อริยะชนเป็นเช่นไร???

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย DR-NOTH, 23 มกราคม 2013.

  1. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    ศิล สมาธิ ปัญญานั้น เป็นบันไดขั้นแรกที่ต้องเรียนรู้ฝึกฝนและปฏิบัติ
    เพื่อเข้าถึงความก้าวหน้าและเพื่อความเจริญในธรรม
    ในสังคมทุกวันนั้นผู้คนมักละเลยศิลธรรมกันมากมายโดยลืมไปว่า
    ในชาติก่อนที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์ได้นั้นต้องสร้างสมบุญกุศลมายากเข็ญเพียงใด
    ซึ่งหากละเมิดศิลธรรมแล้ว โอกาสที่ชาติต่อไปจะได้เกิดเป็นมนุษย์อีกก็แทบไม่มีเลย
    อาจตกระดับวิวัฒนาการไปเป็นสัตว์ต่างๆก็เป็นได้และอาจต้องใช้กรรมในนรกอีกด้วย

    หากผู้ใดมีศิลธรรมอยู่ในตัว ผู้คนทั่วไปอาจขนาน นามว่า คนดี ผู้ดี
    หรือผู้ใจบุญ เป็นต้น ซึ่งผู้มีศิลธรรมก็อาจมีมากน้อยต่างกันตามกำลัง
    การบำเพ็ญปฏิบัติของแต่ละบุคคล ซึ่งสังคมทุกวันก็นับว่า ยังมีอยู่ไม่น้อย

    ผู้ใดมีศิล สมาธิ ปัญญา ที่ฝึกฝนด้วยดีและชำนาญแล้วถือได้ว่า
    เป็นอริยชนที่น่าถือและเลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่ง
    การเป็นอริยชนนั้นต้องศรัทธาในศิล สมาธิและปัญญา อันเป็นองค์ธรรมรวม
    ที่นำมาซึ่งอริยชน แม้อยู่ในทางโลก ธรรมแท้แห่งอริยะ นั้นก็เข้าถึงได้
    หากมุ่งมั่นแน่วแน่และบำเพ็ญปฏิบัติอย่างแท้ จริง

    **มีปราชญ์ทางโลกจำนวนไม่น้อยที่ศึกษาธรรมจนเกือบแจ้งถึงโสดาบัน
    แต่แล้ว เหตุแห่งวิบากในอดีตก็บดบัง กล่าวคือ หลุ่มหลงในบูชา
    สักการะ หรือปัจจัยต่างๆ ที่ได้มา เพราะว่ามีผู้คนศรัทธานับถือมาก
    ปัจจัยการบริจาคจึงหลั่งใหลมาเป็นภูเขา ครั้นตัววิบากแห่งกรรมและกิเลส
    ได้โอกาสจึงเข้าครอบงำจิตให้หลุ่มหลง ใน อามิส บูชา สักการะทั้งหลาย
    ที่ได้รับ ติดอยู่ในห้วงแห่งอวิชชา ไม่อาจก้าวหน้าในธรรมต่อไปได้

    **นักปฏิบัติหรือพระผู้ฉลาดที่หวังนิพพานในชาตินี้
    จึงมักนิยม เข้าป่า ขึ้นเขา หรือหาที่ปฏิบัติ
    ธรรมโดยสันโดษ สงบเงียบ และห่างไกลจากผู้คนทั้งหลาย
    เพื่อเป็นอุบายให้จิตมิต้องยิดติดกับ รูป-นาม แห่งอวิชชา วัตถุสิ่งของ
    หรือลาภยศ สักการะใดจากผู้คน
    เพราะหากบำเพ็ญในที่อันเหมาะสมอันดีแล้ว
    ย่อมเข้าถึงความงบและบรรลุธรรมได้เร็วกว่า
    เหตุที่ปัจจัยสถานที่เกื้อหนุนต่อการปฏิบัติธรรมนั่นเอง
    โมทนาธรรมครับ

    <<<อินทรปัญญาสกุล>>> ​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2013
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    มันมีอยู่คำหนึ่งที่หลวงพ่อจำไม่ลืมสักที คำสอนของท่าน (หลวงปู่เสาร์) เวลาไปปรนนิบัติท่าน ท่านจะพูดขึ้นมาลอยๆ

    “เวลานี้จิตข้ามันไม่สงบ มันมีแต่ความคิด”
    ก็ถามว่า “จิตฟุ้งซ่านหรืออย่างไร ท่านอาจารย์”
    “อ้าว! ถ้ามันเอาแต่หยุดนิ่ง มันก็ไม่ก้าวหน้า”

    กว่าจะเข้าใจความหมายของท่านก็ต้องใช้เวลาหลายปี ท่านหมายความว่า จิต เวลาปฏิบัติ เวลามันจะหยุดนิ่ง ปล่อยให้มันนิ่งไป อย่าไปรบกวนมัน ถ้าเวลามันจะคิด ปล่อยให้มันคิดไป เราเอาสติตัวเดียวเป็นตัวตั้ง เป็นจุดยืน

    ในเมื่อมาศึกษาตามพระคัมภีร์ ในบางแห่งท่านก็อธิบายไว้ว่า ฌานมีอยู่ ๒ อย่าง อย่างหนึ่งจิตสงบนิ่ง รู้ในสิ่งๆ เดียว เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน มีแนวโน้มไปในฌานสมาบัติแบบฤาษี อีกอย่างหนึ่ง พอจิตสงบลงไปนิดหน่อย แล้วสงบลึกลงไปจนกระทั่งร่างกายตัวตนหาย เมื่อจิตถอนจากสมาธิมาอยู่ในระดับที่รู้สึกว่ามีกาย ความรู้ ความคิดมันก็ฟุ้งๆ ขึ้นมาอย่างกับน้ำพุ ซึ่งนักปฏิบัติส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้เข้าใจว่าจิตฟุ้งซ่าน อันนี้มันเป็นสมาธิหรือเป็นฌานที่มีวิตก วิจาร ความคิดเป็นวิตก สติที่รู้พร้อมอยู่ในขณะนั้นเรียกว่าวิจาร เมื่อจิตมีวิตก วิจาร มันก็เป็นจุดเริ่มของฌาน หนักๆ เข้ามันก็เกิดกายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ เกิดปีติ เกิดความสุข ความคิด ความรู้มันก็ยิ่งผุดขึ้นมามาก พอไปถึงจุดๆ หนึ่ง จิตมันอาจจะแบ่งเป็น ๓ มิติ มิติหนึ่งคิดไม่หยุด อีกมิติหนึ่งจ้องมองดูอยู่ อีกมิติหนึ่งนิ่งเฉยอยู่ในท่ามกลางของร่างกาย

    ตัวคิดไม่หยุด คือ จิตเหนือสำนึก
    ตัวที่จ้องมองหรือเฝ้าดู เป็นตัวสติ ผู้รู้
    ตัวที่นิ่งเฉยอยู่ เป็นตัวจิตใต้สำนึก ตัวคอยเก็บผลงาน

    เมื่อจิตสงบละเอียดลงไปจนกระทั่งรู้สึกว่าร่างกายตัวตนหาย เหลือแต่จิตดวงเดียว จิตจะไปนิ่ง สว่าง โดดเด่น สภาวะทั้งหลายที่เป็นอารมณ์สิ่งรู้ของจิต มันจะมีปรากฏการณ์ เกิดขึ้น ดับไป เกิด ขึ้น ดับไป แล้วจิตนั้นหาได้หวั่นไหวต่อเหตุการณ์นั้นไม่ เหมือนๆ กับ ว่า สิ่งรู้ของจิตแยกออกเป็นประเภทหนึ่ง จิตก็อยู่อีกประเภทหนึ่งเหมือนไม่มีความสัมพันธ์กัน และสิ่งนั้นมันมาจากไหน ก็จิตตัวนั้นแหละมันปรุงแต่งมา ปรุงแต่งขึ้นมาแล้ว มันไม่มีอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น มันจึงไม่เกิดความยินดีเกิดความยินร้าย

    เพราะฉะนั้น ในคำสอนท่านจึงว่า ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา การยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์เป็นทุกข์อย่างยิ่ง คือในขณะนั้นจิต ไม่ได้ยึดในเบญจขันธ์แล้ว วิญญาณตัวรู้ก็ไม่ยึด ความรู้ทั้งหลายก็ไม่ยึด เพราะฉะนั้น มันจึงแยกกันโดยเด็ดขาด จิตที่มีลักษณะเป็นอย่างนี้ ถ้าพูดตามภาษาปริยัติเรียกว่า วิสังขาร ถ้าหากว่าจิตเกิดความรู้ความเห็นขึ้นมาแล้วไปหวั่นไหวต่อความรู้นั้น เป็น สังขารา อนิจจา สังขารไม่เที่ยง

    ฐานิโยธรรม
    พระธรรมคำสอน พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)



    อย่ารอนานเพื่อแปลความหมาย อย่ารอนานเพื่อเข้าใจว่า ทำไมหลวงพ่อพุธจึงใช้เวลาหลายปีกว่าจะเข้าใจ เริ่มรู้คำตอบได้เลย
    โดยการละความสงบของการยึดขันธ์ 5 เพื่อเข้าถึงความสงบของการไม่ยึดขันธ์ 5
     
  3. chuchart_11

    chuchart_11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +2,932
    ขออนุโมทนาสาธุ ธรรมใดที่ท่านสำเร็จแล้ว ขอข้าพเจ้าสำเร็จด้วยเทอญ สาธุๆๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...