อานาปานุสสติกรรมฐาน ถึง ฌาน ๔

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Bi-Location, 5 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. Bi-Location

    Bi-Location Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +49
    อาณาปานุสสติกรรมฐาน<O:p</O:p

    ตามแบบนักปฏิบัติ โบราณจารย์ท่านว่า มีเพียง กรรมฐาน ๑๒ กองเท่านั้นที่สามารถเข้าถึง ฌาน๔ ดังนี้คือ กสิณ ๑๐ /อาณาปานุสสติ ๑ /อุเบกขาในพรหมวิหารธรรม ๑ <O:p</O:p
    สำหรับ อานาปานุสสติ เป็นกรรมฐานสำคัญที่จะไปเชื่อมกับกรรมฐานทุกกอง
    <O:p</O:p
    หากสามารถปฏิบัติ สมาธิกองนี้ไปถึงขั้น ฌานได้แล้ว สมาธิกองอื่นๆก็มิได้ยากเลย
    <O:p</O:p
    ก่อนอื่น พึงฝึกให้เป็นผู้มีสติ อยู่ตลอดวันให้ได้ ให้ระลึกรู้อยู่กับปัจจุบันในวงกายตนนี้เท่านั้น ความรู้สึก นึกคิดอยู่กับปัจจุบัน ที่นี่ เดี๋ยวนี้ โดยให้มีสติอยู่กับบทตั้ง ในที่นี้ให้ใช้ลมหายใจ เข้า ออกเป็นบทตั้ง แล้วหากจำเป็นต้องทำอย่างอื่น สิ่งอื่นก็ทำไปด้วยความมีสติ แล้วเมื่อทำเสร็จก็ให้กลับเข้ามาที่ฐานที่ตั้งสติเช่นเดิม ตลอดทั้งวัน ทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอน
    <O:p</O:p
    ๑. เมื่อจะเข้าสมาธิให้กำหนดจุดตำแห่งที่ลมกระทบเพียงจุดเดียว และจดจ่อลงไปใน<O:p</O:p
    จุดตำแหน่งนั้นๆ เช่น ที่ช่องโพรงจมูก ที่คอหอย ที่หน้าอก หรือท้องน้อยเหนือสะดือ ๓ นิ้ว หรือท้องน้อยใต้สะดือ ๒ นิ้ว เมื่อลมกระทบก็จดจ่อตำแหน่งที่กำหนดเป็นบทตั้งนี้เป็นสำคัญ เมื่อกำหนดบทตั้งได้แล้ว ให้ตามระลึกรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก สิ่งสำคัญคือดูลม<O:p</O:p
    หายใจ แต่อย่าเข้าไปเป็นลมหายใจเสียเอง เช่น อย่าไปบังคับว่ามันต้องแรง เบา ยาว หรือสั้น
    <O:p</O:p
    ๒. เมื่อจดจ่อ ต่อเนื่องแบบไม่ลดละ จิตจะรวมไปยังจุด ตำแหน่งที่เรากำหนดเป็นบทตั้งนั้น แล้วอาการของปีติ จะแสดงออกทางกายให้ทราบ ( บางคนอาจเกิดมาก บางคนอาจเกิดน้อย บางคนอาจไม่เกิดเลย เนื่องจาก จิตเร็วต่างกัน ) ขั้นนี้ มีทั้งความสว่าง และภาพนิมิตปรากฏ และมากขึ้น แล้วก็มากขึ้น หากไปหลงตามดู ไม่นานก็หลุดจากสมาธิ เพราะฉะนั้นหากต้องการไปต่อต้องอยู่กับบทตั้งเดิม
    <O:p</O:p
    ๓. เมื่อผู้ปฏิบัติไม่สนใจตามดูภาพนิมิต จิตจะสงบรวมลงละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ ความสว่างโพลงจะสว่างมากขึ้น ( มันไม่มืดแม้จะยังหลับตาอยู่ ) ขณะนี้ให้ผู้ปฏิบัติใช้ความรู้สึกนึกคิดบีบความสว่างนั้นให้เป็นดวงกลมๆ
    <O:p</O:p
    ๔. เมื่อได้ดวงสว่างกลมนั้น ให้นำมาวางในจุดตำแหน่งที่กำหนดเป็นบทตั้งตั้งแต่ตอนเริ่มแรก แล้วให้จดจ่อต่อไป กับดวงสว่างนั้น อาการที่แสดงออกทางการในช่วงนี้ ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกว่ามีความสุขอย่างบอกไม่ถูกมันอิ่มเอิบมาก ความนิ่งสงบจะมั่นคงมาก
    <O:p</O:p
    ๕. เมื่อจิตละเอียดมากขึ้น ดวงสว่างนั้นจะเข้มเข้าๆ จนเหมือนแก้ว แต่ยังมีความขุ่นมัวอยู่ หากเพียรไม่ลดละ มันจะเริ่มเหลือแต่ความสุขที่มากล้น ท่วมท้น และความนิ่งสงบอยู่
    <O:p</O:p
    ๖. เมื่อจิตละเอียดสงบมากถึงขีดสุด ดวงสว่างที่ถูกกำหนดในจุดตำแหน่งนี้จะเป็นแก้วใสๆ หรือเราเรียกว่าแก้วประกายพฤษภ ซึ่งถือว่าเป็นขั้น ฌาน ๔แล้ว อาการที่แสดงออกทางกายท่านจะไม่รับทราบแล้ว เหมือนกับร่างกายมันหายไป หูจะดังวิ้งๆคล้ายดำน้ำลึก เงียบสงบ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่มีวัน ไม่มีคืน แน่วแน่อยู่อย่างนั้น เนื่องจากจิตแยกออกจากกายเรียบร้อย
    <O:p</O:p
    ๗. หากแม้นท่านใดสามารถปฏิบัติสมาธิได้ถึงขั้นนี้แล้ว ควรฝึกเข้าออกให้บ่อย โดยพยายามจำวิธีการ ช่องทางที่เข้าไปถึงฌานขั้นนี้ให้ได้ แต่อย่าไปจำผลที่เกิดขึ้นแต่ครั้งก่อนว่าผลเป็นอย่างไร ขั้นนั้นเป็นแบบนั้น ขั้นนี้เป็นแบบนี้ ให้จำเพียงวิธี รูปแบบเท่านั้น ผลจะเป็นเช่นไรห้ามไปคาด ไปหมาย แล้วท่านจะสามารถเข้าฌาน ได้ตามประสงค์
    <O:p</O:p
    ๘. หากต้องการไปต่อ กสิณ ๑๐ ก็มิใช่เรื่องยาก สำหรับท่านที่ชำนาญใน อานาปานุสสติกรรมฐานจนได้ ฌาน แล้ว คือเมื่อต้องการฝึกกสิณก็มาจับลมหายใจก่อน แล้วค่อยเรียกภาพนิมิตกสิณขึ้นมา หากจำไม่ได้ก็ลืมตาดู แต่เชื่อเถอะว่า หากท่านคล่องในอาณาปานุสสติกรรมฐาน พอเรียกภาพนิมิตกสิณ ภาพนิมิตกสิณจะปรากฏได้ไม่ยาก เหมือลืมตาดูฉันใดก็ฉันนั้น แล้วก็ฝึกตามแบบฝึกกสิณต่อไป
    <O:p</O:p
    ขอให้เจริญในธรรม แล้วใช้กำลังแห่ง ฌาน ในการทำลายกิเลสออกจากจิตตน<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2011
  2. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผมขอแย้งนิดนะครับ เสียงที่ดังวิ้งๆไม่มีแล้วนะครับ ขณะเข้าไปในฌาณน่ะ

    อนุโมทนาสาธุครับ เป็นทางที่ควรเดินไปครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  3. *Rapin

    *Rapin สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +18
  4. Nattawut8899

    Nattawut8899 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,406
    ค่าพลัง:
    +7,043
    อ่านเเล้วเข้าใจง่ายดีครับ

    ขอบคุณมากครับ
     
  5. SP6580

    SP6580 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    518
    ค่าพลัง:
    +1,550
    ในฌาน ๔ นั้นถ้าไม่ผิดไป จะไร้รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส น่ะครับ จิตนิ่งเป็นหนึ่งเดียวความรู้สึกปราณีตมาก มีความสุขยากบรรยาย แต่เสื่อมง่าย ไม่ใช่จะเข้าง่ายๆ
     
  6. Bi-Location

    Bi-Location Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +49
    ฌานขั้นนี้มันเลยสุขไปแล้ว หากยังมีปีติ สุขเต็มขั้น มันยังไม่ถึง ฌานขั้นนี้

    เจริญในธรรมครับ
     
  7. Bi-Location

    Bi-Location Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +49
    เดิน อสุภะกรรมฐาน ๑๐เต็มกำลัง
    <O:p</O:p


    <O:p</O:p

    ครั้นเมื่อได้กำลังสมาธิขั้น ฌานแล้ว ก็ควรที่จะออก วิปัสสนา โดย เริ่มจากสิ่งหยาบก่อนนั่นคือ การพิจารณากายตน แต่ละคนอาจจะมีแบบฝึกแตกต่างออกไป แต่ในขั้นนี้เป้าหมายสำคัญคือการถอดถอนความยึดติดในกาย และกรรมฐานที่ควรนำมาพิจารณาเพื่อถอดถอนความยึดติดในกายนั่นคือ อสุภกรรมฐาน ๑๐ อย่างคือ การเพ่งสิ่งเหล่านี้เป็นอารมณ์<O:p</O:p
    ๑.อุทธุมาตกอสุภคือร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับวันแต่จะมีร่างกายขึ้นบวม พองไปด้วยลม
    ๒.วินิลกอสุภเป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาวคละปนระคนกัน คือ มีสีแดงในที่มีเนื้อมากมีสีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมากมีสีเขียวช้ำ<O:p</O:p
    ๓.วิปุพพกอสุภเป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ
    ๔.วิฉิททกอสุภคือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อน<O:p</O:p
    ๕.วิกขายิตกอสุภเป็นร่างกายของซากศพที่ถูกสัตว์ยื้อแย่งกัดกิน
    ๖.วิกขิตตกอสุภเป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจายมีมือ แขนขาศีรษะ กระจัดพลัดพรากออกไปคนละทาง
    ๗.หตวิกขิตตกอสุภคือซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่
    ๘.โลหิตกอสุภคือซากศพที่มีเลือดไหลออกเป็นปกติ
    ๙.ปุฬุวกอสุภคือซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่
    ๑๐.อัฏฐิกอสุภคือซากศพที่มีแต่กระดูก <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แนวปฏิบัติขั้นนี้ มี ๒ แนวทาง<O:p</O:p
    ๑.ให้ถอนออกจากฌาน แล้วเริ่มพิจารณา แยกร่างกายตนออกเป็นส่วนๆ คือ ส่วนที่เป็นธาตุดิน ส่วนที่เป็นธาตุน้ำ ส่วนที่เป็นธาตุลม และส่วนที่เป็นธาตุไฟ แล้วนำกลับมารวมกันให้นั่งอยู่ตรงหน้ากายเนื้อ แล้วเดิน อสุภะ ๑๐ โดยใช้รูปนิมิตนั้นแปลเปลี่ยนไปตามแบบ อสุภะ ๑๐<O:p</O:p
    ๒. ถอดกายทิพย์ออกมา แล้วค่อยเดินอสุภะ ๑๐โดยน้อมนำให้กายทิพย์เป็นไปตามแบบ อสุภะ ๑๐ ( แบบนี้ จะเห็นผลเร็วกว่า )<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ลองเพียรดู มิได้อันตรายแต่ประการใด <O:p</O:p
    ขอให้เจริญในธรรม<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2011
  8. โทสะ

    โทสะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +466
    การถอดกายทิพย์
    ต้องใช้กำลังใจขอสมควร ดังเมื่อเราเข้าสมาธิเต็มกำลังแล้ว

    1.อธิฐานออกก็ได้
    2.กำหนดรวมจุดเดียวแล้วพุ่งออกก็ได้
    3. ลุกออกไปเลยก็ได้
    ฯลฯ

    เปรียได้กับเมื่อเราได้ชาร์ตแบตเตอรี่เต็มแล้ว ก็สามารถนำไฟ ไปใช้งานได้ หากแบตเตอร์รี่ไม่มีไฟ ก็นำไปใช้งานไม่ได้ การชาร์ตพลังให้จิต คือการเข้าสมาธิ โดยเฉพาะขั้น ฌานนี่ มีกำลังมากโข

    เจริญในธรรมครับ
     
  9. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    เมื่อว่ากัน ตามตำราแล้ว อนุสติ เช่น พุทธานุสติ ให้ระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า

    ซึ่งต้องใช้ อารมณ์คิดนึก กรรมฐานกองนี้จึงได้สูงสุดเพียง ฌานหนึ่งเท่านั้น

    แต่ แต่ว่าถ้าเราใช้ พุทโธ เป็นคำภาวนา กรรมฐานกองนี้ ย่อมเข้าถึง ฌานสี่ ได้

    และกรรมฐานทุกกอง ถ้ารู้จักทำก็เข้าถึง ฌานสี่ ได้ทุกกอง เช่นกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...