เรื่องเด่น อิ่มบุญรับต้นเดือน! รวม 5 วัดใกล้รถไฟฟ้าทำบุญวันมาฆบูชา 2561

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 1 มีนาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    8b8e0b88de0b8a3e0b8b1e0b89ae0b895e0b989e0b899e0b980e0b894e0b8b7e0b8ade0b899-e0b8a3e0b8a7e0b8a1-5.jpg


    วันพระใหญ่อย่าง ‘วันมาฆบูชา’ เวียนมาบรรจบอีกครั้ง หนุ่มสาวสมัยนี้เขาหันมาเข้าวัดเข้าวากันมากขึ้น ปฏิบัติตัวเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีด้วยการตื่นเช้าไปทำบุญตักบาตร ไหว้พระสวดมนต์ ถ้าใครไม่สะดวกตอนเช้า จะไปเวียนเทียนกันช่วงค่ำแทนก็ได้เช่นกัน

    ส่วนจะไปวัดไหนดี? ถ้าอยากได้การเดินทางที่สะดวกสบายเข้าว่า แนะนำให้เดินทางไปวัดตามแนวรถไฟฟ้าสิจ๊ะ ไทยรัฐออนไลน์ รวบรวมวัดใกล้ๆ แนวรถไฟฟ้ามาบอกต่อ ใครที่เดินทางไปมาด้วยรถไฟฟ้าอยู่แล้ว ช่วงเย็นวันนี้ก็สามารถแวะไปเวียนเทียนได้อย่างง่ายดาย

    1. วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร

    วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแด่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี และสร้างเสร็จในปีพุทธศักราช 2500 ได้อัญเชิญพระแสน และพระสายน์จากวัดเขมาภิรตารามมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ และอัญเชิญพระเสริมจากท้องพระโรงพระราชวังบวรมาประดิษฐานไว้ในพระวิหาร

    8e0b88de0b8a3e0b8b1e0b89ae0b895e0b989e0b899e0b980e0b894e0b8b7e0b8ade0b899-e0b8a3e0b8a7e0b8a1-5-1.jpg

    ภายในวัดมี 7 สิ่งมงคลสถานที่ควรสักการบูชา ได้แก่ พระไส ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถ, พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตโต, รัชกาลที่ 4 พระผู้สถาปนาวัดปทุมวนาราม ราชวรวิหาร (ศาลาพระจอมฯ), พระเจดีย์วัดปทุมวนาราม, พระเสริมและพระแสน, เรือนพระศรีมหาโพธิ์, เจดีย์ประดิษฐานพระสรีรางคาร เปิดให้ประชาชนเข้ามาไหว้พระได้ทุกวัน เวลา 06.00-21.00 น. 


    
การเดินทาง
    เดินทางโดยรถไฟฟ้า BTS มาลงสถานีสยาม ออกทางออกที่ 5 เดินตรงมาทางแยกเฉลิมเผ่า วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ ระหว่างศูนย์การค้าสยามพารากอน และศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

    2. วัดธาตุทอง

    สำหรับวัดธาตุทองแห่งนี้นับว่าเป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยอยุธยา (พ.ศ. 2480) หน้าวัดมีพระเจดีย์ใหญ่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สถาปนาโดย พระเจ้าสายน้ำผึ้งหรือพระเจ้าดวงกฤษณราช กษัตริย์แห่งอโยธยา

    8e0b88de0b8a3e0b8b1e0b89ae0b895e0b989e0b899e0b980e0b894e0b8b7e0b8ade0b899-e0b8a3e0b8a7e0b8a1-5-2.jpg

    ปัจจุบันเป็นวัดในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ นอกจากนี้ยังสามารถเข้าไปไหว้พระทำบุญได้ทุกวันตั้งแต่ 06.00-17.00 น. และในวันมาฆบูชา 2561 พุทธศาสนิกชนสามารถเข้าไปเวียนเทียนในช่วงค่ำได้ด้วย

    การเดินทาง
    วัดธาตุทอง อยู่ติดกับสถานีรถไฟฟ้า BTS มากที่สุด เดินทางด้วยรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีรถไฟฟ้าเอกมัย แล้วเดินออกที่ทางออก 3 ก็จะเจอวัดทันที

    3. วัดไผ่ตัน

    วัดไผ่ตัน เดิมมีชื่อว่า วัดไส้ตัน เป็นวัดเก่าแก่กว่า 200 ปี และด้วยความที่เป็นวัดแห่งเดียวในเขตพญาไท จึงทำให้ที่นี่เป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของของคนในชุมชนนี้ไปโดยปริยาย ไม่ว่าเวลาจะมีเทศกาลงานบุญใดๆ ทางพุทธศาสนา ชาวบ้านก็มักจะแห่แหนกันมาร่วมกิจกรรมสืบสานประเพณีกันอย่างคึกคักเสมอ

    8e0b88de0b8a3e0b8b1e0b89ae0b895e0b989e0b899e0b980e0b894e0b8b7e0b8ade0b899-e0b8a3e0b8a7e0b8a1-5-3.jpg

    ภายในวัดไผ่ตัน มีปูชนียวัตถุที่สำคัญได้แก่ พระพุทธรูปหลวงพ่อโสธรจำลอง ซึ่งเป็นประธานอยู่ในวิหารจตุรมุข ที่หล่อขึ้นในปี พ.ศ. 2496 นอกจากนี้ในวิหารยังมีลวดลายจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามซึ่งเล่าถึงเรื่องราวต่างๆ ในพระพุทธศาสนา

    การเดินทาง
    เดินทางโดยรถไฟฟ้า BTS ลงสถานีสะพานควาย ออกทางออกฝั่งซอยซอยพหลโยธิน 15 ลงมาแล้วเดินเข้ามาในซอยพหลโยธิน 15 แค่ 200 เมตร จะเห็นวัดชัดเจน

    4. วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

    วัดไตรมิตรฯ ตั้งอยู่ที่ถนนเจริญกรุง (ใกล้หัวลำโพง) ภายในวัดมีพระพุทธรูปทองคำ ลักษณะองค์พระเป็นศิลปะสุโขทัย จึงได้ถวายพระนามว่า “พระสุโขทัยไตรมิตร” เป็นพระพุทธรูปทองคำที่มีส่วนผสมของทองคำบริสุทธิ์สูงมาก มีขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก 5 นิ้ว สูง 7 ศอก 1 คืบ 9 นิ้ว

    8e0b88de0b8a3e0b8b1e0b89ae0b895e0b989e0b899e0b980e0b894e0b8b7e0b8ade0b899-e0b8a3e0b8a7e0b8a1-5-4.jpg

    เปิดให้ประชาชนเข้ามาไหว้พระได้ทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.
 แต่ถ้าจะเข้าชมพิพิธภัณฑ์ มีค่าเข้าคนละ 100 บาท


    การเดินทาง
    เดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS มาลงที่สถานีสะพานตากสิน (S6) (สายสีลม) จากนั้นใช้ทางออกที่ 2 ไปยังท่าเรือด่วนเจ้าพระยา นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปลงที่ท่าน้ำราชวงศ์ (N.5) จากนั้นต่อรถแท็กซี่หรือรถตุ๊กๆ ไปยังวัดไตรมิตรฯ หรือจะนั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ก็ได้ มาขึ้นที่สถานีหัวลำโพง แล้วต่อวินมอเตอร์ไซค์หรือรถตุ๊กๆ มาที่วัดไตรมิตรได้อย่างรวดเร็วสะดวกสบาย

    5. วัดสามพระยา

    วัดสามพระยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร แต่เดิมวัดนี้เคยเป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เคยมีชื่อเดิมว่า วัดบางขุนพรหม ต่อมาวัดนี้ชำรุดทรุดโทรมลงมา จนมาถึงสมัยรัชกาล 3 ได้มีเจ้าพระยา 3 คน ได้แก่ พระราชสุภาวดี, พระยาราชนิกุล, พระยาเทพวรชุน เป็นทายาทของบรรพบุรุษผู้สร้างวัดนี้มาแต่อดีต จึงเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะบูรณะวัดนี้ให้คงอยู่สืบไป

    8e0b88de0b8a3e0b8b1e0b89ae0b895e0b989e0b899e0b980e0b894e0b8b7e0b8ade0b899-e0b8a3e0b8a7e0b8a1-5-5.jpg

    พอบูรณะวัดสำเร็จบริบูรณ์แล้ว ท่านพระยาทั้งสามจึงพร้อมใจกันขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2366

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรเห็นวัดบางขุนพรหมที่ท่านพระยาทั้งสามได้พร้อมใจกันบริจาคทรัพย์ปฏิสังขรณ์พร้อมทั้งก่อสร้างถาวรวัตถุขึ้นใหม่ ล้วนใหญ่โตแข็งแรงและงดงาม

    จึงโปรดเกล้าฯ รับขึ้นไว้ให้อยู่ในบัญชีรายชื่อพระอารามหลวง พร้อมทั้งพระราชทานนามวัดขึ้นใหม่ เพื่อให้สมกุศลเจตนาแห่งท่านพระยาทั้งสาม โดยพระราชทานนามว่า “วัดสามพระยาวรวิหาร” จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

    การเดินทาง
    สามารถเดินทางไปโดยรถไฟฟ้า BTS ลงที่สถานีราชเทวี จากนั้นออกทางออกที่ 3 แล้วต่อรถเมล์ สาย 53 เพื่อยังวัดสามพระยา หรือสามารถต่อรถแท็กซี่ก็ได้ จากสถานีราชเทวี ให้ใช้เส้นทางถนนเพชรบุรี มุ่งหน้าไปทางถนนพิษณุโลก ตรงเข้าสู่ถนนพิษณุโลก ผ่านวังแดง จนถึงสี่แยกเทเวศร์ ให้เลี้ยวซ้ายเพื่อเข้าสู่ถนนสามเสน ตรงไปข้ามสะพานพระราม 8 จากนั้นตรงไปอีกไม่ไกล จะเจอวัดสามพระยาอยู่ทางขวามือ

    ที่มา : WatPaitun, bts, pathumwanaram, watthatthong, tammatod


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/content/1216303
     

แชร์หน้านี้

Loading...