เรื่องเด่น อริยสัจจากพระโอษฐ์ ตอน อริยสัจสี่โดยสังเขป(อีกนัยหนึ่ง) (ทรงแสดงด้วยปัญจุปาทานขันธ์)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 8 ธันวาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    24899894.jpg

    อริยสัจจากพระโอษฐ์ ตอน อริยสัจสี่โดยสังเขป(อีกนัยหนึ่ง)

    (ทรงแสดงด้วยปัญจุปาทานขันธ์)


    ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์, ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์, และความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.
    ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คำตอบคือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง. ห้าอย่างนั้น อะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ. ภิกษุ ท. ! อันนี้ เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์.
    ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจความเพลิน มักทำให้เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม, ตัณหาในความมีความเป็น, ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น. ภิกษุ ท. ! อันนี้ เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์.
    ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์เป็นอย่างไรเล่า ? คือความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั่นเอง อันใด. ภิกษุ ท. ! อันนี้ เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์.
    ภิกษุ ท. ! ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือหนทาง อันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์๘ นี้นั่นเอง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ ; การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ; ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ. ภิกษุ ท. ! อันนี้ เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.
    ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลคือ ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง.
    ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ดังนี้เถิด.

    ที่มา - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๔-๕/๑๖๗๘-๑๖๘๓
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 ธันวาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...