อาการที่ความทรงจำหายไปชั่วขณะ สมาธิเรียกว่าอะไรหรอคะ อยู่ในสมาธิระดับใดคะ

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย M_Y, 1 ธันวาคม 2013.

  1. M_Y

    M_Y เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +220
    ไม่ได้เพ่งแสงสว่างนะคะ อยู่กับสภาวะรู้ของจิตอย่างเดียวในความว่างค่ะ
     
  2. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ไม่จำเป็นต้องเพ่ง ถูกแล้วครับ เพราะมันเป็นธรรมชาติของฌาน8 มันเป็นอย่างนั้นไม่มืด ก็ สว่าง

    [​IMG]

    สว่าง = บุญ
    มืด = บาป

    (จะอธิบายต่อก็ละอายใจ เนื่องจากยังไม่ใช่พระอริยะเจ้า จะกลายเป็นการกล่าวเกินภูมิธรรมของตัวเอง)

    เจริญในธรรมครับ
     
  3. babae

    babae เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +470
    โมทนาบุญครับ ถอยกลับมาครับ เอาแค่รู้กายรู้ใจพอครับ ผมเคยผ่านไป
     
  4. ความตาย-1

    ความตาย-1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +44
     
  5. M_Y

    M_Y เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +220
    น[/QUOT ถ้าคุณมองแสงสว่าง ระหว่างที่มองคุณหลับตานั่งสมาธิ ให้ใช้จิตมองแสงสว่างขณะหลับตา ให้มองไปเรื่อยๆๆๆๆ อาการมองแสงนั้นจะปรากฏออกมาทางกาย (ปฎิบัติแบบนี้มากๆหรือบ่อยๆ จะเกิดขึ้นตลอดเวลาแม้เราจะไม่นั่งสมาธิ ผมหมายถึงสมาธิที่มีผลทางกายนะครับ ซึ่งผมจะไม่บอกว่าอาการนั้นเป็นอย่างไร คุณต้องปฏิบัติเอง อาการที่เกิดเรียกว่าอารมณ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดฌาน แต่แต่แต่จะเกิดได้มากแค่ไหนอย่างไรขึ้นอยู่กับการปฏิบัติที่ถูกวิธีและมีสมาธิที่ลึก[/quote]

    ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำ
     
  6. กัญชาอารยะ

    กัญชาอารยะ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +26
    ขออนุญาติแนะนำ จขกท. นะครับ
    ความทรงจำไม่มีทางหายไปนะครับนอกจากเนื้อสมองคุณจะถูกทำลายไปบางส่วน
    ที่หายไปนั้นคือความรู้สึกตัว จึงทำให้คุณไม่รู้สึกตัวว่า ความทรงจำมันยังอยู่
    เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจนะครับเพราะหากปล่อยทิ้งไว้มันจะเป็นอุปสรรคตัวใหญ่เลยที่ให้มองเรื่องราวไม่ออก
    การศึกษาสำคัญพอๆกับการฝึกฝนนะครับ(อันนี้ลองคิดแบบตรรกศาสตร์ดูนะครับอย่าพึ่งไปมองทางธรรม)
     
  7. popeye6530

    popeye6530 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +12
    มันคือ ครั้งแรกของคนที่เข้าฌาน4ได้ครับ ไม่อยากพูดมาก ใครที่เคยครั้งแรก หากสติไม่กล้าพอ จะมึนงงทุกคน ขนาดแค่ฌาน2ที่คำภาวนาหายไปก็ยังมึน งงเป็นไก่ตาแตกกันเลย กว่าจะชินได้ก็ต้องทำอีกสัก2-3รอบอะครับถึงจะชินและมีสติรับรู้สภาวะทุกอย่างได้ ส่วนไอ้ที่ว่าเครียดๆอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าหากเครียดละก็ ไม่สามารถเข้าสมาธิได้หรอกครับ เพราะสมาธิถ้าเข้าได้มันจะคลายๆๆๆ ทุกส่วน คลายๆๆความคิดตึงเครียดออกหมด และหลั่งสารความสุขออกมาแทน ลองคิดดูละกัน คนเราที่เครียดๆ มันจะรู้สึกสุขสบายกายสบายใจได้หรือไม่ ถ้าหากเครียดแล้วยังรู้สึกมีความสุขสบายๆ มีความสุขสุดยอดละก้ อันนี้ผมคงจะยกย่องคนที่ทำได้แบบนี้มากๆ เพราะแบบนี้จะมีแต่ ผู้ที่ฝึกวิปัสนาแต่สมาธิอ่อน สติกล้าเท่านั้น ที่ร่างกายเครียดแต่จิตไม่เครียดและยังคงมีความสุขสงบ แต่สำหรับคนที่ฝึกสมาธิแล้ว หากสมาธิเข้าสู่ฌาน หรือแค่ อุปจารสมาธิ ความเครียดและการตรึงเครียดของเส้นประสาท ระบบประสาทจะผ่อนตัวคลายลงไป เหมือนกับตอนที่เรากำลังนอนหลับนั้นละครับ ลองไปศึกษาเรื่องการทำงานสมองและคลื่นสมองดู แล้วจะรู้ว่า อุปจารสมาธิ คลื่นสมองจะอยุ่ในช่วงไหน และคนที่นอนหลับ คลื่นสมองจะอยุ่ในช่วงไหน แล้วจะรู้ว่ามันเครียดหรือไม่เครียด ส่วนอาการมึนงงอะ บางทีมันก็เกิดจากการตกภวังค์ก็มี เช่น บางที คุณนอนอยู่บ้านตื่นมากลางดึก แต่กลับจำไม่ได้ว่าเราอยุ๋ที่ไหน นอนอยู่ตรงไหนมาที่นี้ได้ยังไง สักพักคุณก้จะจำได้ว่า อ๋อ เรานอนอยู่บ้านนี่เอง อันนี้ก็แปลกนะ เขาเรียกว่า ถูกสับเปลี่ยนความคิด ไม่มีอะไรมาสับเปลี่ยนของ แต่เป็นจิตของเราเองที่ยังไม่สมานเข้ากับร่างกายของเราได้เต็มที่ก็เลยลืมสัญญาความทรงจำของร่างกายไปชั่วขณะหนึึ่งๆ เพราะตอนนอนก็ไม่ต่างจากตอนถอดกายทิพย์เท่าไหร่และถ้าตื่นเร็วไป ก็มักจะตกใจและลืมหน้าลืมหลังได้เช่นได้ 55 บ่นยาวเลย !!
     
  8. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,729
    ค่าพลัง:
    +3,243
    จริงๆแล้วต้องเห็นว่าความยึดถือว่านี่คืแความทรงจำ
    หรือยืึดถือว่านี่ไม่ใช่ความทรงจำ
    เป็นทุกข์

    สัญญาเวตินิโรธ เป็นกำบังสอดั กำลังวิปัสสนา สนา ไม่ใช่สมาธิกด

    ใช้โทรศัทพ์พิมพ์แก้ไขข้อความไม่ได้ ขออภัยครับบ
     
  9. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,729
    ค่าพลัง:
    +3,243
    ปรกติแล้วเราจะยึดเรื่องดีๆ ไว้เป็นเรา
    พระอริยะเจ้าในพระพุทธศาสนา เป็นคนดีิติดดีนะ
    เค้าจะไล่ของไม่ดีออกจากเค้า

    คือให้เห็นว่า ถ้าเราถือส่านี่คือความทรงจำ
    และถือเอาว่านี่คือความ ไม่จำ แบบเจ็บไม่ จำจนไม่เจียท
    ทำไม่จริง นิ่งไม่ดี
    ยึดมันทั้งสอวฝ่ายทุกข์

    แบะใช้อาสวะขนะญาณ เก็บกว่าด
     
  10. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,729
    ค่าพลัง:
    +3,243
    ถ้าเป็นสมาธิแบบพุทธเรารับตอนที่นิวรณ์สงบระงับ
    นับจ่กนั้น ถ้ายังอุดมไปด้วยนิวรณ์
    ใมันไม่ใช่สมาธิในพระพุทธสาสนา
     
  11. วงกลมจุด

    วงกลมจุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +2,259
    มันคือ ภาวะที่ใจ เข้าถึง ความไม่มีอะไร(อารมณ์นิพพาน) เหมือน เราลบข้อมูลความทรงจำไปชั่วขณะ หรือคือ เราหยุดการทำงานของกายและใจ เลยเหมือน คนตายไงครับ คือ นี่คือ ผลของการ รู้อารมณ์นิพพาน

    ถ้าเข้าถึงนิพพานจริง จะเป็นเหมือน พ้นจากสมมุติ ไปเลยก็คือ เข้าถึงอนัตตาธรรม หรือ ที่เรียกว่า พ้นแล้ว เป็นปรมัตถ์ธรรมไป คือ พูดไม่ได้ อธิบายไม่ได้
    จะรู้ได้ด้วยใจ ที่เหมือนรู้แล้ว แต่ไม่มีอะไรให้รู้ เพราะลืมหมด เหมือนไม่รู้อะไรเลย

    แต่ที่คุณรู้นั้น แหล่ะ คือ สิ่งที่บอกคุณว่า สิ่งที่ผมกล่าวถึงหรือ นิพพาน หรืออนัตตาธรรมนั้น มันมีจริง ครับ
     
  12. วงกลมจุด

    วงกลมจุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +2,259
    สมาธิที่คุณ ลอยตัว สว่างนั้นแหล่ะ ถูกแล้ว ไม่ควรมากำหนดที่ใจหรอก

    ถ้าคุณอยากรู้และเข้าใจมากกว่านี้ สงบมากกว่านี้ก็ ให้ เพ่งรวมทั้งกายโดยรวมเลยครับ ไม่เพ่งเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง ถ้าเพ่งโดยรวมทั้งกาย จะถือว่า เป็น สติปัฏฐานสี่ครับ ถ้าเพ่งเฉพาะจุด เรียกว่า กสิณครับ
     
  13. วงกลมจุด

    วงกลมจุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +2,259
    ดังนั้น สิ่งที่หลายคนไม่เข้าใจก็คือ อรหันต์ผลนั้น หรือนิพพานนั้นหรือ ชำระอวิชชาได้นั้นก็คือ การชำระ สัญญา สังขาร วิญญาณ ในกายใจ ออกได้หมด ก็คือ ลืมสิ่งที่รู้ ได้หมด ก็คือ ลบสมมุติทั้งหลาย ได้ เรียกว่า พ้นจากสมมุติบัญญัติทั้งปวง นั่นเอง เหมือนไม่รู้อะไร นั่นเพราะ ไม่มีอะไรให้แบก ให้รู้ อีกแล้ว อิสระ พ้น ดับเชื้อ อันเดียวกันครับ
     
  14. วงกลมจุด

    วงกลมจุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +2,259
    สิ่งที่คุณเข้าถึง ผมเรียกว่า ความสงบที่สุดแล้ว หรือ ฌาณสี่ นั่นแหล่ะ นี่คือ เรือนธรรม

    ที่เหลือคือ วิปัสนา คือ การมี ความสงบเป็นพื้นฐานแล้ว เอามาดูกายใจ เพื่อให้เห็น การทำงานที่แท้จริงของกายใจว่า มันทำงานร่วมกันยังไง เกิด อารมณ์ ความรู้สึก เวทนา ได้อย่างไร นี่คือ สิ่งที่คุณ ควรจะรู้ให้ได้

    แนะนำว่า การดูกายทั้งหมด ไม่ต้อง นั่งหรือหลับตา แต่ให้คุณดูได้ทุกอิริยาบถทั้งวันทุกวินาที จนเห็นความจริง ของกายใจ และอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด นะครับ แนะนำได้แค่นี้ครับ
     
  15. วงกลมจุด

    วงกลมจุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +2,259
    สภาวะที่ เคยเป็นนี้ มันรู้แล้ว มันไม่เป็นอีก รู้ทีเดียวก็พอแล้ว ไม่จำเป็นที่เหมือนที่หลายๆคน ยังอยากมี อยากเห็นอีก ก้อ ตั้งหน้าตั้งตาฝึก เพื่อ เป็น วสี (จะเอาฤทธิ์)

    ความสงบนี้ มันรู้เห็นแล้ว ทั้งนาม(ใจ) ทั้งรูป(สังขาร) ว่า มันเป็นนิมิตร ที่มีอยู่จริง คือ บ่งบอกว่า สภาวะอารมณ์นี้ มันคือ ที่สุดของ การรู้ คือ พ้นจากรู้ แล้วก็คือ ไม่มีอะไร

    มันคือ ความสงบที่เป็นปัญญาจริงของคุณแล้วคือ รู้และเข้าถึง โดยที่ คนอื่น ไม่รู้หรอกว่า ที่คุณเข้าใจได้นี้ เพราะคุณไม่หลง ส่วนคนที่หลง จะเป็นอีกแบบหนึ่ง คือพวก ที่ คิดว่า มีฌาณ 5 6 7 8 ไปเรื่อยๆ พวกนี้คือหลง

    แต่คุณ รู้และ เข้าใจว่า ที่เกินกว่า สิ่งนี้ มันก็คือ ไร้สาระ รู้มาก็ ไม่เกิดประโยชน์อันใด นั่นเอง แต่คุณจะเห็นว่า มีหลายคนที่หลง เกินกว่านี้อยู่
     
  16. วงกลมจุด

    วงกลมจุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,314
    ค่าพลัง:
    +2,259
    ที่จริงแล้ว การนั่งสมาธิ ก็ เพื่อ รู้คำตอบนี้คือ ความสงบที่สุดของความสงบกายใจได้ ก็เท่านีั้

    แต่ส่วนของปัญญา ที่ จะพ้นทุกข์ (พ้นจากการเกิด) มันจะต้องเอาความสงบนี้ มาวิปัสสนา ดูกายใจ ตามหลักของสติปัฏฐานสี่ ตามที่ผม แนะนำครับ
     
  17. White Sage

    White Sage เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +1,743
    ขออนุญาตตอบท่านจขกท นะคะ ^__^

    อาการที่ว่า เป็นอาการของคนที่เพิ่งออกจากสมาธิค่ะ สาธุ ขออนุโมทนาบุญด้วยนะคะ
     
  18. pcman

    pcman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +287
    เห็นกระทู้นี้น่าสนใจ มีประสบการณ์คล้ายผมตอนฝึกสมาธิในหลายปีแรกๆ เลยอยาก Share ครับ (ไม่ได้แนะนำอะไรนะครับ เห็นคล้ายกันเลยเล่าสู่กันฟัง อาจเป็นกรณีเดียวกันหรือคนละกรณีก็ได้) คือเด็กๆ ผมฝึกสมาธิแบบ TM (แนวฤาษี) ที่โรงเรียน เขาก็ให้บริกรรม แล้วพอนิ่งก็นึกถึงความว่าง พอมีความคิดผุดก็พยายามไม่คิดแล้วก็ว่างต่อ ก็ทำให้มีสมาธิดีครับ แต่พอออกมาจากสมาธิจะมึนชา งงๆ และต่อมาตอนวัยรุ่นก็ไปฝึกสมาธิแนวหลวงพ่อสด นึกถึงนิมิตกลางท้อง ก็มีปิติ คืออาการเหมือนรถลงสะพานที่ท้อง ก็สบายดีครับ (น่าจะหลั่งสารเอนโดรฟิน ทำให้มีความสุข) แต่อาการที่ติดมาตลอดคือง่วง และเหมือนสติจะขาดเป็นช่วงๆ และทำให้ความจำไม่ค่อยดี ทำให้ผมท้อกับการทำสมาธิและเลิกทำมาเป็นปี

    จนผมไปฟังเทปหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านว่าทุกสำนักจะมีอาการเดียวกันคือพอเข้าสมาธิจะทำให้บริกรรมหายไป และเข้าสู่ความว่าง และอาจมีอาการไม่อยากหายใจ ซึ่งตรงกับอาการของผมมาก หลังจากคิดวิเคราะห์เองเป็นเวลานาน ทำให้ผมเข้าใจว่าเป็นอาการของสติที่ไม่ทันสมาธิ ซึ่งน่าจะเป็นมิจฉาสมาธิ ทำให้เกิดอาการดังกล่าว ประกอบกับมีผู้แนะนำเทปค่ายคุณแม่ศิริ ที่ฝึกสติเป็นหลัก เลยลองฝึกดู เพราะทำง่ายและแค่กำหนดรู้ในชีวิตประจำวัน และประกอบกับอ่านนิยายเรื่อง มักลีผล นารีผล ความหลงในสงสาร หลายรอบของคุณสุนิสา ที่เล่าประวัติหลวงพ่อจรัล เลยนำมาฝึกเดินจงกรมด้วยตนเอง โดยพยายามกำหนดอิริยาบถตลอดเวลาที่นึกได้อยู่หลายปี

    ปัจจุบันผมยังนั่งสมาธิโดยบริกรรมสัมมาอะระหัง แต่พอถึงความว่างบริกรรมหายไปผมจะระรึกรู้ถึงอาการของกาย รู้ถึงความรู้สึก รู้ถึงความคิด และไม่ง่วง หรือมึนงงเหมือนเดิม แม้จะไม่หายใจ หรือหายใจแบบละเอียดอยู่นาน และสามารถละปิติ ที่จะจดจำสภาวะธรรมได้ว่าต้องการให้ปรากฏหรือให้ข้ามไปก็ได้

    ในชีวิตประจำวันผมจะพยายามตามรู้จิตว่าโกรธหรือมีความโลภ หรือมีราคะ พอรู้ก็จะพยายามละ ซึ่งความโกรธน่าจะเห็นได้ง่ายที่สุดและพยายามละได้เร็ว ถ้าไม่อยู่ในสถานการณ์ที่รุนแรงหรือบีบคั้นมากเกินไป โดยพยายามตามรู้ไปเรื่อยๆ แต่ก็ไม่มีความก้าวหน้าทางสมาธิอะไรเพิ่ม นอกจากการสามารถบังคับปิติให้เกิดขึ้นที่จุดต้องการ และช่วยคลายความปวดเช่นปวดหัวได้บ้างเท่านั้น

    สำหรับเรื่องขั้นตอนของฌานซึ่งบางสำนักก็เป็น ฌาน 1-4 บางสำนักก็เป็น ฌาน 16 ซึ่งทำให้ผมสับสน จึงไม่ได้ศึกษาอะไรมากนัก และไม่พยายาม Map เข้ากับประสบการณ์ของตนเอง

    ก็ถือเป็นการแชร์ประสบการณ์ครับ และถือโอกาสบันทึกประสบการณ์ทางการปฏิบัติธรรมไว้ด้วย และหากมีผู้รู้ท่านใดจะชี้แนะก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ
     
  19. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สาธุ...
    เมื่อสติละเอียดแล้ว ให้
    1. ลอง "ปรับระดับ" สมาธิระดับต่างๆ กัน ด้วยการกำหนดของจิตเราเอง
    2. ลองสังเกตอาการของจิตตนเอง ระหว่างที่เกิดสภาวะเหล่านี้ หรือกำลังกำหนดสั่งการสภาวะเหล่านี้

    เรื่องฌาน 16 นั้นเข้าใจว่าน่าจะหมายถึง ญาณ 16 นะครับ
    เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องเข้าใจก็สามารถปฏิบัติก้าวหน้าไปได้ครับ และไม่แนะนำให้พยายาม map ประสบการณ์ตนเองเข้าไปในเรื่องของญาณ 16
     
  20. pcman

    pcman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +287
    ขอบคุณมากครับ แต่ผมอาจยังไม่ค่อยเข้าใจการปรับระดับของสมาธิ เพราะผมจะรู้สภาวะสมาธิอยู่ 2-3 อย่างคือการเริ่มบริกรรม, การเกิดปิติ และการนิ่งว่าง หายใจละเอียด จากนั้นพอว่างนานก็จะเริ่มคิด และตามรู้ความคิด พอรู้ว่าเริ่มฟุ้งก็จะบริกรรมใหม่ และเข้าวงจรเดิม ประมาณนี้ครับ

    และขอขอบคุณที่ชี้แนะเรื่อง ญาณ 16 นะครับ เข้าใจผิดตั้งนาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 มีนาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...