อานิสงส์ถวายรองเท้า

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 19 มิถุนายน 2011.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    อานิสงส์ถวายรองเท้า

    กัณฑ์ที่ ๑๐๗<O:p

    คัมภีร์ขุททกนิกาย พระธรรมบท<O:p</O:p


    ว่าด้วยเรื่องบุพกรรมพระสิวลีเถรเจ้า
    (ฉบับส.ธรรมภักดี)<O:p</O:p

    <O:p</O:p


    อปเรน สาเยน ภิกฺขู กถํ สมุฏฺฐเปสํ อาวุโส เกน นุ โข การเณน อายสฺมา สีวลิตฺเถโร สตฺตทิวสสตฺตมาสาธิกานิ สตฺต วสฺสานิ มาตุกุจฺฉิยํ วสีติ.
    <O:p</O:p


    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงเรื่องบุพกรรมของพระสิวลีเถรเจ้า ตามคัมภีร์พระธรรมบท เพื่อให้เป็น ประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและพุทธศาสนิกชนทั้งหลายตามสมควรแก่เวลา

    </O:p

    เรื่องบุพกรรมพระสีวลีเถรเจ้า

    </O:p

    ดำเนินความตามคัมภีร์พระธรรมบทว่า ต่อมาภายหลังภิกษุทั้งหลายก็สนทนากันขึ้นว่า เพราะเหตุใดหนอ พระสีวลีเถรเจ้าจึงต้ออยู่ในท้องมารดาถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน เพราะเหตุไรจึงได้ตกนรก เพราะเหตุไรจึงมีความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ ด้วยยศ อย่างนี้ฯ สมเด็จพระชินศรีศาสดาได้ทรงสดับถ้อยคำนี้แล้วจึงตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไรกัน เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จะทรงแสดงบุพกรรมของพระสิวลีเถรเจ้านั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกัลป์ที่ ๙๑ นับถอยหลังจากกัลป์นี้ลงไป สมเด็จพระจอมไตรศาสดา ผู้มีพระนามว่า วิปัสสี ได้เกิดขึ้นในโลกนี้แล้ว อยู่มาคราวหนึ่งได้เสด็จจาริกไปในนานาสถาน แล้วเสด็จกลับมาสู่พระนครของบิดาฯ พระราชาได้ทรงจัดแจงอาคันตุกทานเพื่อภิกษุสงฆ์ มีองค์พระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วส่งข่าวไปถึงชาวเมืองว่า ชาวเมืองจงมาเป็นสหายในทานของเราฯ ชาวเมืองก็ได้ทำตามพระราชโองการ แล้วกล่าวกันว่า พวกเราจักถวายทานให้ยิ่งกว่าทานที่พระราชาถวาย แล้วก็นิมนต์องค์พระศาสดา เช้าขึ้นก็ได้จัดแจงทานแล้วส่งข่าวไปถึงพรระราชา ฯ พระราชาก็เสด็จมา เวลาได้ทอดพระเนตรเห็นทานของชาวเมืองแล้วก็คิดว่า เราจักถวายให้ยิ่งกว่า แล้วนิมนต์องค์พระชินศรีศาสดาในวันรุ่งขึ้นฯ พระราชาไม่อาจให้ชาวเมืองแพ้ได้ ชาวเมืองก็ไม่อาจให้พระราชาแพ้ได้ฯ ในวาระที่ ๖ ชาวเมืองจึงคิดว่า พรุ่งนี้พระราชาจะไม่อาจตรัสได้ว่า ในทานของพวกนี้ไม่มีสิ่งนี้ด้วย อาการอย่างใด พวกเราจักถวายทานด้วยอาการอย่างนั้น เช้าขึ้นก็ได้จัดแจงถวายทานแล้วตรวจดูว่า อะไรไม่มีในทานนั้น ก็ไม่เห็นมีน้ำผึ้งสด ฯ มีแต่น้ำผึ้งสุกเป็นอันมากฯ พวกนั้นจึงให้คนถือเอาทรัพย์ ๔ พัน ให้ออกไปที่ประตูเมืองทั้ง ๔ เพื่อต้องการน้ำผึ้งสดฯ ครั้งนั้น มีคนบ้านนอกคนหนึ่งจะมาหานายบ้านได้พบรวงผึ้งในระหว่างทาง ไล่แม่ผึ้งไปเสียแล้ว ก็คิดว่าจักให้แก่นายบ้านฯ บุรุษที่ไปเพื่อน้ำผึ้งได้เห็นบุรุษนั้นจึงถามว่า น้ำผึ้งนี้จักขายหรือ? เขาตอบว่าไม่ขายฯ จึงว่า เธอจงเอาเงินกหาปณะนี้ไปจงให้รวงผึ้งนั้นมาฯ บุรุษนั้นคิดว่า รวงผึ้งนี้ไม่มีราคาถึงบาท แต่บุรุษนี้ให้ถึง ๑ กหาปณะ คือ ๑ ตำบึง เขาเห็นจะเป็นคนมีเงินมาก เราจักโก่งราคาจึงจะดีฯ ครั้นนั้น ขึงตอบว่า ไม่ให้ฯ บุรุษนั้นจึงว่า ถ้าอย่างนั้นจงเอาไป ๒ กหาปณะ ตอบว่า ๒ กหาปณะเราก็ไม่ให้ฯ เขาโก่งราคาไว้จนบุรุษนั้นน้อมถุงเงินให้ด้วยคำว่า ถ้าอย่างนั้นจงเอาเงินพันนี้ไปฯ ครั้งนั้น บุรุษเจ้าของรวงผึ้งนั้นจึงถามว่า เธอเป็นบ้าหรือ หรือว่าที่เก็บเงินเธอมี่ รวงผึ้งนี้ราคาไม่ถึงบาท เธอก็บอกให้ตั้งพัน ข้อนี้เป็นอย่างไรกันฯ บุรุษนั้นจึงตอบว่าเรารู้อยู่ ก็แต่ว่าเราจำเป็นด้วยรวงผึ้งนี้ เพราะฉะนั้น เราจึงว่าอย่างนี้ฯ เขาจึงถามว่า นายมีกิจธุระอะไรฯ ตอบว่า พวกเราได้จัดแจงหาทานเพื่อถวายพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระพระภิกษุสงฆ์ ๖ ล้าน ๗ แสนองค์ ในทานนั้น ยังไม่มีเพียงน้ำผึ้งอย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นเราจึงว่าอย่างนี้ฯ เขาจึงว่า ถ้าอย่างนั้น เราจักไม่ขายให้ ถ้าเราจักได้ส่วนในการถวายทาน เราก็จะให้ฯ บุรุษนั้นจึงไปแจ้งความข้อนี้แก่ชาวเมืองฯ ชาวเมืองรู้ว่าเขามีศรัทธาแรงกล้า จึงตอบว่า ดีแล้ว จงให้เขาเข้าส่วนด้วยฯ พวกชาวเมืองก็นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระพุทธเจ้าเป็นประธานให้นั่งแล้วก็ถวายข้าวต้มของขบฉัน แล้วให้นำเอาถาดทองคำใบใหญ่มาบีบรวงผึ้งลงไปฯ กระบอกนมส้มที่มนุษย์คนนั้นนำมา เพื่อเป็นเครื่องบรรณาการมีอยู่ฯ เขาจึงเทนมส้มนั้นลงในถาด เคล้ากันกับน้ำผึ้งแล้วถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระพุทธเจ้าเป็นประธานเริ่มแต่องค์แรกเป็นลำดับไปฯ น้ำผึ้งนั้นก็ทั่วถึงภิกษุทั้งปวง ซึ่งรับประเคนพอความต้องการของตนๆ ทั้งยังมีเหลืออยู่อีกฯ ใครๆ ไม่ควรคิดว่าน้ำผึ้งเล็กน้อยเพียงเท่านั้นจะทั่วถึงภิกษุมากเพียงนั้นได้อย่างไร เพราะน้ำผึ้งนั้นได้ทั่วถึงด้วยพุทธานุภาพฯ อันพระพุทธวิสัย ใครๆ ไม่ควรคิดว่าเพราะว่าของ ๔ อย่าง พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นของไม่ควรคิด ผู้คิดของ ๔ อย่างนั้นจะต้องเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้าฯ บุรุษนั้นกระทำกรรมไว้เพียงนั้นแล้วก็ไปเกิดในเทวโลกในเวลาสิ้นอายุ เมื่อท่องเที่ยวอยู่ตลอดกาลถึงเพียงนี้ ก็ได้จุติจากเทวโลกในคราวหนึ่ง แล้วลงมาเกิดในราชตระกูลที่กรุงพาราณสี ได้ผ่านราชสมบัติในเวลาพระบิดาล่วงลับไปฯ พระราชานั้นทรงดำริว่า เราจักยึดเมืองสักเมืองหนึ่ง แล้วจึงทรงยกกองทัพไปล้อมไว้ ส่งพระราชสาส์นเข้าไปถึงชาวเมืองว่า ชาวเมืองจงให้ราชสมบัติหรือการรบแก่เราฯ ชาวเมืองตอบว่า พวกเราจักไม่ให้ราชสมบัติ จักไม่ให้การรบ แล้วก็ออกจากเมืองตามทางประตูน้อยๆ ไป นำฟืนและน้ำเป็นต้น มากระทำกิจทั้งปวงอยู่ฯ ฝ่ายพระราชาเมื่อทรงรักษาประตูใหญ่ทั้ง ๔ ประตูอยู่ก็ได้ล้อมเมืองไว้ ถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วันฯ ครั้งนั้นพระมารดาของพระราชานั้นจึงตรัสถามว่า บุตรของเราทำอย่างไรเวลาได้ทรงสดับเรื่องนั้นแล้วก็ตรัสว่า บุตรของเราโง่เขลา พวกท่านจงไปบอกว่าจงให้ปิดประตูน้อยเสีย แล้วล้อมเมืองไว้ ฯ พระราชานั้นได้ทรงสดับข่าวของพระมารดาแล้วก็กระทำอย่างนั้นฯ ฝ่ายชาวเมือง เมื่อออกนอกเมืองไม่ได้ ก็ได้ฆ่าพระราชาของเมืองนั้นเสีย ในวันที่ ๗ แล้วถวายราชสมบัติแก่พระราชานั้นฯ พระราชานั้นได้ทรงกระทำกรรมอันนี้ไว้แล้ว ในเวลาสิ้นพระชนมายุก็ได้ไปเกิดในอเวจีนรก หมกไหม้อยู่ในนรกจนกระทั่งแผ่นดินใหญ่นี้สูงขึ้นได้ ๑ โยชน์ แล้วจึงจุติจากนรกมาถือปฏิสนธิในครรภ์ของมารดาเดิมนั้นได้อยู่ในท้องตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ได้นอนขวางอยู่ที่ปากช่องคลอดอีก ๗ วันเพราะได้ปิดประตูน้อยๆ ทั้ง ๔ ประตูไว้ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสีวลีได้หมกไหม้อยู่ในนรกตลอดกาลนานถึงเพียงนี้ ด้วยกรรมที่เขาได้ล้อมเมืองไว้ในคราวนั้น ครั้นเขาถึอปฏิสนธิอยู่ในท้องมารดาคนเดิมนั้น แล้วอยู่ในท้องมารดาตลอดกาลนานถึงเพียงนั้น เพราะเขาได้ปิดประตูน้อยทั้ง ๔ ไว้ เขาจึงถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ ด้วยยศ เพราะได้ถวายน้ำผึ้งใหม่ ดังนี้

    อยู่มาอีกวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายได้สนทนากันขึ้นว่า โอ้ ลาภของสามเณร บุญของสามเณรแล้ว ในการที่สามเณรองค์เดียวได้สร้างเรือนยอดถึง ๕๐๐ องค์ ฯ ถวายภิกษุ ถึง ๕๐๐ องค์ฯ สมเด็จพระบรมศาสดาจึงเสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอประชุมกันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญไม่มีแก่บุตรของเราเลย บาปก็ไม่มี บุตรของเราละทั้ง ๒ อย่างแล้วจึงตรัสพระคาถานี้ ในพราหมณ์วรรคขึ้นว่า
    <O:p</O:p
    โยธ ปุญฺญญฺจ ปาปญฺจ เป็นต้น ซึ่งมีคำแปลว่า ผู้ใดในพระธรรมวินัยนี้ได้ล่วงเครื่องข้องทั้ง ๒ คือบุญและบาปเสียแล้ว เราเรียกผู้นั้นซึ่งเป็นผู้ไม่เศร้าโศก เป็นผู้ปราศจากธุลี เป็นผู้บริสุทธิ์ว่าเป็นพราหมณ์ ดังนี้ฯ <O:p</O:p
    จบเรื่องบุพกรรมของพระสีวลีเถรเจ้าเพียงเท่านี้


    ก็แลในเรื่องบุพกรรมของพระสีวลีเถรเจ้านี้มีเรื่องซับซ้อนกันมาทั้งเรื่องบาปเรื่องบุญดังที่แสดงมา จัดว่าเป็นลาภของท่านผู้ฟังทั้งหลายซึ่งได้ฟังหลายเรื่องในเรื่องเดียวกัน ทั้งจงเข้าใจว่า ที่เขาเรียกกันว่า คาถาพระฉิมพลีนั้น หมายคาถาของพระสีวลีนี้เอง เพราะคำว่าพระฉิมพลีนั้นไม่มี มีแต่พระสีวลีนี้ และจงเข้าใจว่า ทีแรกเรียกว่า คาถาพระฉิมพลีที่เกจิอาจารย์ผู้ขึ้นนั้น เกจิอาจารย์บอกว่า ถ้าผู้ใดเจริญ ผู้นั้นจะมีลาภมาก การที่เกจิอาจารย์บอกไว้นั้น อาจเป็นจริงก็ได้ คือถ้าผู้ใดนึกถึงบุญกุศลที่พระสีวลีได้ถวายน้ำผึ้งไว้ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอันแรงกล้าจนทำให้ท่านได้เป็นผู้เลิศด้วยลาภสักการะดังที่แสดงมาแล้วนั้น ผู้นั้นอาจมีลาภมากดังเกจิอาจารย์ว่าไว้ แต่ถ้าผู้นั้นรู้เรื่องของพระสีวลี ดังที่แสดงมา เพียงแต่เชื่อว่าเมื่อเจริญคาถานั้นแล้วอาจมีลาภมากเท่านั้น บางทีก็อาจมีลาภมากจริง เพราะฉะนั้น ถ้าผู้นึกถึงบุญบารมีของพระสีวลี ดังที่ว่ามาแล้วนี้ จนให้มีใจเลื่อมใสต่อบุญกุศลนั้นเต็มที่แล้ว อาจมีลาภมากได้จริง เพราะว่าการนึกเลื่อมใสต่อบุญกุศลของผู้อื่นก็เป็นบุญกุศลอันหนึ่งของตน เรียกว่า บุญกุศลอันสำเร็จด้วยการอนุโมทนาฯ การอนุโมทนาคือการพลอยยินดี ต่อบุญกุศลของผู้อื่นนั้น อาจให้ผลในปัจจุบันได้ เพราะมีเรื่องควรสาธกได้อยู่เรื่องหนึ่ง คือเรื่องทีมีอยู่ในอรรถกถาแห่งสีลานิสังสชาดก ในวรรคที่ ๔ แห่งคัมภีร์ทุกนิบาตว่า

    <O:p</O:p
    ในครั้งพระกัสสปพุทธเจ้าโน้น มีอุบาสกผู้เป็นโสดาบันคนหนึ่งลงเรือไปกับกุฎุมพี ซึ่งเป็นนายช่างกัลบกคนหนึ่งฯ เรือได้อับปางลงในกลางทะเลในวันที่ ๗ฯ คนทั้ง ๒ นั้นได้นอนไปที่แผ่นกระดานเดียวกัน ไปถึงที่เกาะแห่งหนึ่งแล้วก็ขึ้นอาศัยอยู่ในเกาะนั้นฯ ช่างกัลบกได้ฆ่านกมาปิ้งกินแล้วแบ่งให้แก่อุบาสกฯ อุบาสกก็ไม่กินด้วยคิดว่าไม่ควรแก่เรา ได้เก็บไว้เสียในที่แห่งหนึ่ง แล้วคิดว่านอกจากพระไตรสรณคมน์แล้ว ไม่มีสิ่งอื่นจะเป็นที่พึ่งของเราได้ฯ เมื่ออุบาสกนั้นระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยอยู่อย่างนี้ พญานาคซึ่งเกิดในเกาะนั้นก็นิรมิตตนให้เป็นเรือใหญ่ เต็มไปด้วยแก้ว๗ ประการฯ สมุทรเทวดาเป็นต้นหน ยืนอยู่ที่หัวเรือ ป่าวร้องขึ้นว่า ผู้จะไปชมพูทวีปมีอยู่หรือ? อุบาสกตอบว่า พวกข้าพเจ้าจักไป เมื่อเทวดาบอกว่า จงมาลงเรือ อุบาสกนั้นเวลาลงเรือก็เรียกช่างกัลบกฯ เทวดาบอกว่าศีลคุณของคนนี้ไม่มี เพราะฉะนั้น คนนี้ไม่สมควรลงเรือนี้ฯ อุบากสกจึงว่า ช่างเถอะ เราจะให้ส่วนบุญแก่เขาจากทานที่เราให้ จากศีลที่เรารักษา จากภาวนาที่เราอบรมฯ ช่างกัลบกก็ว่า ข้าพเจ้าขออนุโมทนาฯในคราวนั้น เทวดาก็ให้ช่างกัลบกลงเรือ แล้วนำเรือไปกระทั่งถึงกรุงพาราณสี ให้ทรัพย์ขึ้นไปอยู่ที่เรือนของคนทั้ง ๒ นั้น แล้วก็กลับสู่วิมานของตน


    ยังอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งว่าไว้ในอรรถกถาแห่งสังขพราหมณ์ชาดกว่า ในอดีตกาลล่วงแล้วมา กรุงพาราณสีชื่อว่า กรุงโมฬินีฯ ในคราวนั้น พระโพธิสัตว์เจ้าได้เสวยพระชาติเป็นสังขพราหมณ์ อยู่ที่เมืองโมฬินี เวลาจะลงเรือไปค้าขาย ได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งในระหว่างทาง เดินเหยียบทรายร้อนๆ เหมือนกับถ่านไฟมาในเวลาแดดกล้า ก็ดีใจว่า นาบุญของเรามาถึงเราแล้ว จึงถวายร่มและรองเท้าว่า ขอท่านจงสมรองเท้าคู้นี้ กั้นร่มนี้ไป แล้วก็ไปที่ท่าเรือลงเรือไปฯ พอถึงวันที่ ๗ เรือก็ได้อับปางลงฯ พระโพธิสัตว์เจ้ากับบุรุษอุปัฏฐากคนหนึ่งได้ทาน้ำมันทั่วตัว บริโภคน้ำตาลกรวดกับเนยใส จนพอความประสงค์แล้ว ก็ให้คนใช้นั้นบริโภคแล้วพาคนใช้นั้นขึ้นไปที่ยอดเสากระโดง กระโดดไปตกในที่ไกลถึง ๑ อุสุภะ คือ ๑ เส้น กับ ๑๕ วา แล้วก็พยายามว่ายข้ามทะเลฯ เมื่อพระโพธิสัตว์เจ้านั้น พยายามว่ายข้ามทะเลอยู่ก็ล่วงไปได้ ๗ วันฯ คราวนั้น นางเทพธิดาผู้ชื่อว่า มณีเมขลา ซึ่งรักษาทะเลอยากจะช่วยพระโพธิสัตว์เจ้า จึงเนรมิตเรือแก้ว ให้เต็มด้วยแก้ว ๗ ประการ แล้วยกพระโพธิสัตว์เจ้าขึ้นเรือ ไม่เหลียวดูคนใช้ฯ พระโพธิสัตว์เจ้าจึงได้ให้ส่วนบุญแก่คนใช้จากบุญที่ตนกระทำไว้ คือได้ถวายร่มและรองเท้าดังที่กล่าวมาฯ คนใช้ก็อนุโมทนาฯ คราวนั้นเทวดาก็ให้คนใช้ลงเรือ แล้วนำเรือนั้นไปส่งถึงเมืองโมฬินี บันดาลให้ทรัพย์ขึ้นไปอยู่ที่เรือนของพระโพธิสัตว์เจ้าแล้วก็กลับไปสู่วิมานของตน ดังนี้ฯ



    เพราะฉะนั้น จึงว่า การอนุโมทนา คือพลอยดีใจรับส่วนบุญของผู้อื่นอาจให้ผลในปัจจุบันได้ ดังที่แสดงมา สิ้นเนื้อความในเทศนากัณฑ์นี้เพียงเท่านี้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2011
  2. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,254
    อนุโมทนา สาธุ ๆ
    กับทุกท่านที่ได้ร่วมกันทำบุญ
    สร้างกุศลทุกอย่างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันชาติด้วยครับ
    การสะสมบุญ คือ การสะสมความสุขความเจริญ
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...