ่งเท่านั้น

    อีกไม่นาน มันก็ชำรุดทรุดโทรม ไปตามสังขารนั้นๆ

    ผลที่สุด

    รูปขันธ์นี้ มันเกิดมาจากผืนแผ่นดิน เวลามันตาย ก็ทับถมแผ่นดิน
    เผาไฟก็เป็นเถ้าเป็นถ่านเป็นแผ่นดิน
    ฝังดินก็ถมแผ่นดิน อยู่ในนี้แหล่ะ

    จิตใจ ผู้รู้ ผู้เห็น ผู้ภาวนา อย่าได้มากลัวหวาดสะดุ้งต่อ
    มารสังขาร มันโกหก พกลม มันหลอกลวง
    มันทำให้จิตใจหวั่นไหว สั่นสะเทือน อยู่ตลอดกาลเวลา

    ขณะนี้ เวลานี้ จึงเป็นเวลาสำคัญ ของนักปฏิบัติธรรมมะ
    ไม่มีใครที่จะไปช่วยบุคคลผู้อื่นได้ ด้วยการตัวเองไม่ภาวนาไม่ได้

    แล้วว่า

    ตนเองเป็นที่พึ่งตนเอง
    อัตตาหิ อัตโนนาโถ
    ตนเป็นที่พึ่งของตน

    ตนบำเพ็ญภาวนา ตนนั่งกรรมฐานภาวนา
    ตนบริกรรมภาวนา
    ตนต้องกำหนดอสุภะกรรมฐาน ในร่างกายสังขาร จนเห็นแจ้งแทงตลอด

    ตนต้องกำหนดได้ซึ่ง มรณะกรรมฐาน
    แจ่มแจ้งชัดเจนภายในจิตใจนี้อยู่

    จึงจะไม่หวั่นไหวสั่นสะเทือน
    ด้วย
    กิเลสราคะมันกระทบมา
    กิเลสโทษะกระทบมา
    กิเลสโมหะกระทบมา
    จิตจะไม่หวั่นไหวสั่นสะเทือน

    ไม่มีความสะทก สะท้าน ย่านกลัว ต่อภัยอันตรายเหล่านี้

    คือ

    ภาวนาให้มันข้ามไปพ้นไปแล้ว ไม่มายึดหน้าถือตา
    ไม่มายึดตัว ถือตน ไม่มายึด ความตกความทุกข์
    อันปรากฎกาลอยู่ใน กาย วาจา จิตนี้

    เมื่อจิตใจไม่มายึดมั่นถือมั่น
    ไม่สำคัญผิด ไม่หลงไหล

    มีความเพียรเป็นเบื้องหน้า
    มีความมุ่งมั่นปั้นหัวใจของตนอยู่ตลอดเวลา

    ไม่ว่าเวลาไหน

    นั่ง เวลานั่ง ก็ภาวนา ปฏิบัติบูชา มีจิตใจเข้มข้นอยู่ตลอดกาล
    เวลายืน ยืนภาวนาพิจารณาธรรมกรรมฐาน รวมจิต รวมใจเข้ามาภายในอยู่
    เวลาเดิน จงกรม เวลาเดิน เวลาไปเวลามาอย่างไรก็ตาม
    จิตใจผู้ตั่งมั่นในสมาธิภาวนานี้ จะไม่มีวันพลั่งเผลอ ลุ่มหลง มัวเมา
    เป็นจิตใจอันแน่วแน่เด็ดขาดอยู่ในโจดในใจของตัวเอง

    นั่ง ใจก็สะบาย
    นอน ใจก็สะบาย
    ยืน ใจก็สะบาย

    เดินไปไหนมาไหน จิตใจก็แสดงความสะบาย
    แสดงความองอาจกล้าหาญ
    ไม่ต้องรอ วัน คืน เดือน ปี
    วัน คืน เดือน ปี มันเป็นสมมุติอันหนึ่ง

    ผู้ตั้งใจปฏิบัติบูชาภาวนาทำใจให้สงบตั้งมั่น
    ภาวนาพุทโธให้มั่นคงในใจ
    เตือนจิตเตือนใจของเรา

    ว่า

    เราเกิดมาเป็นมนุษย์ได้พบพุทธศาสนาแล้ว
    อย่าให้เสียเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก ให้ภาวนาอยู่ในจิตในใจ
    เอาจนจิตใจดวงนี้ รู้แจ้งแทงตลอด ในธรรมะปฏิบัติ

    ความลังเลสงสัยก็หายไป

    จิตใจก็จะก้าวหน้า ไปสู่ความพ้นทุกข์ภัยในวัฎฎะสงสาร

    ฉะนั้น

    เมื่อว่าเราท่านทั้งหลายพากันได้ยินได้ฟังแล้ว
    ก็ให้กำหนดจดจำนำไปประพฤติปฏิบัติ
    ก็คงได้รับความสุขความเจริญ

    เอวังก็มีด้วยประการะฉะนี้

    ..ยะถา วาริวะหา ปูรา
    เอวะเมวะ อิโต ทินนัง
    อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง
    สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา.........
    . ปะริปูเรนติ สาคะรัง
    เปตานัง อุปะกัปปะติ
    ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
    จันโท ปัณณะระโส ยะถา
    มะณิ โชติระโส ยะถา ฯ

    สัพพีติโย วิวัชชันตุ..........
    มา เต ภะวัตวันตะราโย
    สัพพีติโย วิวัชชันตุ
    มา เต ภะวัตวันตะราโย
    สัพพีติโย วิวัชชันตุ
    มา เต ภะวัตวันตะราโย
    อะภิวาทะนะสีลิสสะ
    จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
    สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
    สัพพะโรโค วินัสสะตุ
    สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
    สัพพะโรโค วินัสสะตุ
    สุขี ทีฆายุโก ภะวะ ฯ
    นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
    อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ฯ


    จบไฟลล์นี้เพียงเท่านี้

    นิพพาน นิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กันยายน 2013
  15. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    สาธุ

    กระทู้นี้ใช้เวลายาวหลายเดือนทีเดียว ถอดเทปเองด้วยหรือป่าวพี่วิษณุ

    โมทนา ๆ
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    สาธุครับ
    อาศัยช่วงเช้า กาแฟครับ ว่างก็ วันละสามสี่นาที ตามสภาพ

    เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับจินนี่
     
  17. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    หลายตอนต่อเนื่อง.ต่างกันหลายช่วงเวลา.เลย คุณ ปราบ .แต่ไม่เป็นไรครับ.
    ถึงจะยาวก็คุ้มในการติดตาม ดีว่าเด่วนี้ระบบ IOS สามารถ
    ให้โปรแกรรมอ่านให้ฟังได้ครับ ฮ่าๆๆ ได้อารมย์ไปอีกแบบ
    ปล.ขำๆนะคับ​
     
  18. Jasmin99999

    Jasmin99999 วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    971
    ค่าพลัง:
    +3,331
    เป็นบุญที่ได้อ่านได้ฟังธรรมะจากพระสุปฏิปันโณค่ะ อนุโมทนาบุญกับท่านเจ้าของกระทู้ด้วยนะคะ
     
  19. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    การปฏิบัติธรรมนอกจากทำสมาธิแล้วควรเดินจงกรมด้วย บางคนอาจสงสัยว่าเดินจงกรมภาวนาอะไร ก็ตอบว่าการบรรลุธรรมที่ควรควรจะผ่านครบทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวช ภาคปริยัติคือการเรียน หรือการอ่าน คนที่ไม่ได้เรียนโดยตรงก็ควรอ่านก่อน อ่านให้เยอะๆ ความรู้ที่อ่านจะประมวลเป็นองค์ความรู้สำหรับเราเอง บางครั้งเมื่อเวลาผ่านไปหลายปีเราอาจจะลืมก็ไม่ถือเป็นเรื่องผิดปรกติ การอ่านนั้นอ่านเพื่อพัฒณาสติปัญญา และมีองค์ความรู้ในการพินิจพิจรณาข้อธรรม ตลอดจนการเข้าหาครูอาจารย์เพื่อปุจฉา-วิสัชณาธรรม เมื่ออ่าน ท่องจำ พิจรณาทบทวน แล้วก็ออกภาคปฏิบัติคือการทำสมาธิและภาวนา และการเดินจงกรมภาวนา จิตใจจะค่อยๆละคลายกิเลสได้ดีขึ้น ภาคปัญญาเราจะได้รู้ธรรม ว่าอะไรเป็นอะไร ควรเข้าหาครูอาจารย์เพื่อปุจฉา-วิสัชณาธรรมด้วย เมื่อผ่านทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวชจะตามมา เช่น โครตภู กัลยาณชน พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี เป็นต้น ธรรมของพระพุทธองค์มีจุดหมายคือพระนิพพาน พึงกระทำให้แจ้งเถิด.
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ขอให้ฟางว่าง บรรลุพระนิพพาน ในปัจจุบันชาตินี้เทอญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...