อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    เรียนสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน แล้วไปยังเรือนว่าง นั่งอยู่ตลอดวันและคืน เจริญอธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
    *************************
    [๔๕] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

    “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้พอใจในการหลีกเร้น ยินดีในการหลีกเร้น หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่างเถิด

    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายพอใจในการหลีกเร้น ยินดีในการหลีกเร้นหมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนเรือนว่างอยู่
    พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จักเป็นอนาคามี”

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

    ชนทั้งหลายมีจิตสงบแล้ว มีปัญญารักษาตน มีสติ เพ่งพินิจอยู่ ไม่ไยดีในกามทั้งหลาย
    ย่อมเห็นแจ้งธรรมโดยชอบ
    เป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท
    มีปกติเห็นภัยในความประมาท
    เป็นผู้ไม่ควรเสื่อม ดำรงอยู่ใกล้นิพพานทีเดียว

    แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
    ..........
    ปฏิสัลลานสูตร ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=160

    เพิ่มพูนเรือนว่าง ในที่นี้หมายถึงการเรียนสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน แล้วไปยังเรือนว่าง นั่งอยู่ตลอดวันและคืน เจริญอธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา (องฺ.ทสก.อ. ๓/๗๑/๓๕๗, ม.มู.อ. ๑/๖๕/๑๖๙, ขุ.อิติ.อ. ๔๕/๑๙๒)
    ดูรายละเอียดในอรรถกถาสัลลานสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=223





    43493538_1757962720993542_1140413932775669760_n.jpg
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    43419057_178549279687958_5027480299114594304_n.jpg
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    44488027_1078323805660870_8905028000018333696_n.jpg?_nc_cat=102&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    วัดผลการเจริญกรรมฐานตรงที่ระงับใจ

    วิธีที่จะวัดกำลังใจว่าเราปฏิบัติได้ผลหรือไม่ได้ผล นั่นก็คือเขาดูอาการที่ประสบ อย่างที่เราเคยถูกด่า ใช่ไหม ถูกด่า ได้ยินเขาว่า เขานินทา ได้ยินข่าวเราโมโห โมโหโทโสหนัก แล้วก็ไปขังอยู่ที่ในใจ
    ถอยหลังไป ต่อมาที่เรามาปฏิบัติพระกรรมฐานแล้ว ถูกเขาว่า ถูกเขานินทา แล้วเราก็นึกในใจว่า "เราโกรธเท่าเดิม แต่มันขังกี่วัน ถ้ามันขังน้อยลงมานี่ แสดงว่าผลการปฏิบัติของเราเกิดแล้ว" ใช่ไหม คุณชัยณรงค์ โอ้ะ! อย่าง "ชัยณรงค์" นี่ อย่างสมัยก่อนว่า "ไอ้สรชุ่ย" นี่ ๓ ปีไม่หายโกรธเลย ใช่ไหม อ้าว! เวลานี้เราอาจจะเหลือ ๑๐ นาที ๕ นาที ชั่วโมง สองชั่วโมง สามวัน สี่วัน ถ้าดูอาการลดมาอย่างนี้ แสดงว่าการรับ "ปฏิฆะ" ของเรายังแรงอยู่ แต่มันขังไม่นาน

    โกรธกับพยาบาทมี ๒ ตัว ใช่ไหม "ตัวโกรธ" นี่คือความไม่พอใจที่เราพบในเบื้องต้น นี่อารมณ์ที่ขังอยู่นะ ท่านเรียก "พยาบาทจองล้างจองผลาญ" เพื่อการแก้มือ ต้องดูไอ้ตัวพยาบาทนี่มันลดมั่งไหม กำลังมันแรงเท่าเดิม แต่วันเวลามันลดลงบ้างหรือเปล่า ระยะเวลาเหลือสั้นลงมานี่แสดงว่า การปฏิบัติของเรามีผลแล้ว ใช่ไหม
    แล้วก็ถ้าหากว่าเราใช้เวลานานๆ พยายามทำนานๆ เรื่อยๆ ไป มันก็จะมีผลลดตัวลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งอันดับพอเขาด่าโกรธ โกรธเท่าเดิม แล้วเดี๋ยวเดียวมันหาย ใช่ไหม แล้วต่อมาจากนั้นมันก็จะถือว่าเขาด่า โกรธน้อยกว่าเก่า จนกระทั่งถึงขั้นว่าเขาด่าวันนี้มะรืนนี้ถึงเพิ่มเริ่มโกรธ นี่มี มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ "ด่าวันนี้ยังไม่รู้สึก พออีก ๒-๓ วันนึกได้ เอ๊ะ! วันนั้นมันด่ากูนี่หว่า เพิ่งนึกออก" ใช่ไหม อันนี้ อันนี้นี่เป็นอย่างนี้จริงๆนะ ผลการปฏิบัติมันค่อยๆ ลดลงไปจนกว่าจะหมด ใช่ไหม

    ไอ้ที่ว่าวันพรุ่งนี้ มะรืน มะเรื่อง "ไปนึกขึ้นได้ก็หมายความว่า ไอ้ตัวโกรธนี่มันดับลงไปมากแล้ว แต่ทว่ามันไม่หมด ที่ไม่หมด ก็มันเหลืออารมณ์ที่เป็นอนุสัย" อนุสัยนี่กำลังมันเบามาก พอจิตเราว่างสงัดขึ้นมาปั๊บ ก็นึกดู อ้อ! เมื่อคืนไอ้นั่นด่ากูนี่หว่า ใช่ไหม เพิ่งนึกได้ พอรุ่งขึ้นไปด่าเขา เขาไม่รู้เรื่อง ด่าเรื่องอะไรนี่ ใช่ไหม นี่มันค่อยๆ ลดตัวไปแบบนี้

    ผลที่จะพิสูจน์ "ต้องพิสูจน์ผลที่เราจะกระทบกับอารมณ์นั้นๆ" อย่างไอ้เรื่องการเสียดายของ ติดอยู่ในของก็เช่นเดียวกัน อันดับแรกๆ ถ้าเด็กหรือว่าใครทำของแตก เช่น ของมีราคาน้อยแต่เราโกรธโมโหหนัก แล้วต่อมาจนกระทั่งมันแตกเพล้งลงไปแล้ว มันก็โกรธเหมือนกันแต่มันยั้งใจทัน บอก เอ่อ! มันพลาดไปแล้ว แต่ว่าต้องดุต้องว่าต้องเตือนกัน ก็เพราะว่าไม่อย่างนั้นความพลั้งพลาดมันจะมีมาก อย่างพระพุทธเจ้าท่านก็ทำ ไม่ทำเสียก็ไม่มีวินัย ไม่อย่างนั้นต้องไม่วางวินัยพระไว้

    จนกระทั่งของมันตกเพล้งไปแตก จิตใจนึก ฮือ! มันเรื่องธรรมดา แต่ไอ้การยับยั้งด้วยการเตือนกันว่ากัน การดุกัน ก็ต้องมี เพราะเขารักษาความดี แต่เนื้อแท้ของใจมันไม่ใช่โกรธจริง นี่ก็ต้องค่อยๆ ลดไปตามนี้นะ ถ้าหากว่าอาการอย่างนี้มันปรากฎ ก็แสดงว่าความหลงของเรามันหายไปมากแล้ว "ไอ้ตัวที่จะโกรธจัดหรือว่าเสียดายจัดอะไรนี่มันมาจากตัวหลง"

    ถ้าฆ่าตัวโลภตัวหนึ่ง กับฆ่าตัวโกรธตัวหนึ่งได้ ตัวหลงก็ไม่ต้องไปฆ่ามัน ถ้าจะหลงมันมีกำลัง ความโลภกับความโกรธมันก็มีกำลังมาก ถ้าตัวหลงมันมีกำลังน้อย ไอ้ตัวโลภกับโกรธก็มีกำลังน้อยเบาไป ฉะนั้นการประหารกิเลสก็ประหาร ๒ ตัวหรือ ๓ ตัว ไอ้สองตัวนี่มันมีสภาพเหมือนกันคือ "ราคะ" ความรัก กับ "โลภะ" ความโลภ นี่มันตัวเดียวกันนะ

    อาตมาเคยพูดแยกกันไว้เสมอ ก็เพื่อความเข้าใจ ถ้าบรรดานักปราชญ์เขามาฟังๆ บางทีเขาจะหาว่าไอ้ห่วยนี่มันพูดส่งเดช มันตัวเดียวกัน ถ้าเราไม่แยกออกก็บางทีไม่เข้าใจ ใช่ไหม ถ้าเราไม่รัก เราก็ไม่อยากได้ ไอ้โลภะนี่เขาแปลว่าอยากได้ ถ้าไม่รักมัน เราก็ไม่อยากได้ นี่มันตัวเดียวกัน แต่ว่าที่พูดเขานิยมพูดแยกออกมา เพื่อให้เข้าใจ

    หลวงพ่อพระราชพรหมยานมหาเถระ วัดท่าซุง อุทัยธานี
    จากหนังสือ "ธรรมปฏิบัติ" เล่ม ๓ ธันวาคม ๒๕๔๗ หน้าที่ ๖๔ ถึง ๖๗
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    44819268_2184575335199003_5886819636325908480_n.jpg?_nc_cat=101&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    44995400_1082660561893861_5106802860398477312_n.jpg?_nc_cat=107&_nc_ht=scontent.fbkk5-7.jpg
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    บัณฑิตควรเห็นปฐวีธาตุนั้น ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
    **************
    ปฐวีธาตุภายใน และปฐวีธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นปฐวีธาตุนั่นเอง บัณฑิตควรเห็นปฐวีธาตุนั้น ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นปฐวีธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัดจากปฐวีธาตุ
    ................
    ข้อความบางตอนในธาตุวิภังคสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=40

    บทว่า ฉธาตุโร อยํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้นแก่กุลบุตร แต่ทรงปรารภเพื่อตรัสบอกวิปัสสนาลักษณะเท่านั้น ซึ่งมีความว่างเปล่าอย่างยิ่งอันเป็นปทัฎฐานแห่งพระอรหัต แต่เบื้องต้น.

    จริงอยู่ บุพภาคปฏิปทาของผู้ใดยังไม่บริสุทธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอกบุพภาคปฏิปทานี้ คือศีลสังวร ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ การประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น สัทธรรม ๗ ฌาน ๔ แก่ผู้นั้นก่อนเทียว.

    แต่บุพภาคปฏิปทานั้นของผู้ใดบริสุทธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ตรัสบุพภาคปฏิปทานั้น แต่จักตรัสบอกวิปัสสนานั้นแล ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตแก่ผู้นั้น. ก็บุพภาคปฏิปทาของกุลบุตรบริสุทธิ์แล้ว.
    ..............
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาธาตุวิภังคสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…




    45395833_1793369294119551_7697732424192491520_n.jpg?_nc_cat=101&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.jpg
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    45561797_2199580513596965_5983122157540999168_n.jpg?_nc_cat=104&_nc_ht=scontent.fbkk5-5.jpg
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    45453394_2198605010361182_5860532778617012224_n.jpg?_nc_cat=100&_nc_ht=scontent.fbkk5-5.jpg
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    45376300_2199047750316908_2956286785098874880_n.jpg?_nc_cat=106&_nc_ht=scontent.fbkk5-8.jpg
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=10668e467b17de043482cdad2ea5f12c.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    f_5KkqaRWnptXNUCAT_MgrcBsC-1UEUWFmxfnbsMxOt9vxOQhEaiA5vMKvjQJpdnbLX3je1g&_nc_ht=scontent.fbkk5-4.jpg

    โดยปกติพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะทรงแสดงสัมมติกถาก่อนแล้วจึงทรงแสดงปรมัตถกถาในภายหลัง
    ****************
    ก็กถาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีสองอย่างคือ สัมมติกถาและปรมัตถกถา.

    ในกถาทั้งสองอย่างนั้น กถาว่า สัตว์ คน เทวดา พรหมเป็นต้น ชื่อว่าสัมมติกถา.

    กถาว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน สัมมัปปธานเป็นต้น ชื่อว่าปรมัตถกถา.

    ในกถาเหล่านั้น ผู้ใด ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สัตว์ คน เทวดาหรือพรหม ย่อมสามารถเพื่อรู้แจ้ง เพื่อแทงตลอด เพื่อนำออกจากทุกข์ เพื่อถือเอาซึ่งการจับธง คือพระอรหัตด้วยสัมมติเทศนา พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะตรัสว่าสัตว์ คน เทวดา หรือว่าพรหม เป็นเบื้องต้นแก่ผู้นั้น.

    ผู้ใดฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้นว่า อนิจจัง หรือทุกขัง ด้วยปรมัตถเทศนา ย่อมอาจเพื่อรู้แจ้ง เพื่อแทงตลอด เพื่อนำออกจากทุกข์ เพื่อถือเอาซึ่งการจับธง คือพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จะทรงแสดงธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นต้นว่า อนิจจัง หรือว่าทุกขังแก่ผู้นั้น.

    เพราะฉะนั้น จึงไม่แสดงปรมัตถกถาก่อน แม้แก่สัตว์ผู้จะรู้ด้วยสัมมติกถา แต่จะทรงให้รู้ด้วยสัมมติกถาแล้ว จึงทรงแสดงปรมัตถกถาในภายหลัง

    จะไม่ทรงแสดงสัมมติกถาก่อน แม้แก่สัตว์ผู้จะรู้ด้วยปรมัตถกถา แต่จะทรงแสดงให้รู้ด้วยปรมัตถกถาแล้ว จึงทรงแสดงสัมมติกถาในภายหลัง.

    แต่โดยปกติ เมื่อทรงแสดงปรมัตถกถาก่อนเทียว เทศนาก็จะมีอาการหยาบ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแสดงสัมมติกถาก่อนแล้ว จึงทรงแสดงปรมัตถกถาในภายหลัง แม้เมื่อจะทรงแสดงสัมมติกถา ก็จะทรงแสดงตามความเป็นจริงตามสภาพ ไม่เท็จ แม้เมื่อจะทรงแสดงปรมัตถกถา ก็ทรงแสดงตามความเป็นจริง ตามสภาพ ไม่เท็จ.

    โบราณจารย์กล่าวคาถาไว้ว่า

    พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เมื่อจะตรัสก็ตรัสสัจจะ ๒ อย่างคือ
    สัมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ จะไม่ได้สัจจะที่ ๓
    สังเกตวจนะเป็นสัจจะ เป็นเหตุแห่งโลกสัมมติ
    ปรมัตถวจนะเป็นสัจจะ เป็นลักษณะมีจริงแห่งธรรมทั้งหลายดังนี้.
    ..............
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาโปฏฐปาทสูตรhttp://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=275
    ดูเพิ่มใน โปฏฐปาทสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=9&siri=9

    *******************************



     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    48088882_2124594231184308_5150453072589225984_n.jpg?_nc_cat=107&_nc_ht=scontent.fbkk5-7.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    fkbWFzBCVcyq-7dH28Vx-sUM8OcedP83Z-w3uyz1shMRhNiYE5UVte_Qk4H4_r_DKAIb60eg&_nc_ht=scontent.fbkk5-5.jpg

    สมาธิสัมโพชฌงค์
    ********************
    สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้ โดยนัยมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่า


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมถนิมิต (บาลีว่า สมาธินิมิต) อัพยัคคนิมิตมีอยู่ การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตทั้งสองนั้น นี้เป็นอาหาร (ย่อมเป็นไป) เพื่อความเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด หรือเป็นทางเพื่อความไพบูลย์ เจริญบริบูรณ์เต็มที่แห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว ดังนี้.


    ในนิมิตเหล่านั้น สมถะนั่นแล ชื่อว่าสมถนิมิตและอัพยัคคนิมิต เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน.


    ธรรมเป็นเหตุเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์

    อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการย่อมเป็นทางเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์ คือ
    ๑. ทำวัตถุให้สละสลวย
    ๒. การปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ
    ๓. ฉลาดในนิมิต
    ๔. ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง
    ๕. ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
    ๖. ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง
    ๗. เพ่งเฉยในสมัยที่ควรเพ่งเฉย
    ๘. เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ
    ๙. คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ
    ๑๐. พิจารณาและวิโมกข์
    ๑๑. น้อมจิตไปในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น.


    อธิบายธรรม ๑๑ ประการ

    ในธรรม ๑๑ ประการนั้น เฉพาะการทำวัตถุให้สละสลวย และการปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.

    ความฉลาดในการกำหนดกสิณนิมิตเป็นอารมณ์ ชื่อว่าฉลาดในนิมิต. การประคองจิตไว้ ด้วยการตั้งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์และปีติสัมโพชฌงค์ในสมัยที่จิตหดหู่ เพราะมีความเพียรย่อหย่อนเกินไปเป็นต้น ชื่อว่าประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง.

    การข่มจิตไว้ ด้วยการตั้งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในสมัยที่จิตฟุ้งซ่าน เพราะปรารภความเพียรมากเกินไปเป็นต้น ชื่อว่าข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม.

    คำว่า ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรร่าเริง อธิบายว่า สมัยใด จิตไม่แช่มชื่นเพราะมีปัญญาและความเพียรอ่อนไป หรือเพราะไม่บรรลุสุขที่เกิดแต่ความสงบ สมัยนั้น ก็ทำจิตให้สลดด้วยพิจารณาสังเวควัตถุเรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลด ๘ ประการ.

    เรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลด ๘ ประการ คือ
    ๑. ชาติ ๒. ชรา ๓. พยาธิ ๔. มรณะ
    ๕. ทุกข์ในอบาย
    ๖. ทุกข์ในอดีตมีวัฏฏะเป็นมูล
    ๗. ทุกข์ในอนาคตมีวัฏฏะเป็นมูล
    ๘. ทุกข์ในปัจจุบันมีการแสวงหาอาหารเป็นมูล.

    อนึ่ง การทำความเลื่อมใสให้เกิด ด้วยมาระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อันนี้ก็เรียกว่าการทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง.

    ชื่อว่า เพ่งเฉยในสมัยที่ควรเพ่งเฉย อธิบายว่า สมัยใด จิตอาศัยการปฏิบัติชอบ ไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน แช่มชื่น เป็นไปสม่ำเสมอในอารมณ์ ดำเนินในสมถวิถี สมัยนั้นไม่ต้องขวยขวายในการประคอง ข่มและทำจิตให้ร่าเริง เหมือนสารถีไม่ต้องขวนขวาย ในเมื่อม้าวิ่งเรียบฉะนั้น อันนี้เรียกว่าเพ่งเฉยในสมัยที่ควรเพ่งเฉย.

    การเว้นบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่บรรลุอุปจาระหรืออัปปนา ให้ห่างไกล ชื่อว่าเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ.

    การเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิด้วยอุปจารภาวนา หรืออัปปนาภาวนา ชื่อว่าคบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ.

    ความเป็นผู้มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อให้เกิดสมาธิ ในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่งเป็นต้น ชื่อว่าน้อมจิตไปในสมาธิสัมโพชฌงค์.

    ด้วยว่า เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์นั้นย่อมเกิดได้.

    เมื่อภิกษุรู้ชัดว่า ก็สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น อันเกิดแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=5
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    Q1cmbgNfINxRMRtHUR-_vMi11pASmnLcj8MVKVT-vx7jp4Fka0l9Ty-xrirvO8MpuQLODzKg&_nc_ht=scontent.fbkk5-1.jpg

    ให้ห่างไกลจากบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ คือผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่บรรลุอุปจาระหรืออัปปนา
    ให้คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิด้วยอุปจารภาวนา หรืออัปปนาภาวนา
    *************
    ธรรมเป็นเหตุเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์ ข้อที่ ๘ เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ
    คำว่า เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ หมายถึง การเว้นบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่บรรลุอุปจาระหรืออัปปนา ให้ห่างไกล

    ธรรมเป็นเหตุเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์ ข้อที่ ๙ คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ
    คำว่าคบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ หมายถึง การเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิด้วยอุปจารภาวนา หรืออัปปนาภาวนา
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    bI7GbpvcRV8JGmhRZvyf7fcA4JnH0abN5Hbn8J_ABiMsGxrF4u40E9GS1VsUtZIkTorsjwSw&_nc_ht=scontent.fbkk5-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    My49r3sPUDazDsZujsKCYbhxUMxlWzVT7aNZtpjRAogcKPR0h-_5CbvZoqKzvqK68POuB_qQ&_nc_ht=scontent.fbkk5-5.jpg





    “สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
    “อานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะ (ความรู้ ความเห็นตามความเป็นจริง) เป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์”

    “ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระพุทธเจ้าข้า”
    “อานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทา (ความเบื่อหน่าย) และวิราคะ(ความคลายกำหนัด) เป็นผล มีนิพพิทาและวิราคะเป็นอานิสงส์”
    ..................
    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน กิมัตถิยสูตร อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=24&siri=1
    และอรรถกถากิมัตถิยสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=1
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    48373466_2220936964896173_7992291172661854208_n.jpg?_nc_cat=110&_nc_ht=scontent.fbkk5-4.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    48376698_1853665284756618_7395111193179848704_n.jpg?_nc_cat=100&_nc_ht=scontent.fbkk5-5.jpg

    สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย
    วิญญาณมีสังขารเป็นที่อาศัย
    นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย
    สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย
    ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อาศัย
    เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย
    ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัย
    อุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย
    ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย
    ชาติมีภพเป็นที่อาศัย
    ทุกข์มีชาติเป็นที่อาศัย
    ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย
    ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย
    ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อาศัย
    ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย
    สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย
    สมาธิมีสุขเป็นที่อาศัย
    ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย
    นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อาศัย
    วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย
    วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัย
    ขยญาณมีวิมุตติเป็นที่อาศัย

    อุปนิสสูตร สํ.นิ.(ไทย)๑๖/๒๓/๔๓ มหาจุฬา ฯ
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=16&siri=19
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...