อำเภอกันตังบนดาวอังคาร

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ตันติปาละ, 7 กรกฎาคม 2012.

  1. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,422
    ค่าพลัง:
    +4,651
    แล้วยังมี อำเภอจัตุรัส มี จังหวัดตาก ฯลฯ อยู่บนดาวอังคารอีกต่างหาก
    คนไทยไปตั้งอาณานิคมบนดาวอังคารแล้วหรือ
    ถ้าใช่คงน่าตื่นเต้นทีเดียว แต่บทความนี้ไม่ใช่นิยายวิทยาศาสตร์ ดังนั้นผมจึงไม่สามารถบอกได้ว่ามีคนไทยบนดาวอังคารจริง ๆ
    ถึงกระนั้น ผมก็สามารถบอกได้เต็มปากว่า มีชื่ออำเภอกันตังอยู่บนดาวอังคารแน่นอน พร้อมกับอำเภอและจังหวัดของเราอีกหลายแห่ง รวมทั้งมีชื่อสถานที่ที่เป็นภาษาไทยอยู่นอกโลกอีกจำนวนหนึ่งด้วย
    เรื่องชื่อบ้านเมืองในประเทศไทยกับคำไทยไปนอกโลกนี้ หาได้เกี่ยวข้องกับสมาคมดาราศาสตร์ไทยแต่ประการใดไม่ อันที่จริงการตั้งชื่อภูมิสถานต่าง ๆ บนดาวเคราะห์และดวงจันทร์ในระบบสุริยะนี้ มีกำเนิดขึ้นมากว่า 300 ปีแล้ว ตั้งแต่มีการเรียกชื่อหลุม ชื่อทะเล บนดวงจันทร์ เริ่มจากงานของนักดาราศาสตร์ไม่กี่คนที่ต่างคนต่างสังเกตการณ์ บันทึก และตั้งชื่อกันเอาเอง มาจนยุคของอนุกรรมการแห่งสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
    บาทหลวงนิกายเยซูอิตชื่อ ริชชิโอลี (1598-1671) ทำแผนที่ดวงจันทร์พร้อมชื่อหลุมและภูมิลักษณ์อื่น ๆ เป็นจำนวนมาก ชื่อที่หลวงพ่อริชชิโอลีตั้งไว้ เดี๋ยวนี้ก็ยังใช้เป็นมาตรฐานกันอยู่หลายชื่อ คริสเตียน ไฮเกนส์ (1629-1695) ตั้งชื่อ ซีร์ทิส เมเจอร์ (Syrtis Major) ให้กับปื้นดำขนาดใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารที่มองเห็นจากโลก ไว้ตั้งแต่ปี 1650 การตั้งชื่อสถานที่บนดวงจันทร์และดาวอังคารเริ่มยุ่งยากขึ้นในคริสตศตวรรษ ที่ 19 เมื่อมีผู้สร้างกล้องโทรทรรศน์กำลังสูงมากพอที่จะสังเกตเทห์ฟากฟ้าเหล่านั้น ได้โดยละเอียด
    ในปี 1907 การประชุมใหญ่สามัญของสภาสมาคมวิชาการสากลซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งเพื่อสะสางเรื่องชื่อภูมิสถานบนดวง จันทร์ที่ใช้กันอย่างสับสนในขณะนั้น การเสียชีวิตอย่างต่อเนื่องของกรรมการหลายท่าน (อาจจะเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างปี 1914 ถึง 1918) ทำให้อนุกรรมคณะนี้ไม่มีผลงานปรากฏ แต่งานพื้นฐานส่วนใหญ่ก็สำเร็จลุล่วงไปแล้ว
    ดังนั้น เมื่อสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลตั้งคณะอนุกรรมการตั้งชื่อสำหรับดวงจันทร์และดาว อังคารขึ้น ในคราวเดียวกับการประชุมสถาปนาสหพันธ์ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยียม ในปี 1919 งานตั้งชื่อก็ทำต่อได้โดยไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ เพราะความต่อเนื่องของบุคลากรจากอนุกรรมการชุดก่อนหน้าซึ่งได้รับการแต่ง ตั้งเข้ามาในอนุกรรมการชุดใหม่นี้
    ถึงจะไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ กว่ารายงานฉบับแรกจะออกมาก็ต้องรอถึงปี 1935 ด้วยการจัดพิมพ์ "Named Lunar Formations" ว่าด้วยชื่อภูมิสถานบนดวงจันทร์ จากนั้นจึงมีผลงานที่ละเอียดขึ้นออกมาอีกเป็นลำดับ
    ดาวอังคารเป็นเทห์ฟากฟ้าแห่งที่สองที่ได้รับการกำหนดชื่อภูมิสถาน นักดาราศาสตร์ที่บุกเบิกในเรื่องนี้เป็นพิเศษคือเชียปาเรลลี ในปลายศตวรรษที่ 19 และขยายผลโดยแอนโทเนียดี เมื่อต้นศตวรรษที่ 20
    ยุคอวกาศเปิดฉากขึ้นพร้อมกับการส่งสปุตนิก ดาวเทียมดวงแรกของโลก ขึ้นสู่อวกาศในปี 1957 ตามมาด้วยการสำรวจดวงจันทร์ในโครงการอะพอลโลของสหรัฐอเมริกา โครงการลูนา และซอนด์ ของสหภาพโซเวียต อีกทั้งยานอวกาศที่ถูกส่งไปสำรวจดาวเคราะห์ดวงอื่น เช่นยานชุดวอยเอเจอร์ มารีเนอร์ หรือยานกาลิเลโอ เป็นต้น เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้งานตั้งชื่อของสหพันธ์กลายเป็นงานช้างไปโดยปริยาย เพราะคราวนี้นอกจากจะได้ข้อมูลดวงจันทร์และดาวอังคารที่ละเอียดขึ้นแล้ว ยังมีภาพจากดาวพุธ ศุกร์ กับดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี และเสาร์ โถมเข้ามาอีก
    เมื่องานเพิ่ม คณะอนุกรรมการจึงต้องขยับขยาย มีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อยสำหรับดวงจันทร์ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร และระบบสุริยะรอบนอก และเพิ่มกลุ่มสำหรับภูมิสถานบนดาวเคราะห์น้อยและดาวหางขึ้นใหม่ในปี 1984
    พึงสังเกตว่า การตั้งชื่อสามารถทำได้เฉพาะกับดาวเคราะห์และดวงจันทร์ที่เป็นก้อนหิน รวมทั้งดาวเคราะห์น้อยเท่านั้น จะตั้งชื่อให้อะไรบนดาวเคราะห์แก๊สขนาดยักษ์—พฤหัสบดี เสาร์ ยูเรนัส และเนปจูน—ไม่ได้ เพราะผิวนอกที่เราเห็นมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
    ชื่อที่ใช้ตั้ง มาจากชื่อสถานที่ ชื่อบุคคล ชื่อในวรรณกรรม และตำนาน จากทุกประเทศทั่วโลก ตัวอย่างเช่น เมื่อกำหนดให้ตั้งชื่อภูมิลักษณ์แบบเหวแคบลึกบนดาวศุกร์ (chasma – คาสมา) ตามชื่อเทพธิดาแห่งการล่าสัตว์ หรือเทพธิดาพระจันทร์ ชื่อแต่ละร่องก็จะเป็นชื่อตามแนวกำหนดนี้ อาทิ
    Juno Chasma จูโนเป็นเทพีแห่งท้องฟ้าของโรมัน ที่คู่กับจูปิเตอร์
    Aranyani Chasma อรัญญานีเป็นเทวีแห่งป่าของอินเดีย
    Dewi Ratih Chasma เทวีรตีเป็นเทพธิดาพระจันทร์ของบาหลี
    Nang-byon Chasma นางบยอน (?) เป็นเทพธิดาพระจันทร์ของชาวไทขาวในเวียตนาม
    Diana Chasma ไดอานาเป็นเทพธิดาพระจันทร์และการล่าสัตว์ของโรมัน
    Artemis Chasma อาร์เทมิสเป็นเทพธิดาพระจันทร์และการล่าสัตว์ของกรีก
    ต่อไปนี้คือมาตรฐานล่าสุดสำหรับการตั้งชื่อภูมิสถานบนดาวเคราะห์ชั้นใน คือดาวพุธ-ศุกร์-อังคาร และดวงจันทร์ของโลก ที่กำหนดโดยของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (ดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ชั้นนอก ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี เสาร์ ยูเรนัส และเนปจูน กับดาวพลูโต ต่างมีมาตรฐานตั้งชื่อทั้งสิ้น แต่ไม่ได้นำมาลงในที่นี้)
    ดาวพุธ

    <table width="720"> <tbody><tr> <td>crater</td> <td>หลุม</td> <td>ศิลปิน, คีตกวี, จิตรกร, นักเขียน ชื่อดัง ที่ล่วงลับไปแล้ว</td> </tr> <tr> <td>mons</td> <td>ภูเขา</td> <td>มีแห่งเดียว เรียกว่า คาโลริส ภาษาละติน แปลว่า ร้อน</td> </tr> <tr> <td>planitia</td> <td>ที่ราบต่ำ</td> <td>ชื่อดาวพุธ หรือเทพประจำดาวพุธ ในภาษาต่าง ๆ</td> </tr> <tr> <td>rupes</td> <td>ผาชัน</td> <td>ชื่อเรือสำรวจที่พาไปสู่การค้นพบ คณะสำรวจทางวิทยาศาสตร์</td> </tr> <tr> <td>vallis</td> <td>หุบเขา</td> <td>ชื่อกล้องโทรทรรศน์วิทยุ</td> </tr> </tbody></table> ดาวศุกร์

    <table width="720"> <tbody><tr> <td width="15%">astrum</td> <td width="15%">พื้นที่รูปแฉก</td> <td width="70%">เทพธิดา (เบ็ดเตล็ด)</td> </tr> <tr> <td>chasma</td> <td>เหวแคบลึก</td> <td>เทพธิดาแห่งการล่าสัตว์ หรือเทพธิดาพระจันทร์</td> </tr> <tr> <td>colles</td> <td>เนิน</td> <td>เทพธิดาสมุทร</td> </tr> <tr> <td>corona</td> <td>ทรงกลด</td> <td>เทพธิดาแห่งความอุดมสมบูรณ์ หรือแม่พระธรณี</td> </tr> <tr> <td>crater</td> <td>หลุม</td> <td>กว้างกว่า 20 กม. ใช้ชื่อสตรีผู้มีชื่อเสียง
    ต่ำกว่า 20 กม. ใช้ชื่อสามัญของผู้หญิง</td> </tr> <tr> <td>dorsum</td> <td>สันเขา</td> <td>เทพธิดาแห่งท้องฟ้า</td> </tr> <tr> <td>farrum</td> <td>โครงสร้างทรงจาน</td> <td>ชื่อเทพธิดาวารี</td> </tr> <tr> <td>fluctus</td> <td>รอยน้ำไหล</td> <td>เทพธิดาอื่น ๆ</td> </tr> <tr> <td>fossa</td> <td>ร่องยาวตื้น</td> <td>เทพธิดาสงคราม</td> </tr> <tr> <td>labyrinthus</td> <td>หุบเขาสลับซับซ้อน</td> <td>เทพธิดาทั่วไป</td> </tr> <tr> <td>linea</td> <td>รอยยาว</td> <td>เทพธิดาสงคราม</td> </tr> <tr> <td>mons</td> <td>ภูเขา</td> <td>เทพธิดาทั่วไป และนักวิทยาศาสตร์เรดาร์อีก 1 คน</td> </tr> <tr> <td>patera</td> <td>แอ่งขอบไม่สม่ำเสมอ</td> <td>สตรีผู้มีชื่อเสียง</td> </tr> <tr> <td>planitia</td> <td>ที่ราบต่ำ</td> <td>วีรสตรีในเทพปกรณัม</td> </tr> <tr> <td>planum</td> <td>ที่ราบสูง</td> <td>เทพธิดาแห่งความเจริญรุ่งเรื่อง</td> </tr> <tr> <td>regio</td> <td>บริเวณสว่างหรือมืดเป็นพิเศษ</td> <td>ยักษิณี, ไทแทนเพศหญิง</td> </tr> <tr> <td>rupes</td> <td>ผาชัน</td> <td>เทพธิดาแห่งเตาไฟหรือบ้านเรือน</td> </tr> <tr> <td>tessera</td> <td>พื้นแตกลายงา</td> <td>เทพธิดาแห่งชะตากรรมและโชคลาภ</td> </tr> <tr> <td>terra</td> <td>แผ่นดิน</td> <td>เทพธิดาแห่งความรัก</td> </tr> <tr> <td>tholus</td> <td>เนินรูปโดม</td> <td>เทพธิดาอื่น ๆ</td> </tr> <tr> <td>undae</td> <td>เนิน</td> <td>เทพธิดาแห่งทะเลทราย</td> </tr> <tr> <td>vallis</td> <td>หุบเขา</td> <td>ยาวเกิน 400 กม. คำเรียกดาวศุกร์ในภาษาต่าง ๆ
    ยาวน้อยกว่า 400 กม. เทพธิดาแห่งแม่น้ำ</td> </tr> </tbody></table> ดวงจันทร์

    <table> <tbody><tr> <td width="15%">crater, catena, dorsum, rima</td> <td width="15%">หลุม, แคทีนา (แนวหลุม), สันเขา, รอยแยก</td> <td width="60%">หลุม ใช้ชื่อนักวิทยาศาสตร์ นักปราชญ์ ศิลปิน หรือนักสำรวจ ผู้มีชื่อเสียงที่ล่วงลับไปแล้ว นอกนั้นอาศัยชื่อตามหลุมใกล้ ๆ</td> </tr> <tr> <td>lacus, mare, palus, sinus</td> <td>ทะเลสาบ, ทะเล, บึง, อ่าว</td> <td>คำละตินสำหรับภูมิอากาศ หรือคำนามธรรม</td> </tr> <tr> <td>montes</td> <td>ภูเขา</td> <td>ชื่อเทือกเขาบนโลก หรือตามหลุมใกล้ ๆ</td> </tr> <tr> <td>rupes</td> <td>ผาชัน</td> <td>ใช้ชื่อตามเทือกเขาใกล้ ๆ</td> </tr> <tr> <td>vallis</td> <td>หุบเขา</td> <td>ใช้ชื่อตามภูมิสถานใกล้เคียง</td> </tr> </tbody></table> ดาวอังคาร

    <table> <tbody><tr> <td rowspan="2" width="15%">crater</td> <td width="15%">หลุมขนาดใหญ่</td> <td width="60%">นักวิทยาศาสตร์ผู้มีส่วนสร้างความก้าวหน้าแก่การศึกษาดาวอังคาร, นักเขียนหรือคนอื่นที่มีผลงานเกี่ยวกับเรื่องของดาวอังคาร</td> </tr> <tr> <td>หลุมขนาดเล็ก</td> <td>ชื่อเมืองในโลก ที่มีประชากรน้อยกว่า 100,000 คน</td> </tr> <tr> <td rowspan="2">vallis</td> <td>หุบเขาขนาดใหญ่</td> <td>คำว่า ดาวอังคาร หรือ ดาว ในภาษาต่าง ๆ</td> </tr> <tr> <td>หุบเขาขนาดเล็ก</td> <td>ชื่อแม่น้ำในสมัยโบราณ หรือชื่อปัจจุบัน</td> </tr> <tr> <td>other features</td> <td>ภูมิลักษณ์อื่น</td> <td>ใช้ชื่อจากจุดที่ใกล้ที่สุดในแผนที่ของเชียปาเรลลีหรือแอนโทเนียดี</td> </tr> </tbody></table> จะเห็นได้ว่าเกือบทุกกรณีสามารถเอาชื่อจากประเทศหรือวัฒนธรรมต่าง ๆ ในโลกมาใช้ได้ ซึ่งคณะอนุกรรมการก็ได้พยายามทำอย่างนั้นโดยเสมอภาค คือหยิบจากที่โน่นที่นี่มาตามส่วนของทวีปและประเทศที่มีในโลก รวมทั้งจากประเทศไทย
    ด้วยเหตุนี้จึงมีบางส่วนของเมืองไทยอยู่บนดาวอังคาร ดังนี้
    หลุมขนาดเล็กบนดาวอังคาร 7 หลุม
    <table> <tbody><tr> <td width="20%">Chatturat</td> <td>อ. จัตุรัส (ชัยภูมิ)</td> </tr> <tr> <td>Kantang</td> <td>อ. กันตัง (ตรัง)</td> </tr> <tr> <td>Nan</td> <td>จ. น่าน</td> </tr> <tr> <td>Phon</td> <td>อ. พล (ขอนแก่น)</td> </tr> <tr> <td>Tak</td> <td>จ. ตาก</td> </tr> <tr> <td>Thom</td> <td>ไม่พบชื่อนี้โดยตรง แต่มี อ. นาทม (นครพนม)</td> </tr> <tr> <td>Yala</td> <td>จ. ยะลา</td> </tr> </tbody></table> กับหุบเขาหนึ่งหุบ
    <table> <tbody><tr> <td width="20%">Dao Vallis</td> <td>หุบเขาดาว</td> </tr> </tbody></table> และบนดาวศุกร์
    <table width="700"> <tbody><tr> <td>Dhorani Corona</td> <td>ทรงกลดแห่งแม่พระธรณี</td> </tr> <tr> <td>Phra Naret Corona</td> <td>ทรงกลดแห่งพระนเรศ ฝรั่งบอกว่าเป็นเทพนารีแห่งความอุดมสมบูรณ์ของไทย แต่สงสัยตำราที่เขาใช้อ้างอิงจะเข้าใจผิด พระนเรศโดยทั่วไปหมายถึงพระนเรศวร</td> </tr> </tbody></table> นอกจากคำไทยแล้ว ชื่อที่คนไทยรู้จักที่ถูกเอาไปเป็นชื่อภูมิสถานนอกโลกยังมึอยู่อีกมาก เช่น
    <table width="400"> <tbody><tr> <td>Kuan-Yin Corona</td> <td>ดาวศุกร์</td> <td>ทรงกลดแห่งเจ้าแม่กวนอิม</td> </tr> <tr> <td>Budh patera</td> <td>ดาวพุธ</td> <td>แอ่งพระพุธ</td> </tr> </tbody></table> คำไทยบนดาวอื่นมีเพียงเท่านี้หรือ จะมีอะไรได้ใช้ชื่อไทยอีกหรือเปล่า
    ตราบเท่าที่มนุษย์มีความอยากรู้อยากเห็น และมีคนออกเงินเพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นนั้น การสำรวจดาวเคราะห์ในระบบสุริยะก็จะดำเนินต่อไปอย่างไม่สิ้นสุดทั้งใน ทางกว้างและทางลึก การค้นพบใหม่ ๆ ย่อมเกิดขึ้น ฉะนั้น โอกาสที่ภูมิสถานนอกโลกจะเป็นคำไทยจึงยังเป็นไปได้เสมอ
    รูปหลุมอุกกาบาตชื่อไทยบนดาวอังคาร

    <table> <tbody><tr valign="top"> <td width="25%"> <table> <tbody><tr> <td class="to-right">ชื่อ:</td> <td>Chatturat</td> </tr> <tr> <td class="to-right">ขนาด:</td> <td>7.84 กม.</td> </tr> <tr valign="top"> <td class="to-right" rowspan="2">ตำแหน่ง:</td> <td>35.7° เหนือ</td> </tr> <tr> <td>265.06° ตะวันออก</td> </tr> </tbody></table> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr valign="top"> <td width="25%"> <table> <tbody><tr> <td class="to-right">ชื่อ:</td> <td>Kantang</td> </tr> <tr> <td class="to-right">ขนาด:</td> <td>52.44 กม.</td> </tr> <tr valign="top"> <td class="to-right" rowspan="2">ตำแหน่ง:</td> <td>24.7° ใต้</td> </tr> <tr> <td>342.42° ตะวันออก</td> </tr> </tbody></table> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr valign="top"> <td width="25%"> <table> <tbody><tr> <td class="to-right">ชื่อ:</td> <td>Nan</td> </tr> <tr> <td class="to-right">ขนาด:</td> <td>2.29 กม.</td> </tr> <tr valign="top"> <td class="to-right" rowspan="2">ตำแหน่ง:</td> <td>26.96° ใต้</td> </tr> <tr> <td>340.06° ตะวันออก</td> </tr> </tbody></table> หลุมจิ๋วที่กลางรูป
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr valign="top"> <td width="25%"> <table> <tbody><tr> <td class="to-right">ชื่อ:</td> <td>Phon</td> </tr> <tr> <td class="to-right">ขนาด:</td> <td>10.02 กม.</td> </tr> <tr valign="top"> <td class="to-right" rowspan="2">ตำแหน่ง:</td> <td>15.7° เหนือ</td> </tr> <tr> <td>102.79° ตะวันออก</td> </tr> </tbody></table> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr valign="top"> <td width="25%"> <table> <tbody><tr> <td class="to-right">ชื่อ:</td> <td>Tak</td> </tr> <tr> <td class="to-right">ขนาด:</td> <td>5.21 กม.</td> </tr> <tr valign="top"> <td class="to-right" rowspan="2">ตำแหน่ง:</td> <td>26.29° ใต้</td> </tr> <tr> <td>331.35° ตะวันออก</td> </tr> </tbody></table> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr valign="top"> <td width="25%"> <table> <tbody><tr> <td class="to-right">ชื่อ:</td> <td>Thom</td> </tr> <tr> <td class="to-right">ขนาด:</td> <td>22.06 กม.</td> </tr> <tr valign="top"> <td class="to-right" rowspan="2">ตำแหน่ง:</td> <td>41.45° ใต้</td> </tr> <tr> <td>92.35° ตะวันออก</td> </tr> </tbody></table> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr valign="top"> <td width="25%"> <table> <tbody><tr> <td class="to-right">ชื่อ:</td> <td>Yala</td> </tr> <tr> <td class="to-right">ขนาด:</td> <td>19.65 กม.</td> </tr> <tr valign="top"> <td class="to-right" rowspan="2">ตำแหน่ง:</td> <td>17.37° เหนือ</td> </tr> <tr> <td>321.42° ตะวันออก</td> </tr> </tbody></table> </td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> หุบเขาดาวที่ยาวเกือบ 800 กม.
    <table> <tbody><tr valign="top"> <td width="25%"> <table> <tbody><tr> <td class="to-right">ชื่อ:</td> <td>Dao Vallis</td> </tr> <tr> <td class="to-right">ขนาด:</td> <td>794 กม.</td> </tr> <tr valign="top"> <td class="to-right" rowspan="2">ตำแหน่ง:</td> <td>37.94° ใต้</td> </tr> <tr> <td>88.89° ตะวันออก</td> </tr> </tbody></table> หุบเขาดาวคือร่องน้ำที่มีเส้นเขียวลากทับ
    </td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> หมายเหตุ: ข้อมูลและภาพ ได้มาจากเว็บของ U.S. Geological Survey
    * บทความเผยแพร่ครั้งแรกในวารสารทางช้างเผือก ฉบับกรกฎาคม พ.ศ. 2546


    โดย วิษณุ เอื้อชูเกียรติ 3 มีนาคม 2555http://thaiastro.nectec.or.th


    อำเภอกันตังบน ดาวอังคาร - ดาราศาสตร์ เรื่องลี้ลับ UFO - กายสิทธิ์ดอทคอม - Powered by Discuz!
     
  2. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,275
    ค่าพลัง:
    +82,733
    อ่านแล้วจมูกบานเลยค่ะ ไทยเราก็ไม่เบานะคะ:cool:
     
  3. Khonthan

    Khonthan Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2012
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +56
    อำเภอจัตุรัสนี่ ในจังหวัดผมเลย :cool:
     
  4. gijjij

    gijjij เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +346
    5555555555 ชอบแล้ว ดีแล้ว แจ้งแล้ว ต้องส์แล้ว
     
  5. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,422
    ค่าพลัง:
    +4,651
    เห็นบทความมันสนุกดี และก็เป็นนักวิจัยไทยด้วยเลยเอามาให้อ่านเล่น
     
  6. DevaIsis

    DevaIsis เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,005
    ค่าพลัง:
    +4,600
    สุดยอดคัมภีร์ชีวิต

    EAT, LOVE, PRAY

    เท่านี้พอ

    อนุโมทนา กับท่าน ที่ทราบเรื่องดาวอังคาร
     

แชร์หน้านี้

Loading...