อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    6134F483-75BC-4FFC-9809-6E3F4033AD4A.jpeg

    ๓ มหายักษ์ ที่ได้รับสักการะบูชา จากศรัทธามหาชน

    ๑. ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวรรณอยู่คู่กับสังคมไทยมานาน แต่โบราณนิยมสร้างเป็นเครื่องรางไว้ป้องกันตัวจากภูตผีปีศาจ สิ่งเร้นลับ ไสยศาสตร์ มนต์ดำ ปัจจุบันความเชื่อเรื่องภูตผีจะน้อยลงไปตามเวลา จึงบูชาท่านในเรื่องเมตตา ค้าขาย กันมากกว่า เพราะเชื่อว่าท่านเป็น ธนบดี เจ้าแห่งทรัพย์

    คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ (ตำรับวัดจุฬามณี)

    • ปุตตะ กาโม ละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง

    อัตถิกาเย กายะยายะ เทวานัง ปิยะตังสุตวาฯ

    • อิติปิโส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
    มรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโม พุทธายะฯ

    • ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชาชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต
    เวสสะ พุสะ พุทธัง อรหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะฯ

    ************************


    คาถากันโรคระบาดท้าวเวสสุวรรณ

    “คะสะชะนะ อิติ ศัตรู อย่ามาคะตา”


    ************************


    ยันต์กันโรคระบาด ท้าวเวสสุวรรณ
    (ท้าวเวสสุวรรณดูแลเรื่องโรคระบาด)

    “นะ ณา มะ อะ อุ”


    ************************


    พระพุทธคาถา

    “สัมมาสัมพุทธัสสะ พระอะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ”


    ให้สวดทุกคืนๆ ละ ๗ จบ อานุภาพของพระคาถาศัตรูจะพินาศเองเมื่อคิดประทุษร้ายจะเกิดผลในด้านมงคลทุกประการ จะสามารถเห็นได้แจ่มแจ้งด้วยญาณ เป่าให้ศิษย์ผู้เรียนทิพจักขุญาณและเรียนไปปรโลก มีญาณเครื่องเห็นแจ่มใส

    ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นำมามอบให้วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๐๙ เวลา ๙ น. ณ สำนักพระยายม ท่านพระยายมบอกให้ทราบว่าท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะมาคุยด้วย แล้วท้าวมหาราชทั้ง ๔ ก็มา ท่านท้าวธตรฐมาก่อนแล้วท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ และท้าวเวสสุวัณมาตามลำดับ ท่านเอาคาถามาให้ดูบอกว่า พระอินทร์ให้นำมาถวาย
    โดยกล่าวว่า พระอินทร์รับพระบัญชาจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เอามาให้ ท่านว่าคณะท่านทั้ง ๔ และเทวดาจะตามรักษาคาถานี้ให้เป็นไปตามนั้น

    อานุภาพคาถามีดังนี้

    ๑. ศัตรูจะพินาศไปเองเมื่อคิดประทุษร้าย
    ๒. จะเกิดผลในด้านมงคลทุกประการตามที่ปรารถนา
    ๓. จะสามารถเห็นได้แจ่มแจ้งด้วยฌาน เห็นได้ชัดเจนทุกประการ และทุกขณะที่ประสงค์จะเห็น
    ๔. เป่าให้ศิษย์ผู้เรียนทิพจักขุญาณ และเรียนไปปรโลกได้ มีญาณเครื่องเห็นแจ่มใส

    จากหนังสือสมบัติพ่อให้

    ลายเพลงบูชาท้าวเวสสุวรรณ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2022
  2. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    2AA76F60-0F3C-491A-9117-57586483BD87.jpeg

    ๓ มหายักษ์ ที่ได้รับสักการะบูชา จากศรัทธามหาชน

    ๒. พระราหู พระราหูเป็นอีกหนึ่งยักษ์ที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน แต่โบราณเชื่อว่าการเกิดสุริยคราส จันทรคราส เกิดจากยักษ์พระราหูไปอมพระอาทิตย์พระจันทร์เอาไว้ (บางที่เรียกกบกินเดือน) เพราะเกิดความแค้นที่เมื่อครั้งมีการเกษียรสมุทร พระอาทิตย์และพระจันทร์ไปฟ้องพระนารายณ์ว่าพระราหูแอบมากินน้ำอมฤต พระนารายณ์จึงขว้างจักรไปตัดตัวพระราหูขาดเป็นสองท่อน แต่พระราหูไม่ตายเพราะดื่มน้ำอมฤตเข้าไป

    ยิ่งเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วเกิดกระแสการบูชาจตุคามรามเทพกันทั่วบ้านทั่วเมือง วัตถุมงคลของท่านลักษณะเป็นดวงตรา มีพระราหูแปดตนล้อมรอบคุ้มครองทั้งแปดทิศ มีตราสิบสองนักษัตรคุ้มครองทุกปี และองค์พ่ออยู่ตรงกลาง เป็นที่ต้องการของคนทั่วไปในสมัยนั้น ยิ่งทำให้การบูชาพระราหูได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น

    เชื่อกันว่าการบูชาพระราหูจะช่วยหนุนดวงคุ้มครองดวงชะตามิให้ตกต่ำ ใครดวงตกยิ่งต้องควรบูชา ในตำราดูดวงต่างๆก็ให้ความสำคัญกับพระราหู ยิ่งถ้ามีการย้ายราศีก็จะเป็นที่จับตาเพราะเชื่อกันว่ามักจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในบ้านในเมือง

    คาถาบูชาพระราหู

    • กินนุ สันตะระมาโน วะราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิ

    สังวิคคะรูโป อาคัมมะกินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ

    สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ

    พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ สุริยันติฯ


    • กินนุ สันตะระมาโน วะราหุ จันทัง ปะมุญจะสิ

    สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ ติฏฐะสีติ

    สัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ

    พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ จันทิมันติฯ


    **************************

    พระคาถาสุริยาบัพพา

    • กุสเสโตมะมะ กุสเสโตโต ลาลามะมะ

    โตลาโม โทลาโมมะมะ โทลาโมมะมะ

    โทลาโมตัง เหกุติมะมะ เหกุติฯ

    พระคาถาจันทบัพพา

    • ยัตถะตังมะมะ ตังถะยะ ตะวะตังมะมะ

    ตังวะติตัง เสกามะมะ กาเสตัง

    กาติยังมะมะ ยะติกาฯ

    ลายเพลงบูชาพระราหู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2022
  3. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    1.jpg Cr. ภาพจากเพจมนต์นันท์

    ๓ มหายักษ์ ที่ได้รับสักการะบูชา จากศรัทธามหาชน

    ๓. พระพิราพ


    • บรมครูยักษา พระไภราวะเทพอสูร

    พระพิราพทรงบุญ คุณเอนกอนันต์
    ฤทธีหาญกล้า สมญาพิราพราชัน
    บารมีพระเทวัญ หมู่มารใดมามลาย
    พระไภราวะ กายาวตาร
    ผู้ดลบันดาล นาฏศิลป์ดนตรี
    เสียงปีสีซอ ยอย้องพระบารมี
    แล้วจังหวะศรีศรี ดิถีฤกษ์เบิกนาม
    มาเย้อพระองค์เอ้ย มาเย้อพระองค์เอยฯ.....

    (บทกลอนโดยศิลปิน แก้วเพทาย)


    นามพระพิราพ คนทั่วไปอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันมากนัก แม้แต่สายพระบางคนก็อาจจะไม่รู้จัก สายเครื่องรางก็ยังพอรู้จักบ้าง แต่ถ้าเป็นสายนาฏศิลป์จะรู้จักดี เพราะท่านเป็นบรมครูหรือครูสูงสุดของสายนี้

    หากเจ้าแม่กาลีคืออวตารของพระอุมา องค์พระพิราพ ก็คืออวตารของพระศิวะภาคมหาปราบซึ่งมีความดุร้ายมากเช่นกัน ทรงประทานโรคระบาดและความตาย แก่คนชั่วช้า สำหรับคนที่หมั่นบูชาจะประทานซึ่งโชคลาภและความเจริญด้วยเช่นกัน

    *****************************


    ตำนานพระพิราพ

    พระพิราพ อสูรเทพ หมู่ชนชาวอินเดียเคารพกราบไหว้บูชาประทานโชคลาภ อุดมสมบูรณ์ แก่ผู้ที่เคารพบูชา แรงครู

    พระพิราพ มีความหมายในตำนาน”พระพิราพ”คือ พระอิศวรอวตาร กล่าวกันว่าเป็น เทพอสูรผู้เป็นบรมครูสูงสุดแห่งนาฎศิลป์ และเป็นบรมครูองค์สำคัญของกลุ่มนาฎศิลป์เคารพในฐานะบรมครูผู้ศักดิ์สิทธิ์ ทรงฤทธิ์แรงครู การนับถือพระพิราพเป็นบรมครูสืบเนื่องประเพณีการบูชา”พระไภราวะ”ของชาวอินเดียและชาวเนปาล โดยพระไภราวะ คือภาคหนึ่งของพระอิศวรที่แสดงรูปกายออกเป็นยักษ์ทรงอิทธิฤทธิ์

    ตามตำนาน ระบุว่า พระไภราวะมีฤทธิ์ในการปราบภูตผีปีศาจ เมื่อครั้งเกิดโรคระบาดคร่าชีวิตประชาชนล้มตายเป็นอันมากขาดที่พึ่งจึงได้ระลึกถึงพระไภราวะผู้ประทานชีวิตและความตายอันเป็นภาคมหาปราบหนึ่งของพระอิศวร จึงได้มีการตั่งบูชาพระไภราวะแล้วโรคระบาดทั้งหลายก็ได้หายไปบังเกิดความร่มเย็นเป็นสุข

    อย่างไรก็ตาม การนับถือพระไภราวะ จึงมีคติบูชาแล้ว ผู้นั้นปราศจากภยันอันตราย อาถรรพณ์ทั้งปวง ทั้งยังช่วยให้สุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยทั้งหลาย

    พระพิราพ มีลักษณะกายสีม่วงแก่ ๑ พักตร์ ๒ กร มีหอกเป็นอาวุธจึงเป็นเหตุที่ศิลปินและผู้คนเคารพบูชาเพราะมีข้อมูลว่า พระพิราพนี้ เป็นปางหนึ่งของพระอิศวร มีชื่อพ้องกันกับชื่อ”วิราวณะ”ของฮินดู อันเทพเจ้าแห่งการฟ้อนรำ ชื่อพิราพ เป็นนามเทพเจ้าแห่งคุณงามความดี มีลักษณะ เศียรโล้น สีม่วงแก่ (พิราพเดินป่า)สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจระเข้ มาจากคำว่า”ไภราวะ”หมายถึง”ผู้เป็นใหญ่แห่งป่า” เข้าใจว่าปางดุร้ายของพระอิศวร ในคติความเชื่อของไทย

    พระพิราพ เป็น”อสูร”ความจริงแล้วอสูรมิใช่ยักษ์ แต่คนไทยส่วนใหญ่มองภาพรวมว่าเป็นเช่นนั้น จริงๆแล้วแบ่งออกเป็น อสูร ยักษ์ รากษส พระพิราพ เป็นอสูรจริงแล้วเป็นเทพเจ้า คือจะมีความแตกต่างกับรากษสที่นิยมบริโภคของดิบและซากสัตว์ เมื่อเป็นเทพจึงเสวยสิ่งที่เป็นทิพย์

    พระพิราพ เป็นอสูรเทพบุตร นามเทพแห่งคุณงามความดี เป็นผู้ทรงศีลที่มั่นคงในการบำเพ็ญ มีนิสัยรักและห่วงใยมวลมนุษย์ชอบช่วยเหลือไม่ว่าจะยากดีมีจนที่มาขอพรแล้วก็มักจะประสบความสำเร็จทุกรายไป แต่ขอให้ผู้นั้นเป็นคนดีมีศีลธรรม มีสัจจะวาจา

    ตรงกันข้ามกับผู้ชอบกระทำความผิดคิดชั่ว ไม่มีศีลธรรม ไม่มีสัจจะ ไม่ละเว้นอบายมุข ท่านก็จะลงโทษ และเป็นผู้ประทานชีวิต ผู้ปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งเลวร้ายทั้งปวง

    อีกตำนานหนึ่ง มีเรื่องเล่าว่า พระพิราพ ในประเทศไทยสับสนอยู่ว่า พระพิราพ ที่เป็นครูสูงสุดทางนาฎศิลป์ กลับไม่มีชื่อและลักษณะพ้องกับยักษ์วิราธ(พระพิราพป่า)ในเรื่องรามเกียรติ์ซึ่งมีนิสัยเกเร เป็นเทวอสูรอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้ลักลอบรักนางฟ้าตนหนึ่ง จึงถูกท้าวเวสสุวรรณ สาปให้เป็นยักษ์ป่าชื่อ วิราธ แปลว่า ผู้กระทำความผิดแต่มีฤทธิ์มากเพราะได้กำลังสมุทรพระเพลิง ได้พรว่าผู้ที่หลงเข้ามาในเขตสวนของตนในเชิงเขาไกรลาสสามารถถูกจับกินได้

    ภายในสวนมีต้นพวงทองเป็นที่รัก ต่อมาพระราม พระลักษณ์ และนางสีดาหลงเข้ามาในสวน พวกยักษ์ต่างรุมทำร้ายแต่ถูกพระลักษณ์แผลงศรต้องยักษ์ล้มตาย ต้นไม้หักล้ม ยักษ์วิราธจึงเกิดอาการโกรธ พอเห็นพระราม พระลักษณ์ และนางสีดาเข้ามาทำร้าย จึงได้ลักพาตัวนางสีดาแล้วบันดาลให้อากาศแปรปรวนมืดมิด พระรามจึงได้แผลงศรให้สว่างพอเห็นยักษ์วิราธจึงยิงด้วยธนูสังหารต้องยักษ์วิราธล้ม

    มีอีกเรื่องเล่าอีกว่าครั้งหนึ่งมียักษ์วิราธเห็นพระอินทร์เหาะผ่านมาเห็นแล้วเกิดความอิจฉาก็เลยเหาะไปต่อสู้ พระอินทร์สู้ไม่ได้จึงถูกแย่งมงกุฎ พระพิราธเอามงกุฎใส่เที่ยวเล่น กลายเป็น”พระพิราพทรงเครื่อง”บางคนกล่าวว่าเป็น”พระพิราพครองเมือง”ซึ่งเป็นการที่เรียกผิดๆ อีกประการว่า”พระพิราพบวช”นั้นเป็นเรื่องผิดเพราะในเรื่องรามเกียรติ์ไม่มีตอนไหน

    ทั้งนี้ ยักษ์วิราธ”พระพิราพ”ทรงพรตหรือทรงบวชจึงเป็นข้อมูลที่ผิดเพี้ยน นี่คือประวัติที่อยากจะบอกกล่าวให้เข้าใจถึงที่มาที่ไป

    ต่อมาได้มีการวินิจฉัยว่าเหตุใดตัวละครนี้เป็นครูสูงสุดในด้านนาฎศิลป์ คือ พระพิราพที่แท้จริงเป็นอวตารปางหนึ่งของพระอิศวรเสมือนหนึ่งว่าพระแม่กาลีเป็นปางอาวตารปางหนึ่งของพระแม่อุมา คติกับการนับถือเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับนาฎศิลป์ คำว่า พระพิราพ นั้นมาจากคำว่า”ไภราวะหรือไกรวะ”ภายหลังเพี้ยนเป็น”พระไภราพ”จนในคติพจน์ของชาวนาฎศิลป์ที่นับถือ พระพิราพก็เนื่องจากเชื่อถือว่า พระพิราพ เป็นบรมครูฝ่ายยักษ์

    พระพิราพ เป็นบรมครูฝ่ายยักษ์ผู้สูงสุดและยังถือว่า พระพิราพเป็นผู้ประทานโชคลาภ เสน่ห์เมตตา อุดมด้วยทรัพย์สมบัติ ผู้ที่เคารพบูชาพระองค์จะเป็นเมตตามหานิยมแก่ผู้พบเห็นทั้งหลาย จะบังเกิดความเจริญสูงสุดในชีวิตทุกๆด้านไม่ว่าจะเรื่องของการเงิน การงาน และก่อเกิดความร่มเย็นเป็นสุขห่างไกลจากโรคร้ายภยันอันตรายทั้งหลายอย่างน่าอัศจรรย์

    แม้ประสบเคราะห์หามยามร้าย หากมีพระพิราพไว้บูชาบารมีของพระองค์จะคุ้มครองให้ปลอดภัย ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ แคล้วคลาดอย่างน่าอัศจรรย์

    แมันว่าบ้านใดมีผู้ป่วนเรื้อรังมานานหรือญาติเจ็บป่วยเกรงว่าจะรักษาไม่หายได้ ก็ให้ระลึกถึงคุณพระบรมครูพระพิราพ จัดเทียนสักการะตั้งจิตอฐิษฐานถึงคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า และคุณบรมครูอสูรเทพพระพิราพ อำนาจจากแรงครูจะช่วยปัดเป่าโรคร้ายเสนียดจัญไร เคราะห์ร้ายทั้งหลายพินาศลง

    แม้หากจะประสงค์ให้ได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง หรือจะประสงค์ในด้านการเงินมิให้ขาดมือ ปรารถนาอยากมีโชคลาภให้จุดเทียนธูปบูชาองค์พระแล้วตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระองค์โปรดประทานพรอันเป็นมงคลและสมหวัง

    เรื่อง: พรหมพิริยะ จันทร์เพ็ญ


    ที่มา: https://www.thethaipress.com/2020/24941/


    **********************************

    คาถาบูชาพระพิราพ

    • อิมัง พุทธัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
    ธัมมัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
    สังฆัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา

    พุทโธ สิทธิฤทธิ ธัมโม สิทธิฤทธิ สังโฆ สิทธิฤทธิ
    สุขะ สุขะ ไชยะ ไชยะ ลาภะ ลาภะ
    สัพพะธัมมานัง ประสิทธิเม ประสิทธิเต

    พุทโธ สวัสดีมีไชย ธัมโม สวัสดีมีไชย สังโฆ สวัสดีมีไชย
    อิมัง ปทีปัง สุรังคันธัง อธิฏฐามิ ๚๛


    *********************************


    คาถาบูชาองค์พระพิราพตำรับพ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

    " วันทิตะวา อะสุระเทพานัง มะหันตะพะลัง
    อันตะรายัง วินาสสันติ "


    ขอเมตตาบารมีองค์พระอิศวรมหากาลไภรวะ " พระพิราพ " ขจัดสิ่งร้ายให้มลายหายสูญจากประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่ง ประทานความอุดมสมบูรณ์เพิ่มพูนลาภผลความสำเร็จกับทุกท่านทุกสายร่างญาณบารมี สาธุ

    ลายเพลงบูชาพระพิราพ



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2022
  4. reodear11

    reodear11 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2022
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +2
    สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาวัตถุมงคลเพื่อเป็นสิริมงคลต่อชีวิต เราขอแนะนำที่นี้พระแท้ พระบ้าน ทุกภูมิภาคของประเทศรวมอยู่ที่นี้ให้ท่านแล้ว!!
    มงคลเทพช็อป | https://s.lazada.co.th/s.S0vxn
     
  5. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    C67D114C-D0CD-44FB-9F53-C6714B9C14F1.jpeg

    54FAC609-6A3F-4ED8-8562-6251D65D3FF1.jpeg

    7525F940-94E8-4160-82B1-C5DB9393D7A6.jpeg

    D8973195-A60A-4873-8B36-1C6028F1966F.jpeg

    17FDBB0E-0AC4-4039-826C-3C7219BB5E7E.jpeg

    หลวงพ่อเนื่องวัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม

    ลุ่มน้ำแม่กลองมีพระเจิที่ขึ้นชื่อลือชามากมายในอดีต ไม่ว่าจะเป็น หลวงพ่อคงวัดบางกระพ้อม หลวงพ่อใจ วัดเสด็จ หลวงปู่แจ้ง วัดประดู่ หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม หลวงพ่อร้าย(ไล้) วัดเขายี่สาร และหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี เป็นต้น

    สิ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมานานอย่างหนึ่งก็คือเรื่องหวย ไม่เพียงคนจนที่เล่นเพื่อหวังจะได้เงินได้ทองมาจุนเจือ คนรวยบางคนก็เล่นเพื่อความสนุกอาจจะเพราะชอบการลุ้น การใบ้หวยจึงเป็นทางออกสำหรับการลงทุนที่มีความเสี่ยงนี้ สถานที่ต่างๆที่ขึ้นชื่อเรื่องความเฮี้ยนความแม่นในการใบ้หวย ผู้คนก็จะเฮกันไป หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี ก็เป็นหนึ่งในพระเกจิที่ได้ชื่อว่า ใบ้หวยแม่นยิ่งนัก!!!


    ******************************

    ประวัติหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี

    หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท (พระครูโกวิทสมุทรคุณ) วัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังมาก เมื่อกว่า ๔๐ ปีก่อน ท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่อแช่ม วัดจุฬามณี หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ฯลฯ วิชาความรู้ทางคาถาอาคมจึงย่อมไม่ธรรมดา

    หลวงพ่อเนื่อง ท่านมีนามเดิมว่า เนื่อง เถาสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๒ ปีระกา โยมบิดาชื่อนายถมยา เถาสุวรรณ โยมมารดาชื่อนางตาบ เถาสุวรรณ เกิดที่บ้านคลองใหญ่ หมู่ที่ ๔ ตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จบการศึกษาชั้นประถม ๔ จากโรงเรียนวัดบางกะพ้อม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓

    หลวงพ่อเนื่อง เข้ารับการอุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ณ พัทธสีมาวัดบางกะพ้อม ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับฉายาว่า "โกวิโท" โดยมี

    หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลวงพ่อแช่ม โสฬส เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอาจารย์ปล้อง วัดบางกะพ้อม เป็นอนุสาวนาจารย์

    หลังจากที่อุปสมบถท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบางกะพ้อม และท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดจุฬามณี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ขณะเดียวกันท่านก็มีความเชี่ยวชาญในทางวิปัสสนา และพุทธาคม เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยท่านได้อาจารย์ดีเป็นเบื้องต้น ตั้งแต่อุปสมบท

    ประกอบกับความตั้งใจมั่นในการศึกษา และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยได้ศึกษาจากหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม พระเกจิอาจารย์ผู้โด่งดังของ จังหวัดสมุทรสงคราม

    นอกจากนี้หลวงพ่อเนื่อง ท่านยังได้เรียนวิชาอาคมต่างๆ จากหลวงพ่อแช่ม เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี และ หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ผู้สร้างตำนาน ตะกรุดลูกอม อันลือลั่น ไล่เรียงรายนามอาจารย์ของหลวงพ่อเนื่องแล้ว จึงไม่ต้องแปลกใจในความรู้ความสามารถ และความเข้มขลังในสายพุทธาคม ที่หลวงพ่อเนื่องท่านได้สืบทอดมาจากพระเกจิอาจารย์ผู้แก่กล้าสามารถหลายท่าน

    หลวงพ่อเนื่อง เป็นพระบริสุทธิสงฆ์ที่ชาวสมุทรสงคราม และจังหวัดใกล้เคียง มีความศรัทธาเลื่อมใสเป็นอันมาก รวมทั้งงานความสามารถในด้านงานพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองมาสู่วัดจุฬามณี และชุมชนท้องถิ่นมาโดยตลอด

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูโกวิทสมุทรคุณ"

    ปี พ.ศ. ๒๔๑๗ ท่านได้เลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาคันธุระ ในราชทินนามเดิม

    วัดจุฬามณี เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๑๗๒-๒๑๙๐ ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง เดิมชื่อ "วัดแม่เจ้าทิพย์" เป็นวัดที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับราชวงศ์จักรี ฝ่ายราชนิกูล (ตระกูลบางช้าง) โดยเดิมกุฏิและอุโบสถ ล้วนสร้างจากไม้สัก ซึ่งย่อมผุพังและเสื่อมโทรมไปตามกาล ก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในสภาพคงทนแข็งแรง และมีความสวยงามยิ่งขึ้น ก็ด้วยความสามารถของหลวงพ่อเนื่องอย่างแท้จริง

    วัดจุฬามณี มีเจ้าอาวาสปกครอง เท่าที่สืบได้ดังนี้

    ๑. พระอธิการยืน
    ๒. พระอธิการเนียม
    ๓. พระอาจารย์แป๊ะ
    ๔. พระอาจารย์ปาน
    ๕. หลวงพ่ออ่วม
    ๖. พระอาจารย์นุ่ม
    ๗. หลวงพ่อแช่ม
    ๘. หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท
    ๙. พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (พระอาจารย์ อิฏฐ์ ภทฺทจาโร) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    หลวงพ่อเนื่อง ได้ดูแลบูรณปฏิสังขรณ์วัดจุฬามณี จนเป็นวัดที่มีความเจริญรุ่งเรือง และมีความสมบูรณ์ในทุกด้าน โดยเฉพาะอุโบสถจตุรมุข หินอ่อน ๓ ชั้น กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร สูง ๑๐ เมตร มูลค่าการก่อสร้างนับสิบล้านบาท ซึ่งได้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (จวน อุฏฐายี) เสด็จทรงประกอบพิธี

    เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๐ หลวงพ่อเนื่องเริ่มมีอาการอาพาธ จนกระทั่งในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐ เวลา ๐๖.๒๐ น. ท่านก็ได้ละสังขาร มรณภาพอย่างสงบ ที่โรงพยาบาลสมิติเวช สิริรวมอายุ ๗๘ ปี ๕๖พรรษา ยังความโศกเศร้าเสียใจ แก่ศิษยานุศิษย์เป็นอันมาก ทิ้งไว้แต่หลักคำสอน วัตถุมงคล และผลงานการก่อสร้างวัดจุฬามณี ที่มีความสวยงามและร่มรื่นจนทุกวันนี้

    และเรื่องที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่งก็คือ สรีระของ"หลวงพ่อเนื่อง"ท่าน กลับไม่เน่าเปื่อยแต่อย่างใด คงอยู่ในสภาพเดิมๆ ภายในหีบแก้ว บนมณฑป ที่ทางวัดและศิษยานุศิษย์ร่วมกันจัดสร้างขึ้นมาอย่างงดงามยิ่ง

    หลวงพ่อเนื่องท่านมีวัตรปฏิบัติที่แปลกและน่าอัศจรรย์อยู่อย่างหนึ่งคือทั้งปีท่านจะสรงน้ำเพียง ๑ วันเท่านั้นคือในวันสงกรานต์ ซึ่งน่าประหลาดที่ร่างกายของท่านกลับไม่มีกลิ่น และเหงื่อไคลแต่อย่างใดเลย ดังนั้น ศิษยานุศิษย์ที่เคารพนับถือจึงแห่แหนกันมาในวันสงกรานต์อย่างเนืองแน่นเพื่อร่วมสรงน้ำท่านกันทุกปี

    ในด้านวิชาอาคม ลูกศิษย์ลูกหาของท่านมักจะมาขอความเมตตาขอใบมะนาวเสกจากหลวงพ่อเนื่อง ซึ่งใบมะนาวเสกถือเป็นของขลังที่หลวงพ่อมักจะหยิบยื่นให้ผู้ที่ไปกราบไหว้อธิษฐานจิตขอในสิ่งที่ปรารถนา เช่น บางคนอยู่เป็นคู่สามีภรรยากันมานานนับสิบๆ ปี ก็ไม่มีลูกสักที แต่เมื่อไปอธิษฐานขอกับหลวงพ่อเนื่องแล้ว ท่านให้ใบมะนาวเสกติดกลับบ้าน ชั่วเวลาไม่นานก็ท้องสมใจ หรือบางกรณีมีผู้ไปขอโชคลาภ ก็ได้ไปด้วยความสุขใจ และมีชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยบารมีแห่งความเป็นผู้หยั่งรู้ ทำให้ครั้งหนึ่งหลวงพ่อเนื่องถูกตั้งกรรมการสอบอธิกรณ์ เพื่อถอดถอนสมณศักดิ์ กรรมการเถระผู้สอบอธิกรณ์ถามหลวงพ่อเนื่องว่า "คุณเนื่องถ้าท่านหยั่งรู้และเห็นเลขจริง ลองให้มาสัก ๒-๓ ตัวซิ" หลวงพ่อเนื่องตอบว่า "พระเดชพระคุณจะให้สัจจะกับเกล้าได้ไหมว่าจะไม่เอาเลขดังกล่าวไปแทงหวย"

    ท่านเจ้าคุณรูปนั้นให้สัจจะวาจาหลวงพ่อเนื่องจึงเขียนเลขลงในกระดาษพับใสซอง แล้วยื่นให้ท่านเจ้าคุณนำไปเก็บไว้ในตู้เซฟ พอวันที่หวยออกจึงได้พิสูจน์ความจริง ปรากฏว่าตัวเลขที่หลวงพ่อเนื่องให้ไว้นั้น ถูกรางวัลที่หนึ่งงวดนั้นทุกหลักไม่ผิดเพี้ยนเลย
     
  6. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    26E617F6-CF88-4B90-B3B0-28E26B37D74F.jpeg

    CB207ABC-F48F-4BE3-98E0-D7C05FF2C255.jpeg

    27BFD715-F829-4169-BAAA-1D4913575653.jpeg

    1779A278-70B4-4ACD-B65A-D20F7DED9327.jpeg

    ประวัติวัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม

    วัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
    วัดจุฬามณี ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๙๓ หมู่ ๙ ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อยู่ติดถนนสายสมุทรสงคราม-บางแพ
    ด้านหน้าติดกับคลองอัมพวา เชื่อมติดต่อกับคลองบางผีหลอก ห่างจากตัวจังหวัดสมุทรสงครามราวประมาณ ๗ กิโลเมตรเศษ และห่างจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภออัมพวาประมาณ ๒ กิโลเมตร ด้านทิศเหนือติดกับถนนสายสมุทรสงคราม-บางแพ ทิศใต้ติดกับคลองอัมพวา วัดจุฬามณี เป็นวัดเก่าแก่โบราณ มีความสำคัญในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ ราชวงศ์จักรี ฝ่ายราชนิกุล(ตระกูลบางช้าง) วัดจุฬามณี เดิมมีชื่อเรียกว่า “วัดแม่เจ้าทิพย์” ตามประวัติสืบมาได้ว่า วัดนี้สร้างมาแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามประวัติว่าท่านท้าวแก้วผลึก(น้อย) ธิดาคนหนึ่งของท่านพลาย ซึ่งเป็นนายตลาดบางช้าง มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขนอนตลาด จึงมีทรัพย์และรายได้มากชั้นเศรษฐีผู้หนึ่ง จึงได้สร้างวัดจุฬามณีขึ้นมาใหม่ วัดจุฬามณีได้รับความอุปถัมป์ทำนุบำรุงจากมหาอุบาสก และมหาอุบาสิกาสำคัญ ซึ่งต่อมาภายหลังเป็นต้นราชวงศ์จักรี โดยภูมิประเทศแห่งนี้เป็นที่ประสูติของเจ้าผู้ครองประเทศไทยสืบต่อกันมา

    ประวัติบ่งชัดว่า เป็นต้นราชตระกูลบางช้าง ข้อสำคัญก็คือ วงศ์ตระกูลราชนิกุลบางช้างนี้ มีต้นกำเนิดไปจากตำบลบางช้างนี้เอง นิวาสถานเดิมของท่านเศรษฐีทอง เศรษฐีสั้น เป็นพระชนกชนนีของ สมเด็จพระอัมรินทรามาตย์นั้นตั้งอยู่หลังวัดจุฬามณี ซึ่งเดินไปราวสัก ๕ เส้น(หรือราวประมาณ ๕ นาที) บริเวณนิวาสถานนั้นมีต้นจันทน์ใหญ่อยู่ ๓ ต้น แต่ละต้นวัดโดยรอบประมาณ ๒ คนโอบ ระหว่างต้นห่างกันประมาณ ๔ วา กล่าวกันว่าปลูกอยู่ข้างบ้านของท่านเศรษฐีทั้งสอง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าต้นจันทน์ได้ทิ้งซากล้มขอนไว้จนผุ ซากนี้ยังคงทิ้งขอนอยู่จนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๑๐

    ต่อมาได้ทราบว่าท่านศึกษาธิการอำเภออัมพวาในสมัยนั้น ท่านสนใจต้องการทราบประวัติและหลักฐาน ทั้งทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ อันเป็นนิวาสถานเดิมของต้นราชตระกูลแห่งราชวงศ์จักรี จึงได้เดินทางไปสำรวจ แต่ตัวผู้เช่าสวนหรือเจ้าของที่ดินรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้เอาไฟเผาซากตอที่ทิ้งซากล้มขอนนั้นไปจนหมดสิ้นไม่เหลือร่องรอยไว้เลย เข้าใจว่าผู้เช่าหรือเจ้าของที่ดินบริเวณนั้นเกรงว่าทางราชการจะมายึดที่ดินคืน คงสงวนไว้เพื่อเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ก็เป็นได้ ซึ่งที่ต้นจันทน์ ๓ ต้นนี้ถูกปลูกขึ้นคงอยู่ใกล้นิวาสถานที่ประสูติ และเจริญพระชนม์ชันษา และประทับที่ตำหนักนี้

    สมเด็จพระอมรินทรามาตย์(นาค) เป็นพระธิดารูปสวยงดงามของท่านเศรษฐีบางช้าง จนกิตติศัพท์เลื่องลือไปจนถึงกรุงศรีอยุธยา ในสมัยนั้นพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ซึ่งทรงแสวงหาสตรีรูปงามไปเป็นสนม ได้มีอำมาตย์ใกล้ชิดกราบบังคมทูลว่าธิดาเศรษฐีบางช้างรูปสวยนัก จึงได้จัดส่งคนมาสู่ขอ ท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดา-มารดาทราบเข้า จึงชิงยกลูกสาวให้แต่งงานกับมหาดเล็กชื่อทองด้วงเสียก่อน มหาดเล็กทองด้วงนั้นภายหลังได้มาเป็นหลวงยกกระบัตร เมืองแม่กลอง แขวงราชบุรี เมื่อสมรสหรือแต่งงานกันแล้วได้มาอยู่กับศรีภรรยาที่ตำบลบางช้างนี้ ครั้นเมื่อเกิดศึกพม่ายกเข้าตีกรุงศรีอยุธยาแตก หลวงยกกระบัตรทองด้วง ได้อพยพครอบครัวหลบภัยพม่าอยู่ในป่าทึบหลังวัดจุฬามณีนั่นเอง ก่อนที่จะได้ไปฝากตัวเข้ารับราชการกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้ครองกรุงธนบุรี ต่อมาสิ้นแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลวงยกกระบัตรทองด้วงหรือเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ตั้งราชวงศ์จักรี สืบต่อมา

    การหลบภัยพม่าครั้งนั้น ท่านนาคซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงครรภ์แก่ จึงต้องพาเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งสถิตย์อยู่ในพระครรภ์ไปหลบซ่อนพม่าอยู่ในป่าทึบหลังวัดจุฬามณีด้วย และต่อมาได้ประสูติกาล ท่านฉิม(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๐ ตรงกับวันพุธ เดือน ๔ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีกุน สถานที่ประสูติก็ว่าในนิวาสถานใกล้ต้นจันทน์อันเป็นนิวาสถานหลังเก่าของท่านเศรษฐีทอง เศรษฐีสั้น นั่นเอง และยิ่งไปกว่านั้น ในระหว่างที่หลบภัยพม่าอยู่หลังวัดจุฬามณีนั้น กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว) พระพี่นางองค์ที่ ๒ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จหลบภัยพม่ามาอาศัยอยู่กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชด้วย กำลังอยู่ในระหว่างทรงพระครรภ์แก่และได้ประสูติพระธิดา ในป่าหลังวัดจุฬามณีด้วยเหมือนกัน เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๑๐ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีกุน พระธิดาพระองค์นี้ทรงพระนามว่า เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด ซึ่งถือนิมิตที่ว่าหนีพ้นพม่าข้าศึกมาได้ ภายหลังเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดได้อภิเษกสมรสเป็นมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ และได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ นับเป็นพระบรมราชินีองค์ที่ ๒ ของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็นการประหลาดมากที่ได้มาถือกำเนิดที่ตำบลบางช้างในป่าหลังวัดจุฬามณี เหมือนสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๑ แผ่นดินตำบลบางช้าง เมืองสมุทรสงคราม บริเวณหลังวัดจุฬามณีนี้ จึงนับว่าเป็นแผ่นดินที่เป็นมงคลยิ่ง เพราะเหตุ ๕ ประการคือ
    ๑) เป็นสถานที่กำเนิดของพระชนก-ชนนีของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ เท่ากับเป็นดินแดนต้นกำเนิดของราชนิกุลบางช้าง
    ๒) เป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๑ และ สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระราชินีในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งท่านเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขชาวสมุทรสงครามโดยตรง
    ๓) เป็นสถานที่ประทับดับร้อนของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก่อนที่จะไปเป็นแม่ทัพใหญ่ในสมัยกรุงธนบุรี และต่อมาได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ตั้งราชวงศ์จักรี ได้เคยฝากดาบฝากแหวนไปถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจากดินแดนแห่งนี้ ตำบลบางช้างจึงเป็นสถานที่ตั้งเนื้อตั้งตัวของพระองค์ท่านโดยแท้
    ๔) เป็นสถานที่ได้รับทุกขเวทนาของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ที่ต้องเสด็จหลบหนีภัยพม่าไปพักแรมอยู่ในป่าระหว่างทรงพระครรภ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    ๕) เป็นสถานที่ประสูติของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๓๑๐ สถานที่ประสูติ ในป่าหลังวัดจุฬามณี ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าต่อกันมาว่า ท่านเศรษฐีทองกับเศรษฐีสั้น เป็นเศรษฐีใจบุญชอบทำบุญฟังธรรมและถือศีลอุโบสถในวันพระ ๘ ค่ำและ ๑๕ ค่ำ เสมอเป็นนิจ มาวันหนึ่งซึ่งวันนั้นเป็นวันพระ ท่านเศรษฐีสองสามีภรรยาได้ไปถือศีลอุโบสถอยู่ที่วัดจุฬามณี ได้ปวารณาตนว่าจะยึดมั่นภาวนารัษาศีลเป็นเวลาคืนและวัน จะไม่ไปไหนหากยังไม่ย่างเข้าวันใหม่ จะไม่ออกจากวัดกลับบ้าน ซึ่งสมัยนั้นมีท่านเจ้าอาวาสของวัดจุฬามณีคือท่านพระอธิการอิน ซึ่งเป็นคนในตระกูลเศรษฐีบางช้างผู้หนึ่ง ได้มาอุปสมบทจนได้เป็นสมภารของวัดจุฬามณี พอตกกลางคืนบ่าวไพร่มาแจ้งว่าอัคคีไฟกำลังไหม้บ้านขอให้รีบกลับไป แต่ด้วยว่าท่านเศรษฐีทั้งสองมีความมั่นคงในบวรพุทธศาสนา ไม่ว่อกแว่กหวั่นไหวปลงใจตกว่า อันทรัพย์สมบัติย่อมจะต้องมีวิบัติ แม้แต่ชีวิตร่างกายของคนเราก็ยังมีเกิด มีดับ ไปเป็นธรรมดา เมื่อทรัพย์ยังอยู่ ชีวิตยังอยู่ก็ได้ใช้ทรัพย์ไป เมื่อทรัพย์สูญไปหรือชีวิตดับไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทรัพย์จะเป็นของเราก็หาไม่ ทรัพย์สมบัติเป็นของนอกกาย เมื่อชีวิตยังอยู่ก็คงทำมาหาได้ เมื่อคิดดังนั้นแล้วได้สั่งบ่าวไพร่ว่า ให้ขนทรัพย์สินที่พอหยิบยกได้เอาโยนลงคลองขนัดสวนไป ได้เท่าไรก็เอาขนใส่ลงไปเท่านั้น ส่วนตัวท่านทั้งสองทำใจยึดมั่นอยู่ในการเจริญภาวนาถือศีล รักษาอุโบสถ จวบจนกระทั่งรุ่งเช้าของวันใหม่ ท่านเศรษฐีทั้งสองก็กลับเคหาบ้านเรือนของท่าน ก็ปรากฎว่าอัคคีไฟไหม้บ้านเรือนของท่านไปหมดแล้ว

    เรื่องนี้แสดงว่า วัดจุฬามณีมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ท้าวแก้วผลึก(น้อย)เศรษฐีในวงศ์ราชนิกุลบางช้างคงสร้างวัดจุฬามณีนี้ขึ้นมาประมาณปีพุทธศักราช ๒๑๙๐ จะก่อนหรือหลังจากนี้ก็ไม่กี่ปี ท่านเศรษฐีสั้นพระชนนีของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ที่เคยมาถือศีลรักษาอุโบสถที่วัดจุฬามณีนี้นั้น ท่านได้มีอายุต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ ท่าน สิ้นอายุขัยไปในราวปีพุทธศักราช ๒๓๔๔ อายุได้ ๙๐ ปีเศษ ท่านคงเกิดในราวปีพุทธศักราช ๒๒๕๐ วัดจุฬามณีคงสร้างก่อนท่านเกิดราวประมาณ ๗๐ ปี เพราะท่านท้าวแก้วผลึก(น้อย) ผู้สร้างวัดจุฬามณีนี้เป็นคนในแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง เป็นธิดาท่านพลอย เป็นน้องสาวท่านชี ท่านชีเป็นมารดาของท่านเศรษฐีทอง จะเป็นด้วยว่า วัดจุฬามณี(วัดแม่เจ้าทิพย์)นั้นเป็นวัดเก่าแก่จริงๆซึ่งควรค่าแก่การศึกษาค้นคว้าแต่ก็คงยากพอสมควร เพราะว่าสภาพเก่าแก่ของวัดได้ถูกธรรมชาติรบกวนทำลายปรักหักพังไปเกือบหมดสิ้นแล้ว พระอุโบสถเก่าแก่ที่เชื่อว่าท่านเศรษฐีทอง เศรษฐีสั้นมาถือศีลรักษาอุโบสถได้ถูกรื้อทิ้งลงไปเพราะธรรมชาติได้ทำลายจนใช้การไม่ได้แล้ว ทางวัดในสมัยท่านพระครูโกวิทสมุทรคุณ(เนื่อง) จึงทำการสร้างอุโบสถในบริเวณที่ตรงนั้นด้วยประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งอุโบสถหลังเก่าพังยุบลงมาเหลือแต่ฐานล่างแล้ว จึงต้องรื้อไป

    วัดจุฬามณี ได้เคยเจริญรุ่งเรืองมาแล้วเพราะมีสมภารเจ้าอาวาสเป็นผู้มีสติปัญญาปราดเปรื่อง นามของท่านชื่อว่า ท่านพระอธิการเนียม นัยว่าท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๒ ที่สืบมาได้ของวัดจุฬามณี ท่านพระอธิการเนียมรูปนี้ ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าสืบกันมาว่า ท่านเชี่ยวชาญทางหนังสือขอม ในสมัยนั้นท่านสามารถให้กัมมัฏฐานกับบรรดาผู้ที่ใส่ใจเลื่อมใสใคร่อยากเรียนปฏิบัติ ไม่เพียงเท่านั้นท่านยังสามารถเป็นครูสอนหนังสือ มีญาติโยมส่งลูกหลานเข้ามาเรียนเป็นจำนวนมาก จนสามารถตั้งเป็นโรงเรียนสอนหนังสือไทยและหนังสือขอมขึ้นในวัดจุฬามณีได้ ต่อมาท่านได้ละสังขารไป เมื่อสิ้นท่านไปเสียแล้วในราวปีพุทธศักราช ๒๔๕๙ วัดจุฬามณีเกือบจะเป็นวัดร้างมีพระจำพรรษาอยู่เพียงไม่กี่รูป จนวัดเสื่อมสภาพทรุดโทรมปรักหักพังเสียเป็นส่วนใหญ่ ชาวบ้านทนดูสภาพความเสื่อมของวัดอยู่ไม่ได้จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกัน โดยมีกำนันตำบลปากง่าม(ปัจจุบันคือตำบลบางช้าง)เป็นประธานมีความเห็นตกลงกันว่า ควรไปขออาราธนาพระอาจารย์แช่ม โสฬส ซึ่งเป็นพระลูกวัดจำพรรษาอยู่ในวัดบางกะพ้อม มีพรรษาและคุณวุฒิความรู้ดีพอที่จะปกครองวัดให้เจริญรุ่งเรืองได้ จากหลวงปู่คง ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม สมัยนั้นหลวงปู่คงท่านทราบความประสงค์ท่านก็ไม่ขัดข้อง ได้ส่งหลวงพ่อแช่ม โสฬส ผู้เป็นศิษย์ที่ท่านได้อบรมสั่งสอนประสิทธิ์ประสาธน์วิชาธรรมปฏิบัติเป็นอย่างดีมาเป็นเจ้าอาวาส

    เมื่อหลวงพ่อแช่มท่านได้มาแล้ว ท่านได้ริเริ่มปลูกสร้างเสนาสนะสงฆ์และสร้างศาลาการเปรียญ จวบจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๓ ท่านได้ปฏิบัติภารกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสาธุชนด้วยความเมตตานุเคราะห์เป็นอย่างดีเจริญรอยตามหลวงปู่คงผู้อุปัชณาย์เพียบพร้อมทุกประการ มาถึงปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ หลวงพ่อแช่ม โสฬส ท่านจึงได้มรณภาพลงด้วยอายุ ๘๔ ปี ทำการประชุมเพลิงในปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ การประชุมเพลิงท่านสิ้นสุดลงแล้ว ทางการคณะสงฆ์จังหวัดเห็นสมควรที่จะแต่งตั้งพระภิกษุเนื่อง โกวิโท ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อไป ซึ่งต่อมาก็คือท่านพระครูโกวิทสมุทรคุณ(เนื่อง โกวิโท เถาสุวรรณ) ท่านรูปนี้เป็นศิษย์ทั้งของหลวงปู่คง ธมฺมโชโต และหลวงพ่อแช่ม โสฬส ตามลำดับ

    วัดจุฬามณี ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นระหว่างปีพ.ศ.๒๑๗๒ ถึงพ.ศ.๒๑๙๐ กุฎีและอุโบสถล้วนสร้างจากไม้สักไม้เนื้อแข็ง แต่กาลเวลาที่ล่วงเลยย่อมมีการเสื่อมโทรมผุพังตามสภาพเป็นธรรมดา เจ้าอาวาสที่ปกครองวัดหลายองค์ได้รับภาระบูรณะซ่อมแซมวัดที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ ให้มีสภาพมั่นคงสวยงามมาโดยตลอด โดยเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ พระครูโกวิทสมุทรคุณ(หลวงพ่อเนื่อง) โกวิโท เจ้าอาวาสองค์ก่อน ได้ประชุมคณะกรรมการวัดและศิษยานุศิษย์ เพื่อหารือสร้างอุโบสถหลังใหม่ แทนหลังเก่าที่เสื่อมโทรม ที่ประชุมเห็นชอบและได้ขอให้หลวงพ่อเนื่อง ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่มีลูกศิษย์ลูกหาเคารพนับถือทั่วประเทศออกวัตถุมงคลเหรียญ “หลวงพ่อเนื่อง” ซึ่งลูกศิษย์ทุกคนเรียกว่า รุ่นแซยิด น.บน และ นะ สังฆาฏิ แจกให้กับผู้ที่ร่วมสร้างอุโบสถหลังใหม่ และแผนงานทุกอย่างดำเนินการไปด้วยดีจนได้มีกำหนดวางศิลาฤกษ์อุโบสถวัดจุฬามณี ในวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๑ โดยนิมนต์ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก (จวน อุฏฐายี) เสด็จมาประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในเวลา ๑๒.๓๐ น. ด้วย ชื่อเสียงของพระเดชพระคุณหลวงพ่อเนื่องได้ระบือนาม ไปจนถึงในพระราชวังจนเมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารพร้อมด้วยสมเด็จพระโสมสวลีพระวรชายา โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์มากราบนมัสการพระเดชพระคุณหลวงพ่อเนื่อง และในวันเสาร์ที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์

    หลวงพ่อเนื่อง ได้ดูแลบูรณะปฏิสังขรณ์วัดจุฬามณี จนเป็นศาสนสถานอันร่มรื่น มีอุโบสถจตุรมุข หินอ่อน ๓ ชั้น กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร สูง ๑๐ เมตร ที่มีมูลค่าก่อสร้างนับสิบล้านบาท ได้มีลูกศิษย์และผู้มีจิตศรัทธาได้บริจาคเงินร่วมสมทบการก่อสร้างจนเงินเกินงบประมาณ หลวงพ่อเนื่องได้เฝ้าติดตามดูแลอุโบสถหลังใหม่ ที่สร้างด้วยความปราณีตพิถีพิถันอยู่นานถึง ๒๐ ปีเศษ อุโบสถก็กำลังจะเสร็จสมบูรณ์เหลือเพียงบานหน้าต่างอีกเพียงไม่กี่บาน และพื้นอุโบสถที่ปูหินอ่อนใกล้จะเสร็จเรียบร้อย แล้วในวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๐ เวลา ๐๖.๒๐ น. หลวงพ่อเนื่องก็ได้ละสังขารไปอย่างสงบ ทิ้งไว้แต่ผลงานสร้างวัดจุฬามณีให้ร่มรื่น เงินสดอีก ๒๙ ล้านบาทเศษ และอุโบสถหินอ่อนที่ใกล้จะแล้วเสร็จให้เจ้าอาวาสองค์ใหม่รับช่วงดำเนินการต่อไปท่ามกลางน้ำตาและความโศกเศร้าของลูกศิษย์ลูกหา

    ต่อจากนั้นพระอาจารย์อิฏฐ์ ภทฺทจาโร ศิษย์เอกของหลวงพ่อเนื่อง ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจุฬามณีด้วยวัยแค่ ๓๒ ปี พรรษา ๑๒ จากการลงคะแนนเลือกตั้งถึง ๒ ครั้ง โดยมีผู้เลื่อมใสในวัดจุฬามณีได้ร่วมกันลงคะแนนให้ความสนับสนุนอย่างท่วมท้นทั้ง ๒ ครั้ง และได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดจุฬามณี เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๒

    พระอาจารย์อิฏฐ์ เริ่มงานแรกด้วยการนำเงินจำนวน ๓๐ ล้านบาท ไปจัดตั้งมูลนิธิ“หลวงพ่อเนื่อง โกวิโท” นำดอกผลมาบำรุงสงฆ์ในวัด พัฒนาวัด และช่วยเหลือสาธารณะตามสมควร จากนั้นก็ได้สานต่องานสร้างอุโบสถของหลวงพ่อเนื่องที่ยังค้างอยู่ ปูพื้นอุโบสถชั้นบนสุดที่ยังค้างอยู่ด้วยหินหยก จากกรุงการาจี ประเทศปากีสถาน จนแล้วเสร็จ สร้างบานหน้าต่างด้านทิศเหนือที่ยังค้างอยู่อีก ๖ บาน ขนาดกว้าง ๔๐ ซ.ม. หนา ๑๐ ซ.ม. สูง ๓.๑ เมตร ด้านในแกะสลักเป็นลายไทย และเรื่องราวในนิทานชาดก ด้านนอกจะเป็นงานฝีมือสมุกรักฝังมุก ภาพตราพระราชลัญจกร ประจำรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ,รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ,รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ,รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ,รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช ,รัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว , รัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ,รัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ,รัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ,พระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตก์พระบรมราชินีนาถ สก. ,สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สว. ,สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามบรมราชกุมาร มวก. ,สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินทร สยามบรมราชกุมารี สธ. ,สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี จภ. ,ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) ๒๔๘๔ ,นพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) ๒๔๘๔ ,ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.) ๒๔๖๑ ,มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) ๒๔๕๒ ,มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ๒๔๑๖ ,ประถมภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ๒๔๑๒ ,ประถมภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) ๒๔๓๖ ภาพสมุกรักฝังมุกทุกภาพจะมีลักษณะวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐ ซ.ม. อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมของบานหน้าต่าง บานละ ๗ ภาพ บานซ้ายและบานขวาของแต่ละช่องหน้าต่างจะเป็นภาพที่เหมือนกันเมื่อรวมกับช่องบานหน้าต่าง ทวารประตูอุโบสถทั้งสี่ทิศแล้ว อุโบสถวัดจุฬามณี นอกจากนี้ยังมีภาพตราแผ่นดิน ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เรื่องราวของพระพุทธประวัติ นิทานชาดกต่างๆ ให้ประชาชนได้ศึกษาอีกนับเป็นจำนวนกว่า ๒๐๐ ภาพ ซึ่งขณะนี้แล้วเสร็จมีผู้คนที่สนใจมาขอเข้าชมเป็นจำนวนมาก

    ความเป็นมาของการเขียนจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถของวัดจุฬามณี ท่านพระครูโสภิตวิริยาภรณ์ (พระอาจารย์อิฏฐ์) เจ้าอาวาสวัดจุฬามณี ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม กำหนดจัดสร้างจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถของวัดซึ่งเป็นอุโบสถหินอ่อน จตุรมุข ๓ ชั้น ชั้นฐานกว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร สูง ๑๐ เมตร ประตูหน้าต่างด้านในแกะสลักเป็นลายไทย ส่วนด้านนอกเป็นงานฝีมือสมุกรักฝังมุก มีอัลลอยด์ลายดอกไม้เถาทุกประตูและหน้าต่าง และหน้าต่างด้านนอกมีรูปเทพประจำทิศเป็นอัลลอยด์

    อาจารย์อิฏฐ์ กล่าวว่า มูลเหตุจูงใจในการสร้างจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถของวัดนี้ เนื่องจากตลอดเวลาที่เข้าไปทำกิจกรรมของสงฆ์ในอุโบสถ เช่น ทำวัตร สวดมนต์ ทุกครั้งที่มองไปรอบ ๆ ฝาผนังและเพดานอุโบสถล้วนเห็นแต่ช่องว่างเปล่า น่าเสียดายพื้นที่ว่างเปล่าไม่ได้ประโยชน์เหล่านี้ จึงคิดที่จะสร้างจิตรกรรมฝาผนังและเพดานอุโบสถไว้เพื่อเตือนใจและจูงใจให้ศาสนิกชนได้ใฝ่ใจในธรรมะยิ่งขึ้น และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจศึกษาในศิลปกรรมจากจิตรกรรมฝาผนัง เป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาในเวลาเดียวกัน จึงได้ว่าจ้างช่างเขียนภาพจิตรกรรมในศิลปแบบอยุธยาผสมสานกับแบบรัตนโกสินทร์ ซึ่งท่านพระอาจารย์อิฏฐ์เรียกภาพจิตรกรรมนี้ว่าศิลปแบบ “รัตโนธยา” ได้เริ่มต้นการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังและเพดานอุโบสถ

    ลำดับจ้าอาวาส วัดจุฬามณี ที่สืบได้มีดังนี้
    ๑.พระอธิการอิน มรณภาพ
    ๒.พระอธิการเนียม มรณภาพ
    ๓.พระอาจารย์แป๊ะ ลาสิกขาบท
    ๔.พระอาจารย์ปาน ลาสิกขาบท
    ๕.หลวงพ่ออ่วม มรณภาพ
    ๖.พระอาจารย์นุ่ม มรณภาพ
    ๗.หลวงพ่อแช่ม มรณภาพ
    ๘.หลวงพ่อเนื่อง (พระครูโกวิทสมุทรคุณ เนื่อง โกวิโท)เถาสุวรรณ มรณภาพ
    ๙.พระอาจารย์อิฏฐ์ (พระครูโสภิตวิริยาภรณ์ อิฏฐ์ ภทฺทจาโร) น้อยมา องค์ปัจจุบัน

    สามสิ่งที่อยู่คู่วัด ซึ่งเป็นไฮไลต์ที่นักท่องเที่ยวทุกคนไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนวัดนี้ ได้แก่
    1. สังขารไม่เน่าเปื่อยของหลวงพ่อเนื่อง โกวิท อดีตเจ้าอาวาส
    2. อุโบสถจตุรมุขหินอ่อนที่มีความสวยงาม โดยอุโบสถหลังนี้มีขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ปูพื้นด้วยหินหยกสีเขียวจากเมืองการาจี ประเทศปากีสถาน ภายประดิษฐานพระประธานบนฐานสูง บานหน้าต่างด้านนอกลงรักฝังมุกเป็นภาพตราพระราชลัญจกร ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลปัจจุบัน พระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดจนภาพเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นต่างๆ นอกจากนี้บริเวณฝาผนังโดยรอบพระอุโบสถ ยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและนิทานชาดกที่ประณีต ฝีมือของจิตรกรหญิงนิตยา ศักดิ์เจริญ ซึ่งใช้เวลาในการวาดนานถึง 6 ปี
    3. องค์ท่านพ่อท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวเวสสุวัณ ตามความเชื่อของพระพุทธศาสนาที่มีสี่ภาค รวมทั้งคาถาขอพร
    - ร้านขายขนมทองม้วนสูตรโบราณที่สืบทอดวิธีการทำมาแต่ดั้งเดิม ตั้งอยู่บริเวณถนนทางเข้าวัด
    ที่มา: https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/1568
     
  7. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    CA90988B-5537-4321-9874-075B00431674.jpeg

    รูปหล่อท้าวเวสสุวรรณ วัดท่าซุง นอกจากตรงมณฑปท้าวมหาราชแล้ว ยังมีอีกจุดหนึ่งตรงศาลาพระองค์ที่ ๑๐ และ ๑๑ อยู่ตรงด้านหน้าโบสถ์เก่าติดริมแม่น้ำ อยู่ด้านในสุดของศาลา

    F8CC6F79-4EB6-48A8-9D56-A537E94DE96A.jpeg

    ท้าวเวสสุวรรณปางยักษ์ภายในศาลาพระองค์ที่ ๑๐ และ ๑๑ ผมถ่ายภาพนี้เมื่อราวๆ ๕ ปีก่อนปัจจุบันทางวัดได้บูรณะใหม่แล้ว ยังไม่มีโอกาสได้กลับไปถ่ายใหม่

    หากกล่าวถึงท้าวเวสสุวรรณ พระที่สื่อถึงท่านได้ก็ต้องหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุงนี่แหละ

    ประวัติความเป็นมาของท่านท้าวเวสสุวรรณ และท่านได้มาพบกับหลวงพ่อฤาษีอย่างไรนั้น มีความเป็นมาดังนี้


    ***************

    หลวงพ่อฤาษีเล่าเรื่องท้าวมหาราช

    .......มาวันนี้อารมณ์เริ่มทรงตัวขึ้นมาบ้าง ก็ใช้กำลังทรงตัวได้ แต่ถ้าใช้กำลังทรงตัวแน่นไปอีกก็ไม่เห็นอะไร พอขยับจิตเคลื่อนลงมานิดหนึ่งอยู่ในขั้นอุปจารสมาธิ ก็เห็นท่านท้าวมหาราชนั่งอยู่ข้างๆ ท่านท้าวมหาราชทั้ง ๔ เขาเรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล มีหน้าที่รักษาคุ้มครองชาวมนุษยโลก

    ถ้าสร้างความดีก็หาทางป้องกันช่วยเหลือ จะส่งเทวดาไปอารักขา ถ้าสร้างความชั่วก็สุดวิสัยที่จะช่วยได้ก็อดใจไว้ และก็มีหน้าที่บันทึกความดีความชั่วของคนทั้งการพูด การคิด การทำทุกอย่าง สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชอยู่กึ่งกลางเขาพระสุเมรุ

    คนที่ตายแล้วมาเกิดเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชได้ ต้องเคยได้ฌานสมาบัติ แต่เวลาตายไม่ได้เข้าฌานตาย ถ้าขณะที่ตายเข้าฌานตาย ก็จะไปเกิดเป็นพรหม ท่านท้าวมหาราชทั้ง ๔ คือ

    ๑) ท่านท้าวเวสสุวัณ คุมด้านทิศเหนือ
    ๒) ท่านท้าววิรุฬหก คุมด้านทิศใต้
    ๓) ท่านท้าวธตรฐ คุมด้านทิศตะวันออก
    ๔) ท่านท้าววิรูปักข์ คุมด้านทิศตะวันตก

    ท่านท้าวเวสสุวัณ เป็นท่านท้าวมหาราช คุมด้านทิศเหนือ

    ........ท่านท้าวเวสสุวัณ เป็นท่านท้าวมหาราชคุมด้านทิศเหนือ และเป็นประธานของท้าวมหาราชทั้ง ๔ บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช ในเมืองมนุษย์มักจะทำสัญลักษณ์เป็นรูปยักษ์ จะเห็นได้ตามวัด ตามถํ้า จะมีรูปปั้นยักษ์อยู่ทางด้านหน้าทางเข้า

    ก่อนที่ท่านจะมาเป็นท้าวมหาราชเขตจาตุมหาราช ถอยหลังไป ๑ ชาติ ในตอนต้นเลยทีเดียวที่ยังไม่มีพระพุทธศาสนา มีแต่ศาสนาพราหมณ์ ท่านมีนามว่า กุเวรพราหมณ์ เป็นชื่อเดิม

    ต่อมาท่านเป็นกษัตริย์ครองกรุงราชคฤห์มหานครทรงพระนามว่า “พระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์” ท่านเกิดรุ่นราวคราวเดียวกับเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งต่อมาทรงออกผนวชบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าทรง พระนามว่า “สมเด็จพระสมณโคดม”

    ท่านมีพระสหายอีก ๒ องค์คือ พระเจ้าปเสนทิโกศล ครองกรุงสาวัตถี กับท่านพันธุลเสนา รวมเป็น ๔ องค์ เป็นเพื่อนรักกันมาก ต่างคนต่างเป็นลูกกษัตริย์ สมัยนั้นไปเรียนหนังสือที่เมืองตักศิลาด้วยกัน

    ต่อมาเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารทรงออกมหาภิเนษกรมณ์ พระเจ้าพิมพิสารทรงคิดว่ามีเรื่องราวกับใคร จึงนิมนต์ให้เข้าประทับในเมือง จะมอบอำนาจให้ครึ่งหนึ่งและสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง ให้เป็นมหาอุปราช พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า

    “ไม่ได้หนีใคร ทรงเบื่อความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ต้องการแสวงหาโมกขธรรม คือธรรมอันเป็นเครื่องหลุดพ้นจากความตาย และต้องการเอาธรรมนั้นมา สอนคนอื่น”

    พระเจ้าพิมพิสารจึงบอกว่า ถ้าพระองค์ทรงบรรลุเมื่อไร ขอมาโปรดท่านก่อน พระพุทธเจ้าก็ทรงรับ เมื่อองค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแล้วก็ทรงสอนคนมาตามทาง จนกระทั่งถึงกรุงราชคฤห์มหานคร พบพระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวาร ก็ทรงเทศน์

    พอเทศน์จบปรากฏว่า พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบันพร้อมกับคนจำนวนมาก หลังจากนั้นก็ได้อาราธนาพระพุทธเจ้าเข้าประทับในพระเวฬุวันมหาวิหาร ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่นั้น พระเจ้าพิมพิสารไปเฝ้าทุกวัน ได้ถวายทานทุกวัน ฟังเทศน์ทุกวัน จึงมีอานิสงส์ ดังนี้ คือ

    การถวายทาน เป็นปัจจัยให้ได้ทิพยสมบัติ
    การถวายพระเวฬุวันมหาวิหาร เป็นเหตุให้ได้วิมานสวยงาม
    กำลังความเป็นพระโสดาบันและทรงฌานสมาบัติด้วย เป็นเหตุให้มีกำลัง เมื่อไปเป็นเทวดาก็ทรงอำนาจมาก

    เวลาที่ท่านจะตาย ท่านถูกลูกชายคือ พระเจ้าอชาตศัตรู ทรมาน คือพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นกบฏทรยศต่อพ่อ แย่งราชสมบัติแล้วก็ทรมานพ่อ โดยจับขังคุก ต่อมาให้อดข้าว เมื่อท่านยังเดินจงกรมได้ ท่านอยู่ด้วยธรรมปีติ แม้จะอดข้าวก็ไม่ตายผิวพรรณยังผ่องใส

    ในที่สุดเขาก็เฉือนเท้าไม่ให้เดิน ท่านก็มีความเจ็บปวดมาก แต่จิตใจก็นึกถึงองค์สมเด็จพระจอมไตร ท่านก็มีจิตใจชุ่มชื่น ปวดน่ะปวด แต่ท่านก็ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาว่า คนเราที่เกิดมาทุกคน แม้ฐานะจะต่างกัน แต่สภาพจริงๆ มันเหมือนกันคือ

    มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นเหมือนกันหมดทุกคน และก็เดินเข้าไปหาความแก่ มีทุกขเวทนา มีการทรมานจากร่างกาย และในที่สุดก็เป็นคนตาย ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ จะเป็นเศรษฐี คหบดี หรือคนยากจนก็ตาม มีสภาพเหมือนกันไม่มีอะไรแตกต่างกัน

    พระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์ท่านเป็นพระโสดาบันขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ เวลาตายท่านออกด้วยกำลังของฌาน ๔ จะต้องไปเกิดเป็นพรหม แต่พอจิตแยกออกจากกายแล้ว ท่านมีความรู้สึกด้วยอำนาจกำลังจิตที่เป็นทิพย์ว่า

    ก่อนที่ท่านจะมาเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร ท่านเคยเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชมาก่อน ท่านก็เลยไม่ไปอยู่พรหม มาอยู่ชั้นจาตุมหาราชที่เดิม เมื่อท่านเป็นเทวดาแล้ว ท่านก็ฝึกฝนจนเป็นพระอนาคามี และท่านไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว

    หลวงพ่อพบท้าวเวสสุวัณเป็นครั้งแรก

    ........ตามปกติฉันนอน 22.00 น. และตื่น 1.30 น. เป็นปกติ ทำวัตรสวดมนต์แบบย่อ ๆ พอเวลาใกล้ 2 น. ฉันก็เริ่มทำสมาธิ พอถึง 4 น. ฉันก็ดูตำรา 5 น. ฉันก็กลับทำสมาธิใหม่เพื่อรักษาอารมณ์ เวลาออกบิณฑบาตรตามแบบฉบับของพระโบราณ

    ปฏิปทาของพระสมัยใหม่ท่านทำกันอย่างไรฉันไม่รู้ ด้วยฉันแก่แล้ว และมานั่งเป็นฤาษีหัวล้านอยู่ในป่าห่างเมืองหลวงตั้ง 300 กม.เศษ จะรู้เรื่องของพระในเมืองหลวงได้อย่างไร

    วิธีที่เข้าฌานก่อนแล้วคลายอารมณ์มาสู่อุปจารฌานหรือปฐมฌานแล้วออกบิณฑบาตร แบบนี้ท่านเรียกว่าพระโปรดสัตว์ เพราะท่านที่ใส่บาตรมีผลมาก ได้บุญแรง มีลาภง่าย ยิ่งได้พระอริยเจ้าท่านเข้า ผลสมาบัติ คือ

    พิจารณาวิปัสสนาญาณก่อน เมื่อจิตสะอาดดีแล้วเข้าฌานเต็มกำลังแล้วคลายออก ทรงอยู่เพียงอุปจารฌานฌานหรือปฐมฌานอย่างนี้อานิสงส์ยิ่งมาก บุญมาก ลาภสูง ที่ท่านพอตื่นก็ร้องเพลงหรือนึกถึงคนรัก นึกถึง

    สถานหรือวิธีหากิน ซักซ้อมความคล่องเพื่อลาภสักการ อย่างนี้ท่านไม่เรียกพระโปรดสัตว์ ท่านเรียกว่าไปให้สัตว์โปรด ด้วยท่านไม่มีอะไรดีที่จะให้บรรดาท่านที่สงเคราะห์เลย นี่ว่ากันตามแบบพระโบราณไม่ทันสมัยนะ สำหรับท่านที่ทันสมัย มีลาภ มียศ มีคนสรรเสริญ มีกามสุขสมบูรณ์

    ท่านอาจจะมีความเห็นไปอีกอย่างหนึ่งและทำให้พระทันสมัยขึ้น อาจจะมีผลดีกว่าที่ฉันว่าอย่างนี้ ได้ฟังแล้วอย่าถือเอาไปเป็นแบบแผนนะ ประเดี๋ยวจะหาพระครึ ๆ อย่างฉันพูดไม่ได้ เลยไม่มีโอกาสทำบุญ

    พูดเลยเรื่องไปเสียแล้วอีกกระมัง มาเข้าประเด็น คำว่าประเด็นหมายความว่าอย่างไรฉันไม่รู้เรื่อง เคยเข้าในเมืองหลวงเห็นเขาพูดกันฉันก็เลยพูดบ้าง มันเข้าท่าหรือเปล่าก็ไม่รู้ เอาแบบเก่าดีกว่านะ พูดว่าเรามาเข้าเรื่องที่ค้างไว้ดีกว่า อย่างนี้ฟังง่ายดีนะ ขณะที่หลวงพ่อท่านเชิญ พอท่านหยุดนิ่ง ฉันไม่ประสงค์องค์อื่น อยากรู้จักท้าวเวสสุวัณองค์เดียว

    เห็นช่างภาพเขาเขียนรูปท่านเป็นยักษ์ ไม่ใช่ยักยอก เป็นยักษ์มีเขี้ยวยาว มีกระบองยาวคล้ายพลองลูกเสือ ท่าทางน่ากลัว ก็เลยอยากเห็นยักษ์ ตามข่าวที่เล่าลือกัน เขาว่าท่านมีอานุภาพมาก ฉันเลยขอท่านท้าวเวสสุวัณองค์เดียว กรุณามาให้เห็นเวลา 2 น.

    ฉันก็เข้าสมาธิ เรื่องของสมาธิ เข้าเพียงหายใจเข้าไม่ทันหายใจออกก็จมเบ้า (เต็มอัตรา) คำว่าจมเบ้าเป็นภาษาเด็กเลี้ยงควาย เกรงว่าจะหายสาบสูญไปเสีย ก็เลยเอามาพูดไว้เพื่อรักษาศัพท์วัฒนธรรมเลี้ยงควาย เมื่อถึงเวลา 2 น. ตรง ฉันก็คลายออกมาสู่อุปจารสมาธิเป็นอารมณ์ที่พอจะเห็นนิมิตได้

    เมื่อนาฬิกาตีบอกเวลา 2 นาฬิกาเพียงเป๋งแรก ทั้ง ๆ ที่หลับตา ก็มองเห็นชายคนหนึ่งนุ่งผ้าขาวห่มผ้าสไบเฉียงขาว ถือไม้พลองยาวแค่หัว เดินลิ่ว ๆ มาทางทิศเหนือ แกเดินเร็วเหลือเกิน ไม่ถึงนาทีมาถึงที่ฉันอยู่แล้ว ใจฉันบอกเลยว่าท่านผู้นี้คือท่านท้าวเวสสุวัณ

    ดูท่านแล้ว ท่านมายืนห่างจาก ฉันสัก 2 วา ท่านไม่มีเขี้ยว หน้าตาท่านสวย ผิวสวย ทรงงามมาก ไม่สวยตื้อต้าอย่างฉัน หัวท่านไม่ล้าน ความจริงตอนที่ฉันเห็นท่านวาระแรกหัวฉันไม่ล้าน แต่มีผมสั้นมากเพราะถูกโกน

    ดูท่านสักครู่ ท่านยืนเฉยไม่พูดอะไรเลย ชักนึกกลัวตะบองท่าน จึงออกปากเชิญ ท่านกลับบอกว่าขอบใจท่านอาจารย์ อาตมาขอชมบารมีเท่านี้ เชิญท่านกลับได้ ท่านยิ้มแล้วพูดว่า เมื่อท่านอยากเห็นผม ผมมาให้ท่านเห็นแล้ว ท่านกลัวผมทำไม (ท่านแอบรู้ใจเสียนี่ พวกเทวดานี่แย่มาก รู้แม้การนึก)

    เมื่อเห็นท่านพูดเพราะ ความจริงเสียงท่านเพราะมาก พูดจานิ่มนวลดีมาก ไม่เหมือนเสียงฉัน เสียงฉันไม่ต่างอะไรกับเสียงกะทะแตก เวลาพูดก็ไม่มีสำเนียงเพราะ ก็เรื่องของคนไกลเมืองหลวง มายาไม่ทันสมัย มันก็อย่างนั้นเอง จะดัดแปลงให้ทันสมัยหรือก็แก่จะเข้าเตาเผาเสียแล้ว ขนเอาวาจาโฮกฮากทิ้งไว้ เก็บเอาวาจาเพราะพริ้งมาใช้แทน ดีไม่ดีใครเดินมาพบวาจาโฮกฮากที่วางไว้เอาไปใช้แทน

    ถ้าอายุยังน้อยอยู่ อีกนานกว่าจะตายก็จะต้องใช้ไปอีกหลายปี เมื่อไม่มีคนชอบฟังก็จะลำบากอย่างฉัน ต้องเอาป่าเอาดงเป็นเรือนอาศัย และจะต้องตายในป่า ไม่มีเครื่องตั้ง ไม่มีเมรุประดับศพ อย่าทิ้งมันเลยพาตายไปด้วยดีกว่า เมื่อเห็นท่านพูดด้วยก็ชักมีกำลังใจ เลยชวนท่านคุย ท่านก็คุยด้วย เรื่องที่คุยก็ถามท่านว่า เมื่อช่วยหลวงพ่อได้ ช่วยฉันมั่งได้ไหม บอกท่านว่า ฉันมีสมาธิไม่ดี เวลาท่านมาขอให้เห็นง่ายๆ

    ท่านบอกว่าได้ ท่านว่าลืมตาหรือหลับตาก็ได้ จะได้เห็นสบาย ๆ
    เลยถามต่อไปว่าขอเห็นองค์อื่นและบริวารทั้งหมดด้วย องค์อื่น ๆ ท่านจะยอมไหม
    ท่านบอกว่ายอมทุกองค์ เลยบอกว่าอยากเห็นเดี๋ยวนี้ ท่านบอกว่าเขามากันครบแล้ว
    พอท่านพูดขาดคำก็เห็นครบทั้ง 4 องค์ ไม่เห็นมีเขี้ยวสักองค์ ท่านสวย ๆ ทุกองค์เมื่อท่านใจดีผีเลยเข้า ถามท่านว่า เทวดาเขามีชฎา ท่านมากันนี้ไม่เห็นมีชฏาสักองค์

    ท่านบอกว่ามาหาพระจะเอาหมวกสวมมาทำไม ท่านไม่ยักเรียกชฏา เรียกหมวก ถามท่านว่าขอเห็นภาพเต็มยศได้ไหม ท่านพูดว่าเขาไม่เรียกเต็มยศ เขาเรียกว่าเครื่องประดับเต็มอัตรา โดนท่านสอนภาษาไทยเข้าให้ ระยำจริง ๆ ท่านบอกอยากเห็นก็ได้ พอท่านพูดจบต่างก็มีเครื่องประดับแพรวพราวไม่เห็นไปแต่งตัวเปลี่ยนเครื่องเดิมที่ไหนเลย ถามท่านว่าทำไมแต่งตัวเร็วนัก ท่านบอกว่าพอนึกก็เสร็จ

    ดูของท่านมันง่ายทุกอย่างทั้ง 4 ท่าน ท่านถามว่าจำได้ไหม บอกว่าจำไม่ได้ ท่านพูดว่ามนุษย์ลืมง่าย
    ท่านกับพวกผม 4 องค์นี้เคยอยู่ร่วมกันมา วันหน้าจะเล่าให้ฟัง ท่านว่าอย่างนั้น เวลานี้สว่างมากแล้ว พระกำลังจะออกบิณฑบาตร ท่านเตรียมตัวไว้ออกบิณฑบาตร อยากฉันอะไร
    ตอบท่านว่า อยากฉันผักบุ้งต้มน้ำปลาที่เขาหั่นพริกใส่รวมกัน
    ท่านบอกว่า พอกลับถึงวัดจะมีคนเอามาให้ ถามว่าเมื่อบิณฑบาตรไม่ได้หรอกหรือ ท่านบอกว่าถือมาลำบาก เมื่อกลับถึงวัดจะมีคนนำมาให้เอง ท่านลากลับ

    ฉันก็ไปบิณฑบาต พอกลับมาวัด หลวงปานท่านเรียกเข้าไปหา
    ท่านถามว่าเมื่อคืนนี้ คุยกับท่านท้าวมหาราชสนุกไหม เรียนท่านว่าสนุก
    ท่านบอกว่าท่านท้าวมหาราชมาฟ้องว่า กลัวท่าน นึกในใจว่าเทวดานี่ปากบอนจริง แล้วก็รับกับท่านว่ากลัว

    ท่านบอกว่า ขอผักบุ้งต้มน้ำปลาใส่พริกเขาไว้หรือ เรียนท่านว่าขอรับ
    ท่านหัวเราะ แล้วหยิบถ้วยใส่ผักบุ้งต้มที่ถอนทั้งต้น ผักบุ้งอะไรแปลกจริง มันใหญ่ขนาดแขนเกือบจะลงไปได้ ยาวหลายวา ถ้วยที่ใส่เป็นถ้วยดินโบราณ โตเกือบเท่าชามกะละมัง มีน้ำปลาผสมพริก ไม่รู้ว่าพริกอะไรมันเผ็ดน่าดู แตะเข้าไปนิดเดียวน้ำหูน้ำตาไหล

    ท่านบอกว่าเก็บเอาไว้ ผักกินไม่หมดตากแดดไว้ เอาไว้ดูเป็นอนุสรณ์
    ถ้วยใบนั้นหายเสียเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่ทราบว่าใครเอาไป ฉันไปอยู่เสียที่กรุงเทพฯ เพื่อเรียนภาษาบาลี ถ้าอยู่สมัยนี้ลูกหลานคงจะได้ชมของโบราณ

    เป็นอันว่าเรื่องบวงสรวงที่ท่านทั้งหลายสมัยใหม่มั่ง เก่ามั่งหาว่าครึหรือไร้ผลนั้น มันไม่แน่นักหรอกนายเอ๋ย ทำกันจริง ๆ ค้นกันจริง ๆ คงเห็นว่าไม่ไร้ผล แต่เอาผลตามที่ควรเอา อย่าหวังผลเลิศจนเกินพอดี เชิญมาขอหวย เชิญมาขอให้เลื่อนยศฐาบรรดาศักดิ์ นี่ว่าตามภาษาคนเก่า สมัยนี้บรรดาศักดิ์ไม่มีแล้ว ของเก่ายังเหลือแต่ทว่าของใหม่ไม่มี หรือใครจะนึกมีเอาเองก็ไม่ทราบ

    เป็นอันว่าเรื่องบวงสรวงที่พูดมาแล้วขอผ่านไป มาพูดถึงท่านขุนด่าน ที่พวกฉันรู้จักก็เพราะเมื่อหลวงพ่อปานท่านจะสร้างวัดที่ไหน ท่านต้องบวงสรวงก่อนเสมอเพื่อขอให้ช่วย เมื่อท่านบวงสรวง พวกฉันสามลิงรวมอยู่ด้วย จึงรู้จักท่านขุนด่าน เพราะท่านขุนด่านท่านรับเชิญมาในพิธีบวงสรวงด้วย ท่านขุนด่านเป็นเทวดาชั้นอำมาตย์ของท่านท้าวเวสสุวัณ

    ที่มา: http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=2265

    C8B0228C-7C8E-4E07-933B-5E7AF3B841BA.jpeg

    ๕ สิงหาคม วันบรรลุธรรม
     
  8. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    4601EFA1-088E-4085-A1DB-CA62224A62C5.jpeg

    10261BE0-14C3-4426-A2D0-FB0D98C3AF5A.jpeg

    71FE6511-9C6A-4205-B12E-3031FA46F1C4.jpeg

    53E8F98D-8E3F-4C67-AF6F-5EA675175708.jpeg
    ท้าวเวสสุวรรณ วัดท่าพระ

    C0956124-7A97-44E6-BA08-B3B813FC5938.jpeg

    2646D45D-D32B-4AF6-A1BD-45E9121F2911.jpeg
    ท้าวเวสสุวรรณ วัดสวนแก้วอุทยาน สมุทรสงคราม

    85089FA3-6C13-451F-96D3-FAD510DDE0C6.jpeg
    ท้าวเวสสุวรรณ วัดประดู่ฉิมพลี

    8E37A621-70AC-4819-B44D-E46773A5FFEA.jpeg

    197BDF12-8EC1-4D1D-A16D-23DF178E4E0B.jpeg
    ท้าวเวสสุวรรณ สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
     
  9. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    E91EA382-2AE4-4152-87CB-956AA49FF1F4.jpeg

    F010610E-814A-455F-822F-4DA69C95DBE7.jpeg

    27E715C4-1F6A-497C-8DD2-29631E123FBB.jpeg

    FBF00B2F-4CF8-4374-B189-13C70BEE4F1A.jpeg

    วัดราชคฤห์วรวิหาร ตลาดพลู กรุงเทพ

    ตลาดพลู นอกจากจะขึ้นชื่อเรื่องของกินแล้ว ยังมีวัดเก่าแก่แต่โบราณเชื่อว่าเกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระเจ้าตากสินอยู่สองสามวัด แต่ละวัดมีความงดงามแบบโบราณ อิ่มท้องจากตลาดพลูแล้วมาอิ่มใจอิ่มบุญกันต่อก็นับมาดีทีเดียว

    ************************

    ประวัติวัดราชคฤห์วรวิหาร

    แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร


    นามเดิม ชื่อวัดวังน้ำวน เพราะวัดตั้งอยู่ติดคลองน้ำ ๓ สาย คือ ๑. คลองบางกอกใหญ่ (อยู่ด้านทิศเหนือคือของวัด) ๒. คลองบางน้ำชน (อยู่ทิศตะวันตกของวัด) ๓. คลองท่าพระ (อยู่ด้านทิศพายัพของวัด) มาจดชนติดกันเป็นเหมือนสี่แยก เวลานำทะเลหนุนขึ้น น้ำเค็มไหลทะลักเข้ามาตามคลองบางกอกใหญ่บ้าง ไหลทะลักเข้ามาทางคลองบางน้ำชนบ้าง ส่วนคลองบางกอกใหญ่ตามปกติน้ำจืดจะไหลมาตามคลองทางเขตภาษีเจริญ ก็ไหลมาชนกับน้ำเค็ม ตรงกันข้ามระหว่างคลองท่าพระน้ำจืดก็ไหลมาชนกับคลองบางกอกใหญ่ จึงทำให้น้ำที่ไหลมานั้นชนกัน ทำให้น้ำเกิดการหมุนเวียนเป็นวังวนขึ้น ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่แถบนั้นว่าวังน้ำวน เมือชาวบ้านได้สร้างวัดขึ้นจึงเรียกวัดนั้นว่า "วัดวังน้ำวน" เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย โดยมีชาวมอญกลุ่มหนึ่งซึ่งได้อพยพม่าโดยทางเรือจากกาญจนบุรี เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและสร้างบ้านเรือนอาศัยอยู่แทบริมคลองบางกอกใหญ่ และสถานที่แถบนี้เป็นชัยภูมิของทหารไทยได้ซุ่มยิงเรือข้าศึก จึงเรียกสถานที่นี้ว่า ตำบลบังยิงเรือ ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่ว่าบางยี่เรือ พอสงบศึกแล้วจึงได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ทำบุญกุศลและให้ลูกหลานเข้าเรียนหนังสือกันที่วัด โดยมีนายกองชาติรามัญ (มอญ) เป็นประธานในการสร้างวัด

    ต่อมาเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ตั้งค่ายรวมพลทหาร ณ สถานที่โพธิ์สามต้น เพื่อกู้ชาติ และเมื่อข้าศึกพม่ารู้ว่า ค่ายทหารพระเจ้าตากสินอยู่ที่โพธิ์สามต้น จึงได้ยกทัพเรือมาเพื่อรบตีทหารให้แตก พระเจ้าตากสินผู้รู้หลักตำราพิชัยสงคราม จึงรับสั่งให้ทหารหารมีพระยาพิชัยดาบหักเป็นต้น แบ่งทหารออกเป็นกองๆ เพื่อดักซุ่มโจมตีทหารพม่าที่มาตามคลอง โดยให้อยู่ตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆ ริมข้างคลองทุกๆ สายที่มาทางโพธิ์สามต้น และพระยาพิชัยดาบหัก พาทหารหารมาดักซุ่มโจมตีที่วัดราชคฤห์ โดยยิงปืนใส่ทหารพม่าที่มาจอดเรืออยู่ที่วังน้ำวน จึงทำให้ทหารพม่าล้มตายบ้าง บางท่านก็ลบหนีไปได้

    และเนื่องจากมีวัดอยู่ใกล้กัน ๓ วัด จึงเรียกชื่อตามตำบล วัดนี้ตั้งอยู่ทางเหนือน้ำไหลจึงเรียกว่า วัดบางยี่เรือเหนือ (วัดราชคฤห์) วัดบางยี่เรือกลาง (วัดจันทาราม) วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) แต่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปากว่า “วัดมอญ” สัณนิฐานว่าคนมอญช่วยกันสร้างและพระมอญอยู่จำพรรษาประจำอยู่วัดนี้มาก จึงเรียกชื่อว่าวัดมอญ

    เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กู้ชาติไทยได้สำเร็จและขึ้นครองราชย์ จึงได้สถาปนาราชธานีขึ้นใหม่ ชื่อว่า "กรุงธนบุรี" จากนั้น พระองค์พร้อมด้วยทหารคู่ใจ คือพระยาสีหราชเดโช (พระยาพิชัยดาบหัก) ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางยี่เรือเหนือ มีสร้างพระอุโบสถสร้างพระปรางค์เหลี่ยมย่อไม้ยี่สิบ อยู่ทั้ง ๔ ด้านของพระอุโบสถ สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่นำมาจากกรุงราชคฤห์แห่งประเทศอินเดียสร้างพระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง และสร้างภูเขาจำลอง (ภูเขามอ) พร้อมทั้งสถูปนำเอาพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ เพื่อให้เป็นที่สักการบูชาแก่พุทธศาสนิกชนสืบมา
    ที่มา: http://www.watrajkrueh.com/History1.htm
     
  10. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    5B1D943C-6C66-4633-8B6C-F859B4EA0AC4.jpeg

    536F3C42-D5B5-44F4-8ABC-ED53D3A739B2.jpeg

    4BF04465-07B5-4362-A3D5-9F5870A9330A.jpeg

    D6D50C6A-45B6-43B5-90E6-8726D18F0DC2.jpeg

    วัดราชคฤห์วรวิหาร(๒)

    มาวัดคราวก่อนบริเวณหน้าพระปรางค์พระยาพิชัย จะมีรูปหล่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และขุนศึกคู่พระทัยอีกสองท่านคือ พระยาพิชัยดาบหัก และหมื่นหาญณรงค์(บุญเกิด) มาคราวนี้ไม่เห็นมีแล้ว รึว่าเราจำผิดวัด เลยเดินหาหมุนซ้ายหมุนขวา ก็เห็นวิหารสร้างใหม่อยู่บริเวณริมน้ำ มองผ่านหน้าต่างเข้าไป ใช่แล้ว ทางวัดได้สร้างวิหารขึ้นใหม่เป็นที่ประดิษฐาน จากเดิมเป็นแค่หลังคาโครงเหล็กเปิดโล่ง ตรงหน้าพระปรางค์ คราวนี้ย้ายมาตรงริมน้ำ บรรยากาศดีมากทีเดียว
     
  11. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    B5052B14-5542-4BF9-B98E-2BFBDE65AACD.jpeg

    CFA3B2C2-8F75-4247-B512-95CE0CC154B6.jpeg

    2CEE6DF3-5627-4199-9146-52DAF59A2279.jpeg

    8B415832-A74C-4D9B-95BA-2C7DE6879F9A.jpeg

    วัดราชคฤห์วรวิหาร(๓)

    สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์พร้อมด้วยทหารคู่ใจ คือพระยาสีหราชเดโช (พระยาพิชัยดาบหัก) ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบางยี่เรือเหนือ มีสร้างพระอุโบสถ สร้างพระปรางค์เหลี่ยมย่อไม้ยี่สิบ อยู่ทั้ง ๔ ด้านของพระอุโบสถ สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่นำมาจากกรุงราชคฤห์แห่งประเทศอินเดียสร้างพระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง(พระนอนหงาย) และสร้างภูเขาจำลอง (ภูเขามอ) พร้อมทั้งสถูปนำเอาพระบรมธาตุมาบรรจุไว้ เพื่อให้เป็นที่สักการะบูชาแก่พุทธศาสนิกชนสืบมา

    สมัยรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้ เจ้าพระยาพระคลังหนไปบูรณปฏิสังขรณ์วัดอีกครั้งหนึ่ง แล้วทรงสถาปนาขึ้นเป็นวัดพระอารามหลวงชื่อว่า วัดราชคฤห์ ชนิดวรวิหาร (พระอารามหลวงชั้นตรี) และสร้างสถูปไว้บนยอดเขามอ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๔

    สมัยราชกาลที่ ๓ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ ได้มีพระกรุณาโปรดให้พระบรมวงศานุวงค์ ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์พระอารามหลวง สมเด็จกรมพระเดชาดิศร ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ เช่นสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น ส่วนพระอุโบสถหลังเก่าใช้เป็นวิหารใหญ่ ได้บูรณปฏิสังขรณ์ภูเขามอซึ่งบรรจุพระบรมธาตุ กับสร้างมณฑปขึ้นบนยอดเขามอซึ่งเป็นลานสำหรับพุทธศาสนิกชนได้มากราบนมัสการพระบรมธาตุที่บรรจุไว้

    ที่มา: http://www.watrajkrueh.com/
     
  12. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    95F78927-1998-4B42-9D69-D43B5EF98F2A.jpeg

    5DB7D36A-3C05-4B21-9374-2E12DCAC6ABC.jpeg

    C9C0BD29-698E-45AD-9BB8-1727D14506A2.jpeg

    321BB357-7268-43E5-8C4F-4A8C060C3B33.jpeg

    8CB3DD6E-5FBE-47E4-8092-DA2EB154E687.jpeg

    1BECFE90-DCE8-4294-8131-46C7C32233A9.jpeg

    วัดราชคฤห์วรวิหาร(๔)

    ภายในพระอุโบสถ ทาสีขาวโดยรอบ ไม่มีจิตรกรรมฝาผนัง ดูสงบเงียบเรียบง่ายดี แม้บนเพดานก็ทาสีน้ำตาลตลอดไม่มีลายรดน้ำปิดทองใดๆ พระประธานดูงดงามมากๆ มีหมู่พระพุทธรูปปางต่างๆอยู่โดยรอบ

    บรรยากาศสงบเงียบ มีผู้คนแวะเข้ามากราบไหว้บ้างไม่มากนัก เหมาะสำหรับผู้ที่อยากเข้ามาพักสงบจิตใจทบทวนใคร่ครวญชีวิตที่ผ่านมา
     
  13. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    A7CA95D9-088B-41DB-A8BB-45D48BD5FE20.jpeg

    639E5F1A-8AD3-41A3-ACF6-380A21CFA34D.jpeg

    E761E7CA-77B2-4D05-9494-EA7ADD1502BF.jpeg

    9BFFA222-FE69-4742-B49B-7B5F91C4BD99.jpeg

    F2CCA26A-FD44-439D-AB35-AFAD0A83E5B6.jpeg

    วัดราชคฤห์วรวิหาร(๕)
    วิหารเล็ก(วิหารพระนอนหงาย)

    โดยปกติเรามักจะเคยเห็นพระนอนที่นอนตะแคงที่เรียกว่าสีหไสยาสน์กันชินตา แต่มาที่วัดนี้เห็นป้ายบอกวิหารพระนอนหงายก็รู้สึกแปลกใจเพราะปกติพระพุทธองค์จะไม่นอนหงายจะบรรทมด้วยท่าสีหไสยาสน์ เราจึงเดินเข้าไปดูในวิหารก็ได้ความว่า
    พระนอนหงายนี้ ก็คือปางถวายพระเพลิงนั่นเอง โดยปกติปางนี้จะเคยเห็นทำเป็นโลงแล้วมีพระบาทยื่นออกมากันมากกว่า สำหรับพรนอนหงายองค์นี้ก็ยังคลุมเครือว่าสร้างในสมัยใดบ้างว่าสร้างในสมัยพระยาพิชัย บ้างว่ามีมาแต่เดิมแล้วพระยาพิชัยมาบูรณะ ดังนี้


    **********************

    พระยาพิชัยดาบหักได้สร้างพระปางนอนนี้ขึ้น เพื่อเป็นการบำเพ็ญบุญอุทิศกุศลให้ผู้ที่ตนไปฆ่าทหารชาวบ้านล้มตายไปเป็นจำนวนมาก (เป็นเหมือนชดใช้กรรมที่ฆ่าคนตายไป)

    พระพุทธรูปปางนอนหงายนี้ เป็นพระปางถวายพระเพลิง หลังจากพระพุทธธเจ้าดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้นำผ้าใหม่ซับด้วยสำลีแล้วพระพุทธสรีรศพห่อด้วยผ้าห้าร้อยคู่ แล้วเชิญพระพุทธสรีรศพลงประดิษฐานโดยลักษณะนอนหงาย ณ รางเหล็กอันเต็มด้วยน้ำมันแล้วปิดครอบด้วยฝารางเหล็กเสร็จ แล้วนำไปตั้งไว้บนจิตกาธารที่ทำด้วยไม้หอมล้วนๆ ที่มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา เพื่อทำฌาปนกิจถวายพระเพลิง แล้วจึงได้ทำการประชุมพระเพลิงแต่ปรากฏว่าไฟไม่ติด รอจนพระมหากัสสปเถระเดินทางมาถึง แล้วได้กราบพระพุทธสรีรศพ พอกราบครบ ๓ ครั้ง ปรากฏว่าไฟติดขึ้นมาอย่างหน้าอัศจรรย์ ดังนั้นจึงเรียกพระปางนี้ว่า ปางถวายพระเพลิง มีแห่งเดียวในประเทศไทย ชาวบ้านเคารพกันมากจึงมากราบไหว้ขอพรกันทุกวันไม่ขาด

    ที่มา: http://www.watrajkrueh.com/06.htm

    **********************

    ที่วัดราชคฤห์วรวิหาร มีพระพุทธรูปที่มีลักษณะพิเศษองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง หรือพระนอนหงาย ซึ่งมีอายุเก่าแก่นับตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าเอกาทศรถ ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงมีความสมบูรณ์อย่างมาก

    ในหนังสือประวัติวัดราชคฤห์วรวิหาร พ.ศ. 2549 ได้ให้ข้อมูลประวัติพระนอนหงายในสมัยกรุงธนบุรีเพิ่มเติมว่า

    “พระยาพิชัยดาบหัก ได้บูรณะปฏิสังขรณ์วิหารเล็กแล้ว จากนั้นก็บูรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปปางถวายพระเพลิง (พระนอนหงาย) เพื่อเป็นการบำเพ็ญบุญอุทิศกุศลให้แก่เพื่อนทหารที่เป็นข้าศึกและชาวบ้านที่ล้มตายเป็นจำนวนมาก เพราะตนเป็นต้นเหตุเป็นเหมือนการชดใช้ถ่ายกรรมที่ตนได้ฆ่าคนตายไป ดังนั้นชาวบ้านจึงนิยมมากราบไหว้ขอถ่ายกรรมและขอพร เพื่อให้ประสบความสำเร็จ มีโชคมีลาภ เป็นการแก้ร้ายให้กลับกลายเป็นดีกันเป็นจำนวนมาก”

    ประวัติของวัดราชคฤห์มีอยู่หลายสำนวน และพระยาพิชัยดาบหักก็มักจะมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องราวเหล่านี้อยู่ด้วย แต่จากที่ ทัศน์ ทองทราย ไปค้นหาข้อมูลมาทั้งหนังสือศิลปวัฒนธรรมไทย เล่ม 4 วัดสำคัญกรุงรัตนโกสินทร์ โดยกรมศิลปากร พ.ศ. 2525 และหนังสือประวัติวัดราชคฤห์ โดย ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2528 ระบุเพียงว่า

    “ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี คงมีการบูรณปฏิสังขรณ์วัด เพราะเชื่อว่าพระยาพิชัยดาบหัก แม่ทัพสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นผู้สร้างพระอุโบสถ ซึ่งปัจจุบันคือพระวิหารใหญ่ และพระปรางค์ด้านหน้าพระวิหารใหญ่”

    ขณะที่ สุรินทร์ มุขศรี ได้ตั้งข้อสังเกตว่า “เรื่องของพระยาพิชัยมีข้อน่าสังเกตคือ หากพระยาพิชัยเป็นผู้สร้างโบสถ์ที่วัดนี้ท่านควรจะสร้างขึ้นช่วงใด เนื่องจากดูตามประวัติแล้วพระยาพิชัยมีเวลาใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงธนบุรีน้อยมากเพราะต้องออกจากสงครามตลอด ครั้นปี ๒๓๑๒ ได้ขึ้นไปเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองพิชัย เพื่อคุมกำลังป้องกันพม่าอยู่ทางหัวเมืองเหนือ จนเสร็จศึกที่เมืองเชียงใหม่ในปี ๒๓๑๗ พระยาพิชัยจึงมีโอกาสตามเสด็จลงมากรุงธนบุรีอีกครั้ง แต่อยู่ได้ไม่ถึงปี อะแซหวุ่นกี้ก็ยกมาล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ พระยาพิชัยขึ้นไปรบพร้อมกับทัพหลวง และหลังศึกคราวนี้ท่านรักษาการอยู่ที่เมืองพิชัยจนสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี”

    ประวัติวัดราชคฤห์จึงยังมีความคลุมเครือ แต่ก็มีความน่าสนใจให้ศึกษา และยังมีพระพุทธรูปลักษณะพิเศษที่หาชมได้ยาก ชาวพุทธหรือผู้สนใจประวัติศาสตร์ท่านใด หากได้แวะเวียนไปย่านธนบุรี ก็น่าพิจารณาหาโอกาสเข้าเยี่ยมชมวัดเก่าแก่แห่งนี้ดู

    อ้างอิง: “วางดาบ ถ่ายกรรม ก่อเขา จารึก คลุมเครือ” ที่วัดราชคฤห์วรวิหาร. ทัศน์ ทองทราย. นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับธันวาคม 2552

    ที่มา: https://www.silpa-mag.com/history/article_6153
     
  14. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    0504ABAE-6675-4F96-90E3-45F6646F2675.jpeg

    8F63D570-F295-424E-8A10-884F3B950600.jpeg

    ECE1B96B-7D60-4CE2-A454-702D819F7B3A.jpeg

    94878F0E-AA9D-474F-9C46-04531CB31135.jpeg

    82D065AE-9182-49C3-9177-99F901885C5E.jpeg


    วัดราชคฤห์วรวิหาร(๖)
    พระวิหารใหญ่


    วิหารใหญ่นี้ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ อายุประมาณ ๓๐๐ – ๔๐๐ ปี แต่เดิมมา เป็นอุโบสถหลังเล็ก หลังคามุ่งด้วยสังกระสี แต่เมื่อพระยาพิชัยดาบหักได้บูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถขึ้น โดยรื้อของเก่าออกแล้วสร้างใหม่ทั้งหลังลักษณะรูปแบบเหมือนอุโบสถสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วได้นำเอาพระพุทธรูปองค์ใหญ่มาประดิษฐานไว้ภายในพระอุโบสถ ชาวมอญนับถือกันว่าเป็นพระที่ให้ความสำเร็จ เพราะได้ไปขอพรจากหลวงพ่อแล้ว เกิดได้รับความสำเร็จตามความปรารถนา จึงทำให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสมากในครั้งนั้น

    ในสมัยพระบาทเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดานิ่ม ผู้ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ต่อจากท่านผู้เป็นตา โดยทรงสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ พระอุโบสถหลังเก่าก็ทำเป็นวิหารใหญ่ ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ชาวบ้านมีศรัทธาไปไหว้กันไม่ขาด หลังจากวัดได้ว่างจากเจ้าอาวาส ไม่มีใครดูแลพระอุโบสถ ปรากฏว่ามีสิ่งของภายในวัดหายไป ดังนั้น ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสโดยคณะสงฆ์ จึงสั่งให้ปิดพระวิหารไว้

    พระวิหารใหญ่ เป็นอาคารก่ออิฐ ถือปูน ขนาด ๕ ห้อง กว้าง ๘ เมตร มีมุขด้านหน้าและด้านหลัง กว้าง ๗.๕๐ เมตร รวมยาว ๒๔ เมตร ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย ทรงสูงโปร่ง ฐานหย่อนโค้งท้องสำเภา หลังคาประดับช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ หน้าบันและหน้าอุดปีกนกเป็นไม้แกะสลักลวดลายเครือเถา มีสาหร่ายรวงผึ้งห้อยลงใต้หน้าบันระหว่างเสา ซึ่งเป็นเสารูปแปดเหลี่ยมมีบัวหัวเสาเป็นรูปบัวตูม ด้านหน้ามีประตูตรงกลาง ๑ ประตู ซุ้มประตูทรงมณฑปประดับลวดลาย บานเขียนภาพทวารบาล ด้านข้างวิหารไม่มีหน้าต่าง มีเพียงประตูขนาดเล็กตรงกลางด้านละ ๑ ประตูซุ้มประตูทรงมงกุฎเรียบไม่มีลวดลาย และด้านหลัง มีประตูขนาดเล็ก ๒ ประตู ซุ้มเรือนแก้ว ปูนปั้น

    ภายในพระวิหารมีภาพเขียนฝาผนังเป็นลายดอกไม้ร่วง(ปัจจุบันไม่มีแล้ว) และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ มากมาย ที่ฝาผนังมีซุ้มคูหาประดิษฐานพระพุทธรูปโดยรอบ และมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานเป็นประธาน ภายนอก ๔ มุม ของพระวิหาร มีเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อไม้ยี่สิบประดิษฐานอยู่ พระวิหารนี้ หลังจากที่สมเด็จพระพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร ได้ทรงสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนพระอุโบสถเดิมจึงใช้เป็นพระวิหารเรียกกันว่า “พระวิหารใหญ่ พิชัยดาบหัก” ในปัจจุบัน

    ที่มา: http://www.watrajkrueh.com/05.htm
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    2D7AE60C-21E7-4BB0-BD34-EDF821415CA1.jpeg

    3EFC5113-911B-42BA-A347-CD22BDBEC5B4.jpeg

    1CB90539-7C4A-453E-85F4-823C5DC93BF2.jpeg

    FCE1EE59-A1ED-4F78-884C-A389E4F3EFE8.jpeg

    วัดราชคฤห์วรวิหาร(๗)
    มณฑปครอบรอยพระพุทธบาทบนเขามอ


    รอยพระพุทธบาทนี้เป็นของจำลอง อยู่ภายในมณฑปบนเขามอ ที่ไม่สูงมากนัก ทางขึ้นลงสะดวกขึ้นลงได้หลายทาง บางทางทำเลียนแบบธรรมชาติ คดเคี้ยวไปมาก็มี เมื่อขึ้นไปถึงด้านบนมณฑปจะพบรอยพระพุทธบาทวางไว้ตรงกลาง แต่สิ่งที่สะดุดตาก็คือลายภาพเขียนพระพุทธเจ้าลงรักปิดทองขนาดใหญ่ งดงามมาก บางส่วนเริ่มชำรุดไปตามเวลาจากความชื้น มองเหนือขึ้นไปบนฝ้าเพดาน ก็พบกับการเล่นระดับของฝ้าและลวดลายการเขียนสี งดงามมากๆเช่นกัน ความเก่าแก่ของมันบอกเล่าเรื่องราวผ่านกาลเวลาให้เราได้ฟัง

    **********************

    พระมณฑปบนเขามอ

    ในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดบางยี่เรือ (มอญ) ขึ้นเป็นวัดราชคฤห์ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เสนาบดีกรมท่า ได้บูรณปฏิสังขรณ์ภูเขาด้วยหินทะเล จึงเรียกชื่อว่า เขามอ แล้วสร้างมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง สร้างสถูปบรรจุพระบรมธาตุพระอรหันต์ และพระศรีอารย์ผู้บำเพ็ญบารมี ไว้บนยอดเขา

    กลอนจารึกเรื่องสร้างภูเขาวัดราชคฤห์

    เจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่ง กติกามาศปีกุญตรีศก

    กลอนจารึกเรื่องสร้างภูเขาวัดราชคฤห์

    พระยาพระคลังตั้งจิตต์อุปถัมภพตกแต่งคิรีเสร็จสำเร็จการ


    • กระทำพระสถูปด้วยคันธรศ........ปรากฏยอดไศลอันไพศาล
    เชิญพระบรมธาตุศาสดาจารย์.......ประดิษฐานไว้ในเจดีย์

    • ให้เป็นที่ชลีกรอมรเมศร์........ทั่วประเทศทวีปชมพูศรี
    เป็นเฉลิมเจิมผลพันทวี.......จะข้ามโอฆวารีอันกันดาร

    • หนึ่งกระทำธงทองประคองถวาย.......ทั้งฉัตรข่ายกันแสงพระสุริย์ฉาน
    อากาศประทีปรัตน์ชัชวาล.......อธิษฐานบูชิตเป็นนิจไป

    • ทำภูเขาเอาศิลาเลือกประดับ.......ซ้อนสลับเอมงอกซอกไศล
    บ้างเป็นถ้ำอำพนเวียนวิไล.......บ้างเป็นไหล่ผาเลียบเล่นสำราญ

    • มีอาศรมใหญ่น้อยลอยวิเวก.......เสลขมโนระโหฐาน
    พระดาบสตั้งพรตสำรวมฌาน........ดังว่าได้อภิญญาณสำราญกาย

    • บ้างเป็นเวิ้งน่าร่าศิลาทะล.......น้ำพุพุ่งกะเด็นเป็นแสงสาย
    มีอ่างแก้วถ่องแถวศิลา........น้ำใสปลาว่ายเป็นน่าดู

    • ล้วนสีเงินทองพรายหลายอย่าง.......สามหางกระโดงปักก็อักขู
    บ้างวุ่นว่ายหมุนศีร์ษะชู........กระดิกหางถึงหูเข้าเล็มไคล

    • มีน้ำพุดุดั้นลงท้องธาร........เซ็นซ่านกระแสร์เชี่ยวเลี้ยวไหล
    ริมชลรื่นรุกข์ระดับใบ.........อำไพด้วยดอกผลพวงผกา

    • แล้วมีสัตว์จัตุบาททวิบาท........ประดับดาษชั้นช่องในเชิงผา
    ฝูงชะมดฉมันเม่นโคลk.........กาษรสุพยัคฆะอย่างเป็น

    • กวางทรายชายเล็มระบัดอ่อน.........พังพอนกะลุมพุกเหี้ยเห็น
    คณาช้างอย่างประหนึ่งว่ายามเย็น........ออกเล่นชายทุ่งสำเทียรดง

    • แรดร้ายกรายเที่ยวไปธาร.........หมีทะยานขึ้นไม้ไพรระหง
    ละมาดละมั่งจังกวดหนีกะจง.........สุกรดงดูดดินดาษดา

    • กะแตแย้ตุ่นตุดตู่ร้อง.........กะต่ายลองเชิงโลดแล่นหา
    ลิงจุ่นลิงลมลิ่งคณา........เลียงผาเผ่นผาเป็นน่ากลัว

    • ชะนีห้อยโหนไม้หกหัน........เมื่อสายัณห์เหมือนจะร้องคะนึงผัว
    มยุรารำฟ้อนชะอ้อนตัว.......มีทั่วทุกพันธ์สกุณา ฯ

    • จะร่ำหมู่นกไม้ในศิขเรศ........งามวิเศษดั่งช่ายอันเลขา
    บรรจงแต่งแกล้งอุททิศบูชา........พระมหาพรมธาตุวรญาณ

    • แล้วเชิญภูมิเทวาศักดาฤทธิ์.......สถิตเงื้อมคีรีอันพิศาล
    ช่วยประคองต้องอันตรายพาล.......อย่าให้สถานพระสถูปจลาจล

    • ขอตั้งปรารถนาศิวาลัย........แม้ยังไป่ล่วงลุแก่มรรคผล
    จะเที่ยวท่องอยู่ในท้องชเลวน........จงอย่าพ้นสมบัติสองประการ

    • กำเนิดภพมนุษย์ให้ไพบูลย์.......ในตระกูลกษัตริย์มหาศาล
    เป็นชายชาตินักปราญช์อันปรีชาญ.......อนึ่งให้พานพบพุทธพยากรณ์

    • แม้อุบัติในสวรรค์ชั้นใดใด........จงเป็นอธิปไตยอดิศร
    ให้รู้รสธรรมาในอาวรณ์........เป็นที่อมรเทพอัญชลี

    • หนึ่งแม้นจะเวียนวนในชนชาติ.......ให้นิราศอบายทุกข์ทั้งสี่
    กว่าจะเสร็จศิวโมกข์โมลี........บุรีรัตน์มหานิพพาน เอย ฯ

    เจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่ง กติกามาศปีกุญตรีศก

    ที่มา: http://www.watrajkrueh.com/07.htm
     
  16. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    D00F22FF-FA0D-4122-B502-96F3AA6FFB3E.jpeg

    988A87BD-49B6-4FF8-9E5D-A81D8DACF643.jpeg

    53C931E9-D6BB-4025-8253-CED30C04F107.jpeg

    23237208-7777-48E4-8D45-21509F891FC1.jpeg

    82CA07C6-62A1-4839-9ECC-DE7F2424D361.jpeg

    วัดอินทารามวรวิหาร(๑) ตลาดพลู

    พระราชปณิธานในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    อันตัวพ่อ ชื่อว่า พระยาตาก
    ทนทุกข์ยาก กู้ชาติ พระศาสนา
    ถวายแผ่นดิน ให้เป็น พุทธบูชา
    แด่พระศาสนา สมณะ พระพุทธโคดม

    ให้ยืนยง คงถ้วน ห้าพันปี
    สมณะพราหมณ์ชี ปฏิบัติ ให้พอสม
    เจริญสมถะ วิปัสสนา พ่อชื่นชม
    ถวายบังคม รอยบาท พระศาสดา

    คิดถึงพ่อ พ่ออยู่ คู่กับเจ้า
    ชาติของเรา คงอยู่ คู่พระศาสนา
    พุทธศาสนา อยู่ยง คู่องค์กษัตรา
    พระศาสดา ฝากไว้ ให้คู่กัน ฯ

    (จากจารึกในศาลพระเจ้าตากสินมหาราช
    วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร)
     
  17. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    6E9C9260-2B0B-4930-A367-736BACE400B6.jpeg

    BD92AD65-C50C-404E-915B-1A3D684282FC.jpeg

    93B39C38-B080-4D60-A568-AAF01232842F.jpeg

    วัดอินทารามวรวิหาร(๒)
    ตลาดพลู


    พระแท่นบรรทม สมเด็จพระเจ้าตากสิน วัดอินทาราม ตลาดพลู


    จากข้อมูลวัด วัดนี้เคยเป็นที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานของสมเด็จพระเจ้าตากสินด้วยพระองค์ท่าน ถูกพระราชหฤทัยในสถานที่ แต่เดิมเชื่อว่ามีข้าวของของพระองค์ท่านถูกเก็บไว้มาก แต่ด้วยกาลเวลาโดยเฉพาะช่วงสงครามโลก วัดแทบจะร้าง ข้าวของต่างๆจึงถูกขโมยไปมากเหลือเพียงพระแท่นบรรทมของพระองค์ท่านเพียงอย่างเดียว สำหรับพระแท่นบรรทมสมเด็จพระเจ้าตากสินไปค้นข้อมูลมาพอได้ความว่า.....

    **********************

    ** พระแท่นและพระแท่นบรรทม ตอนที่ ๑ **

    จากหนังสือ “เรื่องเก่า ๆ ของเจ้านาย” โดย หลวงนายฤทธิ์

    เมื่อเร็ว ๆ นี้ข้าพเจ้าผู้เล่าเรื่องนี้ ไปส่งต้นฉบับ แล้วก็ได้พบ ผอ.บ.ก. คุณวาทิน ปิ่นเฉลียว ซึ่งเคยอยู่สถานศึกษาเดียวกันแต่ท่านเป็นรุ่นพี่หลายปี ผอ.บ.ก.ถามว่า ข้าพเจ้าเคยได้ยินเกี่ยวกับพระแท่นบรรทมของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีบ้างหรือไม่ เป็นเรื่องที่โด่งดังมากสมัยท่านยังเด็กและข้าพเจ้าผู้เล่าเรื่องนี้แม้ยังเล็กมากแต่ก็คงจะได้อ่านผ่านหูผ่านตาบ้าง

    แล้วท่านก็เล่าให้ฟังว่า ขุนนางคนหนึ่งไปได้ตั่งสำหรับนั่งเล่นนอนเล่นทำด้วยไม้แดงมาตัวหนึ่ง งดงามถูกใจเป็นอันมาก ดังนั้นจึงขนมาบ้านและตั้งไว้ในที่อันควร คิดว่าทำความสะอาดเรียบร้อยเมื่อไหร่จะได้นั่งเล่น แต่แล้วคืนนั้นเองราว ๆ ตี ๓ เห็นจะได้ ท่านก็ได้ยินเสียงเอะอะโวยวายและเสียงคนต่อสู้กันซึ่งดังมาก แต่พอลุกไปดูก็ไม่เห็นความผิดปกติใด ๆ เลยในบ้าน

    คืนถัดมาก็เกิดเรื่องน่ากลัวอีกในเวลาดึกสงัดดังเดิม เป็นเสียงเฆี่ยนขวับเควี้ยวและเสียงร้องโอดโอย แต่ลุกไปดูก็ไม่พบใครหรืออะไรเลย ขุนนางเจ้าของบ้านจึงไปปรึกษาผู้มีความรู้ทางพิธีกรรมและไสยศาสตร์ ได้รับคำอธิบายว่า ตั่งตัวนั้นเป็นที่ประทับสำราญพระอิริยาบถ (นั่งเล่นนอนเล่น) ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อขุนนางผู้นั่นขนพระแท่นเข้าบ้าน เจ้าที่เจ้าทางของบ้านซึ่งมีฤทธิ์รุนแรงขัดขวางไม่ให้เข้าจึงเกิดเสียงของการต่อสู้อย่างที่ได้ยินในคืนแรก และคืนถัดมา “ท่าน” จึงทรงจับเจ้าที่เจ้าทางของบ้านเฆี่ยนเสีย

    ข้าพเจ้าผู้เล่าเรื่องนี้ตอบบรรณาธิการ คุณวาทิน ปิ่นเฉลียว ไปว่าข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินเรื่องดังกล่าว แต่เคยได้ยินเล่าลือกันมากว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้นท่านดุอย่างยิ่ง ใครทะลึ่งขึ้นไปนั่งไปนอนบนพระแท่นบรรทมหรือพระแท่นทรงสบายของท่านเป็นโดนท่านทรงถีบตกลงมาหลายรายแล้ว จนเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าพระแท่นของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้นใครอย่าได้บังอาจแม้แต่แตะต้องเลยทีเดียว

    พระแท่นของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเท่าที่พบและยืนยันได้ว่าเป็นของแท้มีอยู่ ๓ องค์ด้วยกัน

    องค์แรกเป็นพระแท่นประทับธรรมดา ๆ เป็นแท่นไม้เรียบ ๆ ชายล่างสลักเสลาเล็กน้อย ตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

    องค์ที่ ๒ เป็นพระแท่นสำหรับทรงเจริญวิปัสสนากรรมฐาน อยู่ในโบสถ์น้อยทางทิศใต้ของพระปรางค์วัดอรุณ ในวัดอรุณราชวราราม เนื่องจากบริเวณนั้นเป็นพระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและวัดแจ้งหรือวัดอรุณราชวราราม เป็นวัดในเขตพระราชฐานไม่มีพระสงฆ์ประจำ ดังนั้นจึงสะดวกแก่การเสด็จไปปฏิบัติธรรมเมื่อทรงว่างพระราชกิจ เป็นพระแท่นไม้สักทองคำจากไม้กระดานแผ่นเดียว ขนาดใหญ่โตกว้าง ๑๗๐ เซนติเมตร ยาว ๓๐๖ เซนติเมตร สร้าง พ.ศ. ๒๓๑๐

    ส่วนองค์ที่ ๓ นั่นมิใช่พระแท่นประทับสำราญพระอิริยาบถแต่เป็นพระแท่นบรรทมจริง ๆ นักเขียนนามปากกา “หลวงเมือง” ได้เล่าไว้ในเรื่องความทรงจำของหลวงเมืองตอนคิดถึงตลาดพูลว่า

    “ข้าพเจ้าไม่เที่ยวไกลบ้าน ไปได้ไกลแค่วัดกลาง ไม่กล้าข้ามไปวัดใต้หรือวัดอินทาราม จนเรียนชั้น ป. ๔ ได้ยินเรื่องเตียงของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงชวนเพื่อน ๆ ไปดูกัน แต่ผู้ใหญ่คุยกันให้ข้าพเจ้าได้ยินว่า เคยมีทิด... (ข้าพเจ้าจำชื่อไม่ได้) ขึ้นไปนอนเล่นบนพระที่บรรทมของพระองค์แล้วเสียจริต เรื่องนี้เด็กแถวบ้านข้าพเจ้าทราบกันทุกคน”

    และ

    “(ในวัดอินทาราม) มีโบสถ์หรือวิหารขนาดไม่ใหญ่ประดิษฐานพระแท่นบรรทมแบบจีน มีเสา และมุมเสาข้างบนมีกระจกเป็นลายเขียนแบบงิ้ว รอบพระแท่นมีลูกสลักเป็นงาช้าง”

    จากประวัติศาสตร์ปรากฏว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จไปทรงเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) ด้วยเช่นกัน ครั้งหนึ่งเคยทรงปฏิบัติธรรมต่อเนื่องยาวนานถึง ๕ วัน ๕ คืน เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จพระราชชนนีของพระองค์ พระแท่นบรรทมที่เก็บรักษาไว้ ณ วิหารเล็กข้างพระอุโบสถของวัดอินทารามนี้ทำด้วยไม้กระดาน ๒ แผ่นต่อกัน ลูกกรงเป็นงาช้าง ภายใต้ลูกกรงโดยรอบมีแผ่นงาจำหลักเป็นลายดอกพุดตาน นับว่าเป็นพระแท่นบรรทมที่งามมากองค์หนึ่ง

    จาก หลวงนายฤทธิ์, เรื่องเก่า ๆ ของเจ้านาย (กรุงเทพฯ : โพสต์ พับลิชชิง, ๒๕๕๗), หน้า ๒๓-๒๖.
     
  18. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    แวะมาทักทาย พี่ๆ เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านครับ 1667978391464.png
     
  19. NiponSuwan

    NiponSuwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2018
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +1,125
    สวัสดีครับพี่รัก ผมเปื่อยไปเสียหลายวันเลยไม่ได้เข้ามา อายุเริ่มมากโรคภัยไข้เจ็บก็มากตามอายุไปด้วย
     
  20. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    หายป่วยไวๆ นะครับ
    PhotoGrid_1589942397772.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...