อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    5clpqOVv4y07WBEnbOvUngXE4WZyVFVkzJp5tHUJH3GlT3EWJP2M2RDlt6azuPoYWdiyohHz&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    กัมมัสสกตปัญญา เป็นอย่างไร


    GqG4jlPyLb6PBFe368I_0XK5Lw9p12edsZg-5RfChyOdiBGaCwk75jCqWdcyJ7b9c2UWK4hQ&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    ปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น
    ********************
    ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมตรัสบอกปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นก่อนว่า เธอจงชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อน จงเจริญสมาธิ จงทำกัมมัสสกตปัญญาให้ตรง ดังนี้

    ราวกะนายช่างจิตรกรทำการตกแต่งฝาผนังบอกแก่อันเตวาสิกผู้ไม่มั่นใจในการกระทำ ผู้เริ่มทำครั้งแรก ผู้ไม่ชำนาญในการทำฉะนั้น

    แต่ว่า เมื่อบุคคลผู้กระทำเคยประกอบแล้วประกอบทั่วแล้ว พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมตรัสบอกสุญญตาวิปัสสนาทีเดียวซึ่งเป็นภาวะสุขุมลึกซึ้งอันเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตมรรค.
    ********
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาอัจฉราสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=143

    และศึกษาเพิ่มเติมใน อัจฉราสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=15&siri=46
    #ปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น #ศีล #สมาธิ #กัมมัสสกตปัญญา
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    [วิธีสอบสวนสูตรและสุตตานุโลมเป็นต้น]
    แต่กุลบุตร ผู้อ้างอัตโนมัตินั้นกล่าวไม่ควรจะยึดถือให้แน่นแฟ้นกล่าว ควรกำหนดเหตุเทียบเคียงบาลีกับเนื้อความ และเนื้อความกับบาลีแล้วจึงกล่าว. อัตโนมัติ ควรสอบสวนดูในอาจริยวาท ถ้าลงกันและสมกันในอาจริยวาทนั้นไซร้ จึงควรถือเอา, ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา.
    จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า อัตโนมัตินี้ยังเป็นของทรามกำลังกว่าทุกอย่าง. อาจริยวาทมีกำลังกว่าอัตโนมัติ. แม้อาจริยวาทก็ควรสอบสวนดูในสุตตานุโลม เมื่อลงกัน สมกันแท้ ในสุตตานุโลมนั้น จึงควรถือเอา, ฝ่ายที่ไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา. เพราะว่า สุตตานุโลมเป็นของมีกำลังกว่าอาจริยวาท. แม้สุตตานุโลมก็ควรสอบสวนดูในสูตร เมื่อลงกันสมกันแท้ ในสูตรนั้น จึงควรถือเอา, ฝ่ายที่ไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา. เพราะว่าสูตรเท่านั้น เป็นของมีกำลังกว่าสุตตานุโลม.
    จริงอยู่ สูตรเป็นของอันใครๆ แต่งเทียมไม่ได้ เป็นเหมือนสงฆ์ผู้ทำ เป็นเหมือนกาลที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังทรงพระชนม์อยู่. เพราะฉะนั้น เมื่อใดภิกษุสองรูปสากัจฉากัน สกวาทีอ้างสูตรกล่าว ปรวาทีอ้างสุตตานุโลมกล่าว เมื่อนั้นทั้งสองรูปนั้น ไม่ควรทำการเพิดเพ้ยหรือติเตียนกันและกัน ควรสอบสวนสุตตานุโลมในสูตร ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น.
    ถ้าสกวาทีนี้อ้างสูตรกล่าวปรวาทีอ้างอาจริยวาทกล่าวไซร้, แม้ทั้งสองรูปนั้นก็ไม่ควรทำการเพิดเพ้ย หรือติเตียนกันและกัน ควรสอบสวนอาจริยวาทในสูตร ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา. เมื่ออาจริยวาท ไม่ลงกันและไม่สมกัน ทั้งเป็นข้อที่น่าตำหนิ ก็ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น.
    ถ้าสกวาทีนี้อ้างสูตรกล่าว ปรวาทีอ้างอัตโนมัติกล่าวไซร้, แม้ทั้งสองรูปนั้นก็ไม่ควรทำการเพิดเพ้ย หรือติเตียนกันและกัน ควรสอบสวนอัตโนมัติในสูตร ถ้าลงกันสมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น.
    ถ้าสกวาทีนี้อ้างสุตตานุโลมกล่าว ปรวาทีอ้างสูตรกล่าวไซร้, ควรสอบสวนสูตรในสุตตานุโลม ถ้าลงกันสมกัน ปรากฏมาในบาลีขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๓ ครั้ง จึงควรถือเอา, ถ้าไม่ปรากฏเหมือนอย่างนั้น ไม่ลงกัน ไม่สมกัน เป็นพาหิรกสูตร สิโลกโศลกหรือสูตรที่น่าตำหนิอื่นๆ ซึ่งมาจากบรรดาสูตรทั้งหลายมีคุฬหเวสสันตรคุฬหวินัยและคุฬหเวทัลละเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในสุตตานุโลมเท่านั้น.
    ถ้าสกวาทีนี้อ้างสุตตานุโลมกล่าว ปรวาทีอ้างอาจริยวาทกล่าวไซร้, ควรสอบสวนอาจริยวาทในสุตตานุโลม, ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในสุตตานุโลมเท่านั้น.
    ถ้าสกวาทีนี้อ้างสุตตานุโลมกล่าว ปรวาทีอ้างอัตโนมัติกล่าวไซร้, ควรสอบสวนอัตโนมัติในสุตตานุโลม ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในสุตตานุโลมเท่านั้น.
    ก็ถ้าสกวาทีนี้อ้างอาจริยวาทกล่าว ปรวาทีอ้างสูตรกล่าวไซร้, ควรสอบสวนสูตรในอาจริยวาท ถ้าลงกันสมกัน ควรถือเอา. สูตรที่น่าตำหนินอกนี้ ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอาจริยวาทเท่านั้น.
    ถ้าสกวาทีนี้อ้างอาจริยวาทกล่าว ปรวาทีอ้างสุตตานุโลมกล่าวไซร้, ควรสอบสวนสุตตานุโลมในอาจริยวาท เมื่อลงกัน สมกันแท้ จึงควรถือเอา นอกนี้ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอาจริยวาทเท่านั้น.
    ถ้าสกวาทีนี้อ้างอาจริยวาทกล่าว ปรวาทีอ้างอัตโนมัติกล่าวไซร้, ควรสอบสวนอัตโนมัติในอาจริยวาท ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา, ถ้าไม่ลงกัน ไม่สมกัน ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอาจริยวาทเท่านั้น. การถือเอา (มติ) ของตนนั่นแล ควรทำให้มีกำลัง (ให้มีหลักฐาน).
    อนึ่ง ถ้าสกวาทีนี้อ้างอัตโนมัติกล่าว ปรวาทีอ้างสูตรกล่าวไซร้, ควรสอบสวนสูตรในอัตโนมัติ, ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา. สูตรที่น่าตำหนินอกนี้ ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอัตโนมัติเท่านั้น.
    ถ้าสกวาทีนี้อ้างอัตโนมัติกล่าว ปรวาทีอ้างสุตตานุโลมกล่าวไซร้, ควรสอบสวนสุตตานุโลมในอัตโนมัติ เมื่อลงกัน สมกันแท้ ควรถือเอา. นอกนี้ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอัตโนมัติเท่านั้น.
    ถ้าสกวาทีนี้อ้างอัตโนมัติกล่าว ปรวาทีอ้างอาจริยวาทกล่าวไซร้, ควรสอบสวนอาจริยวาทในอัตโนมัติ ถ้าลงกัน สมกัน ควรถือเอา. อาจริยวาทที่น่าตำหนินอกนี้ ไม่ควรถือเอา, ควรตั้งอยู่ในอัตโนมัติเท่านั้น. การถือเอา (มติ) ของตนนั่นแล ควรทำให้มีกำลัง (ให้มีหลักฐาน).
    อนึ่ง ไม่ควรทำการเพิดเพ้ย หรือตำหนิในที่ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.
    อนึ่ง ถ้าสกวาทีนี้กล่าวอ้างว่าเป็นกัปปิยะ ปรวาทีกล่าวอ้างว่าเป็นอกัปปิยะ ควรสอบสวนสิ่งนั้นๆ ในสูตรและสุตตานุโลม ถ้าสิ่งนั้นเป็นกัปปิยะ ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ, ถ้าสิ่งนั้นเป็นอกัปปิยะ ก็ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ.
    ถ้าสกวาทีนี้ชี้แจงเหตุและคำวินิจฉัยมากมายจากสูตรเป็นเครื่องสาธก สิ่งที่เป็นกัปปิยะแก่ฝ่ายปรวาทีนั้นไซร้, ปรวาทีไม่พบเหตุ, ก็ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ.
    ถ้าปรวาทีชี้แจงเหตุและคำวินิจฉัยมากมายจากสูตรเป็นเครื่องสาธก สิ่งที่เป็นอกัปปิยะแก่ฝ่ายสกวาทีนั้นไซร้, สกวาทีนั้นไม่ควรถือมั่นตั้งอยู่ว่า การถือเอามติของตน (ถูกฝ่ายเดียว) ควรยอมรับว่า ดีละ แล้วตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะเท่านั้น.
    ถ้าว่า เงาแห่งเหตุของทั้งสองฝ่าย ย่อมปรากฏชัดไซร้ ข้อที่ทั้งสองฝ่ายคัดค้านนั่นแล เป็นการดี, แต่ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ. ความจริงครั้นมาถึงวินัยแล้ว อันภิกษุบริษัทควรอาศัยการวิจารณ์ ถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรป้องกันไว้ ควรทำการยึดถือให้มั่นคง ควรตัดกระแสเสีย, ควรตั้งอยู่ในความเป็นผู้หนักนั่นแล.
    อนึ่ง ถ้าสกวาทีนี้กล่าวอ้างว่าเป็นอกัปปิยะ ปรวาทีกล่าวอ้างว่าเป็นกัปปิยะ, ควรสอบสวนสิ่งนั้นๆ ในสูตรและสุตตานุโลม ถ้าสิ่งนั้นเป็นกัปปิยะ ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ, ถ้าสิ่งนั้นเป็นอกัปปิยะ ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ.
    ถ้าสกวาทีนี้ชี้แจงถึงสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ ด้วยสูตรคำวินิจฉัยและเหตุมากมายไซร้, ปรวาทีไม่ได้พบเหตุ, ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ.
    ถ้าปรวาทีชี้แจงถึงสิ่งที่เป็นกัปปิยะ ด้วยสูตรคำวินิจฉัยและเหตุมากมายไซร้, สกวาทีนี้มิได้พบเหตุ, ควรตั้งอยู่ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะ.
    ถ้าว่า เงาแห่งเหตุ แม้ของทั้งสองฝ่ายย่อมปรากฏชัดไซร้, ไม่ควรสละการถือเอา (มติ) ของตน. เหมือนอย่างว่า ในสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ และในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะและกัปปิยะ ท่านกล่าววินิจฉัยนี้ไว้แล้วฉันใด, ในวาทะว่าเป็นอนาบัติและอาบัติก็ดี ในวาทะว่าเป็นอาบัติและอนาบัติก็ดี ในวาทะว่าเป็นลหุกาบัติและครุกาบัติก็ดี ในวาทะว่าเป็นครุกาบัติและลหุกาบัติก็ดี ก็ควรทราบวินิจฉัยฉันนั้น.
    จริงอยู่ ในวาทะที่ว่าเป็นอนาบัติและอาบัติเป็นต้นนี้ มีความต่างกันในเพราะเหตุสักว่าชื่อเท่านั้น, ในนัยแห่งการประกอบความหามีความต่างกันไม่, เพราะฉะนั้น การประกอบความ ท่านจึงไม่ทำให้พิสดาร. เมื่อเกิดคำวินิจฉัยถึงสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะเป็นต้นอย่างนี้แล้ว, ฝ่ายใดได้พบเหตุมากมายในสูตร สุตตานุโลม อาจริยวาทและอัตโนมัติ ควรตั้งอยู่ในวาทะของฝ่ายนั้น.
    อนึ่ง ทั้งสองฝ่าย เมื่อไม่ได้พบเหตุและคำวินิจฉัยโดยประการทั้งปวง ไม่ควรละทิ้งสูตร ควรตั้งอยู่ในสูตรเท่านั้น ฉะนี้แล. พระวินัยธรผู้ปรารถนาความเป็นผู้ฉลาดในสิกขาบท วิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น และวินัยวินิจฉัยทั้งสิ้น ควรทราบวินัย ๔ อย่างนี้ดังพรรณนามาฉะนี้.
    .........
    ข้อความบางตอนในอรรถกถา ปฐมปาราชิกสิกขาบท อนุบัญญัติที่ ๒ เรื่องภิกษุวัชชีบุตร
    https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01&i=23

    skv0OZmuLzv5lefzCFaRsqhSY9wNvv1bPeAQ75lB16E8Keh6J8BPUSbGwx25L8MhkEXGYFMC&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    ?temp_hash=050718ded8ad4eb7934206db4b71a034.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    ภิกษุทำสมาบัติให้เป็นปทัฏฐานก่อน แล้วเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัตย่อมไม่ลำบาก เหมือนบุคคลอาศัยเรือหรือแพเป็นต้น ข้ามห้วงน้ำใหญ่ก็ไปถึงฝั่งได้ฉะนั้น

    ส่วนพระสุกขวิปัสสกผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ พิจารณาปกิณณกสังขาร แล้วได้บรรลุพระอรหัต ย่อมลำบาก เหมือนบุคคลฟันฝ่ากระแสน้ำด้วยกำลังแขนไปถึงฝั่งฉะนั้น
    ***************
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาอาเนญชสัปปายสูตร http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=80
    ดูเพิ่มในอาเนญชสัปปายสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=14&siri=6

    Rx4CZIjeYqjlmVV41K9ndEveKE1elqlHZq9_KK0_P9cC4QtlC9Leg1a5WybeqCkBUc0Va1H_&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    เหตุแห่งอภินิหาร (เหตุให้ได้บรรลุเป็นพระอริยสาวก)
    **************
    ...และแก่พระโพธิสัตว์ผู้เป็นสาวกผู้ตั้งปณิธานไว้ด้วยสามารถแห่งความปรารถนาอันประกอบแล้วด้วยองค์ ๒ คือ อธิการ ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑ ก็ฉันนั้น

    เพราะเหตุใด ? เพราะญาณยังไม่สุกเต็มที่.

    อธิบายว่า ปัญญาบารมีที่ส่งเสริมเพิ่มเติมด้วยบารมีทั้งหลายมีทานบารมีเป็นต้น ของพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายแม้เหล่านี้ ย่อมตั้งท้อง ถึงความสุกงอม ยังพระพุทธญาณให้บริบูรณ์โดยลำดับฉันใด ปัญญาบารมีที่ส่งเสริมเพิ่มเติมด้วยบารมีทั้งหลายมีทานบารมีเป็นต้น (ของพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย) ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตั้งท้อง ถึงความสุกงอม ยังพระปัจเจกโพธิญาณและสาวกโพธิญาณให้บริบูรณ์ตามสมควรโดยลำดับ.

    แท้จริง โดยการสั่งสมทานไว้ ท่านเหล่านี้จึงเป็นผู้มีใจไม่ข้องอยู่ในกิเลสทั้งปวง เป็นผู้มีจิตไม่เพ่งเล็ง เพราะมีอัธยาศัยไม่ละโมบในภพนั้นๆ โดยการสั่งสมศีลไว้ จึงเป็นผู้มีกายวาจาและการงานบริสุทธิ์ด้วยดี เพราะมีกายวาจาสำรวมดีแล้ว มีอาชีพบริสุทธิ์ มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ย่อมตั้งจิตมั่นด้วยชาคริยานุโยค การประกอบความเพียรของท่านเหล่านั้น

    นี้พึงทราบด้วยสามารถแห่งปัจจาคติกวัตรที่ทำไว้แล้ว.

    ก็สมาบัติ ๘ อภิญญา ๕ อภิญญา ๖ และบุพภาควิปัสสนาอันเป็นอธิษฐานธรรม ย่อมอยู่ในเงื้อมมือ ของท่านผู้ปฏิบัติอยู่เช่นนี้ได้โดยไม่ยากทีเดียว ส่วนคุณธรรมมีความเพียรเป็นต้น ก็หยั่งลงสู่ภายในแห่งบุพภาควิปัสสนานั้นทีเดียว.

    ก็ความอดทนอย่างยิ่ง ในการบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น เพื่อปัจเจกโพธิญาณ หรือสาวกโพธิญาณ นี้ชื่อว่าวิริยะ. ความอดทนต่อความโกรธนั้นใด นี้ชื่อว่าขันติ. การให้ทาน การสมาทานศีลเป็นต้น และการไม่กล่าวให้คลาดเคลื่อน (จากความเป็นจริง) อันใด นี้ชื่อว่าสัจจะ. การอธิษฐานใจที่ไม่หวั่นไหวแน่วแน่ อันให้สำเร็จประโยชน์ในที่ทั่วไปนั่นแหละ ชื่อว่าอธิษฐาน. การมุ่งประโยชน์ในหมู่สัตว์ อันเป็นพื้นฐานของความเป็นไปแห่งทานและศีลเป็นต้น นี้ชื่อว่าเมตตา. การวางเฉยในประการที่ไม่เหมาะสมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว ชื่อว่าอุเบกขา.

    ดังนั้น เมื่อทาน ศีล ภาวนา และศีล สมาธิ ปัญญา มีอยู่ บารมีทั้งหลายมีวิริยบารมีเป็นต้น ย่อมชื่อว่าสำเร็จแล้วทีเดียว ด้วยอาการอย่างนี้.

    ปฏิปทามีทานเป็นต้นเพื่อประโยชน์แก่ปัจเจกโพธิญาณก็ดี เพื่อประโยชน์แก่สาวกโพธิญาณก็ดี นั้นแหละชื่อว่าภาวนา เพราะอบรมคือบ่มสันดานของพระโพธิสัตว์เหล่านั้น.

    ปฏิปทาอันเนื่องด้วยสมถะและวิปัสสนา ที่เป็นไปแล้วในสันดานอันทานและศีลปรุงแต่งดีแล้วโดยพิเศษ เป็นเหตุให้พระโพธิสัตว์เหล่านั้นสมบูรณ์ด้วยธรรมเป็นที่ประชุมแห่งการบำเพ็ญเพียรในเบื้องต้น.

    ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

    ดูก่อนอานนท์ อานิสงส์ ๕ ประการเหล่านี้ย่อมมี
    ในการบำเพ็ญเพียรเบื้องต้น ๕ ประการคืออะไรบ้าง?
    ดูก่อนอานนท์ คือผู้บำเพียรเบื้องต้นในพระธรรมวินัย
    นี้ ย่อมชื่นชมพระอรหัตผลในปัจจุบันนี้แหละ พลันที
    เดียว ๑ ถ้ายังไม่ได้ชื่นชมอรหัตผลในทิฏฐธรรม โดย
    พลัน ต่อมาในมรณสมัย จะได้ชื่นชมพระอรหัตผล ๑
    ต่อไปเป็นเทพบุตร จะได้ชื่นชมพระอรหัตผล ๑ ต่อไป
    จะได้เป็นผู้ตรัสรู้โดยฉับพลัน ในที่เฉพาะพระพักตร์
    พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๑ ดังนี้

    ด้วยประการดังพรรณนามานี้ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีอัตภาพอันอบรมแล้ว ด้วยการอบรมธรรมเป็นเครื่องถึงซึ่งฝั่ง อันเป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้น ด้วยสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา และด้วยมรรคภาวนา กล่าวคือการตรัสรู้อันเป็นนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมได้ชื่อว่ามีตนอันอบรมแล้ว.
    ในวิเศษบุคคลเหล่านั้น สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านประสงค์เอาในที่นี้.
    ............
    ข้อความบางตอนใน นิทานกถาวรรณนา อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา เอกกนิบาต http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…

    qaKxOe9X6dLijKIAskYgm6DiVUcjuTip8o9G0pXjR3zIN2Pm8RXewTHUbF8a0KLhoO3snFKE&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    4K4sdcdbSIFyf9mVa5pvAAAIvk0-L_pdXNAh0bDxd5_SuUbOcQ8VWoAXRfzeznzFXuZa2Mhq&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    GGNNyYry2TqIP5xzGvFbTfwmVx1sEwPOxiucDI9XYJW7kSKxpxhcG3ABunqow1-tHWv8d59A&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    NXRRRv5IZrTr_kn-MfgsYBTVgn-LnqlZ-W2lS6X__INewK6j3_h-n9T2FeCAjx7dO-C4SfCz&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    48397432_1866061013517045_7826853073984159744_n-jpg-_nc_cat-105-_nc_ht-scontent-fbkk5-3-jpg.jpg
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    อนุสสติ ๑๐ อย่าง เป็นเหตุให้เกิดสติ
    *************
    (มีสติด้วยเหตุอีก ๑๐ อย่าง คือ)
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมคุณ
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงสังฆคุณ
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
    ๕. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
    ๖. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
    ๗. ชื่อว่ามีสติ เพราะตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
    ๘. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา
    ๙. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกทั่วไปในกาย(ให้เห็นว่าไม่งาม)
    ๑๐. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับ(กิเลสและความทุกข์) คือนิพพาน
    …….
    ข้อความบางตอนใน กามสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=1

    พระสารีบุตรเถระแสดงวิปัสสนาโดยเปรียบด้วยโครงกระดูกเป็นต้น และเปรียบด้วยกองไฟเป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงอุปจารสมาธิ จึงกล่าวคำว่า พุทฺธานุสฺสตึ ภาเวนฺโต เป็นต้น.

    บรรดาบทเหล่านั้น สตินั่นแหละ ชื่อว่าอนุสสติ เพราะเกิดขึ้นบ่อยๆ.

    อนึ่ง ชื่อว่าอนุสสติ เพราะอรรถว่าสติที่สมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรให้เป็นไปนั่นเอง ดังนี้ก็มี.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ชื่อว่าพุทธานุสสติ. คำว่า พุทธานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระพุทธคุณ, มีความเป็นพระอรหันต์เป็นต้นเป็นอารมณ์ซึ่งพุทธานุสสตินั้น.
    บทว่า ภาเวนฺโต ได้แก่ เจริญอยู่คือเพิ่มพูนอยู่.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระธรรม ชื่อว่าธรรมานุสสติ, คำว่า ธรรมานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระธรรมคุณ, มีความเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่าสังฆนุสสติ. คำว่า สังฆานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระสังฆคุณ, มีความเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้นเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อว่าสีลานุสสติ. คำว่า สีลานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีศีลคุณ, มีความไม่ขาดเป็นต้นของตนเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภจาคะ ชื่อว่าจาคานุสสติ. คำว่า จาคานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีจาคคุณ, มีความเป็นผู้มีจาคะอันสละแล้วของตนเป็นต้น เป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภเทวดา ชื่อว่าเทวตานุสสติ. คำว่า เทวตานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีคุณมีศรัทธาของตนเป็นต้น ตั้งเทวดาทั้งหลายไว้ในฐานะพยานเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภลมหายใจเข้าออก ชื่อว่าอานาปานัสสติ. คำว่า อานาปานัสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตแห่งลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความตาย ชื่อว่ามรณานุสสติ. คำว่า มรณานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีความตายกล่าวคือความแตกแห่งชีวิตินทรีย์ที่นับเนื่องในภพหนึ่งเป็นอารมณ์.
    สติที่ไป, คือเป็นไปในสรีระที่นับว่ากาย เพราะเป็นความเจริญ คือเป็นบ่อเกิดของสิ่งปฏิกูลทั้งหลายมีผมเป็นต้นที่น่าเกลียด ชื่อว่า กายคตาสติ. เมื่อควรจะกล่าวว่า กายคตสติ ท่านกล่าวว่า กายคตาสติ เพราะไม่รัสสะ แม้ในที่นี้ท่านก็กล่าวคำนี้เป็นกายคตาสติ เหมือนกัน. คำว่า กายคตาสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตปฏิกูลในส่วนของร่างกายมีผมเป็นต้นเป็นอารมณ์.

    อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความสงบ ชื่อว่าอุปสมานุสสติ คำว่า อุปสมานุสสติ นี้เป็นชื่อของสติที่มีพระนิพพานอันเป็นที่เข้าไปสงบทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์.

    ผู้เจริญปฐมฌานอันประกอบด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญทุติยฌานอันประกอบด้วยปิติ สุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญตติยฌานอันประกอบด้วยสุขและจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญจตุตถฌานอันประกอบด้วยอุเบกขาและจิตเตกัคคตา ฯลฯ แม้ผู้เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย.

    พระสารีบุตรเถระแสดงการละกามโดยการข่มไว้ด้วยประการฉะนี้.
    ……..
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถากามสุตตนิทเทส http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php…

    ya3sqggqcihwibk63idwdnmobwllbfglgndatq4rhshvzihza7g63svxyiihsby85_hf-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    wO8ykpT_yrBoSlqdQTagGS_Z2r3Gc7I7-AdtQYIYeen1uTWYlJyPhQ5st9l7eeiUG0StYqEw&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    eGXjbjXMNv_nxpHB-sy8T81PnwcjGRUME8obuzH3SVm5mg-PkS_mzhs7TJ4xytwFkZpyxULr&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    dyNwAebWc2FpMshYNnKC8KkhGXq3I_m99ocG-RszkjNsmVrSU0Sd01wZopo88vQ9ysNjMCBI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    xaXNTV2w04Z8fdm7GHCk4kdr1ZaUSfqssO1erMiNdE_wpXB4vLXzRxE7M2nRLmytqNPzhrOz&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    " ปกติเวลาเทพบุตร เทพธิดาจะจุติลงมาเป็นมนุษย์ ทุกองค์มีความตั้งใจ จะลงมาสร้างคุณงามความดี เพื่อยกภูมิของตนให้สูงขึ้นแต่พอมาเป็นมนุษย์จะลืมและหลงไปในอบายมุขในโลก ไม่สร้างกรรมดีตามที่ตั้งใจ ซ้ำกลับต้องตกต่ำลงกว่าที่ตนเคยเสวยสุขอยู่เสียอีก บนสวรรค์เมืองแมนแดนสวรรค์ท่านว่า สุขทุกขณะจิต ส่วนผู้เสวยบาปต้องลงนรก ลำพังความเดือดร้อนจากไฟนรก ก็แสนสาหัส ไม่ต้องถูกลงทัณฑ์ ทรมาน ชาวนรกก็พูดไม่ออกบอกไม่ถูกกันอยู่แล้ว ในนรกท่านก็ว่าเป็นทุกข์ไม่มีเวลาสุข ทุกขณะจิตเช่นกัน พวกเราเองเป็นอย่างไร สว่างมา สว่างไป หรือ สว่างมา มืดไป หรือ มืดมา สว่างไป หรือ มืดมา มืดไป
    ทรัพย์สมบัติทุกชิ้นที่หามาจากโลกนี้ ยศตำแหน่งหน้าที่การงาน คำสรรเสริญติชม ทุกสรรพเสียง ความสุขรื่นรมย์ทุกประการ คนรัก สัตว์เลี้ยง สิ่งของที่สะสม ห่วงหาอาลัย สุดท้ายคืนโลกหมด เหมือนฝันไปจำต้องตื่นเหมือนอายุงานที่จำต้องเกษียณ ประกันชีวิตที่ทำชาตินี้ ควรเป็นศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อเอาไปใช้ในชาติหน้าได้จริง "
    _________________________

    ธรรมะคำสอน : พ่อแม่ครูอาจารย์
    ท่านพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    ขอบคุณและอนุโมทนาบุญภาพถ่าย : คุณไพฑูรย์ สมนวล จ.เชียงใหม่
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    ผู้มากด้วยการตรึกธรรม
    *************
    ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา

    เธอปล่อยให้วันคืนล่วงเลยไป ละการหลีกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจภายใน เพราะการตรึกตามธรรมนั้น

    ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม ไม่เรียกว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม
    ..................
    ข้อความบางตอนในปฐมธัมมวิหารีสูตร อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=73

    หมายเหตุ ภิกษุประเภทที่ ๔ มากด้วยการตรึกตรองพิจารณาธรรมตามที่ได้เล่าเรียนมา แต่ปล่อยวันคืนให้ล่วงเลยไป ไม่เจริญสมถกัมมัฏฐาน ไม่ถือว่าเป็นบุคคลผู้อยู่ด้วยธรรม

    -aqmjzqi9nzc5s8rx9hn0zasvjgf7sfvdamdssfpwxg17dvcfyhrqpi6aptq033wrohc-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg

    อายตนะหก / มโนกรรม วจี
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    ข้อปฏิบัติ ๑๒ ประการ เพื่อบรรลุอรหัตตผล คือ (๑) ศรัทธา (๒) การเข้าไปหา (๓) การนั่งใกล้ (๔) การเงี่ยโสตลงสดับ (๕) การฟังธรรม (๖) การทรงจำธรรม (๗) การพิจารณาเนื้อความ (๘) ความเพ่งพินิจธรรม (๙) ฉันทะ (๑๐) อุตสาหะ (๑๑)การไตร่ตรอง (๑๒) การอุทิศกายและใจ
    ***********
    [๑๘๓] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการบรรลุอรหัตตผลด้วยขั้นเดียวเท่านั้น แต่การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขา โดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญกิริยาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญปฏิปทาโดยลำดับ

    การบรรลุอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการบำเพ็ญสิกขาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญกิริยาโดยลำดับ ด้วยการบำเพ็ญปฏิปทาโดยลำดับ เป็นอย่างไร

    คือ กุลบุตรในศาสนานี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปหา เมื่อเข้าไปหาย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลงสดับ เงี่ยโสตลงสดับแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมแล้วย่อมทรงจำไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว เมื่อพิจารณา
    เนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรเพ่งพินิจ เมื่อมีการเพ่งพินิจธรรมอยู่ ฉันทะย่อมเกิด กุลบุตรนั้นเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมอุทิศกายและใจ เมื่ออุทิศกายและใจแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง
    สัจจะอันยอดเยี่ยมด้วยนามกาย และเห็นแจ่มแจ้งสัจจะอันยอดเยี่ยมนั้นด้วยปัญญา

    ภิกษุทั้งหลาย ถ้าศรัทธาไม่มี การเข้าไปหา การนั่งใกล้ การเงี่ยโสตลงสดับ การฟังธรรม การทรงจำธรรม การพิจารณาเนื้อความ ความเพ่งพินิจธรรม ฉันทะ อุตสาหะ การไตร่ตรอง และการอุทิศกายและใจก็ไม่มี เธอทั้งหลายเป็นผู้ปฏิบัติพลาด
    เป็นผู้ปฏิบัติผิด โมฆบุรุษเหล่านี้ได้ก้าวออกไปจากธรรมวินัยนี้ไกลเท่าไร

    [๑๘๔] ภิกษุทั้งหลาย คำอธิบายสัจจะ ๔ ประการมีอยู่ เมื่อยกคำอธิบายดังกล่าวขึ้นมาแสดง วิญญูชนพึงเข้าใจเนื้อความได้ด้วยปัญญาในไม่ช้า เราจักแสดงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักเข้าใจถึงเนื้อความได้”

    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นคนเช่นไร และผู้เข้าใจถึงธรรมได้ เป็นคนเช่นไร”

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ศาสดาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับแต่อามิสอยู่ ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นก็ยังไม่ต่อรองเลยว่า ‘เมื่อสิ่งเช่นนี้พึงมีแก่เรา เราพึงทำสิ่งนั้น เมื่อสิ่งเช่นนี้ไม่พึงมีแก่เรา เราก็ไม่พึงทำสิ่งนั้น’ ตถาคตไม่ข้องอยู่ด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงจะสมควรกับการต่อรองหรือ สาวกผู้มีศรัทธาผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา ย่อมมีหลักปฏิบัติว่า ‘พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาเราเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคทรงรู้ เราไม่รู้’

    คำสอนของศาสดาย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา

    สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา ย่อมมีหลักปฏิบัติว่า

    ‘หนัง เอ็น และกระดูกจงเหือดแห้งไปเถิด เนื้อและเลือดในสรีระของเรา จงเหือดแห้งไปก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุผลที่พึงบรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรนั้น’
    ภิกษุทั้งหลาย สาวกผู้มีศรัทธา ผู้ทำตามคำสั่งสอนของศาสดา จะพึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ (๑) อรหัตตผลในปัจจุบัน (๒) เมื่อมีอุปาทานเหลืออยู่ก็จะเป็นอนาคามี”
    ………
    ข้อความบางตอนใน กีฏาคิริสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=20
    อรรถกถากีฏาคิริสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222

    หมายเหตุ ข้อปฏิบัติ ๑๒ ประการ เพื่อบรรลุอรหัตตผล คือ (๑) ศรัทธา (๒) การเข้าไปหา (๓) การนั่งใกล้ (๔) การเงี่ยโสตลงสดับ (๕) การฟังธรรม (๖) การทรงจำธรรม (๗) การพิจารณาเนื้อความ (๘) ความเพ่งพินิจธรรม (๙) ฉันทะ (๑๐) อุตสาหะ (๑๑)การไตร่ตรอง (๑๒) การอุทิศกายและใจ

    นอกจากนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสสอนให้ภิกษุยึดหลักศรัทธาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดา ตนเป็นสาวก ควรปฏิบัติตามคำสั่งสอนด้วยความเพียรอย่างสูงสุดคือ ตั้งใจว่า “แม้หนัง เอ็น กระดูก เนื้อและเลือด จะเหือดแห้งไป ถ้ายังไม่บรรลุ อรหัตตผลก็จักไม่ลุกขึ้น” ทรงสรุปว่า สาวกผู้มีศรัทธาเมื่อปฏิบัติตามที่ทรงแนะนำจะได้รับผล ๒ อย่าง คือ อรหัตตผล หรืออนาคามิผล

    -aqlwrvducyb6_xyhnuvddvlwfte44oandl5byydhozi0-owvacf4mqd6biq501ur_ma-_nc_ht-scontent-fbkk5-3-jpg.jpg
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    [๖๘] ภิกษุทั้งหลาย
    ๑. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่(๑)- ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ชอบคณะ(๒)-ยินดีในคณะ ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวก(๓)- ตามลำพังได้
    ๒. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ยินดีในปวิเวกตามลำพังจักถือเอานิมิตแห่งจิต(๔)- ได้
    ๓. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิ(๕)-ให้บริบูรณ์ได้
    ๔. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
    ๕. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญสัมมาสมาธิ(๖)- ให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ได้
    ๖. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุผู้ยังละสังโยชน์ไม่ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้

    ภิกษุทั้งหลาย
    ๑. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ประกอบความชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ชอบคณะไม่ยินดีในคณะ ไม่ประกอบความยินดีในคณะ จักยินดีในปวิเวกตามลำพังได้
    ๒. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ยินดีในปวิเวกตามลำพัง จักถือเอานิมิตแห่งจิตได้
    ๓. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ถือเอานิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้
    ๔. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้
    ๕. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้บำเพ็ญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ได้
    ๖. เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้ละสังโยชน์ได้แล้ว จักทำให้แจ้งนิพพานได้
    ..........
    สังคณิการามสูตร อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=319

    ๑ คลุกคลีด้วยหมู่ หมายถึงคลุกคลีด้วยหมู่คณะของตน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๘-๖๙/๑๗๔)
    ๒ ชอบคณะ (คณาราโม) หมายถึงชอบคลุกคลีกับคนทั่วไป (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๘-๖๙/๑๗๔)
    ๓ ปวิเวก ในที่นี้หมายถึงกายวิเวก (ความสงัดทางกาย) (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๘/๑๕๑)
    นิมิตแห่งจิต หมายถึงอาการซึ่งเป็นนิมิตแห่งสมาธิและวิปัสสนา (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๘/๑๕๑)
    ๕ สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑/๖)
    ๖ สัมมาสมาธิ ในที่นี้หมายถึงมัคคสมาธิ สมาธิที่ช่วยให้ตรัสรู้ หรือสมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรค มีชื่อเรียกพิเศษว่า อนันตริกสมาธิ แปลว่า สมาธิที่ให้ผลต่อเนื่องไปทันที (ขุ.ขุ. ๒๕/๕/๖, ขุ.สุ. ๒๕/๒๒๘/๓๗๗) และหมายถึงผลสมาธิ หรือ อรหัตตผลสมาธิ ได้แก่ เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยกำลังจิตที่ประกอบด้วยสมาธิ ซึ่งกำราบราคะลงได้ ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกมัดทั้งหลายได้ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๑/๖)
    …………
    พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรหรืออารามสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า สงฺคณิการาโม ความว่า รื่นเริงใจด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ส่วนภิกษุชื่อว่าคณารามะ เพราะยินดีในคณะ มีคณะศึกษาพระสูตรเป็นต้น หรือในคณะ กล่าวคือบริษัทของตน.
    บทว่า ปวิเวเก ได้แก่ กายวิเวก.
    บทว่า จิตฺตสฺส นิมิตฺตํ ความว่า นิมิตของสมาธิจิตและวิปัสสนาจิต คืออาการของสมาธิและวิปัสสนา.
    บทว่า สมฺมาทิฏฺฐึ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิในวิปัสสนา.
    บทว่า สมาธึ ได้แก่ มรรคสมาธิและผลสมาธิ.
    บทว่า สํโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง.
    บทว่า นิพฺพานํ ได้แก่ ปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้.
    อรรถกถาฐานสูตรหรืออารามสูตรที่ ๔http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=339
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,073
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    -aqmxigyefi8kthv_xjbew4sneriws3of1hifogqkdoxh9jdcnlcwrqzvvihrdxnqsus-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...