อย่าปลุกพระที่กำลังนอน โดยเฉพาะพระที่ท่านกำลังอาพาธ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Apinya Smabut, 31 สิงหาคม 2020.

  1. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,396
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
    พระอาจารย์กล่าวว่า "ใครแวะไปชมนิทรรศการงานสมเด็จพระสังฆราชแล้วหรือยัง ? เมื่อเช้าดูข่าว เห็นว่ามีผู้ตามไปถวายสักการะกันที่โรงพยาบาล โอ้โห..มีความสุขเหลือเกินที่ได้ไปกวนคนที่นอนอยู่กับเตียง อาตมาระวังตัวเองสุดชีวิตเลยเรื่องนี้ ถ้าเกิดอายุถึง ๑๐๐ ปีแล้วยังมีคนมาออเต็มไปหมด จะพยายามรวบรวมกำลังลุกขึ้นมาเตะมันให้ได้..! คนไปก็ไม่ได้คิด...

    อาตมาไปกราบหลวงปู่ดำ วัดท่าทอง จังหวัดอุตรดิตถ์ ตอนนั้นท่านอายุ ๑๐๐ ปีพอดี กราบเสร็จเอาไทยธรรมใส่พานถวายไว้ปลายเท้าท่าน แล้วก็กราบลารีบเผ่น พระในวัดท่านวิ่งตาม “เดี๋ยวครับ ๆ ท่านอาจารย์ ผมจะปลุกหลวงปู่ให้” “ไม่ต้องเมตตาเลย ถ้าตูอายุถึงร้อยแล้วนอนพัก อยู่ ๆ มีคนปลุกขึ้นมาให้กราบละก็..ตูจะฆ่ามัน..!” พวกคนไม่เคยแก่ ไม่รู้หรอกว่าคนแก่นั้นลำบากแค่ไหน"


    ถาม : ก่อนหลวงพ่อสมเด็จฯ วัดสระเกศจะมรณภาพ ท่านไปเยี่ยมบ้างไหมครับ ?
    ตอบ : ตั้งแต่ท่านเข้าโรงพยาบาล อาตมาไม่ได้ไปเป็นปีเลย ทั้ง ๆ ที่ท่านบอกให้ไปอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพราะว่าเวลาจะเข้าจะออก ท่านก็ต้องเสียเวลามาต้อนรับ แล้วท่านเองก็กำลังไม่มี ต้องนั่งรถเข็น พยุงปีกกัน อาตมาไม่ไปรบกวนเด็ดขาดเลย ไปอยู่แค่ ๒ ครั้งตอนวันเกิดท่าน ก็คือ วันเกิดปี ๒๕๕๕ กับวันเกิดปีนี้ จะไปเฉพาะงานที่ท่านเลี่ยงไม่ได้ ประเภทอย่างไรท่านก็ต้องออกมาเพื่อส่วนรวม แต่ใช้วิธีถวายเครื่องสักการะเสร็จแล้วก็เผ่นเลย

    ทางด้านท่านเจ้าคุณพระพรหมสิทธิบอกว่า ให้มากราบท่านบ้าง ท่านได้เห็นพระที่ท่านรู้จัก และรู้ว่าทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา ท่านจะได้ชื่นใจ อาตมาก็บอกไปว่า “ผมไม่เอาหรอกครับ ผมยอมให้ท่านนั่งเฉย ๆ ดีกว่า พระระดับนั้นแล้ว ไปกวนท่านมีหวังขาดทุนยับเยิน” ไปทีไรท่านก็กล่าวยกย่องให้เป็นตัวอย่างของพระวัดสระเกศอยู่เรื่อย อยู่ไปนาน ๆ คนอื่นเขาจะหมั่นไส้เอา..จึงไม่ไปดีกว่า

    ส่วนใหญ่ไปก็จะไปในช่วงที่ไม่รบกวนความเป็นส่วนตัวของท่าน คือไปตอนวันปาฏิโมกข์ ไปลงโบสถ์พร้อมกัน หรือไปตอนช่วงทำวัตรค่ำ พอถึงเวลาทำวัตรเสร็จก็กราบลาท่านกลับ ไปให้ดูว่า "ผมมาตามคำสั่งแล้วครับ" แค่นั้นแหละ


    ที่มา วัดท่าขนุน
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    เราควรมีสติสังวรระวังว่า อาการภายนอกที่เหมือนกับนอนหลับของพระ ของผู้ปฏิบัติธรรม นั้นจิตของท่านอาจอยู่ระหว่างการภาวนาอยู่


    ************************************


    บทสวดโพชฌงคปริตรคืออะไร ศักดิ์สิทธิ์อย่างไร

    บทสวดนี้เป็นบทสวดสำคัญที่พระสงฆ์นิยมนำมาสวดในงานทำบุญคล้ายวันเกิด หรือสวดเพื่อสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยให้มีพลังจิตในการสร้างสติขึ้นซึ่งบทนี้จะเกิดอานุภาพมากหากประกอบกับการบำเพ็ญจิตเจริญภาวนาควบคู่ไปด้วย

    การที่เชื่อกันว่าบทสวดมนต์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์ก็เพราะ มีเรื่องในพระไตรปิฎกเล่าว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหากัสสปะที่อาพาธอยู่ได้รับความทุกข์ทรมานมาก พระองค์จึงทรงแสดงบทสวดโพชฌงค์แก่พระมหากัสสปะให้ท่านได้ฟังและน้อมจิตปฏิบัติตาม

    หลังจากฟังบทสวดและท่านพระมหากัสสปะได้พิจารณาธรรมตามก็พบว่า ท่านสามารถหายจากโรคได้ และอีกครั้งหนึ่งพระองค์ได้ทรงแสดงธรรมบทนี้แก่พระโมคคัลลานะซึ่งอาพาธอยู่ในลักษณะเดียวกัน หลังจากนั้นก็พบว่า พระโมคคัลลานะก็หายจากอาพาธได้

    และเรื่องราวที่สำคัญที่สุดก็คือ เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เองทรงอาพาธ จึงตรัสให้พระจุนทะเถระแสดงโพชฌงค์ถวาย ซึ่งพบว่าพระพุทธเจ้าก็หายประชวร พุทธศาสนิกชนจึงพากันเชื่อว่า โพชฌงค์นั้น สวดแล้วช่วยให้หายโรค

    แต่ในความเป็นจริง พระไตรปิฎกกล่าวว่า โพชฌงคปริตรนั้นเป็น หลักธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เป็นธรรมเกี่ยวกับปัญญาเป็นธรรมชั้นสูง เป็นคำสอนในการทำใจให้สว่าง สะอาดผ่องใส ซึ่งสามารถช่วยรักษาใจ เพราะจิตใจมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับร่างกาย เนื่องจากกายกับใจเป็นสิ่งที่อาศัยกันและกัน หากใจดี ร่างกายย่อมดีตาม

    หลักของโพชฌงค์เป็นหลักปฏิบัติทั่วไปซึ่งไม่จำกัดเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น เพราะโพชฌงค์แปลว่า “องค์แห่งโพธิ” หรือ “องค์แห่งโพธิญาณ” เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ซึ่งเป็นเรื่องของปัญญา ดังนั้นถ้าเราสวดมนต์บทนี้ด้วยความเข้าใจในสาระก็จะมองเห็นความเจ็บป่วยว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรของชีวิต เป็นเรื่องธรรมดา แล้วก็จะเป็นการกระตุ้นเตือนให้ลุกขึ้นมาปฏิบัติธรรม คือมองว่า เวลาที่ป่วยอยู่นี้แหละคือเวลาที่ดีที่จะได้พักผ่อนจิต ได้ปฏิบัติธรรม

    aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL2hvLzAvdWQvMTcvODgzNjcvcDIuanBn.jpg


    บทสวดโพชฌงคปริตร

    โพชฌังโคสะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา วิริยัมปีติปัสสัทธิ โพชฌังคา จะตะถาปะเร สะมาธุเปกขะโพชฌังคา สัตเต เต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา ภาวิตา พะหุลีกะตา

    สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯเอกัสะมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสะวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ เต จะ ตัง อะภินันทิตะวาโรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ

    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตะวานะ สาทะรัง สัมโมทิตะวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส เอเตนะ สัจจะวัชเชนะโสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ

    ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะโสตถิ เต โหตุ สัพพะทาฯ



    คำแปล

    โพชฌงค์ 7 ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ 7 ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน

    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก จึงทรงแสดงโพชฌงค์ 7 ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรม โรคก็หายได้ในบัดดล

    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง (พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนัก รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแลถวายโดยเคารพ ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน

    ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ องค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีก ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ

    ผู้ที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมโพชฌงค์ก็จะเข้าใจความธรรมดาของชีวิต ว่าเป็นของไม่เที่ยง มีการแตกดับไปเป็นของธรรมดา เมื่อเข้าใจก็จะเห็นความแตกดับเป็นเรื่องที่ปกติ สิ่งใดเกิดมาสิ่งนั้นย่อมดับไป ก็จะทำให้มุ่งรักษาใจไม่ให้ป่วยนี่แหละคือความศักดิ์สิทธิ์ที่แท้จริงของโพชฌงคปริตร

    aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL2hvLzAvdWQvMTcvODgzNjcvcHJheTEuanBn.jpg

    การสวดขอขมากรรม

    การสวดมนต์เพื่อการขอขมากรรมนั้น ถือเป็นหนึ่งบทสวดหนึ่งที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงความสำนึกผิด ยอมรับผิดและต้องการขอขมาลาโทษจากเจ้ากรรมนายเวร ให้เขาอดโทษ ผ่อนปรนโทษ หรืออโหสิกรรมให้เพราะเราได้ไปล่วงเกินเขามาก่อน เมื่อได้ทำบุญใดๆ แล้วก็มักจะมีการสวดมนต์บทนี้เป็นการกล่าวขอขมาในการกระทำ

    การสวดขอขมากรรมมีผลในทางจิตใจมาก ทำให้รู้สึกโปร่งเบาทั้งกายและจิต เหมือนได้ปลดแอกความผิด เพราะได้ขอโทษแล้ว แต่เรื่องที่เจ้ากรรมนายเวรจะให้อภัยหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับบุญกุศลของแต่ละบุคคลได้ทำส่งให้เขามากน้อยแค่ไหน หากทำมากส่งให้มากเจ้ากรรมนายเวรย่อมอโหสิกรรมให้ได้เร็วยิ่งขึ้น



    บทสวดขอขมากรรม

    “หากข้าพเจ้า จงใจหรือประมาทพลาดพลั้งล่วงเกิน บิดา-มารดา ครูบาอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์เจ้า ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวร จะด้วย กาย วาจา ใจ ก็ดี ขอได้โปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย

    หาก ข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมาขออนุญาตมีคู่มีครอบครัว ได้เหมือนคนปกติทั่วไป ขอถอนคำอธิษฐานคำสาบานที่จะติดตามคู่ในอดีต ขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระต่อกัน ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ถูกที่ชอบที่ควร

    ขอบุญบารมีในอดีตกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จงส่งผลให้ข้าพเจ้าและครอบครัวตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้อง จงเจริญด้วย อายุวรรณะ สุขะ พละ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ สติปัญญา ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ อุปสรรคใดๆโรคภัยใดๆ ขอให้มลายสิ้นไป ขอให้ข้าพเจ้ามีความสว่าง ทั้งทางโลก ทางธรรม ตั้งแต่บัดนี้ตราบเข้าสู่พระนิพพาน เทอญ

    หากมีผู้ใดเคย สร้างเวรสร้างกรรมกับข้าพเจ้า ไม่ว่าจะชาติใดภพใดก็ตาม ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้ ขอถอนความพยาบาท ความอาฆาตและคำสาปแช่งในทุกชาติทุกภพ ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากคำสาปแช่งของปวงชนของเจ้ากรรมนายเวร ขอให้พ้นนรกภูมิ พบแสงสว่างทั้งทางโลก ทางธรรม เทอญ…”
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    "ให้พิจารณาธาตุขันธ์ยามอาพาธหนัก"

    " .. หลวงตาฯ มักได้เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจครั้งสำคัญ ๆ "เกี่ยวกับธาตุขันธ์ยามอาพาธหนัก ของครูบาอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ" เช่น คำปรารถของท่านคราวหนึ่งดังนี้ ..

    "พระลูกศิษย์หลวงปู่บุดดา(หลวงปู่บุดดา ถาวโร)ได้ไปหาเราที่สวนแสงธรรม" เราได้ถามถึงอาการของหลวงปู่ท่านว่า .. "แต่ก่อนธาตุขันธ์เป็นคุณเป็นประโยชน์ ทำประโยชน์ให้โลกมามากต่อมากนานแสนนาน"

    จนกระทั่งอายุปูนนี้และ "ได้เข้ามาอยู่ศิริราชแล้วเวลานี้ เพื่อจะลาขันธ์ไปเพราะขันธ์นี้ใช้ไม่ได้แล้ว นอกจากใช้ไม่ได้แล้ว ยังเป็นโทษรอบตัวอีก" ไม่มีช่องว่างของขันธ์ที่จะไม่มีโทษต่อท่าน แล้วยังจะเอาท่านไว้อย่างนั้นอยู่เหรอ? .. "สมควรแล้วหรือ ให้ลูกหลานไปพิจารณานะ"

    นี่อาจารย์ชา(หลวงปู่ชา สุภัทโท)ก็เป็นอย่างนี้ละเราบอกตรง ๆ เลย "อาจารย์ชาก็เกี่ยวกับเราอีกเหมือนกัน คุ้นกันมาเท่าไรแล้ว แล้วนี่หลวงปู่บุดดาก็เหมือนกัน" คุ้นกันมานาน สนิทสนมกันมากทั้งสององค์นี่กับเรานะ "หลวงปู่บุดดาท่านเหมือนปู่เรานี่จะว่าไง" พอเร่าเข้าไปกราบที่ตักท่าน ท่านก็ อู๊ยจับโน้นลูบนี้ จับนั้นจับนี้เรานะ ท่านทำด้วยความเมตตาจริง ๆ แหละ

    ท่านยังยกยอต่อลูกศิษย์ลูกหาของท่านเองด้วย เขาเอาเทปเราไปเปิดให้ท่านฟังกัณฑ์เด็ด ๆ เสียด้วยนะ .. ลูกศิษย์มาเล่าให้ฟัง ท่านพูดเวลาเทศน์จบลงแล้ว ท่านว่า .. "ได้ยินชื่อท่านมานานแล้วแหละท่านมหาบัวนี่ คุ้นกันมาสักเท่าไรแล้วยังไม่รู้อยู่เหรอว่าคุ้นกัน .. จะมาเล่าอะไรให้ฟังอีกล่ะ"

    ที่นี่เมื่อพระมาหาเรา .. เราก็ฝากข้อคิดไปว่า "เวลานี่ขันธ์ไม่เป็นประโยชน์กับท่านแล้ว ลูกศิษย์หวังจะชื่นชมยินดีเพราะไฟ คือธาตุขันธ์เผาไหม้ท่านอยู่อย่างนี้ สมควรแล้วเหรอ .. เวลานี้ไฟขันธ์เผาตลอด ไม่มีว่างเลย .. ใหไปพิจารณานะ"

    อาจารย์ชา(หลวงปู่ชา สุภัทโท) เป็นลักษณะนี้มาหลายปี ถามที่ไรก็เป็นอย่างนี้ ก็พอดีพระหนองป่าพงไปหาเราที่สวนแสงธรรม "เอากันใหญ่เชียวคราวนั้น เปรี้ยงที่เดียวอัดเทปเอาไว้เสร็จ พอเสร็จแล้วเขาก็เอาเทปไปเปิดเมืองอุบลฯ เลย" เอาไปตั้งกึ๊กลงที่วัดหนองป่าพงเลย บรรดาลูกศิษย์ลูกหาท่านมารวมนั้นหมด ผู้ว่าฯ เป็นผู้นำเทปไปเปิด

    "เอ้า ใครที่นี้ฟังนะ เทศน์นี้เทศน์อาจารย์มหาบัว" ท่านอาจารย์มหาบัวกับท่านอาจารย์ชาสนิทกันมานานสักเท่าไรแล้วฟังท่านจะพุดวันนี้นะ พอว่าอย่างนั้นก็เปิดทันที ..ได้เห็นผิว ๆ เผิน ๆ ได้เห็นท่านอยู่นั้นก็พอใจ "ท่านจะมาห่วงอะไรในธาตุขันธ์อันนี้ เมื่อเห็นว่าเป็นไฟพอแล้วยังจะมาห่วงอะไรอีก ห่วงไฟเผาเจ้าของนั้นมีอย่างเหรอ" .. ท่านพร้อมอยู่แล้วที่จะดีด ตั้งแต่ระยะช่วยตัวเองไม่ได้แล้วนั่น ..

    "ครูบาอาจารย์จะตายแล้วไม่ยอมให้ไป ไม่ให้ตาย เอาไฟจี้ไว้อย่างนั้นระโยงระยางเต็มไปหมด" ออกซิเจนช่วยลมหายใจ ช่วยลมหายใจอะไร "ช่วยไฟเผาว่างั้นจึงถูกนะ" ถ้าเอาอันนี้ออกแล้วไฟก็หยุดเผา ท่านก็ดีดออกแล้ว นั่น คุณก็เห็นอยู่อย่างชัด ๆ โทษก็เห็นอยู่ชัด ๆ อย่างงั้น ถ้าอันนี้จ่อไว้ตลอดเวลา ก็เผาตลอดอยู่นั้นจะว่าไง พอเปิดออกนี้ก็ดีดออกแล้ว นั่นเห็นชัด ๆ อยู่

    "ถ้าพูดถึงเรื่องของหมอ เขาก็ทำตามหลักวิชาของหมอ" เหตุผลเรามียังไง อรรถธรรมมียังไง ปฏิบัติต่อครูบาอาจารย์ก็ควรชี้แจ้งให้เขาเข้าใจ "ควรปล่อยก็ปล่อยซิ เอาไว้ให้ใคร มันไม่เกิดประโยชน์ยังไม่แล้ว ยังเป็นโทษอย่างหนักหนาทีเดียว" ใครจะเอาไฟมาเผามาจี้ไว้อย่างนี้ทั้งวันได้เหรอ นี่ไม่ทราบว่าทั้งวันทั้งคืนทั้งปีอะไร จี้เผาหมดรอบ ๆ ตัว

    "เรื่องธาตุเรื่องขันธ์ก็ทราบกันอยู่แล้ว ตั้งแต่ยังไม่ตายก็รู้อยู่แล้ว" ก็เครื่องมือเครื่องใช้เฉย ๆ มีจิตเป็นผู้บงการ พอจิตหดตัวเข้ามาเสียแล้ว "สิ่งเหล่านี้ก็เป็นท่อนไม้ท่อนฟืนไปเท่านั้น เกิดประโยชน์อะไร" ก็เหมือนกับเครื่องมือเราทิ้งเกลื่อนอยู่รอบตัวนี้ ก็ไม่เกิดประโยชน์เมื่อเจ้าของใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้แล้ว .. "นั่นแหละ เรียนจิตให้เห็นอย่างนั้นซิ เห็นชัดเจนแล้วจะถามใคร" .. ประจักษ์อยู่ในหัวใจเจ้าของแล้วพอทุกอย่าง ..

    นี่เอาศพท่านกลับคืนไปโน้นนะ วัดกลางชูศรี "ท่านเป็นพระเพชรน้ำหนึ่งนะนี่ หลวงปู่บุดดานี่เพชรน้ำหนึ่ง อาจารย์ชาก็เหมือนกัน ท่านเหล่านี้เพชรน้ำหนึ่ง" แล้วจะมาหวงมาห่วงอะไร ธาตุขันธ์เป็นไฟนั่น .. เรายังไม่ลืมหลวงปู่ขาว(หลวงปู่ขาว อนาลโย) ท่าน "เวลาท่านกำลังเพียบ คือท่านไม่ให้ใส่ออกซิเจน" ท่านไม่ให้เอาใส่ แล้วพวกนั้นก็เอาไว้ข้างนอก "คือท่านห้ามไม่ให้เอาใส่ เราเห็นด้วยร้อยเปอร์เซนต์"

    ไปยุ่งกับท่านทำไม ที่นี่พอเอาไปจ่อถูกท่าน .. ทั้ง ๆ ที่ท่านก็เพียบอยู่แล้วนะ "ท่านยังปัดมือปั๊บออกเลย" ขนาดหลวงปู่ขาวแล้วท่านจะมีปัญหาอะไร ว่างั้นเลย "จะตายท่าไหนก็ตายซิ ท้าทายก็ได้ เอหิปัสสิโก ท้าทายธรรมของจริงได้" .. ดีดผึงเดียวไปเลย ว่าจะไม่อยู่แล้วไม่อยู่ มันก็หมดแล้วนะนี่ พระประเภทเพชรน้ำหนึ่ง ๆ หมดไป ๆ .. "

    "หยดน้ำบนใบบัว" ๒๐๙ - ๒๑๒
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
     

แชร์หน้านี้

Loading...