อย. เผยช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ที่ผ่านมา สั่งระงับ เปรียบเทียบปรับโฆษณาผิดกฎหมายจํานวนมาก ทั้งการโฆษณา ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องมือแพทย์ทางสื่อต่าง ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต และโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สกัดกั้นโฆษณาที่ผิดกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค หากพบเบาะแสการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง หรือพบเห็น ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งที่ อย. หรือสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อดําเนินคดีให้หลาบจํา
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดําเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังการโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางสื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง หากพบการโฆษณาที่ไม่ได้ขออนุญาตหรือมีการโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงหลอกลวงผู้บริโภคให้เข้าใจผิดในสาระสําคัญ จะมีการดําเนินการตามกฎหมายอย่างเฉียบขาด ทั้งการเปรียบเทียบปรับ ดําเนินคดี และแจ้งให้เจ้าของผลิตภัณฑ์และสื่อโฆษณาระงับการโฆษณาทันที พร้อมทั้งส่งข้อมูลให้สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ดําเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยบูรณาการการทํางานร่วมกัน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) สําหรับในส่วนภูมิภาคมอบให้สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดดําเนินการ ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2556 อย. ได้ดําเนินคดีเกี่ยวกับการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต ผลิตภัณฑ์อาหาร จํานวน 109 ราย ผลิตภัณฑ์ยา จํานวน 15 ราย และผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ จํานวน 8 ราย และเครื่องสําอาง 4 ราย รวมจํานวนทั้งสิ้น 136 ราย ส่วนมากพบการโฆษณาทางนิตยสาร โทรทัศน์ดาวเทียม และเว็บไซต์ โดยพบโฆษณาในลักษณะ โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง และไม่ได้ขออนุญาตโฆษณา ใน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น โฆษณาอ้างทําให้ผอมและขาวในสูตรเดียว พิสูจน์แล้วลดได้จริงไม่โยโย่ เผาผลาญไขมันหน้าท้อง สะโพก ต้นขา ลดน้ําหนักแบบผ่อนคลาย 8 วัน 4 กิโล ไม่เพลีย ไม่โทรม “อ้างช่วยบํารุงผิวให้เนียนนุ่ม ดูเปล่งปลั่ง ช่วยลดโคเลสเตอรอลในเส้นเลือด บรรเทาอาการเส้นเลือดขอด ลดฝ้า กระ จุดด่างดํา” “ อ้างช่วยเกี่ยวกับการทํางานของระบบเลือด ทําให้อายุยืน” “อ้างช่วยรักษาโรค ทําให้ผู้ป่วยโรค SLE ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่เหนื่อยงาน แข็งแรงขึ้น ทําให้ผู้ป่วยโรคไมเกรน โรคเนื้องอกในมดลูก เนื้องอกหลุดออกมา ไขมันในเลือดลดลง” “อ้างช่วยโรคเบาหวาน หัวใจ ความดันในเลือด” นอกจากนี้ ยังพบผลิตภัณฑ์แอบอ้างเป็น สมุนไพรกระชับ เพิ่มหน้าอก จุดซ่อนเร้น รอบเดือน ตกขาว คัน กลิ่น คืนความสาวอีกครั้ง ซึ่งข้อความโฆษณาเหล่านี้ล้วนเป็นการโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาตและเข้าข่ายหลอกลวงโอ้อวดเกินจริงทั้งสิ้น เพราะ ผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่ใช่ยา ไม่สามารถอวดอ้างรักษาโรคได้ สําหรับผลิตภัณฑ์ยา พบการโฆษณาขายยาโดยแสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จ
โฆษณาขายยาโดยมีการรับรองหรือยกย่องสรรพคุณโดยบุคคลอื่น และโฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์พบการโฆษณาเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า อย. จะไม่หยุดนิ่งในการตรวจสอบเฝ้าระวังการโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทางสื่อต่างๆ โดยเฉพาะทางโทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิลทีวี วิทยุชุมชน หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ เพื่อมิให้มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์โอ้อวด เกินจริง หลอกลวงผู้บริโภค โดยดําเนินงานร่วมกับ กสทช. และ บก.ปคบ. อย่างใกล้ชิด และดําเนินคดีกับ ผู้โฆษณาและเจ้าของผลิตภัณฑ์อย่างเข้มงวด เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค จึงขอเตือนมายังผู้บริโภค ควรไตร่ตรองให้ถี่ถ้วน อย่าหลงเชื่อโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ใด ๆ ก็ตามที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร อวดอ้างรักษาโรคผลิตภัณฑ์ยาอ้างรักษาโรคที่รัฐมนตรีประกาศห้ามโฆษณา เช่น มะเร็ง เอดส์ อัมพาต โฆษณาอวดอ้างว่าเป็นยาบํารุงกาม ไม่ว่าจะเป็นข้อความโฆษณา หรือการนําบุคคลมีชื่อเสียงมาอ้างอิงว่าใช้แล้วได้ผล อย่ารีบด่วนตัดสินใจซื้อ ควรศึกษาข้อมูล สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อน เพราะอาจได้รับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขออนุญาต และอาจมีสารอันตรายเป็นส่วนผสม ทําให้ได้รับผลข้างเคียงต่อร่างกาย ขาดโอกาสในการรักษาที่ถูกต้องได้ หากผู้บริโภคพบเห็นการโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ฝ่าฝืนกฎหมายโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง แจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ สายด่วน กสทช. 1200 หรือ สายด่วน บก.ปคบ. 1135
ที่มา : ข่าวสารจาก อย.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
อย.จับปรับเรียบผู้กระทําผิดโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพโอ้อวดเกินจริง
ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย aoseiei, 29 ตุลาคม 2013.