ศาสนาพุทธสอนถึง "อัตตา"
สอน "อัตตา" เสียก่อน จึงค่อยสอน "อนัตตา" ..
"อัตตา"คือตัวตนท่านสอนเบื้องต้น ให้พึ่งตนเอง
ตนของตนเป็นที่พึ่งของตน นี่เรียกว่าสอนถึงตัวตน
เมื่อสอน "อัตตา" แล้ว ให้คิดค้นถึงตัว "อัตตา"
ที่ว่าเป็นของตนของตัวนั้น มีอะไรเป็นของแน่นอนถาวร
แล้วเป็นตนเป็นตัวจริงไหม ..
คิดค้นไปถึง "อัตตา" แล้ว ไม่มีอะไรเป็นสาระ เช่น "ขันธ์ห้า"
"รูป" ก็ไม่ใช่ถาวรแน่นอน แก่เเฒ่า ชำรุดทรุดโทรมไป เป็นลำดับ
ห้ามไม่ได้ บอกไม่ฟัง ในผลที่สุดก็ดับสลายหายไป ..
"เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ" เป็นนามธรรมก็ทำนองเดียวกัน
"เวทนา" เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย เมื่อเหตุปัจจัยไม่มี เวทนาก็หายไป
"สัญญา สังขาร วิญญาณ" ก็เสื่อมสูญไปหมด ในผลที่สุด
ก็ไม่มีสิ่งใดที่แน่นอนถาวร ..
เห็น "ขันธ์ห้า" เป็นของไม่แน่นอนถาวรถึงจะวางได้
"วาง" นั้นแหละคือตัว "อนัตตา" ..
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ที่มา แสดงกระทู้ - เรื่อง "อัตตากับอนัตตา" : หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี • ลานธรรมจักร
"อัตตากับอนัตตา" : หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 29 ธันวาคม 2013.
-
-
...อัตตา คือความเป็นตัวตน ในศาสนาอื่น สอนว่า จิตเป็นอัตตา คือสอนว่าจิตเป็นตัวบุคคล เมื่อตายไปจิตก็จะล่องลอยไปหาที่เกิด ส่วนพุทธศาสนา สอนว่า จิตเป็นอนัตตา เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย (ตัณหา) ดับเพราะสิ้นเหตุปัจจัย(ตัณหา) ขออัญเชิญพุทธพจน์ที่พระองค์สอนใว้ดีแล้วท่อนหนึ่งว่า
.....[๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง
คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย
ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ
จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียก
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้
เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือ
ไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลาย
กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ
[๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอา
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ
เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย
อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี
บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปี
บ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็น
ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ
....ครับ ซึ้ง ซ่าบซ่าน กินใจ