อานาปานสติ กำหนดลมหายใจ หรือปล่อยรู้ไปตามธรรมชาติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 14 พฤศจิกายน 2010.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    วิชชาอานาปานสติ เป็นวิชชาที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ใช้ในวันตรัสรู้ จนบรรลุธรรม ตรัสรู้โดยพระองค์เอง เป็นมงกุฎแห่งพระกรรมฐานทั้งปวง แต่น่าเสียดายว่า วิชชานี้ หาคนรู้จริงมีน้่อย
    เนื่องจาก ว่า อานาปานสติ เป็นของละเอียด เป็นของประณีต ผู้ปฏิบัติได้จะต้องมีจิตละเอียด จิตประณีตเพียงพอที่พร้อมจะเข้าถึง ยอดแห่งพระกรรมฐานนี้

    ก่อนอื่น ผมขอพูดให้ฟังก่อนว่า อานาปานสติ คืออะไร

    อานาปานสติ ตามพระสูตรในพระไตรปิฎก กล่าวเอาไว้ในเชิงปฏิบัิติ คือ กำหนดรู้ลมหายใจเข้า กำหนดรู้ลมหายใจออก
    อานาปานสติ ตามวินิจฉัยในคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค กล่าวเอาไว้ว่า
    อานาปานสติ คือ พระสมาธิ อัน ประกอบไปด้วยสติระลึก พิจารณาลมหายใจออก ลมหายใจเข้า

    อานาปานสตินี้เวลาเอามาปฏิบัติจริง หลายคนๆ ทำไปแล้วง่วง ทำไปแล้วจิตใจไหลไปที่อื่น
    คำถามที่คนส่วนมาก ถามก็คือ เวลารู้ลมหายใจเข้า หายใจออกนั้น ควรรู้ไปตามธรรมชาติ หรือ กำหนด บังคับลมหายใจให้ออกให้เข้า ตามที่ต้องการ กันแน่

    ก่อนอื่น อยากจะให้พิจารณา การทำสมาธิทั่วๆไป ก่อนตอบคำถามว่า อานาปานสตินี้ กำหนด หรือ รู้ไปตามธรรมชาติ
    การทำสมาธิทั่วไป คือ การให้จิตไปรู้ในอาการใดอาการหนึ่งของ เราเอง
    เช่น ไปสร้างภาพกสิณ แล้ว เอาใจไปรู้เฉพาะภาพนั้น
    หรือ บริกรรมพุทโธ แล้วเอาใจไปรู้ แต่เฉพาะคำว่า พุทโธ เท่านั้น
    หรือ ระลึกถึง ความตาย แล้วเอาใจไปพิจารณาแต่เรื่องนั้น
    หรือ ระลึกถึง พระคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วเอาใจรู้แต่เรื่องนั้น
    โดย รู้ได้อย่างต่อเนื่อง และ ไม่วอกแวก ไปในเรื่องอื่น หากเราทำได้แบบนี้ เราเรียกว่า มีสมาธิ

    จาก การทำสมาธิที่กล่าวมานั้น วิธีการทำสมาธิ จะเห็นได้ว่า่ เราต้องไปสร้าง สิ่งที่ให้ใจไปรับรู้ก่อน อยู่ดีๆ ไม่มีภาพกสิณ เราต้องไปสร้างขึ้น อยู่ดีๆ ไม่มีคำบริกรรม เราก็สร้างขึ้นมา
    อยู่ดีๆ ไม่มีเรื่องความตาย เราก็ไปหยิบเรื่องความตายขึ้นมา

    ก็จะเห็นได้ว่า่ เราจะต้องสร้าง จะต้องทำให้เกิด บางสิ่ง เพื่อให้ใจไปรับรู้แต่เฉพาะสิ่งนั้น นี้คือ การกระทำเบื้องต้น
    แล้วจากนั้น เมื่อรู้ๆไปเรื่อยๆ จิตจะค่อยๆสงบตัวลง แล้ววางเรื่องนั้นลงไปเอง
    จนเกิด อุเบกขา ในที่สุด


    ทีนี้ ในส่วนของพระอานาปานสติ นั้นเราจะทำอย่างไรดี จะต้องสร้าง สิ่งที่ให้จิตรู้ หรือว่า ให้จิตไปรู้สิ่งที่มีอยู่แล้วเอง ขอยก พระสูตรมาบางส่วนให้พิจารณาก่อน

    จากพระสูตร ในส่วนนี้ กล่าวไว้คือ
    รู้ชัดว่าหายใจเข้าออกยาว รู้ชัดว่าหายใจเข้าออกสั้น
    สำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
    สำเหนียกว่า จะระงับกายสังขาร

    จากพระสูตร อาการรู้ชัดในการหายใจเข้าออก ก็เป็นที่แน่ชัดว่า เราจะต้องทำลมหายใจเอง ให้ยาว ให้สั้น เพราะตามธรรมชาติ หากปล่อยไปตามธรรมชาติแล้ว ลมหายใจย่อมมีลักษณะคงที่ และ เราไม่สามารถไปรู้ชัดได้

    ประการต่อมา ท่านให้สำเหนียก เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ กองลมทั้งปวง ซึ่งก็หมายความว่า เราเองนั้นแหละเป็นผู้กำหนด แล้วดูลมหายใจเข้าออก
    ให้รู้ชัดในอาการ คือ ตามติดไปในกองลมทั้งปวง

    และ สำเหนียกกำหนดกองลมทั้งปวง แล้ว หายใจออกไป
    สำเหนียกระงับกายสังขาร คือ ลมเกร็งส่วนใด ลมคลายส่วนใด เราจะเห็นหมด หากว่า เรามีสติในกายดี

    เมื่อระงับกายสังขาร ลมหายใจจะค่อยๆประณีตขึ้น คือ ไม่มีอาการเคลื่อนแรง แต่จะเบาจนเหมือนไม่ได้หายใจ ในที่สุด

    จึงขอสรุปว่า อานาปานสติ จะต้องกำหนดลมหายใจเอง เรียนรู้เอง เอาใจไปวางไว้เอง ไม่ใช่ไปรู้ลมหายใจตามธรรมชาติ เว้นแต่เราจะชำนาญในกองลม แล้ว ธรรมชาติของลมหายใจเป็นปกติแล้ว จึงควรรู้ในลมปกตินั้น

    การสร้างลมหายใจให้ยาว ให้เราสูดลมช้าๆ หายใจไปจนถึง ท้องน้อย เอาใจตามติดไปทุกขณะ จาก ปลายจมูกไปจนถึงท้องน้อย จะเห็นลักษณะของการกระเพื่อมของลม

    ลมหายสั้น ให้เราสูดลมหายใจเร็ว ไปจนถึงระดับคอ เราก็จะเห็นลมสั้น

    ลมหายใจที่ดีจะไม่สั้นเกินไป ไม่ยาวเกินไป เอาที่พอสบายตน แล้วใช้ ลมนั้น เป็น ตัวให้จิตตาม

    เมื่อจิตตามไปจนได้พระสมาธิแล้ว คอยดูว่า ส่วนใดที่เรายังไม่ระงับ มันจะมีอาการ ปรากฎ หยาบ ที่กาย ระงับส่วนนั้นด้วยการสำเหนียกรู้ หายใจเข้า เราจะระงับคือปล่อย หายใจออกเราจะระงับ คือปล่อย กายสังขารส่วนนั้นจะระงับลงไป ให้ปรากฎเบา

    ลองพิจารณากันดู ฝึกทำให้บ่อย จะเห็นผลชัดเจน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2010
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663

    ตามนั้นเลยครับ......โมทนาสาธุธรรม.....

    ความสำคัญของอานาปานุสติ อยู่ที่สติระลึก ในลมหายใจ.......

    ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าลมหายใจยาวหรือสั้น.....หรือว่าธรรมชาติหรือไม่ธรรมชาติอย่างไร......

    ความสำคัญอยู่ที่สติรู้ สติระลึก......

    ___________________________________________________




    [​IMG]


    สติปัฏฐานสูตร

    อานาปาณบรรพ



    ........ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่
    อนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ ..........<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2010
  3. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    ต้องทำความเข้าใจอีกอย่างหนึ่งว่า

    คำว่า มีสติ คือ รู้ก่อน หากว่า เราไม่ศึกษา เราก็จะไม่รู้จัก

    เช่นว่า นั่งรถไป ไม่เคยเห็นทาง ก็ไม่รู้จักทาง

    สติก็เหมือนกัน จะรู้ สภาพใดๆ ก็ต้องเข้าไปดู ดังจะเห็นได้ว่า

    จนกว่า เราจะรู้จัก และ ปล่อยได้แล้ว จึงเรียกว่า การวาง การสักแต่ว่ารู้

    แต่ก่อนจะไปถึง สักแต่ว่ารู้นั้น ต้อง พิจารณา ต้องศึกษา ด้วยการสังเกตุดู แยกแยะ

    ด้วยการมีสติตามรู้ ตามดูในสิ่งที่เราสังเกตุนั้นแหละ
     
  4. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +574
    จึงขอสรุปว่า อานาปานสติ จะต้องกำหนดลมหายใจเอง เรียนรู้เอง เอาใจไปวางไว้เอง ไม่ใช่ไปรู้ลมหายใจตามธรรมชาติ ผมว่าไม่ใช่นะ ครับ ลองฟังพระพุทธองค์สอน เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
    หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
    สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม ทั้งปวง หายใจออก
    ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจ
    ออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ( เราไม่ต้อง กำหนด เพียงแต่ รู้ เฉยๆ ครับ )
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    ลองให้่เหตุผลมาสิครับ ว่าเพราะอะไรถึงไม่ใช่


    ผมถามอย่างหนึ่งว่า เวลาคุณทำสมาธิ ด้วยการท่องพุทโธ อยู่ดีๆ คุณท่องเอง หรือว่า มีเจตนา กำหนด
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    คนเดินจงกรม อยู่ดีๆ เดินเองหรือ เรามีเจตนากำหนดการเดิน

    จริงอยู่ว่า ลมหายใจ แม้ไม่ได้ไปกำหนด มันก็ต้องหายใจอยู่แล้ว

    แต่ถามว่า เวลาเราเดินไปไหนมาไหน แม้ไม่กำหนด ขามันก็ไปของมันได้เหมือนกัน

    แต่เมื่อเวลาจะมาเจริญสติ ปล่อยให้มันเดินไปเอง หรือว่า จะต้องมากำหนด
     
  7. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ตกลงจะสอน อานาปานสติ หรือว่า เอาอันอื่นมากลบ อานาปานสติของพระพุทธองค์ กันหละครับ

    ถ้าเป็น กายคตา ผมว่า อะไรๆ มันก็ปรากฏของมันอยู่แล้ว การเดิน คนมันก็เดินเป็น
    อยู่แล้ว มีแต่คนมักมาก คิดมาก ท่ามาก หรือไม่ก็พวกต้องการสร้างคำสอนมากลบธรรมะ
    ของศาสดาจึงพูดว่า ต้องโง่บรมโง่ ตัวเองเดินดูไม่ออก เดินไม่เป็น ก็เลยต้อง กำหนด
    ท่าเดินเข้าไป การหายใจมันก็หายใจไม่เป็น เลยต้องกำหนดรูปลมหายใจขึ้นมา

    ทั้งๆที่ ภาษาไทย ก็แปลตรงตัวว่า เมื่อ........ให้รู้.......

    ไม่ใช่ กำหนด.....แล้วรู้ตามที่กำหนด...... [ พวกอัตตามาก คิดสร้างคำสอนใหม่แทน คำสอนของศาสดา ]

    และไม่ใช่ ให้กำหนด.......แล้วรู้ตามที่กำหนด......[ พวกทิฏฐิพระเจ้าเข้ามาแฝงในคำสอน ]


    สรุป ผมก็ขอยืนยันว่า อานาปานสติกรรมฐาน เป็น กรรมฐานที่พระพุทธองค์ทำมากที่สุด มากกว่า
    กรรมฐานอื่น ความคิดของเศษสาวกที่มองว่า พระพุทธองค์กล่าวคำไม่สละสลวย ต้องตีความ ต้อง
    ให้อรรถาธิบาย นั่นไม่ใช่เพราะ พระพุทธองค์พร่องหรือไม่รู้ในการสอนกรรมฐานอานาปานสติควร
    ใช้คำอย่างไรจึงดีที่สุด แต่เป็นเพราะ เศษสาวกหมดความยำเกรงคำสอนของพระศาสดา จึงริอ่าน
    สร้างอุบายธรรมของตนขึ้นมากลบ แล้วยกว่า อธิบายได้ดีกว่า เข้าใจกว่า

    ดังนั้น อานาปานสติบรรพ ใครก็ตามที่พูดเป็นอื่น ไม่ใช้คำของศาสดาล้วน เป็นพวกเศษสาวกชั้นหลังๆเท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2010
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    พูดแบบนี้ ไม่เป็น อารยชน เพราะอารยชน จะต้องมีเหตุผลสิ
    ไม่ใช่ บอกว่า หายใจไม่เป็น เดินไม่เป็น ต้องกำหนดรูปขึ้นมา แบบนี้ เรียกว่า สรุปไปเอง
    ก็เขาอธิบายข้างต้นมาตั้งนาน ไม่ได้อ่านบ้างหรือว่า กำหนดรูปขึ้นมาทำไม

    ตามธรรมชาติ ของคนมีกรรม หายใจมันก็หยาบ หายใจสั้นบ้าง ยาวบ้าง ก็ไม่อาจจะรู้จักสิ่งที่ประณีต

    การเข้าไปรู้ ด้วยการหายใจเข้าลึก หายใจออกลึก ด้วยการกำหนดย่อมสามารถ จิตมีปัีญญาแยกแยะได้

    พิจารณาก่อนแย้ง
     
  9. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,210
    ค่าพลัง:
    +3,130
    ที่ไม่เห็นด้วยเพราะว่าการทำอานาปาน คือการเอาสติไปรู้ลมหายใจของธรรมชาติ
    หากมีเราเข้าไปพิจารณาลมหายใจ ถือว่าไม่ถูกทาง จิตเขาจะพิจารณาของเขาเอง
    เมื่อถึงเวลา ถ้ายังมีเราคือไม่ใช่ เมื่อพิจารณาเสร็จ จิตจะแสดงให้เรารู้เอง จิตเขาพิจารณาเองสิ่งที่เห็น คือลมหายใจเป็นของกลาง ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา
    และมีแค่ก้อนธาตุเท่านั้น ลงมือทำให้ได้จริงๆ แล้วจะเห็นเอง อัตตาตัวตนมันจะหายไป
     
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    เรื่องนี้ น่าสนใจ เพราะว่า หากทำถูกย่อมได้ผลทันที แต่หากทำผิด เราก็ไม่สามารถเข้าใจได้ว่า ทำไมพระศาสดา ถึงสรรเสริญ คุณของอานาปานสติ อย่างยิ่ง แต่ว่า ยุคหลังมานี่ อานาปานสติ กลับกลายเป็น กรรมฐานที่ทำกันไม่ค่อยได้ผล

    กลายเป็น แค่ รู้ลมหายใจทั่วไป

    บางคนเลยไม่อาจจะเข้าใจได้ว่า หายใจที่ปกติ ที่ประณีตนั้นเป็นอย่างไร

    ที่สะดวกสบายที่ผ่อนคลายเป็นอย่างไร

    อานาปานสติ ใครลองทำให้ดี คือ จ่อใจไว้ที่จุดใดจุดหนึ่ง หายใจเข้ายาวๆ และ ออกยาวๆ เอาใจวางตั้งไว้ที่เดียว หรือ จะตามลมก็ได้ แต่ให้ตามทุกขณะจิต หรือ ตั้งมั่นอยู่ทุกขณะที่ลมเคลื่อน จิตจะสว่าง ตาจะสว่างขึ้นมาในทันที

    จะอึุดอัดทีแรก ก็ไม่เป็นไร ค่อยๆ ทำไป ปรับแต่งไป จนเข้าสู่ลมปกติ แล้วปล่อยวางลม เป็น สังขารุเบกขา ในส่วนของลม แล้ว ลมนั้นจะเลี้ยงกายเราให้ ปกติ สุข ได้
    เป็น อัตโนมัติ
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    กหลบภัยเคยเป็นศิษย์หลวงพ่อปราโมทย์ สัญญามันก็ติดจิตมาแบบนั้นแหละ
     
  12. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,210
    ค่าพลัง:
    +3,130
    ตรงนี้แสดงให้เห็นว่าลุงขันธ์ยังไม่ถึงจิตที่มันเห็นเอง ที่กล่าวมาผิด
     
  13. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,210
    ค่าพลัง:
    +3,130
    หลบภัยไม่เคยเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อปราโมทย์ เคยบอกหลายครั้งแล้ว
    แต่ไม่เป็นไรนะ ที่มากล่าวไม่อยากให้ใครผิดทาง
     
  14. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    ไม่บอกแค่นี้สิ ต้องบอกด้วยว่า แสดงอย่างไร จึงเรียกว่าผิด

    การกำหนดรู้ พระศาสดาทรงกล่าวเอาไว้ทั้งหมด เช่น การใช้คำว่า สำเหนียกรู้ ลม สำเหนียกรู้จิต สำเหนียกรู้การดับ ไม่กำหนดมารู้ มันจะไปรู้ของมันเองอย่างไร

    มันต้อง เตือนต้องสังเกตุว่า อาการแบบนี้ คือ อาการแบบนั้นแบบนี้ แยกแยะได้ เป็น องค์ธรรมวิจย
     
  15. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    Bla....Bla....Bla....

    ดีนะ หลบภัยเป็นผู้หญิง เลยนิยามอาการนายขันธ์ยัดเยียดข้อหา ดีดไข่ ไม่ถูก
     
  16. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    ไม่ถูกก็ยก เหตุผลมากล่าว พูดมา ว่าผิดอย่างไร เพราะเหตุใด
     
  17. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    ต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึง อานาปานสติกรรมฐาน


    อานาปานะ ก็หมายถึง ลม การเจริญอานาปานสติกรรมฐานนั้น หมายถึงการเจริญกรรมฐานเกี่ยวเนื่องด้วยการกำหนดรู้ลมหายใจ


    เมื่อ นักปฏิบัติทั้งหลายนั่งคู้บัลลังก์ โดยขัดสมาธิเอาขาขวาทับขาซ้าย มือซ้ายวางลงบนตัก เอามือขวาวางทับลงไป แบบพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ แล้วกำหนดระลึกถึงพระบรมครู โดยนัยว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ เช่นเดียวกันกับการเจริญกรรมฐานพุทโธ แล้วก็กำหนดจิตของตนเองว่า จิตของตนมีความลำเอียงไปข้างรักหรือข้างชัง ส่งไปข้างหน้าหรือข้างหลัง ข้างซ้ายหรือข้างขวา ให้รู้ชัดลงไปแล้วก็ตั้งใจกำหนดจิต ดูลมหายใจของตนเองเฉยอยู่


    น ขั้นต้น เราอาจจะแต่งลมหายใจของเรา โดยกำหนดจิตให้แน่วแน่แล้วก็ค่อยสูดลมหายใจยาวๆ ช้าๆ จนกระทั่งหมดแรง แล้วก็ปล่อยออกมาอย่างช้าๆจนกระทั่งหมด แล้วก็สูดเข้าไปอีกทีหนึ่ง แล้วก็ปล่อยออกมาอีกทีหนึ่ง ทำอย่างนี้ถึง๕ ครั้ง เข้าออกเป็นครั้งหนึ่ง ต่อไปหายใจอย่างปกติ ไม่ต้องไปแต่งลมหายใจหน้าที่ของเรามีเพียงแต่ว่ากำหนดรู้ลมหายใจที่เป็นเอง โดยธรรมชาติเท่านั้น คือดูให้รู้ว่าการหายใจเบาหรือหายใจแรง หายใจสั้นหรือหายใจยาว ก็ให้รู้อยู่ทุกจังหวะกำหนดตัวผู้รู้ไว้ที่ลมผ่านเข้า ซึ่งมีการสัมผัสอยู่ที่ปลายจมูก โดยจะนึก พุทพร้อมกับลมหายใจเข้า โธ พร้อมกับลมหายใจออกก็ได้ หรือหากไม่ทำอย่างนั้นไม่ต้องนึกพุทโธพร้อมกับลมหายใจเข้า หายใจออก เพียงแต่กำหนดรู้ลมเข้าออกเฉยอยู่ เมื่อจิตของเราส่งไปทางอื่น เรารู้ว่าจิตส่งไปทางอื่น ก็กลับเอามารู้ไว้ที่ปลายจมูก ตรงฐานที่ตั้ง กำหนดดูอยู่อย่างนั้นจนกว่าจิตของเราจะยึดเอาลมหายใจเป็นอารมณ์จริงๆ คืออยู่ที่ลมหายใจ ซึ่งในบางครั้งเมื่อจิตมาอยู่ที่ ๆ เรากำหนดไว้แล้วบางทีจิตอาจจะวิ่งออกวิ่งเข้าตามกระแสทางเดินแห่งลม ก็ปล่อยให้จิตของเราเดินออกเดินเข้าตามกระแสแห่งลม


    ใน ตอนนี้แสดงว่าจิตของเรายึดเอาลมหายใจเป็นอารมณ์แล้วให้ดูลมหายใจเฉยอยู่ อย่าไปทำความนึกคิดอะไรอื่น นอกจากการดูลมหายใจเท่านั้น แล้วก็กำหนดรู้อยู่อย่างนั้นตลอดไป ให้มีสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้อยู่ที่จิตกับลมหายใจลมหายใจกับจิตอย่าให้พรากจากกัน และก็พยายามทำจิตให้เป็นกลาง อย่าไปยินดีในความเป็นของลมหายใจ หรืออย่าไปยินร้ายในความเป็นของลมหายใจ อย่าไปตกอกตกใจในอาการที่ลมหายใจมันอาจจะมีการแสดงกริยาไปต่างๆ เช่น บางทีอาจจะมีความรู้สึกว่าหายใจแรงผิดปกติ ก็อย่าไปทำความตกใจ บางทีจะมีอาการคล้ายๆ กับว่าลมหายใจมันจะหยุด ก็อย่าไปทำความตกใจ มันจะเป็นอย่างไรก็ตามให้กำหนดรู้เฉยอยู่อย่างนั้น ผู้รู้คือจิตนั้นเป็นตัวสำคัญ อย่าเผลอ ลมหายใจเป็นเพียงแต่อารมณ์เป็นเครื่องช่วยให้จิตสงบเท่านั้น แต่ตัวจิตคือผู้รู้กับสติสัมปชัญญะนี้ก็จะต้องประคับประคองจิตของเราไว้ให้ ดี และในขณะที่เราปฏิบัติอยู่นั้น อย่าไปทำความรู้สึกว่าอยากรู้อยากเห็น หรืออยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพียงแต่กำหนดรู้ลมออกลมเข้า และความเป็นไปต่างๆ ของลมเท่านั้น เมื่ออาการอย่างไรเกิดขึ้นก็ให้รักษาจิตไว้ให้ดีให้มีสติสัมปชัญญะ อย่าไปตื่น อย่าไปตกใจ อย่าไปมีอาการใดๆทั้งสิ้น ให้เรารู้อยู่ที่ลมหายใจอย่างเดียวเท่านั้น นี้คือการปฏิบัติเกี่ยวกับลมหายใจ


    ที นี้ เมื่อเรากำหนดรู้อยู่อย่างนั้น ถ้าหากจิตของเราเป็นไปตามแนวแห่งสมาธิหายใจจะละเอียดเข้า ละเอียดเข้า ทุกทีๆ ในที่สุดลมหายใจก็จะหายไปหมดเมื่อลมหายใจหายไปจากความรู้สึกแล้ว ความสว่างภายในจิตก็จักปรากฏขึ้น เมื่อความสว่างภายในจิตปรากฏขึ้น ร่างกายก็หายไปในขณะนั้น เมื่อร่างกายหายไปแล้วก็ให้นึกว่าร่างกายยังมีอยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความตกใจ พอร่างกายและลมหายใจหายไปหมดแล้ว จิตมันจะไปอยู่ที่ไหน ตรงนี้ต้องพยายามทำสติสัมปชัญญะให้รู้เท่าทันอาการเหล่านั้นให้ดี บางทีบางท่านอาจจะเกิดความวิตกขึ้นมาว่า เมื่อร่างกายและลมหายใจหายขาดไปแล้ว จิตมันจะไปอยู่ที่ไหน เมื่อเป็นเช่นนี้ ความหวั่นวิตกหรือความกลัวก็จะเกิดขึ้น แล้วจะทำให้จิตถอยจากสมาธิ ถ้าหากมีความกลัวติดอยู่ในความรู้สึก เมื่อจิตดำเนินไปถึงขั้นนี้ พอจะเข้าขั้นละเอียดกันจริงๆแล้วมักจะเกิดความกลัวขึ้นมา แล้วจิตจะถอยจากสมาธิ วิธีแก้ก็คือ พยายามทำบ่อยๆ ทำให้มากๆ อาศัยภาวิตา อบรมให้มากๆ พหุลีกตา กระทำให้มากๆ และมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทัน นี้คือเหตุผลแห่งการบำเพ็ญสมาธิขั้นสมถะ

    บางส่วนจาก
    อานาปานสติกรรมฐาน โดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    อานาปานสติกรรมฐาน โดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤศจิกายน 2010
  18. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,210
    ค่าพลัง:
    +3,130
    บอกไปแล้ว นี้คือเหตุผล ไม่ได้มาไม่เห็นด้วยลอย
     
  19. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,210
    ค่าพลัง:
    +3,130
    คนที่ไม่เคยทำอานาปานอย่างแท้จริง แม้คำสอนของหลวงพ่อก็ไม่สามารถพพิจารณาแยกแยะได้ ว่าท่านแปลความหมายอย่างไร ลงมือทำอย่างไร
    ไม่เถียงดีกว่า อยากคุยกับคนที่ปฏิบัติ จริงๆ มากกว่า
     
  20. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    ก็ธรรมชาติของคน โง่ หรือ ฉลาด มาก่อน
    ธรรมชาติของ หลบภัยก็เป็นอย่างนั้น คือ โง่อยู่ จึงมองเรื่องฉลาด ผิดหูผิดตาไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...