อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม : พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ปกาสัย, 13 ตุลาคม 2008.

  1. ปกาสัย

    ปกาสัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +257
    อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม : พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณา

    จากหนังสือ "อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม"<O:p</O:p
    พระนิพนธ์<O:p</O:p
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p</O:p
    --------------------------------------

    ชีวิตในอดีตชาติ อาจจะทำให้ละกิเลสได้เป็นอันมาก

    <O:pก่อนจะมาเป็นเราแต่ละคนในภูมิของมนุษย์นี้ ต่างก็ได้เป็นอะไร ต่อมิอะไรมาแล้วมากมาย นับชนิดนับชาติไม่ได้ เป็นกันทั้งเทวดา สัตว์ใหญ่สัตว์เล็ก รวมทั้งมนุษย์ชายหญิง คนมีคนจน คนสวยคนไม่สวย คนพิการคนไม่พิการ อายุสั้นอายุยาว ขาวดำ ไทยจีนแขกฝรั่ง ต่างเคยมีเคยเป็นกันมาแล้วทั้งนั้น แม้เป็นผู้ระลึกชาติได้ก็จะสลดสังเวชยิ่งนัก และอาจจะสละวางความโลภความโกรธความหลงได้เป็นอันมาก.
    <O:p</O:p
    เห็นสุนัขขี้เรื้อนสักตัว แล้วลองนึกว่าครั้งหนึ่งเราก็เคยเป็นเช่นเดียวกัน เคยกระเซอะกระเซิงเที่ยวหาอาหารกิน ถูกคนตี ถูกสุนัขด้วยกันกัด ถูกใครทั้งหลายที่ได้มาประสบพบผ่านแสดงกิริยาวาจารังเกียจเกลียดชัง ไม่ก้อนอิฐก็ก้อนหินถูกทุ่มถูกขว้างใส่ ให้ต้องถึงเลือดตกยางออก ตกใจกลัวภัยนานา แต่จะบอกกล่าวอ้อนวอนให้ผู้ใดเห็นใจก็ทำไม่ได้ อย่างมากก็เพียงเปล่งเสียงโหยหวนที่หามีผู้เข้าใจในความทุกข์ร้อนไม่ แม้นึกไปในอดีตเช่นนี้ สมมติตัวเองว่าในภพชาติหนึ่งเป็นเช่นนี้ นึกให้จริงจังเช่นนี้ จะเกิดความกลัวกรรม เพราะย่อมจะเข้าใจว่ากรรมไม่ดีแน่แท้ที่ทำให้ชีวิตต้องเป็นเช่นนั้น.


    --------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2008
  2. ปกาสัย

    ปกาสัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +257
    ความโลภโดยไม่มีขอบเขต เป็นทุกข์หนักนัก


    <O:pข่าวผู้พยามยามป้องกันสมบัติของตนจนเสียชีวิตนั้น น่าสลดสังเวชยิ่งนัก หรือข่าวผู้แม้กำลังจะสิ้นชีวิตแล้ว แต่ก็ยังพยายามกระเสือกกระสนรักษาสมบัติที่มีค่าของตนที่ติดตัวอยู่อย่างน่าสงสารที่สุด.

    พบข่าวเหล่านี้เมื่อไร ขอให้คิดถึงใจคนเหล่านั้น อย่าคิดทำร้ายอย่าคิดเบียดเบียนกันเลย ทุกคนจะต้องตาย และจะตายในเวลาไม่นาน คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์ จะทำทุกวิถีทางแม้ที่แสนชั่วช้าโหดร้ายเพื่อได้มาซึ่งทรัพย์ทำไมเล่า.
    <O:p</O:p
    ความโลภโดยไม่มีขอบเขตนั้น เป็นทุกข์หนักนัก ตนเองทุกข์เพราะความโลภอยากได้ แล้วก็แผ่ความทุกข์เดือดร้อนไปถึงคนอื่นอย่างน่าอเนจอนาถ ถ้าร้อนเพราะความอยากได้ไม่สิ้นสุด จะไม่สามารถดับความทุกข์นั่นได้ด้วยวิธีลักขโมยหรือประหัตประหารผลาญชิวิตผู้ใด แต่จะดับทุกข์นั้นได้ด้วยทำกิเลสให้หมดจดเท่านั้น.


    --------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2008
  3. ปกาสัย

    ปกาสัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +257
    ผู้ละโลกใบนี้ไปในขณะที่จิตเศร้าหมอง ทุคติพึงหวังได้อย่างแน่นอน<O:p</O:p


    <O:pเมื่อลมหายใจออกจากร่างไม่กลับเข้ามาอีก สิ่งที่เป็นนามแลไม่เห็นด้วยสายตา เช่นเดียวกับลมหายใจ คือจิต ก็จะออกจากร่างนั้นด้วย จิตจะออกจากร่างโดยคงสภาพเดิม ลักษณะเดิม คือพร้อมด้วยกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงที่มีอยู่.

    ในขณะจิตออกจากร่าง คือขณะยังเป็นจิตของคนเป็น ขณะยังเป็นจิตของคนยังไม่ตาย พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2008
  4. ปกาสัย

    ปกาสัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +257
    สติที่เข้มแข็ง ตั้งมั่น สามารถเอาชนะความคิดที่จะก่อกรรมไม่ดีได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    <O:pอย่างไรก็ตาม สติมีความสำคัญที่สุด สติมีหน้าที่ว่าจะให้กิเลสชนะเหตุผล หรือจะให้เหตุผลชนะกิเลส.
    <O:p</O:p
    ถ้าสติอ่อนไม่ตั้งมั่นอยู่ ก็จะยอมให้กิเลสชนะเหตุผล คือกิเลสจะครองใจยิ่งกว่าเหตุผล ชื่อว่าเชื่อกิเลสมากกว่าเชื่อเหตุผล.
    <O:p</O:p
    ถ้าสติเข้มแข็งตั้งมั่นอยู่ ก็จะไม่ยอมให้กิเลสชนะเหตุผล คือเหตุผลจะครองใจยิ่งกว่ากิเลสเป็นผู้ใช้เหตุผลยิ่งกว่าเป็นผู้ให้กิเลสใช้.


    --------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2008
  5. ปกาสัย

    ปกาสัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +257

    การหัดตาย ก็คือการหัดปล่อยใจจากสิ่งทั้งหลาย ก่อนที่จะถูกความตายบังคับให้ปล่อย

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    <O:pอย่างไรก็ตาม สติมีความสำคัญที่สุด สติมีหน้าที่ว่าจะให้กิเลสชนะเหตุผล หรือจะให้เหตุผลชนะกิเลส.
    <O:p</O:p
    ถ้าสติอ่อนไม่ตั้งมั่นอยู่ ก็จะยอมให้กิเลสชนะเหตุผล คือกิเลสจะครองใจยิ่งกว่าเหตุผล ชื่อว่าเชื่อกิเลสมากกว่าเชื่อเหตุผล.
    <O:p</O:p
    ถ้าสติเข้มแข็งตั้งมั่นอยู่ ก็จะไม่ยอมให้กิเลสชนะเหตุผล คือเหตุผลจะครองใจยิ่งกว่ากิเลสเป็นผู้ใช้เหตุผลยิ่งกว่าเป็นผู้ให้กิเลสใช้.


    --------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2008
  6. ปกาสัย

    ปกาสัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +257

    ผู้ปรารถนาความมีปัญญา พึงทำจิตใจให้สงบ

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:pความมีปัญญา ย่อมเกิดแต่การอบรมจิตให้สงบ จิตสงบเพียงไร ปัญญาย่อมยิ่งเพียงนั้น จิตวุ่นวายเพียงไร ปัญญาย่อมหย่อนเพียงนั้น.
    <O:p</O:p
    ปัญญาเป็นความฉลาดที่เกิดแต่เรียนและคิด จิตที่สงบจะทำให้ใช้ความคิดได้อย่างดี ต้องการจะคิดเรื่องใดให้แตกฉานรู้จริงด้วยตนเอง มิใช่เป็นพียงความรู้ของผู้อื่น จิตที่สงบจะทำให้เป็นปัญญาขึ้นมาได้ แต่จิตที่ไม่สงบวุ่นวายจะทำไม่ได้.
    <O:p</O:p
    ผู้มีปัญญา... จึงเป็นผู้ที่มีจิตสงบ แม้ปรารถนาจะเป็นผู้มีปัญญาพึงทำใจให้สงบ คือสงบจากความโลภ ความโกรธ ความหลง.
    <O:p</O:p
    ปรารถนาเป็นผู้มีปัญญาเพียงไร พึงทำจิตใจให้สงบเพียงนั้น อีกนัยหนึ่งก็คือ ทำใจให้สงบได้เพียงใด ก็สามารถอบรมปัญญาให้ยิ่งได้เพียงนั้น.
    <O:p</O:p
    จิตไม่สงบ จะคิดแบบไม่สงบ คือ คิดสับสนวุ่นวายจากเรื่องหนึ่งไปยังอีกเรื่องหนึ่ง ไปอีกเรื่องหนึ่ง ไปอีกเรื่องหนึ่ง ไปอีกเรื่องหนึ่ง เปลี่ยนเรื่องไปเรื่อยๆ จากเรื่องนี้ไปเรื่องนั้น จากเรื่องนั้นไปเรื่องโน้น โดยไม่เข้าใจถูกต้องชัดเจนในเรื่องใดเลย ทั้งนี้เป็นไปด้วยอำนาจความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่ทำให้จิตใจวุ่นวายไม่สงบ.
    <O:p</O:p


    --------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...