อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    49947230_1886796044776875_9092724912736436224_n-jpg-_nc_cat-110-_nc_ht-scontent-fbkk5-4-jpg.jpg



    [๔๕] ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๓ ประการนี้บัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้
    กรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. ทาน(การให้)
    ๒. ปัพพัชชา(การถือบวช)
    ๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน(การบำรุงมารดาบิดา)
    กรรม ๓ ประการนี้แลบัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้

    ทาน อหิงสา(ความไม่เบียดเบียน) สัญญมะ(ความสำรวม) ทมะ(การฝึกฝน) มาตาปิตุอุปัฏฐาน(การบำรุงมารดาบิดา)
    เป็นสิ่งที่สัตบุรุษบัญญัติไว้
    คุณธรรมเหล่านี้เป็นฐานะของสัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบ
    เป็นพรหมจารีบุคคลซึ่งบัณฑิตควรเสพ
    บัณฑิตนั้นเป็นอริยบุคคลผู้มีทัสสนะสมบูรณ์
    เข้าถึงโลกอันเกษมได้
    ********
    ปัณฑิตสูตร อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=89
    ดูเพิ่มในอรรถกถา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=484

    *************************************************************************



     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    temp_hash-618e560d3ba08723c261a6dec3847abc-jpg.jpg

    c_oc=AQkk0Fx5Cett7X3cW_0zqX8pQazTf8EC3dxfxVJrKIptMBhwifKha_a4sG-E4BxGAJQ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2019
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    14947864_1017233865066435_4104978514506869429_n-jpg-jpg.jpg
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQkn597ItI3IR2dQJzZYKUqu179oMGu-dBs0UAljI6UPX9OMXnLiHJzdvsTaMxmCeEU&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg



    เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็เป็นกาลแห่งสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เป็นกาลแห่งวิปัสสนา
    ***********
    ว่าด้วยกาลแห่งสมถะและวิปัสสนา
    คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล อธิบายว่า เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็เป็นกาลแห่งสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เป็นกาลแห่งวิปัสสนา (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)

    โยคี ใด ยกจิตไว้ในกาล(หนึ่ง)
    ข่มจิตในอีกกาลหนึ่ง ทำจิตให้รื่นเริงตามกาล
    ตั้งจิตให้มั่นในกาลเพ่งดูจิตตามกาล
    โยคีนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล
    การยกจิต ควรมีในกาลไหน
    การข่มจิตควรมีในกาลไหน
    กาลสำหรับทำจิตให้รื่นเริงควรมีในกาลไหน
    และกาลแห่งสมถะเป็นเช่นไร

    *********************************



    บัณฑิตย่อมแสดงกาลสำหรับเพ่งดูจิตของโยคีไว้อย่างไร
    การยกจิตควรมีในเมื่อจิตย่อหย่อน
    การข่มจิตควรมีในเมื่อจิตฟุ้งซ่าน
    โยคีควรทำจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงทุกเมื่อ
    จิตรื่นเริง ไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่านย่อมมีในกาลใด
    ในกาลนั้นก็เป็นกาลแห่งสมถะ
    ใจพึงยินดีอยู่ภายในโดยอุบายนี้เอง
    เมื่อใดจิตตั้งมั่น เมื่อนั้นโยคีพึงรู้จิตที่ตั้งมั่น แล้วพึงเพ่งดูจิต
    นักปราชญ์รู้จักกาล ทราบกาล ฉลาดในกาล
    พึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต โดยควรแก่กาล อย่างนี้

    คำว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล อธิบายว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง” เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”

    คำว่า ธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า ภิกษุนั้น ... เป็นผู้มีธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด อธิบายว่า ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ซัดส่าย คือ สมถะ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ รวมความว่า เป็นผู้มีธรรมเอกผุดขึ้น

    คำว่า ภิกษุนั้น ... พึงกำจัดความมืด อธิบายว่า ภิกษุพึงขจัด พึงกำจัด คือ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืดเพราะโทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะทิฏฐิ ความมืด
    เพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริต อันทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
    ……………..
    ข้อความบางตอนใน สารีปุตตสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=16
    และดูเพิ่มใน อรรถกถาสารีปุตตนิทเทสhttp://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=881&p=2#ข้อ_๙๕๖
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    [๖๘] ภิกษุทั้งหลาย
    ๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่(๑)- ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ชอบคณะ(๒)-ยินดีในคณะ ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวก(๓)- ตามลำพังได้
    ๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ยินดีในปวิเวกตามลำพังจักถือเอานิมิตแห่งจิต(๔)- ได้
    ๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิ(๕)-ให้บริบูรณ์ได้
    ๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
    ๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาสมาธิ(๖)- ให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ได้
    ๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ยังละสังโยชน์ไม่ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้

    ภิกษุทั้งหลาย
    ๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ชอบคณะไม่ยินดีในคณะ ไม่ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวกตามลำพังได้
    ๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ยินดีในปวิเวกตามลำพัง จักถือเอานิมิตแห่งจิตได้
    ๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
    ๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
    ๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้บำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ได้
    ๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ละสังโยชน์ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้
    ..........
    สังคณิการามสูตร อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=319

    ๑ คลุกคลีด้วยหมู่ หมายถึงคลุกคลีด้วยหมู่คณะของตน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๘-๖๙/๑๗๔)
    ๒ ชอบคณะ (คณาราโม) หมายถึงชอบคลุกคลีกับคนทั่วไป (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๘-๖๙/๑๗๔)
    ๓ ปวิเวก ในที่นี้หมายถึงกายวิเวก (ความสงัดทางกาย) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๘/๑๕๑)
    นิมิตแห่งจิต หมายถึงอาการซึ่งเป็นนิมิตแห่งสมาธิและวิปัสสนา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๘/๑๕๑)
    ๕ สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑/๖)
    ๖ สัมมาสมาธิ ในที่นี้หมายถึงมัคคสมาธิ สมาธิที่ช่วยให้ตรัสรู้ หรือสมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรค มีชื่อเรียกพิเศษว่า อนันตริกสมาธิ แปลว่า สมาธิที่ให้ผลต่อเนื่องไปทันที (ขุ.ขุ. ๒๕/๕/๖, ขุ.สุ. ๒๕/๒๒๘/๓๗๗) และหมายถึงผลสมาธิ หรือ อรหัตตผลสมาธิ ได้แก่ เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยกำลังจิตที่ประกอบด้วยสมาธิ ซึ่งกำราบราคะลงได้ ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกมัดทั้งหลายได้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑/๖)
    …………
    พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรหรืออารามสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า สงฺคณิการาโม ความว่า รื่นเริงใจด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ส่วนภิกษุชื่อว่าคณารามะ เพราะยินดีในคณะ มีคณะศึกษาพระสูตรเป็นต้น หรือในคณะ กล่าวคือบริษัทของตน.
    บทว่า ปวิเวเก ได้แก่ กายวิเวก.
    บทว่า จิตฺตสฺส นิมิตฺตํ ความว่า นิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต คืออาการของสมาธิและวิปัสสนา.
    บทว่า สมฺมาทิฏฺฐึ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิในวิปัสสนา.
    บทว่า สมาธึ ได้แก่ มรรคสมาธิและผลสมาธิ.
    บทว่า สํโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง.
    บทว่า นิพฺพานํ ได้แก่ ปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้.
    อรรถกถาฐานสูตรหรืออารามสูตรที่ ๔http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=339
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2019
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQmxIGyEFI8kthV_xJbeW4sNERiwS3of1HIfOGQKdOxH9jdcNlCwrQzvvIhRDxnqsUs&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQmXpy310wJVQ9XO91elTX_ynDyrAuY6ScpMLmboGDloDG-C_XI0vIj0TLfhBTPhdqE&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    temp_hash-198a26b1f040f3c2559b4ad884bfe332-jpg.jpg







    สัตว์เหล่าใดถวายทานมุ่งต่ออริยสงฆ์ ในสมมติสงฆ์ แม้โดยที่สุดโคตรภูสงฆ์ เป็นอันว่าสัตว์เหล่านั้นถวายทานดีแล้ว

    ****************
    [๖๔๔] ทานที่บุคคลถวายเจาะจงสงฆ์นั้น ชื่อว่าเป็นทานที่ถวายดีแล้ว บูชาสักการะอย่างดีแล้ว ทักษิณาที่ถวายสงฆ์นั้นมีผลมาก
    ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลกก็ทรงสรรเสริญแล้ว

    ข้อความบางตอนใน ทัททัลลวิมาน ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=34
    ****************
    เตสํ สุทินฺนํ สุหุตํ สุยิฏฺฐํ
    เย สงฺฆมุทฺทิสฺส ททนฺติ ทานํ.
    สา ทกฺขิณา สงฺฆคตา ปติฏฺฐิตา
    มหปฺผลา โลกวิทูหิ วณฺณิตา.

    ข้อความบางตอนใน ททฺทลฺลวิมานํ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php…
    ****************
    บทว่า เย สงฺฆมุทฺทิสฺส ททนฺติ ทานํ ความว่า สัตว์เหล่าใดถวายทานมุ่งต่ออริยสงฆ์ ในสมมติสงฆ์ แม้โดยที่สุดโคตรภูสงฆ์ เป็นอันว่าสัตว์เหล่านั้นถวายทานดีแล้ว แม้การบูชาด้วยการเคารพและต้อนรับก็เป็นการบูชาดีแล้ว แม้บูชาด้วยเครื่องบูชาใหญ่ก็เป็นการบูชาดีแล้วเหมือนกัน.

    ถามว่า เพราะเหตุไร.

    ตอบว่า เพราะทักขิณานั้นจัดเป็นสังฆทานมีผลมาก อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว.

    อธิบายว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งโลก ทรงสรรเสริญยกย่องชมเชยถึงทานที่มีผลมากโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ เราไม่กล่าวว่า ปาฏิบุคลิกทานมีผลมากกว่า สังฆทานด้วยปริยายอะไรๆ เลย สังฆทานเป็นประมุขของผู้หวังบุญ พระสงฆ์นั่นแลเป็นประมุขของผู้บูชา และพระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของชาวโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.

    ข้อความบางตอนในอรรถกถาทัททัลลวิมาน http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=34
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQkXP4oa_A4u47lwecnVT7Kaz4s6183NwpKB7NsgvJgxSEreOinK0WVeBKWBq1LDKdY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQm0ZlgVaOx-srxIuFoEkRxVCM4qkNeaWOGz705yCLAmT6MMAKJMAErUzhZ9manVl84&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    +++ พระอริยเจ้าทุกระดับทุกรูปแบบต้องทรงฌานได้ +++

    ถาม : พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่า ไฟคือราคะ โทสะ และโมหะ ตอนนั้นผมคิดว่าพระองค์ท่านอุปมาเปรียบเทียบเฉย ๆ แต่หลังจากทำสมาธิและได้ทรงฌาน ๑ ครั้งแรกมันสุขมาก จิตใจเบามาก ตอนนั้นเลยเข้าใจว่า พระพุทธองค์ไม่ได้เปรียบเทียบแต่พูดจริง ๆ คำถามคือ พระอรหันต์ท่านตัดกิเลส ดับไฟกิเลสหมดแล้ว เวลาท่านไม่เข้าฌานสมาบัติ ท่านรู้สึกสุขมากกว่าการเข้าฌานหรือเปล่า หรือว่าท่านเข้าฌานเป็นปกติครับ ?

    ตอบ : พระอรหันต์ต่อให้ไม่เข้าฌาน สภาพจิตก็เว้นจากการปรุงแต่งแล้ว ไฟรัก โลภ โกรธ หลง ดับหมดแล้ว #แต่ด้วยความที่ท่านทรงความไม่ประมาทเป็นปกติก็ยังคงใช้อานาปานสติคือประกอบด้วยฌานเป็นปกติ พูดง่าย ๆ ก็คือ กำลังของฌานสามารถกดกิเลสเบื้องต้นได้อย่างแน่นอน เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านก็เลยไม่ยอมเว้นจากฌาน #เพราะว่าไม่ประมาท ถ้าถามว่าพระอรหันต์สุกขวิปัสสโกทรงฌานได้หรือ ? #ขอยืนยันว่าพระอริยเจ้าทุกระดับทุกรูปแบบต้องทรงฌานได้ ไม่อย่างนั้นแล้วกำลังจะไม่พอในการตัดกิเลส แต่เป็นการทรงฌานที่บางทีท่านก็ไม่รู้ตัว

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    (หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน)
    เก็บตกจากบ้านเติมบุญ ต้นเดือนมิถุนายน ๒๕๖๒
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQmbHJ6VO2BEw8wOfwXdWMAh4meTaTF3saPQmKqGgULE3Fap6qJ3QvlD-qaPNDwIyno&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ?temp_hash=e309412524e859e84731c7914d5547c5.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ?temp_hash=474cc4a8741346927ab15b6afafc5bce.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    [​IMG] ?temp_hash=d0451b697fcc9a0b283db8912d6bca4f.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    มีญาติโยมถามปัญหาว่า เมื่อปฏิบัติไปแล้วเข้าถึงความว่าง จะทราบได้อย่างไรว่าความว่างนั้นเป็นความว่างแบบไหน ? ซึ่งความว่างในการปฏิบัติของเรานั้นมีหลายระดับชั้นด้วยกัน

    ความว่างระดับแรกก็คือ สติ สมาธิ เริ่มทรงตัวเป็นฌาน ถ้าอย่างนี้รัก โลภ โกรธ หลง ต่าง ๆ จะโดนอำนาจของฌานกดดับลงไปชั่วคราว สภาพจิตที่เคยรุงรังด้วยกิเลสต่าง ๆ ก็สงบราบเรียบลง เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นสำหรับตัวเองมาก่อน ก็จะรู้สึกว่าง เบาสบายอย่างยิ่ง อย่างนี้เรียกว่าว่างเพราะอำนาจของฌานสมาบัติกดทับกิเลสเอาไว้

    ความว่างระดับต่อไป คือ ความว่างในอากาสกสิณ เป็นการกำหนดช่องว่างส่วนใดส่วนหนึ่งจับมาเป็นนิมิตในการภาวนา ถ้าเป็นในลักษณะอย่างนั้นจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่เคยมีของเก่าในอดีต ฝึกเกี่ยวกับอากาสกสิณมาก่อน เมื่อทำไปจนสมาธิเริ่มทรงตัว ของเก่ากลับคืนมา เกิดปฏิภาคนิมิตขึ้น ก็จะรู้สึกถึงความว่างได้เช่นกัน ในส่วนนี้ถ้าจิตของเราละเอียดพอ ก็จะแยกแยะออกได้ว่า ถ้าเป็นความว่างของกสิณนั้นจะเป็นความว่างอยู่ในลักษณะที่เรากำหนดเฉพาะเจาะจงจุดใดจุดหนึ่งตรงหน้า

    ความว่างระดับถัดไปนั้นเป็นความว่างของอรูปฌาน ไม่ว่าจะเป็นอากาสานัญจายตนะฌานก็ดี วิญญาณัญจายตนะฌานก็ดี อากิญจัญญายตนะฌานก็ดี เนวสัญญานาสัญญายตนะฌานก็ดี อรูปฌานทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการที่เราเพิกรูปทิ้งไป แล้วจับความว่างของอากาศ จับความไร้ขอบเขตของวิญญาณ จับความรู้สึกที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างต้องเสื่อมสลายพังไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่ และกำหนดความรู้สึกว่ามีเหมือนกับไม่มี รู้เหมือนกับไม่รู้ เป็นต้น สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็จัดเป็นความว่างอีกอย่างหนึ่ง

    บุคคลที่เคยทรงอรูปฌานในอดีต เมื่อกระทำไปจนกระทั่งกำลังทรงตัวแล้ว เข้าถึงอรูปฌานเดิม ๆ ก็ทำให้รู้สึกถึงความว่างเช่นกัน ตรงจุดนี้ถ้าจะสังเกตแยกแยะออกก็จะต้องสังเกตว่า เรายังทรงกำลังของฌานสมาบัติอยู่ การที่เราทรงกำลังของฌานสมาบัติอยู่แม้ว่าจะเบาสบายเพียงใดก็ตาม ความที่ยังต้องทรงฌานอยู่ก็จัดเป็นความหนัก บุคคลที่มีจิตละเอียดจริง ๆ ถึงจะแยกแยะออกได้

    ประการสุดท้ายนั้นเป็นความว่างเนื่องจากจิตมองเห็นโทษของร่างกายนี้ มองเห็นโทษของสภาพจิตที่คลุกคลีอยู่กับรัก โลภ โกรธ หลงทั้งหลาย แล้วสามารถที่จะปล่อยวางสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ลงจนหมด ยกจิตของตนเองขึ้นมาพ้นจากสภาพของราคะ โลภะ โทสะ โมหะได้ ก้าวล่วงจากสมมติเข้าสู่ความเป็นวิมุตติ ก้าวล่วงจากโลกเข้าสู่ทางธรรมแท้ ๆ

    สภาพจิตของตนจะเหลือแต่เพียงผู้รู้เด่นอยู่เท่านั้น เป็นผู้รู้ที่มีหน้าที่กำหนดรู้เฉย ๆ ไม่ไปปรุงแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดเป็นรัก โลภ โกรธ หลง เหมือนกับเราก้าวขาข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่ง เมื่อข้ามฝั่งไปแล้วเราก็ไม่ย้อนกลับมาแตะต้องวอแวในสิ่งที่เคยผ่านมา ถ้าลักษณะนั้นจึงจะเป็นความว่างที่แท้จริง เป็นความว่างในลักษณะของการว่างจากกิเลส เป็นความว่าง ความใส ความสะอาด จากสภาพจิตที่ปราศจาก รัก โลภ โกรธ หลง หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นความว่างของการเข้าถึงพระนิพพานนั่นเอง

    ดังนั้น..ถ้าพวกเราต้องการจะเข้าถึงสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เราก็ต้องเน้นในเรื่องของศีล สมาธิ ปัญญา โดยเฉพาะในส่วนของปัญญาที่มองเห็นทุกข์เห็นโทษของร่างกายนี้ ของโลกนี้ จนกระทั่งสามารถปล่อยวางได้ การที่เราจะมีกำลังมากพอที่จะยกจิตให้พ้นขึ้นมาจากร่างกายนี้ พ้นจากโลกนี้ได้ แล้วปล่อยสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ลง ก็ต้องมีกำลังสมาธิที่เข้มแข็งพอเพียง

    กำลังสมาธิจะเข้มแข็งพอเพียงได้ เราก็ต้องมีศีลอย่างน้อย ศีล ๕ เป็นพื้นฐาน เมื่อสภาพจิตของเราจดจ่ออยู่กับการระมัดระวังรักษาศีลทุกสิกขาบทไม่ให้บกพร่อง การที่เราเอาจิตจดจ่อแน่วแน่ระมัดระวังศีลอยู่นั่นเอง สมาธิก็จะเกิดขึ้น เมื่อสมาธิเกิดขึ้นทรงตัว ตั้งมั่น มีกำลังกดกิเลสดับลงได้ชั่วคราว ตัวปัญญาก็จะเด่นขึ้น ผ่องใสขึ้น ก็จะเห็นช่องทางว่าจะทำอย่างไรถึงจะสละ ตัดละ ร่างกายนี้ โลกนี้ ความยินดีต่าง ๆ

    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เมื่อสละออก ตัดออก ละออกได้ ก็จะก้าวเข้าสู่ความว่างอย่างแท้จริง เป็นความว่าง ใส สะอาด ที่เปี่ยมสุข ไม่สามารถจะอธิบายรายละเอียดเป็นภาษามนุษย์ได้ ไม่สามารถที่จะอธิบายรายละเอียดเป็นภาษาหนังสือได้ เพราะว่าเป็นสิ่งที่ก้าวล่วงการปรุงแต่งทั้งปวงไปแล้ว ภาษามนุษย์ก็ดี ภาษาหนังสือก็ดี ยังเป็นภาษาที่ประกอบไปด้วยการปรุงแต่งอยู่ จึงไม่สามารถที่จะอธิบายสภาวธรรมทั้งหลายเหล่านั้นได้

    มีแต่สภาพจิตของเราที่เด่น ผ่องใส สะอาด เหลือแต่ตัวรู้อย่างเดียว ไม่ไปแตะต้อง ไม่ไปปรุงแต่ง ถ้าสิ่งไหนจำเป็นก็ออกไปสัมผัสด้วยความระมัดระวัง แล้วก็ย้อนกลับเข้ามาอยู่กับความผ่องใสที่ปราศจากกิเลสของตนต่อไป ถ้าอย่างนี้จึงจะเป็นความว่างที่แท้จริง

    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ถ้าเราจะก้าวเข้าสู่ความว่างที่แท้จริงหรือสภาวะพระนิพพานนั้น ก็ต้องอาศัยศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งจะพูดให้กว้างออก ก็คือ มรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง

    สำหรับพวกเราทั้งหลายนั้นก็ต้องมาเน้นเรื่องของสมาธิ เพราะเราทั้งหมดส่วนใหญ่มีศีลบริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ ก็ดี ศีล ๘ ก็ดี ในเมื่อศีลบริสุทธ์บริบูรณ์แล้ว ยังไม่สามารถจะก้าวล่วงไปได้ ก็แปลว่ากำลังสมาธิยังไม่เพียงพอ เราจึงต้องมาเน้นการฝึกสมาธิอย่างจริง ๆ จัง ๆ เพื่อที่จะประคองจิต รักษาจิตของเราให้มีความผ่องใส จนกระทั่งกำลังสมาธิเพียงพอ ดวงปัญญาก็จะเกิดขึ้น มีความแกร่งกล้า มีความแหลมคมพอ ก็สามารถที่จะสลัด ตัด ละ ความยินดี ความพอใจในร่างกายนี้ ในร่างกายของคนอื่น ในโลกนี้และในโลกอื่น ภพภูมิอื่นลงได้ เราก็จะหลุดพ้นไปสู่ธรรมอันว่างอย่างยิ่ง ก็คือพระนิพพานนั่นเอง

    ลำดับต่อไปให้ทุกท่านตั้งใจภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านวิริยบารมี
    วันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

    ที่มา www.watthakhanun.com
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ?temp_hash=dbcc5afad4ea05357f0e8c576a7178a5.jpg



    ตั้งแต่วันนี้ไป ให้พากันตัดบ่วงห่วงอาลัย อารมณ์สัญญาที่คิดถึงบ้านถึงเรือน ถึงลูกถึงหลาน ถึงอะไรต่อมิอะไรให้ตัดขาด

    ว่าสถานที่เรานั่งสมาธิภาวนาอยู่นี้ เท่ากันกับว่าเป็นสถานที่วิเศษ เป็นทางที่จะให้เราทุกคนละกิเลสให้หมดไปสิ้นไปได้
    ถ้าตั้งใจภาวนา แต่ไม่ใช่ว่าสถานที่จะมาละกิเลสให้เรา

    ใจเรานี้แหละภาวนาละกิเลสเอาเอง

    กิเลสนั้น เมื่อผู้ใดเลิกได้ละได้แล้ว ไม่เลือกว่าเณร ไม่เลือกว่าพระ ไม่เลือกว่าจะสมมุติว่า เป็นธรรมยุต เป็นมหานิกาย อะไรก็ได้ทั้งนั้น

    ไม่ใช่สมมุตินั้นละกิเลส การละกิเลสมันเป็นเรื่องภายในจิตใจของแต่ละดวงจิตดวงใจ

    ผ้าขาวผ้าเหลืองไม่ได้มาละกิเลสให้
    สถานที่ก็ไม่ได้มาละกิเลสให้แก่เรา

    จิตใจเรานั้นเองเป็นผู้ละกิเลส

    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

    Credit : Supani Sundarasardula
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    บางคนที่มีทิฐิว่าพระพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานไปแล้วย่อมไม่ปรากฏอีก
    โดยอ้างพระบาลี "นิพพานังปรมังสุญญัง"

    คำว่า สูญ นั้นหมายถึง สูญจากกิเลส
    จิตสูญจากกิเลส จึงจะเข้าพระนิพพานได้
    จิตมัวหมอง ไม่รู้ตามความเป็นจริง
    แปลบาลีผิดจากความหมายพระพุทธองค์
    จิตก็หลงทางไปสู่อบายภูมิ เพราะเป็นจิตไม่ฉลาด

    สิ่งที่ไม่มีที่พระนิพพานได้แก่..
    นรก สัตว์ โลก สวรรค์ พรหม
    ธาตุ 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ ) ขันธ์ 5 (รูป-นาม)
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ราคะ อุปาทาน บาปกรรม อวิชชา สังโยชน์ (กิเลสร้อยรัด 10 อย่าง ) เกิด แก่ เจ็บ ตาย สิ่งเหล่านี้ไม่มีในแดนพระนิพพาน

    เราอยู่ในพระพุทธศาสนา จับหลักในคำสอน จับหลักให้จริงก่อน ให้คิดไตร่ตรองก่อน ว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้ เป็นจริงไหม แล้วจึงเชื่อ จึงปฏิบัติ

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง


    ?temp_hash=ee42a9505a69a72a0a8a897ea90baf8b.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    ..ตัณหาเกิดจากอะไร...


    พระพุทธเจ้าถามพระอานนท์ว่า "อานนท์ เธอว่าตัณหาเกิดจากอะไร ?"
    "ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรม"
    พระองค์ก็ทรงตอบว่า
    "ตัณหาเกิดจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เกิดได้ เพราะตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่นลิ้นได้รส กายสัมผัส"
    "มันจะดับที่ตรงไหน ?"
    "มันเกิดที่ไหน มันก็ดับที่ตรงนั้น คือมันจะดับที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ"
    "ทำอย่างไร มันจึงจะดับ ?"
    "ฝึกสติ"
    อันนี้หลักฐานยืนยันชัดเจน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ฝึกสติ ไม่ต้องไปคำนึงว่า เราจะไปนั่งสมาธิที่ไหนในวัดใด สมาธิจะได้ลึกตื้นหนาบางเพียงใด แค่ไหน ขอให้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา




    พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
    วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,081
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,970
    c_oc=AQnhWg0UPZHOGQG126YO6y0YULJrQk364V_J1xXet_aTsmuoDkXI4aoJGoCHdyccXZo&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    กรรมฐานมี ๒ อย่าง คือ สัพพัตถกกัมมัฏฐาน และปาริหาริยกัมมัฏฐาน
    ************
    [กรรมฐาน ๒ พร้อมทั้งอธิบาย]
    กรรมฐานนั้น มีอยู่ ๒ อย่าง คือ สัพพัตถกกัมมัฏฐาน (กรรมฐานมีประโยชน์ในกุศลธรรมทั้งปวง) ๑ ปาริหาริยกัมมัฏฐาน (กรรมฐานควรบริหารรักษา) ๑. บรรดากรรมฐาน ๒ อย่างนั้นที่ชื่อว่า สัพพัตถกกัมมัฏฐาน ได้แก่เมตตา (ที่เจริญไป) ในหมู่ภิกษุเป็นต้นและมรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย). พระอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า อสุภสัญญา บ้าง.

    จริงอยู่ ภิกษุผู้จะเจริญกรรมฐาน ครั้งแรกต้องตัดปลิโพธเสียก่อน แล้วจึงเจริญเมตตาไปในหมู่ภิกษุผู้อยู่ในสีมา, ลำดับนั้น พึงเจริญไปในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมา, ถัดจากนั้นพึงเจริญไปในอิสรชนในโคจรคาม, ต่อจากนั้นพึงเจริญไปในเหล่าสรรพสัตว์กระทั่งถึงชาวบ้านในโคจรคามนั้น.

    แท้จริง ภิกษุนั้นทำพวกชนผู้อยู่ร่วมกันให้เกิดมีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตาในหมู่ภิกษุ. เวลานั้น เธอจะมีความอยู่เป็นสุข. เธอย่อมเป็นผู้อันเหล่าเทวดาผู้มีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตาในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมาจัดการอารักขาไว้เป็นอย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบธรรม. ทั้งเป็นผู้อันอิสรชนทั้งหลายผู้มีจิตสันดานอ่อนโยน เพราะเมตตาในอิรชนในโคจรคาม จัดรักษาระแวดระวังไว้อย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบธรรม. และเป็นผู้อันชาวบ้านเหล่านั้นผู้มีจิตถูกอบรมให้เลื่อมใส เพราะเมตตาในพวกชาวบ้านในโคจรคามนั้น ไม่ดูหมิ่นเที่ยวไป. เป็นผู้เที่ยวไปไม่ถูกอะไรๆ กระทบกระทั่งในที่ทุกสถาน เพราะเมตตาในเหล่าสรรพสัตว์.

    อนึ่ง เธอเมื่อคิดว่า เราจะต้องตายแน่แท้ด้วยมรณัสสติ ละการแสวงหาที่ไม่สมควรเสีย เป็นผู้มีความสลดใจเจริญสูงขึ้นเป็นลำดับ ย่อมเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน. ตัณหาย่อมไม่เกิดขึ้น แม้ในอารมณ์ที่เป็นทิพย์ เพราะอสุภสัญญา.

    เพราะเหตุนั้น คุณธรรมทั้ง ๓ (คือ เมตตา ๑ มรณัสสติ ๑ อสุภสัญญา ๑) นั้นของภิกษุนั้น ท่านเรียกว่าสัพพัตถกกัมมัฏฐาน เพราะทำอธิบายว่าเป็นกรรมฐานอันกุลบุตรพึงปรารถนา คือพึงต้องการในที่ทุกสถาน เพราะเป็นธรรมมีอุปการะมาก และเพราะความเป็นปทัฏฐานแห่งการหมั่นประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรตามที่ประสงค์ไป โดยนัยดังพรรณนามาฉะนี้.

    ก็บรรดาอารมณ์ ๓๘ ประการ กรรมฐานใดที่คล้อยตามจริตของกุลบุตรใด กรรมฐานนั้น ท่านเรียกว่า ปาริหาริยกรรมฐาน เพราะเป็นกรรมฐานที่กุลบุตรนั้นควรบริหารไว้เป็นนิตย์ โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นเอง แต่ในตติยปาราชิกนี้ อานาปานกรรมฐานนี้แล ท่านเรียกว่า ปาริหาริยกรรมฐาน.

    ในอธิการว่าด้วยอานาปานกัมมัฏฐานนี้ มีความสังเขปเท่านี้.

    ส่วนความพิสดารนักศึกษาผู้ต้องการกถาว่าด้วยการชำระศีลให้หมดจด และกถาว่าด้วยการตัดปลิโพธ พึงถือเอาจากปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.
    .............
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค ปาราชิกกัณฑ์ ตติยปาราชิกสิกขาบท
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01.0&i=176&p=2
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...