อยากทราบเกี่ยวกับภพภูมิของศาสนาเต๋าว่าเป็นอย่างไรใครรู้

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ไห่เฉากุหลาบไฟ, 15 กรกฎาคม 2005.

  1. ไห่เฉากุหลาบไฟ

    ไห่เฉากุหลาบไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    897
    ค่าพลัง:
    +2,177
    เคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับภพภูมิของศานาเต๋า ผมอยากทราบว่าสอดคล้องกับชั้นสวรรค์ของชาวพุทะตรงไหนครับ
    สวรรค์ของศาสนาเต๋ามีดังนี้
    1. มหาไพศาลภูมิ
    2. ละมุลวิสุทธิภูมิ
    3. อรูปภูมิ
    4. มหามณีภูมิ
    5. ทวีกัณฏกะภูมิ
    6. วิมุตภูมิ
    7. โอฬาริกภูมิ
    8. อวตารภูมิ
    9. เหนือสุขตระกาลภูมิ
    10. เลิศบัณฑิตภูมิ
    11. มหรรณพแจ่มฟ้าภูมิ
    12. อาสนแจ้งเหินหาวภูมิ
    13. มหาเมฆินทรไร้เขตภูมิ
    14. เหนือพันสุขสันติภูมิ
    15. ไร้คำนึงนาธารภูมิ
    16. มหาอาวุโสตภูมิ
    17. บุพกตัญญูภูมิ
    18. ประจักษ์มั่นภูมิ
    19. มหาศานติภูมิ
    20. บุพสังวัจฉระภูมิ
    21. มหารุ่งโรจน์ภูมิ
    22. สว่างอัศจรรย์ฉลองฟ้าภูมิ
    23. ส่องสว่างศานติภูมิ
    24. สว่างว่างภูมิ
    25. ชมพูจุติภูมิ
    26. แสงสว่างสุริยภูมิ
    27. สว่างอัศจรรย์รุ่งโรจน์ภูมิ
    28. สว่างมณีผสานภูมิ
    29. มหาฝนพรำไพศาลภูมิ
    30. ว่างเปล่าสงบภูมิ
    31. เจ็ดแสงสุริยภูมิ
    32. สว่างละมุลภูมิ
    33. ครรภ์อัศจรรย์ภูมิ
    34. สว่างวิสุทธิ์ภูมิ
    35. มหาสว่างอวสานภูมิ
    36. มหาราชาสังฆภูมิ
    ช่วยตอบด้วย ขอบคุณมากครับ
     
  2. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,774
    ค่าพลัง:
    +12,932
    ใจเย็นๆสร้างสรรค์กันนะครับ อดทนๆ นะ
     
  3. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,774
    ค่าพลัง:
    +12,932
    ใครทราบกรุณาช่วยตอบหน่อยนะครับ ....เอาใจช่วยนะ....ขอบคุณครับ

    (bb-flower :cool:
     
  4. โอมพุทโธกิเตศวร

    โอมพุทโธกิเตศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +198
    ...........ใจเย็นๆครับ....เดี๋ยวองค์เซียนท่านไม่บอกนะ................

    .............................เท่าที่รู้ตอนนี้ มีขอบเขตเฉพาะออกไปนะครับ คล้ายๆแดนสุขาวดีของพระอมิตาภะพุทธเจ้า


    บางท่านมาจากเต๋าแต่อยู่ในภพภูมิแบบพุทธก็มี ทั้งอรูปพรหม รูปพรหม และภพเทวะ

    แล้วจะมาตอบใหม่นะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2005
  5. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    คัมภีร์ของลัทธิเต๋า

    คัมภีร์ที่สำคัญที่สุดของลัทธิเต๋าคือ "เต๋าเต๋อจิง" ซึ่งเชื่อกันว่าท่านเหลาจื๊อเขียนขึ้น เมื่อประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล มีลักษณะเป็นหนังสือขนาดเล็กที่บรรจุถ้อยคำมากกว่า 5,000 คำ มีทั้งหมด 81 บท และนิยมแปลออกมาในรูปของร้อยกรอง เป็นคัมภีร์ที่มีผู้สนใจแปลเป็นภาษาอังกฤษมากรองลงจากคัมภีร์ไบเบิลและแปลเป็นภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา จึงเป็นหนังสือของคนจีนที่มีผู้รู้กันดีมากที่สุดเล่มหนึ่ง

    โวหารที่ใช้ในคัมภีร์เต๋าเต๋อจิงนั้นมีสำนวนลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจ เพราะเขียนไว้ด้วยประโยคสั้น ๆ แต่กินความหมายพิสดารซึ่งจะต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ และจะต้องมีการอธิบาย อย่างยืดยาวจึงจะเข้าใจได้ ดังนั้นคัมภีร์นี้จึงมีนักปราชญ์เป็นจำนวนมากในสมัยต่อมา พยายามที่จะแต่งอรรถกถาและอรรกถาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดที่ท่านเสถียร โพธินันทะ (เสถียร โพธินันทะ. 2514 : 180) ได้กล่าวไว้คือ อรรถกถาเต๋าเต๋อจิงที่เขียนโดย เฮ่งเพี๊ยก ซึ่งเป็นปราชญ์ที่มีชีวิต ในสมัยสามก๊ก (ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 8)

    ดังที่ได้ทราบมาแล้วว่า คัมภีร์เต๋าเต๋อจิงนี้มี 2 ภาค คือ "เต๋าจิง" และ "เต๋อจิง" เต๋าจิงเริ่มตั้งแต่บทที่ 1 - 37 อธิบายถึงความคิดที่เกี่ยวกับอันติมสัจจ์ และมรรควิธีแห่งการเข้าถึงอันติมสัจจ์นั้น โดยเริ่มต้นอธิบายตั้งแต่เต๋าคืออะไร ธรรมชาติของเต๋า การเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นสมมติบัญญัติหลักจริยธรรมของชีวิต ไปจนกระทั่งการอธิบายถึงวิถีทางเข้าถึงเต๋า ส่วนบทที่ 38 - 81 เป็นการอธิบายว่าชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร ลักษณะการเมืองการปกครองที่ดีเป็นอย่างไร ลักษณะของผู้เป็นปราชญ์ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างมีความสุข และประเทศในอุดมคตินั้นควรมีลักษณะอย่างไร

    ค. หลักคำสอนและเป้าหมายสุดท้ายของชีวิต

    ความจริงสุงสุดที่ลัทธิเต๋าให้ความเคารพนับถือ คือ "เต๋า" ซึ่งเป็นเอกภาพของสรรพสิ่งเป็นที่เกิดและดับของสิ่งทั้งหลาย แต่เอกภาพนี้เป็นสิ่งที่ไม่ตาย ไม่มีเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดโดยความหมายของคำว่า "เต๋า" ซึ่งเป็นเอกภาพของสรรพสิ่งทั้งมวลนี้มีความหมายว่า "หนทาง หรือวิธี" ซึ่งเป็นหนทางที่ไร้ทาง นั่นคือ เราไม่สามารถเห็นหนทางนี้ด้วยการเห็น ไปไม่ได้ด้วยการเดินแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง เป็นหนทางที่มีจุดหมายแฝงอยู่ในตัวเอง เป็นบ่อเกิดและเป็นจุดหมายสุดท้ายของเอกภพ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูดหรือเหตุผล นอกจากการเปรียบเทียบ แต่การเปรียบเทียบก็ยังไม่สามารถอธิบายได้ถึงเต๋าตัวจริง ดังคำกล่าวของเหลาจื๊อในเต๋าเต๋อจิง บทที่ 1 ซึ่งพจนา จันทรสันติ (พจนา จันทรสันติ. 2523 : 53) ได้แปลมาจาก "ภูมิปัญญาจีน" (The Wisdom of China) ของหลินยู่ถั่ง โดยแปลความไว้ว่า

    <TABLE width="25%" align=center><TBODY><TR><TD>"........เต๋าที่อธิบายได้มิใช่เต๋าอันอมตะ
    ชื่อที่ตั้งให้กันได้ ก็มิใช่ชื่ออันสูงส่ง
    เต๋านั้นมิอาจอธิบาย และมิอาจตั้งชื่อ
    เมื่อไร้ชื่อทำฉันใด จักให้ผู้อื่นรู้
    ข้าพเจ้าขอเรียกสิ่งนั้นว่า "เต๋า" ไปพลาง ๆ
    .....................................
    บ่อเกิดนั้นสุดแสนลึกล้ำ
    ความลึกล้ำสุดแสนนั้น
    คือประตูที่เปิดไปสู่ความรู้แจ้งแห่งสรรพชีวิต"</TD></TR></TBODY></TABLE>

    นอกจากนี้แล้ว ในเต๋าเต็กเก็งบทที่ 6 ได้ทำให้เราเห็นความยิ่งใหญ่ของเต๋ามากขึ้น เพราะจากเอกภาพนี้เองที่เป็นบ่อเกิดของฟ้าและดิน พจนา จันทรสันติ (2523 : 61) ได้แปลความไว้ว่า

    <TABLE width="25%" align=center><TBODY><TR><TD>"อหิทธานุภาพอันล้ำลึกนั้นมิเคยดับสูญ
    เป็นมารดาอันมหัศจรรย์
    จากทวาราแห่งมารดานี้เอง
    ได้ก่อเกิดรากฐานแห่งฟ้าและดิน"</TD></TR></TBODY></TABLE>

    สำหรับในบทที่ 25 ได้ทำให้เราเห็นและเข้าใจในอันติมสัจจ์นี้ได้ดียิ่งขึ้นถึงความยิ่งใหญ่ที่มีอยู่เป็นอยู่ด้วยตนเอง และจะมีอยู่อย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ แม้นว่าสิ่งทั้งหลายจะสูญสิ้นไปหมดแล้วก็ตามแต่เต๋าก็ยังอยู่ชั่วนิจนิรันดร พจนา จันทรสันติ (2523 : 95) ได้แปลความไว้ว่า

    <TABLE width="25%" align=center><TBODY><TR><TD>"ก่อนดำรงอยู่ของฟ้าและดิน
    มีบางสิ่งบางอย่างมืดมัวเคลือบคลุม
    เงียบงันโดดเดี่ยว
    อยู่เพียงลำพัง ไม่แปรเปลี่ยน
    เป็นอมตะหมุนเวียนไม่หยุดยั้ง
    มีค่าควรแก่การเป็นมารดาของสรรพสิ่ง
    ข้าพเจ้าไม่ทราบชื่อสิ่งนั้น
    แต่ถ้าถูกบังคับให้เรียก
    ก็จะเรียกว่า "เต๋า"
    และจะให้ชื่อว่า "ยิ่งใหญ่"
    ยิ่งใหญ่หมายถึงความต่อเนื่อง
    ความต่อเนื่องหมายถึงความยาวไกล
    ความยาวไกลหมายถึงการกลับสู่ต้นกำเนิดเดิม
    ดังนั้นเต๋าจึงยิ่งใหญ่
    ฟ้าจึงยิ่งใหญ่
    ดินจึงยิ่งใหญ่
    ปราชญ์จึงยิ่งใหญ่
    นี่คือความยิ่งใหญ่สี่ชนิดในจักรวาล
    และปราชญ์ก็นับเป็นหนึ่งในนั้น
    คนทำตามกฎแห่งดิน
    ดินทำตามกฎแห่งฟ้า
    ฟ้าทำตามกฎแห่งเต๋า
    เต๋าคงอยู่และเป็นไปด้วยตนเอง"</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ดังได้กล่าวมาแล้วนี้เราอาจสรุปได้ว่าเต๋าเป็นธรรมชาติที่มีอยู่เหนือถ้อยคำ จึงยากที่จะอธิบายให้ผู้คนเข้าใจได้ง่าย แต่มิได้หมายความว่าเราจะไม่มีโอกาสเข้าถึงเต๋า การเข้าถึงเต๋าและรู้จักเต๋ากระทำได้ด้วยการบำเพ็ญเพียร ทางจิตให้สงบจากอารมณ์ภายนอกทั้งอารมณ์ที่น่ายินดีและไม่น่ายินดี ไม่หลงเพลิดเพลินกับอารมณ์ที่ตนได้เข้าไปสัมพันธ์เกี่ยวข้องแต่ควบคุมจิตให้อยู่ในภาวะบริสุทธิ์ ดังคำกล่าวในเต๋าเต๋อจิงบทที่ 10 ความว่า

    <TABLE width="25%" align=center><TBODY><TR><TD>"รักษาดวงวิญญาณให้พ้นจากความมัวหมอง
    ทำจิตให้แน่วนิ่งเป็นหนึ่งเดียวได้หรือไม่
    หายใจอย่างละเอียดอ่อนแผ่วเบา
    เหมือนลมหลายใจของเด็กอ่อนได้หรือไม่
    ชำระล้างญาณทัศนะให้หายมืดมัว
    จนอาจแลเห็นกระจ่างชัดได้หรือไม่
    มีความรักและปกครองอาณาจักร
    โดยไม่เข้าไปบังคับบัญชาได้หรือไม่
    ติดต่อรับรู้ และเผชิญทุกข์สุข
    ด้วยความสงบนิ่งไม่ทุกข์ร้อนได้หรือไม่
    แสวงหาความรู้แจ้ง
    เพื่อละทิ้งอวิชชา ได้หรือไม่
    ให้กำเนิด ให้การบำรุงเลี้ยง
    ให้กำเนิด แต่มิได้ถือตนเป็นเจ้าของ
    กระทำกิจ แต่มิได้ยกย่องตนเอง
    เป็นผู้นำในหมู่ตน แต่มิได้เข้าไปบงการ
    เหล่านี้คือคุณความดีอันลึกล้ำยิ่ง"

    (พจนา จันทรสันติ. 2523 : 67)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    การรักษาจิตให้บริสุทธิ์ คือ การเข้าถึงตัวตนภายในอันเป็นความรู้ที่ประเสริฐยิ่งกว่าการแสวงหามากเท่าใดก็ยิ่งรู้น้อยเท่านั้น เพราะจิตยิ่งพอกพูนกิเลสมากขึ้น ความอยาก ความต้องการและความยึดถือก็ทวีขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดมนุษย์ต้องตกเป็นทาสและถูกทำลายเพราะอวิชชานี้ ด้วยเหตุนี้นักปราชญ์เต๋า ก็คือผู้รู้แจ้ง ความรู้ภายในจึงสามารถสลัด ละ ปล่อยวางกิเลสตัณหาและหมด ซึ่งความยึดถือยึดติดในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
    เราอาจสรุปได้ว่าคำสอนของเต๋ามุ่งให้บุคคลเข้าสู่สาระแห่งแก่นแท้โดยตรง โดยละความยึดถือมั่นในสิ่งทั้งปวง เป็นผู้อยู่พ้นจากความสงสัย ไปพ้นจากการแบ่งแยก ไม่ให้คุณค่าแก่สิ่งที่คนส่วนมากยึดถือ สลัดความหยิ่งยะโสโอหังออกไป สลัดความฉลาดและความเป็นคนเจ้าเหตุผล แต่หวนกลับมาดำรงชีวิตอยู่กับธรรมชาติ มีชีวิตที่เรียบง่าย มีใจที่บริสุทธิ์ปราศจากความอยากความต้องการในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ความสงบจึงจะเกิดขึ้นได้ ดังคำกล่าวในเต๋าเต๋อจิงบทที่ 37 ความว่า

    <TABLE width="25%" align=center><TBODY><TR><TD>"เต๋าไม่เคยกระทำ
    แม้กระนั้นทุกสิ่งทุกอย่างก็สำเร็จลุล่วงลง
    หากกษัตริย์และเจ้านครสามารถรักษาเต๋าไว้ได้
    โลกก็จะเปลี่ยนแปลงไปโดยความต่อเนื่อง
    เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป และเกิดการกระทำต่าง ๆ ขึ้น
    จงปล่อยให้ความเรียบง่ายแต่บรรพกาลเป็นผู้ควบคุมการกระทำ
    ความเรียบง่ายแต่บรรพกาลนี้ไร้ชื่อ
    มันช่วยขจัดความอยากทั้งปวง
    เมื่อขจัดความอยากได้
    ความสงบย่อมเกิดขึ้น
    ดังนั้นโลกย่อมถึงซึ่งสันติสุข"

    (พจนา จันทรสันติ. 2523 : 67)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อย่างไรก็ตามรากฐานสำคัญที่จะนำบุคคลไปสู่ชีวิตที่เรียบง่ายนั้น ท่านเหลาจื๊อได้กล่าวไว้มี 3 ประการ คือ
    1. การมีความรัก จะช่วยให้เรากล้าหาญ
    2. การทำแต่พอควร จะทำให้เราเป็นคนเรียบง่ายมีจิตใจกว้างขวาง
    3. การไม่เป็นเอกในโลก ทำให้เรารู้จักเป็นผู้ตามที่ดี

    คุณธรรม 3 ประการนี้เป็นหลักปฏิบัติที่จะทำให้บุคคลได้รับชันะและปลอดภัยจากความทุกข์ทั้งปวงในโลก ซึ่งเราจะศึกษาได้จากเต๋าเต็กเก็งบทที่ 67 เต๋าเต๋อจิง บทที่ 80
    <TABLE width="25%" align=center><TBODY><TR><TD>"หวังให้ประเทศเล็กที่มีพลเมืองน้อย
    มีอาหารพอที่จะเลี้ยงดูพลเมือง
    มากกว่าที่เขาต้องการถึงสิบเท่าร้อยเท่า
    ให้ประชาชนเห็นคุณค่าของชีวิต
    และไม่ท่องเที่ยวพเนจรไปไกล
    ถึงแม้จะมีพาหนะเรือและรถ
    ก็ไม่มีใครปรารถนาจะขับขี่
    ถึงแม้จะมีเกราะและอาวุธ
    ก็ไม่มีโอกาสจะใช้
    ให้กลับไปใช้การจดจำเรื่องราว
    ด้วยการผูกเงื่อนแทนการเขียนหนังสือ
    ให้เขานึกว่าอาหารพื้น ๆ นั้นโอชะ
    บ้านเรือนธรรมดานั้นสุขสบาย
    ประเพณีวิถีชีวิตนั้นน่าชื่นชม
    ในระหว่างเพื่อนบ้านนั้นต่างเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน
    จนอาจได้ยินไก่ขันสุนัขเห่าจากข้างบ้าน
    และตราบจนวันสุดท้ายของชีวิต
    จะไม่มีใครได้เคยออกไปนอกประเทศของตนเลย"

    (พจนา จันทรสันติ. 2523 : 67)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    บทที่ 80 นี้ แสดงให้เห็นถึงประเทศในอุดมคติของท่านเหลาจื๊อที่ต้องการให้มีรูปแบบที่เรียบง่ายไม่เนนความเป็นวัตถุนิยม แต่ส่งเสริมทางด้านจิตวิญญาณและให้คุณค่าของชีวิต วิถีชีวิตที่เรียบง่ายนี้จะทำให้ผู้คนมีความสุขในประเทศของตน โดยไม่จำเป็นต้องออกไปแสวงหาที่อื่น

    ประเทศในอุดมคติของท่านเหลาจื๊อเป็นเพียงประเทศเล็ก ๆ ที่มีพลเมืองน้อย เพราะท่านไม่เห็นด้วยกับการล่าอาณานิคม หรือการแสวงหาดินแดนเป็นเมืองขึ้น เพราะจะทำให้ประเทศใหญ่โตเกินไปจนยากที่จะปกครองได้ทั่วถึง และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกฎบัญญัติข้อบังคับต่าง ๆ ออกมามากมาย ประเทศน้อย คนน้อย ความสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจย่อมน้อยอันเป็นไปตามสัดส่วนการปกครองจึงเป็นไปได้ง่ายกว่า ทฤษฏีนี้เรียกว่า "เซียวก๊กกั้วมิ้น" ท่านเสถียร โพธินันทะ (2514 : 214) แปลว่า "ทำให้เป็นรัฐเล็ก ๆ มีพลเมืองน้อย ๆ " ความคิดทางการเมืองของท่านเหลาจื๊อนี้ นักทฤษฏีการเมืองในโลกปัจจุบันบางท่านอาจจะไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มประเทศมหาอำนาจที่มีพื้นดินและจำนวนประชากรมาก การปกครองแบบเสรีนิยมและธรรมชาตินิยมของท่านเหล่าจื๊อจึงยากที่จะปฏิบัติได้ในยุคปัจจุบันจนกวาเมื่อใดก็ตามทโลกที่เราอยู่นี้มีมนุษย์ที่หมดความเห็นแก่ตัวแล้ว เมื่อนั้นทฤษฎีทางการเมืองแบบเซียวก๊กกั้วมิ้นอาจจะถูกนำมาใช้ปฏิบัติให้เห็นจริงได้
    ง. ปรัชญาเต๋าและลัทธิเต๋า

    ก่อนกำเนิดปรัชญาเต๋านั้นชาวจีนเคยนับถือธรรมชาติ เพราะเขาสังเกตเห็นว่าธรรมชาติมีคุณลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ

    1. ความเป็นวัฎจักรที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอย่างเป็นระบบ เช่น การเกิดขึ้นของกลางวันและกลางคืน การหมุนเวียนเปลี่ยนไปของฤดูกาล ทำให้เกิดสภาพอากาศที่หลากหลายกันออกไปในแต่ละปี
    2. มีการเกิดและดับตลอดเวลาเช่นความสว่างไสว และความมืดของพระจันทร์ทำให้เกิดข้างขึ้นข้างแรม
    3. ความเป็นเอกภาพเดียวกันแม้นว่าเราจะเห็นว่า ธรรมชาติที่ปรากฎแก่ตามีความหลากหลายนับไม่ถ้วน ทำให้เกิดคุณสมบัติเฉพาะตัวบางอย่างก็คล้ายคลึง บางอย่างก็ตรงกันข้ามกัน แต่แท้จริงแล้วทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเอกภาพเดียวกัน

    ด้วยสาเหตุดังได้กล่าวมาแล้วนี้ จึงทำให้นักปราชญ์จีนหลายท่านพยายามค้นหาความลี้ลับของธรรมชาติ ทำให้แนวคิดในเรื่องวิญญาณและผีได้แทรกเข้ามาปะปน จนเกิดความคิดที่ว่ามีวิญญาณแฝงอยู่ในธรรมชาติ วิญญาณที่ว่านี้มีตั้งแต่วิญญาณที่อยู่ในท้องฟ้าซึ่งเรียกว่าเทพแห่งฟ้า หรือเทพแห่งสวรรค์ (ภาษาจีนมีคำเรียกพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่นี้ว่า "เทียน") ไล่ลงมาจนกระทั่งถึงเทพที่อยู่บนพื้นดิน ภูเขา ต้นไม้ ลำธาร แม่น้ำ ฯลฯ ลักษณะความเชื่อเช่นนี้เป็นแบบพหุเทวนิยม (Polytheism) กล่าวคือ เทพเจ้าแต่ละองค์ต่างมีฤทธิ์อำนาจ ถ้ามนุษย์คนใดต้องการบรรลุถึงซึ่งความปรารถนาของตน จะต้องกราบไหว้เซ่นสรวงเทพเจ้าแต่ละองค์แล้วแต่กรณี บางกลุ่มชนอาจจะยกย่องเทพเจ้าองค์หนึ่งให้ยิ่งใหญ่กว่าองค์อื่น ๆ แต่ในขณะเดียวกันเทพองค์ที่ยิ่งใหญ่นี้อาจจะถูกลดความสำคัญลงสำหรับอีกกลุ่มชนหนึ่ง

    อย่างไรก็ตามโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ชาวจีนในสมัยโบราณนั้นนิยมยกย่องเทพแห่งสวรรค์ให้เป็นใหญ่กว่าเทพองค์อื่น ๆ เป็นเทวาดิเทพที่ต้องมีการเซ่นสรวงบูชาอยู่เสมอ และการทำพิธีกรรมเซ่นสรวงบูชานั้นสามัญชนไม่วสามารถกระทำได้ นอกจากพระมหากษัตริย์เท่านั้น เพราะเชื่อกันว่าพระองค์เป็นโอรสแห่งสวรรค์จึงมีหน้าที่ที่จะต้องกระทำการเซ่นไหว้เป็นประจำทุกปี จนกลายเป็นรัฐพิธีที่ใหญ่โตจะละเว้นมิได้เลย ในการเซ่นไหว้แต่ละครั้งนิยมฆ่าสัตว์นำมาสังเวยพร้อมกับข้าวปลาอาหาร รวมทั้งสุรา ที่มีรสเป็นเลิศ การทำพิธีกรรมแต่ละครั้งจะมีความประณีตในการถวายของบูชา เพราะมีผลต่อความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฏณ์ ปีใดที่เกิดความอดอยากแห้งแล้ง ยิ่งต้องมีการเซ่นไหว้เป็นพิเศษ มิฉะนั้นแล้วพวกที่คิดร้ายต่อราชบัลลังก์อาจยกขึ้นมาเป็นเหตุผลหนึ่งในการล้มล้างอำนาจองกษัตริย์เพราะเหตุที่ว่าเป็นผู้ทำให้ฟ้าพิโรธไม่เป็นที่โปรดปรานอีกต่อไป และผู้ที่เข้ามาครอบครองคนใหม่ อาจจะอ้างถึงความชอบธรรมในการล้มล้างราชบัลลังก์กษัตริย์ของจีน จึงมีหน้าที่เป็นศาสนาจารย์โดยปริยาย อำนาจในทางศาสนาจึงอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมือง

    สำหรับประชาชนซึ่งไม่สามารถติดต่อกับพระเจ้าแห่งสวรรค์ได้ดังเช่นกษัตริย์ พวกเขาจะบูชาเทพบริวารองค์อื่น ๆ และวิญญาณบรรพบุรุษเพื่อสร้างความอบอุ่นใจและความมั่นคงในชีวิต ในแต่ละหมู่บ้านจึงมีศาลเจ้าให้กราบไหว้ และในแต่ละบ้านก็จะมีป้ายสถิตดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ


    ความเชื่อของชาวจีนในเรื่องวิญญาณ ได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะรู้จักและเข้าใจในธรรมชาติ โดยมีเป้าหมายที่จะเข้าใจในชีวิตของตนเอง จึงแสดงออกมาในรูปของความเชื่อแบบวิญญาณนิยม (Animism)
    ต่อมาเมื่อความรู้ได้พัฒนาขึ้นความเชื่อในเรื่องพระเจ้าค่อย ๆ จางลง นักปราชญ์โบราณ ของจีนได้ค้นพบกฎแห่งธรรมชาติที่ครอบงำความเป็นไปของเอกภพ และแสดงออกมาในรูปของพลังอำนาจทั้ง 2 ด้าน ที่เรียกว่าหยินและหยาง พลังหยินเป็นพลังลบที่แสดงออกถึงความมืด ความลึกลับ ความหนาวเย็น ความเปียกชื้น และความเป็นหญิง พลังนี้ปรากฏอยู่ในดิน พระจันทร์ และเงามืดส่วนพลังหยางเป็นพลังบวก แสดงออกถึงความสว่าง ความอบอุ่น ความแห้ง การสร้างสรรค์ และความเป็นชาย พลังนี้ปรากฏอยู่ในพระอาทิตย์ และสิ่งที่ส่องแสงสว่าง ในเอกภพนี้จะมีพลังทั้งสองอย่างผสมกันในสัดส่วนที่ทำให้เกิดเป็นสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา แต่ถ้าพลังอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่เป็นไปตามสัดส่วนก็จะทำให้ผลที่เกิดขึ้นวิปริตไป

    โลกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเอกภพได้ถูกสร้าง ขึ้นมาด้วยพลังอำนาจทั้ง 2 อย่างนี้ทำให้มีสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากนับไม่ถ้วน แต่นักปราชญ์จีนในสมัยโบราณได้พยายามที่จะจัดระบบของมันออกมาเป็นกลุ่ม ๆ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติ ซึ่งจำแนกออกมาได้เป็น 5 ธาตุ คือ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุไม้ ธาตุโลหะ (ซึ่งมุ่งหมายเฉพาะธาตุทอง) และธาตุดิน

    อย่างไรก็ตามแม้นว่านักปราชญ์จีนในสมัยต่อมาจะสอนให้มนุษย์มีความเข้าใจธรรมชาติ โดยใช้ปัญญามากกว่าความงมงาย ผู้ที่จะเข้าใจคำสอนเช่นนี้ได้ก็คงมีแต่ผู้มีปัญญาเท่านั้น คนจีน โดยทั่ว ๆ ไปยังคงนับถือวิญญาณและเทพเจ้า เมื่อวันเวลาผ่านพ้นไปคำสอนของปราชญ์คงเหลือไว้ให้ปัญญาชนศึกษาและขบคิดต่อไป ส่วนสามัญชนยังคงยึดถือในความเชื่อเดิม ๆ เทพเจ้ายังคงได้รับการยกย่องบูชาถูกยึดถือเป็นที่พึ่งต่อไป

    ปรัชญาของท่านเหลาจื๊อก็ตกอยู่ภายใต้กฎนี้เช่นกัน กล่าวคือ คำสอนของท่านที่มุ่งให้บุคคลเข้าในในธรรมชาติอย่างผู้มีปัญญา และดำเนินวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายที่สุด แต่พอวันเวลาได้ผ่านพ้นไปหลักคำสอน และคัมภีร์เต๋าเต๋อจิงได้ถูกเสริมเติมแต่ง เน้นหนักในทางอภินิหารและเวทมนต์ ทำให้ปรัชญาเต๋าได้เปลี่ยนรูปมาอยู่ในลักษณะของลัทธิศาสนาที่นำเอาความเชื่อในเรื่อง หยินและหยางมาผสมกับความเชื่อดั้งเดิมของชาวจีนที่เคยบูชาพระเจ้าในธรรมชาติ รวมทั้งความเชื่อในทางไสยศาสตร์และการเล่นแร่แปรธาตุ

    บุคคลแรกของลัทธิเต๋าที่เป็นผู้ก่อตั้งลัทธิคือนักพรต จางเต๋าหลิง แห่งภูเขาหลุ่งหัวซาน มณฑลเสฉวน นักพรตท่านนี้เคยประกาศว่าตนเองสำเร็จทิพยภาวะติดต่อกับเทพเจ้าได้ ท่านได้ยกให้ท่านเหลาจื๊อเป็นศาสดา และยกย่องคัมภีร์เต๋าเต๋อจิงเป็นสูตรของศาสนา พร้อมทั้งเขียนคัมภีร์เพิ่มขึ้นมาอีกหลายเล่ม แต่ละเล่มล้วนหนักไปในเรื่องของไสยศาสตร์เวทย์มนต์ การเล่นแร่แปรธาตุ และการแสวงหายาอายุวัฒนะ และเชื่อกันว่าพรตผู้นี้มีทิพยอำนาจมากสามารถติดต่อกับวิญญาณต่าง ๆ ได้ รวมทั้งติดต่อกับท่านปรมาจารย์เหลาจื๊อ และมีความสามารถในการปราบปรามเหล่ามารร้ายภูติผีปีศาจได้ด้วยดาบศักดิ์สิทธิ์ซึ่งท่านปรมาจารย์เหลาจื๊อได้มอบให้

    สานุศิษย์จึงยกย่องท่านเป็น "เทียน ฉี เช็ง อิ เต๋า" (T'ien - Shih Cheng - Yi Tao) ซึ่งทอมสัน (Laurence G. Thompson. 1979 : 107) ได้แปลว่า "วิถีทางแห่งเอกภาพอันสมบูรณ์ของปรมาจารย์ ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากสวรรค์" (Way of Perfect Unity of the Master Designated by Heaven.) หรือตำราหลายเล่มใช้คำว่า "อาจารย์แห่งสวรรค์" (Celestial Teacher) ซึ่งต่อมาเจ้าลัทธิทุกคนได้ใช้สมณศักดิ์นี้กันตลอดมา

    ความไม่ธรรมดาของท่านจางเต๋าหลิงนั้นมีผู้เล่ากันมากมาย เช่น ท่านได้รับการบวชเป็นนักพรตโดยวิญญาณของท่านเหลาจื๊อเป็นผู้บวชให้ ท่านสามารถค้นพบสูตรของความเป็นอมตะท่านจึงมีพลังชีวิตที่เป็นทิพย์ ท่านมีดาบศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถปราบปีศาจร้ายแม้อยู่ไกลถึง 1,000 ไมล์ และสุดท้ายเชื่อกันว่าท่านขึ้นสวรรค์ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่โดยขี่เสือขึ้นไปทางยอดเขาหลุงหัวซานท่านจางเต๋าหลิง มีอายุยืนถึง 120 ปี

    หลังจากนั้นทายาทสกุลจางได้สืบทอดตำแหน่งกันต่อมาตั้งแต่ลูกจนถึงหลาน ลูกหลานของท่านมีส่วนทำให้ลัทธิเต๋ามีความเป็นระบบมากขึ้น นิกายนี้จึงได้ชื่อว่า นิกายเช็งอิ (Cheng - Yi) ซึ่งเน้นในรหัสยลัทธิเชื่อถือโชคลางอภินิหารการเข้าทรงและ คาถาอาคมต่าง ๆ นักบวชในนิกายนี้มีครอบครัวได้เช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไป

    ในขณะเดียวกันแนวทางเดิมของท่านเหลาจื๊อยังคงมีอยู่โดยมีผู้สืบทอดพยายามค้นหาความจริงภายในด้วยการดำเนินชีวิตตามแนวทางของท่านปรมาจารย์ พวกนี้ถูกเรียกว่าพวก "ชวน เชน เจียว" (Ch'uan - chen Chiao) ซึ่ง ทอมสัน (Laurence G. Thomson. 1979 : 107) ได้แปลว่า "การสืบทอดการบรรลุสิ่งสัมบูรณ์" (Tradition of Absolute Attainment) พวกนี้มีแนวทางชีวิตคล้ายกับชาวพุทธและนักพรตก็ดำเนินชีวิตเหมือนกับพระในพุทธศาสนา ต้องสละโสด งดน้ำเมา รับประทานอาหารามังสวิรัติ และที่เคร่งครัดมาก ๆ อาจต้องไปอยู่ตามถ้ำในเขาในป่า

    วิวัฒนาการของลัทธิเต๋ายังคงมีอยู่ต่อไปเรื่อย ๆ ปัจจุบันนี้ถ้าเราศึกษาคำสอนในลัทธิเต๋า เราอาจจะแปลกใจที่เห็นคำสอนในพุทธศาสนาหลายเรื่องได้เข้าไปแทรกอยู่ทั้งนี้อาจเป็นผลสืบเนื่องมาแต่อดีตในยุคสมัยที่พุทธศาสนามหายานได้เข้าไปเผยแพร่ในจีน ลัทธิเต๋ามีส่วนอย่งมากที่ช่วยตีความคำสอนในพุทธศาสนาเป็นภาษาจีน และชาวพุทธอินเดียที่เข้าไปเผยแพร่ศาสนาในจีน ซึ่งอาจจะมีปัญหาในเรื่องภาษา ได้ใช้วิธียืมคำบางคำของเต๋ามาช่วยในการอธิบายแนวคิดของพุทธศาสนา ยิ่งนานวันเท่าใดอิทธิพลของพุทธศาสนาก็ยิ่งมีอิทธิพลต่อลัทธิเต๋ามากขึ้น ถ้าเราสังเกตให้ดีจะเห็นว่าไม่เพียงแต่ในด้านคำสอนเท่านั้น แม้แต่รูปแบบความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ก็ถูกนำไปปรับปรุงใช้จนกระทั่งนักบวชเต๋าที่เคยถือพรตตามถ้ำภูเขา ได้เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในอาราม และมีการถือโสดเช่นเดียวกับพระสงฆ์ในพุทธศาสนา อย่างเช่นนิกายชวนเชน เป็นต้น

    ลัทธิเต๋าเคยรุ่งโรจน์ในจีนแผ่นดินใหญ่ ต่อมาต้องได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ได้ยึดครองประเทศจีนในปี พ.ศ. 2492 ได้ออกคำสั่งขับไล่นักบวชศาสนาต่าง ๆ นานา เช่น ไม่อนุญาตให้ทำพิธีกรรมทางศาสนา และไม่ให้เผยแพร่ศาสนา ด้วยวิธีใดทั้งสิ้น ผู้นับถือลัทธิเต๋าในแผ่นดินใหญ่จึงเหลือน้อยมาก เพราะหลายคนได้อพยพไปอยู่ไต้หวันและถิ่นอื่น ๆ จนกระทั่งหลังจากที่ประธานเหมาได้สิ้นชีวิตในปี พ.ศ. 2520 การผ่อนคลายทางศาสนาของจีนแผ่นดินใหญ่จึงดีกว่าแต่ก่อน เพราะประชนชนสามารถประกอบพิธีกรรมได้

    สำหรับชาวเต๋าที่อพยพไปอยู่ไต้หวันได้นำเอาความเชื่อและลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เคยกระทำเมื่อสมัยอยู่ประเทศจีนไปด้วย เป็นเหตุให้มีการเผยแพร่ศาสนาด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดตั้งสมาคม การพิมพ์หนังสือธรรมะและการจัดพิธีถือศีลกินเจ นอกจากนี้ในบางนิกายมีเสรีภาพที่จะทำพิธีกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น การทรงเจ้า การทำพิธีไล่ผีร้าย การปลุกเสกของขลังและการทำพิธีกรรมต่าง ๆ ในวันสำคัญทางศาสนา ด้วยความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของผู้นับถือลัทธิเต๋าในไต้หวัน เป็นเหตุให้ทางราชการได้ยกย่องให้เป็นศาสนาประจำชาติ และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นอย่างดีตราบจนทุกวันนี้
     
  6. Samy

    Samy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,296
    ค่าพลัง:
    +2,719
    ทำกันได้

    ดีครับได้ประโยชน์ดี ใจเย็นนะครับ อย่าไปเขียนด่าเขาตอบเลย เพราะว่าเขาเป็นคนบ้าขาดการศึกษาเท่านั้นเอง ไม่คุ้มกันเลย

    (bb-flower
     
  7. ไห่เฉากุหลาบไฟ

    ไห่เฉากุหลาบไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    897
    ค่าพลัง:
    +2,177
    ดีนะที่ลบข้อความนั้นให้ ว่าจะด่ามันให้แสบไปเลย
    แล้วเต๋ากับพุทธอันไหนจะใหญ่กว่ากัน
     
  8. โอมพุทโธกิเตศวร

    โอมพุทโธกิเตศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +198
    ...............................ไร้รูป ไร้ร่าง ในความไร้ สิ่งใดใหญ่กว่ากัน....................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • b21_magic2.jpg
      b21_magic2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.7 KB
      เปิดดู:
      134
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2005
  9. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    มีสิ่งหนึ่ง เป็นธรรมชาติกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีอยู่แล้วก่อนที่จะมีฟ้ากับดิน ฟังก็ไม่ได้ยินเสียงของมัน มองไม่เห็นลักษณะของมัน มันมีความอิสระและยั่งยืน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มันดำเนินไปเป็นวงจรโดยไม่มีที่สิ้นสุด กล่าวได้ว่า มันเป็นที่กำเนิดของฟ้า ดิน และสรรพสิ่ง ข้าพเจ้าไม่ทราบชื่อมัน ต้องเรียกมันว่า "สัจธรรม" ด้วยความจำเป็น (เพราะไม่มีทางเรียกมันได้) หรือด้วยความจำเป็นที่จะต้องเรียกอีก ก็เรียกมันว่า "ใหญ่ยิ่ง" มันใหญ่ยิ่งจนไม่มีขอบเขตและหมุนเวียนไม่มีที่สิ้นสุด หมุนเวียนไม่มีที่สิ้นสุดแล้วยังขยายออกไปอีกแสนไกล ขยายไปอีกแสนไกลแล้ว ก็กลับมายังที่จุดเดิมอีก
    ฉะนั้น จึงกล่าวว่า สัจธรรมเป็นความใหญ่ยิ่ง ฟ้าเป็นความใหญ่ยิ่ง ดินเป็นความใหญ่ยิ่ง คนเป็นความใหญ่ยิ่ง ในโลกนี้มีความใหญ่ยิ่งอยู่ ๔ ประเภท และคนเป็นความใหญ่ยิ่ง ๑ ใน ๔
    คนปฏิบัติตามกฎของดิน ดินปฏิบัติตามกฎของฟ้า ฟ้าปฏิบัติตามกฎของสัจธรรม สัจธรรมปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ


    การเคลื่อนไหวของสัจธรรม คือการหมุนเวียนประโยชน์ของสัจธรรม คือความอ่อนโยน สรรพสิ่งในโลกนี้ เกิดจาก "ภาวะ" ภาวะเกิดจาก "อภาวะ"


    สัจธรรมเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวที่ไม่มีอะไรเทียบได้ และมีกระแสลบกับกระแสบวกอยู่แต่ดั้งเดิม กระแสลบกับกระแสบวกผสมผสานกันแล้วก็เกิดเป็นสภาพที่กลมกลืนสม่ำเสมอ แล้วให้กำเนิดแก่สรรพสิ่ง สรรพสิ่งหันหลังให้กระแสลบ หันหน้าให้กระแสบวก กระแสทั้งสองนี้ ต่างผลักดันกันแล้วให้กำเนิดแก่สิ่งที่สอดคล้องต้องกันใหม่ขึ้นอีก


    สัจธรรมให้กำเนิดแก่สรรพสิ่ง คุณธรรมหล่อเลี้ยงสรรพสิ่ง เมื่อสรรพสิ่งเป็นรูปร่างขึ้นแล้ว ความแวดล้อมจะให้ความเจริญเติบโตแก่สรรพสิ่ง
    ฉะนั้น สรรพสิ่งจึงมีความเคารพต่อสัจธรรมและถือว่าคุณธรรมเป็นของมีค่าสูง
    สัจธรรม ได้รับความเคารพ และคุณธรรม ได้รับเป็นของมีค่าสูง ก็เพราะ(สัจจธรรมกับคุณธรรม) ไม่ได้ก้าวก่ายสรรพสิ่ง ให้สรรพสิ่งเป็นไปตามธรรมชาติของมันเอง
    ดังนั้น สัจธรรมให้กำเนิดแก่สรรพสิ่ง คุณธรรมหล่อเลี้ยงสรรพสิ่ง ให้สรรพสิ่งได้รับการเลี้ยงดู ให้สรรพสิ่งเติบโต ให้สรรพสิ่งได้รับการปกปักรักษา สัจธรรมแม้จะได้ให้กำเนิดแก่สรรพสิ่ง แต่ไม่ถือว่าสรรพสิ่งเป็นของตน ส่งเสริมสรรพสิ่งแต่ไม่ถือว่าเป็นความสามารถของตน หล่อเลี้ยงสรรพสิ่ง แต่ไม่ถือว่าเป็นประมุขของสรรพสิ่ง นี่คือคุณธรรมอันใหญ่ยิ่งลึกซึ้ง

    ผู้ที่เข้าใจคนอื่นเรียกว่าผู้มีสติปัญญา
    ผู้ที่เข้าใจตนเองคือผู้มีความเห็นแจ้ง
    ผู้ที่ชนะคนอื่นคือผู้มีกำลัง
    ผู้ที่ชนะตนเองคือผู้มีความสามารถ
    ผู้ที่รู้จักพอคือผู้ที่มั่งมี
    ผู้ที่มีความขยันคือผู้มีอุดมคติ
    ผู้ที่ไม่ละทิ้งรากฐานของตนคือผู้ที่อยู่ได้นาน

    คัดลอกบางส่วนมาจากหนังสือ "คัมภีร์เหลาจื๊อ" โดยล.เสถียรสุต
     
  10. ไห่เฉากุหลาบไฟ

    ไห่เฉากุหลาบไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    897
    ค่าพลัง:
    +2,177
  11. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    เห็นด้วยกับข้อความที่ คุณwit นำมานะคะ
    และอีกอย่างหนึ่งที่เห็นด้วยคือ คำสอนของเต๋าบทหนึ่งที่ว่า..

    การรักษาจิตให้บริสุทธิ์ คือ การเข้าถึงตัวตนภายในอันเป็นความรู้ที่ประเสริฐยิ่งกว่าการแสวงหามากเท่าใดก็ยิ่งรู้น้อยเท่านั้น เพราะจิตยิ่งพอกพูนกิเลสมากขึ้น ความอยาก ความต้องการและความยึดถือก็ทวีขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดมนุษย์ต้องตกเป็นทาสและถูกทำลายเพราะอวิชชานี้ ด้วยเหตุนี้นักปราชญ์เต๋า ก็คือผู้รู้แจ้ง ความรู้ภายในจึงสามารถสลัด ละ ปล่อยวางกิเลสตัณหาและหมด ซึ่งความยึดถือยึดติดในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
    เราอาจสรุปได้ว่าคำสอนของเต๋ามุ่งให้บุคคลเข้าสู่สาระแห่งแก่นแท้โดยตรง โดยละความยึดถือมั่นในสิ่งทั้งปวง เป็นผู้อยู่พ้นจากความสงสัย ไปพ้นจากการแบ่งแยก ไม่ให้คุณค่าแก่สิ่งที่คนส่วนมากยึดถือ สลัดความหยิ่งยะโสโอหังออกไป สลัดความฉลาดและความเป็นคนเจ้าเหตุผล แต่หวนกลับมาดำรงชีวิตอยู่กับธรรมชาติ มีชีวิตที่เรียบง่าย มีใจที่บริสุทธิ์ปราศจากความอยากความต้องการในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
     
  12. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    จริงอย่างที่คุณแป้งว่าไว้ครับ จริงๆการค้นหาตัวตนที่แท้จริงภายในของตัวเราหรือการปล่อยวางนั้นไม่ยากเท่าไหร่ เพียงแค่หันกลับมาสนใจดูอยู่ภายในตัวเองเท่านั้น แต่การที่จะชักจูงให้ผู้อื่นเกิดความเห็นอย่างนี้ขึ้นมาได้ด้วยตนเองนี่สิครับเป็นเรื่องที่ยากพอสมควรเลยครับ(หน้าที่หลักๆของพระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ)
     
  13. ไห่เฉากุหลาบไฟ

    ไห่เฉากุหลาบไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    897
    ค่าพลัง:
    +2,177
    แล้วหมัดไท้เก็กละครับ
    ใจเย็นๆครับ....เดี๋ยวองค์เซียนท่านไม่บอกนะ................

    .............................เท่าที่รู้ตอนนี้ มีขอบเขตเฉพาะออกไปนะครับ คล้ายๆแดนสุขาวดีของพระอมิตาภะพุทธเจ้า


    บางท่านมาจากเต๋าแต่อยู่ในภพภูมิแบบพุทธก็มี ทั้งอรูปพรหม รูปพรหม และภพเทวะ

    แล้วจะมาตอบใหม่นะครับ
    เป็นอย่างนี้จริงหรือ
     
  14. โอมพุทโธกิเตศวร

    โอมพุทโธกิเตศวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +198
    ............................เทพ เซียน ผู้บำเพ็ญเต๋า ก็มีลำดับขั้นการสำเร็จต่างกัน

    สายที่ไม่ได้อภิญญา เพียงแต่ชำระจิตไม่ติดยึดสิ่งต่างๆในโลก ใช้ชีวิตธรรมชาติ ก็มี
    สายที่สำเร็จอภิญญา แต่ ไม่ได้มรรคผลก็มี

    ทั้งสองสาย บางท่านได้มีโอกาสเรียนรู้ศีล ธรรม และธรรมะเบื้องสูงแห่งพระพุทธองค์
    แล้วสำเร็จมรรคผลก็มี

    ที่ได้สัมผัสท่านเช่น องค์เซียน ลื่อตงปิน แห่งคณะแปดเซียน ที่คอยช่วยเหลือสรรพสัตว์

    บางท่านเนื่องจากมีบุญบารมีมาก ยังไม่เข้านิพพาน แต่บำเพ็ญตนเช่นโพธิสัตว์ ก็มีภพภูมิของท่านเฉพาะ

    ..................................อย่าเชื่อผมมากนะ ผมแค่ผู้มีกิเลสหนาคนหนึ่ง..........................
     
  15. ไห่เฉากุหลาบไฟ

    ไห่เฉากุหลาบไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    897
    ค่าพลัง:
    +2,177
    รอคำตอบอยู่นะ
     
  16. นักพรตเหมา

    นักพรตเหมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    528
    ค่าพลัง:
    +305
    นิพพานในพุทธศาสนาคือคือสภาวะซึ่งนิรทุกข์ คือดับแล้วก็จากทุกข์ทั้งปวง สภาวะแห่งเต๋าก็เช่นกัน เต๋านิพพานคือเป็๋นอนัตตภาวะ คือการไม่มีตัวตน นิพพานของเต๋านั้นพ้นแล้วจากทุกข์และสุข แต่อย่างไรก็ตามเพื่อสั่งสอนสรรพชีวิตให้เห็นคุณค่าของเต๋าจึงแสดงว่า เป็นสุขอันนิรทุกข์ คือมีสุขอันไม่มีทุกข์เจือปน อันความสุขของชีวิตในวัฏสงสารคือสุขจากการอาศัยเหตุปัจจัย กล่าวคือสุขโดยอาศัยวัตถุคือรูป และสุขอาศัยจิตใจคือนาม แต่ก็ยังไม่เท่าสุขของนิพพานที่ไม่มีตัวตนเป็นบรมสุข คือพ้นจากเหตุสุขโดยอาศัยวัตถุคือรูป และสุขอาศัยจิตใจคือนาม

    พุทธศาสนาและศาสนาเต๋าแสดงว่าแท้จริงแล้วสภาวะทั้งปวงหาได้มีอยู่ไม่แต่เนื่องจากสัตว์ทั้งปวงมีอุปาทานสำคัญผิดคิดว่ามีตัวตน จึงก่อเกิด กิเลส กรรมวิบาก และการเวียนว่ายตายเกิดอันปะมาณมิได้ เมื่อสำคัญว่ามีตัวตน จึงมีเขา มีรักมีชัง มีสุขและทุกข์มีลักษณะเป็นอุปาทานซ้อนอุปาทานไปเรื่ิอยๆ จึงไม่เข้านิพพานซักที วิถีแห่งการเข้าถึงสภาวะนิพพานแห่งเต๋านั้น คืออาศัยปัญญา คือความรู้แจ้ง เมื่อชัดแจ้งแล้ว ย่อมจัดถอนอุปปาทานทั้งปวง เมื่อไถ่ถอนอุปปาทานได้ภพชาติย่อมสูญ สภาพดังนี้เป็นการเกิดโดยพลันชั่วขณะจิต เมื่อปัญญาถึงพร้อม ก็หลุดพ้นจากปุถุชน เป็น อริยะ เป็นไปโดยฉลับพลันทันที เป็นไปชั่วขณะจิต โดยมิต้องเตรียมการใดๆทั้งปวง






    แต่มีอีก บางคนบอกว่าเต๋ามีตัวตน แต่อันนี้คือเรื่องราวของเซียน การเป็นเซียนการไม่ตาย มาจากความเชื่อท้องถิ่น ของชาวแค้นฉี ปัจุบันคือตอนเหนือของมนฑลซานตง ในสมัยซุนชิว - จ้านกว๋อ เนื่องจ่ากแคว้นฉีติดทะเล เลยมีเกาะๆหนึ่ง ชื่อเกาะเผิงไหล ปัจจุบันมีคาถาเผิงไหลมากมายแต่มิเคยถูกเปิดเผย เนื่องจากคาถานี้รักษาร่างกาย ทำไมเยาว์วัย ไม่แก่ไม่ตาย เกาะเผิงไหลก็คือเกาะแห่งเซียน ตามความเชื่อของนิกายเจิ้นอี้ นิกายเจิ้นอี้ มีการกินยาเซียน โอสถทิพย์วิเศษ ซึ่งเป็นเ้รื่องหน้าเหลือเชื่อ เพราะกินปุ๊บ เป็นเซียนปั๊บเป็นความเชื่อของเต๋าในนิกายเจินอี้ แต่ไม่ได้มีแต่เจิ้นอี้ ทางนิกายฝ่ายไต้ก็มีความเชื่อดังเกล่า ปรากฏอยู่ว่า เหอเซียนกง ในคณะ8เซียนก็สำเร็จเป็นเซียนด้วยการกินผลไม้แห่งเซียน แต่อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวสามภพในทั่วหล้า รวมถึงสวรรค์ด้วย ก็ยังไม่เข้าถึงเต๋าที่แท้จริง
     
  17. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    เต๋าเต๋อจิง เป็นคำภีร์ที่ดีนะ ^-^
     

แชร์หน้านี้

Loading...