เรื่องเด่น หลักสำคัญที่สุด ที่จะ “รักษาพระพุทธศาสนา” ไว้ได้ (ป.อ. ปยุตโต)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย rachotp, 10 พฤษภาคม 2022.

  1. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,218
    กระทู้เรื่องเด่น:
    251
    ค่าพลัง:
    +23,891
    4.jpg

    ... ก็คือ พุทธบริษัททั้ง ๔ ของเรา จะต้องมีความมั่นคงในหลักการของพระพุทธศาสนาและจะต้องสำนึกในความมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อพระพุทธศาสนา จะต้องยึดถือหลักการเป็นสำคัญ และพัฒนาตนเองให้เป็นชาวพุทธที่มีคุณภาพ

    เวลานี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงมาก ก็คือ คนที่มีชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชน มักมีความรู้สึกคล้ายๆจะแบ่งกัน เช่น ชาวบ้านก็มองว่า ผู้ที่จะต้องรับผิดชอบพระพุทธศาสนาคือ “พระ”


    1.jpg

    เวลามีพระทำอะไรไม่ดี โยมก็บอกว่า..เออ..พระพุทธศาสนานี่อะไรกัน พระไม่ดี ไม่ได้ความ ไม่น่านับถือ ก็พาลจะเลิกนับถือพระพุทธศาสนา หาได้คิดไม่ว่า..พระพุทธศาสนาเป็นของ.. บริษัท ๔


    ถ้าพระเสีย แต่โยมยังอยู่ อุบาสก-อุบาสิกา ก็ต้องรักษาพระพุทธศาสนาไว้ ยามใดที่พระสงฆ์เพลี่ยงพล้ำ อุบาสก-อุบาสิกา ต้องเป็นหลักกลับมาช่วยฟื้นฟู หนุนให้มี “พระดี” มารักษาพระพุทธศาสนา...


    ในการที่จะรักษาพระพุทธศาสนานั้น นอกจากมีจิตสำนึกที่จะไม่ประมาท มีความรู้สึกรับผิดชอบร่วมกัน และมีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของด้วยแล้ว ตัวเราเอง..จะต้องมีคุณสมบัติที่จะรักษาพระศาสนาได้ด้วย

    5.jpg

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสหลักนี้ไว้ให้แล้ว ใน “มหาปรินิพพานสูตร” ว่า.. พระองค์จะปรินิพพานต่อเมื่อ “พุทธบริษัททั้ง ๔” ไม่ว่าจะเป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม อุบาสกก็ตาม อุบาสิกาก็ตาม ไม่ใช่แต่เฉพาะพระสงฆ์ ต้องมีคุณสมบัติ ๓ ข้อต่อไปนี้ (ดูใน ที. ม. ๑๐/๑๐๒) (โดยสรุป) คือ...


    ๑. ในแง่ตนเอง ก็ทั้ง “รู้” และ “ปฏิบัติ” ได้ถูกต้อง

    ๒. ในแง่สัมพันธ์กับผู้อื่น ก็มีความรู้ความสามารถ และ มีน้ำใจเมตตาที่จะเผื่อแผ่ให้ความรู้ธรรมแก่เขา

    ๓. ในแง่หลักการ ก็สามารถรักษาหลักการของพระพุทธศาสนา ชี้แจงแก่ผู้ที่มาพูดกล่าวร้าย หรือแก้ไขความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อพระพุทธศาสนาได้

    2.jpg

    ถ้าทุกคนที่เป็นชาวพุทธ อยู่ในพุทธบริษัท ๔ เป็นอุบาสิกา เป็นอุบาสก เป็นภิกษุณี เป็นภิกษุ ที่มีความสามารถเช่นนี้ แล้วช่วยกันรับผิดชอบ ก็จะสามารถรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้แน่นอน เราจะไม่มีปัญหา


    แต่เมื่อใด ความเสื่อมเกิดขึ้นและรุกเข้ามาจนถึงจุดศูนย์กลาง กล่าวคือ แม้แต่ “ความรู้ และ การปฏิบัติ” ต่อพระพุทธศาสนา ที่เป็นส่วนของ “พระ” เอง ก็พลอยคลาดเคลื่อนหรือพระเองก็ไม่มีคุณสมบัติ เมื่อนั้น.. พระพุทธศาสนาก็จะเสื่อมโทรมลง…


    3.jpg


    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต)
    ธรรมบรรยาย “ความยิ่งใหญ่ ที่ทำให้ทั้งเจริญและเสื่อม”
    ณ นาลันทามหาวิหาร (Old Nalanda )
    ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘ เวลา ๐๗.๓๕ น.


    Credit: ขอขอบพระคุณที่มาจาก Facebook ธรรมะเพื่อทางพ้นทุกข์ โดย ท. ส. ปัญญาวุฑโฒ
     

แชร์หน้านี้

Loading...