หลักของมหาสติปัฏฐานทั้ง 4 ประการ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย santosos, 6 กันยายน 2005.

  1. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,166
    ค่าพลัง:
    +3,212
    เปลื้องนิวรณ์ 5 ก็คือเอาตัวนิวรณ์ 5 นั้นแหละเป็นเครื่องแก้ คือพิจารณาให้เห็นโทษของนิวรณ์
    เลยพิจารณาว่ากามฉันทะ ถ้าเราทำจิตให้ไปติดในความสุขความสบายจนเกินไปอย่างไม่มีเหตุผล ก็จะทำให้เราเสีย
    กาลเสียเวลาเสียการปฏิบัติเพราะการปฏิบัตินี่ก็ย่อมลงทุนลงแรงบ้างพอสมควร ต้องอาศัยความอดทน
    ถ้าเราใช้ขันติ ความอดทนปฏิบัติไปสักพักหนึ่งนิวรณ์ 5 ทั้งหลายนั้นย่อมสงบระงับไปได้เพราะพลังของสมาธิ
    ถ้าหากกามฉันทะความใคร่ในความสุขเกิดขึ้น ให้กำหนดสติรู้ ถ้าพยาปาทะมันเกิดขึ้น ก็กำหนดสติรู้
    ถ้าอุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญเกิดขึ้นก็กำหนดสติรู้ ถ้าถีนมิทธะความง่วงเหงาหาวนอนเกิดขึ้น
    กำหนดสติรู้ ความลังเลสงสัยเกิดขึ้น กำหนดสติรู้ โดยเอาสิ่งเหล่านี้เป็นอารมณ์ของจิตเป็นที่ระลึกของสติ
    กำหนดจดจ้องพิจารณาอยู่อย่างนั้น ในเมื่อสติสัมปชัญญะมีพลังแก่กล้าขึ้น แล้วก็จะเกิดสมาธิความมั่นใจซึ่ง
    อาศัยขันติความอดทนพิจารณาให้จิตของเรารู้แจ้งเห็นชัดในคุณในโทษของธรรมคือนิวรณ์รู้แจ้งเห็นจริงรู้ชัดแล้ว จิตของเราก็จะปล่อยวางเข้าไปสู่ความสงบ แล้วเราก็จะได้สมาธิเพราะอาศัย
    ธรรมะคือนิวรณ์เป็นที่ตั้งของสติ เป็นสิ่งรู้ของจิต เป็นที่ตั้งของสติเป็นเครื่องรู้ของจิต ธรรมชาติของจิตถ้ามีสิ่งรู้
    สติมีสิ่งระลึก ถ้าเราตั้งใจจดจ่อพิจารณาเพ่งดูอยู่ จิตจะสงบเป็นสมาธิ เพราะฉะนั้นแผนการปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน 4
    กำหนดพิจารณากาย เวทนา จิตและธรรม เรากำหนดหมายเอาง่ายๆ คือพอนั่งสมาธิปั๊ปลงไปกำหนดรู้จิต
    กิริยาที่ตั้งใจกำหนดรู้จิตนั้น เราอาศัยประสาททางกายเป็นเครื่องช่วย
    จิตไม่มีกายแล้ว ไม่มีความตั้งใจจะทำอะไร จะคิดอะไร เพราะจิตเป็นธาตุรู้อยู่เฉยๆ ถ้าลำพังแต่จิต
    ดวงเดียวที่ถอดออกไปจากร่างอันนี้ เขาจะไปลอยเด่นใสสว่างไม่มีตัว ไม่มีตน คิดไม่เป็น อยู่เฉยๆ แต่ถ้ายังมี
    ความสัมพันธ์กับกายนี้อยู่ คิดเป็นเพราะมีเครื่องมือ จิตเป็นแต่เพียงพลังงาน ร่างกายเป็นเครื่องมือ จิตเหมือน
    กระแสไฟฟ้า ในเมื่อกระแสไฟฟ้าวิ่งเข้าไปสู่แม่เหล็กและทองแดงเกิดความหมุน พอหมุนแล้วทุกสิ่งทุกอย่าง
    มันก็เกิดความเคลื่อนไหว ทำให้เกิดพลังต่างๆ ขึ้นมาได้
    เราตั้งใจกำหนดรู้อย่างนี้เรียกว่ากำหนดรู้กาย ทีนี้ในเมื่อเรากำหนดรู้กายอยู่ เพราะกายเป็นที่เกิดของ
    สิ่งต่างๆ สุขเกิดที่กาย ทุกข์เกิดที่กาย แต่ว่าใจเป็นผู้ยึดมั่นถือมั่นอยู่ในกายนี้ กายเป็นที่เกิดของความเจ็บ
    แต่ความเจ็บอันนี้ จิตเป็นผู้รับรู้ ทีนี้ถ้าจิตไม่มีกายก็ไม่รู้จักเจ็บเพราะฉะนั้นเวทนาเกิดที่กาย สุขเวทนาก็เกิดที่กาย
    ทุกขเวทนาก็เกิดที่กาย หรือไม่สุขไม่ทุกข์ก็เกิดที่กาย เมื่อเรากำหนดรู้ว่ากายมีอยู่ เราจะรู้พร้อมทั้งเวทนา จิต
    และธรรม จิตก็คือตัวผู้รู้ ธรรมก็คือสิ่งที่กำหนดรู้อยู่ เรากำหนดรู้จิต กำหนดรู้อารมณ์ คือจิตกำหนดรู้อยู่ใน
    อารมณ์ปัจจุบัน
    ในเมื่อจิตเสวยสุขซึ่งเกิดจากปีติ นิวรณ์ 5 กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะก็หายไป
    ทีนี้เมื่อสมาธิจิตสงบละเอียดลงไปจนกระทั่งตัวหายไปหมดแล้ว วิตก วิจาร ปีติสุขก็หายไปหมดเพราะสิ่งเหล่านี้
    อาศัยกายเกิด ถ้าไม่มีกาย วิตกวิจารปีติสุขก็ไม่มีได้ เพราะฉะนั้นเมื่อกายหายไปแล้วยังเหลือแต่จิตดวงเดียว
    จึงได้ชื่อว่ามีแต่จิตดวงเดียวซึ่งเรียกว่าเอกัคคตากับอุเบกขา ความเป็นกลางของจิต ร่างกายตนตัวหายไปหมด
    เพราะฉะนั้นการบำเพ็ญสมาธิซึ่งเดินตามหลักของมหาสติปัฏฐาน 4 จึงเป็นอุบายทำจิตให้สงบตั้งมั่นลงเป็นสมาธิ
    เพื่อขจัดนิวรณ์ธรรม 5 ประการ ให้หมดไปจากจิตในขณะที่มีสมาธิ จิตของเราจะได้ดำเนินไปสู่ภูมิจิตภูมิธรรม
    ตามลำดับขั้นตอน ซึ่งสุดแล้วแต่พลังจิตพลังสมาธิของท่านผู้ใด จะปฏิวัติจิตของตนเองให้เป็นไปได้
    เพราะฉะนั้นการฝึกฝนอบรมสมาธินี้ เราอาศัยหลัก ภาวิตา อบรมให้มากๆ พหุลีกะตา ทำให้มากๆ ทำให้คล่องตัว
    ทำจนชำนิชำนาญ ทำจนกระทั่งถึงขั้นเป็นเอง ในเมื่อจิตได้ดำเนินตามหลักของมหาสติปัฏฐานทั้ง 4 ประการ
    จึงเป็นฐานที่ให้เกิดธรรมะอันเป็นองคคุณแห่งการตรัสรู้คือสติสัมโพชฌงค์
    ในเมื่อเรามาทำสมาธิจิตรวมเป็นหนึ่งเป็นเอกมรรค เอกธรรม สติเป็นเองโดยอัตโนมัติสามารถที่จะ
    กำหนดรู้กายจิต สถานการณ์และสิ่งแวดล้อมได้เองโดยตลอดเวลา ก็เรียกว่ามีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ที่การยืน
    เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด ได้ชื่อว่าจิตได้สติสัมโพชฌงค์เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
    เวลาแห่งการบรรยายธรรมะตามหลักแห่งมหาสติปัฏฐาน 4 ก็จบลงด้วยเวลาเพียงเท่านี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...