หลัก การพิจารณาขันธ์ ๕ / พระราชพรหมยาน(วัดท่าซุง)

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 29 กันยายน 2019.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    2045_236504136483365_1067432881_n.jpg

    .. ให้เห็น ว่า "ร่างกาย"

    "สกปรก มันเป็นของไม่ดี" ร่างกายนอกจากสกปรก มันก็ไม่เที่ยงไม่ทรงตัว ในเมื่อไม่ทรงตัว มันก็ "มีอาการเป็นทุกข์"

    ถ้าเราเข้าไปยึดถือมันแล้ว ในที่สุดมันก็เป็นอนัตตามันสลายตัว "เราห้ามปรามไม่ได้"

    เมื่อพิจารณาแบบนี้แล้ว ท่านให้พิจารณาต่อไป.. "ขึ้นชื่อว่าร่างกายประเภทเลว ๆ อย่างนี้จะไม่มีสำหรับเราอีก"

    "สิ่งที่เราต้องการก็คือพระนิพพาน" ...


    หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๗๐-๗๑
    พระราชพรหมยาน (วัดท่าซุง)
    ที่มา
    https://luangporblog.wordpress.com/2014/07/09/พิจารณาขันธ์-๕-แล้วจิตเศ/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2019
  2. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    313922_448779088478296_298647659_n.jpg

    ..เขาใช้แบบนี้นะ

    ให้พิจารณาร่างกาย ว่า สกปรก

    พิจารณาร่างกาย ว่า มันเป็นทุกข์


    มันจะเกิด "นิพพิทาญาณ" คือตัวเบื่อหน่ายร่างกายประเภทนี้ที่มันสกปรกด้วย มันไม่ทรงตัวด้วย มันเป็นทุกข์ด้วย แล้วก็พังในที่สุด

    พร้อมกันนั้น ท่านให้ใช้ "สังขารุเปกขาญาณ" ควบคู่กันไป สังขารุเปกขาญาณ คือวางเฉย เมื่อเกิดมาแล้วมีขันธ์ ๕ ก็ช่างมัน

    เรามีขันธ์ ๕ ได้ เพราะอำนาจของความโง่ ถ้าเราไม่โง่เราก็ไม่มีขันธ์ ๕ ในเมื่อมันโง่มาแล้วก็ให้มันโง่ไป ต่อไปเราจะไม่ยอมโง่อีก

    ขันธ์ ๕ มันมีอยู่ เราจะพยายามทำภารกิจตามความจำเป็นของขันธ์ ๕ ที่จะต้องทำนุบำรุงรักษา แต่ว่าถ้ามันพังเมื่อไร เราจะไม่มีขันธ์ ๕ แบบนี้อีก

    สิ่งที่เราต้องการก็คือ
    "นิพพาน" ...


    หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๗๐-๗๑
    พระราชพรหมยาน (วัดท่าซุง)
    ที่มา
    https://luangporblog.wordpress.com/2014/07/09/พิจารณาขันธ์-๕-แล้วจิตเศ/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2019
  3. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    king9-2.jpg

    ผู้ถาม:- “เมื่อจิตสงบแล้วเป็นเอกัคคตารมณ์ เราจะพิจารณาตอนนี้ หรือว่าต้องถอนจิตมาพิจารณาครับ?”


    หลวงพ่อ:- “ไม่ต้องถึงอย่างนั้นหรอกโยม เรื่องพิจารณานี่เราจะเริ่มตั้งแต่ตอนต้นได้เลย คือว่า วิธีปฏิบัติเพื่อมรรคผลจริงๆ เขาทำกันแบบนี้นะ..

    คือว่าในตอนนั้นหรือจุดเริ่มต้นน่ะ เราพอใจในอะไร ถ้ามันกระสับกระส่ายก็ใช้อานาปาเข้าควบคุมให้จิตสงบเสียก่อน เมื่อจิตสงบดีแล้ว ก็ถอยมาสู่อุปจารสมาธิมาพิจารณาขันธ์ ๕

    ไม่ใช่พิจารณาเฉยๆ ต้องเอาสังโยชน์เข้ามาคุมเป็นพื้นฐานด้วยว่า เราจะตัดจุดไหนกันแน่ พอพิจารณาไปอารมณ์มันจะซ่านออก พอซ่านออกต้องทิ้งการพิจารณาเสีย แล้วมาจับอานาปาใหม่ ให้จิตทรงตัวดีแล้วมีอารมณ์เป็นสุข จิตมันทรงตัวดีก็ไปพิจารณาใหม่ สลับกันไปสลับกันมาแบบนี้นะ นี่เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อมรรคผลจริงๆ

    บางท่านก็พิจารณาได้ดี พอเริ่มต้นพิจารณาอยู่ในขอบเขตได้ดี ตัวพิจารณานี่เป็นตัวตัดกิเลสตรง ถ้าหากว่าใครพิจารณาได้ตลอด โดยไม่ภาวนาเลยยิ่งดีใหญ่ เพราะการพิจารณานี่เป็นตัวปัญญา เป็นตัวตัด อารมณ์ทรงมีจิตเป็นสุข พิจารณาเฉยๆ สบายๆ จนกระทั่งตัดกังวลทั้งหมด กังวลที่ตัด ก็คือร่างกายของเรา เรียกว่าขันธ์ ๕ ถ้าเราตัดตัวเราได้ ก็ตัดคนอื่นได้ ใช่ไหม…ดีไม่ดี เราตัดคนอื่นได้ แต่เราตัดตัวเราไม่ได้ เพราะยังเกาะ

    ฉะนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านให้ตัดจุดเดียว คือ สักกายทิฏฐิ ในสังโยชน์ ๑๐ น่ะ ตัดสักกายทิฏฐิจุดเดียว ถ้าอารมณ์มันเบาลงไปหน่อยก็เป็นพระโสดาบัน เบามากไปอีกนิดก็เป็นสกิทาคามี เบามากขึ้นไปก็เป็นพระอนาคามี ตัดได้หมดเป็นพระอรหันต์”


    หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๖๒-๖๔
    พระราชพรหมยาน(วัดท่าซุง)
    ที่มา https://luangporblog.wordpress.com/2014/07/09/เมื่อจิตสงบแล้วจะพิจาร/
     

แชร์หน้านี้

Loading...