อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    _oEZQWoGr9yjEdcfQGFyplFHRAfI9kJtKi1qeH1ZXzT1TqsA56DW011BDJxGs57YHoD_RGHl&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    อนุสสติ ๑๐ อย่าง เป็นเหตุให้เกิดสติ
    *************
    (มีสติด้วยเหตุอีก ๑๐ อย่าง คือ)
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมคุณ
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงสังฆคุณ
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
    ๕. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
    ๖. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
    ๗. ชื่อว่ามีสติ เพราะตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
    ๘. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา
    ๙. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกทั่วไปในกาย(ให้เห็นว่าไม่งาม)
    ๑๐. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับ(กิเลสและความทุกข์) คือนิพพาน
    …….
    ข้อความบางตอนใน กามสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=1

    พระสารีบุตรเถระแสดงวิปัสสนาโดยเปรียบด้วยโครงกระดูกเป็นต้น และเปรียบด้วยกองไฟเป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงอุปจารสมาธิ จึงกล่าวคำว่า พุทฺธานุสฺสตึ ภาเวนฺโต เป็นต้น.

    บรรดาบทเหล่านั้น สตินั่นแหละ ชื่อว่าอนุสสติ เพราะเกิดขึ้นบ่อยๆ.

    อนึ่ง ชื่อว่าอนุสสติ เพราะอรรถว่าสติที่สมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรให้เป็นไปนั่นเอง ดังนี้ก็มี.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ชื่อว่าพุทธานุสสติ. คำว่า พุทธานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระพุทธคุณ, มีความเป็นพระอรหันต์เป็นต้นเป็นอารมณ์ซึ่งพุทธานุสสตินั้น.
    บทว่า ภาเวนฺโต ได้แก่ เจริญอยู่คือเพิ่มพูนอยู่.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระธรรม ชื่อว่าธรรมานุสสติ, คำว่า ธรรมานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระธรรมคุณ, มีความเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่าสังฆนุสสติ. คำว่า สังฆานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระสังฆคุณ, มีความเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้นเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อว่าสีลานุสสติ. คำว่า สีลานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีศีลคุณ, มีความไม่ขาดเป็นต้นของตนเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภจาคะ ชื่อว่าจาคานุสสติ. คำว่า จาคานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีจาคคุณ, มีความเป็นผู้มีจาคะอันสละแล้วของตนเป็นต้น เป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภเทวดา ชื่อว่าเทวตานุสสติ. คำว่า เทวตานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีคุณมีศรัทธาของตนเป็นต้น ตั้งเทวดาทั้งหลายไว้ในฐานะพยานเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภลมหายใจเข้าออก ชื่อว่าอานาปานัสสติ. คำว่า อานาปานัสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตแห่งลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความตาย ชื่อว่ามรณานุสสติ. คำว่า มรณานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีความตายกล่าวคือความแตกแห่งชีวิตินทรีย์ที่นับเนื่องในภพหนึ่งเป็นอารมณ์.
    สติที่ไป, คือเป็นไปในสรีระที่นับว่ากาย เพราะเป็นความเจริญ คือเป็นบ่อเกิดของสิ่งปฏิกูลทั้งหลายมีผมเป็นต้นที่น่าเกลียด ชื่อว่า กายคตาสติ. เมื่อควรจะกล่าวว่า กายคตสติ ท่านกล่าวว่า กายคตาสติ เพราะไม่รัสสะ แม้ในที่นี้ท่านก็กล่าวคำนี้เป็นกายคตาสติ เหมือนกัน. คำว่า กายคตาสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตปฏิกูลในส่วนของร่างกายมีผมเป็นต้นเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความสงบ ชื่อว่าอุปสมานุสสติ คำว่า อุปสมานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระนิพพานอันเป็นที่เข้าไปสงบทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์.

    ผู้เจริญปฐมฌานอันประกอบด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญทุติยฌานอันประกอบด้วยปิติ สุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญตติยฌานอันประกอบด้วยสุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญจตุตถฌานอันประกอบด้วยอุเบกขาและจิตเตกัคคตา ฯลฯ แม้ผู้เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย.

    พระสารีบุตรเถระแสดงการละกามโดยการข่มไว้ด้วยประการฉะนี้.
    ……..
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถากามสุตตนิทเทส http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…

    e2wFYa3sQggqcihwibk63iDWDNMobwllBFGLGnDAtQ4RhsHVZIHZA7g63SVxyIihsBY85_hf&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    Kg-n_fC5qhllAG1dilXGPAngQpDQZm_qdWe-d7oMOv9v98f6rYpS1g9BTz3G6kG9HeMR61kg&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    RThPg5gPFtEWyH_aUggME0uOBJG9XfJpaFNUpo6FGTHkyt1gy2yvK3bFX-RhRxxmLeHZcDNx&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    เคยสงสัยไหมว่า เหตุใดท่านพาหิยะได้ฟังธรรมโดยย่อแล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์


    cdrDhBHw86wJDb_PMTvaqgP_vqMrCo1bq7pA1GUL47UWcU6D6rsqzy9xkzFq5QCnxewUWd9l&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น
    *******
    ...พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “พาหิยะ เพราะเหตุนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อฟังเสียงก็สักแต่ว่าฟัง เมื่อรับรู้อารมณ์ที่ได้รับรู้ ก็สักแต่ว่ารับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งก็สักแต่ว่ารู้แจ้ง พาหิยะ เธอพึงรักษาอย่างนี้แล เมื่อใด เธอเมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อฟังเสียงก็สักแต่ว่าฟัง เมื่อรับรู้อารมณ์ที่ได้รับรู้ก็สักแต่ว่ารับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งก็สักแต่ว่ารู้แจ้ง เมื่อนั้น เธอก็จะไม่มี เมื่อใด เธอไม่มี เมื่อนั้น เธอก็จะไม่ยึดติดในสิ่งนั้น เมื่อใด เธอไม่ยึดติดในสิ่งนั้น เมื่อนั้น เธอจักไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้เป็นที่สุดแห่งทุกข์”

    ลำดับนั้น ด้วยพระธรรมเทศนาย่อนี้ของพระผู้มีพระภาค จิตของพาหิยะทารุจีริยะจึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสสอนพาหิยะ ทารุจีริยะด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้วก็เสด็จจากไป เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จจากไปไม่นาน โคแม่ลูกอ่อนได้ขวิดพาหิยะ ทารุจีริยะจนล้มลงเสียชีวิต

    ข้อความบางตอนใน พาหิยสูตร ขุททกนิกาย อุทาน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=45

    ข้อความบางตอนในอรรถกถาพาหิยสูตร ว่า
    ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ในที่สุดแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ กุลบุตรคนหนึ่งกำลังฟังพระธรรมเทศนาของพระทศพลที่หังสวดีนคร เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะแห่งภิกษุผู้เป็นขิปปาภิญญา

    คิดว่า ไฉนหนอ ในอนาคต เราจักบวชในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นปานนี้ แล้วพึงเป็นผู้อันพระศาสดาสถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเช่นนี้ เหมือนภิกษุรูปนี้ ได้ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงบำเพ็ญบุญญาธิการอันสมควรแก่ตำแหน่งนั้น บำเพ็ญบุญอยู่ตลอดชีวิต มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ บวชในพระศาสนาของพระกัสสปทศพล มีศีลบริบูรณ์บำเพ็ญสมณธรรม ถึงความสิ้นชีวิตแล้วบังเกิดในเทวโลก.
    ........
    ฯลฯ
    ..........
    ถามว่า ก็ความสำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์นี้ เกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะอาศัยอะไร?
    ตอบว่า อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความสำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์เกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะท่านกำจัดกิเลสได้ด้วยตทังคปหาน เหตุได้สร้างบุญญาธิการไว้ตลอดกาลนาน โดยความที่ท่านเป็นผู้มักน้อย สันโดษและเป็นผู้ขัดเกลา.

    แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ท่านพาหิยะได้ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น เพราะฉะนั้น ความสำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์ จึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะกิเลสไม่ฟุ้งขึ้นด้วยวิกขัมภนปหาน.
    ฯลฯ
    ศึกษาเพิ่มเติมในอรรถกถาพาหิยสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=47
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    .องค์หลวงปู่มั่น ให้พิจารณากาย ผมขนเล็บฟันอาการ 32 ให้เป็นอสุภะ..




    G0XIXuZsGb9DTR4TryI8RTrpPw6AxdkYQSGqA83R7qhXYh_xFcRIqpBNPE_v6DO_iyzFluuT&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg



    สมัยหนึ่งหลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี ได้เดินทางไปขอเรียนพระกัมมัฏฐานจา่กองค์หลวงปู่มั่นใหม่ชึ่ีงตอนนั้นองค์หลวงปู่มั่นพักบำเพ็ญเพียร ที่ถ้ำดอกคำ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่...

    ชึ่้งการให้คำชี้แนะ...องค์หลวงปู่มั่น..ให้พิจารณากาย ผมขนเล็บฟันอาการ 32 ให้เป็นอสุภะ...จะเห็นชัดหรือไม่เห็นชัด..ก็ให้พิจารณาอยู่ที่กาย...
    ....(องค์หลวงปู่เขียนใว้ในอัตตโนประวัติของท่านเอง..เพราะองค์ท่านหลงติดอยู่ในฌานถึง..12 ปี)..

    องค์หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ก็เคยเดินทางขึ้นเหนือเพื่อไปขอคำชี้แนะในการภาวนา..ซึ่งคำชี้แนะ...ก็ให้เน้นพิจารณากายให้เป็นอสุภะ...

    ในคำสอนหลวงปู่มั่น..ที่จดบันทึกโดยพระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ..

    องค์ท่านหลวงปู่มั่นเล่าประสบการณ์ ของท่านว่า...วันหนึ่งได้เกิดอุคคหนิมิต(ภาพติดตา)ในสมาธิ..ว่าตัวท่านเป็นศพมานอนตายอยู่ตรงหน้า ท่านก็เลยน้อมเอาอุคคหนิมิตนั้นมาพิจารณาทำให้เป็นปฏิภาคนิมิต(คือทำให้เยอะทำให้มาก)..คือทำศพให้เยอะขึ้น..จนเต็มวัดพิจารณาจนร่างกายเปลื่อยเน่า...สุดท้ายก็เหลือแต่กระดูก...เกลื่อนวัด.

    (อันนี้ปรากฏตามหนังสือปกิณกะธรรม ที่บันทึกโดยหลวงปู่ทองคำ จารุวัณโณ)

    เมื่ออุคคหนิมิตปรากฏขึ้นแล้วก็นำเอาอุคคหนิมิตนั้นแหละ..มาพิจารณาซ้ำๆทำบ่อยๆ..ทำให้ชำนาญ...

    .(ปรากฏในหนังสือมุตโตทัย ที่บันทึกโดย หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร)

    วิธีพิจารณากายให้เกิดอภิญญา แบบฉบับหลวงปู่มั่น

    อันนี้มีปรากฏในประวัติหลวงปู่พรหม ลูกศิษย์รุ่นใหญ่ของท่าน

    ตามประวัติกล่าวว่า....ครั้งหนึ่งหลวงปู่มั่น ได้กล่าวเตือนหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ว่า

    ท่านพรหมอย่าเร่งรีบพิจารณากายให้พิจารณากายให้ละเอียด..เดี๋ยวอภิญญาไม่เกิด...
    ท่านหลวงปู่พรหมกล่าวตอบว่า..อภิญญาไม่เกิดก็ไม่เป็นไร..ขอรับ...ขอให้หมดกิเลสก็พอ

    (จากหนังสือพระอรหันต์แห่งบ้านดงเย็น)

    การทำให้มาก..พิจารณากายให้มากอะไรจะเกิดขึ้น?

    องค์หลวงปู่มั่นท่านกล่าวไว้ว่า...รอจิตรวมใหญ่....พอจิตรวมลงพับเดียว...จะปรากฏพร้อมๆกับนิมิตว่าโลกทั้งโลก..ราบเป็นหน้ากอง..ไม่มีต้นไม้..ภูเขา...แม้แต่ตัวเราก็ยังล้มราบ....

    ถ้าทำได้เช่นนี้ยังไม่ใช่ที่สุดให้ทำบ่อยๆ.(หนังสือมุตโตทัย)

    ซึ่งท่านผู้ยืนยันในผลของการปฏิบัติ..มีหลายท่าน...

    ที่เกล้าฯอ่านพบมี หลวงปู่หลุย จันทสาโร ,หลวงปู่ขาว อานาลโย และหลวงพ่อชา สุภัทโท

    (ปรากฏในประวัติหลวงปู่หลุย จันทสาโร....หนังสือ อนาลโยวาท..บทเทศน์ของหลวงปู่ขาว อนารโย และหนังสือกุญแจภาวนาของหลวงพ่อชา สุภัทโท...)

    องค์หลวงพ่อชา สุภัทโท ท่านได้เมตตาเล่าไว้อย่างน่าฟังว่า...

    มีวันหนึ่งมันแปลกกว่าทุกวัน...คือแปลกมาตั้งแต่ตอนกลางวันแล้ว...คือจิตมันสงบ...
    อยากได้ยินเสียงของคนในหมู่บ้าน...ถ้าอยากได้ยิน..ก็ได้ยิน..ถ้าไม่อยากได้ยิน..ก็ไม่ได้ยิน....
    ท่านกล่าวว่า..ท่านกำลังจะนอนตะแคง..กำลังคู่ขาเข้าจิตก็น้อม..เข้าไปข้างใน..คล้ายๆเอามือไปแตะสวิทช์ไฟ..จิตก็น้อมเข้าไปลึก.เกินที่จะประมาณ..ท่านก็เพียงแต่ดูเฉยๆ..จิตเข้าไปสงบอยู่สักพัก...จิตก็ถอยออกมา........ได้ขณะหนึ่ง...จิตก็น้อมเข้าไปครั้งที่สองเข้าไปลึกและเก่งกว่าครั้งแรก...เข้าไปสงบและก็ถอยออกมา......

    พอจิตน้อมเข้าไปครั้งที่สาม...ปรากฏว่าร่างกายได้ระเบิด..แตกละเอียด...โลกธาตุราบเป็นหน้ากอง.....องค์ท่านกล่าวว่าสมาธิระดับนี้..จึงจะสามารถยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาได้...จะอฐิษฐานให้เป็นฤทธิ์หรืออะไรก็ใช้สมาธิระดับนี้....(จากหนังสือกุญแจภาวนา หลวงพ่อชา )

    ในการพิจารณาจิต.....องค์หลวงปู่มั่น..ท่านกล่าวกับหลวงปู่ขาว..ว่าในการปฏิบัติธรรมอย่ามองข้ามใจ เพราะกิเลสเกิดขึ้นที่ใจ..ถ้าจะดับก็ดับที่ใจ.อยากจะรู้อะไรให้ค้นหาได้ที่ใจ

    .(.ปรากฏในประวัติหลวงปู่ขาวที่เรียบเรียงโดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด)

    ในการพิจารณาจิตให้พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...คืิออะไรจะมากระทบทั้งสุขและทุกข์ ให้พิจารณาว่า...มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ไม่มีอะไรเที่ยงแท้

    (จากหนังสือกุญแจภาวนา หลวงพ่อชา สุภัทโทและหนังสือ ตัดกระแส ของหลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ(พระอรหันต์แห่งตำบลเขือน้ำ) กล่าวไว้แนวเดียวกัน)
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    เจริญความไม่ประมาทด้วยสมถะและวิปัสสนา
    *************
    (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
    [๒๑] ความไม่ประมาท เป็นทางแห่งอมตะ
    ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
    คนผู้ไม่ประมาทชื่อว่าย่อมไม่ตาย
    คนผู้ประมาทจึงเหมือนคนตายแล้ว
    [๒๒] บัณฑิตทราบความต่างกัน
    ระหว่างความไม่ประมาทกับความประมาทนั้น
    แล้วตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
    ย่อมบันเทิงใจในความไม่ประมาท
    ยินดีในทางปฏิบัติของพระอริยะทั้งหลาย
    [๒๓] บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์เหล่านั้น เพ่งพินิจ
    มีความเพียรต่อเนื่อง มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
    ย่อมบรรลุนิพพานอันเป็นสภาวะยอดเยี่ยม ปลอดจากโยคะ
    ………………
    สามาวตีวัตถุ อัปปมาทวรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=11
    สามาวตีวัตถุ(บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=25&A=328

    สองบทว่า เต ฌายิโน ความว่า บัณฑิตผู้ไม่ประมาทเหล่านั้น เป็นผู้มีความเพ่งด้วยฌานทั้งสองอย่าง คือ ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน กล่าวคือ สมาบัติ ๘ และด้วยลักขณูปนิชฌาน กล่าวคือ วิปัสสนามรรคและผล.
    (สมาบัติ ๘ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน รวมเรียกว่า รูปสมาบัติ ๔, อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รวมเรียกว่า อรูปสมาบัติ ๔.)

    บทว่า สาตติกา ความว่า เป็นผู้มีความเพียร ซึ่งเป็นไปทางกายและทางจิต เป็นไปแล้วติดต่อ จำเดิมแต่กาลเป็นที่ออกบวชจนถึงการบรรลุพระอรหัต.

    บาทพระคาถาว่า นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา ความว่า ผู้ประกอบด้วยความเพียรเห็นปานนี้ว่า
    “ผลนั้นใด อันบุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยังไม่บรรลุผลนั้น แล้วหยุดความเพียรเสีย จักไม่มี.” (เช่นนี้) ชื่อว่าบากบั่นมั่น ชื่อว่าเป็นไปแล้วเป็นนิตย์ เหตุไม่ท้อถอยในระหว่าง.
    ……..
    ข้อความบางตอนใน เรื่องพระนางสามาวดี อัปปมาทวรรควรรณนา ขุททกนิกาย อรรถกถาธรรมบท
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=12&p=1

    PMw8LIKHHPVmeEvy5lKExUaTIXVhYD8RWg-w7TwI3B4ScjkE1fkjxpg8y9PE862jUQK9LzAj&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    J3w_XiuwmkVpjqN_NdRicNazEtjg_XrZhUPf0SUjwT4OuzCwu9Gg4etqSM-FIT4cP14ZCgvZ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    (พระปฏาจาราเถรีได้กล่าวภาษิตเหล่านี้ว่า)
    [๑๑๒] มาณพทั้งหลายใช้ไถ ไถนา หว่านเมล็ดพืชลงบนแผ่นดิน ได้ทรัพย์มาเลี้ยงดูบุตรและภรรยา
    [๑๑๓] เรามีศีลสมบูรณ์ ทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา
    ไม่เกียจคร้าน ไม่ฟุ้งซ่าน ไฉนจะไม่บรรลุนิพพานเล่า
    [๑๑๔] เราล้างเท้า เห็นน้ำล้างเท้าไหลจากที่ดอนมาสู่ที่ลุ่ม
    ใส่ใจนิมิตในน้ำ
    [๑๑๕] แต่นั้น เราตั้งใจไว้มั่นคง ดุจม้าอาชาไนยที่ดี
    ลำดับนั้น ถือประทีปเข้าไปยังวิหาร ตรวจดูที่นอน ขึ้นนั่งบนเตียง
    [๑๑๖] ต่อแต่นั้น ถือลูกดาล(ปิดประตูลงกลอน) หมุนไส้ประทีปลง ความหลุดพ้นทางใจก็ได้มี
    เหมือนประทีปติดโพลงแล้วดับลง
    …………
    ปฏาจาราเถรีคาถา ภาษิตของพระปฏาจาราเถรี ขุททกนิกาย เถรีคาถา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=26&siri=448

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมหํ สีลสมฺปนฺนา สตฺถุสาสนการิกา นิพฺพานํ นาธิคจฺฉามิ อกุสีตา อนุทฺธตา ความว่า

    ข้าพเจ้ามีศีลบริสุทธิ์ดี ชื่อว่าไม่เกียจคร้าน เพราะเป็นผู้ปรารภความเพียร และชื่อว่าไม่ฟุ้งซ่าน เพราะเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีในภายใน กระทำคำสั่งสอนของพระศาสดา กล่าวคือเจริญกรรมฐานที่มีสัจจะ ๔ เป็นอารมณ์ เหตุไรจะไม่ประสบ คือบรรลุพระนิพพานเล่า.

    ก็พระเถรีครั้นคิดอย่างนี้แล้ว กระทำอยู่ซึ่งกรรมในวิปัสสนา ในวันหนึ่งถือนิมิตในน้ำล้างเท้า ด้วยเหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า ปาทา ปกฺขาลยิตฺวาน เป็นต้น.

    คำนั้นมีความว่า ข้าพเจ้าเมื่อล้างเท้า ในจำนวนน้ำที่รด ๓ ครั้ง เหตุล้างเท้าก็เห็นน้ำล้างเท้าไหลจากที่ดอนมาสู่ที่ลุ่ม ก็ทำให้เป็นนิมิต.

    ข้าพเจ้าพิจารณาอนิจจลักษณะอย่างนี้ว่า น้ำนี้สิ้นไป เสื่อมไปเป็นธรรมดาฉันใด อายุและสังขารของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น และพิจารณาทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะตามแนวนั้น เจริญวิปัสสนา แต่นั้นก็ทำจิตให้ตั้งมั่น เหมือนสารถีฝึกม้าอาชาไนยที่ดี.

    อธิบายว่า สารถีผู้ฉลาดฝึกม้าอาชาไนยตัวสำคัญให้เชื่อฟังโดยง่ายฉันใด ข้าพเจ้าฝึกจิตของตนให้ตั้งมั่นโดยง่ายก็ฉันนั้น ได้กระทำจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิสัมปยุตด้วยวิปัสสนา.

    อนึ่ง ข้าพเจ้าเมื่อเจริญวิปัสสนาอย่างนั้น เข้าห้องน้อยเมื่อต้องการอุตุสัปปายะ ถือประทีปเพื่อกำจัดความมืดเข้าห้องแล้ววางประทีป พอนั่งลงบนเตียง ก็หมุนไส้ประทีปขึ้นลงด้วยลูกดาล เพื่อเพ่งประทีป ทันใดนั่นเอง จิตของพระเถรีนั้นก็ตั้งมั่น เพราะได้อุตุสัปปายะ หยั่งลงสู่วิถีแห่งวิปัสสนา สืบต่อด้วยมรรค.

    แต่นั้น อาสวะทั้งหลายก็สิ้นไปโดยประการทั้งปวง ตามลำดับมรรค.

    ด้วยเหตุนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า แต่นั้น ข้าพเจ้าก็ถือประทีป ฯลฯ ความหลุดพ้นทางใจได้มีแล้ว.
    ………….
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาปฏาจาราเถรีคาถา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=448
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนา
    ................
    อนึ่ง เจตนาของภิกษุผู้พิจารณาเห็นแจ้งซึ่งจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มนะ โดยไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาด้วยวิปัสสนามรรคที่กล่าวแล้วในปฏิสัมภิทา ๑

    เจตนาของผู้พิจารณาเห็นแจ้งรูปทั้งหลาย ฯลฯ ธรรมทั้งหลาย จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ จักขุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา รูปสัญญา ฯลฯ ธรรมสัญญา (และ) ชรามรณะโดยเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ๑

    ฌานเจตนาที่เป็นไปแล้วในอารมณ์ ๓๘ ประการมีปฐวีกสิณเป็นต้น ๑

    เจตนาที่เป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งการสั่งสมและมนสิการเป็นต้น ในบ่อเกิดแห่งงาน บ่อเกิดแห่งศิลปะ และฐานะที่ตั้งแห่งวิชาที่ไม่มีโทษ ๑

    อันใด ผู้ยังเจตนาทั้งหมดนั้นให้เจริญด้วยบุญกิริยานี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนา ตามนัยที่กล่าวแล้วดังนี้แล.
    ..............
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาปุญญกิริยาวัตถุสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=238

    ดูเพิ่มใน ปุญญกิริยาวัตถุสูตร ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=175

    IlSgbinpPT_E0EBXOc4_4dRksB8VyZDsMBYCwq5yvZ07BV6l-GIkp0tzpG7Ydz8HJJ0eOPRc&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    wQqEkRlTnmEWl3hezcZwWmgS-53JMCs1VGiX9eAIeLXF3diyQ463mA3jTifj80A5ENGKJ5MT&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    บรรลุปฏิสัมภิทาด้วยภาษาบาลี
    ***********************************
    ภาษามคธเป็นภาษาทั่วไปของสัตวโลก
    ก็แลครั้นท่านกล่าวแล้ว จึงกล่าวคำในที่นี้ต่อไปอีกว่า ธรรมดาว่า สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมเรียนภาษา ดังนี้. จริงอยู่ มารดาและบิดาให้ลูกน้อยนอนที่เตียงหรือที่ตั้งในเวลาที่ลูกยังเป็นทารก แล้วพูดซึ่งกิจนั้นๆ เด็กทั้งหลายย่อมกำหนดภาษาของมารดาหรือของบิดาว่า คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว เมื่อกาลผ่านไปๆ พวกเด็กย่อมรู้ภาษาแม้ทั้งหมด. มารดาเป็นชาวทมิฬ บิดาเป็นชาวอันธกะ เด็กที่เกิดแต่ชนทั้งสองนั้น ถ้าเขาฟังถ้อยคำของมารดาก่อน เขาจักพูดภาษาทมิฬก่อน ถ้าฟังถ้อยคำของบิดาก่อน เขาจักพูดภาษาชาวอันธกะก่อน. แต่เมื่อไม่ได้ฟังถ้อยคำของชนแม้ทั้งสอง ก็จักกล่าว (พูด) ภาษาของชนชาวมคธ. ทารกแม้ใดเกิดในป่าใหญ่ไม่มีบ้าน คนอื่นชื่อว่ากล่าวอยู่ไม่มีในป่าใหญ่นั้น ทารกแม้นั้น เมื่อจะยังวาจาให้ตั้งขึ้นตามธรรมดาของตน ก็จักกล่าวภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.

    ภาษาของชนชาวมคธเท่านั้นหนาแน่นแล้ว (มากมาย) ในที่ทั้งปวง คือ
    ๑. ในนิรยะ (นรก)
    ๒. ในกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉาน
    ๓. ในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต)
    ๔. ในมนุษยโลก
    ๕. ในเทวโลก

    ในภาษาของสัตว์ทั้งหลาย ภาษา ๑๘ อย่าง นอกจากภาษาของชนชาวมคธ มีภาษาของคนป่า ของชาวอันธกะ ของชาวโยนก ของทมิฬตามที่กล่าวแล้วเป็นต้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไป

    ภาษาของชนชาวมคธกล่าวคือ เป็นโวหารของพรหม เป็นโวหารของพระอริยะ ตามความเป็นจริง ภาษานี้ภาษาเดียวเท่านั้นไม่เปลี่ยนแปลง.

    แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะทรงยกพระไตรปิฎก คือพระพุทธพจน์ขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นด้วยภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.

    ถามว่า เพราะเหตุไร ?

    ตอบว่า ก็เพราะเพื่อจะนำมาซึ่งอรรถ (ประโยชน์) ได้โดยง่าย.

    จริงอยู่ การเข้าถึงคลองกระแสแห่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาแห่งชนชาวมคธย่อมเป็นการมาอย่างพิศดารแก่ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. คือว่า เมื่อกระแสแห่งพระพุทธพจน์นั้นสักว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทาสืบต่อแล้ว นั่นแหละ อรรถย่อมมาปรากฏนับโดยร้อยนัยพันนัย.

    ก็การที่บุคคลท่องแล้ว ๆ เรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่นมีอยู่ แต่ชื่อว่าการบรรลุปฏิสัมภิทาของปุถุชนเพราะเรียนเอาพุทธพจน์นั้น แม้มาก ย่อมไม่มี. พระอริยสาวกผู้ไม่บรรลุปฏิสัมภิทาหามีไม่.
    ……
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาปฏิสัมภิทาวิภังค์ https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=777

    หมายเหตุ จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่า ภาษามคธ เป็นภาษาเดียวเท่านั้นที่ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะมีประโยชน์เพื่อการเข้าใจพระพุทธพจน์โดยง่าย เมื่อกระแสแห่งพระพุทธพจน์นั้นสักว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทาสืบต่อแล้ว อรรถย่อมมาปรากฏนับโดยร้อยนัยพันนัย.

    #ภาษาบาลี #ปฏิสัมภิทา


    ?temp_hash=32699b689c3a97974cd2fd1713e8bcc5.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    TJsC4C0YoKymcujeulhfpiHd3_GC0sKIWSZU373_t9a5UAc9rWFyU5cdsy814Tuwe2ld5ufd&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=45b474846f913be0a5dfde3b416fad2f.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=2f09f50a46cd6ab50f7e5423112e8814.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    IX0HmeyQLicwz-_7zy5e-FDRfmr62wYJSJ_8fySxNwvG2f2DSHD8XVolAhxuptggsb4hSTI_&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    พระสุตตันตปิฎก เรียกว่าโวหารเทศนา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ฉลาดในโวหาร (บัญญัติศัพท์) ทรงแสดงมากไปด้วยโวหาร.
    ****************
    ว่าโดยเทศนา

    จริงอยู่ บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นี้ พระวินัยปิฎก เรียกว่าอาณาเทศนา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ควรแก่การใช้อำนาจ (อาณา) ทรงแสดงมากไปด้วยอาณา (อำนาจ).

    พระสุตตันตปิฎก เรียกว่าโวหารเทศนา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ฉลาดในโวหาร (บัญญัติศัพท์) ทรงแสดงมากไปด้วยโวหาร.

    พระอภิธรรมปิฎก เรียกว่าปรมัตถเทศนา เพราะความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ฉลาดในปรมัตถธรรม ทรงแสดงมากไปด้วยปรมัตถธรรม.
    …………
    ข้อความบางตอนใน อารัมภกถา อรรถกถาธรรมสังคณี ชื่ออัฏฐสาลินี
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…

    3bq94GtNXm0bCN8CwWAbB57XsJQzdtDy3DGBhdlo0tFZ8dRSg5IbFCXxxhcGBr9g9by6YFIy&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    เพราะฉะนั้น บัญญัติเห็นปานนี้ จึงชื่อว่า
    วิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ
    เพราะบัญญัติอวิชชมานะ (สิ่งที่ไม่มีอยู่)
    ร่วมกับวิชชมานะ (สิ่งที่มีอยู่)...
    ………….
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาปุคคลปัญญัติปกรณ์ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36.2&i=1
    b5sDnhvBMOU-LI8ftIW6d3tdW3kafvEreMNCbORV9D26yrt3KU-ShiKeMFHcLNKyohz0R6D0&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    เพราะฉะนั้น บัญญัติเห็นปานนี้
    จึงชื่อว่า อวิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ
    เพราะบัญญัติวิชชมานะร่วมกับอวิชชมานะ...
    ………….
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาปุคคลปัญญัติปกรณ์ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36.2&i=1
    o8YZDgih8iBWPb8n1MKkztWQ839-v6HA3eO1pfNgOqamgBMW0rx9g0-7q4borLlzw0GVBqJ2&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,101
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    บัญญัติธรรม บัญญัติทั้งสิ่งที่มีจริง และสิ่งที่ไม่มีจริง
    ...................
    [๑] บัญญัติ ๖ ประการ คือ
    ๑. ขันธบัญญัติ
    ๒. อายตนบัญญัติ
    ๓. ธาตุบัญญัติ
    ๔. สัจจบัญญัติ
    ๕. อินทริยบัญญัติ
    ๖. ปุคคลบัญญัติ
    ………..
    ข้อความบางตอนใน เอกกอุทเทส พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=36&siri=16

    บรรดาบัญญัติ ๖ เหล่านั้น การบัญญัติ การแสดง การประกาศ การตั้งไว้ การวางไว้ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นหมวดหมู่กันซึ่งเป็นขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่าขันธบัญญัติ.

    การบัญญัติ การแสดง การประกาศ การตั้งไว้ การวางไว้ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย ชื่อว่าอายตนบัญญัติ.

    การบัญญัติ... ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นสภาพทรงไว้ซึ่งเป็นธาตุทั้งหลาย ชื่อว่าธาตุบัญญัติ.

    การบัญญัติ... ซึ่งธรรมทั้งหลายที่เป็นจริง ชื่อว่าสัจจบัญญัติ.

    การบัญญัติ... ซึ่งธรรมที่เป็นใหญ่ทั้งหลาย ชื่อว่าอินทริยบัญญัติ.

    การบัญญัติ... ซึ่งบุคคลทั้งหลายว่า เป็นบุคคล ชื่อว่าบุคคลบัญญัติ.

    บัญญัติ ๖ นอกพระบาลี
    ก็ว่าโดยนัยแห่งอรรถกถาบาลีมุตตกะ คือนอกจากพระบาลี มีบัญญัติ ๖ อื่นอีก คือ
    ๑. วิชชมานบัญญัติ
    ๒. อวิชชมานบัญญัติ
    ๓. วิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ
    ๔. อวิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ
    ๕. วิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ
    ๖. อวิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ.

    บรรดาบัญญัติ ๖ เหล่านั้น การบัญญัติธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลอันเป็นของมีอยู่ เป็นอยู่ เกิดตามความเป็นจริงนี้แหละ ด้วยอำนาจแห่งสัจฉิกัตถะและปรมัตถะ ชื่อว่าวิชชมานบัญญัติ.

    อนึ่ง การบัญญัติคำทั้งหลายมีคำว่า หญิง ชายเป็นต้น อันล้วนแต่คำเป็นภาษาของชาวโลก อันไม่มีอยู่ (โดยแท้จริง) ชื่อว่าอวิชชมานบัญญัติ.

    แม้บัญญัติ คำว่า สัจจะที่ห้าเป็นต้น หรือคำว่า บุรุษตามปรกติของพวกเดียรถีย์ซึ่งสักว่าเป็นถ้อยคำและวัตถุอันค้นหามิได้ โดยประการทั้งปวงทีเดียว ก็ชื่อว่าอวิชชมานบัญญัติ. บัญญัติที่กล่าวนี้ไม่มีใช้ในพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น จึงไม่ถือเอาในที่นี้.

    พึงทราบบัญญัติที่เหลือ (อีก ๔) ด้วยสามารถการกำหนดซึ่งวิชชมานะและอวิชชมานะเหล่านี้ต่อไป.

    จริงอยู่ วิชชา ๓ และอภิญญา ๖ มีอยู่ (โดยแท้จริง) ส่วนบุคคลไม่มีอยู่ (โดยแท้จริง) ในประโยคว่า บุคคลมีวิชชา ๓ บุคคลมีอภิญญา ๖ เป็นต้น เพราะฉะนั้น บัญญัติเห็นปานนี้ จึงชื่อว่า วิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ เพราะบัญญัติอวิชชมานะ (สิ่งที่ไม่มีอยู่) ร่วมกับวิชชมานะ (สิ่งที่มีอยู่) อย่างนี้ว่า บุคคลชื่อว่ามีวิชชา ๓ เพราะอรรถว่า วิชชา ๓ ของเขามีอยู่ บุคคล ชื่อว่ามีอภิญญา ๖ เพราะอรรถว่าอภิญญา ๖ ของเขามีอยู่เป็นต้น.

    ก็หญิงและชาย ไม่มีอยู่ (โดยแท้จริง) รูป มีอยู่ (โดยแท้จริง) ในคำที่ว่า รูปหญิง รูปชายเป็นต้น เพราะฉะนั้น บัญญัติเห็นปานนี้ จึงชื่อว่า อวิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ เพราะบัญญัติวิชชมานะร่วมกับอวิชชมานะอย่างนี้ว่า รูปของหญิง ชื่อว่ารูปหญิง, รูปของชาย ชื่อว่ารูปชายเป็นต้น.

    ธรรมทั้งหลายมีจักษุเป็นต้นก็ดี ผัสสเจตสิกก็ดี มีอยู่โดยแท้จริง ในคำทั้งหลายมีคำว่า จักษุสัมผัส โสตสัมผัสเป็นต้น เพราะฉะนั้น บัญญัติเห็นปานนี้จึงชื่อว่า วิชชมาเนน วิชชมานบัญญัติ เพราะบัญญัติซึ่งวิชชมานะร่วมกับวิชชมานะ อย่างนี้ว่า สัมผัสในจักษุ สัมผัสเกิดแต่จักษุ สัมผัสเป็นผลของจักษุ ชื่อว่าจักษุสัมผัสเป็นต้น.

    อิสสริยะทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้นก็ดี ไม่มีอยู่ (โดยแท้จริง) บุตรของเขาก็ดี ก็ไม่มีอยู่ (โดยแท้จริง) ในคำทั้งหลาย มีคำว่า บุตรของกษัตริย์ บุตรของพราหมณ์เป็นต้น เพราะฉะนั้น บัญญัติปานนี้จึงชื่อว่า อวิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ เพราะบัญญัติซึ่งอวิชชมานะร่วมกับอวิชชมานะอย่างนี้ว่า บุตรของกษัตริย์ชื่อว่าขัตติยบุตรเป็นต้น.

    ในปกรณ์ปุคคลบัญญัตินี้ บรรดาบัญญัติทั้ง ๖ นั้น ได้ ๓ บัญญัติข้อแรกเท่านั้น.

    จริงอยู่ ได้ชื่อว่า วิชชมานบัญญัติ เพราะบัญญัติสภาวะที่มีอยู่จริงเท่านั้น ในฐานะนี้ว่า ขันธบัญญัติ ฯลฯ อินทริยบัญญัติเป็นต้น.

    ในบทว่า ปุคคลบัญญัติ ชื่อว่าอวิชชมานบัญญัติ ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า แต่ในคำทั้งหลาย มีคำว่า บุคคลมีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖ เป็นต้นได้ วิชชมาเนน อวิชชมานบัญญัติ.

    บัญญัติ ๖ ตามนัยของอาจารย์
    ก็ว่าโดยนัยของอาจารย์อันเป็นอรรถกถามุตตกะ (นอกไปจากอรรถกถา) มีบัญญัติ ๖ อื่นอีก คือ.
    ๑. อุปาทาบัญญัติ
    ๒. อุปนิธาบัญญัติ
    ๓. สโมธานบัญญัติ
    ๔. อุปนิกขิตตบัญญัติ
    ๕. ตัชชาบัญญัติ
    ๖. สันติบัญญัติ

    ...ฯลฯ...

    อนึ่ง บัญญัตินี้ ชื่อว่าบัญญัติ เพราะอรรถว่าอันบุคคลควรรู้ มิใช่เพราะอรรถว่าอันบุคคลไม่ควรรู้และอุปาทาบัญญัตินี้ ก็คืออวิชชมานบัญญัตินั้นนั่นแหละ.
    ...ฯลฯ...

    อีกอย่างหนึ่ง อุปนิธาบัญญัตินี้มีอเนกประการ โดยประเภทเป็นต้นว่า
    ตทัญญาเปกขูปนิธาบัญญัติ
    หัตถคตูปนิธาบัญญัติ
    สัมปยุตตูปนิธาบัญญัติ
    สมาโรปิตูปนิธาบัญญัติ
    อวิทูรคตูปนิธาบัญญัติ
    ปฏิภาคูปนิธาบัญญัติ
    ตัพพหุลูปนิธาบัญญัติ
    ตัพพิสิฏฐูปนิธาบัญญัติ
    ...ฯลฯ...
    อีกนัยหนึ่งบัญญัติ ๖ ของอาจารย์
    อีกนัยหนึ่ง บัญญัติ ๖ ตามนัยของอาจารย์ นอกจากอรรถกถา คือ
    ๑. กิจจบัญญัติ
    ๒. สัณฐานบัญญัติ
    ๓. ลิงคบัญญัติ
    ๔. ภูมิบัญญัติ
    ๕. ปัจจัตตบัญญัติ
    ๖. อสังขตบัญญัติ
    ........
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาปุคคลปัญญัติปกรณ์ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36.2&i=1

    AzxtQKa6y6wN3PD4cO-I-VHkYGcgvjdqtt5LXD7AU5e0aUKQtRjnGnqjy6146orI-YQyzNju&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...