อาจารย์ยอด : ตำนานปู่เจ้าสมิงพราย, ปู่เจ้าสมิงคา (ทวดเสือ) [น่ารู้] new

ในห้อง 'บันเทิงและศิลปวัฒนธรรม' ตั้งกระทู้โดย torphak, 9 มิถุนายน 2021.

  1. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
     
  2. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    tnews_1473393216_997.jpg
    เล่าเรื่องฤาษี รู้จักกับปู่เจ้าสมิงพราย เจ้าป่าผู้ชักนำพระลอให้ต้องมนต์ เก่งกล้าอาคมไม่เป็นรองใคร
    Publish 2016-09-09 10:53:36

    รู้จักกับปู่เจ้าสมิงพราย เจ้าป่าผู้ชักนำพระลอให้ต้องมนต์ โศกนาฏกรรม ศึกรบ ศึกรัก เข้ม ครบรส

    วันนี้ได้มีเวลาอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง พบเรื่องราวที่น่าหยิบยกมาหาข้อมูลที่น่าสนใจเล็กๆน้อยๆ เรื่องของปู่เจ้าสมิงพรายนั้น เชื่อว่าหลายๆท่านคงได้ยินชื่อคุ้นหู หลายท่านที่ชื่นชอบเรื่องราวแนวนี้ อาจทราบประวัติและเรื่องราวกันแล้ว แต่ก็คงมีอีกหลายท่านในบางส่วนที่ยังไม่ทราบ วันนี้จึงนำมาบอกกล่าวเล่าให้ฟังผ่านการอ้างอิงจากแหล่งที่มาต่างๆ ทุกเรื่องราวโปรดใช้วิจารณญาณ

    ปู่เจ้าเป็นชื่อเทพเจ้าประจำภูเขาใหญ่แห่งหนึ่งในป่าใกล้เมืองสอง ซึ่งเป็นเมืองของพระเพื่อนพระแพงในวรรณคดีลิลิตเรื่องพระลอ นามเต็มคือ “ปู่เจ้าสมิงพราย” พระเพื่อนพระแพงได้ไปพบปู่เจ้าเพื่อขอให้ทำเสน่ห์ให้พระลอหลงใหล จากบ้านเมืองมาหานางที่เมืองสอง ปู่เจ้าสมิงพรายได้เข้าฌาน เพื่อจะได้รู้ว่าควรจะต้องช่วยทำเสน่ห์ให้หรือไม่


    pralor.jpg

    ปรากฏว่าแต่ปางก่อนนางทั้งสองทำบุญแล้วแสดงความปรารถนาขอพึ่งบารมีของปู่เจ้าเสมอ ๆ แต่บุญที่นางทั้งสองทำไว้นั้นอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์สม่ำเสมอ การที่ปู่เจ้าสมิงพรายจะช่วยเหลือให้นางสมปรารถนาได้พระลอมาครอบครองนั้น ถึงจะเป็นผลสำเร็จก็จริง แต่ก็ไม่สมบูรณ์ เพราะเป็นผลกรรมของเจ้าตัวเอง บทบาทของปู่เจ้ามีอยู่ที่ทำเสน่ห์ให้พระลอลุ่มหลง


    วิธีการทำเสน่ห์ของปู่เจ้านั้น ผู้ประพันธ์ประพันธ์เป็นร่ายสุภาพพรรณนาถึงปู่เจ้าสมิงพรายประกอบพิธีไสยศาสตร์ ทำให้พระลอเกิดความรู้สึกหลงใหลในพระเพื่อนพระแพง โดยเขียนยันต์ลงบนธงสามชาย แล้วติดไว้บนยอดต้นตะเคียน เมื่อลมพัดผ่านต้นตะเคียนก็นำมนต์ไปถึงพระลอ ทำให้เกิดความรัญจวนถึง ๒ นาง เวทมนตร์คาถาของปู่เจ้าในครั้งที่ ๑ และที่ ๒ นั้นปรากฏว่า ฝ่ายพระมารดาของพระลอสามารถหาหมอมาแก้ไขได้


    พอถึงครั้งที่ ๓ ปู่เจ้าใช้ภูตผีปิศาจไปรบกับผีของเมืองพระลอ เมื่อได้ชัยชนะแล้วก็ใช้ “สลาเหิร” คือ การเสกหมากพลูให้กลายเป็นแมลงภู่ แล้วบินไปตกในพานหมากของพระลอ กลับกลายเป็นหมากพลูดังเดิม พอพระลอเสวย ก็เกิดการลุ่มหลง ต้องออกเดินทางมาหาพระเพื่อนพระแพง เมื่อมาถึงแม่น้ำกาหลง ปู่เจ้าก็ใช้ไก่แก้วซึ่งมีผีสิงไปล่อให้พระลอติดตามไปอย่างรวดเร็ว จนได้พบกับ ๒ นาง

    ลักษณะรูปลักษณ์ของปู่เจ้าสมิงพรายนั้น มีลักษณะเป็นตาปะขาวเป็นผู้ถือพรต ที่อาศัยอยู่ในเขตภาคกลางตอนบน - ภาคเหนือ นามจริงไม่ปรากฏ ปรากฏแต่คำเรียกด้วยความเคารพว่า...ปู่เจ้าสมิงพราย เป็นผู้ทรงอาคม บรรลุโลกียฌาน มีฤทธิ์มาก เสกไก่แก้วให้พระลอตามมาจนพบพระเพื่อนพระแพง ในโองการไหว้ครู ทั้งทางไทยภาคกลางและทางภาคเหนือต่างมีคำกล่าวบูชาท่าน ว่าเป็นครูทางแก้คุณไสย์และครูทางด้านเสน่ห์ยาแฝด ปู่เจ้าสมิงพรายอีกตนหนึ่งมาจาก...เรื่องรามเกียรติ์ ชื่อ " ปู่ฤาษีอิสีสิงห์ " พระฤาษีตนนี้มีศักดิ์เป็นบิดาพระฤาษีกไลยโกฏิ ก่อนสิ้นสั่งไว้ว่าอย่าไปพบปะผู้คน...จงระวังวัวเขาอ่อน สัตว์ที่มีเขางอกอยู่บนอก เป็นภัยต่อเพศพรหมจรรย์ ปู่เจ้าสมิงพรายอีกตนหนึ่งมาจาก " พระฤาษีกาลสิทธิ์ " พระฤาษีตนนี้แปลงร่างเป็นเสือได้จริง ๆ แต่ต่อมาเกิดเหตุ แปลงกลับเป็นคนไม่ได้ ผู้คนนับถือเรียกว่าปู่สมิงพรายเช่นกัน ปู่สมิงพรายอีกตนหนึ่งที่เล่าขานกัน มาจากเรื่องราวของหลวงปู่กาหลง วัดเขาแหลม ท่านมีครูเป็นฤาษีสิงห์สมิงพราย ท่านเล่าว่าตอนท่านธุดงค์ได้พบทางสมาธิจิตกับฤาษีท่านนี้ ท่านมาร่วมบุญกับหลวงปู่และติดตามท่านมานานแล้ว...มีฤทธิ์มาก


    รวมความแล้วสรุปย่อ ๆ ได้ว่าคำว่าปู่เจ้าสมิงพรายนั้น เป็นการเรียกรวมครูที่มีฤทธิ์ แปลงร่างเป็นเสือได้เป็นเจ้าป่า เพราะตั้งแต่อดีตมา...ครูบาอาจารย์ที่มีฤทธิ์ชำนาญด้านนี้หลายท่าน ตั้งแต่วรรณคดีที่เก่าแก่ที่สุดอย่างเรื่องรามเกียรติ์และลิลิตพระลอ ดังนั้นจึงเป็นที่สับสนของบุคคลโดยทั่วไปถึงเรื่องของปู่เจ้าสมิงพราย ทั้งนี้ คงต้องพิจารณาว่ากันไปตามแต่ละท้องที่ แต่สำหรับครูทางไสยเวทย์โดยทั่วไปนั้น ก็นับเอาปู่เจ้าสมิงพรายจากเรื่องลิลิตพระลอเป็นหลัก

    เพราะพระฤาษีอิสีสิงห์...จากเรื่องรามเกียรติ์นั้น แม้มีหน้าเป็นเสือแต่ไม่ปรากฏกิติศัพท์เป็นที่รู้จักเท่าปู่ฤาษีกไลยโกฏิผู้เป็นลูก ซึ่งปรากฏกิติคุณมากกว่า เพราะเป็นหนึ่งในสี่ของผู้ร่วมหุงข้าวทิพย์ถวายท้าวทศรถ ส่วนพระฤาษีกาลสิทธิ์นั้น ท่านนี้มีประวัติเด่นที่ว่าแปลงร่างเป็นเสือแล้วกลับร่างเดิมไม่ได้ ในตำนานกล่าวเป็นสองนัยว่า...


    1.มีร่างเป็นเสืออย่างนั้นตลอดไป.
    2.ตัวเป็นคนแต่มีหัวเป็นเสือ เรื่องเดิมเข้าใจว่าจะเป็นเสือทั้งตัว แต่ผู้ที่นับถือสร้างหุ่นร่างเป็นฤาษีศรีษะเป็นเสือ เพื่อให้รู้กันว่าท่านเคยเป็นฤาษี

    [​IMG]

    อย่างไรก็ตาม ถือว่าปู่เจ้าสมิงพราย ถือเป็นบุคคลสำคัญในลิลิตพระลอ ถือเป็นตัวละคีรในวรรณคดรีที่อิงจากวิถีชีวิตจริงของคนล้านนายุคโบราณ ลิลิตพระลอ จัดเป็นวรรณกรรมชั้นครู ที่เข้มข้นด้วยคาถาอาคม มนต์ขลัง ทั้งกลยุทธการรบ และการแก่งแย่งในด้านความรัก แม้จุดสุดท้ายแล้วจะลงเอยด้วยโศกนาฏกรรม ทว่าชื่อของปู่เจ้าสมิงพรายก็รู้จักและยอมรับนับถือกันกว้างขวางในหมู่ผู้สนใจตำราวิชาทางไสยเวทย์มาจนถึงปัจจุรบันไม่เสื่อมคลาย

    ที่มา : https://www.tnews.co.th/variety/203...กนำพระลอให้ต้องมนต์-เก่งกล้าอาคมไม่เป็นรองใคร
     
  3. torphak

    torphak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    4,414
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +283
    ศาลปู่เจ้าสมิงพราย (Pu Chao Saming Phrai Shrine) พระประแดง สมุทรปราการ

    ศาลปู่เจ้าสมิงพราย เป็นศาลที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณสถาบันราชประชาสมาสัย ปัจจุบันศาลปู่เจ้าสมิงพรายเป็นที่เคารพสักการะของชาวไทย ชาวมอญและบุคคลทั่วไป เพื่อระลึกถึงทหารกล้าที่อาสาป้องกันประเทศ มีการจัดงานศาลปู่เจ้าสมิงพราย วันที่ 2 ธันวาคม ของทุก ๆ ปี

    ใครที่กำลังมองหาสถานที่รักษาโรคผิวหนังที่ยอดเยี่ยมก็ลองไปสถาบันราชประชาสมาสัยและแวะศาลปู่เจ้าสมิงพรายได้เลย เพราะตั้งอยู่ที่เดียวกัน แถวบรรยากาศยังสงบสบายริมแม่น้ำเจ้าพระยานั้นเอง ชาวไอทีเมามันส์ท่านไหนไปแล้วก็อย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะ

    • DSC_0063.jpg
    • DSC_0065.jpg
    • DSC_0069.jpg
    • DSC_0070.jpg
    • DSC_0071.jpg
    • DSC_0073.jpg
    • DSC_0074.jpg
    • DSC_0075.jpg
    • DSC_0077.jpg
    • DSC_0084.jpg
    เคารพสักการะปู่เจ้าสมิงพราย บางหัวเสือ เจ้าพ่อสิงห์ดำ สถานที่ศักดิ์สิทธ์แห่งหนึ่ง ซึ่งประชาชนในอำเภอพระประแดง และประชาชนทั่วไปเคารพนับถือเป็นอย่างมาก

    ที่มา : https://www.itmoamun.com/ศาลปู่เจ้าสมิงพราย-pu-chao-saming-phrai-shrine/
     

แชร์หน้านี้

Loading...