อายตนะทั้ง ๖ เช่นมีตาเห็นรูป เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะ บุคคล, 5 มกราคม 2016.

  1. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
  2. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ให้พิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลที่บังเกิดกับใจ เป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์-บุคคล-ตัว-ตน-เรา-เขา


    นัยที่ 1


    เมื่อเอาสติมาตั้งลงที่ธรรม (คืออารมณ์ของใจที่เกิดจากอายตนะผัสสะทั้ง 6) แล้วให้เพ่งดูอยู่เฉพาะธรรมนั้นเฉย ๆ ไม่ต้องไปแยกแยะว่า ธรรมนั้นเป็นอย่างนั้น ๆ แลเกิดดับอย่างนั้น ๆ แม้แต่คำว่า ธรรม ๆ ก็อย่าให้มี ณ ที่นั้นเลย ให้เพ่งดูแต่เฉพาะอาการอันหนึ่ง ซึ่งอายตนะภายนอกภายในกระทบกันแล้ว แสดงปฏิกริยาอันหนึ่งเกิดขึ้นมาเท่านั้น


    หากจะมีคำถามขึ้นมาในที่นี้ว่า จิตกับธรรมแปลกต่างกันตรงไหน ก็ขอเฉลยว่า ธรรมในที่นี้ หมายเอาอารมณ์ซึ่งเกิดจากอายตนะทั้ง 6 มีตา เป็นต้น เมื่อตาเห็นรูปสวยน่าชอบใจ แล้วจิตก็เข้าไปแวะข้องเกี่ยวอยากได้-รักใคร่-ชอบใจ-ยินดี ติดยึดมั่นเกาะเหนียวแน่นอยู่ในรูปนั้น ที่เรียกว่า ธัมมารมณ์ ธัมมารมณ์อย่างนี้แหล่ะที่เรียกว่า ธัมมานุสติปัฏฐาน ที่ต้องการจะฝึกอบรมสติในธรรมอันยังไม่บริสุทธิ์ จะให้เกิดเป็นสภาพธรรมอันบริสุทธิ์ขึ้นมา ส่วนจิตนั้นหมายเอาเฉพาะ รู้สึกนึกคิดเฉย ๆ ยังไม่ทันเป็นอารมณ์ให้เกิดเป็นกิเลสขึ้นมา


    เมื่อสติตั้งมั่นแน่วอยู่เฉพาะในธัมมารมณ์อันนั้นมั่นคงไม่เสื่อม เรียกว่าเอกัคคตารมณ์ เมื่อจิตละเอียดเข้าไปจนที่ตั้งอารมณ์ของสตินั้นหายไป แล้วสติก็จะหายไปด้วยกัน จะยังคงเหลือแต่จิตอันหนึ่งซึ่งไม่มีอาการเป็นสอง เมื่อจิตพักอยู่ในลักษณะเช่นนั้นพอควรแก่ภาวะของตนแล้ว ก็จะถอนออกมาเดินตามวิถีเดิมดังได้อธิบายมาแล้วในสติปัฏฐานข้อต้น ๆ


    นัยที่ 2


    ให้เอาสติมาตั้งมั่นลงที่ธรรม (หมายเอาธรรมารมณ์อารมณ์ที่เกิดจากอายตนะทั้งหก แล้วจิตไปยึดถือเอามาเป็นตัวเป็นตน) แล้วให้เพ่งพิจารณาธรรมารมณ์นั้นว่า มันเกิดขึ้นจากอายตนะภายในกับอายตนะภายนอกกระทบกัน หาได้มีสาระแก่นสารอะไรไม่ เป็นอนัตตา เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป ๆ ติดต่อกันอยู่อย่างนั้น ไม่เพียงทำผู้เข้าไปยึดเป็นทุกข์เปล่า อุปมาเปรียบเหมือนเหล็กไฟกระทบกับหินแล้วก็เกิดแสงประกายขึ้นวูบหนึ่งแล้วดับไป ผู้ที่ไปชอบแลติดใจในอารมณ์นั้น ๆ อยากได้แลอยากเห็นประกายอันนั้นก็เอาเหล็กมาตีกับหินอีก สัญญาความจำในอารมณ์นั้น ๆ ก็เป็นอนัตตาไม่เที่ยง เกิดดับเหมือนกัน สังขารความปรุงแต่งในอารมณ์นั้น ๆ ก็เป็นอนัตตาไม่เที่ยงเกิดดับเหมือนกัน เมื่อจิตรักใคร่ชอบใจปรารถนาอยากได้ แต่อารมณ์นั้น ๆ ไม่เที่ยงหายไป จึงใช้สัญญาเก่านั้นไปยึดเอาอารมณ์นั้น ๆ มาให้สังขารปรุงแต่งใหม่อีก แล้วก็หลงว่าเป็นของใหม่ทำให้ติดอกติดใจยิ่ง ๆ ขึ้น เมื่อชอบใจรักใคร่มากขึ้นความปารถนาก็มีมากขึ้น สัญญาความจำแลสังขารความปรุงแต่งก็ถี่ยิบขึ้น จนปรากฏเห็นว่าเป็นของเที่ยงตั้งอยู่ตลอดเวลา จิตจึงไปยึดเอามาเป็นอารมณ์ที่เรียกว่าธรรมารมณ์ เมื่อเอาสติมาตั้งให้มั่นลงที่ธรรมดังได้อธิบายมาแล้วนั้น แล้วมาพิจารณาแยกแยะออกจนเห็นเนื้อแท้ของจริงดังได้อธิบายมาแล้วนั้น จิตก็จะคลายจากความหลงรักใคร่ชอบใจแลปรารถนาเห็นธรรมารมณ์แลสัญญาสังขารเป็นแต่สักว่าสภาวธรรมอันหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไป เพราะอายตนะผัสสะยังมีอยู่มันก็ต้องเกิดมีขึ้นตามธรรมดาของมัน สติก็จะตั้งแน่วแน่อยู่เฉพาะในธรรมารมณ์แต่อย่างเดียวจนเป็นอกัคตารมณ์ เมื่อจิตตั้งมั่นอยู่อย่างนั้นความปล่อยวางในธรรมทั้งก็ค่อยหมดไป ๆ อันทำให้จิตละเอียดลงโดยลำดับ ที่สุดธรรมารมณ์ของสตินั้นก็จะหายวูบไป แล้วไปรวมเป็นเอกัคตาจิตมีจิตดวงเดียว เมื่อพักอยู่อย่างนั้นพอควรแก่กาลแล้วก็จะถอนออกมาเดินตามวิถีเดิม ดังได้อธิบายมาแล้วข้างต้นทุกประการ ถ้าผู้มาฝึกอบรมสติปัฏฐานสี่ดังได้อธิบายมาแล้วโดยนัยที่ 1 นั้น เมื่อไม่สว่างแจ่มแจ้งมึนเซ่อไม่เอาการเอางานอะไรมีแต่สัปหงกร่ำไปแล้ว เชิญมาฝึกอบรมตามแนวนัยที่ 2 นี้ดูก็จะดี


    หลวงปู่เทสก์เทสรังสี
    ที่มา สติปัฏฐาน 2 นัย


    12512822_1252389074778681_4498980616792935400_n.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...