หากกลับชาติมาเกิดใหม่ได้ หญิงไทยจะเลือกคู่ชีวิตคนเดิม

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย PalmPlamnaraks, 16 กุมภาพันธ์ 2005.

  1. PalmPlamnaraks

    PalmPlamnaraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2005
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +5,790
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=650 border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-LEFT: 5px; PADDING-TOP: 5px" vAlign=top>หากกลับชาติมาเกิดใหม่ได้ หญิงไทยจะเลือกคู่ชีวิตคนเดิม

    โดย วรากรณ์ สามโกเศศ มติชนรายวัน 18 เมษายน 2545

    "หากกลับชาติมาเกิดใหม่ได้ หญิงไทยสูงอายุคิดอย่างไรกับการเลือกคู่ชีวิตคนเดิม" คำถามเด็ดนี้เมื่อชายไทยสูงอายุได้ยินเข้า ก็คงจะรู้สึกอึ้งไปเหมือนกัน เอ...เราได้ทำตัวดีจนเขาจะเลือกเราหรือไม่หนอ?

    ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง ในกรุงเทพมหานครนคร จำนวน 936 คนเมื่อก่อนสงกรานต์ โดยถามคำถามข้างบนนี้กับผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง โดยระวังอย่างยิ่งว่า ทุกคนตอบอย่างลับและเป็นส่วนตัว ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า เวลาตอบคู่ชีวิตไม่ได้อยู่ด้วย

    คำถามนี้ยังไม่เคยมีใครถามมาก่อน แต่ก็ดูจะเจาะใจคนทั่วไปอยู่ไม่น้อย เพราะผลของ "ธุรกิจบัณฑิตย์โพล" นี้ ปรากฏในหลายสื่อตลอดอาทิตย์ที่ผ่านมา ผลของโพลมีนัยสำคัญหลายประการ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหญิง และชายที่อยู่ด้วยกันมายาวนาน

    ตารางประกอบให้คำตอบที่น่าตกใจพอควร สำหรับชาย หรือแม้แต่หญิง เพราะว่าในจำนวนหญิงสูงอายุที่สำรวจ มีอยู่เพียงร้อยละ 35 เท่านั้น ที่ตอบว่าจะเลือกชายคนเดิมเป็นคู่ชีวิตอีก ส่วนที่เหลือคือร้อยละ 65 ตอบว่าไม่เลือก หรือไม่แน่ใจ (ไม่เลือกแน่นอนร้อยละ 34 คน และไม่แน่ใจร้อยละ 31)

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=1><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=3> ความคิดเห็น (%)</TD></TR><TR><TD align=middle>เพศ</TD><TD align=middle>เลือก</TD><TD align=middle>ไม่เลือกหรือไม่แน่ใจ</TD></TR><TR><TD align=middle>หญิง</TD><TD align=middle>35</TD><TD align=middle>65</TD></TR><TR><TD align=middle>ชาย</TD><TD align=middle>46</TD><TD align=middle>54</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    พูดสั้นๆ ก็คือ หญิงประมาณหนึ่งในสามเลือกชายคนเดิม ส่วนอีกประมาณหนึ่งในสามไม่เลือก และประมาณอีกหนึ่งในสาม ไม่แน่ใจ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่าประมาณสองในสามไม่เลือกชายคนเดิม

    สำหรับชาย ผลสำรวจที่ได้ก็น่าสนใจอีกเช่นกัน ในจำนวนชายสูงอายุนั้น ร้อยละ 46 ตอบว่าจะเลือกคู่ชีวิตคนเดิม ในขณะที่ร้อยละ 54 ตอบว่าไม่เลือก หรือไม่แน่ใจ (ไม่เลือกแน่นอนร้อยละ 20 คน และไม่แน่ใจร้อยละ 34)

    คำตอบของชาย และหญิงสูงอายุแตกต่างกัน หญิงมีทางโน้มที่จะไม่เลือกคู่ชีวิตคนเดิม สูงกว่าชาย (ไม่เลือก หรือไม่แน่ใจร้อยละ 65 สำหรับผู้หญิง และร้อยละ 54 สำหรับชาย) หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า หญิงมีทางโน้มที่จะเลือกคนเดิม เป็นคู่ชีวิตน้อยกว่าชาย (เลือกร้อยละ 35 สำหรับหญิง และร้อยละ 46 สำหรับชาย)

    เมื่อได้เห็นผลจากโพลแล้วก็เกิดคำถามขึ้นในใจหลายคำถาม เช่นเหตุใดหญิงจึงเลือกชายคนเดิมน้อย? เหตุใดหญิงจึงเลือกชายคนเดิม น้อยกว่าที่ชายเลือกหญิงคนเดิม? ถ้าถามคำถามเดียวกันนี้กับชายหญิงในวัยอื่น จะได้คำตอบทำนองเดียวกันหรือไม่? สภาวการณ์ที่หญิง มักไม่เลือกชายคนเดิมนี้ เป็นมานานแล้วหรือไม่ และกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด? ชายไทยเป็นคู่ชีวิตที่ไม่ดีตามที่หญิงสูงอายุไทยมองจริงหรือไม่?

    ชายไทยทั้งหลายคงต้องยอมรับว่า หลายคนในพวกของตนนั้น มิได้มีความน่ารักเท่าที่ตนเองคิดเลย เจ้าชู้ กินเหล้าเมายา เล่นการพนัน ไม่รับผิดชอบ ฯลฯ เป็นลักษณะที่ปรากฏอยู่ไมน้อยในชายไทย จนมีส่วนทำให้สัดส่วนที่หญิงเลือกคู่ชีวิตคนเดิมต่ำ ในขณะที่เมื่อเทียบกับหญิงแล้ว ปัญหาเหล่านี้มีน้อยกว่า จนทำให้สัดส่วนที่ชายเลือกคู่ชีวิตคนเดิมสูงกว่า

    ข้อมูลที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ยิ่งอายุสูงขึ้น โดยเฉลี่ยผู้สูงอายุยิ่งมีทางโน้ม ที่จะเลือกคู่ชีวิตคนเดิมน้อยลงเป็นลำดับ (ยิ่งอยู่นานก็ยิ่งเบื่อ?) กล่าวคือทั้งชาย และหญิงรวมกันในช่วงอายุ 60-64 ปี จะไม่เลือกคู่ชีวิตเดิมร้อยละ 43 แต่ในช่วงอายุ 65-69 ปี สัดส่วนดังกล่าวเหลือร้อยละ 42 และในช่วงอายุ 70 ปีขึ้นไป สัดส่วนดังกล่าวเหลือเพียงร้อยละ 37

    นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ระดับการศึกษาของผู้ตอบมิใช่เป็นตัวอธิบายว่าจะทำให้เลือกคู่ชีวิตคนเดิมมากขึ้นหรือน้อยลง

    ตัวเลขร้อยละ 35 ของผู้สูงอายุหญิงที่ไม่ปรารถนา เลือกชายคนเดิมมาเป็นคู่ชีวิตอีกนี้จะเรียกได้ว่า ต่ำมากหรือไม่คงตอบได้ยาก จนกว่าจะมีตัวเลขของสังคมอื่นมาเทียบเคียง

    เมื่อไม่นานมานี้ นิตยสาร JAPAN CLOSE-UP ได้ตีพิมพ์บทความเชื่อ JAPANESE WOMEN CHANGING WITH TIMES ซึ่งได้มีการสำรวจความเห็นหญิงญี่ปุ่นในคำถามเดียวกัน และพบว่าร้อยละ 28 ของหญิงญี่ปุ่น ปรารถนาจะเลือกชายคนเดิม เป็นคู่อีกครั้ง ส่วนอีกร้อยละ 72 (ร้อยละ 28 ตอบว่าไม่เลือก และร้อยละ 44 ตอบว่าไม่แน่ใจ)

    เมื่อเทียบเคียงตัวเลขร้อยละ 35 ของหญิงไทยสูงอายุ และตัวเลขร้อยละ 28 ของหญิงญี่ปุ่น ที่แสดงความเห็นว่าจะไม่เลือกคู่ชีวิตคนเดิม ไม่ทราบว่าจะชี้อะไรได้ชัดเจนบ้างไหม เกี่ยวกับภาพของสามี ในสายตาของสุภาพสตรีทั้งสองชาติ

    ถ้าตีความแบบเข้าข้างตัวเอง ก็พูดได้ว่า ในสายตาของภรรยาสามีไทย อาจมีความน่ารักมากกว่า สามีญี่ปุ่นอยู่บ้างกระมัง (ร้อยละ 35 VS ร้อยละ 28) แต่ก็อาจมีบางคนบอกว่า ตัวเลขเหล่านี้มาจากสถานการณ์ที่สมมุติขึ้น มิได้เกิดขึ้นจริงแต่อย่างใด(ถ้า.....) คำตอบเหล่านี้เป็นเพียงจินตนาการ ที่ไม่มีความหมายอะไรมากนัก

    ในเรื่องญี่ปุ่นมีหลายประเด็นเกี่ยวกับสามีภรรยาที่น่าสนใจ ประโยคที่ว่า "มีเมียญี่ปุ่น อยู่บ้านฝรั่ง กินอาหารจีน" เคยเป็นที่รู้จักกันดีในบ้านเราในสมัยก่อน โดยเฉพาะเรื่องมีเมียญี่ปุ่นนั้นเป็นที่พูดกันทั่วโลก สาเหตุส่วนหนึ่ง ก็เพราะภาพพจน์ของภรรยาญี่ปุ่น ที่อ่อนโยนผ่อนปรนตามสามี นุ่มนิ่ม ซื่อสัตย์ต่อสามี ปรนนิบัติรับใช้สามี
    และลูกราวกับทาส ฯลฯ ปัจจุบันพูดกันในญี่ปุ่นว่า หากใครพบหญิงญี่ปุ่นที่มีลักษณะเช่นนี้ในวัยต่ำกว่า 60 ปี ก็เรียกได้ว่า อัศจรรย์ใจอย่างยิ่ง เพราะเธอได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วใน 30-40 ปีที่ผ่านมา เฉกเช่นเดียวกับผู้หญิงในยุโรป และอเมริกา


    การถอดถุงเท้ารองเท้าให้สามี เวลากลับจากงาน ป้อนปลาที่เอาก้างออกแล้วด้วยตะเกียบ อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนเลี้ยงดูลูกอยู่คนเดียว พร้อมกับทำงานบ้านอย่างทุ่มเทสุดตัว เป็นสิ่งที่สูญหายไปจากญี่ปุ่นแล้ว ปัจจุบันแม่บ้านญี่ปุ่นเกินกว่าครึ่งหนึ่ง ที่ทำงานนอกบ้าน พร้อมกับมีความเท่าเทียมกับผู้ชายมากขึ้นในเรื่องการศึกษา โอกาสในความก้าวหน้าในงาน สิทธิทางกฎหมาย ฯลฯ

    ปรากฏการณ์แปลกอันหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้น และสร้างความหนักใจให้แก่เหล่าหญิงญี่ปุ่นในวัย 60 ปีก็คือโรค "สามีอยู่บ้าน" ซึ่งเกิดจากการที่หลังวัยเกษียณอายุของสามี เขาอยู่บ้านกับภรรยาทั้งวัน หลังจากที่ไม่เคยอยู่บ้าน (หรือไม่สนใจเธอมาเกือบตลอดชีวิต) ตามวัฒนธรรมของชายญี่ปุ่นมายาวนาน เขาจะสั่งให้เธอทำโน่นทำนี่ ราวกับสั่งทาสทั้งวัน และบ่นว่าทุกสิ่งที่เธอทำ และดูเหมือนว่าจะไม่นึกขอบคุณในสิ่งที่เธอทำให้เลย การหย่าร้างแบบที่เรียกว่า "RETIREMENT DIVORCES" จึงเกิดขึ้น พร้อมกับสถิติที่น่ากลัว สถิติก็คือฝ่ายหญิงเป็นคนริเริ่มการหย่าร้างโดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว ในเวลา 20 ปีที่ผ่านมา

    การปฏิเสธไม่เลือกคู่ชีวิตเดิมของหญิงไทย และญี่ปุ่นสะท้อนให้เห็นภาพบางอย่าง ที่อยู่ในใจของทั้งชาย และหญิง ที่สมควรนำไปไตร่ตรองอยู่ไม่น้อย ได้ทราบว่าปฏิกิริยา ของสุภาพสตีไทยคนหนึ่งต่อคำถามนี้ก็คือ "อย่าว่าแต่ชาติหน้า หรือชาติไหนเลย ชาตินี้ฉันก็ไม่เอามันแล้ว"

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    อ่า....ยังไงดีน๊า??
     
  3. PalmPlamnaraks

    PalmPlamnaraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2005
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +5,790
    ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...