อาจารย์ใหญ่ที่...คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 5 กันยายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    'อาจารย์ใหญ่'ที่...คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] [​IMG] ภาพยนตร์เรื่อง "อาจารย์ใหญ่" แม้ว่าจะปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "ศพ" แต่ก็ไม่อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกดีๆ ต่อนักศึกษาแพทย์ ที่ได้เรียนรู้กับอาจารย์ใหญ่ และเพื่อให้คนสัมผัสกับอาจารย์ใหญ่จริงๆ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดงานโอเพ่น เฮ้าส์ (Faculty of Science, Mahidol Univiresity) ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๔ สิงหาคม ของทุกๆ ปี


    รศ.วันทนีย์ ตระกูลรังสี อาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่า กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) ในวิชานี้เป็นการชำแหละอาจารย์ใหญ่ นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับร่างดองของอาจารย์ใหญ่ ก่อนที่จะไปเจอคนไข้จริงๆ ซึ่งอาจารย์ใหญ่ที่ว่ามาจากผู้ที่บริจาคร่างกายเอาไว้กับคณะวิทยาศาสตร์ของ ม.มหิดล ตั้งแต่ท่านอาจารย์ใหญ่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนอีกประเภทหนึ่งผู้ตายไม่ได้บริจาคร่างกายเอาไว้ แต่มีญาติยินดียกร่างให้เป็นอาจารย์ใหญ่
    เมื่อร่างบริจาคถึงกำหนดที่จะนำขึ้นมาให้นักศึกษาเรียน ภาควิชาจะมีจดหมายแจ้งมายังญาติของผู้ตายตามที่อยู่ที่เคยแจ้งไว้ และแจ้งกำหนดพิธีทำบุญอาจารย์ใหญ่ ก่อนที่จะให้นักศึกษาเรียน พร้อมกับเชิญญาติมาร่วมทำบุญด้วย ส่วนใหญ่จะทำบุญประมาณเดือนกรกฎาคม
    ในวันทำบุญนี้ ญาติอาจารย์ใหญ่ที่มาร่วมพิธีมักจะบริจาคเงินทำบุญสมทบค่าอาหารและค่าใช้จ่ายอื่นๆ บางคนก็บริจาคเงินสมทบทุนกองทุน เพื่อการศึกษากายวิภาคศาสตร์อีกด้วย
    "ในวันทำบุญอาจารย์ใหญ่ก่อนเปิดภาคเรียน ภาควิชาจะให้ญาติเข้าเยี่ยมอาจารย์ใหญ่ ขณะเดียวกันนักศึกษาจะได้พบปะพูดคุยกับญาติของอาจารย์ใหญ่ท่านนั้น เพื่อทำความรู้จักกับญาติ และสอบถามถึงความเป็นอยู่และโรคภัยไข้เจ็บของอาจารย์ใหญ่ก่อนเสียชีวิต เพื่อนำมาประกอบการศึกษาวิชามหกายวิภาคศาสตร์ สำหรับร่างอาจารย์ใหญ่ที่นักศึกษาเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ภาควิชาจะดำเนินการขอพระราชทานเพลิงศพ และแจ้งกำหนดวันพระราชทานเพลิงศพให้ญาติทราบด้วย" รศ.วันทนีย์ กล่าวพร้อมกับบอกด้วยว่า
    ช่วงแรกๆ คณะแพทยศาสตร์ ม.มหิดล ขาดแคลนอาจารย์ใหญ่ เนื่องจากยังไม่ค่อยมีคนบริจาคร่างให้ เราจึงได้รับความอนุเคราะห์จาก ม.เชียงใหม่ หรือโรงพยาบาลศิริราช พอมาถึงวันนี้ มีผู้มาบริจาคร่างกายเพิ่มมากขึ้น โดยจะดองร่างอาจารย์ใหญ่ไว้ประมาณ ๑ ปี เพื่อให้กล้ามเนื้อและส่วนต่างๆ ของร่างกายได้รับการรักษาไว้เป็นอย่างดี ก่อนที่จะนำมาให้นักศึกษาเรียน ตลอดการเรียนแพทย์ของนิสิต ๑ ปีจะต้องใช้ร่างอาจารย์ใหญ่ประมาณ ๕๐ ร่าง และ ๑ ร่างจะมีนิสิตเรียนร่วมกัน ๖ คน
    รศ.วันทนีย์ ยังบอกด้วยว่า สำหรับประชาชนที่ต้องการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาเป็นอาจารย์ใหญ่ให้นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้ สอบถามรายละเอียดได้ที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระรามที่ ๖ เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทร.๐-๒๓๕๔-๗๓๔๖, ๐-๒๒๐๑-๕๔๐๐, ๐-๒๒๐๑-๕๔๐๒, ๐-๑๘๔๑-๘๖๓๒, ๐-๑๒๗๘-๕๐๒๑
    ---------ล้อมกรอบ---------
    ID: 5916106 อ.วันทนีย์ ตระกูลรังสี ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ พร้อมนักศึกษาแพทย์ (ใส่ไว้ในล้อมกรอบ)
    อาจารย์ใหญ่คือครูผู้ยิ่งใหญ่
    "คม ชัด ลึก" สอบถามถึงความรู้สึกและสิ่งที่ได้รับจากอาจารย์ใหญ่ของนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล ปี ๒ โดยแต่ละคนพูดถึงอาจารย์ใหญ่ไว้อย่างน่าคิด เช่น
    นศพ.เศรษฐนันท์ เศรษฐการุณย์ บอกว่า ก่อนเรียนอาจารย์จะให้เราพบญาติของอาจารย์ใหญ่ ซึ่งจะทำให้เรามีความเคารพ มีความรู้สึกผูกพันว่าเราต้องดูแลอาจารย์ใหญ่ตลอดเวลาที่เราเรียนกับท่าน เพราะถือว่าท่านก็เป็นอาจารย์เราอีกคนหนึ่ง ทุกโต๊ะของนักศึกษาก่อนเรียนจะต้องสวัสดีอาจารย์ใหญ่ พอเรียนเสร็จแล้วก็จะต้องทำความสะอาดโต๊ะให้เรียบร้อย ยิ่งไปกว่านั้นที่บ้านเมื่อมีการทำบุญ ก็จะเอ่ยชื่ออาจารย์ใหญ่ด้วยทุกครั้ง ถือเป็นการให้ความเคารพท่าน
    ในขณะที่ นศพ.ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ตอนที่เรียนแรกๆ อาจจะตื่นเต้นบ้างที่ได้เรียนกับอาจารย์ใหญ่ จริงๆ เป็นเรื่องที่ดีที่คณะวิทยาศาสตร์มีการจัดงานทำบุญให้อาจารย์ใหญ่ เชิญญาติๆ อาจารย์ใหญ่มาร่วมทำบุญด้วย อย่างน้อยนักศึกษาก็จะได้ใกล้ชิดกับญาติอาจารย์ใหญ่ด้วย เพราะญาติอาจารย์จะเล่าถึงอาจารย์ใหญ่ตอนมีชีวิตว่าเป็นคนยังไง ทำให้เราซึบซับว่าท่านเป็นคนใจดีที่เสียสละร่างให้เราเรียนรู้ แล้วเหมือนเรามีความผูกพันกัน ทุกครั้งจะไหว้ให้ความเคารพท่านและขอบคุณท่านมากๆ ที่เสียสละร่าง
    ด้าน นศพ.มติ จงศิริภิญโญ พูดไว้อย่างน่าคิดว่า จากที่ได้เรียนรู้ร่างของอาจารย์ใหญ่หลายๆ ครั้งแล้ว ก็รู้สึกว่าเวลาเดินไปตามโต๊ะต่างๆ อาจารย์ก็เหมือนกันหมด รู้สึกว่าเราควรรักเพื่อนมนุษย์เพิ่มมากขึ้น หรือช่วยเหลือกันให้มากกว่านี้ เมื่ออาจารย์ใหญ่อุทิศร่างกายให้ศึกษา เราก็ต้องกลับไปรักเพื่อนมนุษย์ กลับไปรักสัตว์ด้วย และเราจะได้เป็นหมอที่ดีมากขึ้น ที่สำคัญอยากจะบอกว่าคนเราตายแล้วก็เหมือนกัน ถือเป็นธรรมดาโลก0 เรื่อง สุทธิคุณ กองทอง / ภาพ ศุภชัย เพชรเทวี 0

    -->[​IMG]
    ภาพยนตร์เรื่อง "อาจารย์ใหญ่" แม้ว่าจะปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "ศพ" แต่ก็ไม่อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกดีๆ ต่อนักศึกษาแพทย์ ที่ได้เรียนรู้กับอาจารย์ใหญ่ และเพื่อให้คนสัมผัสกับอาจารย์ใหญ่จริงๆ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดงานโอเพ่น เฮ้าส์ (Faculty of Science, Mahidol Univiresity) ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๔ สิงหาคม ของทุกๆ ปี
    รศ.วันทนีย์ ตระกูลรังสี อาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล กล่าวว่า กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) ในวิชานี้เป็นการชำแหละอาจารย์ใหญ่ นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับร่างดองของอาจารย์ใหญ่ ก่อนที่จะไปเจอคนไข้จริงๆ ซึ่งอาจารย์ใหญ่ที่ว่ามาจากผู้ที่บริจาคร่างกายเอาไว้กับคณะวิทยาศาสตร์ของ ม.มหิดล ตั้งแต่ท่านอาจารย์ใหญ่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนอีกประเภทหนึ่งผู้ตายไม่ได้บริจาคร่างกายเอาไว้ แต่มีญาติยินดียกร่างให้เป็นอาจารย์ใหญ่
    เมื่อร่างบริจาคถึงกำหนดที่จะนำขึ้นมาให้นักศึกษาเรียน ภาควิชาจะมีจดหมายแจ้งมายังญาติของผู้ตายตามที่อยู่ที่เคยแจ้งไว้ และแจ้งกำหนดพิธีทำบุญอาจารย์ใหญ่ ก่อนที่จะให้นักศึกษาเรียน พร้อมกับเชิญญาติมาร่วมทำบุญด้วย ส่วนใหญ่จะทำบุญประมาณเดือนกรกฎาคม
    ในวันทำบุญนี้ ญาติอาจารย์ใหญ่ที่มาร่วมพิธีมักจะบริจาคเงินทำบุญสมทบค่าอาหารและค่าใช้จ่ายอื่นๆ บางคนก็บริจาคเงินสมทบทุนกองทุน เพื่อการศึกษากายวิภาคศาสตร์อีกด้วย
    "ในวันทำบุญอาจารย์ใหญ่ก่อนเปิดภาคเรียน ภาควิชาจะให้ญาติเข้าเยี่ยมอาจารย์ใหญ่ ขณะเดียวกันนักศึกษาจะได้พบปะพูดคุยกับญาติของอาจารย์ใหญ่ท่านนั้น เพื่อทำความรู้จักกับญาติ และสอบถามถึงความเป็นอยู่และโรคภัยไข้เจ็บของอาจารย์ใหญ่ก่อนเสียชีวิต เพื่อนำมาประกอบการศึกษาวิชามหกายวิภาคศาสตร์ สำหรับร่างอาจารย์ใหญ่ที่นักศึกษาเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ภาควิชาจะดำเนินการขอพระราชทานเพลิงศพ และแจ้งกำหนดวันพระราชทานเพลิงศพให้ญาติทราบด้วย" รศ.วันทนีย์ กล่าวพร้อมกับบอกด้วยว่า
    ช่วงแรกๆ คณะแพทยศาสตร์ ม.มหิดล ขาดแคลนอาจารย์ใหญ่ เนื่องจากยังไม่ค่อยมีคนบริจาคร่างให้ เราจึงได้รับความอนุเคราะห์จาก ม.เชียงใหม่ หรือโรงพยาบาลศิริราช พอมาถึงวันนี้ มีผู้มาบริจาคร่างกายเพิ่มมากขึ้น โดยจะดองร่างอาจารย์ใหญ่ไว้ประมาณ ๑ ปี เพื่อให้กล้ามเนื้อและส่วนต่างๆ ของร่างกายได้รับการรักษาไว้เป็นอย่างดี ก่อนที่จะนำมาให้นักศึกษาเรียน ตลอดการเรียนแพทย์ของนิสิต ๑ ปีจะต้องใช้ร่างอาจารย์ใหญ่ประมาณ ๕๐ ร่าง และ ๑ ร่างจะมีนิสิตเรียนร่วมกัน ๖ คน
    รศ.วันทนีย์ ยังบอกด้วยว่า สำหรับประชาชนที่ต้องการอุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาเป็นอาจารย์ใหญ่ให้นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้ สอบถามรายละเอียดได้ที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระรามที่ ๖ เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทร.๐-๒๓๕๔-๗๓๔๖, ๐-๒๒๐๑-๕๔๐๐, ๐-๒๒๐๑-๕๔๐๒, ๐-๑๘๔๑-๘๖๓๒, ๐-๑๒๗๘-๕๐๒๑
    ------
    อาจารย์ใหญ่คือครูผู้ยิ่งใหญ่
    "คม ชัด ลึก" สอบถามถึงความรู้สึกและสิ่งที่ได้รับจากอาจารย์ใหญ่ของนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล ปี ๒ โดยแต่ละคนพูดถึงอาจารย์ใหญ่ไว้อย่างน่าคิด เช่น
    นศพ.เศรษฐนันท์ เศรษฐการุณย์ บอกว่า ก่อนเรียนอาจารย์จะให้เราพบญาติของอาจารย์ใหญ่ ซึ่งจะทำให้เรามีความเคารพ มีความรู้สึกผูกพันว่าเราต้องดูแลอาจารย์ใหญ่ตลอดเวลาที่เราเรียนกับท่าน เพราะถือว่าท่านก็เป็นอาจารย์เราอีกคนหนึ่ง ทุกโต๊ะของนักศึกษาก่อนเรียนจะต้องสวัสดีอาจารย์ใหญ่ พอเรียนเสร็จแล้วก็จะต้องทำความสะอาดโต๊ะให้เรียบร้อย ยิ่งไปกว่านั้นที่บ้านเมื่อมีการทำบุญ ก็จะเอ่ยชื่ออาจารย์ใหญ่ด้วยทุกครั้ง ถือเป็นการให้ความเคารพท่าน
    ในขณะที่ นศพ.ปิยวุฒิ กรีฑาภิรมย์ กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ตอนที่เรียนแรกๆ อาจจะตื่นเต้นบ้างที่ได้เรียนกับอาจารย์ใหญ่ จริงๆ เป็นเรื่องที่ดีที่คณะวิทยาศาสตร์มีการจัดงานทำบุญให้อาจารย์ใหญ่ เชิญญาติๆ อาจารย์ใหญ่มาร่วมทำบุญด้วย อย่างน้อยนักศึกษาก็จะได้ใกล้ชิดกับญาติอาจารย์ใหญ่ด้วย เพราะญาติอาจารย์จะเล่าถึงอาจารย์ใหญ่ตอนมีชีวิตว่าเป็นคนยังไง ทำให้เราซึบซับว่าท่านเป็นคนใจดีที่เสียสละร่างให้เราเรียนรู้ แล้วเหมือนเรามีความผูกพันกัน ทุกครั้งจะไหว้ให้ความเคารพท่านและขอบคุณท่านมากๆ ที่เสียสละร่าง
    ด้าน นศพ.มติ จงศิริภิญโญ พูดไว้อย่างน่าคิดว่า จากที่ได้เรียนรู้ร่างของอาจารย์ใหญ่หลายๆ ครั้งแล้ว ก็รู้สึกว่าเวลาเดินไปตามโต๊ะต่างๆ อาจารย์ก็เหมือนกันหมด รู้สึกว่าเราควรรักเพื่อนมนุษย์เพิ่มมากขึ้น หรือช่วยเหลือกันให้มากกว่านี้ เมื่ออาจารย์ใหญ่อุทิศร่างกายให้ศึกษา เราก็ต้องกลับไปรักเพื่อนมนุษย์ กลับไปรักสัตว์ด้วย และเราจะได้เป็นหมอที่ดีมากขึ้น ที่สำคัญอยากจะบอกว่าคนเราตายแล้วก็เหมือนกัน ถือเป็นธรรมดาโลก


    0 เรื่อง สุทธิคุณ กองทอง / ภาพ ศุภชัย เพชรเทวี 0

    Ref. http://www.komchadluek.net/2006/09/05/j001_44133.php?news_id=44133
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...