เรื่องเด่น อียูเดินเครื่องโครงการดาวเทียมเฝ้าระวังพายุสุริยะ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 4 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    อียูเดินเครื่องโครงการดาวเทียมเฝ้าระวังพายุสุริยะ


    _99878611_4ec8b762-9986-43fa-9b35-e491308db811.jpg
    Image copyright ESA
    คำบรรยายภาพ ดาวเทียมลากรานจ์จะคอยสังเกตและเฝ้าระวังพายุสุริยะจากด้านข้างของดวงอาทิตย์
    องค์การอวกาศยุโรป (ESA) ลงนามความร่วมมือกับบริษัทด้านเทคโนโลยีหลายแห่งในสหราชอาณาจักร เพื่อเดินหน้าออกแบบและสร้างดาวเทียมเฝ้าระวังพายุสุริยะ "ลากรานจ์" (Lagrange) ซึ่งจะถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรในอวกาศภายในช่วงทศวรรษ 2020

    ดาวเทียมดังกล่าวจะทำหน้าที่ตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวดวงอาทิตย์ และแจ้งเตือนล่วงหน้าหากพบแนวโน้มการปะทุของเปลวสุริยะ ซึ่งจะทำให้เกิดกลุ่มก๊าซที่อนุภาคมีประจุไฟฟ้าจำนวนมหาศาล (พลาสมา) พุ่งมาปะทะบรรยากาศโลก สร้างความเสียหายต่อระบบพลังงานและการสื่อสารโทรคมนาคมได้เป็นอย่างมาก พายุสุริยะนี้ยังสามารถสร้างความเสียหายต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเที่ยวบินต่าง ๆ ได้ด้วย

    ตามแผนการที่กำหนดไว้ ดาวเทียมลากรานจ์จะถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรที่จุดสำคัญซึ่งเรียกว่า "จุดลากรานเจียนที่ 5" (Fifth Lagrangian Point - L5) ซึ่งเป็นจุดสมดุลแรงโน้มถ่วงที่ทำมุม 60 องศากับทั้งโลกและดวงอาทิตย์ ดาวเทียมที่อยู่ในจุดนี้จะสามารถประหยัดพลังงานได้มาก เนื่องจากเกิดสมดุลระหว่างแรงดึงดูดของโลกและดวงอาทิตย์ กับแรงหนีศูนย์กลางของดาวเทียม

    _99878612_a0811668-8157-462b-8759-a43e79c1772a.jpg
    Image copyright NAS/SDO
    คำบรรยายภาพ การปะทุของเปลวสุริยะสร้างความเสียหายต่อระบบพลังงานและการสื่อสารโทรคมนาคมได้เป็นอย่างมาก
    ตำแหน่ง L5 ยังเป็นจุดสังเกตการณ์ที่ด้านข้างของดวงอาทิตย์ ซึ่งทำให้มองเห็นพื้นผิวด้านที่กำลังจะหมุนมาเผชิญหน้ากับโลกได้ก่อนอย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้ดาวเทียมพยากรณ์หรือแจ้งเตือนพายุสุริยะได้อย่างรวดเร็วทันการณ์

    เมื่อปีที่ผ่านมา รายงานที่จัดทำโดยรัฐบาลสหราชอาณาจักรชี้ว่า เศรษฐกิจของประเทศอาจต้องประสบกับความสูญเสียถึงวันละกว่า 1 พันล้านปอนด์ (ราว 4.4 หมื่นล้านบาท) หากระบบนำร่องด้วยดาวเทียมหรือระบบบ่งพิกัดจีพีเอสไม่สามารถใช้งานได้ ผู้พัฒนาเทคโนโลยีในภาคเอกชนต่างก็ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเห็นความสำคัญของ "การพยากรณ์สภาพในอวกาศ" (Space weather forecast) มากยิ่งขึ้น

    _99878613_0feb024a-5da6-45a1-a3b2-5480a52b590a.jpg
    Image copyright ESA
    คำบรรยายภาพ จุดลากรานเจียนที่ 5 (L5) คือจุดสมดุลแรงโน้มถ่วงที่ดาวเทียมลากรานจ์จะโคจรอยู่ในอวกาศ ส่วนดาวเทียมเฝ้าระวังพายุสุริยะของสหรัฐฯ อาจใช้ตำแหน่ง L1
    ในการลงนามความร่วมมือโครงการออกแบบและพัฒนาดาวเทียมลากรานจ์นั้น บริษัทแอร์บัสยูเคได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ออกแบบและประกอบสร้างตัวดาวเทียม ส่วนอีกหลายบริษัทของอังกฤษได้รับมอบหมายให้ดูแลการสร้างชุดอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ชุดอุปกรณ์ตรวจจับระยะไกลที่บอกสถานะความเคลื่อนไหวของพื้นผิวดวงอาทิตย์ได้ รวมทั้งชุดอุปกรณ์ตรวจวัดอนุภาคและสนามแม่เหล็กที่ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยออกมา

    นอกจากนี้ ยังจะมีการติดตั้งอุปกรณ์บังแสงสว่างจ้าที่บริเวณวงแหวนรอบนอกของดวงอาทิตย์หรือโคโรนากราฟ (Coronagraph) ชิ้นใหม่บนดาวเทียมลากรานจ์ ซึ่งจะทำให้มองเห็นความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวดวงอาทิตย์ได้ดีขึ้น และแทนที่การใช้งานโคโรนากราฟของดาวเทียมโซโห (Soho) ซึ่งมีอายุการใช้งานมานานกว่า 20 ปีแล้ว

    _99879244_b5298518-f53d-457b-9a0e-fa0125418487.jpg
    Image copyright NASA/ESA/SOHO
    คำบรรยายภาพ ภาพที่ใช้อุปกรณ์บังแสงสว่างจ้าที่บริเวณวงแหวนรอบนอกของดวงอาทิตย์หรือโคโรนากราฟ (Coronagraph)

    ขอบคุณที่มา
    http://www.bbc.com/thai/international-42935770
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กุมภาพันธ์ 2018

แชร์หน้านี้

Loading...