อาสวะกิเลส และ สัญญา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 13 ธันวาคม 2009.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อาสวะกิเลส และ สัญญา<SCRIPT language=javascript>//---- Choice of variables ----glow_color="#FED586"glow_min=2glow_max=5glow_speed=100//---------The description---------/*glow_color - color of the glowglow_min - minimal sizeglow_max - maximal sizeglow_speed - the glow speed*///----------------------------------function f_glow(){ glow_size+=glow_const if (glow_size>glow_max || glow_size<glow_min) glow_const*=(-1) document.all.glow_text.style.filter = "glow(color="+glow_color+", strength="+glow_size+")"}if(document.all){glow_const=1; glow_size=glow_min; document.all.glow_text.style.width="100%"; setInterval("f_glow()",glow_speed)} </SCRIPT>
    อาสวะกิเลส หมายถึง กิเลสสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวหรือรับคุณธรรมได้ยาก ที่แอบซ่อนนอนเนื่องซึมซาบย้อมจิต เพียงรอสิ่งที่มากวน มากระตุ้นเร้าให้กิเลสที่นอนเนื่องตกตะกอนนอนก้น คืออยู่ในลักษณาการที่ดับลงไปอย่างชั่วคราวที่อยู่ในจิตให้ขุ่นมัวคุกรุ่นขึ้นมาเป็นกิเลสหรือองค์ธรรมสังขารกิเลสต่อไปนั่นเอง กล่าวคือ ไปเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันร่วมกับอวิชชา จึงยังให้เกิดองค์ธรรมสังขารความคิดหรือการกระทำตามที่ได้สั่งสมไว้หรือสังขารกิเลส และกำเริบเสิบสานดำเนินต่อไปให้เป็นอุปาทานทุกข์ เวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์ต่อไป
    หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ดังนี้ก็ได้ว่า อาสวะกิเลส คือ ความจำ แต่แตกต่างจากสัญญาหรือความจำโดยทั่วไปหรือความจำในขันธ์ ๕ กล่าวคือ ประกอบด้วยสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวเศร้าหมอง ที่นอนเนื่องอยู่ในจิต กล่าวคือ มีความจำได้อยู่ในจิต อันอาศัยหทัยวัตถุหรือสมอง แต่ยังไม่ได้เกิดการผุดระลึกขึ้นมา และประกอบไปด้วยสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวหรือเศร้าหมองเนื่องจากแฝงด้วยกิเลสต่างๆอันสั่งสมมาแต่อดีต ดังเช่น กิเลสตัณหาอุปาทานต่างๆในอดีตทั้งหลายนั่นเอง
    [​IMG] แสดงวงจรปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายสมุทยวาร เป็นลำดับขั้น
    แสดงวงจรปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายนิโรธวาร เป็นลำดับขั้น [​IMG]
    อาสวะกิเลส ก็คือ ความจำ(สัญญา) ความทรงจำทั้งหลายทั้งปวงอันเป็นขันธ์ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต จึงเกิดขึ้นจากสังขารเดิมๆที่เคยเกิดเคยเป็น เพียงแต่เป็นชนิดที่มีกิเลสแฝงอยู่ด้วย จึงกล่าวได้ว่าคือ ความจำ(สัญญา)ในสังขารกิเลสเดิมๆ ที่สั่งสมและนอนเนื่องซึมซาบย้อมจิตด้วยความเป็นตนของตน(อุปาทาน)หรือเกี่ยวเนื่องกับความเป็นตนของตน คือ ความพึงพอใจในตนของตนนั่นเอง
    ความจำนาย ก. ที่รู้จักคุ้นเคย เป็นเพียงสัญญาหรือความจำ, ส่วนความจำนาย ข. ที่มีความเกลียดชัง อย่างนี้ความจำนั้นแฝงด้วยกิเลสสิ่งขุ่นมัว หรืออุปาทานคือความไม่พึงพอใจของตัวตนในนาย ข. ความจำนาย ข. นี้จึงเป็นความจำชนิดอาสวะกิเลสนั่นเอง, ส่วนการจำ น.ส. ค ด้วยความรักใคร่เสน่หา ก็เป็นอาสวะกิเลสเพราะแฝงด้วยกิเลสความใคร่ความกำหนัด, ความจำได้ในความรู้สึกว่าชอบว่าอยากในอาหารอย่างนั้นอย่างนี้ (หรือก็คือความจำได้ในความอยากอาหารนั้น) ก็เป็นอาวะกิเลส, ความจำได้ว่าชอบว่าอยากในสิ่งนั้นสิ่งนี้ ก็เป็นอาวะกิเลส, ความจำได้ในกรรมชั่ว ก็เป็นอาวะกิเลส, ความจำในสุข-ทุกข์ ลาภ-เสื่อมลาภ ยศ-เสื่อมยศ สรรเสริญ-นินทา ก็ล้วนเป็นอาสวะกิเลส, ทั้งความสุขและความทุกข์ที่เกิดแต่อายตนะผัสสะไม่ว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และโดยเฉพาะที่ยังให้ติดเพลิน(นันทิ) ต่างล้วนยังให้เกิดการสั่งสมความจำ(สัญญา)ชนิดอาสวะกิเลสทั้งสิ้น สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนดำเนินเกิดขึ้นและเป็นไปโดยสภาวธรรม(ธรรมชาติ) จึงดำเนินสั่งสมนอนเนื่องและเป็นไปโดยไม่รู้ตัวหรืออวิชชา
    และความจำหรือสัญญาชนิดอาสวะกิเลสเหล่านี้เป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชา กล่าวคือ อาจเกิดขึ้นจาก เมื่อเจตนาจำขึ้นมา๑ หรือผุดขึ้นมาเอง๑ หรือถูกกระตุ้นเร้าจากการผัสสะของอายตนะทั้ง ๖ ใดก็ตาม๑ ก็จะร่วมเป็นเหตุปัจจัยกับอวิชชา จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสังขาร อันคือ สิ่งปรุงแต่งแต่ชนิดสังขารกิเลสนั่นเอง ดังเช่น ความคิดต่างๆแต่แฝงกิเลสอยู่, ดังเช่น เมื่อนึกจำสิ่งใดขึ้นมาก็เป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชาความไม่รู้ เกิดความคิด(สังขารชนิดกิเลส)ที่จะก่อให้เกิดทุกข์นี้ ความคิด(สังขารชนิดกิเลส)นี้เป็นความคิดที่เกิดขึ้นในขั้นแรกหรือเป็นเหตุ นั่นเอง แล้วจึงดำเนินต่อไปตามกระบวนธรรมก่อให้เกิดผล อันเป็นสังขารขันธ์หรือการกระทำต่างๆ เช่น ความคิด ความนึก ความเห็นต่างๆนาๆออกมาเป็นผล ให้เป็นทุกข์อีกทีหนึ่ง
    โดยแนวทางปฏิจจสมุปบาทนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้จัดองค์ธรรม ชรา-มรณะและอาสวะกิเลส อันเป็นองค์ธรรมเดียวกัน เป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์ โดยตรงทีเดียว, ส่วนในการพิจารณาในแนวทางอริยสัจนั้น สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ จึงหมายถึงตัณหา
    ความจริงแล้วอาสวะกิเลส ก็คือ สัญญาอันหมายถึงความจำอย่างหนึ่งอันเป็นธรรมชาติของชีวิต และเป็นส่วนหนึ่งของจิตนั่นเอง และเป็นองค์ธรรมอันสำคัญยิ่งของขันธ์๕หรือการดำรงชีวิต แต่อาสวะกิเลสเป็นสัญญาความจำชนิดที่แฝงไว้ด้วยสิ่งที่จักทำให้จิตขุ่นมัวเศร้าหมองหรือกิเลสนั่นเอง อันหมายรวมทั้งความสุขและทุกข์ที่เคยเกิดเคยเป็น จึงจดจำได้ แล้วแอบซ่อน นอนเนื่อง ซึมซ่านย้อมจิต แล้วเมื่อจำหรือผุดขึ้นมาด้วยเหตุอันใดก็ตามที ก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันกับอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริง จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดองค์ธรรมสังขารอันยังให้เกิดทุกข์ต่อไปในวันหน้าอย่างแน่นอนตามวงจรปฏิจจสมุปบาท ซึ่งอาสวะกิเลสก็เกิดขึ้นมาจากการสั่งสมเก็บจำจากประสบการณ์ต่างๆมาแต่อดีต ตั้งแต่เกิดจวบจนปัจจุบัน หรือเรียกว่านานเสียจนมิรู้ว่าสักกี่ภพกี่ชาติมาแล้วนั้น
    ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจกับ สัญญา หรือ ความจำ โดยทั่วไปเสียก่อน สัญญานั้นย่อมมีสมองเป็นเหตุเป็นปัจจัยหนึ่งร่วมด้วยอย่างแน่นอน สมองจึงจัดเป็นหทัยวัตถุ คือองค์ประกอบหรือส่วนของกาย อันเป็นส่วนหนึ่งหรือเหตุปัจจัยหนึ่งของจิต, สัญญาความจำนั้นก็เกิดมาแต่ความจำที่ได้ผ่านๆมาแต่อดีตอันเนื่องมาแต่อายตนะต่างๆหรือก็คือกระบวนธรรมหรือการทำงานของขันธ์๕ที่เคยเกิดเคยเป็นในอดีตตามที่กล่าวมาแล้วเนืองๆ โดยปกติ สมองหรือหทัยวัตถุอันเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งของสัญญา ทำหน้าที่เหมือนเทปบันทึก หรือฮาร์ดดิสส์ของคอมพิวเตอร์นั่นเองคือบันทึกทุกๆอย่างที่อยู่ในวิถี ไม่เลือกที่รักที่ชัง สัญญาก็มีหน้าที่จดจำสิ่งต่างๆที่เป็นประสบการณ์ชีวิตทุกอย่างที่อยู่ในวิถีจิตคือเคยเกิดเคยเป็นหรือเคยกระทบสัมผัส ไม่ว่าดีชั่ว สุขทุกข์ ชอบชัง ใกล้ไกล อดีตอนาคต จิตสังขารหรือแม้แต่ความรู้สึกและตัณหาอุปาทาน ฯ. ไม่สามารถควบคุมบังคับจำแนกแยกแยะจะจดจำเฉพาะสิ่งที่ต้องการได้ ดังเช่น อยากจำแต่สุข ไม่จำความทุกข์ อยากจำแต่กรรมดี ไม่อยากจำได้ในกรรมชั่ว สัญญาจึงทำหน้าที่แห่งตนโดยไม่ลำเอียง เสมือนหนึ่งเทปบันทึก ดีชั่ว ถูกผิด บุญบาป ทั้งชอบทั้งชัง สุขทุกข์ ความเจ็บปวดความยินดี ละเอียดหยาบ ไกลใกล้ ฯลฯ. การบันทึกจดจำของสัญญาโดยทั่วๆไปจึงเป็นไปดังนั้น และจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตและการทำหน้าที่ต่างๆ ถ้าไม่มีสัญญาเหล่านี้ก็ไม่สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตนเองเลยนั่นเอง แต่ก็เพราะอยู่ภายใต้อำนาจพระไตรลักษณ์เช่นกัน จึงเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมา มีความไม่เที่ยง จึงคงสภาพอยู่ไม่ได้ จึงควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้อย่างจริงแท้แน่นอน ควบคุมได้เพียงในบางสภาวะหรือสถานะการณ์เท่านั้น จึงอยู่ในสภาพเกิดๆดับๆ กล่าวคือ เกิดการผุดเกิดขึ้นมาเองหรือโดยเจตนา แล้วก็ดับไปอย่างที่ควบคุมไม่ได้โดยตรงบ้าง หรืออาจเกิดแต่เหตุปัจจัยอื่นๆ เช่นสภาพแวดล้อม(อายตนะภายนอก) เช่น รูปหรือเสียงเป็นต้น จรมากระทบหรือมาเร้ามากระตุ้น จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความจำได้อันมีกิเลสแฝงหรืออาสวะกิเลสขึ้นมาอีกครั้งก็ได้ หรือเจตนาจะจำขึ้นมา ในบางครั้งอยากจะจำก็กลับลืม พออยากจะลืมก็กลับจำ
    เทปทั้งหลายเมื่อบันทึกไว้แล้ว ก็อุปมาได้ดังสัญญาทั้งหลายอันย่อมครอบคลุมอาสวะกิเลสด้วยที่นอนเนื่องนั่นเอง ข้อมูลมีไหม? มี แต่นอนเนื่องอยู่ เฉกเช่นสัญญาหรืออาสวะกิเลส แต่เมื่อเปิดเทปหรือคอมพิวเตอร์ในส่วนข้อมูลนั้นๆ ข้อมูลที่บันทึกนอนเนื่องไว้ก็เกิด ปรากฏขึ้น สัญญาและอาสวะกิเลสก็เกิด ขึ้นเฉกเช่นเดียวกันเป็นสังขาร ขึ้นนั่นเอง ก็ไม่ได้เกิดแต่ที่ไหน แต่เกิดขึ้นจากเหล่าสัญญาและอาสวะกิเลสเหล่านี้นั่นเอง
    ดังมีพุทธพจน์ตรัสไว้เรื่องสัญญาใน อนัตตลักขณสูตร ดังนี้
    "สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้นสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย."
    สิ่งเหล่านี้พอจะสังเกตุเห็นได้จากการโยนิโสมนสิการ เช่น ความรู้สึกหรือความคิดบางอย่างนั้นเจตนา หรือผุดขึ้นมาเองโดยไม่ได้เจตนาขึ้นเลย ก็เนื่องมาจากอาสวะกิเลสหรือสัญญานี่เอง ที่บางครั้งลอยผุดขึ้นมาเองดุจฟองอากาศที่เกิดแต่โคลนตม ที่หมักหมมอยู่ใต้ท้องธาร อันเมื่อหมักหมมเน่าเปื่อยจนได้ที่แล้วฟองอากาศเหล่านั้นก็จะเกิดขึ้นและผุดลอยขึ้นมาเองโดยอาการของธรรมชาติหรือตถตา ดังนั้นจิตที่มีสัญญาต่างๆหมักหมมขุ่นมัวนอนเนื่องอยู่เป็นจำนวนมากก็เป็นดั่งนั้นเช่นกัน จึงลอยผุดขึ้นมาเองได้บ้าง, พิจารณาจากความฝัน ทุกคนอยากนอนหลับสนิทโดยไม่ฝัน หรือถ้าฝันก็อยากให้เป็นฝันดีที่สดชื่น แต่ไม่สามารถควบคุมบังคับสัญญา(ความทรงจำ)ที่ผุดขึ้นมาเองได้แม้ในขณะหลับ จึงฝันร้ายนอนเหงื่อโทรมกายบ้าง ฝันดีสดชื่นบ้าง ไม่ฝันบ้าง ล้วนเกิดมาแต่สัญญาที่เริ่มทำงานหลังจากหทัยวัตถุพักผ่อนแล้วที่อาจผุดขึ้นมาเองโดยธรรมชาติของชีวิต ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น รูป ที่หมายถึงสิ่งที่ถูกรู้ หรือก็คือทำหน้าที่เป็นความคิดหรือธรรมารมณ์นั่นเอง, สัญญาอันไม่สามารถควบคุมให้เป็นไปตามใจปรารถนา เพราะการที่ควบคุมไม่ได้ตามใจปรารถนาเหล่านี้นี่เองจึงเป็นปัจจัยอันสำคัญยิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะถ้าสัญญานั้นเป็นสัญญาที่เจือกิเลสหรืออาสวะกิเลสและเพราะอวิชชาความที่ยังไม่รู้ตามความเป็นจริง จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันให้กลายเป็นสังขารที่จะก่อทุกข์หรือสังขารกิเลสในวงจรปฏิจจสมุปบาทขึ้น
    ในกรณีความฝัน เช่นฝันร้าย ความจำที่ขุ่นมัวนอนเนื่องอยู่นั้นก็อาจจะผุดขึ้นมาเองเป็นองค์ธรรมสังขารทันที เขียนแสดงแบบกระบวนธรรมขันธ์๕ ได้ดังนี้
    ใจ [​IMG] ฝัน(คิดหรือธรรมารมณ์) [​IMG] มโนวิญญาณ(ย่อมเกิด) [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญาจำ(อาสวะกิเลส) [​IMG] ทุกขเวทนามีอามิส(กิเลส)....จึงเกิดความรู้สึกรับรู้ที่มีกิเลสแฝงอยู่ให้ขุ่นมัวทันที โดยรู้สึกฝันร้ายนอนเหงื่อโทรมกายบ้าง และยังคิดปรุงแต่งต่อไปได้แม้ขณะหลับในฝันนั้นๆ เพราะจิตนั้นทำงานทั้งขณะหลับและตื่น ต่างกันแค่ความว่องไวปราดเปรียวเนื่องจากเหตุปัจจัยบางประการของจิตนั้นพักผ่อนนอนเนื่องเท่านั้น อันลองโยนิโสมนสิการในเรื่องความฝันทั้งหลาย
    ในกรณีที่ถูกกระตุ้นเร้าด้วยเหตุปัจจัยภายนอก ดังเช่น ตา กระทบ คนที่เกลียดชัง ความจำที่ขุ่นมัวนอนเนื่องอยู่นั้นก็จะผุดขึ้นมาได้ทันที เขียนแบบกระบวนธรรมขันธ์๕ ได้ดังนี้
    ตา [​IMG] คนที่เกลียดชัง [​IMG] จักษุวิญญาณ(ย่อมเกิด) [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญาจำ(อาสวะกิเลส) [​IMG] ทุกขเวทนามีอามิส(กิเลส)....จึงเกิดความรู้สึกรับรู้ที่มีกิเลสแฝงอยู่ให้ขุ่นมัวทันทีโดยไม่ต้องคิดปรุง
    อาสวะกิเลสเหล่านี้ ก็คือสัญญาอันจดจำได้ซึ่งแฝงด้วยกิเลส นับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน หรือ ประสบการณ์ชีวิต หรือก็คือเกิดจากขันธ์๕ที่เคยเกิดเคยเป็นในอดีตนั่นเอง หรือกล่าวได้โดยกว้างๆว่าคือความจำได้ในเหล่าตัณหาแลอุปาทานที่เคยเกิดขึ้นและเป็นไปในอดีตและนอนเนื่องอยู่ในจิตโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชานั่นเอง ซึ่งท่านได้จำแนกแจกแจงออกเป็น ๕ กองด้วยกัน คือ
    โสกะ อาสวะกิเลสหรือกิเลสที่นอนเนื่องที่เกิดจากความจำได้ในความรู้สึกประเภท ความโศรก ความเศร้า ความแห้งใจ อันเกิดจากการพลัดพราก การสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบ ทั้งบุคคล วัตถุ ทรัพย์สิน ลาภ ยศ สรรเสริญ อันเนื่องมาจากอำนาจพระไตรลักษณ์ อาจกล่าวได้ว่าก็คือเหล่าวิภวตัณหาที่นอนเนื่องอย่างหนึ่งนั่นเอง
    ปริเทวะ ความจำได้ในความสุขและความทุกข์ที่เคยเกิดเคยเป็นนั่นเอง จึงเกิดการคร่ำครวญ ความร่ำไร รำพัน ในความสนุก ความสบาย ลาภ สรรเสริญ รสสัมผัสประณีตที่ถูกใจทั้งหลายทั้งปวงจากทวารทั้ง๖ ความพึงพอใจที่เคยเกิดขึ้น เคยมี เคยเป็นอยู่ ซึ่งล้วนดับไปแล้วเพราะความไม่เที่ยงในความสุขเหล่านั้นจึงเกิดการคร่ำครวญ ความร่ำไร รำพัน โหยไห้ อาลัยหา รำลึกถึง ด้วยความชอบความอาลัย อันแอบซ่อนอยากให้เกิด อยากให้เป็น อยากให้คงอยู่ อยากสัมผัส อยากให้มีอีก ดังนั้นแม้กระทั่งความสุข ทั้งหลายแต่อดีตจึงเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา หลอกล่อให้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ จึงรวมทั้งความสุขความสบายอันเกิดแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา และอุเบกขาความสงบ อันเป็นองค์ฌานต่างๆด้วยในสภาวะรูปภพและอรูปภพอันเกิดแต่การติดเพลิน(นันทิ)จึงดำเนินไปตามวงจรจนกลายเป็นอาสวะกิเลสในที่สุดเช่นกัน, ส่วนในความทุกข์นั้นก็หยิบยกมาพิรี้พิไร ครํ่าครวญไม่อยากให้เกิดไม่อยากให้เป็นอีก ดังนั้น ปริเทวะ คือ ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว(จึงรวมทั้งสุขอันจัดว่าเป็นทุกข์อย่างละเอียดด้วย) เป็นไปในลักษณะของตัณหาที่นอนเนื่องอยู่นั่นเอง เป็นสุขก็เกิดภวตัณหาที่นอนเนื่อง เป็นทุกข์ก็เกิดวิภวตัณหาที่นอนเนื่อง
    ทุกข์ หรือทุกข์กาย ความจำได้ในความไม่สบายอันเกิดเป็นแต่กาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส ทุกข์ทางกายที่เคยเกิดเคยเป็น แต่ดับไปแล้วด้วยความไม่เที่ยง แต่ยังจดจำได้ด้วยความด้วยความกังวล ความกลัว ความไม่ชอบความเจ็บปวด อันเกิดแต่กายอันไม่สำราญเป็นเหตุ ความไม่อยากให้เกิดไม่อยากให้เป็นในสิ่งที่รู้ จึงกลัว จึงกังวล ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย รวมทั้งความไม่สำราญกายอันเกิดแต่การหลุดไปจากองค์ฌานต่างๆด้วยในสภาวะรูปภพและอรูปภพด้วย กล่าวได้ว่าก็คือเหล่าวิภวตัณหาที่นอนเนื่องที่เกี่ยวกับความทุกข์ของกายนั่นเอง
    โทมนัส ความจำได้ในความไม่สบายอันเคยเกิดแต่จิต ความไม่ชอบใจ ความกังวลใจ ความไม่สบายใจ ความไม่เป็นไปตามปรารถนา ความไม่สำราญทางจิต รวมทั้งความไม่สำราญจิตอันเกิดแต่การหลุดไปจากองค์ฌานอันเป็นไปในภาวะรูปภพและอรูปภพ อยู่ในลักษณะของวิภวตัณหาอันนอนเนื่อง
    อุปายาส ความจำได้ในความคับแค้น ความขุ่นข้อง ความขัดเคืองใจ ความไม่พอใจ โทสะต่างๆในสิ่งต่างๆ ซึ่งล้วนดับไปแล้วเพราะพระไตรลักษณ์ ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อยู่ในลักษณะของวิภวตัณหาอันนอนเนื่อง
    สิ่งเหล่านี้เองที่จิตบันทึกหรือจดจำได้หรือสัญญาในสิ่งเหล่านี้ ซึ่งล้วนแฝงด้วยสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวไว้แต่อดีตโดยไม่ต้องตั้งใจ หรือโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง ทำหน้าที่แห่งตนโดยสภาวะธรรมชาติของชีวิตด้วยการจดจำบันทึกไว้เอง (โดยไม่ต้องใช้ความพยายามหรือสติและปัญญาไปร่วมขบคิดและสั่งสมจนเชี่ยวชาญเหมือนกับการเล่าเรียน เขียนหนังสือ หรือการปฏิบัติธรรม ที่ต้องการให้เกิดการสั่งสมเป็นความชำนาญเพื่อการใช้งานได้ทันทีในทุกกาลนั่นเอง) เนื่องจากสัญญาหรือการจดจำชนิดอาสวะกิเลสเป็นการเก็บจำตามธรรมชาติของชีวิต จึงเก็บจำในสิ่งที่ถูกใจ ไม่ถูกใจต่างๆเป็นธรรมดา ไม่ได้ตั้งใจที่จะจดจำเป็นพิเศษด้วยความเพียรแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้เองอาสวะกิเลสเหล่านี้จึงอยู่ในสภาพจดจำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เป็นธรรมดา อยู่ในสภาพ เกิดแล้วดับๆ ก็คือยังจำได้เป็นครั้งคราวอยู่ดี ที่เรียกกันว่านอนเนื่องหรือยังคงค้างคาอยู่ในจิต ที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดองค์ธรรมสังขารอันเป็นทุกข์ต่อไปในภายหน้า เมื่อถูกกวนให้ขุ่นมัวหรือโดนเร้าจากการกระทบสัมผัสขึ้นมา ดุจดั่งนํ้าขุ่นที่ทิ้งไว้จนตกตะกอนนอนก้นเพียงแลดูใสสะอาด แต่เมื่อกวนลงไป ตะกอนที่นอนก้นทั้งหลายก็ฟุ้งกระจายจนขุ่นมัวไปทั่วดังเดิมนั่นเอง เพราะจะเป็นไปดังนี้ เมื่อ
    ตา กระทบ รูป คนที่เกลียดชัง อาสวะกิเลสที่เก็บจำไว้ในรูปอุปายาส ความขุ่นเคือง ขัดข้อง ก็ถูกกวนถูกเร้าหรือกระตุ้นขึ้นให้จิตขุ่นมัวขึ้นได้ทันที จึงเกิดทุกขเวทนามีอามิส กล่าวคือ ทุกขเวทนานั้นแฝงกิเลสความจำได้ในอุปายาสนั่นเอง และดำเนินต่อไปตามกระบวนธรรมของขันธ์๕...
    ตา กระทบ รูป อาหารอันโปรดปราน อาสวะกิเลสที่เก็บจำในรูปปริเทวะ ความโหยไห้ ความอาลัยอยาก ก็ถูกกวนเร้าให้เกิดความอยาก นํ้าลายสอ จึงเกิดสุขเวทนามีอามิส กล่าวคือ สุขเวทนานั้นแฝงกิเลสความจำได้ในปริเทวะนั่นเอง...
    ลิ้น กระทบ รส อาหารอันโปรดปรานแสนเอร็ดอร่อย อาสวะกิเลสที่เก็บจำในรูปปริเทวะ ความโหยไห้ อาลัยอยาก ทำให้เกิดแช่มชื่น สบายใจ ถูกใจ...
    หู กระทบ เสียง ดนตรีหรือเพลงอันไพเราะถูกใจ อาสวะกิเลสที่เก็บจำจากปริเทวะ ก็ถูกกระตุ้นเร้าให้เกิดความอยากฟัง เกิดเพลิดเพลิน สบายใจ...
    หู กระทบ เสียง ดังเอะอะโวยวาย อาสวะกิเลสที่เก็บจำในรูปโทมนัส ก็ถูกกระตุ้นเร้าให้เกิดความไม่สบายใจ ไม่ชอบใจ หงุดหงิดรำคาญ...
    หู กระทบ เสียง ที่เขาด่าเราตรงๆ อาสวะกิเลสที่เก็บจำในรูปอุปายาส ก็ถูกกระตุ้นเร้าให้เกิด ความขุ่นเคือง ขัดข้อง ได้ทันที....
    กาย กระทบ กายเพศตรงข้ามอันอ่อนละมุน อาสวะกิเลสที่เก็บจำจากปริเทวะ ก็ถูกกระตุ้นให้เกิดราคะ...
    ใจ กระทบ คิดที่เป็นทุกข์ อาสวะกิเลสที่เก็บจำจากโทมนัส ก็ถูกกระตุ้นให้เกิดโมหะ(ความหลง)...
    ใจ กระทบ คิดที่เป็นความเกลียดชังหรือโทสะเช่นอดีต อาสวะกิเลสที่เก็บจำจากอุปายาส ก็ถูกกระตุ้นให้เกิดโทสะ ความโมโห...
    ถ้าโยนิโสมนสิการโดยแยบคายแล้วจะพบว่า สังขารอันเป็นผลขึ้นนั้นเช่น ราคะ โมหะ โทสะ หดหู่ ฟุ้งซ่านปรุงแต่ง ความขัดข้อง ต่างๆเหล่านั้น เป็นการกระทำเองโดยไม่รู้ตัวหรือเรียกว่าโดยอัติโนมัติของปุถุชนโดยแท้ทีเดียว ลองพิจารณาดูจาก ตา ไปกระทบ คนที่เกลียดชัง แค่มีเหตุปัจจัยไปกระทบเห็นเข้าเท่านั้นเอง สัญญาในรูปอาสวะกิเลสทำให้เกิดเวทนาต่างๆทันที ในกรณีนี้ก็จะเกิดทุกขเวทนามีอามิส(กิเลส)หรือก็คือเวทนาที่มีอาสวะกิเลสแฝงอยู่นั่นเองขึ้นในบันดลทันที จึงทำให้ไม่สามารถรับรู้ตามความเป็นจริงของธรรมหรือสิ่งนั้นๆได้ แล้วดำเนินไปตามกระบวนธรรมของขันธ์๕ต่อไป เขียนเป็นกระบวนธรรมของขันธ์๕ ได้ดังนี้
    ตา [​IMG]รูป [​IMG] ย่อมเกิดจักษุวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญาจำในรูปอาสวะกิเลส[​IMG]ทุกขเวทนามีอามิส[​IMG]สัญญาหมายรู้จึงหมายกระทำ>สังขารขันธ์ในรูปต่างๆนาๆ
    หรือ มีความคิดที่เกิดแต่อาสวะกิเลสชนิดอุปายาสคือขุ่นข้องขัดเคืองเกิดขึ้น ก็จะดำเนินไปเช่นนี้
    ความคิด [​IMG] ใจ [​IMG] มโนวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญาจำในรูปอาสวะกิเลส[​IMG]ทุกขเวทนามีอามิส[​IMG]สัญญาหมายรู้จึงหมายกระทำ[​IMG]สังขารขันธ์ในรูปต่างๆนาๆ
    ดังนั้นเมื่อปุถุชนผู้ยังไม่มีวิชชาหรือปัญญาและไม่เคยฝึกหัดปฏิบัติ เมื่ออาสวะกิเลสเหล่านี้เกิดผุดขึ้นมาเป็นธรรมดาดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว จะด้วยการผุดขึ้นมาโดยธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทบสัมผัสก็ตาม ก็ย่อมต้องยังให้เกิดเวทนาหรือจิต(ความคิด)ขึ้นอันเป็นไปตามสภาวะธรรมชาติของชีวิตหรือขันธ์๕นั่นเอง แล้วปุถุชนผู้ยังไม่เรียนรู้และไม่เคยปฏิบัติย่อมปล่อยให้เป็นไปตามวิถีจิตของปุถุชน คือ ให้เกิดขึ้นและเป็นไปตามวงจรการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ปฏิจจสมุปบาท กล่าวคือ ถ้าเวทนานั้นถูกใจ ชอบใจ สบายใจ ก็อยาก(นันทิ,ตัณหา)ให้คงอยู่ คงเป็น คงเกิดขึ้นใหม่, ถ้าเป็นทุกขเวทนา ไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ ไม่สบายใจ ก็ไม่อยาก(วิภวตัณหา)ให้เกิดให้เป็น ไม่อยากให้คงอยู่ ถ้าเป็นอทุกขมสุขก็ไม่ระวังปล่อยเพลินด้วยการไปปรุงแต่งด้วยอวิชชาจนเป็นทุกข์ในที่สุด อันล้วนอาจเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหต่างๆนั่นเอง, หรือถ้าเป็นความคิด(จิต)อันเกิดขึ้นมา(สังขาร)ก็ปล่อยเพลิดเพลินปรุงแต่งจนเกิดเวทนาต่างๆขึ้นเป็นที่สุดและดำเนินไปตามข้างต้นนั้นเอง ลองโยนิโสมนสิการโดยทำใจเป็นกลางดูว่าปุถุชนคนใดที่ไม่เป็นไปอย่างนี้ เป็นไปได้ไหม
    ด้วยเหตุดั่งนี้นี่เอง อาสวะกิเลส จึงเป็นญาณสุดท้ายที่เกิดขึ้น เนื่องเพราะละได้ยากหรือดับได้ยาก อันเนื่องมาจากเป็นกระบวนธรรมชาติของชีวิตโดยตรงๆ เป็นส่วนหนึ่งของความจำ(สัญญา)ที่ใช้ดำรงชีวิตโดยตรงด้วยตนเอง แต่ด้วยพระปรีชาญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจึงทรงจำแนกให้เห็นสิ่งเหล่านี้ที่ซ่อนเร้นปกปิดอยู่ภายในจิตด้วยญาณหรือปัญญานั่นเอง และทรงรู้ดีว่าสิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ที่สรรพสัตว์ทั้งหลายจะไปสู้รบปรบมือด้วยตรงๆไม่ได้ มีแต่ทางพ่ายแพ้ตกเป็นทาสของมันเป็นธรรมดา ทางชนะมีแต่ต้องอาศัยแต่ธรรมชาติอันยิ่งใหญ่นั้นเองเป็นผู้ช่วยแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยตรง อันเกิดขึ้นมาจาก สติ สมาธิ(สติอย่างต่อเนื่อง) ปัญญา เป็นเหตุให้เกิดธรรมชาติใหม่ของชีวิตขึ้น เป็นธรรมชาติชนิดที่สวนทวนกระแสของปุถุชน คือ ไม่ยังให้เกิดทุกข์ สติเป็นสติอย่างต่อเนื่องอันเป็นสมาธิในวิถีจิตตื่นในช่วงการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการปฏิบัติด้วยปัญญาอันรู้เข้าใจอย่างถูกต้องดีงามเป็นแนวทางและจัดการ โดยสภาวะธรรมชาติของชีวิตอันยิ่งใหญ่เช่นกันจึงย่อมสั่งสมเป็นสังขารอันเชี่ยวชาญชำนาญยิ่งสามารถกระทำกิจได้โดยอัติโนมัติ หรือกระทำได้เองโดยไม่ต้องจดจ่อจดจ้องตั้งใจเป็นพิเศษ เป็น มหาสติ นั่นเอง (นึกภาพไม่ออก ให้โยนิโสมนสิการพิจารณาโดยใช้ขันธ์๕ ในสังขารของการอ่านหนังสือ การว่ายนํ้า การขี่จักรยาน ฯลฯ. อันเป็นสังขารชนิดมหาสติอย่างเดียวกัน แต่เป็นแบบทางโลกๆ ไม่นำพาให้พ้นทุกข์โดยตรง)
    ในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั้น อาสวะกิเลสอันเป็นสัญญาที่เจือปนด้วยกิเลสอันทำให้จิตขุ่นมัวเป็นทุกข์นั้นได้ดับไปเสียแล้วด้วยนิพพิทาญาณ หมายความว่า อาสวะกิเลสของท่านนั้นได้กลับกลายไปสู่สภาพธรรมชาติเดิมแท้ๆเป็นเพียงสัญญา ขาดจากการปรุงด้วยกิเลสอันเนื่องด้วยนิพพิทาญาณ และอวิชชาได้ดับไปเสียแล้ว จึงเป็นเพียงสัญญาความจำเท่านั้น จำได้ในอดีต ดีชั่ว ถูกผิด ชอบชัง สวยไม่สวย เปรี้ยวหวาน โอชะไม่โอชะ ไกลใกล้ ละเอียดหยาบ ล้วนแต่ยังคงมีอยู่เป็นธรรมดา แต่ล้วนไม่มีกิเลสแอบแฝงนอนเนื่อง เป็นสัญญาตามธรรมชาติอันบริสุทธิ์ อันเกิดแต่ปัญญาที่เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงที่มันเป็นไป ไม่เห็นไปตามที่ตนชอบหรือเข้าใจ กิจอันพึงกระทำอย่างยิ่ง ท่านได้กระทำโดยสมบูรณ์แล้ว ท่านก็ทรงดำรงชีวิตโดยอาศัยขันธ์๕ เป็นเพียงเครื่องอยู่ เสวยวิมุติสุขอันเกิดแต่การหลุดพ้น ไร้สิ่งมารบกวนให้ท่านเป็นทุกข์ได้อีกต่อไป เหลืออยู่ก็แต่เวทนาอันเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติเพียงเท่านั้น หรือในภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน พระนิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และดำเนินชีวิตอยู่ในเบญจขันธ์หรือขันธ์๕ นั่นเอง
    อาการที่สัญญานั้นเปลี่ยนแปลงต่างไปจากปุถุชนของพระอริยะนั้น เป็นไปด้วยสัญญาหมายรู้คือปัญญาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติสั่งสม นั่นเอง อุปมาได้ดั่งเมื่ื่อยามเป็นเด็ก เมื่อตากระทบรูปคือนม ย่อมเกิดสุขเวทนาขึ้นเป็นธรรมดา แต่เมื่อเติบใหญ่สั่งสมประสบการณ์คือสัญญามากขึ้น สัญญาในรูปนั้นก็ย่อมแปรไปเป็นชอบอาหารธรรมดามากขึ้น เมื่อกระทบกับนม จึงมักแปรไปเป็นอทุกขมสุขเวทนาหรืออุเบกขาเวทนาอันแผ่วเบาได้​
    ตา [​IMG] รูป [​IMG] จักขุวิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญา(ความจำได้หมายรู้) [​IMG] เวทนา
    ในปุถุชน อันเหล่าอาสวะกิเลส ที่เกิดผุดขึ้นมาแล้วด้วยเหตุอันใดข้างต้นก็ตาม ย่อมต้องดำเนินไปตามหลักเหตุและปัจจัยหรือดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง ไปทำหน้าที่เป็นองค์ธรรมสังขาร หรือสังขารกิเลส ถ้าเรามีปัญญาหรือวิชชาและฝึกปฏิบัติมาดีพอควรแล้ว ก็จะสังเกตุเห็นอาสวะกิเลสเหล่านี้บ้างเป็นบางครั้งในรูปขององค์ธรรมเวทนาที่เกิดขึ้น หรืออาจสังเกตุเห็นเวทนาหรือในรูปของจิตสังขารที่เกิดขึ้นในองค์ธรรมชรา(เวทนาที่เห็นในองค์ธรรมชรานี้จะเป็นอุปาทานเวทนา-เวทนูปาทานขันธ์แล้ว ความคิดหรือจิตที่เห็นนั้นจะเป็นอุปาทานสังขารขันธ์-สังขารูปาทานขันธ์แล้วเช่นกัน) สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นอาสวะกิเลสหรือสัญญากิเลสที่นอนเนื่องซึมซาบย้อมจิตทั้งสิ้น ที่ปกปิดหรือนอนเนื่องไม่ให้เห็นหรือเข้าใจแม้แต่ตัวตนเอง และไม่ให้เห็นเป็นไปตามความเป็นจริงของสิ่งนั้นๆ (ระมัดระวังพิจารณาด้วยปัญญาสักนิดว่า บางความคิดเป็นความคิดธรรมดาในการดำเนินชีวิตหรือขันธ์๕ ไม่ได้เกิดแต่อาสวะกิเลส) ดังนั้นถ้าโยนิโสมนสิการโดยแยบคายในเวทนาหรือจิตที่เกิดขึ้นมานั้น ก็จะทราบสภาวะจิตตลอดจนอาสวะกิเลสของตนที่นอนเนื่องแอบเร้นอยู่ได้ ดังนั้นในการปฏิบัติเวทนานุปัสสนาและจิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐาน๔ ที่ถูกต้องดีงาม จึงมีการให้แยกแยะว่า เวทนาเยี่ยงใดที่เกิดขึ้น เช่น เป็นสุขเวทนามีอามิส(กิเลสหรือเนื่องจากอาสวะกิเลสนั่นเอง) ทุกขเวทนามีอามิส หรืออทุกขมสุขมีอามิส ฯลฯ. หรือจิตอย่างไรที่บังเกิดขึ้น เช่น จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นสมาธิ ฯลฯ. (อ่านรายละเอียดในสติปัฏฐาน๔ ) เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นแก่ตน เพื่อที่จะได้นำไปพิจารณาเพื่อให้เกิดภูมิรู้ภูมิญาณหรือความรู้ความเข้าใจว่าในจิตของตนนั้นยังมีอาสวะกิเลสสิ่งใดค้างคานอนเนื่องอยู่บ้าง แล้วท่านก็สอนให้ปล่อยวาง โดยการไม่ยึดมั่น ถือมั่น ในสิ่งใดๆ หรือไม่ยินดี,ไม่ยินร้าย(อภิชฌา,โทมนัส) อันมีอยู่ในท้ายบทของทุกองค์ของสติปัฏฐาน๔ หรือก็คืออุเบกขาเป็นกลางวางทีเฉย โดยการไม่เอนเอียงแทรกแซงหรือปรุงแต่งด้วยถ้อยคิดหรือกริยาจิตใดๆในเรื่องนั้นนั่นเอง
    สังขารสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในอดีต ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เพราะความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เพราะสภาพที่ทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตาไม่มีแก่นแกนแล้ว คงเหลือแต่เพียงเป็นสัญญาความจำที่อยู่ในสภาพเกิดๆดับๆในขณะที่ดำรงขันธ์ทั้ง๕อยู่ โดยเฉพาะสัญญาความจำที่แฝงด้วยกิเลสหรืออาสวะกิเลสที่เราไปติดยึดอยู่จนเป็นทุกข์เพียงเท่านั้น ซึ่งก็เป็นสังขารสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอย่างหนึ่งเช่นกัน แท้จริงแล้วก็ไม่เที่ยงจำได้บ้างไม่ได้บ้าง เป็นทุกข์คงทนอยู่ไม่ได้เกิดแล้วก็ต้องดับไป เป็นอนัตตาไม่มีแก่นแกนแท้จริง
    ข้อคิดพิจารณาในแนวขันธ์ ๕
    แสดงความแตกต่างของสังขารขันธ์ ระหว่างสัญญาหรืออาสวะกิเลส เมื่อเกิดขึ้นหรือผุดจำขึ้นมา
    ความจำ(สัญญาทั่วไป) [​IMG] สังขารอันเป็นเหตุ เช่นความคิดหรือธรรมมารมณ์ แล้วดำเนินไปตามกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ อันไม่เป็นทุกข์ มีแต่เวทนาเป็นไปตามธรรม ดังนี้
    [สัญญา [​IMG]] สังขารคือความคิดอันเป็นเหตุ [​IMG] ใจ [​IMG] วิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] เวทนา [​IMG] สัญญา [​IMG] สังขารขันธ์ เช่น คิดอันเป็นผล

    ความจำ(อาสวะกิเลส) [​IMG] อวิชชา [​IMG] สังขารอันแฝงกิเลสอันทำหน้าที่เป็นเหตุ เช่นความคิดหรือธรรมมารมณ์ แล้วดำเนินไปตามวงจรแห่งทุกข์
    [อาสวะกิเลส [​IMG] อวิชชา [​IMG]] สังขารกิเลสคือความคิดอันเป็นเหตุ [​IMG] ใจ [​IMG] วิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] เวทนา [​IMG] สัญญาหมายรู้แฝงความเป็นของตัวของตน [​IMG] สังขารขันธ์ เช่นโทสะ

    ความจำ(อาสวะกิเลส) [​IMG] วิชชา [​IMG] สังขารอันเป็นเหตุ เช่นความคิดหรือธรรมมารมณ์ แล้วดำเนินไปตามกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ เช่นกัน
    [อาสวะกิเลส [​IMG] วิชชา [​IMG]] สังขารคือความคิดอันเป็นเหตุ [​IMG] ใจ [​IMG] วิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] เวทนา [​IMG] สัญญาหมายรู้ตามความเป็นจริง [​IMG] สังขารขันธ์ เช่น คิดอันเป็นผลดีงาม
     
  2. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้จัดองค์ธรรม
    ชรา-มรณะและอาสวะกิเลส อันเป็นองค์ธรรมเดียวกัน เป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์โดยตรงทีเดียว

    ส่วนในการพิจารณาในแนวทางอริยสัจนั้น สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ จึงหมายถึงตัณหา
    ความจริงแล้วอาสวะกิเลสก็คือ สัญญาอันหมายถึงความจำอย่างหนึ่งอันเป็นธรรมชาติของชีวิต

    และเป็นส่วนหนึ่งของจิตนั่นเอง และเป็นองค์ธรรมอันสำคัญยิ่งของขันธ์๕หรือการดำรงชีวิต แต่อาสวะกิเลสเป็นสัญญาความจำชนิดที่แฝงไว้ด้วยสิ่งที่จักทำให้จิตขุ่นมัวเศร้าหมองหรือกิเลสนั่นเอง อันหมายรวมทั้งความสุขและทุกข์ที่เคยเกิดเคยเป็น

    จึงจดจำได้ แล้วแอบซ่อน นอนเนื่อง ซึมซ่านย้อมจิต แล้วเมื่อจำหรือผุดขึ้นมาด้วยเหตุอันใดก็ตามที ก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันกับอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริง

    จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดองค์ธรรมสังขารอันยังให้เกิดทุกข์ต่อไปในวันหน้าอย่างแน่นอนตามวงจรปฏิจจสมุปบาท ซึ่งอาสวะกิเลสก็เกิดขึ้นมาจากการสั่งสมเก็บจำจากประสบการณ์ต่างๆมาแต่อดีต ตั้งแต่เกิดจวบจนปัจจุบัน

    หรือเรียกว่านานเสียจนมิรู้ว่าสักกี่ภพกี่ชาติมาแล้วนั้น
     
  3. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อาสวะกิเลสก็เกิดขึ้นมาจากการสั่งสมเก็บจำจากประสบการณ์ต่างๆมาแต่อดีต ตั้งแต่เกิดจวบจนปัจจุบัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...