อาหาร 6 อย่างเหมาะสำหรับผู้ป่วย

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย aoseiei, 24 กุมภาพันธ์ 2014.

  1. aoseiei

    aoseiei เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    210
    ค่าพลัง:
    +490
    เมื่อเราเริ่มมีอาการไม่สบาย ร่างกายอาจมีความต้องการพลังงานมากกว่าปกติ เพื่อปรับสมดุลและกลับมาทำงานเป็นปกติโดยเร็ว เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายต้องต่อสู้กับการติดเชื้อ โดยเฉพาะอาการไข้ ที่ส่งผลให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น

    1.ซุปไก่ (ไม่สกัด)
    ซุปไก่ ร้อนๆ ช่วยให้ร่างกายคลายความหนาวเย็นได้ดี นอกจากนี้ ในเนื้อไก่ยังมีกรดอะมิโนซิสเตอีน ที่ช่วยลดปริมาณเสมหะในปอด น้ำซุปร้อนๆ จาก ซุปไก่ ช่วยให้จมูกโล่งขึ้น ป้องกันภาวะขาดน้ำ และช่วยป้องกันการติดเชื้อในลำคอ

    2.ชาร้อน
    ชาร้อน ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ การดื่มชาเขียวชงร้อนๆ ช่วยป้องกันการติดเชื้อ มีสารต้านอนุมูลอิสระและส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรืออาจดื่มน้ำร้อนผสมมะนาวเพื่อช่วยลดอาการคัดจมูก

    3.ผลไม้ตระกูลส้ม
    แม้วิตามินซีต้านหวัดจะเป็นแค่ความเชื่อ เพราะไม่เคยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รับรองทฤษฎีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เนื้อเยื่อสีขาวที่หุ้มเนื้อส้ม มะนาว หรือเกรฟฟรุต จะมีสารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและปรับอัตราการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

    4.อาหารเผ็ดๆ
    อาหารรสเผ็ด จะช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งและเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงนัยน์ตา ด้วยคุณสมบัติตามธรรมชาติของ อาหารรสเผ็ด การรับประทานพริกขี้หนู พริกต่างๆ รวมทั้งวาซาบิในปริมาณไม่มากเกินไป จะช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกได้

    5.กล้วย
    กล้วย มีโปแตสเซียมสูง ช่วยเวลาร่างกายเสียเหงื่อ หลังอาเจียนหรือท้องเสีย นอกจากนั้นยังย่อยง่าย กล้วย ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย และช่วยเติมอิเล็กโทรไลท์ (เกลือแร่ในเลือด)

    6.ขิง
    ขิง ช่วยขับลม แก้อาการคลื่นไส้ และอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับกระเพาะอาหาร ไม่ว่าจะเป็นท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก และอาเจียน การดื่ม น้ำขิง ร้อนๆ จะช่วยให้ร่างกายสดชื่นและรักษาอาการปั่นป่วนภายในท้องไปพร้อมๆ

    อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

    อาหาร รสจัดและรสเปรี้ยว แม้ว่า อาหาร รสจัดจะช่วยแก้อาการคัดจมูกได้ แต่ก็อาจไม่เหมาะหากกระเพาะอาหารกำลังอ่อนแอ
    อาหาร หวานและไขมันสูง การได้รับน้ำตาลในปริมาณมากๆ จะไปกดภูมิคุ้มกันและอาจเป็นต้นเหตุของการอักเสบ ส่วนอาหารประเภทไขมัน ร่างกายจะย่อยได้ยากกว่าเมื่อเทียบกับคาร์โบไฮเดรตหรือโปรตีน ซึ่งจะยิ่งเป็นการกระตุ้นให้กระเพาะทำงานหนักโดยใช่เหตุ

    ที่มา : http://bit.ly/NpYpRH
     

แชร์หน้านี้

Loading...