อาบน้ำแบบญี่ปุ่นในออนเซน / วินิจ รังผึ้ง

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย guawn, 30 สิงหาคม 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>อาบน้ำแบบญี่ปุ่นในออนเซน / วินิจ รังผึ้ง</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>29 สิงหาคม 2549 15:55 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ตลอดช่วงเวลาที่เดินทางท่องเที่ยวอยู่ในเซนไดและเมืองใกล้เคียงนั้น เจ้าภาพเมืองเซนไดจัดให้พวกเราพักทั้งโรงแรมทันสมัยแบบบีสสิเนสโฮเต็ล และโรงแรมตามแบบฉบับของชาวญี่ปุ่นที่เรียกว่า "เรียวกัง" ซึ่งผมชอบบรรยากาศของโรงแรมแบบเรียวกังมากกว่า

    เรียวกังบางแห่งหากมองจากตัวอาคารภายนอกอาจจะไม่มีความแตกต่างจากโรงแรมสมัยใหม่ทั่วไป เพราะอาคารอาจเป็นตึกทันสมัย แต่เมื่อเช็คอินแล้วไขกุญแจเข้าไปในห้อง กลับเหมือนเป็นคนละโลก เหมือนได้ย้อนเวลาหลุดเข้าไปในวิถีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นเลยทีเดียว

    การเข้าไปพักในเรียวกังหลังจากที่ตระเวนเหน็ดเหนื่อยจากการเดินชมแหล่งท่องเที่ยวมาทั้งวัน เมื่อถึงที่พักบรรยากาศก็เหมือนได้กลับมาถึงบ้าน ถึงเวลาแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริง และมิเพียงพักผ่อนร่างกายเท่านั้น ยังได้พักผ่อนจิตใจ เพราะเหมือนกับการหลุดพ้นจากโลกปัจจุบันอันสับสนวุ่นวายกลับไปสู่วิถีชีวิตตามแบบฉบับของชาวญี่ปุ่นอย่างแท้จริง ยิ่งได้ผลัดเปลี่ยนเครื่องแต่งกายชุดปรกติเป็นชุดยูกาตะ ลักษณะคล้ายชุดกิโมโนแบบลำรองที่ชาวญี่ปุ่นนิยมใส่กันในบ้านหรือในช่วงฤดูที่อากาศไม่หนาวเย็น ยิ่งทำให้ผมรู้สึกเหมือนกับได้ย้อนเวลาเข้าไปในยุคซามูไรอะไรทำนองนั้น ซึ่งภายในห้องพักของเรียวกังจะมีชุดยูกาตะเตรียมไว้ให้ทุกห้อง นอกจากชุดยูกาตะแล้วยังมีเครื่องอาบน้ำทั้งสบู่ แชมพู หวี และผ้าผืนเล็กๆสำหรับใช้ในการอาบน้ำในออนเซน ซึ่งเรียวกังส่วนใหญ่จะมีห้องอาบน้ำแร่ที่เรียกว่าออนเซนไว้ในโรงแรมด้วย

    ชาวญี่ปุ่นนิยมพาครอบครัวออกมาท่องเที่ยวและพักผ่อนในเรียวกังช่วงวันหยุด โดยการเข้าพักในเรียวกังนั้นส่วนใหญ่จะคิดค่าบริการรวมอาหารเช้า และอาหารค่ำแบบญี่ปุ่นพร้อมสรรพ ไม่ต้องกังวลว่าจะหาอะไรกินที่ไหน เรียกว่าสะดวกสบายกับการพักผ่อนอย่างแท้จริง และที่เป็นสุดยอดของการมาพักเรียวกังที่มีน้ำแร่ร้อนก็คือการลงไปอาบน้ำ แช่น้ำในออนเซน (Onsen) บางครั้งก็ใช้ออนเซง หรือออนเซ็นในการเขียนภาษาไทย ซึ่งการอาบน้ำในออนเซนนั้น เป็นการอาบน้ำรวมตามแบบฉบับของชาวญี่ปุ่น โดยผู้ลงอาบจะต้องเปลื้องผ้าทั้งหมด ซึ่งธรรมเนียมการอาบน้ำรวมในที่อาบน้ำสาธารณะของชาวญี่ปุ่นนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ

    ความจริงโรงอาบน้ำรวมของญี่ปุ่นในอดีตนั้น เขามิได้แยกชาย หญิง เป็นโรงอาบน้ำรวมที่มีการอาบน้ำร่วมกันถือเป็นเรื่องธรรมดาสามัญตามแนวคิดบริสุทธิ์แห่งสังคมอุดมคติที่สูงส่ง แต่ในที่สุดเมื่อชาวอเมริกันเข้ามาติดต่อค้าขายกับชาวญี่ปุ่น และเริ่มเข้ามามีอิทธิพลและใช้กำลังบีบญี่ปุ่นให้จำยอมต้องปฏิบัติตามในหลายๆด้าน เช่นมีการบีบบังคับให้ญี่ปุ่นออกกฎห้ามชายหญิงอาบน้ำในที่อาบน้ำร่วมกัน ในปี พ.ศ.2413 และบีบให้ยกเลิกชนชั้นซามูไรในปี พ.ศ.2415 เป็นต้น

    แม้นจะผ่านกาลเวลามาเนิ่นนานจนปัจจุบัน แต่วัฒนธรรมการอาบน้ำร่วมกันก็ยังคงดำรงสืบมาอย่างเหนียวแน่น โดยปัจจุบันยังมีโรงอาบน้ำแบบเซนโตซึ่งใช้วิธีการต้มน้ำตามอุณหภูมิที่ต้องการแล้วต่อท่อลงไปยังอ่างอาบรวมขนาดใหญ่ให้บริการกระจายอยู่ทั่วไป หรือสถานอาบน้ำแร่ที่เรียกว่าออนเซนซึ่งใช้น้ำแร่ร้อนจากใต้ผืนพิภพ ประเทศญี่ปุ่นนั้นตั้งอยู่บนภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขาไฟและแห่งน้ำพุร้อนใต้ดินจนมีบ่อน้ำแร่ร้อนกว่า 20,000 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ หรือแม้กระทั่งชีวิตประจำวันภายในบ้านการที่พ่อ แม่ และลูกเล็กๆจะอาบน้ำร่วมกันก็ถือเป็นเรื่องแสนจะธรรมดา

    แต่สำหรับคนไทยอย่างผมที่อาบน้ำคนเดียวในที่มิดชิดมาตั้งแต่จำความได้ก็ต้องใช้เวลานานแสนนาน กว่าจะทำใจเข้าไปใช้บริการในออนเซนได้ ตอนดูโปรแกรมก่อนเดินทางมาเมื่อรู้ว่าจะมีการอาบน้ำในออนเซน ผมยังอุตส่าห์เตรียมกางเกงว่ายน้ำติดมาคิดว่าคงเหมือนจะลงสระว่ายน้ำ แต่พอมาถึงจริงๆก็รู้ว่าเป็นกฎ กติกา มารยาท และเป็นวัฒนธรรมอันพึงปฏิบัติ แม้นจะเป็นวัฒนธรรมในการแก้ผ้าก็ตาม

    เอ้า! แก้ก็แก้มันจะแค่ไหนกัน ว่าแล้วผมก็ถอดเสื้อผ้าคว้าชุดยูกาตะมาสวมหิ้วตะกร้าเครื่องอาบน้ำเดินสวมรองเท้าสานลงมาที่ออนเซนซึ่งอยู่ชั้นล่างสุดของเรียวกัง แม้นการเดินทางไปเซนไดครั้งนี้ผมจะมีเพื่อนร่วมทางที่เป็นชายชาตรีไปด้วยอีกท่านหนึ่ง แต่อย่างไรเสียหนุ่มไทยอย่างเราก็ไม่ยอมลงไปออนเซนพร้อมกันอยู่ดี ต้องจัดเวลาสลับกันลงไป ต่างคนก็คงต่างกลัวว่าความลับของทางราชการที่แต่ละคนเก็บงำมาจะต้องมาถูกเปิดเผยเสียในงานนี้จึงต้องสลับกันลงไป

    เมื่อลงไปถึงห้องอาบน้ำที่แยกเป็นห้องอาบหญิง และห้องอาบชาย ซึ่งหน้าห้องมีผ้าม่านห้อยไว้ที่ประตูต้องสังเกตให้แน่ใจและเข้าให้ถูกห้อง และก็ควรระมัดระวังไว้ด้วย เพราะออนเซนในเรียวกังบางแห่งเขาจะสลับห้องอาบชายและห้องอาบหญิงที่อยู่คนละด้านเปลี่ยนไปตามวัน เพื่อให้ชายและหญิงอาบไปดูวิวทิวทัศน์ด้านนอกที่ไม่ซ้ำกัน เรียกได้ว่าเห็นวิวทั้งสองฝั่งของเรียวกังอย่างเท่าเทียม เพราะฉนั้นหากใครที่เคยจำว่าเมื่อวานเดินลงมาแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าห้องอาบน้ำชายได้ทันที วันนี้ลงมาก็เลี้ยวซ้ายอีก อาจจะวิ่งเผ่นออกมาไม่ทัน เพราะเขาสลับเป็นห้องอาบหญิง

    เมื่อเข้าภายในจะมีห้องถอดเสื้อผ้าและห้องแต่งตัว ซึ่งจะมีตู้ล็อกเกอร์ หรือตะกร้าใส่เสื้อผ้าบริการ ทุกคนจะต้องถอดเสื้อผ้าออกให้หมดบริเวณนี้ ก่อนที่จะถือผ้าขนหนูผืนขนาดเล็กที่ใช้สำหรับเช็ดหน้าติดมือเข้าไปได้ผืนเดียว จากนั้นก็จะต้องก้าวเดินโทงๆอย่างอาจหาญเข้าไปในห้องแช่น้ำแร่ บริเวณห้องอาบจะมีที่อาบน้ำที่มีสายชาวเวอร์ มีก๊อกน้ำร้อนน้ำเย็น มีกะละมังเล็กๆไว้ให้ใบหนึ่งมีเก้าอี้กลมเล็กเตี้ยๆให้นั่งอาบน้ำสระผมชำระร่างกายให้สะอาดบริเวณนี้ก่อนซึ่งมีแบ่งเป็นบล็อกๆ ชาวญี่ปุ่นนั้นเคร่งครัดในการรับผิดชอบต่อตนเองที่จะต้องอาบน้ำสระผมชำระร่างกายให้สะอาดทุกครั้งก่อนที่จะเดินลงไปแช่น้ำในอ่างแช่น้ำแร่รวมขนาดใหญ่ ซึ่งอ่างน้ำแร่นั้นส่วนใหญ่จะมีหลายอ่างและอาจจะมีอุณหภูมิต่างกัน โดยอ่างแรกที่อยู่ด้านหน้ามักจะมีความร้อนที่น้อยกว่า และค่อยๆมีอุณหภูมิร้อนยิ่งขึ้นในอ่างถัดๆไป

    การลงแช่น้ำแร่นั้นอุณหภูมิของน้ำจะกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้สุขภาพแข็งแรง แต่ต้องระมัดระวังสักหน่อยอย่าแช่น้ำแร่ร้อนนานเกินไป เพราะอาจเกิดอาการหน้ามืดหมดสติได้ และเมื่อจะลุกขึ้นจากการแช่น้ำแร่ร้อนต้องค่อยๆลุกจะได้ไม่เกิดอาการหน้ามืดเช่นกัน เมื่อขึ้นจากอ่างแช่น้ำแร่แล้วก็อาบน้ำสระผมอีกครั้ง แล้วก็กลับเข้ามาในห้องแต่งตัว ซึ่งมีที่นั่งมีกระจกให้แต่งตัว มีไดรเป่าผมบริการพร้อมสรรพ

    การลงไปออนเซนในวันแรกๆของผมรู้สึกขัดๆเขินๆอยู่บ้าง แต่วันถัดมาก็เริ่มรู้สึกทำใจได้ และเริ่มจะเข้าถึงสัจธรรมของออนเซนในข้อที่ว่ามนุษย์เรานั้นถึงที่สุดเมื่อปลดเปลื้องปล่อยวางทุกสิ่งแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็เท่าเทียมคืนสู่สามัญมิได้ผิดแผกแตกต่างกันแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะจะไทยหรือญี่ปุ่นก็ไม่มีอะไรแตกต่างกัน แต่สิ่งที่ได้มาเมื่อขึ้นจากออนเซนก็คือความปลอดโปร่งโล่งเบาสบายตัวและหลับสบายตลอดทั้งคืนเลยทีเดียว
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>.
     

แชร์หน้านี้

Loading...