อานิสงส์ของการเดินจงกรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย แว๊ด, 25 ตุลาคม 2008.

  1. แว๊ด

    แว๊ด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    982
    ค่าพลัง:
    +509

    <CENTER><TABLE borderColor=#996600 height=98 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="66%" border=2><TBODY><TR><TD>
    [SIZE=+1][SIZE=+1]พุทธศาสตร์ศึกษาโดยวิธีอุปมาอุปมัย เรื่อง
    "อานิสงส์ของการเดินจงกรม"

    พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ
    [/SIZE][/SIZE]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </CENTER><DL><DT>การฝึกจิตให้เป็นสมาธินี้ ผู้ปฏิบัติสามารถเลือกอิริยาบถในท่าต่างๆ ได้ดังนี้ คือ <DD>๑. ท่านั่ง ได้แก่ ท่านั่งขัดสมาธิสองชั้น (ขัดสมาธิเพชร) ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไป ท่านั่งขัดสมาธิแบบธรรมชาติ เป็นท่านั่งตามธรรมชาติช่วยให้ขาไม่เมื่อยชาได้ง่าย ท่านั่งพิงฝาเหยียดเท้า เหมาะสำหรับคนแก่ ท่านที่ทุพพลภาพ ไม่สมประกอบ ท่านั่งบนเก้าอี้แล้วทอดขาลงมาเหยียบพื้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดขา ปวดหัวเข่า และผู้ที่มีร่างกายอ้วนใหญ่ไม่สามารถนั่งขัดสมาธิได้ <DD>๒. ท่ายืน เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถอีกแบบหนึ่ง เพื่อฝึกสมาธิให้ต่อเนื่อง และเหมาะอย่างยิ่งในการปลงสังขาร แผ่เมตตา <DD>๓. ท่านอน ได้แก่ ท่านอนสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงขวา และ ท่านอนหงาย ซึ่งเหมาะสมสำหรับคนชรา ผู้ที่เจ็บป่วย หรือ มีร่างกายอ้วนมากไม่เหมาะกับการใช้ท่าอื่นปฏิบัติสมาธิ <DD>๔. ท่าเดิน เรียกว่า เดินจงกรม วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ชรา หรือ ผู้ที่มีกำลังขาไม่แข็งแรง ไม่สมประกอบ เพราะอาจหกล้มได้ง่าย

    <DT>การเดินจงกรมนั้น ควรจะเดินในตอนรุ่งเช้าก่อน ๘ นาฬิกา ผู้ปฏิบัติจะได้รับประโยชน์ต่างๆ ในด้านสุขภาพพลานามัย คือ <DD>๑. ได้รับพลังงานที่เป็นประโยชน์จากแสงอาทิตย์ และในช่วงเวลานี้ แสงอุลตร้าไวโอเล็ตยังไม่แรงจัด <DD>๒. ได้รับอากาศบริสุทธิ์ อากาศยังมีมลภาวะเป็นพิษไม่มากนัก หากเป็นการเดินตามชายหาดชายทะเล จะได้มีโอกาสสูดโอโซนอีกด้วย <DD>๓. เป็นการออกกำลังกายที่ประหยัดที่สุด การเดินจะช่วยให้มีกำลังขาแข็งแรง สามารถเดินทางได้ไกลๆ <DD>๔. เมื่อมีการออกกำลังกายจนได้เหงื่อแล้ว ร่างกายจะขับสารทางเคมีอย่างหนึ่งเรียกว่า "เอ็นโดฟิน (Endophin)" ออกมา ทำให้ร่างกายรู้สึกสบาย สดชื่น มีอารมณ์ดี คลายเครียด <DD>๕. ระบบการขับถ่ายอุจจาระจะได้รับการกระตุ้นให้ทำงาน ช่วยให้ท้องไม่ผูก

    <DT>คำว่า "เดินจงกรม" นี้ หมายความว่า การเดินบริกรรมภาวนาไปมาโดยมีสติกำกับ และคำว่า "สติ" ในกรณีนี้ หมายถึง " สติปัฏฐาน ๔" ซึ่งมีความหมายอย่างหยาบๆ คือ <DD>๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติรู้เท่าทันว่า จิตกำลังเกาะติดอยู่ที่อิริยาบถการเคลื่อนไหวของร่างกายของเราในขณะเดินจงกรมนั้น เช่น เรากำลังก้าว เรากำลังเดิน เรากำลังหยุด เป็นต้น <DD>๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติรู้เท่าทันว่า จิตกำลังรับรู้อารมณ์ทุกขเวทนา หรือ สุขเวทนา ที่ร่างกายกำลังได้รับอยู่ในขณะที่เดินจงกรม เช่น ความปวดเมื่อย ความเหนื่อย ความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เป็นต้น <DD>๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติรู้เท่าทันว่าจิตกำลังรับรู้อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพราะจิตไปคิดถึงเรื่องโน้น เรื่องนี้ในระหว่างที่กำลังเดินจงกรม เช่น โทสะจริต (โกรธ) โลภะจริต (หลง) ราคะจริต (อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ อยากเป็นอย่างนั้น อยากเป็นอย่างนี้) เป็นต้น <DD>๔. ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติรู้เท่าทันว่า ในขณะกำลังเดินจงกรมนั้น จิตกำลังยกเอาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรื่องหนึ่งเรื่องใด เช่น นิวรณ์๕ อริยสัจจ์ ๔ ฯลฯ มาเป็นอารมณ์พิจารณา ไตร่ตรอง ทบทวน เพื่อให้เกิดปัญญาแตกฉาน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นประเด็นนั้นแจ้งชัดยิ่งขึ้น </DD></DL>
    คำภาวนาที่นิยมใช้กันทั่วไปในขณะเดินจงกรม คือ เมื่อจะเริ่มต้นเดิน ภาวนาว่า "ยืนหนอ อยากเดินหนอ" ในระหว่างการเดินจงกรม ภาวนาว่า "ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ" เมื่อรู้สึกเมื่อย ภาวนาว่า "เมื่อยหนอ" เมื่อเดินไปสุดทางจะเดินกลับ ภาวนาว่า "หยุดหนอ กลับหนอ" ดังนี้เป็นต้น

    ดังนั้น การเดินจงกรมโดยการบริกรรมภาวนาดังกล่าวนี้ ผู้ปฏิบัติจะได้รับอานิสงส์เพียงสองประการ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน กับ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่านั้น <DL><DT>พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงอานิสงส์ของการเดินจงกรมไว้ ๕ ประการ ดังปรากฏในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ไว้ว่า <DD>๑. ทำให้เป็นผู้เดินทางไกลได้ทน <DD>๒. ทำให้เป็นผู้ทำความเพียรได้ทน <DD>๓. ทำให้เป็นผู้มีความไข้เจ็บน้อย <DD>๔. ทำให้อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ย่อยได้ดี <DD>๕. สมาธิที่บรรลุในขณะเดินจงกรมตั้งแน่วแน่อยู่ได้นาน </DD></DL>
    พระพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น ข้อ ๕. ควรจะเป็นสิ่งที่นักศึกษาและปฏิบัติธรรมควรให้ความสนใจหยิบยกมาเป็นอารมณ์เพ่งพินิจไตร่ตรองพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญาแตกฉานว่า เพราะเหตุใด พระพุทธองค์จึงได้ตรัสไว้เช่นนั้น มิใช่หยุดนิ่งที่อารมณ์เดียว คือ รับทราบว่า ได้ทรงตรัสไว้อย่างนั้น โดยมิได้คิดเสาะหาเหตุผลต่อไป
    ก่อนอื่น ผมใคร่ขอทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์สำคัญในการปฏิบัติสมาธิอีกครั้งหนึ่งว่า การปฏิบัติสมาธิ คือ การกำหนดจิตให้เกาะติดพิจารณาเรื่องหนึ่งเรื่องใดเพียงเรื่องเดียว ที่เรียกว่า "วิตก" และเฝ้าประคองจิตให้นิ่งเฝ้าพิจารณาเรื่องนั้นอย่างต่อเนื่องอยู่แต่เพียงเรื่องเดียว ไม่ฟุ้งซ่านไปคิดถึงเรื่องอื่นๆ ที่เรียกว่า "วิจาร" ถ้าสามารถควบคุมจิตให้พิจารณาเรื่องนั้นอย่างต่อเนื่องได้เป็นเวลานานๆ จิตจะเข้าสู่ภาวะสงบนิ่ง ที่เรียกว่า "เอกัคคตา" บังเกิดเป็นสมาธิขึ้นในที่สุด
    ในระหว่างการเดินจงกรมนั้น ร่างกายมีการเคลื่อนไหว ทวารทั้งหก ซึ่งได้แก่ ปัญจทวาร คือ ตา ลิ้น จมูก หู และ กาย กับ มโนทวาร คือ จิต เปิดพร้อมกัน จึงสามารถรับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และ ความนึกคิดที่เกิดจากสมอง สามารถรับและสร้างตัณหาอารมณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เมื่อทวารทั้งหกเปิดพร้อมๆ กัน จิตจะมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนไปรับและสร้างตัณหาอารมณ์ต่างๆ ที่ผ่านทวารหนึ่งทวารใดเข้ามา ทวารนี้บ้าง ทวารนั้นบ้าง หากจิตมิได้รับการฝึกที่ดี จะเป็นการยากลำบากอย่างยิ่งที่จะทำให้จิตเกิดเป็นสมาธิขึ้นได้
    ท่านเจ้าคุณ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) ได้กล่าวเปรียบเทียบเรื่องนี้ไว้ว่า การภาวนาก็เหมือนกันกับบุรุษจับเหี้ย มีใจความว่า
    ".....เหี้ยตัวหนึ่งเข้าไปอยู่ในโพรงจอมปลวกซึ่งมีรูอยู่หกรู ถ้าเหี้ยเข้าไปในที่นั้น ทำอย่างไรเราจึงจะจับมันได้ จะต้องปิดไว้สักห้ารู เอาอะไรมาปิดไว้ให้เหลือแค่รูเดียวสำหรับให้เหี้ยออก นอกนั้นปิดให้หมด แล้วให้นั่งจ้องมองอยู่ที่รูนั้น ครั้นเหี้ยวิ่งออกก็จับ อันนี้ฉันใด การกำหนดจิตก็ฉันนั้น ตาก็ปิดไว้ หูก็ปิดไว้ จมูกก็ปิดไว้ ลิ้นก็ปิดไว้ กายก็ปิด เหลือแต่จิตอันเดียว ตา หู จมูก ลิ้น กาย ปิดมันไว้ คือ สำรวมสังวร ให้กำหนดจิตอย่างเดียว... การภาวนาก็เหมือนกันกับบุรุษจับเหี้ย...."
    เกี่ยวกับข้ออุปมาอุปมัยของท่านพ่อชาฯ ดังกล่าว ผมใคร่ขออนุญาตนำมายกเป็นข้ออุปมาอุปมัยให้เข้ากับเรื่องนี้ ดังนี้
    "ในโพรงจอมปลวกหนึ่งมีเหี้ยอยู่หกตัว มีรูอยู่หกรู หากเราเปิดรูทั้งหมด เราจะสามารถจับเหี้ยได้เพียงตัวเดียว หรือสองตัวเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะสามารถหนีเล็ดรอดออกไปทางรูอื่นๆ เพราะเราคงจะคว้าจับมันไม่ทัน แต่ถ้าเราเปิดไว้ให้มีรูออกเพียงรูเดียว เหี้ยทุกตัวก็จำเป็นต้องหนีเอาตัวรอดออกทางรูที่เหลือไว้ เราก็สามารถจับเหี้ยได้ทุกตัวโดยไม่ต้องสงสัย"
    การนั่งสมาธิ หรือ นอนสมาธิ จึงดูจะง่ายกว่าการเดินจงกรม เพราะจะมีทวารที่เปิดอยู่ไม่เกิน ๓ ทวาร คือ หู จมูก และ ความนึกคิดที่เกิดจากสมองเท่านั้น หรือ ถ้าเราเอาสำลีมาอุดหูได้ ก็จะปิดได้อีกหนึ่งทวาร ดังนั้น ในระหว่างการเดินจงกรม หากเราปฏิบัติสติสัมปัฏฐานได้ทั้งสี่ประการ สมาธิที่เกิดขึ้นจึงมีพลังสูงมากเป็นพิเศษ สมดังพระพุทธพจน์ที่ได้ทรงแสดงไว้ว่า สมาธิที่บรรลุได้ในขณะเดินจงกรมจะตั้งแน่วแน่อยู่ได้นาน
    อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า การเดินจงกรมเพื่อให้บังเกิดสมาธินั้นกระทำได้ยากดังที่ท่านเจ้าคุณ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) ได้กล่าวเปรียบเทียบเรื่องนี้ไว้ว่า เหมือนกันกับบุรุษจับเหี้ย ก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ใช้ความเพียรฝึกปฏิบัติดู ผู้ปฏิบัติไม่บังควรหยุดอยู่เพียง กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่านั้น ขอให้ทดลองพัฒนาการบริหารจิตตามวิธีการของผมดูบ้าง จะช่วยให้ท่านได้รับประโยชน์และอานิสงส์มากยิ่งขึ้น
    การเดินจงกรมตามวิธีการของผมนั้นเป็นการเดินในลักษณะการออกกำลังกายทั่วไป โดยพยายามกำหนดสติให้ระลึกว่า จิตกำลังคิดอะไรอยู่ แล้วพยายามควบคุมให้จิตคิดระลึกอยู่ที่เรื่องนั้นเพียงเรื่องเดียว อารมณ์เดียว หากจิตจะมาเกาะติดอยู่ที่อิริยาบถการเคลื่อนไหว หรือ คิดไปถึงรูปร่างลักษณะอวัยวะ และ อิริยาบถต่างๆ ของร่างกายในขณะเดินจงกรม ก็ปล่อยให้จิตเกาะติดคิดไปในเรื่องดังกล่าวเพียงเรื่องเดียว อารมณ์เดียว เช่นกัน โดยผู้ปฏิบัติต้องคอยกำหนดสติให้เฝ้าระลึกรู้ติดตามจิตไปอย่างใกล้ชิดทุกระยะ วิธีการนี้จึงเป็นการปฏิบัติ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน แล้ว ถ้าเรารู้สึกว่า ร่างกายส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดการเจ็บป่วยเมื่อยล้า ก็ให้จิตรับเป็นอารมณ์เกาะติดอยู่ที่ส่วนของร่างกายที่กำลังประสบทุกขเวทนานั้น แล้วคอยกำหนดสติให้เฝ้าระลึกรู้อยู่กับจิต อยู่กับอารมณ์นั้นเพียงอย่างเดียวเช่นกัน วิธีการนี้จึงเป็นการปฏิบัติ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ครั้นเมื่อจิตกลับไปคิดติดอยู่กับอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง ผู้ปฏิบัติจะต้องกำหนดสติให้รู้เท่าทันติดตามอารมณ์ของจิตไปทุกระยะ คอยควบคุมให้จิตรับเกาะติดอยู่ที่เรื่องเดียวอารมณ์เดียว อย่าปล่อยให้จิตคิดเปลี่ยนแปลงเรื่อง เปลี่ยนแปลงอารมณ์ไปมาตามอำเภอใจ เพราะจะทำให้จิตเกิดฟุ้งซ่านขึ้น วิธีการนี้จึงเท่ากับเป็นการปฏิบัติ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ หากจิตกลับเปลี่ยนไปหยิบยกสภาวธรรมเรื่องหนึ่งเรื่องใดขึ้นมาเป็นอารมณ์เพื่อพิจารณาหาเหตุ หาผล หาข้อยุติ หาคำตอบ ก็ปล่อยให้จิตคิดไป พิจารณาไป ผู้ปฏิบัติเพียงแต่คอยกำหนดสติให้เฝ้าติดตามการทำงานของจิตในลักษณะนี้อยู่ทุกระยะ จึงเท่ากับเป็นการปฏิบัติ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกันแล้ว นับได้ว่า การปฏิบัติ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน มีบทบาทสำคัญที่สุด เพราะจะทำให้ผู้ปฏิบัติตื่น และ รู้ คอยทำหน้าที่กำกับควบคุมจิตอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ เมื่อจิตทำท่าจะเปลี่ยนถอนจากอารมณ์หนึ่งไปยังอีกอารมณ์หนึ่ง ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสติเตือนและสอบถามจิตว่า ขณะนี้ จิตกำลังคิดเรื่องอะไรอยู่ จะเปลี่ยนไปคิดเรื่องอื่นแล้วหรือ ? หากจิตยังยืนกรานว่า ต้องการจะเปลี่ยนไปคิดเรื่องอื่น ก็อย่าไปขัดใจเขา ปล่อยให้จิตเปลี่ยนไปตามความต้องการของเขา หากไปฝืนใจเขา ขัดใจเขา จิตจะเกิดความเครียดขึ้นทันที ผู้ปฏิบัติเพียงแต่รับรู้แล้วคอยตั้งสติติดตามไปอย่างใกล้ชิด และ พยายามหน่วงเหนี่ยวให้จิตเกาะติดอยู่กับเรื่องนั้น อารมณ์นั้น ให้นานที่สุดเท่าที่จะกระทำได้เท่านั้น ดังนั้น หากผู้ปฏิบัติท่านใดสามารถปฏิบัติได้เช่นนี้ตลอดเวลาการเดินจงกรม ก็ถือว่า ท่านได้ปฏิบัติ สติสัมปัฏฐาน โดยครบถ้วนทั้งสี่ประการแล้ว การปฏิบัติเช่นนี้ นอกจากท่านจะได้รับประโยชน์จากการเดินบริหารร่างกายซึ่งช่วยให้ท่านมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง มีอายุยืนแล้ว จิตของท่านยังได้รับการบริหารอีกส่วนหนึ่งไปพร้อมๆ กัน สามารถสร้างและเพิ่มพลังให้แก่สติ สมาธิ และปัญญา ให้มากขึ้นด้วย ซึ่งท่านเจ้าคุณ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า
    "ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงให้ฝึกหัด ฝึกจิตนี้ให้มีกำลัง การทำจิตให้มีกำลังกับการทำกายให้มีกำลังมีลักษณะอันเดียวกัน แต่มีวิธีการต่างกัน การฝึกกำลังกายเราต้องเคลื่อนไหวอวัยวะ มีการนวดกาย เหยียดกาย เช่น วิ่งตอนเช้าตอนเย็น เป็นต้น นี่เรียกว่า ออกกำลังกาย กายนั้นก็จะมีกำลังขึ้นมา จะคล่องแคล่วขึ้นมา เลือดลมจะมีกำลังวิ่งไปมาสะดวกตามเส้นประสาทต่างๆได้ กายจะมีกำลังดีกว่าเมื่อไม่ได้ฝึก
    แต่การฝึกจิตให้มีกำลัง ไม่ใช่ให้มันวิ่งให้มันเคลื่อนไหวอย่างกับการออกกำลังกาย คือ ทำจิตให้มันหยุด ทำจิตให้พักผ่อน เช่น เราทำสมาธิยกอารมณ์อันใดอันหนึ่งขึ้นมา เช่น อานาปานสติ ลมหายใจเข้าออก อันนี้เป็นรากฐาน เป็นเป้าหมายในการเพ่งในการพิจารณา เราก็กำหนดลมหายใจ การกำหนด ก็คือ การรู้ตามลมนั่นเอง กำหนดลมเข้าแล้วกำหนดลมออก กำหนดให้รู้ระยะของลม ให้มีความรู้อยู่ในลม ตามรู้ลมเข้าออกสบาย แล้วพยายามปล่อยสิ่งทั้งหลายออก จิตของเราก็จะมีกำลังเพราะว่ามีอารมณ์เดียว ถ้าหากว่าเราปล่อยให้จิตคิดอย่างนั้นอย่างนี้สารพัด มีหลายอารมณ์ มันไม่รวมเป็นอารมณ์เดียว จิตเราก็จะหยุดไม่ได้ ที่ว่าจิตหยุดได้นั้น ก็คือ หยุดในความรู้สึก ไม่คิดแล่นไปทั่วไป เช่น เรามีมีดเล่มหนึ่งที่เราลับไว้ดีแล้ว แล้วมัวแต่ฟันหินฟันอิฐ ฟันหญ้าไปทั่ว ถ้าเราฟันไม่เลือกอย่างนี้ มีดของเราก็จะหมดความคม เราจึงต้องฟันแต่สิ่งที่จะเกิดประโยชน์ จิตนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราปล่อยให้จิตแล่นไปในสิ่งที่ไม่เป็นสาระประโยชน์ ก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไร จิตนั้นจะไม่มีกำลัง ไม่ได้พักผ่อน ถ้าจิตไม่มีกำลัง ปัญญาก็ไม่เกิด จิตไม่มีกำลัง คือ จิตที่ไม่มีสมาธิเลย"
    ทดลองเดินจงกรมตามวิธีการของผมดูบ้างซิครับ ได้ผลอย่างไรแล้ว กรุณาส่งข่าวบ้าง หากผลของการปฏิบัติได้เป็นไปตามพระพุทธวัจนะดังกล่าวข้างต้น ผมขออนุโมทนาดัวยใจจริงครับ

    <CENTER>********************* </CENTER>
    เรียบเรียง ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๑

    http://www.dabos.or.th/tm13.html

     
  2. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    [​IMG][​IMG]ขอกราบโมทนาสาธุครับ สาธุ...[​IMG][​IMG]
     
  3. blank123

    blank123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +229

    อืม...สรุปก็คือว่า ...
    การเดินจงกรม ทำให้ ถึก เหมือน ควาย
    และ จิตมี กำลังสมาธิ มากกว่า ปกติ ใช่ป่ะ
    อ่านแร้ว ชักอยากเดินจงกรม ตะหงิด ๆ แฮะ
    เฮ้ออ นี่มันก็เนิ่นนานนักหนาแล้ว
    ที่ อิช้าน ม่ะได้ออกไป เดินเตะฝุ่น รอบโรง บาล อิอิ :cool:
     
  4. Unlimited Indy

    Unlimited Indy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,228
    ค่าพลัง:
    +803
    ขออนุโมทนาบุญกับอานิสงส์ของการเดินจงกรมนี้ครับ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...