อันตรายิกธรรม5 ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน และฌาน

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นายวีระศักดิ์ ท, 6 เมษายน 2008.

  1. นายวีระศักดิ์ ท

    นายวีระศักดิ์ ท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,003
    อันตรายิกธรรม เพราะทำอันตรายต่อสวรรค์และนิพพาน.
    อันตรายิกธรรมเหล่านั้นมี ๕ อย่าง คือ กรรม กิเลส วิบาก อริยุปวาท และอาณาวีติกกมะ. ในอันตรายิกธรรมเหล่านั้น อนันตริยกรรม ๕ชื่อว่ากัมมนตรายิกธรรม. ภิกษุณีทูสกกรรมก็เหมือนกัน.แต่ภิกษุณีทูสกกรรมนั่นกระทำอันตรายต่อพระนิพพานอย่างเดียวหากระทำอันตรายต่อสวรรค์ไม่.
    ธรรม คือนิยตมิจฉาทิฏฐิชื่อว่าอันตรายิกธรรมคือกิเลส.
    ปฏิสนธิธรรมของบัณเฑาะสัตว์เดรัจฉานและอุภโตพยัญชนก ชื่อว่าอันตรายิกธรรมคือวิบาก.
    ธรรม คือการเข้าไปว่าร้ายพระอริยเจ้าชื่อว่าอันตรายิกรรมคืออุปวาทะ.
    แต่อุปวาทันตรายิกธรรมเหล่านั้นย่อมกระทำอันตรายตลอดเวลาที่ยังไม่ให้พระอริยเจ้าทั้งหลายอดโทษ เบื้องหน้าแต่นั้นให้พระอริยเจ้าอดโทษแล้ว หากกระทำอันตรายไม่.
    อาบัติ ๗กองที่ภิกษุจงใจล่วงละเมิดแล้ว ชื่อว่าอันตรายิกธรรมคืออาณาวีติกกมะ.แม้อาณาวีติกกมันตรายิกธรรมเหล่านั้นย่อมกระทำอันตรายตลอดเวลาที่ภิกษุต้องอาบัติแล้ว ยังปฏิญญาตนว่าเป็นภิกษุอยู่ก็ดีไม่อยู่ปริวาสกรรมก็ดี ไม่แสดงอาบัติก็ดี เบื้องหน้าแต่นั้น หากระทำอันตรายไม่.
    ในเรื่อง อันตรายิกธรรมนั้น ภิกษุนี้เป็นพหุสูต เป็นพระธรรมกถึกย่อมรู้อัน<WBR>ตรา<WBR>ยิก<WBR>ธรรม<WBR>ที่เหลือ แต่เพราะคนไม่ฉลาดในพระวินัยจึงไม่รู้อันตรายิกธรรม คือการล่วงละเมิดพระบัญญัติ
    จะขอพูดเฉพาะหัวข้อการว่าร้ายพระอริยเจ้า
    พระอาจารย์(พระแก่)เดินบิณฑบาตรกับพระหนุ่ม เมื่อมีคนใส่ข้าวยาคู(ข้าวต้ม)พอเดินไปลับตาคน พระแก่จึงนั่งหยองๆยกบาตรขึ้นฉันข้าวยาคูเนื่องจากท่านเป็นโรคลมในท้อง พระหนุ่มคิดว่า "พระแก่นี่ แค่นี้ก็อดทนไม่ได้ จะเอาดีทางธรรมได้อย่างไร บวชอยู่ไปก็น่าอาย " พระแก่จึงถามพระหนุ่มว่าท่านปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว พระหนุ่มตอบว่าได้โสดาปันแล้ว พระแก่ (อาจารย์)ซึ่งเป็นพระอรหันต์และรู้วาระจิตของพระหนุ่มและคิดเมตตาที่จะให้พระหนุ่มมีความเจริญงอกงามทางธรรม จึงพูดว่า อยู่แค่นั้นแหละ ไม่ก้าวหน้าอีกแล้ว พระหนุ่มได้สติจึงคิดว่า "เราได้ปรามาสพระอริยบุคคลเสียแล้ว "จึงกล่าวคำขอขมา ที่ได้คิดล่วงเกินท่าน พระอาจารย์ก็ยกโทษให้
    พระอาจารย์สมบัติ(อาจารย์สอนอภิธรรม)ท่านสอนว่าอันตรายิกธรรมนี้ยังเป็นอันตรายต่อฌานด้วย
    เพื่อนกัลยาณมิตรทุกท่านครับ หากมีคำกล่าวล่วงเกินพระ(ท่าน)ขอขมาเสียเถิดครับ ไม่อย่างนั้นการปฏิบัติธรรมของท่านจะไม่ก้าวหน้า และจงสำรวมระวังในการพูด การเขียนในเวบถึงพระด้วยครับ (ผมคิดว่าเพื่อนๆที่เข้ามาในเวบนี้มีพื้นฐานเป็นคนดี บางคนรู้ธรรมะเยอะที่ดูจากการเขียนของเขา จึงอยากให้สติครับ เห็นมีอยู่บ้างเหมือนกันแต่ก็ไม่กล้าบอกตรงกลัวเขาจะโกรธ หรืออาจจะเสียใจ)
    ffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 เมษายน 2008
  2. นายวีระศักดิ์ ท

    นายวีระศักดิ์ ท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,003
    สิ่งที่เป็นอันตรายสามารถปิดกั้นมรรคผลในปัจจุบันชาติที่ผู้ปฏิบัติควรทราบได้แก่
    ๑.วิติกกมันตรายคือการที่ภิกษุต้องอาบัติแล้วยังไม่ได้แสดงตามกรรมวิธีของธรรมวินัยเพื่อออกจากอาบัตินั้นรวมถึงกรณีภิกษุผู้ต้องปาราชิกอันเป็นอาบัติขั้นสูงสุดขาดจากความเป็นภิกษุซึ่งปาราชิกบุคคลนี้ธรรมท่านกล่าวว่าเป็นบุคคลที่หมดโอกาสบรรลุมรรคผลในปัจจุบันชาติทีเดียว
    ๒.วิปากันตรายคือผลของกรรมที่ทำไว้แต่อดีตชาติส่งผลให้เกิดเป็นผู้อาภัพ อาทิ เป็นคนบ้าใบ้ เสียจริตหรือส่งผลให้เกิดในภพภูมิที่อาภัพต่อมรรคผล มี เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น
    ๓.กัมมันตรายคือผู้ทำกรรมหนักขั้นอนันตริยกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง มี
    ฆ่าบิดา-มารดา
    ฆ่าพระอรหันต์ ๑
    ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต
    ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน (สังฆเภท) ๑
    อนันตริยกรรมนี้ นอกจากห้ามมรรค (มัคคาวรณ์) แล้วยังห้ามสวรรค์ (สัคคาวรณ์) อีกด้วยคือผู้ทำกรรมนี้แม้เคยทำบุญกุศลมาแก่แต่อนันตริยกรรมจะเข้าขวางไม่ให้กุศลกรรมส่งผลได้จำต้องตกนรกไปเสวยผลอนันตริยกรรมนั้นๆ เสียก่อน
    ๔.อริยุปวาทกรรมคือกรรมจากการด่าว่าพระอริยเจ้าไม่ว่าจะเป็นการด่าว่าจ้วงจาบหยาบคายหรือดูถูกดูหมิ่นคุณธรรมความสามารถของท่านผู้ปฏิบัติธรรมพึงระวังอย่าได้ทำกรรมอันนี้ โดยสำรวมระวังไม่พูดจาด้วยความคะนองหรือติเตียนผู้)ฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เนื่องจากปุถุชนผู้ยังมีสิตปัญญาไม่สมบูรณ์ยากจะทราบได้ว่าพระโยคาวจรผู้ปฏิบัติท่านนั้นๆ ทรงคุณธรรมขั้นใด การสำรวมระวังนี้ควรจะสำรวมระวังไปถึงมโนกรรมคือความคิดด้วยจะปลอดภัยดีในความเข้าใจของผู้เขียนผู้ที่ทำอริยุปวาทกรรม หากสำนึกผิดทันเวลาก่อนที่กรรมจะส่งผลยังมีโอกาสขอขมาให้เป็นอโหสิกรรม หรือ ถ้าไม่สามารถเป็นอโหสิกรรมก็ช่วยลดความรุนแรงในผลกรรมนั้น ซึ่งการขอขมาโทษอรรถกถาจารย์ท่านได้แสดงวิธีต่างๆไว้ดังนี้ (วิมุติรัตนมาลี, พระศรีวิสุทธิโสภณ (วิลาศ ญาณวโร)
    - ถ้าท่านผู้นั้นมีชีวิตอยู่ ให้ไปขอขมาโทษต่อท่านโดยตรง
    - ถ้าท่านผู้นั้นมรณภาพหรือสิ้นชีวิตแล้ว ให้ไปขอขมาต่ออัฐิหรือกระดูกท่าน
    - ถ้าท่านผู้นั้นมรณภาพหรือสิ้นชีวิตแล้ว และไม่อาจหาอัฐิหรือกระดูกท่านได้ให้ทำพิธีขอขมาโทษต่อหน้าพระพุทธรูป
    ธรรม ๔ อย่างอันเป็นอันตรายต่อมรรคผลนี้ บางตำราเรียกว่า "อันตรายิกธรรม"มีอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ได้กล่าวไว้ใน ๔ ข้อแรกแต่สิ่งนี้ถ้าเป็นประเภทร้ายแรงก็สามารถปิดกั้นมรรคผลหรือเอื้ออำนวยให้ทำอันตรายิกรรมได้ง่ายเข้า สิ่งนั้นก็คือความเห็นผิด หรือมิจฉาทิฐิบางประเภท มิจฉาทิฐิมีหลายประเภท บางประเภทห้ามมรรค ไม่ห้ามสววรค์บางประเภทห้ามทั้งมรรค ห้ามทั้งสวรรค์ บางประเภทไม่ห้ามทั้งมรรคและสวรรค์ซึ่งจะขอยกตัวอย่างโดยสังเขป ดังนี้
    มิจฉาทิฐิที่ห้ามทั้งสวรรค์และมรรคเช่น
    - ความเห็นที่ว่าบาปไม่มี บุญไม่มี สวรรค์ไม่มีทุกสิ่งทุกอย่างสิ้นสุดลงที่ความตาย ไม่จำเป็นต้องทำบุญเพื่อไปสวรรค์ไม่ต้องทำสิ่งที่เชื่อถือว่าจะอำนวยซึ่งความสุขในชาติหน้า
    - มิจฉาทิฐิ ๒๐มีเห็นว่ารูปเป็นตน เห็นว่าตนเป็นรูป เห็นตนในรูป เป็นต้น เป็นการเห็นผิดลักษณะ ๔อย่างในขันธ์ทั้ง ๕ รวมเป็น ๒๐ เหล่านี้ไม่ห้ามทั้งสวรรค์และมรรค (พุทธปรัชญาเบื้องต้น, อ.สุวรรณ เพชรนิล)
    เรื่องมิจฉาทิฐินี้ยังมีอีกมากมายหลายประเภท รวมถึงความเห็นวิปริตต่างๆ บางกรณีเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเช่น การหลงศีล หลวงวัตร หลงหลักปฏิบัติ จนกลายเป็นทิฐิวิปลาสซึ่งหากยังไม่ละทิฐินี้ ย่อมให้ผลหนักเบาตามลำดับความเห็นผิดนั้นๆผุ้ปฏิบัติต้องใช้ปัญญาพิจารณาตรวจสอบด้วยดีก่อนจะลงความเห็นและปฏิบัติไปพึงศึกษาจากผู้รู้และเทียบเคียงก่อนอย่านำความรู้ความเห้นด้านเดียวไปปฏิบัติโดยไม่พิจารณาไตร่ตรองเพราะเรื่องทิฐินี้เป็นสิ่งสำคัญมากในมรรค ๘ ได้กล่าวถึงสัมมาทิฐิ อันเป็นเรื่องของปัญญาไว้ข้อแรกและเป็นข้อสำคัญที่สุดในองค์มรรคด้วย ผู้ปฏิบัติอย่างได้มองข้ามไปพึงพยายามยกระดับจิตให้เป็นสัมมาทิฐิเสียก่อนเพราะถ้ามีสัมมาทิฐิแล้วการปฏิบัติทั้งหมดก็จะเป็นไปโดยความถูกต้องชอบธรรม รู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์สิ่งใดไม่เป็นประโยชน์ แต่ถ้าหากใจยังไม่เป็นสัมมาทิฐิเป็นอันดับแรกแล้วแม้จะทำสมาธิภาวนาโดยรูปแบบภายนอก หรือ มีการปฏิบัติเคร่งครัดทางกายวาจาหรือข้อวัตรก็จะไม่สำเร็จประโยชน์เท่าที่ควร ซ้ำร้ายบางครั้งการปฏิบัติที่ขาดปัญญาสัมมาทิฐิเป็นแกนนำนั้น อาจพาให้มีความรู้ความเห็นผิด ๆ แผลงๆอันจะเป็นเหตุก่อทุกข์ก่อโทษแก่ตนและผู้อื่นอย่างคาดไม่ถึงก็ได้
    เรื่องของธรรมอันเป็นเครื่องปิดกั้นมรรคผล
     
  3. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    สาธุ
    เห็นด้วยครับ
    นั่นสินะ ไม่รุจะไปล่วงเกินท่านใด เมื่อใด ไม่รุตั้งใจไม่ตั้งใจ
    ผมคงต้องขอขมากรรมเช่นกันครับ
    ขอบคุณสำหรับสติ ครับ
     
  4. iampoo

    iampoo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +25
    ก็เคยคับ รู้สึกผิดมาก ทั้งคิดและทั้งพูดเลย ขอบคุณที่ให้สติคับ ผมจะไม่ทำอีก

    อนุโมทนาครับ
     
  5. นักรบธรรม

    นักรบธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    969
    ค่าพลัง:
    +1,174
    แล้วมีอะไรอีกบ้างนะที่ทำให้เราปฏิบัติไม่ถึงฌาณสักที

    ต้องนั่งต้องฝึกกันครั้งละ 3 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อยหรือไร
     
  6. phasusorn

    phasusorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +133
    สาธุ ผมสวดมนต์ ก็สวดบทขอขมา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทุกครั้งครับ แต่ผมนั่งสมาธิไม่ค่อยได้นั่งนาน เพราะจิตมันชอบวอกแวก
     
  7. นักรบธรรม

    นักรบธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    969
    ค่าพลัง:
    +1,174

แชร์หน้านี้

Loading...